นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนมีนาคม 2550 ว่า ภาวะเศรษฐกิจการคลังโดยรวมในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือนกุมภาพันธ์ที่เร่งตัวสูงขึ้น ถึงแม้ว่าการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนยังคงชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่เสถียรภาพเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกยังอยู่ในระดับแข็งแกร่งและปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
สำหรับภาวะเศรษฐกิจด้านการคลังในเดือนกุมภาพันธ์ บ่งชี้ถึง แรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายรัฐบาลที่เร่งตัวสูงขึ้น รายจ่ายงบประมาณในเดือนนี้สามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 78.2 ต่อปี โดยรายจ่ายรวมในเดือนกุมภาพันธ์มีจำนวนทั้งสิ้น 200.4 พันล้านบาท ซึ่งสามารถแบ่งเป็นรายจ่ายประจำจำนวน 136.9 พันล้านบาท รายจ่ายลงทุนจำนวน 54.4 พันล้านบาท และรายจ่ายเหลื่อมปีจำนวน 9.0 พันล้านบาท อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารายได้จัดเก็บสุทธิของรัฐบาลในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 จะจัดเก็บได้ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ 103.1 พันล้านบาท แต่อัตราการขยายตัวของรายได้ที่ชะลอลงจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 2.8 ต่อปี ในเดือนกุมภาพันธ์ เป็นการบ่งชี้ถึงภาวการณ์การใช้จ่ายภายในประเทศที่ขยายตัวชะลอลงอย่างต่อเนื่อง
สำหรับเครื่องชี้ในด้านอุปทานพบว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ดัชนีผลผลิตการเกษตรขยายตัวร้อยละ 8.7 ต่อปี ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 5.3 ต่อปี เนื่องจากผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญ ได้แก่ ข้าว และอ้อย ขยายตัวดีขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ในขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน จากที่เคยหดตัวถึงร้อยละ -7.1 ต่อปี ในเดือนมกราคม มาหดตัวน้อยลงอยู่ที่ร้อยละ -1.3 ต่อปีในเดือนกุมภาพันธ์ ส่วนเครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรมบ่งชี้ว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวชะลอลง ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 6.2 ต่อปีในเดือนกุมภาพันธ์ ลดลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 8.2 ต่อปีในเดือนก่อนหน้า โดยอุตสาหกรรมที่ผลิตชะลอลง ได้แก่ ยานยนต์ที่ผลิตลดลงตามการใช้จ่ายในประเทศที่ชะลอลง สิ่งทอที่ลดลงต่อเนื่องจากปีก่อน และการผลิตในหมวดเคมีภัณฑ์ที่การปิดซ่อมบำรุงโรงงานบางแห่ง อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่งออกบางประเภท เช่น อุตสาหกรรมการผลิต Hard Disk Drive และ อุตสาหกรรมการผลิตแผงวงจรไฟฟ้า ยังสามารถขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนกุมภาพันธ์ปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 62.3 สอดคล้องกับการชะลอตัวลงของดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ในด้านเครื่องชี้ภาคบริการโดยเฉพาะการท่องเที่ยวในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 พบว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทยมีจำนวนประมาณ 1.27 ล้านคน
ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ร้อยละ 6.4 ต่อปี ส่วนหนึ่งเนื่องจากฐานที่ต่ำในปีก่อน
ที่เทศกาลตรุษจีนตรงกับเดือนมกราคม แต่ในปี 2550 นี้ เทศกาลตรุษจีนอยู่ในเดือนมกราคม
สำหรับเครื่องชี้การใช้จ่ายภายในประเทศยังคงชะลอลงต่อเนื่อง โดยเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนจากภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวที่ร้อยละ 4.6 ต่อปี ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.9 ต่อปี ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจไทยที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่องในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา เนื่องจากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ความไม่แน่นอนทางการเมือง และความไม่แน่นอนในทิศทางเศรษฐกิจไทยในอนาคต ส่วนเครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน ยังคงมีแนวโน้มชะลอตัว ดังจะเห็นได้จาก ภาษีที่จัดเก็บจากธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ -0.6 ต่อปีในเดือนกุมภาพันธ์ อย่างไรก็ตาม มูลค่าการออกสิทธิบัตรส่งเสริมการลงทุนสะสมผ่าน BOI ปรับตัวดีขึ้นที่ร้อยละ 8.7 ต่อปี ในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณบวกต่อการลงทุนในอนาคต
มูลค่าการส่งออกในเดือนมกราคม 2550 มีมูลค่า 10.49 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 17.7 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนธันวาคม 2549 ที่ขยายตัวได้ร้อยละ 16.5 ต่อปี ดังนั้นการส่งออกจึงยังคงเป็นปัจจัยหลักสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในเดือนมกราคม สำหรับมูลค่าการนำเข้าในเดือนมกราคม 2550 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 9.61 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.4 ต่อปี ลดลงจากเดือนธันวาคม 2549 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.1 ต่อปี สอดคล้องกับอุปสงค์ภายในประเทศที่ชะลอลง ส่วนดุลการค้าในเดือนมกราคม 2550 สามารถเกินดุลได้ 880 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นการเกินดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2549
เสถียรภาพทั้งภายในและภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งมาก โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ขยายตัวในระดับต่ำร้อยละ 2.3 ต่อปี ปรับตัวลดลงจากร้อยละ 3.0 ต่อปีในเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะในเดือนมกราคม 2550 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 37.4 ของ GDP ซึ่งต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ร้อยละ 50.0 ของ GDP ค่อนข้างมาก สำหรับเครื่องชี้เสถียรภาพภายนอกประเทศพบว่า ทุนสำรองระหว่างประเทศในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ 68.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งน่าจะมาจากปัจจัยการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและเงินทุนไหลเข้าอย่างต่อเนื่อง
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 6/2550 29 มีนาคม 2550--
สำหรับภาวะเศรษฐกิจด้านการคลังในเดือนกุมภาพันธ์ บ่งชี้ถึง แรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายรัฐบาลที่เร่งตัวสูงขึ้น รายจ่ายงบประมาณในเดือนนี้สามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 78.2 ต่อปี โดยรายจ่ายรวมในเดือนกุมภาพันธ์มีจำนวนทั้งสิ้น 200.4 พันล้านบาท ซึ่งสามารถแบ่งเป็นรายจ่ายประจำจำนวน 136.9 พันล้านบาท รายจ่ายลงทุนจำนวน 54.4 พันล้านบาท และรายจ่ายเหลื่อมปีจำนวน 9.0 พันล้านบาท อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารายได้จัดเก็บสุทธิของรัฐบาลในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 จะจัดเก็บได้ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ 103.1 พันล้านบาท แต่อัตราการขยายตัวของรายได้ที่ชะลอลงจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 2.8 ต่อปี ในเดือนกุมภาพันธ์ เป็นการบ่งชี้ถึงภาวการณ์การใช้จ่ายภายในประเทศที่ขยายตัวชะลอลงอย่างต่อเนื่อง
สำหรับเครื่องชี้ในด้านอุปทานพบว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ดัชนีผลผลิตการเกษตรขยายตัวร้อยละ 8.7 ต่อปี ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 5.3 ต่อปี เนื่องจากผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญ ได้แก่ ข้าว และอ้อย ขยายตัวดีขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ในขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน จากที่เคยหดตัวถึงร้อยละ -7.1 ต่อปี ในเดือนมกราคม มาหดตัวน้อยลงอยู่ที่ร้อยละ -1.3 ต่อปีในเดือนกุมภาพันธ์ ส่วนเครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรมบ่งชี้ว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวชะลอลง ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 6.2 ต่อปีในเดือนกุมภาพันธ์ ลดลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 8.2 ต่อปีในเดือนก่อนหน้า โดยอุตสาหกรรมที่ผลิตชะลอลง ได้แก่ ยานยนต์ที่ผลิตลดลงตามการใช้จ่ายในประเทศที่ชะลอลง สิ่งทอที่ลดลงต่อเนื่องจากปีก่อน และการผลิตในหมวดเคมีภัณฑ์ที่การปิดซ่อมบำรุงโรงงานบางแห่ง อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมการผลิตเพื่อส่งออกบางประเภท เช่น อุตสาหกรรมการผลิต Hard Disk Drive และ อุตสาหกรรมการผลิตแผงวงจรไฟฟ้า ยังสามารถขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนกุมภาพันธ์ปรับตัวลดลงอยู่ที่ระดับ 62.3 สอดคล้องกับการชะลอตัวลงของดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ในด้านเครื่องชี้ภาคบริการโดยเฉพาะการท่องเที่ยวในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 พบว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทยมีจำนวนประมาณ 1.27 ล้านคน
ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ร้อยละ 6.4 ต่อปี ส่วนหนึ่งเนื่องจากฐานที่ต่ำในปีก่อน
ที่เทศกาลตรุษจีนตรงกับเดือนมกราคม แต่ในปี 2550 นี้ เทศกาลตรุษจีนอยู่ในเดือนมกราคม
สำหรับเครื่องชี้การใช้จ่ายภายในประเทศยังคงชะลอลงต่อเนื่อง โดยเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนจากภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์ขยายตัวที่ร้อยละ 4.6 ต่อปี ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 6.9 ต่อปี ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อเศรษฐกิจไทยที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่องในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา เนื่องจากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ความไม่แน่นอนทางการเมือง และความไม่แน่นอนในทิศทางเศรษฐกิจไทยในอนาคต ส่วนเครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน ยังคงมีแนวโน้มชะลอตัว ดังจะเห็นได้จาก ภาษีที่จัดเก็บจากธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ -0.6 ต่อปีในเดือนกุมภาพันธ์ อย่างไรก็ตาม มูลค่าการออกสิทธิบัตรส่งเสริมการลงทุนสะสมผ่าน BOI ปรับตัวดีขึ้นที่ร้อยละ 8.7 ต่อปี ในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณบวกต่อการลงทุนในอนาคต
มูลค่าการส่งออกในเดือนมกราคม 2550 มีมูลค่า 10.49 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 17.7 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนธันวาคม 2549 ที่ขยายตัวได้ร้อยละ 16.5 ต่อปี ดังนั้นการส่งออกจึงยังคงเป็นปัจจัยหลักสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในเดือนมกราคม สำหรับมูลค่าการนำเข้าในเดือนมกราคม 2550 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 9.61 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.4 ต่อปี ลดลงจากเดือนธันวาคม 2549 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.1 ต่อปี สอดคล้องกับอุปสงค์ภายในประเทศที่ชะลอลง ส่วนดุลการค้าในเดือนมกราคม 2550 สามารถเกินดุลได้ 880 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นการเกินดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2549
เสถียรภาพทั้งภายในและภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งมาก โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ขยายตัวในระดับต่ำร้อยละ 2.3 ต่อปี ปรับตัวลดลงจากร้อยละ 3.0 ต่อปีในเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะในเดือนมกราคม 2550 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 37.4 ของ GDP ซึ่งต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ร้อยละ 50.0 ของ GDP ค่อนข้างมาก สำหรับเครื่องชี้เสถียรภาพภายนอกประเทศพบว่า ทุนสำรองระหว่างประเทศในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องอยู่ที่ 68.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งน่าจะมาจากปัจจัยการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดและเงินทุนไหลเข้าอย่างต่อเนื่อง
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 6/2550 29 มีนาคม 2550--