ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เผยความคืบหน้าคดีทุจริต ธ.มหานคร ผอ.สำนักคดี ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าคดีทุจริต ธ.มหานคร
กรณีผู้บริหารปล่อยสินเชื่อโดยไม่ชอบให้โรงงานทำสีรถว่า ขณะนี้ผู้ต้องหา 4 คนมามอบตัวแล้ว 3 คน คือ นายสุเทพ เจริญพรพานิชกุล ผู้ถือหุ้นใหญ่ ห้างหุ้นส่วน
แสงสงวนพาณิชย์ ลูกหนี้ และผู้บริหาร ธ.มหานคร 2 คน คือ นายมาโนช กาญจนฉายา อดีตประธานกรรมการ และนายอุทัย อัครพัฒนากุล อดีตกรรมการผู้จัดการ
เหลือเพียง นางภคินี สุวรรณภักดี อดีตรองกรรมการผู้จัดการที่ยังไม่ยอมมามอบตัว ซึ่งขณะนี้ศาลได้ออกหมายจับไปแล้ว ทั้งนี้ หากไม่มามอบตัวอาจนำกฎหมาย
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมาใช้ โดยจะให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ส่งเรื่องไปให้สำนักงานอัยการ
คดีพิเศษดำเนินการต่อให้อัยการยื่นต่อศาลแพ่ง ให้ทรัพย์สินของนางภคินี และทรัพย์สินอื่นทีเกี่ยวข้อง ตกเป็นของแผ่นดินทันทีตามกฎหมายฟอกเงิน (เดลินิวส์)
2. ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลเดือน มี.ค.50 ต่ำกว่าประมาณการร้อยละ 3.4 และต่ำกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3 โฆษก ก.คลัง
เปิดเผยผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลเดือน มี.ค.50 ว่า รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 103,343 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 3,636 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.4
และต่ำกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3 ซึ่งเป็นผลมาจากกรมสรรพากร กรมธนารักษ์ และรัฐวิสาหกิจ จัดเก็บรายได้ต่ำกว่าประมาณการที่ตั้งไว้ 3,358 ล้านบาท
157 ล้านบาท และ 2,895 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร และส่วนราชการอื่นจัดเก็บรายได้สูงกว่าประมาณการ 87 ล้านบาท 48 ล้านบาท
และ 2,784 ล้านบาท ตามลำดับ ทั้งนี้ ภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญ คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มต่ำกว่าประมาณการ 2,868 ล้านบาท สาเหตุมาจากภาษีมูลค่า
เพิ่มจากการนำเข้าต่ำกว่าที่คาดไว้ รองลงมาได้แก่ ภาษีโทรคมนาคม และภาษีสรรพสามิตรถยนต์ต่ำกว่าประมาณการ 422 ล้านบาท และ 410 ล้านบาท ตามลำดับ
สำหรับในช่วง 6 เดือนแรกของปี งปม. 50 (ต.ค.49-มี.ค.50) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 608,396 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 2,034 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 0.3 สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.6 ซึ่งเป็นผลมาจากการคืนภาษีของกรมสรรพากรที่สูงกว่าประมาณการ 12,780 ล้านบาท สูงกวาช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน 15,968 ล้านบาท โดยกรมสรรพากรจัดเก็บได้รวม 432,325 ล้านบาทต่ำกว่าประมาณการ 2,813 ล้านบาท (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์,
ไทยรัฐ, มติชน)
3. ก.พาณิชย์และ กกร.มีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนขึ้นเพื่อดูแลความผันผวนของค่าเงินบาทและความสามารถในการแข่งขันของไทย
รมว.พาณิชย์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมร่วมกับคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) 3 สถาบันว่า ที่ประชุมมีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐ
และเอกชนขึ้นมา 1 ชุด เพื่อดูแลเรื่องความผันผวนของค่าเงินบาทกับความสามารถในการแข่งขันของไทย โดยภาคเอกชนต้องการให้ค่าเงินมีเสถียรภาพและไม่
แข็งค่าเกินประเทศคู่แข่ง (โลกวันนี้, บ้านเมือง, สยามรัฐ, แนวหน้า)
4. ธพ.ทั้งระบบเตรียมสำรองเงินสดช่วงเทศกาลสงกรานต์ 7-8 หมื่นล้านบาท รายงานข่าวจาก ธพ. เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้ ธพ.
ทั้งระบบเตรียมเงินสำรองไว้กว่า 7-8 หมื่นล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้ประชาชนได้จับจ่ายใช้สอยในช่วงเทศกาล
วันหยุด 5 วัน ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เตรียมสำรองธนบัตรชนิดราคาต่าง ๆ ไว้สูงกว่าปกติ เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ประชาชนจะ
มีความต้องการใช้ธนบัตรมากกว่าปกติ โดยสำรองไว้รวม 290,799 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 41,522 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.65 (ผู้จัดการรายวัน, บ้านเมือง)
5. ยอดเบิกจ่ายของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเดือน มี.ค.50 มีจำนวน 1.27 แสนล้านบาท รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า การเบิกจ่าย
ของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเดือน มี.ค.50 มีจำนวน 1.27 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 8.16 ของวงเงิน งปม. 1.56 ล้านล้านบาท สูงกว่าการเบิกจ่าย
ในช่วงเดียวกันของปี งปม.ก่อนร้อยละ 0.10 แบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 1.06 แสนล้านบาท เบิกจ่ายงบลงทุนจำนวน 2.09 หมื่นล้านบาท สำหรับการเบิกจ่ายใน
ช่วง 2 ไตรมาสของปี งปม.50 (ต.ค.49-มี.ค.50) พบว่า ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายได้ 6.64 แสนล้านบาท หรือร้อยละ 42.40 ของ งปม.ทั้งสิ้น
1.56 ล้านล้านบาท ต่ำกว่าอัตราการเบิกจ่ายในช่วงเดียวกันของปี งปม.ก่อนร้อยละ 4.11 และต่ำกว่าเป้าหมายการเบิกจ่ายร้อยละ 0.06 ทั้งนี้ จำแนกเป็น
รายจ่ายประจำ 5.56 แสนล้านบาท และงบลงทุน 1.07 แสนล้านบาท อนึ่ง วงเงิน งปม.รายจ่ายประจำรวมในปี 50 มีทั้งสิ้น 1.24 ล้านล้านบาท และวงเงิน
เบิกจ่ายลงทุน 3.19 แสนล้านบาท (โพสต์ทูเดย์, มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่ายอดค้าปลีกของจีนในปีนี้จะเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 14.5 รายงานจากปักกิ่งเมื่อวันที่ 9 เม.ย. 50 ทางการจีนเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีก
ในปีนี้ของจีนจะขยายตัวสูงถึง 8.7 ล้าน ล้าน หยวน (1.13 ล้าน ล้าน ดอลลาร์ สรอ.) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 จากร้อยละ 13.7 เมื่อปีที่แล้ว เนื่องจาก
ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการที่รัฐบาลให้การสนับสนุนท้องถิ่นมากขึ้นทั้งในด้านการศึกษา การรักษาพยาบาล และเงินกองทุน โดยเมื่อเดือนที่แล้วนาย Wen
Jiabao นรม. จีนให้คำมั่นว่า ในปีนี้รัฐบาลใช้จ่ายทางการศึกษาเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 80 และกว่าร้อยละ 40 สำหรับโครงการสุขภาพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ
นโยบายเพิ่มการใช้จ่ายในประเทศและเพื่อไม่ให้เศรษฐกิจของประเทศต้องพึ่งพาการส่งออกและการลงทุนมากนัก ซึ่งโครงการดังกล่าวได้ส่งผลให้ยอดค้าปลีก
สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ (รอยเตอร์)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาสแรกปีนี้ของจีนลดลงอยู่ที่ระดับ 95.8 รายงานจากปักกิ่งเมื่อวันที่ 9 เม.ย. 50 สำนักงานสถิติแห่งชาติของ
จีนเปิดเผยว่า ในไตรมาสแรกปีนี้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงอยู่ที่ 95.8 หรือลดลง 0.4 จุดจากไตรมาสก่อนหน้า โดยในเดือน ก.พ. ดัชนีความเชื่อมั่น
ผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 95.8 และระดับ 96.3 ในเดือน ม.ค. สำหรับตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นเฉพาะในเดือน มี.ค. มิได้มีการเปิดเผย ทั้งนี้ดัชนีความเชื่อมั่น
ผู้บริโภคบ่งชี้ว่าผู้บริโภคมีทัศนคติอย่างไรเกี่ยวกับเศรษฐกิจในปัจจุบัน และอนาคต รายได้ในอนาคต และแผนการใช้จ่ายลงทุน (รอยเตอร์)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของมาเลเซียในเดือน ก.พ.50 ลดลงร้อยละ 0.2 เทียบต่อปี รายงานจากกัวลาลัมเปอร์เมื่อ 9 เม.ย.50 ทางการ
มาเลเซียเปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของมาเลเซียในเดือน ก.พ.50 ลดลงร้อยละ 0.2 เทียบต่อปี หลังจากที่ขยายตัวในช่วง 2 เดือนก่อนหน้าร้อยละ 2.4
และ 6.4 ในเดือน ม.ค.50 และ ธ.ค.49 นับเป็นการลดลงต่ำสุดตั้งแต่เดือน ต.ค.49 ที่ลดลงร้อยละ 0.8 และต่ำกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์
ซึ่งคาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 สาเหตุหลักจากความต้องการของ สรอ.ลดลง โดยดัชนีที่เป็นส่วนประกอบ ได้แก่ ผลผลิตโรงงานซึ่งมีสัดส่วน
เป็น 2 ใน 3 ของผลผลิตอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 0.1 เทียบต่อปี เช่นเดียวกับผลผลิตเหมืองแร่ที่ลดลงร้อยละ 0.7 ขณะที่ผลผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2
สำหรับผลผลิตอุตสาหกรรมเมื่อเทียบต่อเดือนลดลงร้อยละ 7.2 (รอยเตอร์)
4. จีดีพีของสิงคโปร์ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 50 ขยายตัวร้อยละ 7.2 รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 10 เม.ย.50 The Ministry of Trade and
Industry เปิดเผยการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของสิงคโปร์ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 50 ว่า ขยายตัวร้อยละ 7.2 สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่า
จะขยายตัวร้อยละ 4.9 แต่ต่ำกว่าช่วงไตรมาสก่อนหน้าซึ่งขยายตัวร้อยละ 7.9 สะท้อนว่าภาวะเศรษฐกิจของสิงคโปร์ยังอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ โดยนักเศรษฐศาสตร์
มีความเห็นว่า การขยายตัวอย่างแข็งแกร่งของภาคการก่อสร้างที่ขยายตัวถึงร้อยละ 7.0 ในช่วงไตรมาสที่ 1 เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยชดเชยภาวะชะลอตัวของภาค
การผลิตได้ ขณะเดียวกัน The Monetary Authority of Singapore (MAS) ได้เปิดเผยประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในปี 50
ที่ร้อยละ 4.5-6.5 โดยปัจจัยภายนอกยังคงเป็นแรงสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น อาทิเช่น การชะลอตัวทางเศรษฐกิจของ
สรอ. ที่ส่งผลให้การใช้จ่ายภายในประเทศซบเซา และส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงความต้องการสินค้าจากสิงคโปร์ รวมถึงการที่ภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ
(IT) ของโลกชะลอตัว อาจส่งผลกระทบต่อภาวะการแข่งขันของสิงคโปร์ นอกจากนี้ MAS ได้คงประมาณการอัตราเงินเฟ้อปี 50 ที่ระดับร้อยละ 0.5-1.5
แม้บรรดานักวิเคราะห์จะมองเห็นความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเนื่องจากราคาสินทรัพย์ที่สูงขึ้น ประกอบกับการที่ทางการจะปรับเพิ่มภาษีสินค้าและ
บริการมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.เป็นต้นไป (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 10 เม.ย. 50 9 เม.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.931 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.7071/35.0481 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.59828 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 688.55/4.81 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,050/11,150 11,050/11,150 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 60.38 n.a. 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 28.39*/24.54* 28.39*/24.54* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 4 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เผยความคืบหน้าคดีทุจริต ธ.มหานคร ผอ.สำนักคดี ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าคดีทุจริต ธ.มหานคร
กรณีผู้บริหารปล่อยสินเชื่อโดยไม่ชอบให้โรงงานทำสีรถว่า ขณะนี้ผู้ต้องหา 4 คนมามอบตัวแล้ว 3 คน คือ นายสุเทพ เจริญพรพานิชกุล ผู้ถือหุ้นใหญ่ ห้างหุ้นส่วน
แสงสงวนพาณิชย์ ลูกหนี้ และผู้บริหาร ธ.มหานคร 2 คน คือ นายมาโนช กาญจนฉายา อดีตประธานกรรมการ และนายอุทัย อัครพัฒนากุล อดีตกรรมการผู้จัดการ
เหลือเพียง นางภคินี สุวรรณภักดี อดีตรองกรรมการผู้จัดการที่ยังไม่ยอมมามอบตัว ซึ่งขณะนี้ศาลได้ออกหมายจับไปแล้ว ทั้งนี้ หากไม่มามอบตัวอาจนำกฎหมาย
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินมาใช้ โดยจะให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ส่งเรื่องไปให้สำนักงานอัยการ
คดีพิเศษดำเนินการต่อให้อัยการยื่นต่อศาลแพ่ง ให้ทรัพย์สินของนางภคินี และทรัพย์สินอื่นทีเกี่ยวข้อง ตกเป็นของแผ่นดินทันทีตามกฎหมายฟอกเงิน (เดลินิวส์)
2. ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลเดือน มี.ค.50 ต่ำกว่าประมาณการร้อยละ 3.4 และต่ำกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3 โฆษก ก.คลัง
เปิดเผยผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลเดือน มี.ค.50 ว่า รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 103,343 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 3,636 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.4
และต่ำกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3 ซึ่งเป็นผลมาจากกรมสรรพากร กรมธนารักษ์ และรัฐวิสาหกิจ จัดเก็บรายได้ต่ำกว่าประมาณการที่ตั้งไว้ 3,358 ล้านบาท
157 ล้านบาท และ 2,895 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร และส่วนราชการอื่นจัดเก็บรายได้สูงกว่าประมาณการ 87 ล้านบาท 48 ล้านบาท
และ 2,784 ล้านบาท ตามลำดับ ทั้งนี้ ภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญ คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มต่ำกว่าประมาณการ 2,868 ล้านบาท สาเหตุมาจากภาษีมูลค่า
เพิ่มจากการนำเข้าต่ำกว่าที่คาดไว้ รองลงมาได้แก่ ภาษีโทรคมนาคม และภาษีสรรพสามิตรถยนต์ต่ำกว่าประมาณการ 422 ล้านบาท และ 410 ล้านบาท ตามลำดับ
สำหรับในช่วง 6 เดือนแรกของปี งปม. 50 (ต.ค.49-มี.ค.50) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 608,396 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 2,034 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 0.3 สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.6 ซึ่งเป็นผลมาจากการคืนภาษีของกรมสรรพากรที่สูงกว่าประมาณการ 12,780 ล้านบาท สูงกวาช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน 15,968 ล้านบาท โดยกรมสรรพากรจัดเก็บได้รวม 432,325 ล้านบาทต่ำกว่าประมาณการ 2,813 ล้านบาท (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์,
ไทยรัฐ, มติชน)
3. ก.พาณิชย์และ กกร.มีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนขึ้นเพื่อดูแลความผันผวนของค่าเงินบาทและความสามารถในการแข่งขันของไทย
รมว.พาณิชย์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมร่วมกับคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) 3 สถาบันว่า ที่ประชุมมีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐ
และเอกชนขึ้นมา 1 ชุด เพื่อดูแลเรื่องความผันผวนของค่าเงินบาทกับความสามารถในการแข่งขันของไทย โดยภาคเอกชนต้องการให้ค่าเงินมีเสถียรภาพและไม่
แข็งค่าเกินประเทศคู่แข่ง (โลกวันนี้, บ้านเมือง, สยามรัฐ, แนวหน้า)
4. ธพ.ทั้งระบบเตรียมสำรองเงินสดช่วงเทศกาลสงกรานต์ 7-8 หมื่นล้านบาท รายงานข่าวจาก ธพ. เปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้ ธพ.
ทั้งระบบเตรียมเงินสำรองไว้กว่า 7-8 หมื่นล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้ประชาชนได้จับจ่ายใช้สอยในช่วงเทศกาล
วันหยุด 5 วัน ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เตรียมสำรองธนบัตรชนิดราคาต่าง ๆ ไว้สูงกว่าปกติ เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ประชาชนจะ
มีความต้องการใช้ธนบัตรมากกว่าปกติ โดยสำรองไว้รวม 290,799 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 41,522 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.65 (ผู้จัดการรายวัน, บ้านเมือง)
5. ยอดเบิกจ่ายของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเดือน มี.ค.50 มีจำนวน 1.27 แสนล้านบาท รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า การเบิกจ่าย
ของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเดือน มี.ค.50 มีจำนวน 1.27 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 8.16 ของวงเงิน งปม. 1.56 ล้านล้านบาท สูงกว่าการเบิกจ่าย
ในช่วงเดียวกันของปี งปม.ก่อนร้อยละ 0.10 แบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 1.06 แสนล้านบาท เบิกจ่ายงบลงทุนจำนวน 2.09 หมื่นล้านบาท สำหรับการเบิกจ่ายใน
ช่วง 2 ไตรมาสของปี งปม.50 (ต.ค.49-มี.ค.50) พบว่า ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายได้ 6.64 แสนล้านบาท หรือร้อยละ 42.40 ของ งปม.ทั้งสิ้น
1.56 ล้านล้านบาท ต่ำกว่าอัตราการเบิกจ่ายในช่วงเดียวกันของปี งปม.ก่อนร้อยละ 4.11 และต่ำกว่าเป้าหมายการเบิกจ่ายร้อยละ 0.06 ทั้งนี้ จำแนกเป็น
รายจ่ายประจำ 5.56 แสนล้านบาท และงบลงทุน 1.07 แสนล้านบาท อนึ่ง วงเงิน งปม.รายจ่ายประจำรวมในปี 50 มีทั้งสิ้น 1.24 ล้านล้านบาท และวงเงิน
เบิกจ่ายลงทุน 3.19 แสนล้านบาท (โพสต์ทูเดย์, มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่ายอดค้าปลีกของจีนในปีนี้จะเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 14.5 รายงานจากปักกิ่งเมื่อวันที่ 9 เม.ย. 50 ทางการจีนเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีก
ในปีนี้ของจีนจะขยายตัวสูงถึง 8.7 ล้าน ล้าน หยวน (1.13 ล้าน ล้าน ดอลลาร์ สรอ.) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 จากร้อยละ 13.7 เมื่อปีที่แล้ว เนื่องจาก
ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการที่รัฐบาลให้การสนับสนุนท้องถิ่นมากขึ้นทั้งในด้านการศึกษา การรักษาพยาบาล และเงินกองทุน โดยเมื่อเดือนที่แล้วนาย Wen
Jiabao นรม. จีนให้คำมั่นว่า ในปีนี้รัฐบาลใช้จ่ายทางการศึกษาเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 80 และกว่าร้อยละ 40 สำหรับโครงการสุขภาพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ
นโยบายเพิ่มการใช้จ่ายในประเทศและเพื่อไม่ให้เศรษฐกิจของประเทศต้องพึ่งพาการส่งออกและการลงทุนมากนัก ซึ่งโครงการดังกล่าวได้ส่งผลให้ยอดค้าปลีก
สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ (รอยเตอร์)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาสแรกปีนี้ของจีนลดลงอยู่ที่ระดับ 95.8 รายงานจากปักกิ่งเมื่อวันที่ 9 เม.ย. 50 สำนักงานสถิติแห่งชาติของ
จีนเปิดเผยว่า ในไตรมาสแรกปีนี้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงอยู่ที่ 95.8 หรือลดลง 0.4 จุดจากไตรมาสก่อนหน้า โดยในเดือน ก.พ. ดัชนีความเชื่อมั่น
ผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 95.8 และระดับ 96.3 ในเดือน ม.ค. สำหรับตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นเฉพาะในเดือน มี.ค. มิได้มีการเปิดเผย ทั้งนี้ดัชนีความเชื่อมั่น
ผู้บริโภคบ่งชี้ว่าผู้บริโภคมีทัศนคติอย่างไรเกี่ยวกับเศรษฐกิจในปัจจุบัน และอนาคต รายได้ในอนาคต และแผนการใช้จ่ายลงทุน (รอยเตอร์)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของมาเลเซียในเดือน ก.พ.50 ลดลงร้อยละ 0.2 เทียบต่อปี รายงานจากกัวลาลัมเปอร์เมื่อ 9 เม.ย.50 ทางการ
มาเลเซียเปิดเผยว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมของมาเลเซียในเดือน ก.พ.50 ลดลงร้อยละ 0.2 เทียบต่อปี หลังจากที่ขยายตัวในช่วง 2 เดือนก่อนหน้าร้อยละ 2.4
และ 6.4 ในเดือน ม.ค.50 และ ธ.ค.49 นับเป็นการลดลงต่ำสุดตั้งแต่เดือน ต.ค.49 ที่ลดลงร้อยละ 0.8 และต่ำกว่าความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์
ซึ่งคาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 สาเหตุหลักจากความต้องการของ สรอ.ลดลง โดยดัชนีที่เป็นส่วนประกอบ ได้แก่ ผลผลิตโรงงานซึ่งมีสัดส่วน
เป็น 2 ใน 3 ของผลผลิตอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 0.1 เทียบต่อปี เช่นเดียวกับผลผลิตเหมืองแร่ที่ลดลงร้อยละ 0.7 ขณะที่ผลผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2
สำหรับผลผลิตอุตสาหกรรมเมื่อเทียบต่อเดือนลดลงร้อยละ 7.2 (รอยเตอร์)
4. จีดีพีของสิงคโปร์ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 50 ขยายตัวร้อยละ 7.2 รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 10 เม.ย.50 The Ministry of Trade and
Industry เปิดเผยการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของสิงคโปร์ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 50 ว่า ขยายตัวร้อยละ 7.2 สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่า
จะขยายตัวร้อยละ 4.9 แต่ต่ำกว่าช่วงไตรมาสก่อนหน้าซึ่งขยายตัวร้อยละ 7.9 สะท้อนว่าภาวะเศรษฐกิจของสิงคโปร์ยังอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ โดยนักเศรษฐศาสตร์
มีความเห็นว่า การขยายตัวอย่างแข็งแกร่งของภาคการก่อสร้างที่ขยายตัวถึงร้อยละ 7.0 ในช่วงไตรมาสที่ 1 เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยชดเชยภาวะชะลอตัวของภาค
การผลิตได้ ขณะเดียวกัน The Monetary Authority of Singapore (MAS) ได้เปิดเผยประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในปี 50
ที่ร้อยละ 4.5-6.5 โดยปัจจัยภายนอกยังคงเป็นแรงสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น อาทิเช่น การชะลอตัวทางเศรษฐกิจของ
สรอ. ที่ส่งผลให้การใช้จ่ายภายในประเทศซบเซา และส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงความต้องการสินค้าจากสิงคโปร์ รวมถึงการที่ภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ
(IT) ของโลกชะลอตัว อาจส่งผลกระทบต่อภาวะการแข่งขันของสิงคโปร์ นอกจากนี้ MAS ได้คงประมาณการอัตราเงินเฟ้อปี 50 ที่ระดับร้อยละ 0.5-1.5
แม้บรรดานักวิเคราะห์จะมองเห็นความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเนื่องจากราคาสินทรัพย์ที่สูงขึ้น ประกอบกับการที่ทางการจะปรับเพิ่มภาษีสินค้าและ
บริการมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.เป็นต้นไป (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 10 เม.ย. 50 9 เม.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.931 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.7071/35.0481 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.59828 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 688.55/4.81 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,050/11,150 11,050/11,150 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 60.38 n.a. 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 28.39*/24.54* 28.39*/24.54* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 4 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--