เครื่องชี้เศรษฐกิจในเดือนสิงหาคม 2548 ปรับตัว ดีขึ้นจากเดือนก่อนทั้งด้านอุปสงค์และด้านอุปทาน โดย ด้านอุปสงค์ ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนปรับตัว ดีขึ้นจากเดือนก่อน ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนขยายตัว เร่งขึ้นเล็กน้อย และภาคต่างประเทศปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง จากเดือนกรกฎาคม
ด้านอุปทาน รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลัก เร่งตัวจากเดือนก่อนหน้า ตามการเร่งตัวขึ้นทางด้านราคา เป็นสำคัญ ประกอบกับปริมาณผลผลิตกลับมาเพิ่มขึ้น เล็กน้อยในเดือนนี้ สำหรับการผลิตภาคอุตสาหกรรม เร่งตัวสูงขึ้นมากจากเดือนก่อน จากปัจจัยด้านอุปสงค์ต่างประเทศที่ยังดีต่อเนื่อง และจากการที่ฐาน ณ เดือน เดียวกันปีก่อนอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ในภาคบริการ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศลดลงเล็กน้อยจาก ช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า
เสถียรภาพเศรษฐกิจ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลต่อเนื่องจากเดือนก่อนตามการเร่งตัวของการส่งออก
และการชะลอตัวของการนำเข้าเป็นสำคัญ ฐานะเงินสำรอง ทางธุรกิจที่เริ่มทรงตัว และองค์ประกอบของดัชนีความระหว่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นจากเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและพื้นฐานยังคงเร่งตัวขึ้นต่อเนื่องตามการเพิ่มขึ้นของทั้งราคาน้ำมัน ราคาอาหารสด และหมวดอื่นๆ
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนสิงหาคม 2548 มีดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิต อุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 10.7 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ สำคัญ 4.9 ในเดือนก่อน ตามการผลิตเพื่อส่งออกซึ่งขยายตัวเก็บในเกณฑ์ดีทั้งหมวดอิเล็กทรอนิกส์ หมวดยานยนต์ และอุปกรณ์ขนส่ง และหมวดอาหาร ประกอบกับเป็นผลจากฐานเดือนเดียวกันปีก่อนอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากมีการหยุดผลิตเพื่อปรับปรุงสายการผลิตในหมวดยานยนต์ และอุปกรณ์ขนส่ง และการปิดซ่อมบำรุงโรงงานในหมวด ปิโตรเลียม อย่างไรก็ดี การผลิตในหมวดเครื่องหนัง ลดลงต่อเนื่องจากการปรับเปลี่ยนไปผลิตสินค้าคุณภาพสูง และในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก มีความต้องการซื้อลดลง เพื่อรอความชัดเจนด้านราคา ประกอบกับ ผู้ประกอบการได้เร่งสต็อกสินค้าไว้มากแล้ว สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้ อยู่ที่ร้อยละ 70.5 ใกล้เคียงกับเดือนก่อน
2. ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน ดีขึ้นจากที่ลดลงร้อยละ1.3 ในเดือนก่อนหน้าทั้งนี้ สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์มูลค่าสินค้าอุปโภคบริโภคนำเข้า ณ ราคาคงที่ และปริมาณจำหน่ายไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัย สำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.9 เร่งขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 7.7 ตามการเร่งตัวของการลงทุนทั้งหมวดก่อสร้าง และหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สอดคล้องกับดัชนีความ เชื่อมั่นทางธุรกิจบางรายการปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวดีขึ้นในทุกองค์ประกอบ
3. ภาคการคลัง ในเดือนสิงหาคม 2548 รัฐบาล มีรายได้จัดเก็บเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.8 จากการเพิ่มขึ้นของรายได้ภาษีร้อยละ 19.9 รายได้ที่มิใช่การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิต ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.5 จากการนำส่งรายได้ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลและการไฟฟ้านครหลวงเป็นแต่ดุลเงินสดในเดือนนี้ขาดดุล เนื่องจากรายได้ภาษีจัดเดือนสิงหาคมมีการเหลื่อมนำส่งในเดือนถัดไป ทั้งนี้ ในรอบ 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2548 รัฐบาลจัดเก็บรายได้รวม 1.36 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.9
4. ภาคต่างประเทศ ดุลการค้าขาดดุล 277 ล้าน ดอลลาร์ สรอ. ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ขาดดุล 338ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการส่งออกมีมูลค่าทั้งสิ้น 10,116 ล้านดอลลาร์ สรอ.ขยายตัวร้อยละ 25.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน สินค้าออกที่ขยายตัวดีต่อเนื่องได้แก่ ยานยนต์ และชิ้นส่วน คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งรวมทั้งแผงวงจรรวมและชิ้นส่วน ส่วนการนำเข้า คิดเป็นมูลค่า 10,393 ล้านดอลลาร์ สรอ.ขยายตัวร้อยละ 24.1 จากระยะเดียวกันปีก่อนโดยเฉพาะหมวดสินค้าทุนที่ขยายตัวในเกณฑ์สูงขณะที่การนำเข้าน้ำมันขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ทั้งนี้ มีการปรับข้อมูลของกรมศุลกากรด้วยการเพิ่มการนำเข้าดาวเทียมไทยคม 4 ซึ่งส่งขึ้นอวกาศในเดือนสิงหาคม มูลค่า 381 ล้านดอลลาร์ สรอ และหักการนำเข้าเครื่องบินมูลค่า 128 ล้านดอลลาร์ สรอ.ซึ่งลงรายการในดุลการชำระเงินแล้วในเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนเกินดุล 384 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนที่เกินดุล 507 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากรายจ่ายผลประโยชน์จากการลงทุน ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 107 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลการชำระเงินเกินดุล 382 ล้านดอลลาร์สรอ. เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2548 อยู่ที่ระดับ 49.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 3.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ
5. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในเดือนสิงหาคม 2548 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.6 และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนถึงร้อยละ 0.7 โดยเป็นผล การเพิ่มขึ้นของทั้งราคาสินค้าในหมวดอาหารสด หมวดงาน และหมวดอื่นๆ ทั้งนี้ ราคาในหมวดอาหารสดที่เพิ่มสูงขึ้นมาจากผลผลิตที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคเนื่องจากปัญหาภาวะน้ำท่วมในบางพื้นที่ ส่วนราคาในหมวดพลังงาน ปรับสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่สูงขึ้นต่อเนื่อง สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.3 หรือเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.2 ตามราคาค่าโดยสาร ราคาในหมวดการตรวจรักษาและค่ายา อาหารบริโภคใน-นอกบ้าน และสิ่งที่เกี่ยวกับการทำความสะอาด
ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.9 จากการเพิ่มขึ้นของราคาผลผลิตเกษตรกรรมตามราคาผลผลิตการเกษตร และการเพิ่มขึ้นของราคา หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองตามราคาน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ ตลอดจนการเพิ่มขึ้นของราคาหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตามราคาวัตถุดิบและต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น
6. ภาวะการเงิน ในเดือนสิงหาคม 2548 เงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 6.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการนับรวมเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ที่เพิ่งควบรวมและยกระดับจากบริษัทเงินทุนเป็นธนาคารพาณิชย์ ซึ่งเมื่อหักผลดังกล่าวออกเงินฝากธนาคารพาณิชย์ในเดือนนี้ขยายตัวร้อยละ4.3 เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.5 ในเดือนกรกฎาคม โดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของเงินฝากภาคธุรกิจเพื่อรอตัดบัญชีชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลและการเพิ่มขึ้นของเงินฝากภาครัฐของกรมสรรพากร ซึ่งคาดว่าเป็นปัจจัยชั่วคราว สำหรับสินเชื่อภาคเอกชนของธนาคารพาณิชย์ (รวมการถือครองหลักทรัพย์ของภาคเอกชน) ขยายตัวร้อยละ6.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจาก การนับรวมสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่เช่นกัน ซึ่งเมื่อหักผลดังกล่าวแล้ว สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ในเดือนนี้ขยายตัวร้อยละ 4.1 ชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 4.4 ในเดือนก่อน ทั้งนี้ การขยายตัวของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ยังคงอยู่ในแนวโน้มชะลอตัวจากช่วงปลายปี2547 ตามภาวะเศรษฐกิจ
ปริมาณเงิน M2 M2a และ M3 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 5.9 4.6 และ 4.6 ตามลำดับโดย M2 และ M2a ขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ส่วนหนึ่งมาจากการเพิ่มขึ้นของเงินฝากประจำและอีกส่วนหนึ่งมาจากการควบรวมและยกระดับบริษัทเงินทุนเป็นธนาคารพาณิชย์ สำหรับ M3 ขยายตัวในอัตราที่ใกล้เคียงกับเดือนก่อน
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ในเดือนสิงหาคม 2548 อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.70 ต่อปีเท่ากัน ซึ่งเป็นอัตราที่สูงขึ้นจากเดือนก่อนตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ในระหว่างเดือนอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นดังกล่าวเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ เนื่องจากยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ของอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก
7. ค่าเงินบาทในเดือนสิงหาคม 2548 เฉลี่ยอยู่ที่ 41.19 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งขึ้นจากค่าเฉลี่ย 41.76 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนกรกฎาคม และเคลื่อนไหว ในช่วงแคบๆ ส่วนหนึ่งเนื่องจากความเชื่อมั่นในดอลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบกับเงินภูมิภาคไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนในเดือนนี้
ในช่วงวันที่ 1-23 กันยายน 2548 เงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 41.02 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โดยทรงตัวและเคลื่อนไหวในช่วงแคบก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 7 กันยายน แต่โน้มแข็งค่าขึ้นภายหลังอัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับขึ้นร้อยละ 0.50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ด้านอุปทาน รายได้เกษตรกรจากพืชผลหลัก เร่งตัวจากเดือนก่อนหน้า ตามการเร่งตัวขึ้นทางด้านราคา เป็นสำคัญ ประกอบกับปริมาณผลผลิตกลับมาเพิ่มขึ้น เล็กน้อยในเดือนนี้ สำหรับการผลิตภาคอุตสาหกรรม เร่งตัวสูงขึ้นมากจากเดือนก่อน จากปัจจัยด้านอุปสงค์ต่างประเทศที่ยังดีต่อเนื่อง และจากการที่ฐาน ณ เดือน เดียวกันปีก่อนอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ในภาคบริการ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศลดลงเล็กน้อยจาก ช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า
เสถียรภาพเศรษฐกิจ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลต่อเนื่องจากเดือนก่อนตามการเร่งตัวของการส่งออก
และการชะลอตัวของการนำเข้าเป็นสำคัญ ฐานะเงินสำรอง ทางธุรกิจที่เริ่มทรงตัว และองค์ประกอบของดัชนีความระหว่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นจากเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและพื้นฐานยังคงเร่งตัวขึ้นต่อเนื่องตามการเพิ่มขึ้นของทั้งราคาน้ำมัน ราคาอาหารสด และหมวดอื่นๆ
รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนสิงหาคม 2548 มีดังนี้
1. การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิต อุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 10.7 เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ สำคัญ 4.9 ในเดือนก่อน ตามการผลิตเพื่อส่งออกซึ่งขยายตัวเก็บในเกณฑ์ดีทั้งหมวดอิเล็กทรอนิกส์ หมวดยานยนต์ และอุปกรณ์ขนส่ง และหมวดอาหาร ประกอบกับเป็นผลจากฐานเดือนเดียวกันปีก่อนอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากมีการหยุดผลิตเพื่อปรับปรุงสายการผลิตในหมวดยานยนต์ และอุปกรณ์ขนส่ง และการปิดซ่อมบำรุงโรงงานในหมวด ปิโตรเลียม อย่างไรก็ดี การผลิตในหมวดเครื่องหนัง ลดลงต่อเนื่องจากการปรับเปลี่ยนไปผลิตสินค้าคุณภาพสูง และในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก มีความต้องการซื้อลดลง เพื่อรอความชัดเจนด้านราคา ประกอบกับ ผู้ประกอบการได้เร่งสต็อกสินค้าไว้มากแล้ว สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในเดือนนี้ อยู่ที่ร้อยละ 70.5 ใกล้เคียงกับเดือนก่อน
2. ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน ดีขึ้นจากที่ลดลงร้อยละ1.3 ในเดือนก่อนหน้าทั้งนี้ สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์มูลค่าสินค้าอุปโภคบริโภคนำเข้า ณ ราคาคงที่ และปริมาณจำหน่ายไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัย สำหรับดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (เบื้องต้น) ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.9 เร่งขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 7.7 ตามการเร่งตัวของการลงทุนทั้งหมวดก่อสร้าง และหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สอดคล้องกับดัชนีความ เชื่อมั่นทางธุรกิจบางรายการปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวดีขึ้นในทุกองค์ประกอบ
3. ภาคการคลัง ในเดือนสิงหาคม 2548 รัฐบาล มีรายได้จัดเก็บเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.8 จากการเพิ่มขึ้นของรายได้ภาษีร้อยละ 19.9 รายได้ที่มิใช่การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิต ภาษีเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.5 จากการนำส่งรายได้ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลและการไฟฟ้านครหลวงเป็นแต่ดุลเงินสดในเดือนนี้ขาดดุล เนื่องจากรายได้ภาษีจัดเดือนสิงหาคมมีการเหลื่อมนำส่งในเดือนถัดไป ทั้งนี้ ในรอบ 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2548 รัฐบาลจัดเก็บรายได้รวม 1.36 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 12.9
4. ภาคต่างประเทศ ดุลการค้าขาดดุล 277 ล้าน ดอลลาร์ สรอ. ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ขาดดุล 338ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยการส่งออกมีมูลค่าทั้งสิ้น 10,116 ล้านดอลลาร์ สรอ.ขยายตัวร้อยละ 25.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน สินค้าออกที่ขยายตัวดีต่อเนื่องได้แก่ ยานยนต์ และชิ้นส่วน คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งรวมทั้งแผงวงจรรวมและชิ้นส่วน ส่วนการนำเข้า คิดเป็นมูลค่า 10,393 ล้านดอลลาร์ สรอ.ขยายตัวร้อยละ 24.1 จากระยะเดียวกันปีก่อนโดยเฉพาะหมวดสินค้าทุนที่ขยายตัวในเกณฑ์สูงขณะที่การนำเข้าน้ำมันขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ทั้งนี้ มีการปรับข้อมูลของกรมศุลกากรด้วยการเพิ่มการนำเข้าดาวเทียมไทยคม 4 ซึ่งส่งขึ้นอวกาศในเดือนสิงหาคม มูลค่า 381 ล้านดอลลาร์ สรอ และหักการนำเข้าเครื่องบินมูลค่า 128 ล้านดอลลาร์ สรอ.ซึ่งลงรายการในดุลการชำระเงินแล้วในเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนเกินดุล 384 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อนที่เกินดุล 507 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากรายจ่ายผลประโยชน์จากการลงทุน ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 107 ล้านดอลลาร์ สรอ. ดุลการชำระเงินเกินดุล 382 ล้านดอลลาร์สรอ. เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2548 อยู่ที่ระดับ 49.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมียอดคงค้างการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิจำนวน 3.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ
5. ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปในเดือนสิงหาคม 2548 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.6 และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนถึงร้อยละ 0.7 โดยเป็นผล การเพิ่มขึ้นของทั้งราคาสินค้าในหมวดอาหารสด หมวดงาน และหมวดอื่นๆ ทั้งนี้ ราคาในหมวดอาหารสดที่เพิ่มสูงขึ้นมาจากผลผลิตที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคเนื่องจากปัญหาภาวะน้ำท่วมในบางพื้นที่ ส่วนราคาในหมวดพลังงาน ปรับสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่สูงขึ้นต่อเนื่อง สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.3 หรือเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.2 ตามราคาค่าโดยสาร ราคาในหมวดการตรวจรักษาและค่ายา อาหารบริโภคใน-นอกบ้าน และสิ่งที่เกี่ยวกับการทำความสะอาด
ดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.9 จากการเพิ่มขึ้นของราคาผลผลิตเกษตรกรรมตามราคาผลผลิตการเกษตร และการเพิ่มขึ้นของราคา หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมืองตามราคาน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ ตลอดจนการเพิ่มขึ้นของราคาหมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตามราคาวัตถุดิบและต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น
6. ภาวะการเงิน ในเดือนสิงหาคม 2548 เงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 6.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการนับรวมเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ที่เพิ่งควบรวมและยกระดับจากบริษัทเงินทุนเป็นธนาคารพาณิชย์ ซึ่งเมื่อหักผลดังกล่าวออกเงินฝากธนาคารพาณิชย์ในเดือนนี้ขยายตัวร้อยละ4.3 เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.5 ในเดือนกรกฎาคม โดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของเงินฝากภาคธุรกิจเพื่อรอตัดบัญชีชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลและการเพิ่มขึ้นของเงินฝากภาครัฐของกรมสรรพากร ซึ่งคาดว่าเป็นปัจจัยชั่วคราว สำหรับสินเชื่อภาคเอกชนของธนาคารพาณิชย์ (รวมการถือครองหลักทรัพย์ของภาคเอกชน) ขยายตัวร้อยละ6.0 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจาก การนับรวมสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่เช่นกัน ซึ่งเมื่อหักผลดังกล่าวแล้ว สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ในเดือนนี้ขยายตัวร้อยละ 4.1 ชะลอลงเล็กน้อยจากร้อยละ 4.4 ในเดือนก่อน ทั้งนี้ การขยายตัวของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ยังคงอยู่ในแนวโน้มชะลอตัวจากช่วงปลายปี2547 ตามภาวะเศรษฐกิจ
ปริมาณเงิน M2 M2a และ M3 ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 5.9 4.6 และ 4.6 ตามลำดับโดย M2 และ M2a ขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ส่วนหนึ่งมาจากการเพิ่มขึ้นของเงินฝากประจำและอีกส่วนหนึ่งมาจากการควบรวมและยกระดับบริษัทเงินทุนเป็นธนาคารพาณิชย์ สำหรับ M3 ขยายตัวในอัตราที่ใกล้เคียงกับเดือนก่อน
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ในเดือนสิงหาคม 2548 อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.70 ต่อปีเท่ากัน ซึ่งเป็นอัตราที่สูงขึ้นจากเดือนก่อนตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ในระหว่างเดือนอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นดังกล่าวเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ เนื่องจากยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ของอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก
7. ค่าเงินบาทในเดือนสิงหาคม 2548 เฉลี่ยอยู่ที่ 41.19 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งขึ้นจากค่าเฉลี่ย 41.76 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนกรกฎาคม และเคลื่อนไหว ในช่วงแคบๆ ส่วนหนึ่งเนื่องจากความเชื่อมั่นในดอลลาร์ สรอ. เมื่อเทียบกับเงินภูมิภาคไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนในเดือนนี้
ในช่วงวันที่ 1-23 กันยายน 2548 เงินบาทเฉลี่ยอยู่ที่ 41.02 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. โดยทรงตัวและเคลื่อนไหวในช่วงแคบก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 7 กันยายน แต่โน้มแข็งค่าขึ้นภายหลังอัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับขึ้นร้อยละ 0.50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--