สรุปการสัมมนาวิชาการเวทีสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (FPO Forum) ภายใต้โครงการขยายบทบาทสำนักงานเศรษฐกิจการคลังสู่ภูมิภาค ณ จังหวัดอุบลราชธานี
นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้กล่าวเปิดการสัมมนาวิชาการภายใต้โครงการขยายบทบาท สศค. สู่ภูมิภาค ณ จังหวัดอุบลราชธานี ในวันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม 2550 ห้องแกรนด์ บอลรูม โรงแรมเนวาด้า แกรนด์ จังหวัดอุบลราชธานี และกล่าวปาฐกถาพิเศษภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ ดังนี้
สศค. คาดว่าเศรษฐกิจในปี 2550 จะเติบโตในอัตราร้อยละ 4 โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการบริโภคภาครัฐที่แท้จริงที่คาดว่าจะเติบโตในอัตราร้อยละ 11 การลงทุนภาครัฐที่คาดว่าจะเติบโตในอัตราร้อยละ 2.7 อันเป็นผลจากการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณได้ตามเป้าหมายที่ร้อยละ 93 ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย และการจัดทำงบประมาณรายจ่ายแบบขาดดุลในปี 2551 ส่วนการบริโภคภาคเอกชน สศค. คาดว่าจะขยายตัวได้ในอัตราร้อยละ 2 ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนอาจมีแนวโน้มไม่ขยายตัวในปีนี้ สำหรับมูลค่าการส่งออกและการนำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ นั้น คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 12.5 และ 6.9 ตามลำดับ สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง มีปัจจัยบวก ได้แก่ การใช้นโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย
เศรษฐกิจในปี 2551 เมื่อมีการเลือกตั้งและมีการจัดตั้งรัฐบาลแล้ว คาดว่าจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนมากขึ้น อย่างไรก็ดี ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงอันประกอบด้วย ภาวะเศรษฐกิจโลกที่อาจชะลอตัวลง ราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นต่อเนื่อง และค่าเงินบาทที่ยังผันผวน จากปัจจัยดังกล่าว สศค. คาดว่าเศรษฐกิจในปี 2551 จะเติบโตในอัตราร้อยละ 5
สำหรับประเด็นการเชื่อมโยงเศรษฐกิจมหภาคสู่ระดับภูมิภาคนั้น ในส่วนของ สศค. ได้สนับสนุนการพัฒนาของท้องถิ่นผ่านการบริหารนโยบายการคลัง รวมถึงการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น โดยเฉพาะการวางแผนจัดสรรรายได้ภาษีและเงินอุดหนุนให้ท้องถิ่น
ในช่วงต่อมา เป็นการเสวนาในหัวข้อเรื่อง “ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดอุบลราชธานี: นานาทรรศนะ” โดยมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย นายพงศ์นคร โภชากรณ์ ผู้อำนวยการส่วนแบบจำลองและประมาณการเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง นางเบญจมาศ สงวนวงษ์ คลังจังหวัดอุบลราชธานี ตวแพทย์ชวลิต องควานิช ประธานกรรมการหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี และนายดุสิต จักรศิลป์ หัวหน้าสาขาวิชาการเงินและการธนาคาร คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยผลการเสวนาสรุปได้ว่า ในภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ ความท้าทายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตประกอบด้วย แนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศที่ชะลอตัวลงตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ค่าเงินบาทที่ยังคงแข็งค่าต่อเนื่องจากปีก่อน แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และกระแสโลกาภิวัฒน์ อันประกอบด้วยการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ การพัฒนาด้านเทคโนโลยี และการพัฒนาด้านแรงงาน
ทั้งนี้ ความท้าทายต่อเศรษฐกิจประเทศดังกล่าว ย่อมส่งผลต่อเศรษฐกิจของจังหวัดเช่นกัน โดยเมื่อพิจารณาเศรษฐกิจของอุบลราชธานีจากโครงสร้างการผลิตแล้ว พบว่าภาคการค้าปลีกค้าส่งเป็นภาคที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และมีอัตราการเจริญเติบโตในระดับสูง รองลงมาได้แก่ ภาคการเกษตร เนื่องจากพื้นที่ส่วนมากของจังหวัดเป็นพื้นที่เกษตรกรรม โดยมีข้าวเป็นสินค้าหลัก และมันสำปะหลังที่เริ่มมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นจากนโยบายภาครัฐในการจัดตั้งโรงงานผลิตเอทานอลในจังหวัด สำหรับภาคเศรษฐกิจอื่นๆ ที่สำคัญได้แก่ การศึกษา การขนส่ง การบริหารราชการ และการค้าชายแดน เป็นต้น ซึ่งจากข้อมูลข้างต้น ภาครัฐควรให้การสนับสนุนกับภาคเกษตรในพื้นที่ โดยเฉพาะการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร การให้ความรู้แก่เกษตรกร และการให้ความช่วยเหลือด้านการชลประทาน นอกจากนี้ ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาสาขาการท่องเที่ยวของจังหวัด ในขณะที่มุมมองของนักวิชาการ เห็นว่าภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคล การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการทางธุรกิจ โดยเฉพาะการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจในกลุ่มประเทศอินโดจีน รวมถึงการบริหารเศรษฐกิจตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านการสร้างระบบบริหารความเสี่ยง เช่น การสร้างระบบฐานข้อมูลเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้เกษตรกร เป็นต้น
สำหรับมุมมองของภาคเอกชนในการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดนั้น เห็นว่า ภาครัฐควรเน้นการช่วยเหลือเกษตรกรเพื่อช่วยรับมือกับความผันผวนของตลาด โดยการสร้างหลักประกันทางรายได้ รวมถึงการช่วยเหลือด้านระบบชลประทาน และการหามาตรการรองรับการนำเข้าสินค้าเกษตรราคาถูกจากประเทศจีนด้วย นอกจากนี้ ภาครัฐยังควรส่งเสริมการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีการเจริญเติบโตมาโดยตลอดในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงการส่งเสริมการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว ให้สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ตลอดปี และมีการอำนวยความสะดวกกับนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้น เพื่อให้จังหวัดได้รับมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจจากโครงการพัฒนาระบบการคมนาคมร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ อันได้แก่ ลาว และกัมพูชา
สำหรับผลสรุปจากการประชุมในครั้งนี้ รวมทั้งข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมอภิปรายที่เกี่ยวข้องกับการ พัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดอุบลราชธานี ทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลังจะดำเนินการพิจารณาและศึกษาต่อ เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคต่อไป
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 152550 24 สิงหาคม 2550--
นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้กล่าวเปิดการสัมมนาวิชาการภายใต้โครงการขยายบทบาท สศค. สู่ภูมิภาค ณ จังหวัดอุบลราชธานี ในวันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม 2550 ห้องแกรนด์ บอลรูม โรงแรมเนวาด้า แกรนด์ จังหวัดอุบลราชธานี และกล่าวปาฐกถาพิเศษภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ ดังนี้
สศค. คาดว่าเศรษฐกิจในปี 2550 จะเติบโตในอัตราร้อยละ 4 โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการบริโภคภาครัฐที่แท้จริงที่คาดว่าจะเติบโตในอัตราร้อยละ 11 การลงทุนภาครัฐที่คาดว่าจะเติบโตในอัตราร้อยละ 2.7 อันเป็นผลจากการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณได้ตามเป้าหมายที่ร้อยละ 93 ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย และการจัดทำงบประมาณรายจ่ายแบบขาดดุลในปี 2551 ส่วนการบริโภคภาคเอกชน สศค. คาดว่าจะขยายตัวได้ในอัตราร้อยละ 2 ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนอาจมีแนวโน้มไม่ขยายตัวในปีนี้ สำหรับมูลค่าการส่งออกและการนำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ นั้น คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 12.5 และ 6.9 ตามลำดับ สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง มีปัจจัยบวก ได้แก่ การใช้นโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย
เศรษฐกิจในปี 2551 เมื่อมีการเลือกตั้งและมีการจัดตั้งรัฐบาลแล้ว คาดว่าจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนมากขึ้น อย่างไรก็ดี ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงอันประกอบด้วย ภาวะเศรษฐกิจโลกที่อาจชะลอตัวลง ราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นต่อเนื่อง และค่าเงินบาทที่ยังผันผวน จากปัจจัยดังกล่าว สศค. คาดว่าเศรษฐกิจในปี 2551 จะเติบโตในอัตราร้อยละ 5
สำหรับประเด็นการเชื่อมโยงเศรษฐกิจมหภาคสู่ระดับภูมิภาคนั้น ในส่วนของ สศค. ได้สนับสนุนการพัฒนาของท้องถิ่นผ่านการบริหารนโยบายการคลัง รวมถึงการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น โดยเฉพาะการวางแผนจัดสรรรายได้ภาษีและเงินอุดหนุนให้ท้องถิ่น
ในช่วงต่อมา เป็นการเสวนาในหัวข้อเรื่อง “ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดอุบลราชธานี: นานาทรรศนะ” โดยมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย นายพงศ์นคร โภชากรณ์ ผู้อำนวยการส่วนแบบจำลองและประมาณการเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง นางเบญจมาศ สงวนวงษ์ คลังจังหวัดอุบลราชธานี ตวแพทย์ชวลิต องควานิช ประธานกรรมการหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี และนายดุสิต จักรศิลป์ หัวหน้าสาขาวิชาการเงินและการธนาคาร คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยผลการเสวนาสรุปได้ว่า ในภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ ความท้าทายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตประกอบด้วย แนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศที่ชะลอตัวลงตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ค่าเงินบาทที่ยังคงแข็งค่าต่อเนื่องจากปีก่อน แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และกระแสโลกาภิวัฒน์ อันประกอบด้วยการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ การพัฒนาด้านเทคโนโลยี และการพัฒนาด้านแรงงาน
ทั้งนี้ ความท้าทายต่อเศรษฐกิจประเทศดังกล่าว ย่อมส่งผลต่อเศรษฐกิจของจังหวัดเช่นกัน โดยเมื่อพิจารณาเศรษฐกิจของอุบลราชธานีจากโครงสร้างการผลิตแล้ว พบว่าภาคการค้าปลีกค้าส่งเป็นภาคที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และมีอัตราการเจริญเติบโตในระดับสูง รองลงมาได้แก่ ภาคการเกษตร เนื่องจากพื้นที่ส่วนมากของจังหวัดเป็นพื้นที่เกษตรกรรม โดยมีข้าวเป็นสินค้าหลัก และมันสำปะหลังที่เริ่มมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นจากนโยบายภาครัฐในการจัดตั้งโรงงานผลิตเอทานอลในจังหวัด สำหรับภาคเศรษฐกิจอื่นๆ ที่สำคัญได้แก่ การศึกษา การขนส่ง การบริหารราชการ และการค้าชายแดน เป็นต้น ซึ่งจากข้อมูลข้างต้น ภาครัฐควรให้การสนับสนุนกับภาคเกษตรในพื้นที่ โดยเฉพาะการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร การให้ความรู้แก่เกษตรกร และการให้ความช่วยเหลือด้านการชลประทาน นอกจากนี้ ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาสาขาการท่องเที่ยวของจังหวัด ในขณะที่มุมมองของนักวิชาการ เห็นว่าภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคล การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการทางธุรกิจ โดยเฉพาะการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจในกลุ่มประเทศอินโดจีน รวมถึงการบริหารเศรษฐกิจตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านการสร้างระบบบริหารความเสี่ยง เช่น การสร้างระบบฐานข้อมูลเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้เกษตรกร เป็นต้น
สำหรับมุมมองของภาคเอกชนในการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดนั้น เห็นว่า ภาครัฐควรเน้นการช่วยเหลือเกษตรกรเพื่อช่วยรับมือกับความผันผวนของตลาด โดยการสร้างหลักประกันทางรายได้ รวมถึงการช่วยเหลือด้านระบบชลประทาน และการหามาตรการรองรับการนำเข้าสินค้าเกษตรราคาถูกจากประเทศจีนด้วย นอกจากนี้ ภาครัฐยังควรส่งเสริมการค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีการเจริญเติบโตมาโดยตลอดในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงการส่งเสริมการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว ให้สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ตลอดปี และมีการอำนวยความสะดวกกับนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้น เพื่อให้จังหวัดได้รับมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจจากโครงการพัฒนาระบบการคมนาคมร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ อันได้แก่ ลาว และกัมพูชา
สำหรับผลสรุปจากการประชุมในครั้งนี้ รวมทั้งข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมอภิปรายที่เกี่ยวข้องกับการ พัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดอุบลราชธานี ทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลังจะดำเนินการพิจารณาและศึกษาต่อ เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคต่อไป
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 152550 24 สิงหาคม 2550--