“เครื่องทองไทย” เป็นสมบัติของชาติที่มีเอกลักษณ์อันวิจิตร และสืบทอดกันมาเป็นเวลายาวนาน เครื่องทองที่พบในประเทศไทยระยะแรก ๆ มีรูปแบบมาจากอินเดียโบราณ ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าส่วนหนึ่งนั้นนำเข้ามาจากอินเดีย และอีกส่วนหนึ่งผลิตโดยช่างฝีมือท้องถิ่น เนื่องจากได้พบหลักฐานเป็นเบ้าหลอมโลหะขนาดเล็กและแม่พิมพ์สำหรับหล่อเครื่องประดับในแหล่งโบราณคดีวัฒนธรรมทราวดี เครื่องทองในสมัยนี้ส่วนใหญ่จะพบในเมืองโบราณในภาคกลางของไทย เช่น เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เมืองโบราณศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เมืองโบราณศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี ฯลฯ นอกจากบริเวณภาคกลางของไทยแล้ว ยังพบว่าตามเมืองท่าสำคัญที่มีหลักฐานการติดต่อกับอินเดีย ก็พบแหล่งประดับเครื่องทองเช่นกัน อาทิ เขาสามแก้ว ซึ่งรู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่าแหล่งโบราณคดีเหมืองทอง อยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร เขาศรีวิชัยในเขตอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฏร์ธานี และควนลูกปัดเกาะคอ ในเขตอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ฯลฯ เครื่องทองที่พบส่วนใหญ่เป็นพวกลูกปัดทองคำและเครื่องประดับทองคำ เช่น ต่างหู แหวน บางครั้งพบเกล็ดทองคำกระจายอยู่ตามพื้นทราย ทั้งยังพบวัสดุการถลุงทองคำและแม่พิมพ์อีกด้วย
ตามประวัติเครื่องทองไทยนั้นเท่าที่มีหลักฐาน น่าจะเริ่มจากสมัยอาณาจักรทราวดี ภายหลังเมื่อมีศูนย์กลางอารยธรรมและการค้าแห่งใหม่เกิดขึ้น อิทธิพลของวัฒนธรรมข้างเคียงเริ่มเข้ามามีบทบาท เช่น อิทธิพลวัฒนธรรมอาณาจักรเขมรโบราณ ซึ่งเข้ามามีบทบาทและอิทธิพลต่ออารยธรรมการผลิตเครื่องทองของอาณาจักรทราวดีอย่างมาก ต่อมาชนชาติไทยซึ่งอาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำยม ได้รวมตัวกันสถาปนานครรัฐขึ้นมาเป็นครั้งแรกในนามอาณาจักรสุโขทัย ราวพุทธศตวรรษที่ 19 โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองสุโขทัยและศรีสัชนาลัยซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน เครื่องทองของไทยได้มีหลักฐานปรากฏชัดเจนในบันทึกของศิลาจารึกว่า ในสมัยสุโขทัยมีการสร้างสิ่งเคารพบูชาทางศาสนาด้วยทองคำ เช่น แหวนทองคำ แผ่นทองคำรูปดอกไม้แปดกลีบ ที่วัดมหาธาตุบริเวณเมืองเก่าสุโขทัย ฯลฯ
ต่อมาในสมัยอยุธยามีหลักฐานเครื่องทองที่ปรากฏสำคัญ คือ เครื่องทองที่ได้จากกรุวัดมหาธาตุ ซึ่งเป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองในสมัยพะงั่ว (พ.ศ.1913-1931) และเครื่องทองจากกรุพระปรางค์ วัดราช-บูรณะ ในสมัยพระเจ้าสามพระยา ล้วนแต่เป็นเครื่องราชูปโภค เครื่องราชกกุธภัณฑ์บรรณาการเครื่องทรงและลานทอง ฯลฯ
เมื่อถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ได้พบว่าในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้มีการสร้างเครื่องทองสำหรับประกอบพระราชพิธีอิสริยยศพระมหากษัตริย์ เช่น เครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องราชูปโภคและเครื่องต้น ซึ่งต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงยกเลิกและเปลี่ยนเป็นธรรมเนียมการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้นแทน เพื่อให้สอดคล้องกับนานาประเทศ นอกจากนั้นในรัชสมัยนี้ยังได้มีการผลิตเหรียญกษาปณ์ทองคำขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ.2403 จะเห็นได้ว่าทองคำเป็นโลหะมีค่าที่สำคัญ และใช้เป็นธรรมเนียมในการนำมาทำเป็นเครื่องใช้ในราชสำนักโดยเฉพาะหรือเป็นส่วนใหญ่ เพราะทองคำเป็นโลหะที่หาได้ยากและมีปริมาณน้อย นับแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา มีการนำเข้าทองคำจากประเทศจีนมากขึ้น และเริ่มมีการใช้ทองคำเป็นมาตรฐาน ในการกำหนดเงินตรา ประชาชนจึงได้รับโอกาสให้ครอบครองทองคำ ครั้นถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กฎเกณฑ์การใช้ทองคำเป็นเครื่องประดับเริ่มคลายความเข้มงวดลง ทั้งนี้สืบเนื่องจากการเปิดรับตะวันตกมากขึ้น สามัญชนจึงมีโอกาสสวมใส่เครื่องประดับทอง และร้านค้าทองรูปพรรณ จึงถือกำเนิดขึ้นในสมัยนี้
ร้านทองรูปพรรณร้านแรกของไทยเปิดทำการในสมัยรัชกาลที่ 5 คือ ร้านอาภรณ์สภาคาร ย่านตลาดเสาชิงช้า มีหลวงสุวรรณกิจชำนาญ (พงษ์ศิริสัมพันธ์) ซึ่งเคยเป็นช่างทองหลวงมาก่อนเป็นผู้ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2446 ร้านทองแห่งนี้เป็นที่นิยมในหมู่เจ้านายชั้นสูงและข้าราชสำนัก เพราะมีช่างฝีมือเยี่ยม มีช่างชาวเขมร แขกครัวจากบางลำพู ช่างจีนและไทย หลังจากนั้นก็มีร้านทองรูปพรรณถือกำเนิดขึ้นมากมาย ส่วนมากดำเนินกิจการโดยชาวจีนที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร อาทิ ห้างกิมเซ่งหลี ร้านทองอีซูมุ้ย ร้านเซ่งซุ้นหลี ห้างหงี่ซุยเฮง และห้างทองตั้งโต๊ะกัง ซึ่งล้วนตั้งอยู่บนถนนเยาวราช ซึ่งเป็นย่านชุมชนชาวจีนที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันร้านทองดังกล่าวได้ปิดกิจการไปเป็นส่วนมาก ยังคงเหลือห้างทองตั้งโต๊ะกังเพียงแห่งเดียวที่ยังดำเนินกิจการอยู่ โดยการผลิตและจำหน่ายทองรูปพรรณมีการพัฒนาต่อเนื่องมาเป็นการค้าเชิงธุรกิจอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งก็ยังคงมีตำนานสืบสานเรื่องราวของศิลปะการทำทองไทยสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
ตามประวัติเครื่องทองไทยนั้นเท่าที่มีหลักฐาน น่าจะเริ่มจากสมัยอาณาจักรทราวดี ภายหลังเมื่อมีศูนย์กลางอารยธรรมและการค้าแห่งใหม่เกิดขึ้น อิทธิพลของวัฒนธรรมข้างเคียงเริ่มเข้ามามีบทบาท เช่น อิทธิพลวัฒนธรรมอาณาจักรเขมรโบราณ ซึ่งเข้ามามีบทบาทและอิทธิพลต่ออารยธรรมการผลิตเครื่องทองของอาณาจักรทราวดีอย่างมาก ต่อมาชนชาติไทยซึ่งอาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำยม ได้รวมตัวกันสถาปนานครรัฐขึ้นมาเป็นครั้งแรกในนามอาณาจักรสุโขทัย ราวพุทธศตวรรษที่ 19 โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองสุโขทัยและศรีสัชนาลัยซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน เครื่องทองของไทยได้มีหลักฐานปรากฏชัดเจนในบันทึกของศิลาจารึกว่า ในสมัยสุโขทัยมีการสร้างสิ่งเคารพบูชาทางศาสนาด้วยทองคำ เช่น แหวนทองคำ แผ่นทองคำรูปดอกไม้แปดกลีบ ที่วัดมหาธาตุบริเวณเมืองเก่าสุโขทัย ฯลฯ
ต่อมาในสมัยอยุธยามีหลักฐานเครื่องทองที่ปรากฏสำคัญ คือ เครื่องทองที่ได้จากกรุวัดมหาธาตุ ซึ่งเป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองในสมัยพะงั่ว (พ.ศ.1913-1931) และเครื่องทองจากกรุพระปรางค์ วัดราช-บูรณะ ในสมัยพระเจ้าสามพระยา ล้วนแต่เป็นเครื่องราชูปโภค เครื่องราชกกุธภัณฑ์บรรณาการเครื่องทรงและลานทอง ฯลฯ
เมื่อถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ได้พบว่าในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้มีการสร้างเครื่องทองสำหรับประกอบพระราชพิธีอิสริยยศพระมหากษัตริย์ เช่น เครื่องราชกกุธภัณฑ์ เครื่องราชูปโภคและเครื่องต้น ซึ่งต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงยกเลิกและเปลี่ยนเป็นธรรมเนียมการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ขึ้นแทน เพื่อให้สอดคล้องกับนานาประเทศ นอกจากนั้นในรัชสมัยนี้ยังได้มีการผลิตเหรียญกษาปณ์ทองคำขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ.2403 จะเห็นได้ว่าทองคำเป็นโลหะมีค่าที่สำคัญ และใช้เป็นธรรมเนียมในการนำมาทำเป็นเครื่องใช้ในราชสำนักโดยเฉพาะหรือเป็นส่วนใหญ่ เพราะทองคำเป็นโลหะที่หาได้ยากและมีปริมาณน้อย นับแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา มีการนำเข้าทองคำจากประเทศจีนมากขึ้น และเริ่มมีการใช้ทองคำเป็นมาตรฐาน ในการกำหนดเงินตรา ประชาชนจึงได้รับโอกาสให้ครอบครองทองคำ ครั้นถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กฎเกณฑ์การใช้ทองคำเป็นเครื่องประดับเริ่มคลายความเข้มงวดลง ทั้งนี้สืบเนื่องจากการเปิดรับตะวันตกมากขึ้น สามัญชนจึงมีโอกาสสวมใส่เครื่องประดับทอง และร้านค้าทองรูปพรรณ จึงถือกำเนิดขึ้นในสมัยนี้
ร้านทองรูปพรรณร้านแรกของไทยเปิดทำการในสมัยรัชกาลที่ 5 คือ ร้านอาภรณ์สภาคาร ย่านตลาดเสาชิงช้า มีหลวงสุวรรณกิจชำนาญ (พงษ์ศิริสัมพันธ์) ซึ่งเคยเป็นช่างทองหลวงมาก่อนเป็นผู้ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2446 ร้านทองแห่งนี้เป็นที่นิยมในหมู่เจ้านายชั้นสูงและข้าราชสำนัก เพราะมีช่างฝีมือเยี่ยม มีช่างชาวเขมร แขกครัวจากบางลำพู ช่างจีนและไทย หลังจากนั้นก็มีร้านทองรูปพรรณถือกำเนิดขึ้นมากมาย ส่วนมากดำเนินกิจการโดยชาวจีนที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร อาทิ ห้างกิมเซ่งหลี ร้านทองอีซูมุ้ย ร้านเซ่งซุ้นหลี ห้างหงี่ซุยเฮง และห้างทองตั้งโต๊ะกัง ซึ่งล้วนตั้งอยู่บนถนนเยาวราช ซึ่งเป็นย่านชุมชนชาวจีนที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันร้านทองดังกล่าวได้ปิดกิจการไปเป็นส่วนมาก ยังคงเหลือห้างทองตั้งโต๊ะกังเพียงแห่งเดียวที่ยังดำเนินกิจการอยู่ โดยการผลิตและจำหน่ายทองรูปพรรณมีการพัฒนาต่อเนื่องมาเป็นการค้าเชิงธุรกิจอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งก็ยังคงมีตำนานสืบสานเรื่องราวของศิลปะการทำทองไทยสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-