แท็ก
กรมโรงงานอุตสาหกรรม
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2549 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 403 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ —11.4 และมีการจ้างงานลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2549 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 11,357 คน ร้อยละ -13.66 ในส่วนของจำนวนเงินลงทุนลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2549 ซึ่งมีการลงทุน 9,824.16 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ -12.2
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนพฤษภาคม 2550 คือ อุตสาหกรรมขุดหรือลอก กรวด ทรายหรือดิน จำนวน 33 ราย รองลงมาคืออุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสม ผลิตภัณฑ์ยิมซั่ม ปูนปลาสเตอร์ จำนวน 28 ราย
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนพฤษภาคม 2550 คือ อุตสาหกรรมผลิตเอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งมิได้ผลิตจากกากซัลไฟต์ในการทำเยื่อกระดาษ มีเงินทุน 1,500 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ หรือส่วนประกอบ มีเงินทุน 751 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนพฤษภาคม 2550 คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์คนงาน 1,612 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำเครื่องประดับโดยใช้เพชร พลอย ไข่มุก ทองคำ ทองขาว เงิน นาก หรืออัญมณี คนงาน 876 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 2550 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 124 ราย น้อยกว่าเดือนเมษายน 2550 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 197 ราย คิดเป็นร้อยละ -37.1 ในส่วนของเงินทุนมีจำนวน 1,105.83 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนเมษายน 2550 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 70,213.23 ล้านบาท สำหรับการเลิกจ้างงานมีจำนวน 4,586 คน น้อยกว่าเดือนเมษายน 2550 ซึ่งเลิกจ้างงานจำนวน 8,916 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการน้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2549 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 187 รายคิดเป็นร้อยละ -33.7 ในส่วนการเลิกจ้างงานน้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2549 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 5,709 คน และในส่วนของเงินทุนของการเลิกกิจการน้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2549 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 2,184.41 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนพฤษภาคม 2550 คือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสม ผลิตภัณฑ์ยิมซั่ม ปูนปลาสเตอร์จำนวน 11 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำกลึง เจาะ คว้าน กัด ไส เจียน เชื่อมโลหะทั่วไป จำนวน 9 ราย
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนพฤษภาคม 2550 คืออุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสม ผลิตภัณฑ์ยิมซั่ม ปูนปลาสเตอร์เงินทุน 285 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิต ตบแต่ง ซ่อมเครื่องเรือนที่ทำจากโลหะ รวมถึงส่วนประกอบ เงินทุน 120 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนพฤษภาคม 2550 คือ อุตสาหกรรมทำเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องเรือน เครื่องประดับจากพลาสติก คนงาน 1,546 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสม ผลิตภัณฑ์ยิมซั่ม ปูนปลาสเตอร์ คนงาน 391 คน
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนพฤษภาคม 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 2550 มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 96 โครงการ มากกว่าเดือนเมษายน 2550 ที่มีจำนวน 77 โครงการร้อยละ 24.68 แต่มีเงินลงทุน 17,300 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนเมษายน 2550 ที่มีเงินลงทุน 22,100 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ -21.72
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนพฤษภาคม 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท.น้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2549 ที่มีจำนวน 100 โครงการ ร้อยละ -4.00 และมีเงินลงทุนน้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2549 ที่มีเงินลงทุน 38,400 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ -54.95
- การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ค.2550
การร่วมทุน จำนวน(โครงการ) มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
1.โครงการคนไทย 100% 179 58,400
2.โครงการต่างชาติ 100% 181 71,000
3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ 162 85,900
- ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ค.2550 คือ หมวดบริการ และสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 88,600 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องไฟฟ้า มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 42,400 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนพฤษภาคม 2550 คือ อุตสาหกรรมขุดหรือลอก กรวด ทรายหรือดิน จำนวน 33 ราย รองลงมาคืออุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสม ผลิตภัณฑ์ยิมซั่ม ปูนปลาสเตอร์ จำนวน 28 ราย
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนพฤษภาคม 2550 คือ อุตสาหกรรมผลิตเอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งมิได้ผลิตจากกากซัลไฟต์ในการทำเยื่อกระดาษ มีเงินทุน 1,500 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ หรือส่วนประกอบ มีเงินทุน 751 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนพฤษภาคม 2550 คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเครื่องนุ่งห่ม ผ้าเช็ดหน้า เนกไท ถุงมือ ถุงเท้าจากผ้า หนังสัตว์คนงาน 1,612 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำเครื่องประดับโดยใช้เพชร พลอย ไข่มุก ทองคำ ทองขาว เงิน นาก หรืออัญมณี คนงาน 876 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 2550 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 124 ราย น้อยกว่าเดือนเมษายน 2550 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 197 ราย คิดเป็นร้อยละ -37.1 ในส่วนของเงินทุนมีจำนวน 1,105.83 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนเมษายน 2550 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 70,213.23 ล้านบาท สำหรับการเลิกจ้างงานมีจำนวน 4,586 คน น้อยกว่าเดือนเมษายน 2550 ซึ่งเลิกจ้างงานจำนวน 8,916 คน
- ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการน้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2549 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 187 รายคิดเป็นร้อยละ -33.7 ในส่วนการเลิกจ้างงานน้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2549 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 5,709 คน และในส่วนของเงินทุนของการเลิกกิจการน้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2549 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 2,184.41 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนพฤษภาคม 2550 คือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสม ผลิตภัณฑ์ยิมซั่ม ปูนปลาสเตอร์จำนวน 11 ราย รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำกลึง เจาะ คว้าน กัด ไส เจียน เชื่อมโลหะทั่วไป จำนวน 9 ราย
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนพฤษภาคม 2550 คืออุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสม ผลิตภัณฑ์ยิมซั่ม ปูนปลาสเตอร์เงินทุน 285 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิต ตบแต่ง ซ่อมเครื่องเรือนที่ทำจากโลหะ รวมถึงส่วนประกอบ เงินทุน 120 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนพฤษภาคม 2550 คือ อุตสาหกรรมทำเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องเรือน เครื่องประดับจากพลาสติก คนงาน 1,546 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสม ผลิตภัณฑ์ยิมซั่ม ปูนปลาสเตอร์ คนงาน 391 คน
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนพฤษภาคม 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 2550 มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 96 โครงการ มากกว่าเดือนเมษายน 2550 ที่มีจำนวน 77 โครงการร้อยละ 24.68 แต่มีเงินลงทุน 17,300 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนเมษายน 2550 ที่มีเงินลงทุน 22,100 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ -21.72
- ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนพฤษภาคม 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท.น้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2549 ที่มีจำนวน 100 โครงการ ร้อยละ -4.00 และมีเงินลงทุนน้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2549 ที่มีเงินลงทุน 38,400 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ -54.95
- การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ค.2550
การร่วมทุน จำนวน(โครงการ) มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
1.โครงการคนไทย 100% 179 58,400
2.โครงการต่างชาติ 100% 181 71,000
3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ 162 85,900
- ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ค.2550 คือ หมวดบริการ และสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 88,600 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องไฟฟ้า มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 42,400 ล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-