1 เมษายน 50 นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตนายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย ได้รับเชิญจากกระทรวงการต่างประเทศ ญี่ปุ่น และเมืองฟูกูโอกะ ให้เข้าร่วมประชุมกับอดีตผู้นำของประเทศต่าง ๆ กว่า 6 ประเทศในทวีปเอเซีย หัวข้อ East Asia Senior Forum การสร้างสรรค์เอเซียสำหรับศตวรรษที่ 21 ที่เมือง ฟูกูโอกะ ประเทศญี่ปุ่นในขณะนี้ โดยในการประชุมมีอดีตผู้นำในเอเซียจากหลายประเทศ อาทิ นางเนกาวาตี ซูกาโน บุตรี อดีตประธานาธิปดีประเทศอินโดนีเซีย นายยาซูชิโร นากาโซเน อดีตนายกฯ ประเทศญี่ปุ่น นายคิง จอง อิล อดีตนายกฯ สาธารณรัฐเกาหลี นายฟิเดล รามอส อดีตประธานาธิบดีประเทศฟิลิปปินส์ มหาเธร์ มูฮัมหมัด อดีตนายกฯ ประเทศมาเลเซีย และนายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีประเทศไทย
โดยวานนี้ (31 มีนาคม 50) นายชวน กล่าวแสดงวิสัยทัศน์ถึงระบอบประชาธิปไตยว่าต้องยอมรับว่าในเอเซียนั้นระบอบประชาธิปไตยถือว่าเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญ ในบางประเทศอาจจะก้าวหน้ามาก แต่อีกหลายประเทศก็อาจจะประสบกับความท้าทายในหลาย ๆ รูปแบบ นอกจากนี้นายชวน ยังได้กล่าวย้ำในที่ประชุมว่าประชาธิปไตยไม่ได้หมายถึงรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร หรือรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเท่านั้น เพราะเมื่อใดก็ตามที่ผลประโยชน์ของประเทศถูกนำมาแลกกับการใช้อำนาจเกินขอบเขตโดยผู้มีอำนาจเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ประเทศทั้งประเทศก็จะก้าวสู่วิกฤติ เส้นทางประชาธิปไตยก็จะปิดลง และก็ถึงทางตัน
ในส่วนของประเทศไทยนั้นนายชวนได้ย้ำในที่ประชุมว่า ขณะนี้ในส่วนของไทยนั้นกำลังอยู่ในช่วงการแก้ไขความผิดพลาดในอดีตเพื่อที่จะกลับไปสู่ระบอบประชาธิปไตยในอนาคต ซึ่งคาดว่าจะมีการเลือกตั้งภายในปีนี้ ทั้งนี้นายชวนยังยืนยันว่า ระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบที่ให้สิทธิ เสรีภาพ กับประชาชนและเป็นระบอบที่ดีที่สุดที่ควรมาใช้ในประเทศต่าง ๆ
ส่วนมุมมองต่อเอเซียโดยรวมนั้น นายชวนย้ำว่า เอเซียมีศักยภาพมหาศาล แต่ศักยภาพหลายอย่างในเอเซียก็ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ด้วยเหตุผลและเงื่อนไขหลายประการ ฉะนั้นเอเซียทั้งหมดควรทำทุกวิถีทางเพื่อที่จะสร้างสรรค์ภูมิภาคของเราร่วมกัน ทั้งนี้นายชวน ได้มีข้อเสนอ 3 ข้อให้ที่ประชุม ประกอบด้วย 1. เอเซียทั้งหมดควรมุ่งมั่นตกลงกันถึงโครงการในระดับภูมิภาค เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีกว่าสำหรับภูมิภาค เพราะในหลายเรื่องหากต่างคนต่างทำในแต่ละประเทศของตนเองนั้นก็อาจจะไม่ประสบความสำเร็จได้ เพราะมีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง ถ้ามุ่งมั่นที่จะตกลงกันถึงโครงการในระดับภูมิภาคได้ ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อเอเซีย 2. ผลักดันให้ภูมิภาคเอเซียเป็นภูมิภาคเปิด กล่าวคือการเปิดให้เป็นพื้นฐานของความหลากหลาย เพื่อสนับสนุน เกื้อกูลกันภายในภูมิภาค และเปิดการยอมรับที่หลากหลายจากภูมิภาคต่าง ๆ ซึ่งจะก่อให้เกิดการสร้างสรรค์สำหรับเอเซียในศตวรรษที่ 21 ได้ 3. ผลักดันให้ภูมิภาคเอเซียมีประสิทธิภาพ เสถียรภาพ และการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยยอมรับหลักยุติธรรม และการบริหารการจัดการที่ดี มีหลักธรรมาภิบาล (Good Governance)
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 1 เม.ย. 2550--จบ--
โดยวานนี้ (31 มีนาคม 50) นายชวน กล่าวแสดงวิสัยทัศน์ถึงระบอบประชาธิปไตยว่าต้องยอมรับว่าในเอเซียนั้นระบอบประชาธิปไตยถือว่าเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญ ในบางประเทศอาจจะก้าวหน้ามาก แต่อีกหลายประเทศก็อาจจะประสบกับความท้าทายในหลาย ๆ รูปแบบ นอกจากนี้นายชวน ยังได้กล่าวย้ำในที่ประชุมว่าประชาธิปไตยไม่ได้หมายถึงรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร หรือรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเท่านั้น เพราะเมื่อใดก็ตามที่ผลประโยชน์ของประเทศถูกนำมาแลกกับการใช้อำนาจเกินขอบเขตโดยผู้มีอำนาจเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ประเทศทั้งประเทศก็จะก้าวสู่วิกฤติ เส้นทางประชาธิปไตยก็จะปิดลง และก็ถึงทางตัน
ในส่วนของประเทศไทยนั้นนายชวนได้ย้ำในที่ประชุมว่า ขณะนี้ในส่วนของไทยนั้นกำลังอยู่ในช่วงการแก้ไขความผิดพลาดในอดีตเพื่อที่จะกลับไปสู่ระบอบประชาธิปไตยในอนาคต ซึ่งคาดว่าจะมีการเลือกตั้งภายในปีนี้ ทั้งนี้นายชวนยังยืนยันว่า ระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบที่ให้สิทธิ เสรีภาพ กับประชาชนและเป็นระบอบที่ดีที่สุดที่ควรมาใช้ในประเทศต่าง ๆ
ส่วนมุมมองต่อเอเซียโดยรวมนั้น นายชวนย้ำว่า เอเซียมีศักยภาพมหาศาล แต่ศักยภาพหลายอย่างในเอเซียก็ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้ด้วยเหตุผลและเงื่อนไขหลายประการ ฉะนั้นเอเซียทั้งหมดควรทำทุกวิถีทางเพื่อที่จะสร้างสรรค์ภูมิภาคของเราร่วมกัน ทั้งนี้นายชวน ได้มีข้อเสนอ 3 ข้อให้ที่ประชุม ประกอบด้วย 1. เอเซียทั้งหมดควรมุ่งมั่นตกลงกันถึงโครงการในระดับภูมิภาค เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีกว่าสำหรับภูมิภาค เพราะในหลายเรื่องหากต่างคนต่างทำในแต่ละประเทศของตนเองนั้นก็อาจจะไม่ประสบความสำเร็จได้ เพราะมีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง ถ้ามุ่งมั่นที่จะตกลงกันถึงโครงการในระดับภูมิภาคได้ ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อเอเซีย 2. ผลักดันให้ภูมิภาคเอเซียเป็นภูมิภาคเปิด กล่าวคือการเปิดให้เป็นพื้นฐานของความหลากหลาย เพื่อสนับสนุน เกื้อกูลกันภายในภูมิภาค และเปิดการยอมรับที่หลากหลายจากภูมิภาคต่าง ๆ ซึ่งจะก่อให้เกิดการสร้างสรรค์สำหรับเอเซียในศตวรรษที่ 21 ได้ 3. ผลักดันให้ภูมิภาคเอเซียมีประสิทธิภาพ เสถียรภาพ และการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยยอมรับหลักยุติธรรม และการบริหารการจัดการที่ดี มีหลักธรรมาภิบาล (Good Governance)
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 1 เม.ย. 2550--จบ--