ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. อนุญาตให้ผู้มีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศย้ายการบริหารความเสี่ยงในตลาดออฟชอร์มาไว้ตลาดออนชอร์ นางธาริษา วัฒนเกส
ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวถึงกรณีที่ค่าเงินบาทในตลาดเงินต่างประเทศ (ออฟชอร์) ต่างจากตลาดเงินในประเทศ (ออนชอร์) ว่า ธปท. ได้มี
มาตรการออกไปก่อนหน้านี้แล้ว โดยให้ผู้มีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศ (นอนเรสซิเด้นท์) ย้ายการบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนที่ทำไว้ใน
ตลาดออฟชอร์มาทำกับตลาดออนชอร์แทน โดยมีเงื่อนไขว่านอนเรสซิเด้นท์ต้องถือสัญญาก่อนวันที่ 19 ธ.ค.49 และให้เวลา 1 เดือน
คือ 16 ก.ค. — 17 ส.ค.50 ในการยื่นขออนุญาต ระหว่างการพิจารณานอนเรสซิเด้นท์สามารถคืนสัญญาเก่าไปและเริ่มสัญญาใหม่ในประเทศ
ทันทีได้ หรือจะคงสัญญาเก่าไปจนหมดอายุสัญญาก็ได้ แต่ต้องมาแสดงกับ ธปท. ซึ่งคาดว่ามาตรการนี้จะทำให้ความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ย
และอัตราแลกเปลี่ยนของทั้งสองตลาดใกล้กันมากขึ้น และในที่สุดการทำธุรกรรมในตลาดออฟชอร์จะค่อย ๆ ลดลงไป ซึ่งจะช่วยให้ผลกระทบ
ทางจิตวิทยาเวลาที่เห็นเงินบาทในตลาดออฟชอร์แข็งค่าขึ้นมากลดลงไป ทั้งนี้ ตลาดออฟชอร์เป็นตลาดที่เล็ก ตลาดบาง เวลาที่มีความต้องการ
เงินบาทค่าเงินบาทจะเพิ่มขึ้นมาก แม้ว่าธุรกิจที่เกิดจะไม่มาก แต่ความที่ตลาดบางค่าเงินเลยมีการเปลี่ยนแปลงมาก ถ้าให้ย้ายการทำสัญญา
มาอยู่ในตลาดออนชอร์สิ่งที่เกิดขึ้นจะหายไป (เดลินิวส์, ไทยรัฐ)
2. ธปท. ขอให้ ธ.พาณิชย์จัดชั้นหนี้ด้อยคุณภาพเป็นการทำทั่วไป นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผอส.ฝ่ายวิเคราะห์และติดตามฐานะ
ธปท. กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวว่า ธปท. ได้มีหนังสือสั่งการ ธ.พาณิชย์ทุกแห่งจัดชั้นลูกหนี้ที่มีความเกี่ยวข้องกับรัฐบาลชุดที่แล้ว 4 ราย ประกอบด้วย
กลุ่มบริษัท เพรซิเด้นท์ อะกริ เทรดดิ้ง จก. กลุ่มบริษัท คิงเพาเวอร์ จก. บ.แคปปิตอล โอเค จก. และ บ.ชินแซทเทลไลท์ จก. ว่า
ธปท. ได้สั่งให้ ธ.พาณิชย์ดำเนินการจัดชั้นหนี้ด้อยคุณภาพของลูกหนี้ตามรายชื่อดังกล่าวจริง แต่ไม่ได้เป็นลักษณะหนังสือสั่งการแต่อย่างใด
โดยเป็นการสั่งจัดชั้นลูกหนี้ในงวดเดือน มิ.ย.50 ที่ทำทั่วไป มีลูกหนี้จำนวนมากที่ถูก ธปท. สั่งจัดชั้นให้เป็นหนี้ด้อยคุณภาพในงวดนี้ไม่เฉพาะ
แค่ 4 ราย ตามที่เป็นข่าวเท่านั้น นอกจากนี้ ไม่ใช่ว่าลูกหนี้ทั้งหมด ธปท. เป็นฝ่ายสั่งการให้ธนาคารเจ้าหนี้จัดชั้น แต่บางส่วนเจ้าหนี้ก็กำลัง
จะดำเนินการอยู่แล้วแต่เป็นช่วงจังหวะเดียวกับที่ ธปท. เข้าไปตรวจสอบสถาบันการเงิน การจัดชั้นลูกหนี้จึงมีความเห็นเป็นแนวทางเดียวกัน
ซึ่ง ธปท. ไม่ได้มีเจตนาจะกลั่นแกล้งกลุ่มบุคคลใดเป็นกรณีพิเศษ แต่ที่ต้องสั่งจัดชั้นลูกหนี้ทั้ง 4 ร ย เพราะ ธปท. ใช้เกณฑ์คุณภาพในการ
พิจารณาลูกหนี้ ไม่ได้ดูแค่ระยะเวลาของการค้างชำระหนี้ แต่จะดูถึงความสามารถในการชำระหนี้ในอนาคตและสัญญาณบางอย่างที่จะมี
ผลกระทบต่อการชำระหนี้ กระแสเงินสด และฐานะทางการเงินต่าง ๆ ดังนั้น แม้ลูกหนี้จะเพิ่งค้างชำระหนี้เพียงงวดเดียว แต่ถ้าเห็น
อนาคตที่มีความเสี่ยงก็จะต้องถูกจัดชั้น ขณะที่ลูกหนี้ทั้ง 4 รายนี้เริ่มมีฐานะที่แย่ลง โดยเฉพาะบางรายที่มีปัญหาเรื่องการทำสัญญากับภาครัฐ
เช่น กรณีของกลุ่มบริษัท คิงเพาเวอร์ เช่นเดียวกับกลุ่ม บ.เพรสซิเด้นท์ ที่มีปัญหาเกี่ยวกับสต็อคข่าวไม่สามารถรับมอบได้ และ
บ.แคปปิตอล โอเค ที่มีปัญหาเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นมากจากการเร่งปล่อยสินเชื่อให้กับรายย่อยในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม แม้ ธปท.
จะสั่งจัดชั้นลูกหนี้แต่ไม่ได้หมายความว่า ธ.พาณิชย์เจ้าหนี้จะต้องตั้งสำรองทั้งหมดตามหนี้เสียที่เพิ่มขึ้น แต่ขึ้นอยู่กับหลักประกันของลูกหนี้
กระแสเงินสด หรือข้อตกลงระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ เพราะฉะนั้น ไม่ได้หมายความว่าหนี้เสียที่เพิ่มขึ้นจะต้องทำให้ธนาคารมีภาระกัน
สำรองจนเกิดปัญหาเสมอไป (มติชน)
3. ยอดสินเชื่อคงค้างในระบบ ธ.พาณิชย์ ณ 30 มิ.ย.50 มีจำนวน 4.9 ล้านล้านบาท บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงาน
ตัวเลขสินเชื่อ เงินฝาก และสินทรัพย์ในระบบ ธ.พาณิชย์ไทย ณ 30 มิ.ย.50 พบว่า ยอดคงค้างสินเชื่อ (หักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญแล้ว)
ในระบบ ธ.พาณิชย์ไทยเดือน มิ.ย.50 มีจำนวน 4,947,287 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 9,475 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.19
แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.94 โดยกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่ง ได้แก่ ธ.กรุงเทพ ธ.ไทยพาณิชย์
ธ.กสิกรไทย และ ธ. ธ.กรุงไทย สินเชื่อปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 37,529 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.21 ขณะที่
กลุ่มธนาคารขนาดกลาง 3 แห่ง ได้แก่ ธ.กรุงศรีอยุธยา ธ.ทหารไทย และ ธ.นครหลวงไทย สินเชื่อรวมลดลงจากเดือนก่อนหน้า
25,676 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 2.23 ส่วนกลุ่มธนาคารขนาดเล็ก 7 แห่ง สินเชื่อรวมลดลงจากเดือนก่อน 2,378 ล้านบาท
หรือลดลงร้อยละ 0.35 ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับสิ้นปี 49 พบว่ายอดสินเชื่อของระบบ ธ.พาณิชย์ไทย ณ สิ้นเดือน มิ.ย.50 เพิ่มขึ้น
47,616 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.97 สำหรับเงินฝากในระบบ ธ.พาณิชย์เดือน มิ.ย.50 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 5,976,325 ล้านบาท
ลดลงจากเดือนก่อน 179,937 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.92 แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.66 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ส่วนสินทรัพย์
รวมในระบบ ธ.พาณิชย์ไทย ณ 30 มิ.ย.50 มีจำนวน 7,690,969 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 111,549 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 1.43 ซึ่งเมื่อเทียบกับสิ้นปี 49 ระบบ ธ.พาณิชย์ไทยมีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นรวม 203,325 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.72 โดย
ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์เกือบทุกธนาคาร ยกเว้น ธ.ทหารไทย ธ.กรุงศรีอยุธยา และ ธ.เกียรตินาคิน
(กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
4. ก.คลังเร่งให้รัฐวิสาหกิจคืนหนี้เงินตราต่างประเทศก่อนกำหนดเพื่อให้เงินบาทอ่อนค่าลง นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์
รมว.คลัง กล่าวว่า ได้เร่งรรัดให้ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจชำระคืนหนี้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศก่อนกำหนด เพื่อเร่งให้มีการซื้อเงินตรา
ต่างประเทศในตลาดเพื่อสร้างดีมานด์ซื้อเงินตราไปชำระหนี้ในจำนวนสูงตามที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรอง นรม. และรมว.คลัง
เสนอแนะอยู่ลั้ว แต่การเร่งให้ชำระหนี้ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจก่อนกำหนดขึ้นอยู่กับรายละเอียดของการกู้เงินแต่ละโครงการ รวมทั้ง
ความพร้อมของแต่ละรัฐวิสาหกิจด้วย แต่ก็พยายามที่จะผลักดันให้มีการเร่งคืนหนี้ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
เพราะเป็นนโยบายของรัฐบาลที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจน้อยที่สุด ด้าน นายหมาย ภาษี รมว.คลัง กล่าวว่า ได้ขอความร่วมมือไปยัง
รมต. ที่กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ให้เร่งคืนเงินกู้ต่างประเทศเพื่อทำให้เงินบาทอ่อนค่าลง ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของกระทรวงต้นสังกัดที่จะ
ดูแลรัฐวิสาหกิจจะต้องทำตามนโยบาย หากไม่ดำเนินการตามก็อาจจะต้องให้มีการเปลี่ยนคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจใหม่ ทั้งนี้ จาก
การตรวจสอบกลุ่มรัฐวิสากิจที่กู้เงินจากต่างประเทศวงเงิน 3.18 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือประมาณ 1.05 แสนล้านบาท ส่วนใหญ่
ไม่มีเงื่อนไขห้ามไม่ให้ชำระหนี้คืนก่อนกำหนด มีเพียงส่วนน้อยที่เป็นเงินกู้ของธนาคาร และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย ที่อาจจะ
ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการชำระหนี้คืนก่อนกำหนด สำหรับในส่วนของ ก.คลังได้สั่งระงับการแปลงหลักทรัพย์เป็นทุน จำนวน
4 หมื่นล้านบาท ที่มีส่วนหนึ่งจะนำออกไปขายต่างประเทศ ให้นำมาขายในไทยทั้งจำนวน เพื่อช่วยพยุงให้เงินบาทอ่อนค่าลง
(โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ภาษีธุรกิจที่ค่อนข้างสูงของ สรอ. อาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการแข่งขันของธุรกิจ รายงานจากวอชิงตัน
เมื่อวันที่ 23 ก.ค. 50 รมว. ก.คลัง สรอ. กล่าวว่าการจัดเก็บภาษีธุรกิจที่สูงถึงร้อยละ 39 อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจของสรอ.
ทั้งการดึงดูดการลงทุนและการแข่งขัน ทำให้ไม่อาจแข่งขันกับประเทศคู่ค้าได้ ทั้งนี้ภาษีธุรกิจของ สรอ. อยู่ที่ร้อยละ 39 ซึ่งสูงที่สุด
เป็นอันดับที่ 2 ในบรรดาประเทศอุตสาหกรรมในกลุ่ม OECD โดยมีญี่ปุ่นจัดเก็บภาษีในอัตราสูงที่สุดร้อยละ 40 ในขณะที่อินเดียและ
เม็กซิโกจัดเก็บร้อยละ 32 ส่วนจีนจัดเก็บในอัตราร้อยละ 31 เท่ากับค่าเฉลี่ยภาษีธุรกิจของ OECD อย่างไรก็ตามในบรรดาประเทศ
สมาชิก OECD ที่จัดเก็บภาษีธุรกิจในอัตราสูงมีแนวโน้มว่าจะปรับลดภาษีที่จัดเก็บลงเช่นกัน (รอยเตอร์)
2. พรรคการเมืองญี่ปุ่นเตือนให้ ธ.กลางระวังเรื่องภาวะเงินฝืด รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 24 ก.ค. 50 ว่า
นาย Hidenao Nakagawa เลขาธิการพรรค Liberal Democratic Party ของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า แม้ว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะมีอิสระ
และมีอำนาจตามกฎหมายในการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องระวังเรื่องสภาพเศรษฐกิจของประเทศ
ด้วยเช่นกัน และ 2 ปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือเรื่องภาวะเงินฝืด และความอ่อนแอในภาคการบริโภคส่วนบุคคลด้วยเช่นกัน(รอยเตอร์)
3. คาดว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 2 ปี 50 จะขยายตัวร้อยละ 1.3 สูงสุดในรอบ 1 ปีครึ่ง รายงานจากโซล
เมื่อ 23 ก.ค.50 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4
ของเอเชียจะขยายตัวหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วร้อยละ 1.3 ในไตรมาสที่ 2 ปี 50 ที่ผ่านมา สูงสุดนับตั้งแต่ขยายตัวร้อยละ 1.7
ในไตรมาสสุดท้าย ปี 48 หลังจากตามตัวเลขเบื้องต้นขยายตัวร้อยละ 0.9 ในไตรมาสแรก ทั้งนี้ จากการส่งออกที่ยังไปได้ดีโดย
ขยายตัวถึงร้อยละ 14.6 ต่อปีในไตรมาสที่ 2 ปี 50 ส่งผลดีต่อภาคการผลิตซึ่งมีสัดส่วนถึง 1 ใน 4 ของผลผลิตในประเทศ ในขณะที่
การใช้จ่ายในประเทศมีสัญญาณฟื้นตัว และคาดว่าปัจจัยบวกเหล่านี้จะส่งผลดีให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังปีนี้
เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ หากเทียบต่อปีแล้ว คาดว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ปี 50 จะขยายตัวร้อยละ 4.5 ต่อปี สูงกว่าร้อยละ 4.0 ต่อปี
ในไตรมาสแรกปี 50 และไตรมาสสุดท้ายปี 49 แต่ต่ำกว่าร้อยละ 4.8 ต่อปีในไตรมาสที่ 3 ปี 49 และเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา
ธ.กลางเกาหลีใต้ได้ปรับเพิ่มประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของปี 50 เป็นร้อยละ 4.5 ต่อปี สูงขึ้นจากร้อยละ 4.4 ต่อปี
ในครั้งก่อนเมื่อเดือน ม.ค.50 (รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์ในเดือน มิ.ย.50 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 12 เดือนที่ร้อยละ 1.3 เทียบต่อปี รายงาน
จากสิงคโปร์ เมื่อ 23 ก.ค.50 รัฐบาลสิงคโปร์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์ในเดือน มิ.ย.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3
เทียบต่อเดือน (ตัวเลขหลังปรับปัจจัยทางฤดูกาล) และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบต่อปี นับเป็นการเพิ่มขึ้นแข็งแกร่งสูงสุดในรอบ
12 เดือนตั้งแต่เดือน มิ.ย. 48 (ที่เคยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1.4 เนื่องจากราคาอาหารและต้นทุนที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น)ทั้งนี้ ตัวเลขดัชนีราคา
ผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1.3 เนื่องจากราคาอาหารและต้นทุนขนส่งเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ขณะที่นักวิเคราะห์กล่าวว่า ภาวะเงินเฟ้อ
โดยรวมของสิงคโปร์ยังคงอยู่ในระดับต่ำ ส่วนหนึ่งเนื่องจากค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์แข็งแกร่ง รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อปัจจุบันยังอยู่ใน
เป้าหมายปี 50 ที่รัฐบาลกำหนดไว้ระหว่างร้อยละ 0.5-1.5 อย่างไรก็ตาม ตลาดที่อยู่อาศัยของสิงคโปร์ที่เฟื่องฟูและค่าที่อยู่อาศัย
ที่มีความผันผวนเล็กน้อยส่งผลกระทบต่อดัชนีราคาผู้บริโภคโดยรวม ทั้งนี้ ต้นทุนที่อยู่อาศัยในเดือน มิ.ย.50 ลดลงร้อยละ 2.0 และ
ร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบต่อปีและต่อเดือนตามลำดับ อนึ่ง สำหรับดัชนีองค์ประกอบย่อยของดัชนีราคาผู้บริโภค คือ ดัชนีราคาอาหาร
(ซึ่งเป็นดัชนีที่มีน้ำหนักมากที่สุดของดัชนีราคาผู้บริโภค) ในเดือน มิ.ย.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เทียบต่อปี ขณะที่ดัชนีภาคการขนส่ง
และการสื่อสาร (ซึ่งเป็นดัชนีที่มีน้ำหนักรองเป็นอันดับ 2 ของดัชนีราคาผู้บริโภค) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 เทียบต่อปี (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 24 ก.ค. 50 23 ก.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.695 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.4613/33.7894 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.40000 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 862.62/24.19 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,800/10,900 10,800/10,900 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 70.60 71.04 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 29.59*/25.74** 29.59*/25.74** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 19 ก.ค. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 11 ก.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. อนุญาตให้ผู้มีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศย้ายการบริหารความเสี่ยงในตลาดออฟชอร์มาไว้ตลาดออนชอร์ นางธาริษา วัฒนเกส
ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวถึงกรณีที่ค่าเงินบาทในตลาดเงินต่างประเทศ (ออฟชอร์) ต่างจากตลาดเงินในประเทศ (ออนชอร์) ว่า ธปท. ได้มี
มาตรการออกไปก่อนหน้านี้แล้ว โดยให้ผู้มีถิ่นที่อยู่ในต่างประเทศ (นอนเรสซิเด้นท์) ย้ายการบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนที่ทำไว้ใน
ตลาดออฟชอร์มาทำกับตลาดออนชอร์แทน โดยมีเงื่อนไขว่านอนเรสซิเด้นท์ต้องถือสัญญาก่อนวันที่ 19 ธ.ค.49 และให้เวลา 1 เดือน
คือ 16 ก.ค. — 17 ส.ค.50 ในการยื่นขออนุญาต ระหว่างการพิจารณานอนเรสซิเด้นท์สามารถคืนสัญญาเก่าไปและเริ่มสัญญาใหม่ในประเทศ
ทันทีได้ หรือจะคงสัญญาเก่าไปจนหมดอายุสัญญาก็ได้ แต่ต้องมาแสดงกับ ธปท. ซึ่งคาดว่ามาตรการนี้จะทำให้ความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ย
และอัตราแลกเปลี่ยนของทั้งสองตลาดใกล้กันมากขึ้น และในที่สุดการทำธุรกรรมในตลาดออฟชอร์จะค่อย ๆ ลดลงไป ซึ่งจะช่วยให้ผลกระทบ
ทางจิตวิทยาเวลาที่เห็นเงินบาทในตลาดออฟชอร์แข็งค่าขึ้นมากลดลงไป ทั้งนี้ ตลาดออฟชอร์เป็นตลาดที่เล็ก ตลาดบาง เวลาที่มีความต้องการ
เงินบาทค่าเงินบาทจะเพิ่มขึ้นมาก แม้ว่าธุรกิจที่เกิดจะไม่มาก แต่ความที่ตลาดบางค่าเงินเลยมีการเปลี่ยนแปลงมาก ถ้าให้ย้ายการทำสัญญา
มาอยู่ในตลาดออนชอร์สิ่งที่เกิดขึ้นจะหายไป (เดลินิวส์, ไทยรัฐ)
2. ธปท. ขอให้ ธ.พาณิชย์จัดชั้นหนี้ด้อยคุณภาพเป็นการทำทั่วไป นายสรสิทธิ์ สุนทรเกศ ผอส.ฝ่ายวิเคราะห์และติดตามฐานะ
ธปท. กล่าวถึงกรณีที่มีข่าวว่า ธปท. ได้มีหนังสือสั่งการ ธ.พาณิชย์ทุกแห่งจัดชั้นลูกหนี้ที่มีความเกี่ยวข้องกับรัฐบาลชุดที่แล้ว 4 ราย ประกอบด้วย
กลุ่มบริษัท เพรซิเด้นท์ อะกริ เทรดดิ้ง จก. กลุ่มบริษัท คิงเพาเวอร์ จก. บ.แคปปิตอล โอเค จก. และ บ.ชินแซทเทลไลท์ จก. ว่า
ธปท. ได้สั่งให้ ธ.พาณิชย์ดำเนินการจัดชั้นหนี้ด้อยคุณภาพของลูกหนี้ตามรายชื่อดังกล่าวจริง แต่ไม่ได้เป็นลักษณะหนังสือสั่งการแต่อย่างใด
โดยเป็นการสั่งจัดชั้นลูกหนี้ในงวดเดือน มิ.ย.50 ที่ทำทั่วไป มีลูกหนี้จำนวนมากที่ถูก ธปท. สั่งจัดชั้นให้เป็นหนี้ด้อยคุณภาพในงวดนี้ไม่เฉพาะ
แค่ 4 ราย ตามที่เป็นข่าวเท่านั้น นอกจากนี้ ไม่ใช่ว่าลูกหนี้ทั้งหมด ธปท. เป็นฝ่ายสั่งการให้ธนาคารเจ้าหนี้จัดชั้น แต่บางส่วนเจ้าหนี้ก็กำลัง
จะดำเนินการอยู่แล้วแต่เป็นช่วงจังหวะเดียวกับที่ ธปท. เข้าไปตรวจสอบสถาบันการเงิน การจัดชั้นลูกหนี้จึงมีความเห็นเป็นแนวทางเดียวกัน
ซึ่ง ธปท. ไม่ได้มีเจตนาจะกลั่นแกล้งกลุ่มบุคคลใดเป็นกรณีพิเศษ แต่ที่ต้องสั่งจัดชั้นลูกหนี้ทั้ง 4 ร ย เพราะ ธปท. ใช้เกณฑ์คุณภาพในการ
พิจารณาลูกหนี้ ไม่ได้ดูแค่ระยะเวลาของการค้างชำระหนี้ แต่จะดูถึงความสามารถในการชำระหนี้ในอนาคตและสัญญาณบางอย่างที่จะมี
ผลกระทบต่อการชำระหนี้ กระแสเงินสด และฐานะทางการเงินต่าง ๆ ดังนั้น แม้ลูกหนี้จะเพิ่งค้างชำระหนี้เพียงงวดเดียว แต่ถ้าเห็น
อนาคตที่มีความเสี่ยงก็จะต้องถูกจัดชั้น ขณะที่ลูกหนี้ทั้ง 4 รายนี้เริ่มมีฐานะที่แย่ลง โดยเฉพาะบางรายที่มีปัญหาเรื่องการทำสัญญากับภาครัฐ
เช่น กรณีของกลุ่มบริษัท คิงเพาเวอร์ เช่นเดียวกับกลุ่ม บ.เพรสซิเด้นท์ ที่มีปัญหาเกี่ยวกับสต็อคข่าวไม่สามารถรับมอบได้ และ
บ.แคปปิตอล โอเค ที่มีปัญหาเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นมากจากการเร่งปล่อยสินเชื่อให้กับรายย่อยในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม แม้ ธปท.
จะสั่งจัดชั้นลูกหนี้แต่ไม่ได้หมายความว่า ธ.พาณิชย์เจ้าหนี้จะต้องตั้งสำรองทั้งหมดตามหนี้เสียที่เพิ่มขึ้น แต่ขึ้นอยู่กับหลักประกันของลูกหนี้
กระแสเงินสด หรือข้อตกลงระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ เพราะฉะนั้น ไม่ได้หมายความว่าหนี้เสียที่เพิ่มขึ้นจะต้องทำให้ธนาคารมีภาระกัน
สำรองจนเกิดปัญหาเสมอไป (มติชน)
3. ยอดสินเชื่อคงค้างในระบบ ธ.พาณิชย์ ณ 30 มิ.ย.50 มีจำนวน 4.9 ล้านล้านบาท บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงาน
ตัวเลขสินเชื่อ เงินฝาก และสินทรัพย์ในระบบ ธ.พาณิชย์ไทย ณ 30 มิ.ย.50 พบว่า ยอดคงค้างสินเชื่อ (หักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญแล้ว)
ในระบบ ธ.พาณิชย์ไทยเดือน มิ.ย.50 มีจำนวน 4,947,287 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว 9,475 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.19
แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.94 โดยกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่ง ได้แก่ ธ.กรุงเทพ ธ.ไทยพาณิชย์
ธ.กสิกรไทย และ ธ. ธ.กรุงไทย สินเชื่อปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 37,529 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.21 ขณะที่
กลุ่มธนาคารขนาดกลาง 3 แห่ง ได้แก่ ธ.กรุงศรีอยุธยา ธ.ทหารไทย และ ธ.นครหลวงไทย สินเชื่อรวมลดลงจากเดือนก่อนหน้า
25,676 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 2.23 ส่วนกลุ่มธนาคารขนาดเล็ก 7 แห่ง สินเชื่อรวมลดลงจากเดือนก่อน 2,378 ล้านบาท
หรือลดลงร้อยละ 0.35 ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับสิ้นปี 49 พบว่ายอดสินเชื่อของระบบ ธ.พาณิชย์ไทย ณ สิ้นเดือน มิ.ย.50 เพิ่มขึ้น
47,616 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.97 สำหรับเงินฝากในระบบ ธ.พาณิชย์เดือน มิ.ย.50 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 5,976,325 ล้านบาท
ลดลงจากเดือนก่อน 179,937 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.92 แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.66 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ส่วนสินทรัพย์
รวมในระบบ ธ.พาณิชย์ไทย ณ 30 มิ.ย.50 มีจำนวน 7,690,969 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 111,549 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 1.43 ซึ่งเมื่อเทียบกับสิ้นปี 49 ระบบ ธ.พาณิชย์ไทยมีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นรวม 203,325 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.72 โดย
ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์เกือบทุกธนาคาร ยกเว้น ธ.ทหารไทย ธ.กรุงศรีอยุธยา และ ธ.เกียรตินาคิน
(กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
4. ก.คลังเร่งให้รัฐวิสาหกิจคืนหนี้เงินตราต่างประเทศก่อนกำหนดเพื่อให้เงินบาทอ่อนค่าลง นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์
รมว.คลัง กล่าวว่า ได้เร่งรรัดให้ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจชำระคืนหนี้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศก่อนกำหนด เพื่อเร่งให้มีการซื้อเงินตรา
ต่างประเทศในตลาดเพื่อสร้างดีมานด์ซื้อเงินตราไปชำระหนี้ในจำนวนสูงตามที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรอง นรม. และรมว.คลัง
เสนอแนะอยู่ลั้ว แต่การเร่งให้ชำระหนี้ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจก่อนกำหนดขึ้นอยู่กับรายละเอียดของการกู้เงินแต่ละโครงการ รวมทั้ง
ความพร้อมของแต่ละรัฐวิสาหกิจด้วย แต่ก็พยายามที่จะผลักดันให้มีการเร่งคืนหนี้ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
เพราะเป็นนโยบายของรัฐบาลที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจน้อยที่สุด ด้าน นายหมาย ภาษี รมว.คลัง กล่าวว่า ได้ขอความร่วมมือไปยัง
รมต. ที่กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ให้เร่งคืนเงินกู้ต่างประเทศเพื่อทำให้เงินบาทอ่อนค่าลง ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของกระทรวงต้นสังกัดที่จะ
ดูแลรัฐวิสาหกิจจะต้องทำตามนโยบาย หากไม่ดำเนินการตามก็อาจจะต้องให้มีการเปลี่ยนคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจใหม่ ทั้งนี้ จาก
การตรวจสอบกลุ่มรัฐวิสากิจที่กู้เงินจากต่างประเทศวงเงิน 3.18 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือประมาณ 1.05 แสนล้านบาท ส่วนใหญ่
ไม่มีเงื่อนไขห้ามไม่ให้ชำระหนี้คืนก่อนกำหนด มีเพียงส่วนน้อยที่เป็นเงินกู้ของธนาคาร และธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย ที่อาจจะ
ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการชำระหนี้คืนก่อนกำหนด สำหรับในส่วนของ ก.คลังได้สั่งระงับการแปลงหลักทรัพย์เป็นทุน จำนวน
4 หมื่นล้านบาท ที่มีส่วนหนึ่งจะนำออกไปขายต่างประเทศ ให้นำมาขายในไทยทั้งจำนวน เพื่อช่วยพยุงให้เงินบาทอ่อนค่าลง
(โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ภาษีธุรกิจที่ค่อนข้างสูงของ สรอ. อาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการแข่งขันของธุรกิจ รายงานจากวอชิงตัน
เมื่อวันที่ 23 ก.ค. 50 รมว. ก.คลัง สรอ. กล่าวว่าการจัดเก็บภาษีธุรกิจที่สูงถึงร้อยละ 39 อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจของสรอ.
ทั้งการดึงดูดการลงทุนและการแข่งขัน ทำให้ไม่อาจแข่งขันกับประเทศคู่ค้าได้ ทั้งนี้ภาษีธุรกิจของ สรอ. อยู่ที่ร้อยละ 39 ซึ่งสูงที่สุด
เป็นอันดับที่ 2 ในบรรดาประเทศอุตสาหกรรมในกลุ่ม OECD โดยมีญี่ปุ่นจัดเก็บภาษีในอัตราสูงที่สุดร้อยละ 40 ในขณะที่อินเดียและ
เม็กซิโกจัดเก็บร้อยละ 32 ส่วนจีนจัดเก็บในอัตราร้อยละ 31 เท่ากับค่าเฉลี่ยภาษีธุรกิจของ OECD อย่างไรก็ตามในบรรดาประเทศ
สมาชิก OECD ที่จัดเก็บภาษีธุรกิจในอัตราสูงมีแนวโน้มว่าจะปรับลดภาษีที่จัดเก็บลงเช่นกัน (รอยเตอร์)
2. พรรคการเมืองญี่ปุ่นเตือนให้ ธ.กลางระวังเรื่องภาวะเงินฝืด รายงานจากโตเกียว เมื่อวันที่ 24 ก.ค. 50 ว่า
นาย Hidenao Nakagawa เลขาธิการพรรค Liberal Democratic Party ของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า แม้ว่า ธ.กลางญี่ปุ่นจะมีอิสระ
และมีอำนาจตามกฎหมายในการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องระวังเรื่องสภาพเศรษฐกิจของประเทศ
ด้วยเช่นกัน และ 2 ปัจจัยสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือเรื่องภาวะเงินฝืด และความอ่อนแอในภาคการบริโภคส่วนบุคคลด้วยเช่นกัน(รอยเตอร์)
3. คาดว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 2 ปี 50 จะขยายตัวร้อยละ 1.3 สูงสุดในรอบ 1 ปีครึ่ง รายงานจากโซล
เมื่อ 23 ก.ค.50 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4
ของเอเชียจะขยายตัวหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วร้อยละ 1.3 ในไตรมาสที่ 2 ปี 50 ที่ผ่านมา สูงสุดนับตั้งแต่ขยายตัวร้อยละ 1.7
ในไตรมาสสุดท้าย ปี 48 หลังจากตามตัวเลขเบื้องต้นขยายตัวร้อยละ 0.9 ในไตรมาสแรก ทั้งนี้ จากการส่งออกที่ยังไปได้ดีโดย
ขยายตัวถึงร้อยละ 14.6 ต่อปีในไตรมาสที่ 2 ปี 50 ส่งผลดีต่อภาคการผลิตซึ่งมีสัดส่วนถึง 1 ใน 4 ของผลผลิตในประเทศ ในขณะที่
การใช้จ่ายในประเทศมีสัญญาณฟื้นตัว และคาดว่าปัจจัยบวกเหล่านี้จะส่งผลดีให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังปีนี้
เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ หากเทียบต่อปีแล้ว คาดว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ปี 50 จะขยายตัวร้อยละ 4.5 ต่อปี สูงกว่าร้อยละ 4.0 ต่อปี
ในไตรมาสแรกปี 50 และไตรมาสสุดท้ายปี 49 แต่ต่ำกว่าร้อยละ 4.8 ต่อปีในไตรมาสที่ 3 ปี 49 และเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา
ธ.กลางเกาหลีใต้ได้ปรับเพิ่มประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของปี 50 เป็นร้อยละ 4.5 ต่อปี สูงขึ้นจากร้อยละ 4.4 ต่อปี
ในครั้งก่อนเมื่อเดือน ม.ค.50 (รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์ในเดือน มิ.ย.50 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 12 เดือนที่ร้อยละ 1.3 เทียบต่อปี รายงาน
จากสิงคโปร์ เมื่อ 23 ก.ค.50 รัฐบาลสิงคโปร์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของสิงคโปร์ในเดือน มิ.ย.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3
เทียบต่อเดือน (ตัวเลขหลังปรับปัจจัยทางฤดูกาล) และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบต่อปี นับเป็นการเพิ่มขึ้นแข็งแกร่งสูงสุดในรอบ
12 เดือนตั้งแต่เดือน มิ.ย. 48 (ที่เคยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1.4 เนื่องจากราคาอาหารและต้นทุนที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น)ทั้งนี้ ตัวเลขดัชนีราคา
ผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1.3 เนื่องจากราคาอาหารและต้นทุนขนส่งเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ขณะที่นักวิเคราะห์กล่าวว่า ภาวะเงินเฟ้อ
โดยรวมของสิงคโปร์ยังคงอยู่ในระดับต่ำ ส่วนหนึ่งเนื่องจากค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์แข็งแกร่ง รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อปัจจุบันยังอยู่ใน
เป้าหมายปี 50 ที่รัฐบาลกำหนดไว้ระหว่างร้อยละ 0.5-1.5 อย่างไรก็ตาม ตลาดที่อยู่อาศัยของสิงคโปร์ที่เฟื่องฟูและค่าที่อยู่อาศัย
ที่มีความผันผวนเล็กน้อยส่งผลกระทบต่อดัชนีราคาผู้บริโภคโดยรวม ทั้งนี้ ต้นทุนที่อยู่อาศัยในเดือน มิ.ย.50 ลดลงร้อยละ 2.0 และ
ร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบต่อปีและต่อเดือนตามลำดับ อนึ่ง สำหรับดัชนีองค์ประกอบย่อยของดัชนีราคาผู้บริโภค คือ ดัชนีราคาอาหาร
(ซึ่งเป็นดัชนีที่มีน้ำหนักมากที่สุดของดัชนีราคาผู้บริโภค) ในเดือน มิ.ย.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เทียบต่อปี ขณะที่ดัชนีภาคการขนส่ง
และการสื่อสาร (ซึ่งเป็นดัชนีที่มีน้ำหนักรองเป็นอันดับ 2 ของดัชนีราคาผู้บริโภค) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 เทียบต่อปี (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 24 ก.ค. 50 23 ก.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.695 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.4613/33.7894 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.40000 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 862.62/24.19 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,800/10,900 10,800/10,900 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 70.60 71.04 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 29.59*/25.74** 29.59*/25.74** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 19 ก.ค. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 11 ก.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--