ยันทุกวิกฤตเป็นโอกาส แม้การเมืองวุ่น-บาทแข็งค่า-การใช้จ่ายไม่คล่องมือ เป็นหนึ่งบทพิสูจน์ความแกร่ง แนะผู้ประกอบการชิงจังหวะปรับเครื่องจักรเพิ่มประสิทธิภาพช่วงบาทแข็ง มั่นใจฐานอุตฯไทยยังแข็งแกร่ง
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ในครึ่งปีหลังภาคอุตสาหกรรมไทย มีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง แม้จะต้องเผชิญกับวิกฤตต่างๆรอบด้าน ทั้งปัจจัยทางการเมือง ปัจจัยการแข็งค่าของเงินบาท รวมทั้งปัจจัยการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเร่งหาทางแก้ไขอย่างชัดเจนคาดว่าจะเห็นผลในครึ่งปีหลัง โดย สศอ.มองว่า GDP ภาคอุตสาหกรรมทั้งปีจะขยายตัวได้ร้อยละ 5 ตามเป้าหมายที่วางไว้ กลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วน กลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยังเป็นผู้นำตลาดเนื่องจากฐานการผลิตที่แข็งแกร่ง ซึ่งช่วงที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นนี้ผู้ประกอบการควรใช้เป็นโอกาสนำเข้าเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต อันจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้สูงขึ้นต่อไป
ดร.อรรชกา กล่าวว่า สศอ.ได้ทำวิเคราะห์แนวโน้มการขยายตัวในครึ่งปีหลัง สำหรับอุตสาหกรรมสำคัญๆในแต่ละกลุ่ม ซึ่งส่วนใหญ่ยังมีทิศทางเป็นบวก โดย กลุ่มอาหาร คาดว่าในปี 2550 จะสามารถสร้างมูลค่าการส่งออกได้สูงถึง 1.5 แสนล้านบาท ซึ่งผลิตภัณฑ์กุ้งและทูน่าจะได้รับประโยชน์จากการลงนาม JTEPA ที่มีผลให้อัตราภาษีเป็น 0 ทำให้ได้เปรียบคู่แข่ง เนื่องจากราคาสินค้าของไทยถูกกว่า แต่โดยภาพรวมการผลิตและส่งออกของอุตสาหกรรมอาหารสินค้าหลายชนิดยังขึ้นอยู่กับฤดูกาล ซึ่งมีผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย และเศรษฐกิจของประเทศผู้นำเข้าสินค้าจากไทยชะลอตัว และความกังวลของผู้บริโภคภายในประเทศ จึงอาจส่งผลต่อการจำหน่ายในประเทศด้วย
กลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ในไตรมาสที่ 3 ทั้งการจำหน่ายในประเทศและการส่งออก สิ่งทอมีแนวโน้มชะลอตัว ส่วนเครื่องนุ่งห่มคาดว่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้นโดยทั้งกลุ่มคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4 คิดเป็นมูลค่าส่งออก 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ
กลุ่มปูนซีเมนต์ ในไตรมาสที่ 3 คาดว่าทั้งการผลิตและจำหน่ายจะลดลงร้อยละ 9.2 และ11.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปัจจัยธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลง โดยผู้บริโภคขาดความมั่นใจในเศรษฐกิจจึงชะลอการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยออกไป ทำให้ปริมาณการผลิตและจำหน่ายลดลงไป ส่วนการส่งออกคาดว่าปริมาณการส่งออกรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.62 แต่มูลค่าการส่งออกรวมลดลงเล็กน้อยคิดเป็นร้อยละ 2.83 เนื่องจากการแข็งค่าเงินบาท
กลุ่มเหล็ก ในไตรมาสที่ 3 คาดว่าจะทรงตัว เนื่องจากเหตุผลความไม่แน่นอนของโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และสายสีม่วงบางใหญ่-บางซื่อ ที่ล่าช้าซึ่งเป็นผลมาจากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิก) ปล่อยสินเชื่อให้ไม่ทัน รวมทั้งการจัดเก็บภาษีภาครัฐไม่เข้าเป้าทำให้การใช้จ่ายของรัฐยังคงมีไม่มากนัก จึงส่งผลให้ความต้องการใช้เหล็กชะลอลงเช่นกัน
กลุ่มรถยนต์ ในไตรมาสที่ 3 แม้คาดการณ์ว่าจะชะลอลงเล็กน้อย แต่ภาพรวมทั้งปีคาดว่าจะสามารถผลิตและจำหน่ายได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ ผลิตทั้งสิ้น 1.27 ล้านคัน จำหน่ายในประเทศ 6.5 แสนคัน และที่เหลือเป็นการส่งออก แม้ตลาดภายในประเทศจะไม่คึกคักเช่นเดิมแต่ผู้ผลิตรถยนต์ได้พยายามกระตุ้นยอดขายด้วยการจัดโปรโมชั่นพิเศษต่างๆมากมาย รวมทั้งแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาดเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค จึงคาดว่าในปีนี้รถยนต์จะสามารถทำยอดได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
และ กลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 3 อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าคาดว่าจะทรงตัวเนื่องจากการบริโภคภายในประเทศชะลอตัว ส่วนอิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องตามความต้องการของตลาดโลก โดยเฉพาะ Hard disk drive ที่มีปริมาณความต้องการของตลาดโลกอย่างต่อเนื่องผู้ผลิตในประเทศมีแผนเพิ่มกำลังคนเข้าสู่กระบวนการผลิตอีก 4,000 คนเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรม
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวถึงสถานการณ์ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนว่า ดัชนีผลผลิต (มูลค่า) อยู่ที่ระดับ 167.76 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.86 จาก 158.47 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 172.31 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.98 จาก165.72 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 172.98 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.28 จาก 164.31 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 184.43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.83 จาก 171.03 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 124.03 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.39 จาก113.39 ขณะที่ดันชีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ156.91 ลดลงร้อยละ1.00 จาก 158.50 และดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 137.34 ลดลงร้อยละ 1.45 จากระดับ139.36 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 66.76
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ในครึ่งปีหลังภาคอุตสาหกรรมไทย มีแนวโน้มขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง แม้จะต้องเผชิญกับวิกฤตต่างๆรอบด้าน ทั้งปัจจัยทางการเมือง ปัจจัยการแข็งค่าของเงินบาท รวมทั้งปัจจัยการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเร่งหาทางแก้ไขอย่างชัดเจนคาดว่าจะเห็นผลในครึ่งปีหลัง โดย สศอ.มองว่า GDP ภาคอุตสาหกรรมทั้งปีจะขยายตัวได้ร้อยละ 5 ตามเป้าหมายที่วางไว้ กลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วน กลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยังเป็นผู้นำตลาดเนื่องจากฐานการผลิตที่แข็งแกร่ง ซึ่งช่วงที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นนี้ผู้ประกอบการควรใช้เป็นโอกาสนำเข้าเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต อันจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้สูงขึ้นต่อไป
ดร.อรรชกา กล่าวว่า สศอ.ได้ทำวิเคราะห์แนวโน้มการขยายตัวในครึ่งปีหลัง สำหรับอุตสาหกรรมสำคัญๆในแต่ละกลุ่ม ซึ่งส่วนใหญ่ยังมีทิศทางเป็นบวก โดย กลุ่มอาหาร คาดว่าในปี 2550 จะสามารถสร้างมูลค่าการส่งออกได้สูงถึง 1.5 แสนล้านบาท ซึ่งผลิตภัณฑ์กุ้งและทูน่าจะได้รับประโยชน์จากการลงนาม JTEPA ที่มีผลให้อัตราภาษีเป็น 0 ทำให้ได้เปรียบคู่แข่ง เนื่องจากราคาสินค้าของไทยถูกกว่า แต่โดยภาพรวมการผลิตและส่งออกของอุตสาหกรรมอาหารสินค้าหลายชนิดยังขึ้นอยู่กับฤดูกาล ซึ่งมีผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย และเศรษฐกิจของประเทศผู้นำเข้าสินค้าจากไทยชะลอตัว และความกังวลของผู้บริโภคภายในประเทศ จึงอาจส่งผลต่อการจำหน่ายในประเทศด้วย
กลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ในไตรมาสที่ 3 ทั้งการจำหน่ายในประเทศและการส่งออก สิ่งทอมีแนวโน้มชะลอตัว ส่วนเครื่องนุ่งห่มคาดว่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้นโดยทั้งกลุ่มคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4 คิดเป็นมูลค่าส่งออก 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ
กลุ่มปูนซีเมนต์ ในไตรมาสที่ 3 คาดว่าทั้งการผลิตและจำหน่ายจะลดลงร้อยละ 9.2 และ11.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปัจจัยธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลง โดยผู้บริโภคขาดความมั่นใจในเศรษฐกิจจึงชะลอการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยออกไป ทำให้ปริมาณการผลิตและจำหน่ายลดลงไป ส่วนการส่งออกคาดว่าปริมาณการส่งออกรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.62 แต่มูลค่าการส่งออกรวมลดลงเล็กน้อยคิดเป็นร้อยละ 2.83 เนื่องจากการแข็งค่าเงินบาท
กลุ่มเหล็ก ในไตรมาสที่ 3 คาดว่าจะทรงตัว เนื่องจากเหตุผลความไม่แน่นอนของโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงบางซื่อ-ตลิ่งชัน และสายสีม่วงบางใหญ่-บางซื่อ ที่ล่าช้าซึ่งเป็นผลมาจากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิก) ปล่อยสินเชื่อให้ไม่ทัน รวมทั้งการจัดเก็บภาษีภาครัฐไม่เข้าเป้าทำให้การใช้จ่ายของรัฐยังคงมีไม่มากนัก จึงส่งผลให้ความต้องการใช้เหล็กชะลอลงเช่นกัน
กลุ่มรถยนต์ ในไตรมาสที่ 3 แม้คาดการณ์ว่าจะชะลอลงเล็กน้อย แต่ภาพรวมทั้งปีคาดว่าจะสามารถผลิตและจำหน่ายได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ ผลิตทั้งสิ้น 1.27 ล้านคัน จำหน่ายในประเทศ 6.5 แสนคัน และที่เหลือเป็นการส่งออก แม้ตลาดภายในประเทศจะไม่คึกคักเช่นเดิมแต่ผู้ผลิตรถยนต์ได้พยายามกระตุ้นยอดขายด้วยการจัดโปรโมชั่นพิเศษต่างๆมากมาย รวมทั้งแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาดเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค จึงคาดว่าในปีนี้รถยนต์จะสามารถทำยอดได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
และ กลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 3 อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าคาดว่าจะทรงตัวเนื่องจากการบริโภคภายในประเทศชะลอตัว ส่วนอิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องตามความต้องการของตลาดโลก โดยเฉพาะ Hard disk drive ที่มีปริมาณความต้องการของตลาดโลกอย่างต่อเนื่องผู้ผลิตในประเทศมีแผนเพิ่มกำลังคนเข้าสู่กระบวนการผลิตอีก 4,000 คนเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรม
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวถึงสถานการณ์ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนว่า ดัชนีผลผลิต (มูลค่า) อยู่ที่ระดับ 167.76 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.86 จาก 158.47 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 172.31 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.98 จาก165.72 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 172.98 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.28 จาก 164.31 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 184.43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.83 จาก 171.03 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 124.03 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.39 จาก113.39 ขณะที่ดันชีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ156.91 ลดลงร้อยละ1.00 จาก 158.50 และดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 137.34 ลดลงร้อยละ 1.45 จากระดับ139.36 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 66.76
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-