สศก. ร่วมกับหน่วยงานในสังกัด กษ. จัดทำโครงการผลิตข้าวหอมมะลิมาตรฐานเพื่อการส่งออก ตามมติกระทรวงฯ หวังเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และรายได้แก่เกษตรกรอีกทั้งยกระดับมาตรฐานการผลิต ตั้งแต่ระดับฟาร์มจนถึงการส่งออก เผย ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี ด้านเกษตรกรให้การยอมรับ แต่ยังมีปัญหาเมล็ดพันธุ์ขาดแคลน หาซื้อยาก และขาดการติดตามตรวจสอบรับรอง
นายนิพนธ์ ดิลกคุณานันท์ ผู้อำนวยการศูนย์ประเมินผล สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่มีชื่อเสียงของประเทศ ผลผลิตมีความพิเศษในเรื่องความนุ่มและความหอม เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ แต่การทำนาในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ยังมีปัญหาในเรื่องดินเค็ม ดินเสื่อม น้ำท่วมสลับแห้งแล้ง ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ ปัจจัยการผลิตราคาสูง การตลาดที่ขาดประสิทธิภาพ จากปัญหาดังกล่าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดทำโครงการผลิตข้าวหอมมะลิมาตรฐานเพื่อการส่งออก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพิ่มรายได้แก่เกษตรกรและยกระดับมาตรฐานการผลิตตั้งแต่ระดับฟาร์มจนถึงการส่งออก ซึ่งการดำเนินการนั้น ทางกระทรวงเกษตรฯ ได้ระดมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมชลประทาน กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมการข้าว และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ร่วมกันทำงานแบบบูรณาการ เชื่อมโยงตั้งแต่การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ตรวจสอบรับรองมาตรฐาน และการจัดการธุรกิจการตลาดข้าวหอมมะลิ โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (2548 — 2551) เป้าหมายพัฒนาพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิ 1.27 ล้านไร่ ให้สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวเป็น 470 กก./ไร่ หลังสิ้นสุดโครงการ เกษตรกร 85,000 ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น 19,680 บาท/ครัวเรือน และเพิ่มมูลค่าส่งออกข้าวหอมมะลิปีละ 2,367.72 ล้านบาท
จากการติดตามประเมินผลระหว่างการดำเนินโครงการ (มีนาคม 2550) พบว่า กรมพัฒนาที่ดิน ได้ก่อสร้างระบบอนุรักษ์ดินและน้ำแล้วเสร็จ 30,000 ไร่ เมื่อรวมกับที่พัฒนาไว้เดิมเป็น 834,000 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 66 ของพื้นที่ ส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดในพื้นที่ 400,000 ไร่ ด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว กรมการข้าวได้ส่งเสริมศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน 37 แห่ง พื้นที่รวม 7,400 ไร่ ส่งเสริมการผลิตข้าวคุณภาพ (GAP) พื้นที่ 29,600 ไร่ ในด้านการเพาะปลูกของเกษตรกรปี 2549/50 พบว่า ผลผลิตข้าวหอมมะลิต่อไร่จะต่ำกว่าปีที่ผ่านๆ มา เนื่องจากภาวะฝนแล้งในช่วงข้าวออกรวง และบางแห่งถูกน้ำเอ่อล้นท่วมเสียหาย สำหรับเทคโนโลยีการผลิต เกษตรกรมีการยอมรับความรู้ใหม่ๆ ที่เป็นแนวทางการปรับปรุงคุณภาพข้าว เช่น ในเรื่องการเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ข้าว การใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยเคมี สำหรับปุ๋ยอินทรีย์ที่ขายตามท้องตลาดเริ่มเสื่อมความนิยมจากปัญหาการปลอมปนและด้อยคุณภาพ ด้านการปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด เกษตรกรยอมรับว่าดี แต่เมล็ดพันธุ์ขาดแคลนและหาซื้อยาก การทำนาแบบคุณภาพ (GAP) เกษตรกรที่ได้รับการอบรม มีการนำไปปฏิบัติและจัดตั้งกลุ่ม แต่ขาดการติดตามตรวจสอบรับรองและขาดตลาดรองรับ ทำให้เกษตรกรขาดความเชื่อมั่นในการผลิต
อย่างไรก็ตาม นับจากปี 2550 ปัญหาการดำเนินการจะได้รับการแก้ไข โดยทางกระทรวงเกษตรฯ ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนกลางและพื้นที่ให้ทำงานบูรณาการมากขึ้น เพื่อให้ผลงานบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายนิพนธ์ ดิลกคุณานันท์ ผู้อำนวยการศูนย์ประเมินผล สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่มีชื่อเสียงของประเทศ ผลผลิตมีความพิเศษในเรื่องความนุ่มและความหอม เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ แต่การทำนาในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ยังมีปัญหาในเรื่องดินเค็ม ดินเสื่อม น้ำท่วมสลับแห้งแล้ง ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ ปัจจัยการผลิตราคาสูง การตลาดที่ขาดประสิทธิภาพ จากปัญหาดังกล่าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดทำโครงการผลิตข้าวหอมมะลิมาตรฐานเพื่อการส่งออก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพิ่มรายได้แก่เกษตรกรและยกระดับมาตรฐานการผลิตตั้งแต่ระดับฟาร์มจนถึงการส่งออก ซึ่งการดำเนินการนั้น ทางกระทรวงเกษตรฯ ได้ระดมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมชลประทาน กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมการข้าว และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ร่วมกันทำงานแบบบูรณาการ เชื่อมโยงตั้งแต่การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ตรวจสอบรับรองมาตรฐาน และการจัดการธุรกิจการตลาดข้าวหอมมะลิ โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (2548 — 2551) เป้าหมายพัฒนาพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิ 1.27 ล้านไร่ ให้สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวเป็น 470 กก./ไร่ หลังสิ้นสุดโครงการ เกษตรกร 85,000 ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น 19,680 บาท/ครัวเรือน และเพิ่มมูลค่าส่งออกข้าวหอมมะลิปีละ 2,367.72 ล้านบาท
จากการติดตามประเมินผลระหว่างการดำเนินโครงการ (มีนาคม 2550) พบว่า กรมพัฒนาที่ดิน ได้ก่อสร้างระบบอนุรักษ์ดินและน้ำแล้วเสร็จ 30,000 ไร่ เมื่อรวมกับที่พัฒนาไว้เดิมเป็น 834,000 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 66 ของพื้นที่ ส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดในพื้นที่ 400,000 ไร่ ด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว กรมการข้าวได้ส่งเสริมศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน 37 แห่ง พื้นที่รวม 7,400 ไร่ ส่งเสริมการผลิตข้าวคุณภาพ (GAP) พื้นที่ 29,600 ไร่ ในด้านการเพาะปลูกของเกษตรกรปี 2549/50 พบว่า ผลผลิตข้าวหอมมะลิต่อไร่จะต่ำกว่าปีที่ผ่านๆ มา เนื่องจากภาวะฝนแล้งในช่วงข้าวออกรวง และบางแห่งถูกน้ำเอ่อล้นท่วมเสียหาย สำหรับเทคโนโลยีการผลิต เกษตรกรมีการยอมรับความรู้ใหม่ๆ ที่เป็นแนวทางการปรับปรุงคุณภาพข้าว เช่น ในเรื่องการเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ข้าว การใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยเคมี สำหรับปุ๋ยอินทรีย์ที่ขายตามท้องตลาดเริ่มเสื่อมความนิยมจากปัญหาการปลอมปนและด้อยคุณภาพ ด้านการปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด เกษตรกรยอมรับว่าดี แต่เมล็ดพันธุ์ขาดแคลนและหาซื้อยาก การทำนาแบบคุณภาพ (GAP) เกษตรกรที่ได้รับการอบรม มีการนำไปปฏิบัติและจัดตั้งกลุ่ม แต่ขาดการติดตามตรวจสอบรับรองและขาดตลาดรองรับ ทำให้เกษตรกรขาดความเชื่อมั่นในการผลิต
อย่างไรก็ตาม นับจากปี 2550 ปัญหาการดำเนินการจะได้รับการแก้ไข โดยทางกระทรวงเกษตรฯ ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนกลางและพื้นที่ให้ทำงานบูรณาการมากขึ้น เพื่อให้ผลงานบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-