ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ก.คลังเตรียมเสนอร่าง พรบ.ธปท. ที่แก้ไขแล้วให้ ครม. พิจารณา นางพรรณี สถาวโรดม ผอ.สนง.เศรษฐกิจการคลัง
(สศค.) เปิดเผยว่า ในเร็ว ๆ นี้จะทำการส่งร่างแก้ไขกฎหมาย 3 ฉบับ ประกอบด้วย พรบ.ธปท. พรบ.กลต. และ พรบ.ควบคุมการแลกเปลี่ยน
เงินตรา ส่งให้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รอง นรม. และ รมว.คลัง พิจารณานำเสนอต่อที่ประชุม ครม. และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อออก
เป็นกฎหมายบังคับใช้ต่อไป ทั้งนี้ พรบ.ธปท. ฉบับใหม่จะมีการตั้งคณะกรรมการสรรหาผู้ที่จะดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ ธปท. อย่างชัดเจน มีระยะ
เวลาดำรงตำแหน่ง 5 ปี เป็นได้ไม่เกิน 2 วาระ และต้องไม่ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการ ธปท. ปัจจุบันตำแหน่งผู้ว่าการ ธปท.
สามารถดำรงตำแหน่งได้จนถึงอายุ 60 ปี นอกจากนี้ ผู้ว่าการ ธปท. ต้องรายงานการดำเนินนโยบายและการทำงานให้กับวุฒิสภาทราบทุกปี
เพื่อให้การทำงานมีความโปร่งใสและชัดเจน (แนวหน้า)
2. เตรียมแก้ กม.เครดิตบูโร จ่ายเช็คเด้งถูกขึ้นบัญชีดำ นายนิวัฒน์ กาญจนภูมินทร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บ.ข้อมูลเครดิต
แห่งชาติ (เครดิตบูโร) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ซึ่งมีผู้ว่าการ ธปท. เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมได้หารือ
ถึงการแก้ไขเพิ่มเติม พรบ.ข้อมูลเครดิตแห่งชาติที่จะมีการปรับปรุงเรื่องการจัดระดับของลูกค้า และได้มีการเสนอให้นำข้อมูลเกี่ยวกับการใช้เช็ค
เพิ่มเข้ามาไว้ในระบบเครดิตบูโรด้วย เพื่อจะช่วยให้ธุรกรรมการใช้เช็คในระบบการค้าของประเทศมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น หลังจากก่อนหน้านี้
ก.ยุติธรรมได้เสนอให้แก้ไขกฎหมายในบทลงโทษให้เป็นโทษได้เฉพาะทางแพ่งเท่านั้น จากเดิมที่บทลงโทษทั้งแพ่งและอาญา สำหรับการเก็บข้อมูล
บัตรเครดิตที่ประชุมยังเห็นว่าจำเป็นต้องขึ้นบัญชีดำไว้ที่กำหนด 3 ปีเช่นเดิม เพราะคิดว่ายังจำเป็นต้องใช้ข้อมูลเก่าประกอบการพิจารณาด้านสินเชื่อ
ด้วย ไม่ใช่ดูเฉพาะข้อมูลปัจจุบัน แม้ว่าจะมีบางคนเสนอว่าควรลดลง ส่วนจำนวนบัตรเครดิตประชาชนจะถือกี่ใบน่าจะเป็นสิทธิส่วนบุคคลไม่ควรจำกัด
แต่ควรดูวงเงินรวมของผู้ถือบัตรว่ามีภาระรวมกันมากเกินหรือไม่มากกว่า จึงไม่จำเป็นต้องจำกัดเพียงคนละ 2 ใบ เหมือนที่ สนง.คุ้มครองผู้บริโภค
เสนอ ทั้งนี้ จากการตรวจสอบของ ธปท. พบว่าการเพิ่มขึ้นของปริมาณเช็คเด้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว
โดยปัจจุบันมีปริมาณเช็คเด้งเฉลี่ยสูงถึงเดือนละ 8-9 พันล้านบาท (โพสต์ทูเดย์, มติชน, แนวหน้า)
3. บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือของญี่ปุ่นคงระดับเครดิตประเทศของไทยไว้ที่ระดับมีเสถียรภาพ นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผอ.สนง.
บริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า บ.เจซีอาร์ ซึ่งเป็นบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือของญี่ปุ่นได้คงระดับเครดิตประเทศของไทยในระดับที่มีเสถียรภาพ
และคงระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศที่ระดับ A- ส่วนตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินบาทคงไว้ที่ระดับ A+ เนื่องจากเห็นว่า
ไทยยังมีความแข็งแกร่งด้านการเงินและภาคธนาคารสามารถฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง รวมทั้งฐานะการคลังของรัฐบาลปรับตัวดีขึ้น ทำให้ไทยสามารถรับ
ผลกระทบจากภายนอกได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลยังมีนโยบายหรือมาตรการที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนหรือดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ
ผิดพลาดจนทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นเหมือนกับที่เกิดขึ้นในปลายเดือน ธ.ค.49 ก็มีความเป็นไปได้ที่แนวโน้มระดับเครดิตของไทยอาจถูก
เปลี่ยนไปสู่ระดับที่เป็นลบได้ทันที โดยนักลงทุนจำนวนมากได้เริ่มประเมินความเสี่ยงทางสังคมและการเมืองของไทยด้วยความระมัดระวังมากขึ้น
และเห็นว่าเสถียรภาพทางสังคมและการเมืองได้ลดลง หากชื่อเสียงของไทยถูกมองว่ามีความน่าลงทุนน้อยลงก็จะส่งผลกระทบทางลบต่อการลงทุนได้ (เดลินิวส์, โพสต์ทูเดย์)
4. คาดว่า ธปท. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ น.ส.เกวลิน หวังพิชญาสุข เจ้าหน้าที่วิจัยอาวุโส
บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า เชื่อว่าการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของ ธปท. ในวันที่ 28 ก.พ.นี้ กนง. น่าจะตัดสินใจ
ลดดอกเบี้ยลงอีกร้อยละ 0.25 เพราะจำเป็นต้องกระตุ้นเศรษฐกิจให้เดินหน้าต่อไปได้ และจะส่งผลทางอ้อมต่อค่าเงินบาทให้ปรับตัวอ่อนค่าลงได้
แม้ค่าเงินบาทจะไม่ใช่ปัจจัยที่ ธปท. ใช้ในการตัดสินใจเรื่องดอกเบี้ยนโยบายก็ตาม เนื่องจากกากรลดดอกเบี้ยจะทำให้ต้นทุนของภาคธุรกิจลดลง
ค่าเงินบาทจึงน่าจะอ่อนตัวลงด้วยเช่นกัน ด้านนายธีรศักดิ์ สุวรรณยศ ประธานกรรมการบริหารและรักษาการ กก.ผจก.
ธ.อิสลามแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ธปท. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปีนี้ อย่างไรก็ตาม การลดดอกเบี้ยใน
ระดับดังกล่าวไม่น่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้เร็วเหมือนการลดครั้งเดียวร้อยละ 0.50 เพราะจะทำให้ดอกเบี้ยในตลาดเงินปรับลดลงตามได้เร็ว
ซึ่งดอกเบี้ยนโยบายควรจะเหลือร้อยละ 4 หรือร้อยละ 3 กว่า ๆ แต่คงจะทำไม่ได้เพราะถ้าลดมากเกินไปตลาดจะปรับตัวไม่ทัน นอกจากนี้ การ
ลดดอกเบี้ยจะส่งผลทางอ้อมให้ค่าเงินบาทอ่อนลง กล่าวคือ เมื่อการลงทุนในตลาดเงินได้ดอกเบี้ยน้อยลงความน่าสนใจในตลาดนี้ก็จะน้อยลง
นักลงทุนต่างชาติก็จะนำเงินดอลลาร์ สรอ. มาแลกบาทน้อยลง เพราะจากเดิมที่ลงทุนแล้วได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนและกำไรจากดอกเบี้ยสูงมาก
แต่พอดอกเบี้ยปรับลดลง กำไรน้อยลง ก็ไม่ต้องการแลกเงินบาทมาลงทุนมาก เมื่อความต้องการเงินบาทน้อยลง เงินบาทก็จะอ่อนค่าลง ในขณะที่
อัตราดอกเบี้ยของ ธ.พาณิชย์จะเกิดผลกระทบในระยะ 3-6 เดือน ซึ่งแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากยังอยู่ในช่วงขาลง และที่ผ่านมามี
ธ.พาณิชย์หลายแห่งปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากลงบ้างแล้ว คาดว่าจะมีการปรับลดลงอีกต่อเนื่องรวมถึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ด้วย (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ตำแหน่งงานที่ว่างของสรอ. ในเดือน ธ.ค. เพิ่มขึ้นสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 44 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 50
ก.แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า ในเดือน ธ.ค. อัตราตำแหน่งงานที่ว่างของสรอ. ในหลายอุตสาหกรรมรวมทั้งการก่อสร้าง การค้าปลีก ระดับมือ
อาชีพ และธรุกิจบริการ เพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 3.2 จากร้อยละ 3.1 เมื่อเดือน พ.ย. และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ทั้งนี้
อัตราตำแหน่งงานที่ว่างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดในรอบเกือบ 6 ปีนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 44 ส่งสัญญานว่ามีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นเนื่องจาก
เศรษฐกิจขยายตัวอย่างแข็งแกร่งกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยตำแหน่งงานที่ว่างในช่วงครึ่งแรกปี 49 เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่ช่วงครึ่งปีหลังมี
แนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามแม้ว่าเมื่อเทียบต่อเดือนที่แล้วอัตราการจ้างงานและการเลิกจ้างจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยก็ตามแต่จำนวน
ของการจ้างงานและการเลิกจ้างในแต่ละเดือนกลับมีเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้อัตราการจ้างงานในเดือน ธ.ค.ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 3.6 จากร้อยละ
3.7 ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่การเลิกจ้างลดลงอยู่ที่ร้อยละ 3.3 จากร้อยละ 3.5 ในเดือน พ.ย. โดยเมื่อปีที่แล้ว มีการจ้างงานเฉลี่ยต่อเดือน
4.9 ล้านคน เพิ่มขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 46 ที่มีการจ้างงาน 4.1 ล้านคนต่อเดือน ขณะที่การเลิกจ้างมีจำนวนเฉลี่ย 4.5 ล้านคน ต่อเดือน ทั้งนี้
ตัวเลขการเลิกจ้างมีตัวเลขเพิ่มขึ้นในปี 47 และ 48 ส่วนปี 49 มีตัวเลขลดลง (รอยเตอร์)
2. คำสั่งซื้อสินค้าโรงงานของเยอรมนีใน ธ.ค.49 ลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย.49 รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ
6 ก.พ.50 คำสั่งซื้อสินค้าโรงงานของเยอรมนีลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือน ธ.ค.49 เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย.49 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8
ในเดือน พ.ย.49 ในขณะที่รอยเตอร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ต่อเดือน ส่งผลให้คำสั่งซื้อในไตรมาสสุดท้ายปี 49 ลดลงร้อยละ 0.5 หลัง
จากเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 ในไตรมาสที่ 3 และร้อยละ 2.6 ในไตรมาสที่ 2 ปี 49 ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากค่าเงินยูโรที่สูงขึ้นเมื่อ
เทียบกับดอลลาร์ สรอ. ทำให้คำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลงร้อยละ 0.4 ซึ่งส่งผลให้ยอดคำสั่งซื้อรวมลดลงแม้ว่าคำสั่งซื้อจากในประเทศเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.2 ก็ตาม ทั้งนี้คำสั่งซื้อสินค้าสำหรับผู้บริโภคลดลงทั้งจากในและต่างประเทศโดยลดลงร้อยละ 2.2 และ 9.4 ตามลำดับ โดยคำสั่งซื้อ
จากประเทศนอกเขตเศรษฐกิจยุโรปหรือ Euro zone ลดลงถึงร้อยละ 11.8 ต่อเดือน แต่อย่างไรก็ดี คำสั่งซื้อสินค้าขั้นกลางเพื่อนำมาผลิตต่อ
และสินค้าทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 และ 0.6 ตามลำดับ สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจเยอรมนียังมีแนวโน้มสดใส โดยรัฐบาลคาดว่าเศรษฐกิจในปี 50
จะขยายตัวร้อยละ 1.7 ต่อปี หลังจากขยายตัวถึงร้อยละ 2.5 ในปี 49 สูงสุดในรอบ 6 ปี (รอยเตอร์)
3. ยอดขายปลีกของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน ธ.ค.49 เพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงานจากบรัสเซลล์ เมื่อ 6 ก.พ.50
สำนักงานสถิติสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า ยอดขายปลีกของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน ธ.ค.49 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.3 เทียบต่อเดือน และเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบต่อปี ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 และ 2.3 เมื่อเทียบต่อเดือนและต่อปี ตามลำดับ แม้ว่า
ยอดขายปลีกของประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเขตเศรษฐกิจยุโรป จะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 2.4 ก็ตาม ซึ่งสาเหตุ
อาจมาจากการเร่งการซื้อสินค้าก่อนการปรับเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มอีกร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 19 ในวันที่ 1 ม.ค.ที่ผ่านมา ส่วนยอดขายปลีกใน
ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจใหญ่รองเป็นอันดับ 2 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบต่อเดือน อนึ่ง เมื่อเทียบต่อปีแล้ว ยอดขาย
ปลีกของเยอรมนีเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1.8 ฟื้นตัวจากเมื่อ 3 เดือนก่อนหน้าที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนยอดขายปลีกของฝรั่งเศสเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4
และสเปนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 4.5 อย่างไรก็ตาม ทั้ง The European Commission และนักวิเคราะห์ต่างคาดการณ์แล้วว่าผู้บริโภคจะจับจ่ายใช้
สอยเพิ่มขึ้นในเดือน ธ.ค. เนื่องจากเป็นเทศกาลคริสมาสต์ที่ผู้บริโภคจะมีการจับจ่ายอย่างมาก รวมทั้งเป็นการใช้จ่ายล่วงหน้าก่อนการปรับเพิ่ม
อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มของเยอรมนี (รอยเตอร์)
4. ยอดขายปลีกของอังกฤษในเดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 รายงานจากลอนดอนเมื่อ 6 ก.พ.50
The British Retail Consortium (BRC) เปิดเผยว่า ยอดขายปลีกของอังกฤษในเดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 จากที่ขยายตัวร้อยละ
2.5 ในเดือนก่อนหน้า นับเป็นการขยายตัวสูงสุดตั้งแต่เดือน ก.ค.49 โดยได้รับแรงกระตุ้นจากสถานการณ์การขายปลีกในช่วงปลายปีต่อเนื่องถึง
ปีใหม่ซึ่งส่งผลให้ยอดขายปลีกในเดือน ม.ค.50 สูงสุดเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในรอบ 3 ปี ทั้งนี้ ยอดขายปลีกที่เพิ่มขึ้นในเดือน ม.ค.ดังกล่าว
มีสาเหตุจากยอดขายสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่มซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งตั้งแต่เดือน ก.ค.49 เนื่องจากผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าที่เกี่ยวข้อง
กับการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างมาก ได้แก่ ผักสดและผลไม้ ขณะที่สินค้าประเภทเสื้อผ้าสำหรับสุภาพสตรี เฟอร์นิเจอร์ และพรม ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นนับ
ตั้งแต่มีการชะลอตัวในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 7 ก.พ. 50 6 ก.พ. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อม
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.804 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.6021/35.9295 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.87063 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 673.63/10.88 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,950/11,050 10,900/11,000 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.73 55.05 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 3 ก.พ. 50 25.59*/22.94* 25.59*/22.94* 26.49/23.34 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ก.คลังเตรียมเสนอร่าง พรบ.ธปท. ที่แก้ไขแล้วให้ ครม. พิจารณา นางพรรณี สถาวโรดม ผอ.สนง.เศรษฐกิจการคลัง
(สศค.) เปิดเผยว่า ในเร็ว ๆ นี้จะทำการส่งร่างแก้ไขกฎหมาย 3 ฉบับ ประกอบด้วย พรบ.ธปท. พรบ.กลต. และ พรบ.ควบคุมการแลกเปลี่ยน
เงินตรา ส่งให้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รอง นรม. และ รมว.คลัง พิจารณานำเสนอต่อที่ประชุม ครม. และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อออก
เป็นกฎหมายบังคับใช้ต่อไป ทั้งนี้ พรบ.ธปท. ฉบับใหม่จะมีการตั้งคณะกรรมการสรรหาผู้ที่จะดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ ธปท. อย่างชัดเจน มีระยะ
เวลาดำรงตำแหน่ง 5 ปี เป็นได้ไม่เกิน 2 วาระ และต้องไม่ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการ ธปท. ปัจจุบันตำแหน่งผู้ว่าการ ธปท.
สามารถดำรงตำแหน่งได้จนถึงอายุ 60 ปี นอกจากนี้ ผู้ว่าการ ธปท. ต้องรายงานการดำเนินนโยบายและการทำงานให้กับวุฒิสภาทราบทุกปี
เพื่อให้การทำงานมีความโปร่งใสและชัดเจน (แนวหน้า)
2. เตรียมแก้ กม.เครดิตบูโร จ่ายเช็คเด้งถูกขึ้นบัญชีดำ นายนิวัฒน์ กาญจนภูมินทร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บ.ข้อมูลเครดิต
แห่งชาติ (เครดิตบูโร) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ซึ่งมีผู้ว่าการ ธปท. เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมได้หารือ
ถึงการแก้ไขเพิ่มเติม พรบ.ข้อมูลเครดิตแห่งชาติที่จะมีการปรับปรุงเรื่องการจัดระดับของลูกค้า และได้มีการเสนอให้นำข้อมูลเกี่ยวกับการใช้เช็ค
เพิ่มเข้ามาไว้ในระบบเครดิตบูโรด้วย เพื่อจะช่วยให้ธุรกรรมการใช้เช็คในระบบการค้าของประเทศมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น หลังจากก่อนหน้านี้
ก.ยุติธรรมได้เสนอให้แก้ไขกฎหมายในบทลงโทษให้เป็นโทษได้เฉพาะทางแพ่งเท่านั้น จากเดิมที่บทลงโทษทั้งแพ่งและอาญา สำหรับการเก็บข้อมูล
บัตรเครดิตที่ประชุมยังเห็นว่าจำเป็นต้องขึ้นบัญชีดำไว้ที่กำหนด 3 ปีเช่นเดิม เพราะคิดว่ายังจำเป็นต้องใช้ข้อมูลเก่าประกอบการพิจารณาด้านสินเชื่อ
ด้วย ไม่ใช่ดูเฉพาะข้อมูลปัจจุบัน แม้ว่าจะมีบางคนเสนอว่าควรลดลง ส่วนจำนวนบัตรเครดิตประชาชนจะถือกี่ใบน่าจะเป็นสิทธิส่วนบุคคลไม่ควรจำกัด
แต่ควรดูวงเงินรวมของผู้ถือบัตรว่ามีภาระรวมกันมากเกินหรือไม่มากกว่า จึงไม่จำเป็นต้องจำกัดเพียงคนละ 2 ใบ เหมือนที่ สนง.คุ้มครองผู้บริโภค
เสนอ ทั้งนี้ จากการตรวจสอบของ ธปท. พบว่าการเพิ่มขึ้นของปริมาณเช็คเด้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว
โดยปัจจุบันมีปริมาณเช็คเด้งเฉลี่ยสูงถึงเดือนละ 8-9 พันล้านบาท (โพสต์ทูเดย์, มติชน, แนวหน้า)
3. บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือของญี่ปุ่นคงระดับเครดิตประเทศของไทยไว้ที่ระดับมีเสถียรภาพ นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผอ.สนง.
บริหารหนี้สาธารณะ เปิดเผยว่า บ.เจซีอาร์ ซึ่งเป็นบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือของญี่ปุ่นได้คงระดับเครดิตประเทศของไทยในระดับที่มีเสถียรภาพ
และคงระดับเครดิตตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศที่ระดับ A- ส่วนตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินบาทคงไว้ที่ระดับ A+ เนื่องจากเห็นว่า
ไทยยังมีความแข็งแกร่งด้านการเงินและภาคธนาคารสามารถฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง รวมทั้งฐานะการคลังของรัฐบาลปรับตัวดีขึ้น ทำให้ไทยสามารถรับ
ผลกระทบจากภายนอกได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลยังมีนโยบายหรือมาตรการที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนหรือดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ
ผิดพลาดจนทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นเหมือนกับที่เกิดขึ้นในปลายเดือน ธ.ค.49 ก็มีความเป็นไปได้ที่แนวโน้มระดับเครดิตของไทยอาจถูก
เปลี่ยนไปสู่ระดับที่เป็นลบได้ทันที โดยนักลงทุนจำนวนมากได้เริ่มประเมินความเสี่ยงทางสังคมและการเมืองของไทยด้วยความระมัดระวังมากขึ้น
และเห็นว่าเสถียรภาพทางสังคมและการเมืองได้ลดลง หากชื่อเสียงของไทยถูกมองว่ามีความน่าลงทุนน้อยลงก็จะส่งผลกระทบทางลบต่อการลงทุนได้ (เดลินิวส์, โพสต์ทูเดย์)
4. คาดว่า ธปท. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ น.ส.เกวลิน หวังพิชญาสุข เจ้าหน้าที่วิจัยอาวุโส
บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า เชื่อว่าการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของ ธปท. ในวันที่ 28 ก.พ.นี้ กนง. น่าจะตัดสินใจ
ลดดอกเบี้ยลงอีกร้อยละ 0.25 เพราะจำเป็นต้องกระตุ้นเศรษฐกิจให้เดินหน้าต่อไปได้ และจะส่งผลทางอ้อมต่อค่าเงินบาทให้ปรับตัวอ่อนค่าลงได้
แม้ค่าเงินบาทจะไม่ใช่ปัจจัยที่ ธปท. ใช้ในการตัดสินใจเรื่องดอกเบี้ยนโยบายก็ตาม เนื่องจากกากรลดดอกเบี้ยจะทำให้ต้นทุนของภาคธุรกิจลดลง
ค่าเงินบาทจึงน่าจะอ่อนตัวลงด้วยเช่นกัน ด้านนายธีรศักดิ์ สุวรรณยศ ประธานกรรมการบริหารและรักษาการ กก.ผจก.
ธ.อิสลามแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ธปท. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปีนี้ อย่างไรก็ตาม การลดดอกเบี้ยใน
ระดับดังกล่าวไม่น่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้เร็วเหมือนการลดครั้งเดียวร้อยละ 0.50 เพราะจะทำให้ดอกเบี้ยในตลาดเงินปรับลดลงตามได้เร็ว
ซึ่งดอกเบี้ยนโยบายควรจะเหลือร้อยละ 4 หรือร้อยละ 3 กว่า ๆ แต่คงจะทำไม่ได้เพราะถ้าลดมากเกินไปตลาดจะปรับตัวไม่ทัน นอกจากนี้ การ
ลดดอกเบี้ยจะส่งผลทางอ้อมให้ค่าเงินบาทอ่อนลง กล่าวคือ เมื่อการลงทุนในตลาดเงินได้ดอกเบี้ยน้อยลงความน่าสนใจในตลาดนี้ก็จะน้อยลง
นักลงทุนต่างชาติก็จะนำเงินดอลลาร์ สรอ. มาแลกบาทน้อยลง เพราะจากเดิมที่ลงทุนแล้วได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนและกำไรจากดอกเบี้ยสูงมาก
แต่พอดอกเบี้ยปรับลดลง กำไรน้อยลง ก็ไม่ต้องการแลกเงินบาทมาลงทุนมาก เมื่อความต้องการเงินบาทน้อยลง เงินบาทก็จะอ่อนค่าลง ในขณะที่
อัตราดอกเบี้ยของ ธ.พาณิชย์จะเกิดผลกระทบในระยะ 3-6 เดือน ซึ่งแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากยังอยู่ในช่วงขาลง และที่ผ่านมามี
ธ.พาณิชย์หลายแห่งปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากลงบ้างแล้ว คาดว่าจะมีการปรับลดลงอีกต่อเนื่องรวมถึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ด้วย (ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ตำแหน่งงานที่ว่างของสรอ. ในเดือน ธ.ค. เพิ่มขึ้นสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 44 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 50
ก.แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า ในเดือน ธ.ค. อัตราตำแหน่งงานที่ว่างของสรอ. ในหลายอุตสาหกรรมรวมทั้งการก่อสร้าง การค้าปลีก ระดับมือ
อาชีพ และธรุกิจบริการ เพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 3.2 จากร้อยละ 3.1 เมื่อเดือน พ.ย. และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ทั้งนี้
อัตราตำแหน่งงานที่ว่างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดในรอบเกือบ 6 ปีนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 44 ส่งสัญญานว่ามีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นเนื่องจาก
เศรษฐกิจขยายตัวอย่างแข็งแกร่งกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยตำแหน่งงานที่ว่างในช่วงครึ่งแรกปี 49 เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่ช่วงครึ่งปีหลังมี
แนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามแม้ว่าเมื่อเทียบต่อเดือนที่แล้วอัตราการจ้างงานและการเลิกจ้างจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยก็ตามแต่จำนวน
ของการจ้างงานและการเลิกจ้างในแต่ละเดือนกลับมีเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้อัตราการจ้างงานในเดือน ธ.ค.ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 3.6 จากร้อยละ
3.7 ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่การเลิกจ้างลดลงอยู่ที่ร้อยละ 3.3 จากร้อยละ 3.5 ในเดือน พ.ย. โดยเมื่อปีที่แล้ว มีการจ้างงานเฉลี่ยต่อเดือน
4.9 ล้านคน เพิ่มขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 46 ที่มีการจ้างงาน 4.1 ล้านคนต่อเดือน ขณะที่การเลิกจ้างมีจำนวนเฉลี่ย 4.5 ล้านคน ต่อเดือน ทั้งนี้
ตัวเลขการเลิกจ้างมีตัวเลขเพิ่มขึ้นในปี 47 และ 48 ส่วนปี 49 มีตัวเลขลดลง (รอยเตอร์)
2. คำสั่งซื้อสินค้าโรงงานของเยอรมนีใน ธ.ค.49 ลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย.49 รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ
6 ก.พ.50 คำสั่งซื้อสินค้าโรงงานของเยอรมนีลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือน ธ.ค.49 เมื่อเทียบกับเดือน พ.ย.49 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8
ในเดือน พ.ย.49 ในขณะที่รอยเตอร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ต่อเดือน ส่งผลให้คำสั่งซื้อในไตรมาสสุดท้ายปี 49 ลดลงร้อยละ 0.5 หลัง
จากเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 ในไตรมาสที่ 3 และร้อยละ 2.6 ในไตรมาสที่ 2 ปี 49 ตามลำดับ โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากค่าเงินยูโรที่สูงขึ้นเมื่อ
เทียบกับดอลลาร์ สรอ. ทำให้คำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลงร้อยละ 0.4 ซึ่งส่งผลให้ยอดคำสั่งซื้อรวมลดลงแม้ว่าคำสั่งซื้อจากในประเทศเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.2 ก็ตาม ทั้งนี้คำสั่งซื้อสินค้าสำหรับผู้บริโภคลดลงทั้งจากในและต่างประเทศโดยลดลงร้อยละ 2.2 และ 9.4 ตามลำดับ โดยคำสั่งซื้อ
จากประเทศนอกเขตเศรษฐกิจยุโรปหรือ Euro zone ลดลงถึงร้อยละ 11.8 ต่อเดือน แต่อย่างไรก็ดี คำสั่งซื้อสินค้าขั้นกลางเพื่อนำมาผลิตต่อ
และสินค้าทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 และ 0.6 ตามลำดับ สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจเยอรมนียังมีแนวโน้มสดใส โดยรัฐบาลคาดว่าเศรษฐกิจในปี 50
จะขยายตัวร้อยละ 1.7 ต่อปี หลังจากขยายตัวถึงร้อยละ 2.5 ในปี 49 สูงสุดในรอบ 6 ปี (รอยเตอร์)
3. ยอดขายปลีกของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน ธ.ค.49 เพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงานจากบรัสเซลล์ เมื่อ 6 ก.พ.50
สำนักงานสถิติสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า ยอดขายปลีกของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน ธ.ค.49 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.3 เทียบต่อเดือน และเพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบต่อปี ซึ่งต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 และ 2.3 เมื่อเทียบต่อเดือนและต่อปี ตามลำดับ แม้ว่า
ยอดขายปลีกของประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในเขตเศรษฐกิจยุโรป จะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 2.4 ก็ตาม ซึ่งสาเหตุ
อาจมาจากการเร่งการซื้อสินค้าก่อนการปรับเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มอีกร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 19 ในวันที่ 1 ม.ค.ที่ผ่านมา ส่วนยอดขายปลีกใน
ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจใหญ่รองเป็นอันดับ 2 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบต่อเดือน อนึ่ง เมื่อเทียบต่อปีแล้ว ยอดขาย
ปลีกของเยอรมนีเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1.8 ฟื้นตัวจากเมื่อ 3 เดือนก่อนหน้าที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนยอดขายปลีกของฝรั่งเศสเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4
และสเปนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 4.5 อย่างไรก็ตาม ทั้ง The European Commission และนักวิเคราะห์ต่างคาดการณ์แล้วว่าผู้บริโภคจะจับจ่ายใช้
สอยเพิ่มขึ้นในเดือน ธ.ค. เนื่องจากเป็นเทศกาลคริสมาสต์ที่ผู้บริโภคจะมีการจับจ่ายอย่างมาก รวมทั้งเป็นการใช้จ่ายล่วงหน้าก่อนการปรับเพิ่ม
อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มของเยอรมนี (รอยเตอร์)
4. ยอดขายปลีกของอังกฤษในเดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 รายงานจากลอนดอนเมื่อ 6 ก.พ.50
The British Retail Consortium (BRC) เปิดเผยว่า ยอดขายปลีกของอังกฤษในเดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 จากที่ขยายตัวร้อยละ
2.5 ในเดือนก่อนหน้า นับเป็นการขยายตัวสูงสุดตั้งแต่เดือน ก.ค.49 โดยได้รับแรงกระตุ้นจากสถานการณ์การขายปลีกในช่วงปลายปีต่อเนื่องถึง
ปีใหม่ซึ่งส่งผลให้ยอดขายปลีกในเดือน ม.ค.50 สูงสุดเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันในรอบ 3 ปี ทั้งนี้ ยอดขายปลีกที่เพิ่มขึ้นในเดือน ม.ค.ดังกล่าว
มีสาเหตุจากยอดขายสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่มซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งตั้งแต่เดือน ก.ค.49 เนื่องจากผู้บริโภคหันมาซื้อสินค้าที่เกี่ยวข้อง
กับการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างมาก ได้แก่ ผักสดและผลไม้ ขณะที่สินค้าประเภทเสื้อผ้าสำหรับสุภาพสตรี เฟอร์นิเจอร์ และพรม ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นนับ
ตั้งแต่มีการชะลอตัวในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 7 ก.พ. 50 6 ก.พ. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อม
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.804 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.6021/35.9295 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.87063 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 673.63/10.88 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,950/11,050 10,900/11,000 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.73 55.05 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 3 ก.พ. 50 25.59*/22.94* 25.59*/22.94* 26.49/23.34 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--