กรุงเทพ--6 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวานนี้ (5 มิถุนายน 2550) นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ณ ห้องประชุมกรมสารนิเทศ โดยมีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์ เข้าร่วมรับฟังและซักถามในประเด็นต่าง ๆ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-อินโดนีเซีย ครั้งที่ 6
ในวันที่ 11 มิถุนายน 2550 ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย - อินโดนีเซีย (Joint Commission for Bilateral Cooperation between Thailand and Indonesia-JC) ครั้งที่ 6 ณ กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีนายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศ และดร.ฮัสซัน วิรายูดา รัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศ อินโดนีเซียเป็นประธานร่วมในการประชุมฯ ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียจะเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีในวันที่ 11 มิถุนายน 2550 ด้วย
การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ ในครั้งนี้ จะเปิดโอกาสให้ทั้งสองฝ่ายหารือและติดตามโครงการความร่วมมือระหว่างกันในด้านต่างๆ ที่ได้เคยตกลงกันไว้ รวมทั้งหารือแนวทางความร่วมมือระหว่างกันในอนาคต โดยจะมีการหารือร่วมกันใน 6 สาขาหลัก คือ 1. ด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน 2. ด้านการเกษตร วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม 3. ด้านการศึกษาและวัฒนธรรม และความร่วมมือทางวิชาการ 4. ด้านการขนส่งและท่องเที่ยว 5. ด้านพลังงานและเหมืองแร่ 6. ด้านความร่วมมือทางกฎหมายและการกงสุล
ไทยและอินโดนีเซียมีความสัมพันธ์ที่ราบรื่นมาโดยตลอดนับจากการสถาปนาความสัมพันธ์ทางทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2493 และมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดในทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความร่วมมือในกรอบอาเซียน รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ โดยล่าสุด พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีได้เดินทางเยือนอินโดนีเซียอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2549 การติดต่อด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างสองฝ่ายเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2549 มีมูลค่า 6,725.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ รถยนต์และชิ้นส่วนเคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก เครื่องจักรกลและชิ้นส่วน เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ สินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าจากอินโดนีเซีย ได้แก่ สินแร่โลหะและผลิตภัณฑ์ น้ำมันดิบ ถ่านหิน เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรและส่วนประกอบ
2. ไทยมอบอุปกรณ์การแพทย์เพื่อป้องกันปัญหาโรคไข้หวัดนกแก่เวียดนามภายใต้ยุทธศาสตร์ ACMECS
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2550 นายกิตติพงษ์ ณ ระนอง เอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย ได้มอบอุปกรณ์การแพทย์ เช่น ชุดทดสอบการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิดเอและบีแบบเร็ว หน้ากากอนามัย หน้ากากรองฝุ่น ถุงมือ กระเป๋าใส่อุปกรณ์ รวมมูลค่า 395,000 บาทในนามรัฐบาลไทยให้แก่ รศ. ดร. จิ้น กวน หวน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขเวียดนาม เพื่อมอบต่อให้กับสถาบันแห่งชาติว่าด้วยโรคติดต่อและโรคเขตร้อนแห่งเวียดนาม ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลและรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อไข้หวัดนกของเวียดนาม
รัฐบาลไทยให้ความสำคัญต่อความร่วมมือด้านสาธารณสุขกับประเทศเพื่อนบ้านในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดต่อภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง(ACMECS) ระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม โดยประเทศไทยได้มอบอุปกรณ์การแพทย์เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกแก่ประเทศเมียนม่า ลาวและเวียดนามแล้ว และจะทำการมอบให้กับกัมพูชาในโอกาสต่อไป
นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้แลกเปลี่ยนความร่วมมือทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีการติดต่อแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างเจ้าหน้าที่และประสบการณ์ระหว่างกันเป็นประจำ รวมถึงความร่วมมือในสาขาอื่นๆ ที่ไทยมีประสบการณ์ที่จะสามารถแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันได้ เช่น การป้องกันและควบคุมเชื้อ HIV/AIDS การช่วยเหลือผู้พิการ
3. กระทรวงการต่างประเทศนำครูอาสาสมัครในรัฐกลันตันรับการอบรมการสอนภาษาไทยในไทย
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู ประเทศมาเลเซีย ซึ่งได้รับความสนับสนุนจากกองทัพบก ได้จัดโครงการนำครูอาสาสมัครสอนภาษาไทยประจำวัดไทยในรัฐกลันตันมาทัศนศึกษา และรับการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการสอนภาษาไทยในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 3-9 มิถุนายน 2550 เพื่อเปิดโลกทัศน์ และสร้างเสริมประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับประเทศไทย
ครูอาสาสมัคร 18 คนดังกล่าวประกอบด้วยนักเรียนมัธยมที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนที่ประเทศมาเลเซีย และพระ 2 รูป จากมูลนิธิและศูนย์การสอนภาษาไทย พุทธศาสนาและวัฒนธรรม รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย
ระหว่างการอบรมครูอาสาสมัครเหล่านี้มีกำหนดการทัศนศึกษาสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และพุทธศาสนาของไทยในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะและขีดความสามารถในการสอนภาษาไทยให้สูงขึ้น เพื่อนำความรู้และทักษะการสอนใหม่ๆ ไปประยุกต์ใช้ในการสอนกลุ่มนักเรียนมาเลย์เชื้อสายไทยที่ศึกษาอยู่ในวัดไทยในรัฐต่างๆ รวมทั้งจะได้นำประสบการณ์และความรู้ที่ได้รับไปใช้เผยแพร่และต่อยอดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศไทยในทางที่ถูกต้องและสร้างสรรค์ ให้กระจายไปสู่ชุมชนมาเลย์เชื้อสายไทย รวมทั้งญาติและเพื่อนชาวมาเลย์เชื้อสายอื่นๆ โดยเฉพาะกรณีปัญหาในภาคใต้ของไทย
4. ไทยสานสัมพันธ์เวียดนามจัดสอนภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในเวียดนาม
กระทรวงการต่างประเทศ โดยสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (สพร.) ได้จัดโครงการสอนภาษาไทยในมหาวิทยาลัย และสหพันธ์องค์กรมิตรภาพ นครดานัง รวม 6 แห่ง โครงการดังกล่าวดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2539 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบุคลากรชาวเวียดนามให้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะด้านภาษาไทย สามารถใช้ภาษาไทยเพื่อติดต่อสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย ซึ่งจะมีส่วนช่วยส่งเสริมภาคเอกชนไทยในการทำธุรกิจที่เวียดนาม รวมทั้งเป็นการสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างทั้งสองประเทศ และเป็นการแลกเปลี่ยนความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของไทยกับเวียดนามด้วย
ตั้งแต่ปี 2539 - ปัจจุบัน สพร. ได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญรวม 20 คน จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒฯ 19 คน มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร 1 คน และอาสาสมัครภายใต้โครงการอาสาสมัครเพื่อนไทย จำนวน 3 คน ไปสอนภาษาไทย ณ ที่ต่างๆ รวม 6 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม นครโฮจิมินห์, วิทยาลัยภาษาต่างประเทศแห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม กรุงฮานอย, มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม กรุงฮานอย, มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ นครโฮจิมินห์, สหพันธ์องค์กรมิตรภาพนครดานัง และมหาวิทยาลัยดานัง
นอกจากการส่งผู้เชี่ยวชาญไปสอนภาษาไทยแล้ว สพร. ได้นำนักเรียนชาวเวียดนามที่เรียนวิชาภาษาไทยมาฝึกอบรมภาษาไทยระยะสั้นที่ประเทศไทยรวม 15 รุ่น และได้สนับสนุนทุนการศึกษาระดับปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒแก่นักศึกษาชาวเวียดนาม 8 คน เพื่อกลับไปเป็นอาจารย์สอน ณ มหาวิทยาลัยของเวียดนามต่อไป รวมทั้งได้จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ หนังสือ และเอกสารการสอนภาษาไทยให้กับมหาวิทยาลัยในโครงการด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวานนี้ (5 มิถุนายน 2550) นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวประจำสัปดาห์ ณ ห้องประชุมกรมสารนิเทศ โดยมีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์ เข้าร่วมรับฟังและซักถามในประเด็นต่าง ๆ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-อินโดนีเซีย ครั้งที่ 6
ในวันที่ 11 มิถุนายน 2550 ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย - อินโดนีเซีย (Joint Commission for Bilateral Cooperation between Thailand and Indonesia-JC) ครั้งที่ 6 ณ กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีนายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศ และดร.ฮัสซัน วิรายูดา รัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศ อินโดนีเซียเป็นประธานร่วมในการประชุมฯ ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียจะเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีในวันที่ 11 มิถุนายน 2550 ด้วย
การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ ในครั้งนี้ จะเปิดโอกาสให้ทั้งสองฝ่ายหารือและติดตามโครงการความร่วมมือระหว่างกันในด้านต่างๆ ที่ได้เคยตกลงกันไว้ รวมทั้งหารือแนวทางความร่วมมือระหว่างกันในอนาคต โดยจะมีการหารือร่วมกันใน 6 สาขาหลัก คือ 1. ด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน 2. ด้านการเกษตร วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม 3. ด้านการศึกษาและวัฒนธรรม และความร่วมมือทางวิชาการ 4. ด้านการขนส่งและท่องเที่ยว 5. ด้านพลังงานและเหมืองแร่ 6. ด้านความร่วมมือทางกฎหมายและการกงสุล
ไทยและอินโดนีเซียมีความสัมพันธ์ที่ราบรื่นมาโดยตลอดนับจากการสถาปนาความสัมพันธ์ทางทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2493 และมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดในทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความร่วมมือในกรอบอาเซียน รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ โดยล่าสุด พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีได้เดินทางเยือนอินโดนีเซียอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2549 การติดต่อด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างสองฝ่ายเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2549 มีมูลค่า 6,725.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ รถยนต์และชิ้นส่วนเคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก เครื่องจักรกลและชิ้นส่วน เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ สินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าจากอินโดนีเซีย ได้แก่ สินแร่โลหะและผลิตภัณฑ์ น้ำมันดิบ ถ่านหิน เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรและส่วนประกอบ
2. ไทยมอบอุปกรณ์การแพทย์เพื่อป้องกันปัญหาโรคไข้หวัดนกแก่เวียดนามภายใต้ยุทธศาสตร์ ACMECS
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2550 นายกิตติพงษ์ ณ ระนอง เอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย ได้มอบอุปกรณ์การแพทย์ เช่น ชุดทดสอบการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิดเอและบีแบบเร็ว หน้ากากอนามัย หน้ากากรองฝุ่น ถุงมือ กระเป๋าใส่อุปกรณ์ รวมมูลค่า 395,000 บาทในนามรัฐบาลไทยให้แก่ รศ. ดร. จิ้น กวน หวน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขเวียดนาม เพื่อมอบต่อให้กับสถาบันแห่งชาติว่าด้วยโรคติดต่อและโรคเขตร้อนแห่งเวียดนาม ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลและรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อไข้หวัดนกของเวียดนาม
รัฐบาลไทยให้ความสำคัญต่อความร่วมมือด้านสาธารณสุขกับประเทศเพื่อนบ้านในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดต่อภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง(ACMECS) ระหว่างกัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม โดยประเทศไทยได้มอบอุปกรณ์การแพทย์เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไข้หวัดนกแก่ประเทศเมียนม่า ลาวและเวียดนามแล้ว และจะทำการมอบให้กับกัมพูชาในโอกาสต่อไป
นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้แลกเปลี่ยนความร่วมมือทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยมีการติดต่อแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างเจ้าหน้าที่และประสบการณ์ระหว่างกันเป็นประจำ รวมถึงความร่วมมือในสาขาอื่นๆ ที่ไทยมีประสบการณ์ที่จะสามารถแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันได้ เช่น การป้องกันและควบคุมเชื้อ HIV/AIDS การช่วยเหลือผู้พิการ
3. กระทรวงการต่างประเทศนำครูอาสาสมัครในรัฐกลันตันรับการอบรมการสอนภาษาไทยในไทย
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู ประเทศมาเลเซีย ซึ่งได้รับความสนับสนุนจากกองทัพบก ได้จัดโครงการนำครูอาสาสมัครสอนภาษาไทยประจำวัดไทยในรัฐกลันตันมาทัศนศึกษา และรับการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการสอนภาษาไทยในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 3-9 มิถุนายน 2550 เพื่อเปิดโลกทัศน์ และสร้างเสริมประสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับประเทศไทย
ครูอาสาสมัคร 18 คนดังกล่าวประกอบด้วยนักเรียนมัธยมที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนที่ประเทศมาเลเซีย และพระ 2 รูป จากมูลนิธิและศูนย์การสอนภาษาไทย พุทธศาสนาและวัฒนธรรม รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย
ระหว่างการอบรมครูอาสาสมัครเหล่านี้มีกำหนดการทัศนศึกษาสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และพุทธศาสนาของไทยในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะและขีดความสามารถในการสอนภาษาไทยให้สูงขึ้น เพื่อนำความรู้และทักษะการสอนใหม่ๆ ไปประยุกต์ใช้ในการสอนกลุ่มนักเรียนมาเลย์เชื้อสายไทยที่ศึกษาอยู่ในวัดไทยในรัฐต่างๆ รวมทั้งจะได้นำประสบการณ์และความรู้ที่ได้รับไปใช้เผยแพร่และต่อยอดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศไทยในทางที่ถูกต้องและสร้างสรรค์ ให้กระจายไปสู่ชุมชนมาเลย์เชื้อสายไทย รวมทั้งญาติและเพื่อนชาวมาเลย์เชื้อสายอื่นๆ โดยเฉพาะกรณีปัญหาในภาคใต้ของไทย
4. ไทยสานสัมพันธ์เวียดนามจัดสอนภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในเวียดนาม
กระทรวงการต่างประเทศ โดยสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (สพร.) ได้จัดโครงการสอนภาษาไทยในมหาวิทยาลัย และสหพันธ์องค์กรมิตรภาพ นครดานัง รวม 6 แห่ง โครงการดังกล่าวดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2539 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบุคลากรชาวเวียดนามให้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะด้านภาษาไทย สามารถใช้ภาษาไทยเพื่อติดต่อสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย ซึ่งจะมีส่วนช่วยส่งเสริมภาคเอกชนไทยในการทำธุรกิจที่เวียดนาม รวมทั้งเป็นการสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างทั้งสองประเทศ และเป็นการแลกเปลี่ยนความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของไทยกับเวียดนามด้วย
ตั้งแต่ปี 2539 - ปัจจุบัน สพร. ได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญรวม 20 คน จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒฯ 19 คน มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร 1 คน และอาสาสมัครภายใต้โครงการอาสาสมัครเพื่อนไทย จำนวน 3 คน ไปสอนภาษาไทย ณ ที่ต่างๆ รวม 6 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม นครโฮจิมินห์, วิทยาลัยภาษาต่างประเทศแห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม กรุงฮานอย, มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติเวียดนาม กรุงฮานอย, มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ นครโฮจิมินห์, สหพันธ์องค์กรมิตรภาพนครดานัง และมหาวิทยาลัยดานัง
นอกจากการส่งผู้เชี่ยวชาญไปสอนภาษาไทยแล้ว สพร. ได้นำนักเรียนชาวเวียดนามที่เรียนวิชาภาษาไทยมาฝึกอบรมภาษาไทยระยะสั้นที่ประเทศไทยรวม 15 รุ่น และได้สนับสนุนทุนการศึกษาระดับปริญญาโท ณ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒแก่นักศึกษาชาวเวียดนาม 8 คน เพื่อกลับไปเป็นอาจารย์สอน ณ มหาวิทยาลัยของเวียดนามต่อไป รวมทั้งได้จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ หนังสือ และเอกสารการสอนภาษาไทยให้กับมหาวิทยาลัยในโครงการด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-