นายเกียรติ สิทธีอมร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวกรณีซีทีเอ็กซ์ว่า การรีบร้อนลงนามในสัญญาซื้อเครื่องซีทีเอ็กซ์ 26 เครื่อง วันที่ 21 กรกฏาคม 2548 ระหว่าง บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) กับบริษัทจีอีอินวิชั่น มูลค่า 35,810,3200 เหรียญสหรัฐฯ เป็นการดำเนินการที่ขาดความรอบคอบ ไม่โปร่งใสในหลายเรื่องดังต่อไปนี้
1. ปกติแล้วก่อนจะลงนามในสัญญาใหม่ควรดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ให้เรียบร้อยก่อน
1.1. เรียกร้องเงินที่ชำระแล้วส่วนของเครื่องซีทีเอ็กซ์คืนทั้งหมดจากไอทีโอ หากไม่ได้รับคืน ในเวลาที่กำหนด ต้องยึดหนังสือค้ำประกันธนาคาร (Bank Guarantee) และฟ้องร้อง เรียกส่วนที่ค้างชำระและค่าเสียหายทันที
1.2. เรียกร้องเงินค่าชดเชยดอกเบี้ยของเงินที่ชำระแล้วมูลค่า 1,099 ล้านบาท ซึ่งจากอัตรา ดอกเบี้ยเงินกู้ธนาคารที่ 6.25 % ต่อปี คำนวณตามงวดเงินที่จ่ายจริง จะมีมูลค่าประมาณ 50 ล้านบาท
1.3. ตกลงเรื่องความรับผิดชอบและค่าเสียหายจากการที่ไอทีโอไม่สามารถทำตามสัญญาได้
1.4. ตกลงเรื่องขอบเขตสัญญาที่ต้องปรับแก้เมื่อมีการซื้อเครื่องซีทีเอ็กซ์โดยตรงจากบริษัท จีอีอินวิชั่น โดยบทม.
2. บทม.จำเป็นต้องชำระเงินตรงให้กับบริษัทจีอีอินวิชั่นภายใต้สัญญาใหม่ คำถามมีอยู่ว่า เงินที่ ชำระมาจากไหน เพราะไอทีโอไม่สามารถเป็นฝ่ายชำระเงินได้ เนื่องจากไม่ใช่คู่สัญญากับ บริษัทจีอีอินวิชั่น และเท่าที่ทราบบทม.ยังไม่ได้เรียกเงินที่จ่ายแล้วคืนจากไอทีโอ
3. บทม.ควรเปิดเผยรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนขอบเขตงาน และมูลค่าสัญญาทั้ง หมดให้สังคมได้รับรู้ ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ ไอทีโอสามารถใช้เหตุผลที่บทม.ซื้อตรงจากจีอี อินวิชั่นเพื่อหลีกเลี่ยงหรือลดภาระความรับผิดชอบทางสัญญาในบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับเครื่องซีทีเอ็กซ์ได้
4. เงินในส่วนที่ไอทีโอได้ชำระให้กับแพทริออตแล้วจำนวน 643 ล้านบาท ไอทีโอจะดำเนินการ อย่างไร หากแพทริออตไม่ชำระเงินส่วนนี้คืนกับไอทีโอ แล้วไอทีโอจะนำเงินจากไหนมา ใช้คืนบทม. จะอ้างว่าเป็นเรื่องเอกชนไม่ได้ เพราะเรื่องนี้เป็นความเสี่ยงที่กระทบกับผล ประโยชน์ของบทม.โดยตรงได้
5. การที่ออกมาพูดว่าซื้อในราคาเท่าเดิมโดยไม่แสดงขอบเขตงานในสัญญาใหม่ และสัญญาที่ บริษัทที่อินวิชั่นได้เคยทำไว้กับแพทริออต ถือเป็นการหมกเม็ด เพราะหากซื้อในราคาเท่าเดิม แต่ขอบเขตงานลดลง ก็ถือว่าซื้อแพงขึ้น
6. ในการซื้อตรง ส่วนซ้ำซ้อนของภาษีในแต่ละทอดของสัญญาซึ่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่า เพิ่มมีมูลค่าเกือบ 300 ล้านบาท รวมทั้งกรณีกำไรซ้ำซ้อน ค่าดำเนินการซ้ำซ้อน และขอบเขต งานที่ซ้ำซ้อน เช่นกรณีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาที่ได้อภิปรายไปแล้วในวงเงิน 191.18 ล้านบาท ซึ่งควรต้องตัดทอนออกจากสัญญากับไอทีโอ ทั้งหมดนี้บทม.ยังไม่ได้สร้าง ความชัดเจนให้สังคมรับรู้
7. จากบทความที่ลงในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจวันที่ 23 กรกฏาคม 2548 มีข้อความที่ระบุว่า มีค่าใช้จ่ายเพิ่มในการขนส่งทางเครื่องบินแทนการส่งทางเรือ เรื่องนี้ขัดแย้งกับเอกสารคำให้ข้อ เท็จจริงของบริษัทแพทริออตที่ลงในมติชน ฉบับวันที่ 29 พฤษภาคม 2548 ว่า "แพทริออต ต้องออกค่าใช้จ่ายซึ่งรวมถึงค่าขนส่งทางเครื่องบินจากซานฟรานซิสโกหรือสนามบินอื่นถึง สนามบินดอนเมือง” คำถามมีอยู่ว่าทำไมปล่อยให้มีการกล่าวอ้างข้อมูลที่บิดเบือนในการเพิ่ม ค่าใช้จ่าย
8. อัยการสูงสุดมีข้อสังเกต 6 ข้อ ทั้งเรื่องคำนิยาม การกำหนดค่างวดจ่ายเงินที่ไม่เหมาะสมกับงาน การวางหลักประกันในสัญญา แต่วันนี้ยังไม่เปิดเนื้อหาสัญญาที่ลงนามไปแล้ว เรื่องนี้ต้อง เปิดเผยให้ชัดเจน เพื่อให้มีการตรวจสอบจากทุกฝ่ายก่อนลงนามในสัญญา
การที่รัฐบาลรีบร้อนลงนามในสัญญาซื้อตรง ซึ่งรมว.สุริยะ และคนในรัฐบาลออกมาชี้ว่า เป็นการลบข้อครหาทั้งหมด และชื่นชมตัวเองว่าเป็นผลงานชิ้นโบว์แดง ทั้งๆ ที่เห็นได้ชัดเจนว่า นอกจากข้อสังเกตทั้ง 8 ข้อข้างต้น ยังมีหลายประเด็นที่ได้อภิปรายไปในสภาฯ ที่รมว.คมนาคมยัง ไม่ได้ชี้แจง เช่น ที่มาของงบฯ 4,500 ล้านที่อ้างว่า MJTA เป็นผู้ออกแบบ ความซ้ำซ้อน ของงานหลายส่วน รวมทั้งค่าใช้จ่ายซ้ำซ้อนที่อธิบายไม่ได้ เป็นต้น
พฤติการณ์ทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นชัดเจนว่าการดำเนินการยังขาดความรอบคอบ ขาดความ โปร่งใส รมว.สุริยะต้องตระหนักว่าเงินทุกบาททุกสตางค์มาจากภาษีของประชาชน จะปล่อยให้มี การใช้อย่างไม่รอบคอบละเอียดถี่ถ้วนไม่ได้ จะปล่อยให้มีการนำมาฟอกมลทินของคนใดคนหนึ่ง หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งไม่ได้โดยเด็ดขาด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 26 ก.ค. 2548--จบ--
1. ปกติแล้วก่อนจะลงนามในสัญญาใหม่ควรดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ให้เรียบร้อยก่อน
1.1. เรียกร้องเงินที่ชำระแล้วส่วนของเครื่องซีทีเอ็กซ์คืนทั้งหมดจากไอทีโอ หากไม่ได้รับคืน ในเวลาที่กำหนด ต้องยึดหนังสือค้ำประกันธนาคาร (Bank Guarantee) และฟ้องร้อง เรียกส่วนที่ค้างชำระและค่าเสียหายทันที
1.2. เรียกร้องเงินค่าชดเชยดอกเบี้ยของเงินที่ชำระแล้วมูลค่า 1,099 ล้านบาท ซึ่งจากอัตรา ดอกเบี้ยเงินกู้ธนาคารที่ 6.25 % ต่อปี คำนวณตามงวดเงินที่จ่ายจริง จะมีมูลค่าประมาณ 50 ล้านบาท
1.3. ตกลงเรื่องความรับผิดชอบและค่าเสียหายจากการที่ไอทีโอไม่สามารถทำตามสัญญาได้
1.4. ตกลงเรื่องขอบเขตสัญญาที่ต้องปรับแก้เมื่อมีการซื้อเครื่องซีทีเอ็กซ์โดยตรงจากบริษัท จีอีอินวิชั่น โดยบทม.
2. บทม.จำเป็นต้องชำระเงินตรงให้กับบริษัทจีอีอินวิชั่นภายใต้สัญญาใหม่ คำถามมีอยู่ว่า เงินที่ ชำระมาจากไหน เพราะไอทีโอไม่สามารถเป็นฝ่ายชำระเงินได้ เนื่องจากไม่ใช่คู่สัญญากับ บริษัทจีอีอินวิชั่น และเท่าที่ทราบบทม.ยังไม่ได้เรียกเงินที่จ่ายแล้วคืนจากไอทีโอ
3. บทม.ควรเปิดเผยรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนขอบเขตงาน และมูลค่าสัญญาทั้ง หมดให้สังคมได้รับรู้ ประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ ไอทีโอสามารถใช้เหตุผลที่บทม.ซื้อตรงจากจีอี อินวิชั่นเพื่อหลีกเลี่ยงหรือลดภาระความรับผิดชอบทางสัญญาในบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับเครื่องซีทีเอ็กซ์ได้
4. เงินในส่วนที่ไอทีโอได้ชำระให้กับแพทริออตแล้วจำนวน 643 ล้านบาท ไอทีโอจะดำเนินการ อย่างไร หากแพทริออตไม่ชำระเงินส่วนนี้คืนกับไอทีโอ แล้วไอทีโอจะนำเงินจากไหนมา ใช้คืนบทม. จะอ้างว่าเป็นเรื่องเอกชนไม่ได้ เพราะเรื่องนี้เป็นความเสี่ยงที่กระทบกับผล ประโยชน์ของบทม.โดยตรงได้
5. การที่ออกมาพูดว่าซื้อในราคาเท่าเดิมโดยไม่แสดงขอบเขตงานในสัญญาใหม่ และสัญญาที่ บริษัทที่อินวิชั่นได้เคยทำไว้กับแพทริออต ถือเป็นการหมกเม็ด เพราะหากซื้อในราคาเท่าเดิม แต่ขอบเขตงานลดลง ก็ถือว่าซื้อแพงขึ้น
6. ในการซื้อตรง ส่วนซ้ำซ้อนของภาษีในแต่ละทอดของสัญญาซึ่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่า เพิ่มมีมูลค่าเกือบ 300 ล้านบาท รวมทั้งกรณีกำไรซ้ำซ้อน ค่าดำเนินการซ้ำซ้อน และขอบเขต งานที่ซ้ำซ้อน เช่นกรณีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาที่ได้อภิปรายไปแล้วในวงเงิน 191.18 ล้านบาท ซึ่งควรต้องตัดทอนออกจากสัญญากับไอทีโอ ทั้งหมดนี้บทม.ยังไม่ได้สร้าง ความชัดเจนให้สังคมรับรู้
7. จากบทความที่ลงในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจวันที่ 23 กรกฏาคม 2548 มีข้อความที่ระบุว่า มีค่าใช้จ่ายเพิ่มในการขนส่งทางเครื่องบินแทนการส่งทางเรือ เรื่องนี้ขัดแย้งกับเอกสารคำให้ข้อ เท็จจริงของบริษัทแพทริออตที่ลงในมติชน ฉบับวันที่ 29 พฤษภาคม 2548 ว่า "แพทริออต ต้องออกค่าใช้จ่ายซึ่งรวมถึงค่าขนส่งทางเครื่องบินจากซานฟรานซิสโกหรือสนามบินอื่นถึง สนามบินดอนเมือง” คำถามมีอยู่ว่าทำไมปล่อยให้มีการกล่าวอ้างข้อมูลที่บิดเบือนในการเพิ่ม ค่าใช้จ่าย
8. อัยการสูงสุดมีข้อสังเกต 6 ข้อ ทั้งเรื่องคำนิยาม การกำหนดค่างวดจ่ายเงินที่ไม่เหมาะสมกับงาน การวางหลักประกันในสัญญา แต่วันนี้ยังไม่เปิดเนื้อหาสัญญาที่ลงนามไปแล้ว เรื่องนี้ต้อง เปิดเผยให้ชัดเจน เพื่อให้มีการตรวจสอบจากทุกฝ่ายก่อนลงนามในสัญญา
การที่รัฐบาลรีบร้อนลงนามในสัญญาซื้อตรง ซึ่งรมว.สุริยะ และคนในรัฐบาลออกมาชี้ว่า เป็นการลบข้อครหาทั้งหมด และชื่นชมตัวเองว่าเป็นผลงานชิ้นโบว์แดง ทั้งๆ ที่เห็นได้ชัดเจนว่า นอกจากข้อสังเกตทั้ง 8 ข้อข้างต้น ยังมีหลายประเด็นที่ได้อภิปรายไปในสภาฯ ที่รมว.คมนาคมยัง ไม่ได้ชี้แจง เช่น ที่มาของงบฯ 4,500 ล้านที่อ้างว่า MJTA เป็นผู้ออกแบบ ความซ้ำซ้อน ของงานหลายส่วน รวมทั้งค่าใช้จ่ายซ้ำซ้อนที่อธิบายไม่ได้ เป็นต้น
พฤติการณ์ทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นชัดเจนว่าการดำเนินการยังขาดความรอบคอบ ขาดความ โปร่งใส รมว.สุริยะต้องตระหนักว่าเงินทุกบาททุกสตางค์มาจากภาษีของประชาชน จะปล่อยให้มี การใช้อย่างไม่รอบคอบละเอียดถี่ถ้วนไม่ได้ จะปล่อยให้มีการนำมาฟอกมลทินของคนใดคนหนึ่ง หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งไม่ได้โดยเด็ดขาด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 26 ก.ค. 2548--จบ--