ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. พรบ.เงินตราฉบับใหม่จะทำให้มีการส่งเงินให้ ก.คลังเร็วขึ้น นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า พรบ.เงินตรา
ฉบับใหม่จะทำให้มีการส่งเงินให้ ก.คลังได้เร็วขึ้นหลังมีการแยกบัญชีผลกำไรขาดทุน และยืนยันว่าการแก้ไข พรบ.ดังกล่าวไม่ได้มีวัตถุประสงค์
เพื่อล้างผลขาดทุนสะสมของ ธปท. ส่วนการที่ พรบ.เงินตราต้องเลื่อนการเข้าที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติออกไปนั้นไม่มีปัญหาอะไรและไม่
กระทบกับกฎหมายการเงินฉบับอื่น (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท. ยืนยันการเก็งกำไรค่าเงินบาทสองตลาดทำได้ยาก นายสุชาติ สักการโกศล ผอ.ฝ่ายกำกับการแลกเปลี่ยนเงินและสินเชื่อ
ธปท. ชี้แจงถึงกรณีที่มีข่าวการเก็งกำไรค่าเงินบาทจากส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดเงินบาทในประเทศและตลาดเงินบาทในต่างประเทศ ว่า
ในกรณีที่จะใช้บัตรเครดิตหรือเอทีเอ็มเบิกเงินดอลลาร์ สรอ. ในต่างประเทศแล้วเอามาขายแลกเงินบาทในประเทศนั้น ในอดีตที่อัตราแลกเปลี่ยน
ในสองตลาดยังไม่แตกต่างกันมากนั้น บริษัทบัตรเครดิตจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดในตลาดต่างประเทศในการเรียกเก็บเงินตามที่เข้าใจกันจริง
แต่หลังจากที่สองตลาดมีความต่างกัน บริษัทบัตรเครดิตได้กลับไปใช้อัตราแลกเปลี่ยนในตลาดในประเทศแล้ว เนื่องจากหากใช้อัตราเดิมธนาคาร
จะมีต้นทุนสูง ดังนั้น ความได้เปรียบจากส่วนต่างจึงไม่เกิดขึ้นจนเป็นช่องทางให้เก็งกำไรได้อย่างที่เข้าใจกัน ทั้งนี้ การเรียกเก็บโดยอิงจากตลาด
ในประเทศนี้เริ่มมาตั้งแต่เดือน ก.พ.50 แต่มีสถาบันการเงินบางแห่งที่ยังไม่พร้อมเรื่องระบบ จึงเปลี่ยนไปอ้างอิงอัตราตลาดในประเทศช้ากว่า
ที่อื่น อย่างไรก็ตาม บริษัทบัตรเครดิตได้เปลี่ยนไปเรียกเก็บโดยอิงจากตลาดในประเทศครบทุกแห่งตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค.ที่ผ่านมาแล้ว ส่วนกรณี
ที่คาดกันว่ามีการเก็งกำไรด้วยการนำเงินบาทไปซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. ในต่างประเทศที่อัตราแลกเปลี่ยนในตลาดต่างประเทศ แล้วนำมาขาย
ในตลาดในประเทศด้วยอัตราที่แพงกว่านั้น จากการที่ ธปท. ได้เก็บข้อมูลรับซื้อขายในตลาดสิงคโปร์ ลอนดอน นิวยอร์ก พนมเปญ และเวียงจันทน์
พบว่า อัตราที่ซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. ในต่างประเทศในอัตราเคาน์เตอร์ทุกแห่งมีอัตราสูงกว่าอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดในประเทศทั้งสิ้น ดังนั้น
ตามที่มีการพูดกันว่าจะนำเงินบาทไปซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. แล้วนำมาขายในประเทศแล้วได้กำไรนั้น จริง ๆ ไม่ได้กำไรอย่างที่คิด อีกทั้งเวลา
ที่จะนำเงินบาทออกไปก็มีข้อจำกัด ถ้านำเงินออกไปประเทศเพื่อนบ้านได้ไม่เกิน 500,000 บาทต่อครั้ง แต่ถ้าประเทศอื่นไม่เกิน 50,000 บาทต่อครั้ง
แล้วตอนซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. กลับมาถ้าเกิน 10,000 ดอลลาร์ สรอ. ก็มีระเบียบเกี่ยวกับการฟอกเงินควบคุมอยู่ ส่วนการที่ค่าเงินบาทใน
ตลาดต่างประเทศขณะนี้อ่อนค่าลงส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ ธปท. ให้นักลงทุนในตลาดต่างประเทศย้ายมาทำธุรกรรมสวอปในไทยได้ โดยข้อมูล
ล่าสุดจนถึงวันที่ 16 ส.ค.50 มีจำนวนทั้งสิ้น 25,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม การทำธุรกรรมดังกล่าวจะทยอยทำตามระยะเวลาที่ครบกำหนด
จึงไม่ได้ส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนมากนัก (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, ไทยรัฐ)
3. ธปท. ไม่ควรยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 เพื่อป้องกันผลกระทบจากซับไพร์ม ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีต
รอง นรม. และอดีตผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยว่า การติดตามดูแลอัตราแลกเปลี่ยนของ ธปท. ในปัจจุบันถือว่ามีความเหมาะสมแล้ว โดยเฉพาะ
การคงมาตรการสำรองร้อยละ 30 ซึ่งใช้ควบคู่กับมาตรการเลือกซื้อป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับจำนวนเงิน 100% และระยะ
เวลาการลงทุน แทนการหักสำรองร้อยละ 30 มาตรการทั้งสองจะมีผลทางด้านจิตวิทยาต่อนักลงทุนต่างชาติเพื่อเป็นการสกัดเงินทุนที่ไหลเข้ามา
เก็งกำไรในช่วงที่ค่าเงินบาทผันผวน และอย่าเพิ่งไว้วางใจปัญหาซับไพร์มของ สรอ. หากปัญหาเกิดขึ้นแล้วจะลุกลามไปยังภาคการเงิน ซึ่งมี
ความสำคัญและมีขนาดใหญ่จนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกได้ ส่วนการที่มีผู้เสนอให้ควบคุมค่าเงินบาทให้อยู่ในระดับที่ดุลบัญชีเดินสะพัดขาด
หรือเกินดุลไม่เกินร้อยละ 2 ของอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นคงเป็นไปไม่ได้ เพราะไม่สามารถควบคุมเงินดุลบัญชีเดินสะพัดได้ สำหรับ
จุดอ่อนของไทยในขณะนี้คือตลาดการซื้อขายหลักทรัพย์ของไทยในปัจจุบันถูกครอบงำโดยชาวต่างชาติ โดยปัจจุบันอัตราการถือครองหุ้นเป็นของ
คนไทยร้อยละ 60 — 70 ชาวต่างชาติร้อยละ 30 — 40 แต่คนไทยไม่ค่อยมีการซื้อขายหุ้นกัน ปริมาณการซื้อขายส่วนใหญ่เป็นของชาวต่างชาติ
เกือบทั้งสิ้น (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
4. คาดว่าธุรกิจบัตรเครดิตช่วงครึ่งปีหลังจะชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า การเติบโตของธุรกิจบัตรเครดิต
ช่วงครึ่งปีหลังน่าจะชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวต่อเนื่องและการแข่งขันที่ยังมีความเข้มข้น ซึ่งผู้ออกบัตรเครดิตจะต้องรักษาคุณภาพ
บัตรเครดิตมากกว่าปริมาณหรือเน้นสร้างฐานบัตรเครดิตขนาดใหญ่ โดยต้องพยายามรักษาลูกค้าไม่ให้ยกเลิกบัตรเพื่อเปลี่ยนไปใช้บริการผู้ออก
บัตรเครดิตรายอื่น ขณะเดียวกันต้องทำการตลาดเพื่อส่งเสริมการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตไว้ให้ได้ ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงจะส่งผลให้
ผู้ออกบัตรเครดิตต้องดูแลคุณภาพสินเชื่อให้เคร่งครัดมากขึ้น ซึ่งย่อมจะกระทบปริมาณบัตรและการใช้จ่ายผ่านบัตรในระบบได้ ทั้งนี้ แม้ช่วงที่ผ่านมา
การแข่งขันที่รุนแรงระหว่างผู้ประกอบการบัตรเครดิตจะทำให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากการทำการตลาด แต่ผู้ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตควรเพิ่ม
ความระมัดระวังและมีการวางแผนการใช้จ่ายผ่านบัตรมากขึ้น เพราะการปรับตัวของผู้ประกอบการอาจจะพิจารณาติดตามพฤติกรรมของลูกค้า
ที่มีบัตรหลายใบ และตรวจสอบลูกหนี้ที่มีพฤติกรรมผิดปกติ รวมถึงการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในบางช่วงที่สูงผิดปกติ หรือมีการขอสินเชื่อจาก
แหล่งอื่นในการหมุนหนี้ ตลอดจนการเบิกถอนเงินสดจากบัตรเครดิตใบอื่น ทั้งนี้ ล้วนเป็นสัญญาณบอกเหตุของปัญหาความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น
ต่อระบบสินเชื่อ ซึ่งผู้ประกอบการบัตรเครดิตส่วนใหญ่ควรมีมาตรการดำเนินการ เช่น การพิจารณาปรับลดวงเงิน หรือยกเลิกบัตรล่วงหน้า
ก่อนเวลาต่ออายุบัตรจริง หากประเมินว่าลูกค้ามีความเสี่ยงสูง (แนวหน้า, กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อจำนองของ สรอ. ณ สัปดาห์ล่าสุดเพิ่มขึ้น รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 16 ส.ค. 50 นาย Frank
Nothaft ประธานบริษัทสินเชื่อจำนอง Freddie Mac เปิดเผยว่าอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อจำนองระยะ 30 ปี ณ สัปดาห์นี้เพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 6.62
จากร้อยละ 6.59 เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้าเช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อจำนองระยะ 15 ปีเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 6.30 จากร้อยละ 6.25 เมื่อ
สัปดาห์ที่แล้ว ส่วนอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อจำนองระยะเวลา 1 ปีที่ปรับได้ (one-year Adjustable Rate Mortgages - ARM) เพิ่มขึ้นอยู่ที่
ร้อยละ 5.67 จากร้อยละ 5.65 อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีที่แล้วอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อจำนองระยะ 30 ปี ระยะ 15 ปี และ
ARM ณ สัปดาห์ล่าสุดดังกล่าวล้วนอยู่ในระดับสูงกว่าร้อยละ 6.52 ร้อยละ 6.20 และร้อยละ 5.65 ของปีที่แล้วตามลำดับ ทั้งนี้การสูงขึ้นของ
อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อจำนองดังกล่าวมิได้เป็นผลกระทบจากความเสี่ยงจากหนี้ด้อยคุณภาพในภาคอสังหาริมทรัพย์ของ สรอ. ในขณะนี้ อนึ่ง
ก.พาณิชย์ สรอ. ได้รายงานตัวเลขบ้านสร้างใหม่ของ สรอ. ในเดือน ก.ค. ลดลงอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบ 10 ปีนับตั้งแต่เดือน ก.ค. 40
เช่นเดียวกับคำขออนุญาตสร้างบ้านก็ได้ลดลงอยู่ที่ระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 39 (รอยเตอร์)
2. ยอดขอรับสวัสดิการว่างงานของ สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 11 ส.ค.50 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 2 เดือน รายงานจากวอชิงตัน
เมื่อ 16 ส.ค.50 ก.แรงงาน เปิดเผยว่า ยอดการขอรับสวัสดิการว่างงานของ สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 11 ส.ค.50 มีจำนวน 322,000 คน
เพิ่มขึ้นจากจำนวน 316,000 คนในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้า ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 2 เดือนนับตั้งแต่สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 16 มิ.ย.50 ที่มี
จำนวน 326,000 คน และเหนือความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งคาดว่ายอดการขอรับสวัสดิการว่างงานจะลดลงเหลือจำนวน 313,000 คน
ทั้งนี้ ก.แรงงาน กล่าวว่า การปรับเพิ่มของยอดขอรับสวัสดิการว่างงานดังกล่าวเป็นภาวะปกติในช่วงฤดูร้อน และไม่มีปัจจัยเฉพาะที่บ่งชี้การเพิ่มขึ้น
แต่อย่างใด สำหรับยอดขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ ซึ่งสะท้อนสถานการณ์ตลาดแรงงานได้แม่นยำกว่า ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน
312,500 คน จากจำนวน 307,750 คนในสัปดาห์ก่อนหน้า นอกจากนี้ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่เคยขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก
ไปแล้ว ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 4 ส.ค.50 เพิ่มขึ้น 17,000 คนเป็นจำนวน 2.57 ล้านคน สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะมีจำนวน
2.54 ล้านคน (รอยเตอร์)
3. อัตราเงินเฟ้อของ Euro zone ในเดือน ก.ค.50 ชะลอตัวลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.8 ต่อปีรายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ 16 ส.ค.50
Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของยุโรปรายงานอัตราเงินเฟ้อใน 13 ประเทศที่ใช้เงินยูโรเป็นเงินสกุลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ต่อปี ต่ำกว่า
ที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ต่อปี ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อดังกล่าวอยู่ในระดับที่ ธ.กลางยุโรปหรือ ECB ต้องการคือต่ำกว่าร้อยละ 2.0 ต่อปี
โดยสินค้าที่มีราคาลดลงมากที่สุดอยู่ในหมวดการสื่อสารโทรคมนาคม ในขณะที่สินค้าในหมวดการศึกษา โรงแรมและภัตตาคาร เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์
และบุหรี่มีราคาเพิ่มขึ้นสูงสุด แต่อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ยังคงคาดว่า ECB จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นร้อยละ 4.25 ต่อปี
ในเดือน ก.ย.50 ที่จะถึงนี้ แม้จะมีข่าวว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมาจะชะลอตัวลงมากกว่าที่คาดไว้ก็ตาม แต่ในขณะเดียวกันก็มี
นักเศรษฐศาสตร์บางคนที่ไม่เชื่อว่า ECB จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่ตลาดการเงินกำลังวุ่นวาย ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับที่ควบคุม
ได้และเศรษฐกิจกำลังชะลอตัวเช่นในขณะนี้ ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานลดลงร้อยละ 0.3 ต่อเดือนแต่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 1.9 ต่อปีตามที่คาดไว้ (รอยเตอร์)
4. อัตราการเพิ่มขึ้นของการส่งออกและการนำเข้าเกาหลีใต้ลดลงภายหลังการทบทวนที่ร้อยละ 17.8 และ 14.5 ตามลำดับ
รายงานจากโซล เมื่อ 16 ส.ค.50 กรมศุลกากรเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า การส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน ก.ค.50 ลดลงอยู่ที่จำนวน
30.36 พันล.ดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 17.8 เทียบต่อปี จากที่รายงานเบื้องต้นเมื่อ 1 ส.ค.50 ว่ามีจำนวน
30.93 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือร้อยละ 20.0 ขณะที่การนำเข้าลดลงอยู่ที่ 29.25 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5
เทียบต่อปี เทียบกับที่รายงานเบื้องต้นจำนวน 29.37 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9 ทั้งนี้ จากภาวะการส่งออกและนำเข้า
ดังกล่าวส่งผลให้เกาหลีใต้เกินดุลการค้าในเดือน ก.ค.ลดลงอยู่ที่จำนวน 1,113 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากที่รายงานเบื้องต้นว่าเกินดุลจำนวน
1,560 ล้านดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 17 ส.ค. 50 16 ส.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.358 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.1315/34.4535 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.38875 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 750.69/22.97 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,600/10,700 10,750/10,850 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 66.45 66.61 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 28.39*/25.34* 28.39*/25.34* 26.49/23.34 ปตท
* ปรับเลดสิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 9 ส.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. พรบ.เงินตราฉบับใหม่จะทำให้มีการส่งเงินให้ ก.คลังเร็วขึ้น นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า พรบ.เงินตรา
ฉบับใหม่จะทำให้มีการส่งเงินให้ ก.คลังได้เร็วขึ้นหลังมีการแยกบัญชีผลกำไรขาดทุน และยืนยันว่าการแก้ไข พรบ.ดังกล่าวไม่ได้มีวัตถุประสงค์
เพื่อล้างผลขาดทุนสะสมของ ธปท. ส่วนการที่ พรบ.เงินตราต้องเลื่อนการเข้าที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติออกไปนั้นไม่มีปัญหาอะไรและไม่
กระทบกับกฎหมายการเงินฉบับอื่น (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท. ยืนยันการเก็งกำไรค่าเงินบาทสองตลาดทำได้ยาก นายสุชาติ สักการโกศล ผอ.ฝ่ายกำกับการแลกเปลี่ยนเงินและสินเชื่อ
ธปท. ชี้แจงถึงกรณีที่มีข่าวการเก็งกำไรค่าเงินบาทจากส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดเงินบาทในประเทศและตลาดเงินบาทในต่างประเทศ ว่า
ในกรณีที่จะใช้บัตรเครดิตหรือเอทีเอ็มเบิกเงินดอลลาร์ สรอ. ในต่างประเทศแล้วเอามาขายแลกเงินบาทในประเทศนั้น ในอดีตที่อัตราแลกเปลี่ยน
ในสองตลาดยังไม่แตกต่างกันมากนั้น บริษัทบัตรเครดิตจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดในตลาดต่างประเทศในการเรียกเก็บเงินตามที่เข้าใจกันจริง
แต่หลังจากที่สองตลาดมีความต่างกัน บริษัทบัตรเครดิตได้กลับไปใช้อัตราแลกเปลี่ยนในตลาดในประเทศแล้ว เนื่องจากหากใช้อัตราเดิมธนาคาร
จะมีต้นทุนสูง ดังนั้น ความได้เปรียบจากส่วนต่างจึงไม่เกิดขึ้นจนเป็นช่องทางให้เก็งกำไรได้อย่างที่เข้าใจกัน ทั้งนี้ การเรียกเก็บโดยอิงจากตลาด
ในประเทศนี้เริ่มมาตั้งแต่เดือน ก.พ.50 แต่มีสถาบันการเงินบางแห่งที่ยังไม่พร้อมเรื่องระบบ จึงเปลี่ยนไปอ้างอิงอัตราตลาดในประเทศช้ากว่า
ที่อื่น อย่างไรก็ตาม บริษัทบัตรเครดิตได้เปลี่ยนไปเรียกเก็บโดยอิงจากตลาดในประเทศครบทุกแห่งตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค.ที่ผ่านมาแล้ว ส่วนกรณี
ที่คาดกันว่ามีการเก็งกำไรด้วยการนำเงินบาทไปซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. ในต่างประเทศที่อัตราแลกเปลี่ยนในตลาดต่างประเทศ แล้วนำมาขาย
ในตลาดในประเทศด้วยอัตราที่แพงกว่านั้น จากการที่ ธปท. ได้เก็บข้อมูลรับซื้อขายในตลาดสิงคโปร์ ลอนดอน นิวยอร์ก พนมเปญ และเวียงจันทน์
พบว่า อัตราที่ซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. ในต่างประเทศในอัตราเคาน์เตอร์ทุกแห่งมีอัตราสูงกว่าอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดในประเทศทั้งสิ้น ดังนั้น
ตามที่มีการพูดกันว่าจะนำเงินบาทไปซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. แล้วนำมาขายในประเทศแล้วได้กำไรนั้น จริง ๆ ไม่ได้กำไรอย่างที่คิด อีกทั้งเวลา
ที่จะนำเงินบาทออกไปก็มีข้อจำกัด ถ้านำเงินออกไปประเทศเพื่อนบ้านได้ไม่เกิน 500,000 บาทต่อครั้ง แต่ถ้าประเทศอื่นไม่เกิน 50,000 บาทต่อครั้ง
แล้วตอนซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. กลับมาถ้าเกิน 10,000 ดอลลาร์ สรอ. ก็มีระเบียบเกี่ยวกับการฟอกเงินควบคุมอยู่ ส่วนการที่ค่าเงินบาทใน
ตลาดต่างประเทศขณะนี้อ่อนค่าลงส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ ธปท. ให้นักลงทุนในตลาดต่างประเทศย้ายมาทำธุรกรรมสวอปในไทยได้ โดยข้อมูล
ล่าสุดจนถึงวันที่ 16 ส.ค.50 มีจำนวนทั้งสิ้น 25,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม การทำธุรกรรมดังกล่าวจะทยอยทำตามระยะเวลาที่ครบกำหนด
จึงไม่ได้ส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนมากนัก (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, ไทยรัฐ)
3. ธปท. ไม่ควรยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 เพื่อป้องกันผลกระทบจากซับไพร์ม ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีต
รอง นรม. และอดีตผู้ว่าการ ธปท. เปิดเผยว่า การติดตามดูแลอัตราแลกเปลี่ยนของ ธปท. ในปัจจุบันถือว่ามีความเหมาะสมแล้ว โดยเฉพาะ
การคงมาตรการสำรองร้อยละ 30 ซึ่งใช้ควบคู่กับมาตรการเลือกซื้อป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับจำนวนเงิน 100% และระยะ
เวลาการลงทุน แทนการหักสำรองร้อยละ 30 มาตรการทั้งสองจะมีผลทางด้านจิตวิทยาต่อนักลงทุนต่างชาติเพื่อเป็นการสกัดเงินทุนที่ไหลเข้ามา
เก็งกำไรในช่วงที่ค่าเงินบาทผันผวน และอย่าเพิ่งไว้วางใจปัญหาซับไพร์มของ สรอ. หากปัญหาเกิดขึ้นแล้วจะลุกลามไปยังภาคการเงิน ซึ่งมี
ความสำคัญและมีขนาดใหญ่จนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลกได้ ส่วนการที่มีผู้เสนอให้ควบคุมค่าเงินบาทให้อยู่ในระดับที่ดุลบัญชีเดินสะพัดขาด
หรือเกินดุลไม่เกินร้อยละ 2 ของอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นคงเป็นไปไม่ได้ เพราะไม่สามารถควบคุมเงินดุลบัญชีเดินสะพัดได้ สำหรับ
จุดอ่อนของไทยในขณะนี้คือตลาดการซื้อขายหลักทรัพย์ของไทยในปัจจุบันถูกครอบงำโดยชาวต่างชาติ โดยปัจจุบันอัตราการถือครองหุ้นเป็นของ
คนไทยร้อยละ 60 — 70 ชาวต่างชาติร้อยละ 30 — 40 แต่คนไทยไม่ค่อยมีการซื้อขายหุ้นกัน ปริมาณการซื้อขายส่วนใหญ่เป็นของชาวต่างชาติ
เกือบทั้งสิ้น (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
4. คาดว่าธุรกิจบัตรเครดิตช่วงครึ่งปีหลังจะชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า การเติบโตของธุรกิจบัตรเครดิต
ช่วงครึ่งปีหลังน่าจะชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวต่อเนื่องและการแข่งขันที่ยังมีความเข้มข้น ซึ่งผู้ออกบัตรเครดิตจะต้องรักษาคุณภาพ
บัตรเครดิตมากกว่าปริมาณหรือเน้นสร้างฐานบัตรเครดิตขนาดใหญ่ โดยต้องพยายามรักษาลูกค้าไม่ให้ยกเลิกบัตรเพื่อเปลี่ยนไปใช้บริการผู้ออก
บัตรเครดิตรายอื่น ขณะเดียวกันต้องทำการตลาดเพื่อส่งเสริมการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตไว้ให้ได้ ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงจะส่งผลให้
ผู้ออกบัตรเครดิตต้องดูแลคุณภาพสินเชื่อให้เคร่งครัดมากขึ้น ซึ่งย่อมจะกระทบปริมาณบัตรและการใช้จ่ายผ่านบัตรในระบบได้ ทั้งนี้ แม้ช่วงที่ผ่านมา
การแข่งขันที่รุนแรงระหว่างผู้ประกอบการบัตรเครดิตจะทำให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากการทำการตลาด แต่ผู้ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตควรเพิ่ม
ความระมัดระวังและมีการวางแผนการใช้จ่ายผ่านบัตรมากขึ้น เพราะการปรับตัวของผู้ประกอบการอาจจะพิจารณาติดตามพฤติกรรมของลูกค้า
ที่มีบัตรหลายใบ และตรวจสอบลูกหนี้ที่มีพฤติกรรมผิดปกติ รวมถึงการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในบางช่วงที่สูงผิดปกติ หรือมีการขอสินเชื่อจาก
แหล่งอื่นในการหมุนหนี้ ตลอดจนการเบิกถอนเงินสดจากบัตรเครดิตใบอื่น ทั้งนี้ ล้วนเป็นสัญญาณบอกเหตุของปัญหาความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น
ต่อระบบสินเชื่อ ซึ่งผู้ประกอบการบัตรเครดิตส่วนใหญ่ควรมีมาตรการดำเนินการ เช่น การพิจารณาปรับลดวงเงิน หรือยกเลิกบัตรล่วงหน้า
ก่อนเวลาต่ออายุบัตรจริง หากประเมินว่าลูกค้ามีความเสี่ยงสูง (แนวหน้า, กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อจำนองของ สรอ. ณ สัปดาห์ล่าสุดเพิ่มขึ้น รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 16 ส.ค. 50 นาย Frank
Nothaft ประธานบริษัทสินเชื่อจำนอง Freddie Mac เปิดเผยว่าอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อจำนองระยะ 30 ปี ณ สัปดาห์นี้เพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 6.62
จากร้อยละ 6.59 เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้าเช่นเดียวกับอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อจำนองระยะ 15 ปีเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 6.30 จากร้อยละ 6.25 เมื่อ
สัปดาห์ที่แล้ว ส่วนอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อจำนองระยะเวลา 1 ปีที่ปรับได้ (one-year Adjustable Rate Mortgages - ARM) เพิ่มขึ้นอยู่ที่
ร้อยละ 5.67 จากร้อยละ 5.65 อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีที่แล้วอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อจำนองระยะ 30 ปี ระยะ 15 ปี และ
ARM ณ สัปดาห์ล่าสุดดังกล่าวล้วนอยู่ในระดับสูงกว่าร้อยละ 6.52 ร้อยละ 6.20 และร้อยละ 5.65 ของปีที่แล้วตามลำดับ ทั้งนี้การสูงขึ้นของ
อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อจำนองดังกล่าวมิได้เป็นผลกระทบจากความเสี่ยงจากหนี้ด้อยคุณภาพในภาคอสังหาริมทรัพย์ของ สรอ. ในขณะนี้ อนึ่ง
ก.พาณิชย์ สรอ. ได้รายงานตัวเลขบ้านสร้างใหม่ของ สรอ. ในเดือน ก.ค. ลดลงอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบ 10 ปีนับตั้งแต่เดือน ก.ค. 40
เช่นเดียวกับคำขออนุญาตสร้างบ้านก็ได้ลดลงอยู่ที่ระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 39 (รอยเตอร์)
2. ยอดขอรับสวัสดิการว่างงานของ สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 11 ส.ค.50 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 2 เดือน รายงานจากวอชิงตัน
เมื่อ 16 ส.ค.50 ก.แรงงาน เปิดเผยว่า ยอดการขอรับสวัสดิการว่างงานของ สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 11 ส.ค.50 มีจำนวน 322,000 คน
เพิ่มขึ้นจากจำนวน 316,000 คนในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้า ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 2 เดือนนับตั้งแต่สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 16 มิ.ย.50 ที่มี
จำนวน 326,000 คน และเหนือความคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งคาดว่ายอดการขอรับสวัสดิการว่างงานจะลดลงเหลือจำนวน 313,000 คน
ทั้งนี้ ก.แรงงาน กล่าวว่า การปรับเพิ่มของยอดขอรับสวัสดิการว่างงานดังกล่าวเป็นภาวะปกติในช่วงฤดูร้อน และไม่มีปัจจัยเฉพาะที่บ่งชี้การเพิ่มขึ้น
แต่อย่างใด สำหรับยอดขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ ซึ่งสะท้อนสถานการณ์ตลาดแรงงานได้แม่นยำกว่า ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน
312,500 คน จากจำนวน 307,750 คนในสัปดาห์ก่อนหน้า นอกจากนี้ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่เคยขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก
ไปแล้ว ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 4 ส.ค.50 เพิ่มขึ้น 17,000 คนเป็นจำนวน 2.57 ล้านคน สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะมีจำนวน
2.54 ล้านคน (รอยเตอร์)
3. อัตราเงินเฟ้อของ Euro zone ในเดือน ก.ค.50 ชะลอตัวลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.8 ต่อปีรายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ 16 ส.ค.50
Eurostat ซึ่งเป็น สนง.สถิติกลางของยุโรปรายงานอัตราเงินเฟ้อใน 13 ประเทศที่ใช้เงินยูโรเป็นเงินสกุลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ต่อปี ต่ำกว่า
ที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ต่อปี ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อดังกล่าวอยู่ในระดับที่ ธ.กลางยุโรปหรือ ECB ต้องการคือต่ำกว่าร้อยละ 2.0 ต่อปี
โดยสินค้าที่มีราคาลดลงมากที่สุดอยู่ในหมวดการสื่อสารโทรคมนาคม ในขณะที่สินค้าในหมวดการศึกษา โรงแรมและภัตตาคาร เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์
และบุหรี่มีราคาเพิ่มขึ้นสูงสุด แต่อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ยังคงคาดว่า ECB จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นร้อยละ 4.25 ต่อปี
ในเดือน ก.ย.50 ที่จะถึงนี้ แม้จะมีข่าวว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมาจะชะลอตัวลงมากกว่าที่คาดไว้ก็ตาม แต่ในขณะเดียวกันก็มี
นักเศรษฐศาสตร์บางคนที่ไม่เชื่อว่า ECB จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่ตลาดการเงินกำลังวุ่นวาย ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับที่ควบคุม
ได้และเศรษฐกิจกำลังชะลอตัวเช่นในขณะนี้ ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานลดลงร้อยละ 0.3 ต่อเดือนแต่เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 1.9 ต่อปีตามที่คาดไว้ (รอยเตอร์)
4. อัตราการเพิ่มขึ้นของการส่งออกและการนำเข้าเกาหลีใต้ลดลงภายหลังการทบทวนที่ร้อยละ 17.8 และ 14.5 ตามลำดับ
รายงานจากโซล เมื่อ 16 ส.ค.50 กรมศุลกากรเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า การส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน ก.ค.50 ลดลงอยู่ที่จำนวน
30.36 พันล.ดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 17.8 เทียบต่อปี จากที่รายงานเบื้องต้นเมื่อ 1 ส.ค.50 ว่ามีจำนวน
30.93 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือร้อยละ 20.0 ขณะที่การนำเข้าลดลงอยู่ที่ 29.25 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5
เทียบต่อปี เทียบกับที่รายงานเบื้องต้นจำนวน 29.37 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.9 ทั้งนี้ จากภาวะการส่งออกและนำเข้า
ดังกล่าวส่งผลให้เกาหลีใต้เกินดุลการค้าในเดือน ก.ค.ลดลงอยู่ที่จำนวน 1,113 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากที่รายงานเบื้องต้นว่าเกินดุลจำนวน
1,560 ล้านดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 17 ส.ค. 50 16 ส.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.358 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.1315/34.4535 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.38875 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 750.69/22.97 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,600/10,700 10,750/10,850 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 66.45 66.61 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 28.39*/25.34* 28.39*/25.34* 26.49/23.34 ปตท
* ปรับเลดสิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 9 ส.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--