ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ขออนุมัติออก พธบ.เพิ่ม 4 แสน ล.บาท แหล่งข่าวระดับสูงจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ได้ขออนุมัติออก พธบ. ธปท. เพิ่มอีก 4 แสน ล.บาท ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และหารือร่วมกับ
ธปท.ถึงความจำเป็นในการออก พธบ.ดังกล่าว หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ธปท.ได้ออก พธบ.จำนวน 1.1 ล้านล้านบาท เพื่อดูแลสภาพคล่อง
ด้านผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า แผนการออก พธบ.ล็อตใหม่ของ ธปท.ถือเป็นเรื่องจำเป็นในการดำเนินนโยบายของ ธปท. แต่จะออกมาหรือน้อย
จะมีการปรึกษากับ ก.คลังเป็นคราวๆ ไป (กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด)
2. ธปท.จะยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ในช่วงเวลาที่เหมาะสม ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า
การพิจารณายกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% เงินทุนนำเข้าจากต่างประเทศจะดำเนินการเมื่อมีจังหวะที่ดี คือหากเห็นว่าการให้ทางเลือก
ในการทำประกันความเสี่ยง (Fully Hedge) ได้ผลในทางปฏิบัติในการดูแลค่าเงินบาท ไม่มีการรั่วไหล ก็สามารถยกเลิกได้ทันที ด้าน
รมว.คลัง กล่าวว่า มาตรการกันสำรอง 30% แม้จะไม่มีผลในทางปฏิบัติแล้วเนื่องจาก ธปท.ได้เปิดทางเลือกให้กับผู้ที่นำเงินเข้าสามารถ
เลือกการป้องกันความเสี่ยง 100% โดยการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าเป็นเวลา 3 เดือนแทนได้ แต่ ธปท.คงต้องติดตามมาตรการ
เสริมเรื่องการประกันความเสี่ยงว่าจะมีผลอย่างไร (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด)
3. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือน ก.พ.50 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยถึง
ดัชนีอุตสาหกรรมเดือน ก.พ.50 ซึ่งสำรวจจาก 52 กลุ่มอุตสาหกรรม ครอบคลุมผู้ประกอบการ 2,121 โรงงานพบว่า ดัชนีผลผลิต(มูลค่าเพิ่ม)
อยู่ที่ระดับ 162.17 ลดลง 1.89% จากระดับ 165.30 ในเดือน ม.ค.50 แต่เพิ่มขึ้น 6.24% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่วนดัชนี
ผลผลิต(มูลค่าผลผลิต)อยู่ที่ระดับ 164.37 ลดลง 2.71% จากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 168.95 และดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 158.30
ลดลง 0.54% ขณะที่ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ระดับ 184.39 เพิ่มขึ้น 1.05% จากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 182.48 เนื่องจากผู้ประกอบการ
มีความกังวลกับหลายปัจจัยเสี่ยงทั้งเศรษฐกิจชะลอตัว การบริโภคในประเทศลด ปัญหาเงินบาทแข็งค่าและความไม่แน่นอนทางการเมือง
นอกจากนี้ สศอ.ได้คาดการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรมในปี 50 ว่าจะขยายตัว 6.4% ชะลอลงจากปี 49 ที่ขยายตัว 6.5% โดยไตรมาสแรก
คาดว่าจะขยายตัว 6.8% เนื่องมาจากการชะลอตัวด้านการส่งออกเป็นสำคัญ ประกอบกับภาวะการแข่งขันทางการค้าที่รุนแรงมากยิ่งขึ้นทั้ง
จากประเทศจีนและเวียดนาม (กรุงเทพธุรกิจ)
4. ธ.ทหารไทยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากลง 0.25% ธ.ทหารไทย ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี
แบบมีระยะเวลา (MLR) และเงินกู้ลูกค้ารายย่อย (MRR) ในอัตรา 0.25% โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 2 เม.ย.50 เป็นต้นไป ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย
ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้เอ็มแอลอาร์ปรับลดจาก 8% ต่อปีเป็น 7.75% อัตราดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์ปรับลดจาก 8.50% เป็น 8.25%
นอกจากนี้ ธนาคารได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลง 0.25% มีผลตั้งแต่วันที่ 2 เม.ย.เช่นกัน ส่งผลให้ เงินฝากประจำทั่วไป
6-12 เดือนลดลงจาก 3.50% เป็น 3.25% (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ.ในเดือน มี.ค.50 จะลดลงต่ำสุดในรอบ 6 เดือน ที่ระดับ 88.5 รายงานจากนิวยอร์ก
เมื่อ 28 มี.ค.50 ผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์ และ มหาวิทยาลัยมิชิแกน คาดการณ์ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.
ในเดือน มี.ค.50 จะลดลงอยู่ที่ระดับ 88.5 จากระดับ 91.3 ในเดือน ก.พ.50 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือน ทั้งนี้ สาเหตุที่คาดการณ์ว่า
ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน มี.ค.จะชะลอลง เนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น และดัชนีราคาตลาดหุ้นที่ปรับตัวลดลงในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา
ซึ่งนอกจากจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคแล้ว โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากความกังวลเกี่ยวกับจำนวนการผิดสัญญากู้จำนองที่กำลังเพิ่มขึ้น ซึ่ง
อาจส่งผลกระทบต่อตลาดที่อยู่อาศัยใน สรอ. ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ.เคยอยู่ในระดับต่ำสุดที่ 85.4 เมื่อเดือน ก.ย.49
โดยผลสำรวจคาดว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ.จะอยู่ในช่วงระหว่าง 86.0 ถึง 92.0 อนึ่ง รัฐบาลจะรายงานตัวเลขดัชนีดังกล่าว
อย่างเป็นทางการในวันศุกร์ที่ 30 มี.ค.นี้ เวลา 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
2. จีดีพีของอังกฤษในไตรมาส 4 ปี 49 ขยายตัวร้อยละ 0.7 ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลสูงสุดในรอบ 17 ปี รายงานจาก
กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 28 มี.ค.50 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษ เปิดเผยว่า ได้ปรับตัวเลขการขยายตัวของเศรษฐกิจใน
ไตรมาส 4 ปี 49 ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 0.8 เหลือร้อยละ 0.7 แต่อัตราการขยายตัวเทียบต่อปียังคงไม่เปลี่ยนแปลงคือร้อยละ 3.0
และอัตราการขยายตัวตลอดปี 49 ปรับขึ้นเป็นร้อยละ 2.8 แต่อย่างไรก็ดี ตัวเลขดังกล่าวไม่ส่งผลต่อตลาดที่คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะปรับ
ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้เป็นครั้งที่ 4 นับตั้งแต่เดือน ส.ค.49 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ผู้ว่าการ ธ.กลางอังกฤษ กล่าวย้ำถึงความเสี่ยง
ที่อัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาส 4 ปี 49 ขาดดุลเพิ่มขึ้นเป็นสถิติที่ระดับ 12.7 พันล้านปอนด์
(24.95 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) จาก 10.5 พันล้านปอนด์ ในไตรมาส 3 คิดเป็นร้อยละ 3.8 ของจีดีพี ซึ่งเป็นอัตราส่วนสูงสุดนับตั้งแต่
ไตรมาส 2 ปี 2533 โดยตลอดทั้งปี 49 ยอดขาดดุลมีจำนวน 43.4 พันล้านปอนด์ หรือร้อยละ 3.4 ของจีดีพี สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2533 (รอยเตอร์)
3. ราคาที่อยู่อาศัยของอังกฤษในเดือน มี.ค.50 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.4 เทียบต่อเดือน รายงานจากลอนดอน เมื่อ 28 มี.ค.50
Mortgage lender Nationwide เปิดเผยว่า ราคาที่อยู่อาศัยของอังกฤษในเดือน มี.ค.50 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.4 เทียบต่อเดือน
ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่เมื่อเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 ลดลงจากร้อยละ 10.2 ในเดือน ก.พ.50
ส่วนราคาบ้านเฉลี่ยอยู่ที่ 177,083 ปอนด์ต่อหลัง ซึ่งสาเหตุที่ราคาที่อยู่อาศัยชะลอลง เนื่องจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ
ธ.กลางอังกฤษ ถึง 3 ครั้งตั้งแต่เดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ทำให้ส่งผลกระทบต่อตลาดที่อยู่อาศัย ทั้งนี้ ผู้ว่าการ ธ.กลางอังกฤษส่งสัญญาณเมื่อ
วันอังคารที่ผ่านมาว่าตลาดที่อยู่อาศัยเริ่มจะชะลอตัวลง ขณะที่มีข้อมูลจากสมาคมธนาคารอังกฤษว่า วงเงินกู้ยืมที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุมัติ
(ซึ่งเป็นดัชนีชี้นำราคาที่อยู่อาศัยของอังกฤษ) ในเดือน ก.พ.50 ลดลงร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์
บางคนยังกล่าวว่า ราคาที่อยู่อาศัยจะชะลอตัวในปีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หาก ธ.กลางอังกฤษยังคงปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (อัตรา
ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม) อีกครั้งใน 1 ถึง 2 เดือนข้างหน้านี้ อนึ่ง ราคาที่อยู่อาศัยในรอบ 3 เดือนแรกของปี 50 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 0.4
น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของร้อยละ 1.1 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 49 อย่างไรก็ตาม ราคาที่อยู่อาศัยในอังกฤษและเวลล์ของเดือน ก.พ.50
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เทียบต่อเดือน และหากเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 ส่วนราคาบ้านเฉลี่ยอยู่ที่ 177,099 ปอนด์ต่อหลัง (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางเกาหลีใต้คาดว่าเศรษฐกิจในปี 50 จะขยายตัวร้อยละ 4.4 ต่อปีชะลอตัวลงจากปี 49 รายงานจากโซล เมื่อ
29 มี.ค.50 ในแถลงการณ์นโยบายประจำปีที่เสนอต่อรัฐบาล ธ.กลางเกาหลีใต้คาดว่าเศรษฐกิจในปี 50 อาจขยายตัวร้อยละ 4.4 ต่อปี
ชะลอตัวลงจากร้อยละ 5.0 ต่อปีในปี 49 อันเป็นผลจากหนี้สินภาคครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อการบริโภคในประเทศ นอกจากนี้
ยังเป็นผลจากการลงทุนของภาคธุรกิจชะลอตัว แต่อย่างไรก็ดี ธ.กลางเกาหลีใต้คาดว่าการส่งออกจะฟื้นตัวและช่วยให้เศรษฐกิจในปี 50
ขยายตัวตามที่คาดไว้ ทั้งนี้ ธ.กลางเกาหลีใต้ได้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.50 ต่อปีในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา หลังจากขึ้น
อัตราดอกเบี้ยถึง 5 ครั้งตั้งแต่เดือน ต.ค.48 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 29 มี.ค. 50 28 มี.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.945 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.7291/35.0702 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.63563 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 669.04/12.60 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,950/11,050 10,950/11,050 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 61.69 61.69 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.99*/24.14* 27.59*/23.74* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 29 มี.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ขออนุมัติออก พธบ.เพิ่ม 4 แสน ล.บาท แหล่งข่าวระดับสูงจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
ได้ขออนุมัติออก พธบ. ธปท. เพิ่มอีก 4 แสน ล.บาท ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และหารือร่วมกับ
ธปท.ถึงความจำเป็นในการออก พธบ.ดังกล่าว หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ธปท.ได้ออก พธบ.จำนวน 1.1 ล้านล้านบาท เพื่อดูแลสภาพคล่อง
ด้านผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า แผนการออก พธบ.ล็อตใหม่ของ ธปท.ถือเป็นเรื่องจำเป็นในการดำเนินนโยบายของ ธปท. แต่จะออกมาหรือน้อย
จะมีการปรึกษากับ ก.คลังเป็นคราวๆ ไป (กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด)
2. ธปท.จะยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% ในช่วงเวลาที่เหมาะสม ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า
การพิจารณายกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% เงินทุนนำเข้าจากต่างประเทศจะดำเนินการเมื่อมีจังหวะที่ดี คือหากเห็นว่าการให้ทางเลือก
ในการทำประกันความเสี่ยง (Fully Hedge) ได้ผลในทางปฏิบัติในการดูแลค่าเงินบาท ไม่มีการรั่วไหล ก็สามารถยกเลิกได้ทันที ด้าน
รมว.คลัง กล่าวว่า มาตรการกันสำรอง 30% แม้จะไม่มีผลในทางปฏิบัติแล้วเนื่องจาก ธปท.ได้เปิดทางเลือกให้กับผู้ที่นำเงินเข้าสามารถ
เลือกการป้องกันความเสี่ยง 100% โดยการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าเป็นเวลา 3 เดือนแทนได้ แต่ ธปท.คงต้องติดตามมาตรการ
เสริมเรื่องการประกันความเสี่ยงว่าจะมีผลอย่างไร (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด)
3. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือน ก.พ.50 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยถึง
ดัชนีอุตสาหกรรมเดือน ก.พ.50 ซึ่งสำรวจจาก 52 กลุ่มอุตสาหกรรม ครอบคลุมผู้ประกอบการ 2,121 โรงงานพบว่า ดัชนีผลผลิต(มูลค่าเพิ่ม)
อยู่ที่ระดับ 162.17 ลดลง 1.89% จากระดับ 165.30 ในเดือน ม.ค.50 แต่เพิ่มขึ้น 6.24% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่วนดัชนี
ผลผลิต(มูลค่าผลผลิต)อยู่ที่ระดับ 164.37 ลดลง 2.71% จากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 168.95 และดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 158.30
ลดลง 0.54% ขณะที่ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ระดับ 184.39 เพิ่มขึ้น 1.05% จากเดือนก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 182.48 เนื่องจากผู้ประกอบการ
มีความกังวลกับหลายปัจจัยเสี่ยงทั้งเศรษฐกิจชะลอตัว การบริโภคในประเทศลด ปัญหาเงินบาทแข็งค่าและความไม่แน่นอนทางการเมือง
นอกจากนี้ สศอ.ได้คาดการณ์การผลิตภาคอุตสาหกรรมในปี 50 ว่าจะขยายตัว 6.4% ชะลอลงจากปี 49 ที่ขยายตัว 6.5% โดยไตรมาสแรก
คาดว่าจะขยายตัว 6.8% เนื่องมาจากการชะลอตัวด้านการส่งออกเป็นสำคัญ ประกอบกับภาวะการแข่งขันทางการค้าที่รุนแรงมากยิ่งขึ้นทั้ง
จากประเทศจีนและเวียดนาม (กรุงเทพธุรกิจ)
4. ธ.ทหารไทยปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากลง 0.25% ธ.ทหารไทย ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี
แบบมีระยะเวลา (MLR) และเงินกู้ลูกค้ารายย่อย (MRR) ในอัตรา 0.25% โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 2 เม.ย.50 เป็นต้นไป ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย
ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้เอ็มแอลอาร์ปรับลดจาก 8% ต่อปีเป็น 7.75% อัตราดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์ปรับลดจาก 8.50% เป็น 8.25%
นอกจากนี้ ธนาคารได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลง 0.25% มีผลตั้งแต่วันที่ 2 เม.ย.เช่นกัน ส่งผลให้ เงินฝากประจำทั่วไป
6-12 เดือนลดลงจาก 3.50% เป็น 3.25% (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ.ในเดือน มี.ค.50 จะลดลงต่ำสุดในรอบ 6 เดือน ที่ระดับ 88.5 รายงานจากนิวยอร์ก
เมื่อ 28 มี.ค.50 ผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์ และ มหาวิทยาลัยมิชิแกน คาดการณ์ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค สรอ.
ในเดือน มี.ค.50 จะลดลงอยู่ที่ระดับ 88.5 จากระดับ 91.3 ในเดือน ก.พ.50 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือน ทั้งนี้ สาเหตุที่คาดการณ์ว่า
ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน มี.ค.จะชะลอลง เนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น และดัชนีราคาตลาดหุ้นที่ปรับตัวลดลงในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา
ซึ่งนอกจากจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคแล้ว โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากความกังวลเกี่ยวกับจำนวนการผิดสัญญากู้จำนองที่กำลังเพิ่มขึ้น ซึ่ง
อาจส่งผลกระทบต่อตลาดที่อยู่อาศัยใน สรอ. ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ.เคยอยู่ในระดับต่ำสุดที่ 85.4 เมื่อเดือน ก.ย.49
โดยผลสำรวจคาดว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ.จะอยู่ในช่วงระหว่าง 86.0 ถึง 92.0 อนึ่ง รัฐบาลจะรายงานตัวเลขดัชนีดังกล่าว
อย่างเป็นทางการในวันศุกร์ที่ 30 มี.ค.นี้ เวลา 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
2. จีดีพีของอังกฤษในไตรมาส 4 ปี 49 ขยายตัวร้อยละ 0.7 ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลสูงสุดในรอบ 17 ปี รายงานจาก
กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 28 มี.ค.50 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษ เปิดเผยว่า ได้ปรับตัวเลขการขยายตัวของเศรษฐกิจใน
ไตรมาส 4 ปี 49 ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 0.8 เหลือร้อยละ 0.7 แต่อัตราการขยายตัวเทียบต่อปียังคงไม่เปลี่ยนแปลงคือร้อยละ 3.0
และอัตราการขยายตัวตลอดปี 49 ปรับขึ้นเป็นร้อยละ 2.8 แต่อย่างไรก็ดี ตัวเลขดังกล่าวไม่ส่งผลต่อตลาดที่คาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะปรับ
ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้เป็นครั้งที่ 4 นับตั้งแต่เดือน ส.ค.49 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ผู้ว่าการ ธ.กลางอังกฤษ กล่าวย้ำถึงความเสี่ยง
ที่อัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาส 4 ปี 49 ขาดดุลเพิ่มขึ้นเป็นสถิติที่ระดับ 12.7 พันล้านปอนด์
(24.95 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) จาก 10.5 พันล้านปอนด์ ในไตรมาส 3 คิดเป็นร้อยละ 3.8 ของจีดีพี ซึ่งเป็นอัตราส่วนสูงสุดนับตั้งแต่
ไตรมาส 2 ปี 2533 โดยตลอดทั้งปี 49 ยอดขาดดุลมีจำนวน 43.4 พันล้านปอนด์ หรือร้อยละ 3.4 ของจีดีพี สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2533 (รอยเตอร์)
3. ราคาที่อยู่อาศัยของอังกฤษในเดือน มี.ค.50 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.4 เทียบต่อเดือน รายงานจากลอนดอน เมื่อ 28 มี.ค.50
Mortgage lender Nationwide เปิดเผยว่า ราคาที่อยู่อาศัยของอังกฤษในเดือน มี.ค.50 เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.4 เทียบต่อเดือน
ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่เมื่อเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 ลดลงจากร้อยละ 10.2 ในเดือน ก.พ.50
ส่วนราคาบ้านเฉลี่ยอยู่ที่ 177,083 ปอนด์ต่อหลัง ซึ่งสาเหตุที่ราคาที่อยู่อาศัยชะลอลง เนื่องจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ
ธ.กลางอังกฤษ ถึง 3 ครั้งตั้งแต่เดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ทำให้ส่งผลกระทบต่อตลาดที่อยู่อาศัย ทั้งนี้ ผู้ว่าการ ธ.กลางอังกฤษส่งสัญญาณเมื่อ
วันอังคารที่ผ่านมาว่าตลาดที่อยู่อาศัยเริ่มจะชะลอตัวลง ขณะที่มีข้อมูลจากสมาคมธนาคารอังกฤษว่า วงเงินกู้ยืมที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุมัติ
(ซึ่งเป็นดัชนีชี้นำราคาที่อยู่อาศัยของอังกฤษ) ในเดือน ก.พ.50 ลดลงร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์
บางคนยังกล่าวว่า ราคาที่อยู่อาศัยจะชะลอตัวในปีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หาก ธ.กลางอังกฤษยังคงปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (อัตรา
ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม) อีกครั้งใน 1 ถึง 2 เดือนข้างหน้านี้ อนึ่ง ราคาที่อยู่อาศัยในรอบ 3 เดือนแรกของปี 50 เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 0.4
น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของร้อยละ 1.1 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 49 อย่างไรก็ตาม ราคาที่อยู่อาศัยในอังกฤษและเวลล์ของเดือน ก.พ.50
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เทียบต่อเดือน และหากเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 ส่วนราคาบ้านเฉลี่ยอยู่ที่ 177,099 ปอนด์ต่อหลัง (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางเกาหลีใต้คาดว่าเศรษฐกิจในปี 50 จะขยายตัวร้อยละ 4.4 ต่อปีชะลอตัวลงจากปี 49 รายงานจากโซล เมื่อ
29 มี.ค.50 ในแถลงการณ์นโยบายประจำปีที่เสนอต่อรัฐบาล ธ.กลางเกาหลีใต้คาดว่าเศรษฐกิจในปี 50 อาจขยายตัวร้อยละ 4.4 ต่อปี
ชะลอตัวลงจากร้อยละ 5.0 ต่อปีในปี 49 อันเป็นผลจากหนี้สินภาคครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อการบริโภคในประเทศ นอกจากนี้
ยังเป็นผลจากการลงทุนของภาคธุรกิจชะลอตัว แต่อย่างไรก็ดี ธ.กลางเกาหลีใต้คาดว่าการส่งออกจะฟื้นตัวและช่วยให้เศรษฐกิจในปี 50
ขยายตัวตามที่คาดไว้ ทั้งนี้ ธ.กลางเกาหลีใต้ได้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.50 ต่อปีในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา หลังจากขึ้น
อัตราดอกเบี้ยถึง 5 ครั้งตั้งแต่เดือน ต.ค.48 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 29 มี.ค. 50 28 มี.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.945 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.7291/35.0702 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.63563 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 669.04/12.60 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,950/11,050 10,950/11,050 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 61.69 61.69 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 27.99*/24.14* 27.59*/23.74* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 29 มี.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--