1. การผลิต
การผลิตยางแปรรูปขั้นต้นในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 มีปริมาณการผลิตยางแท่ง 185,549ตัน และมีปริมาณการผลิตยางแผ่น 43,140 ตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 0.89 และ 40.27 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.45 และลดลงร้อยละ 19.35 ตามลำดับ เนื่องจากเป็นช่วงฝนตกหนัก ส่งผลกระทบให้ปริมาณยางพาราออกสู่ตลาดลดลง ขณะที่ความต้องการในตลาดโลกยังคงเพิ่มสูงขึ้นกว่าปริมาณการผลิต โดยเฉพาะจีนและอินเดีย ซึ่งมีอุตสาหกรรมรถยนต์กำลังขยายตัวมากขึ้น
การผลิตผลิตภัณฑ์ยางในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นที่สำคัญได้แก่ ยางนอกรถกระบะ จำนวน 1,124,297 เส้น ยางนอกรถแทรกเตอร์ จำนวน 48,249 เส้น ยางในรถบรรทุกและรถโดยสาร จำนวน 521,248 เส้น และยางในรถจักรยานยนต์ จำนวน 8,799,465 เส้น ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมีการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.56, 10.18, 13.97 และ 2.85 ตามลำดับ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่ ยางนอกรถรถยนต์นั่ง จำนวน 3,375,027 เส้น ยางนอกรถบรรทุกและรถโดยสารจำนวน 1,039,533 เส้น ยางนอกรถจักรยานยนต์ จำนวน 5,489,692 เส้น ยางนอกรถจักรยาน จำนวน 4,553,875 เส้น และถุงมือยาง จำนวน 2,091 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมีการผลิตลดลงร้อยละ 6.08, 1.60, 0.75, 9.50 และ 12.06 ตามลำดับ หากพิจารณาจากดัชนีการผลิตยางล้อโดยรวมของไตรมาสนี้จะพบว่าลดลงจากไตรมาสก่อน แต่สูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเล็กน้อย ในขณะที่ดัชนีการผลิตถุงมือยางลดลงจากไตรมาสก่อนแต่สูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายในประเทศไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ปริมาณการจำหน่ายยางแท่ง 6,287 ตัน
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 12.01 และ 48.76 ตามลำดับ ในส่วนของยางแผ่นมีปริมาณการจำหน่าย 13,809 ตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 28.00 และ 37.75 ตามลำดับ เนื่องจากเป็นช่วงฝนตกหนัก ส่งผลให้ปริมาณยางพาราออกสู่ตลาดน้อย
การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยางในประเทศไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ผลิตภัณฑ์ที่มีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ ยางรถยนต์นั่ง จำนวน 2,610,412 เส้น ยางรถกระบะ จำนวน 1,087,907 เส้น ยางนอกรถจักรยาน จำนวน 1,022,807 เส้น ยางในรถบรรทุกและรถโดยสารจำนวน 402,973 เส้น และยางในรถจักรยานยนต์ จำนวน 6,372,750 เส้น ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.32, 2.69, 8.12 10.18 และ 2.63 ตามลำดับ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มีการจำหน่ายลดลง ได้แก่ ยางนอกรถบรรทุกโดยสาร จำนวน 816,712 เส้น ยางนอกรถจักรยานยนต์ จำนวน 3,721,988 เส้น ยางนอกรถแทรกเตอร์ จำนวน 24,215 เส้น และถุงมือยาง จำนวน 103.81 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมีการจำหน่ายลดลงร้อยละ 6.08, 5.96, 3.15 และ 17.84 ตามลำดับ
2.2 ตลาดส่งออก
ยางแปรรูปขั้นต้นที่ไทยส่งออก ประกอบด้วย ยางแผ่น ยางแท่ง น้ำยางข้น และยางพาราอื่นๆ โดยมีมูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 จำนวน 1,217.92 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 7.31 หากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนขยายตัวร้อยละ 2.78 ตลาดสำคัญยังคงเป็นประเทศจีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
ผลิตภัณฑ์ยางที่ไทยส่งออก ประกอบด้วยยางยานพาหนะ ถุงมือยาง ยางรัดของ หลอดและท่อ สายพานลำเลียงและสายพานส่งกำลัง โดยมีมูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 จำนวน 879.13 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.53 และ 17.30 ตามลำดับ โดยตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน และมาเลเซีย
การแข็งค่าเงินบาทส่งผลกระทบต่อรายได้การส่งออกของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ดังจะเห็นได้จากมูลค่าการส่งออกยางพาราในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 ในรูปของเงินเหรียญสหรัฐมีจำนวน 2,531.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ขณะที่มูลค่าส่งออกในรูปเงินบาทมีจำนวน 88,909.5 ล้านบาท กลับลดลงร้อยละ 6.2 สาเหตุจากการแข็งค่าเงินบาท ส่วนมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ยางในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 ในรูปของเงินเหรียญสหรัฐ 1,736.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20.5 ขณะที่มูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ยางในรูปเงินบาทมีจำนวน 60,927.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 9.7 เท่านั้น ปัจจุบันผู้ส่งออกยางพาราทั้งยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น ต้องปรับลดเป้าการส่งออกลง ชะลอการรับคำสั่งซื้อระยะยาว เพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน แต่จะรับคำสั่งซื้อระยะสั้นแบบเดือนต่อเดือน สำหรับผลิตภัณฑ์ยางประเทศลูกค้าจะหันไปนำเข้าจากประเทศคู่แข่งเพิ่มขึ้น เช่น จีน เวียดนาม และ อินโดนีเซีย
2.3 ตลาดนำเข้า
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มูลค่านำเข้ายางและผลิตภัณฑ์ยาง 171.38 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 14.31 และ 23.62 ตามลำดับ ประเภทสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ยางสังเคราะห์(ร้อยละ 46.2) ยางวัลแคไนซ์(ร้อยละ29.64) ท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียง(ร้อยละ 18.6) โดยยางสังเคราะห์มีมูลค่าการนำเข้า 79.18 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 20.69 และ 23.39 ตามลำดับ ยางวัลแคไนซ์มีมูลค่าการนำเข้า 50.80 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 17.89 และ 38.99 ตามลำดับ ส่วนท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียงมีการนำเข้า 31.87 ล้านเหรียญสหรัฐ สูงกว่าไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 14.15 และ 19.27 ตามลำดับ ส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา และเยอรมันนี
สำหรับครึ่งแรกของปี 2550 มูลค่านำเข้ายางและผลิตภัณฑ์ยางรวม 371.32 ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 12.68 โดยมีมูลค่านำเข้ายางสังเคราะห์ และ
ยางวัลแคไนซ์ 179.01 และ 112.67 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.65 และ 28.24 ตามลำดับ ส่วนท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียงมีการนำเข้า 59.79 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.69
3. สรุปและแนวโน้ม
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ราคายางพาราค่อนข้างมีเสถียรภาพ ไม่แกว่งตัวมากนัก โดยราคาพาราเฉลี่ยต่อกิโลกรัมไม่สูงมากเหมือนในช่วงไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงที่ราคายางพาราขึ้นสูงสุด แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ราคายางพารายังคงเพิ่มสูงขึ้น สาเหตุเนื่องจากเป็นช่วงฝนตกหนัก ส่งผลให้ปริมาณการผลิตยางพาราออกสู่ตลาดน้อยลงในขณะที่ความต้องการยางพาราในตลาดโลกยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากจีน อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2550 คาดว่าแนวโน้มราคายางพาราจะปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากระหว่างเดือนสิงหาคม- กันยายน เป็นช่วงที่เกษตรกรชาวสวนยางเริ่มกรีดยางอีกครั้ง หลังจากหยุดกรีดช่วงกลางปี ส่งผลให้ปริมาณยางเข้าสู่ตลาดมากขึ้น และอาจจะต้องใช้มาตรการชะลอการส่งออก ขณะเดียวกันจีนมีแผนโละทิ้งรถยนต์เก่าจำนวน 1 ล้านคัน เพื่อเตรียมรองรับการจัดงานโอลิมปิกในปี 2551 จึงคาดว่าจะส่งผลให้การใช้ยางรถยนต์หายไปประมาณ 4 ล้านเส้น ซึ่งอาจส่งผลให้ความต้องการนำเข้ายางพาราของจีนจากไทยน้อยลงด้วย
ปัจจัยเสี่ยงของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางที่สำคัญในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2550 คือ การแข็งค่าเงินบาทอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อรายได้การส่งออกของอุตสาหกรรมยางและ
ผลิตภัณฑ์ยาง ผู้ส่งออกยางพาราต้องปรับลดเป้าหมายการส่งออกลง โดยชะลอการรับคำสั่งซื้อ เพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน แต่จะรับคำสั่งซื้อระยะสั้นแบบเดือนต่อเดือน สำหรับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง ประเทศลูกค้าจะหันไปนำเข้าจากประเทศคู่แข่งเพิ่มขึ้น เช่น จีน เวียดนาม และ
อินโดนีเซีย ในภาพรวมคาดว่ามูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทจะลดลงจากปี 2549 อย่างไรก็ตาม การที่เงินบาทแข็งค่าอาจจะเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการนำเข้าสินค้าทุนและเครื่องจักรเพื่อขยายการลงทุนในประเทศได้มากขึ้น
แนวโน้มของอุตสาหกรรมยาง และผลิตภัณฑ์ยางในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 คาดว่าการขยายตัวจะชะลอตัวลงตามการส่งออกที่ชะลอการรับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องการแข็งค่าเงินบาทต่อเนื่อง
อุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง
อุตสาหกรรมรองเท้าไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 มีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีที่แล้ว รายได้รวมของทั้งอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นปี 2550 มีมูลค่ารวม 495 ล้านเหรียญ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 ส่วนอุตสาหกรรมหนัง, ผลิตภัณฑ์หนังฟอกและเครื่องใช้สำหรับเดินทางไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 ยังมีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปีที่แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.6 และ 14.0 ตามลำดับ
ตลาดส่งออกหลักของสินค้ารองเท้าในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 คือ สหรัฐอเมริกา เบลเยียม และตลาดส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์หนังในไตรมาส 2 ของปี 2550 คือ ฮ่องกง จีน
1. การผลิต
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 ดัชนีอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังจำแนกได้ดังนี้
- การฟอกและการตกแต่งหนังฟอก ดัชนีการผลิตไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 เทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ -26.7 ดัชนีการส่งสินค้าเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ -28.48 สำหรับดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ -18.7
- กระเป๋า ดัชนีการผลิตไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 เทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 66.4 ดัชนีการส่งสินค้าเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 138.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 157.9 สำหรับดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ -13.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1
- รองเท้า ดัชนีการผลิตไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 เทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 มีปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ -13.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ -10.4 ดัชนีการส่งสินค้าเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ -10.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ -12.4 สำหรับดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ -21.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.1
2. การตลาด
การส่งออก
- รองเท้าและชิ้นส่วน ไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 เทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น คือ รองเท้ากีฬา, รองเท้าแตะ, รองเท้าอื่นๆ และส่วนประกอบของรองเท้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5, 10.0, 0.6 และ 2.3 ตามลำดับ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือ รองเท้าหนัง ลดลงร้อยละ -9.7
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น คือ รองเท้าอื่นๆ, ส่วนประกอบรองเท้า, รองเท้าแตะและรองเท้าหนัง เพิ่มขึ้นร้อยละ 81.2, 45.9, 39.8 และ 30.2 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือ รองเท้ากีฬา ลดลงร้อยละ -7.1
ตลาดสำคัญที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เบลเยียม เดนมาร์ก และสหราชอาณาจักร เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8, 74.1 และ 29.0 ตามลำดับ ตลาดหลักที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา เบลเยียม และเดนมาร์ก มีสัดส่วนร้อยละ 25.5, 10.9 และ 8.0 ตามลำดับ
- เครื่องใช้สำหรับเดินทาง ไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 เทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น คือ กระเป๋าเดินทาง และ กระเป๋าใส่เศษสตางค์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.4 และ 5.5 ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือ กระเป๋าถือ และ เครื่องเดินทางอื่นๆ ลดลงร้อยละ -16.2 และ -14.7
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น คือ กระเป๋าเดินทาง, กระเป๋าใส่เศษสตางค์ และเครื่องเดินทางอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.8, 19.0 และ 10.3 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ที่ลดลงคือ กระเป๋าถือ ลดลงร้อยละ -2.6 ตลาดหลักที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น และสวิตเซอร์แลนด์ มีสัดส่วนร้อยละ 23.7, 12.8 และ 12.8 ตามลำดับ
- หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด ไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 เทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น คือ หนังโคกระบือฟอก และหนังและผลิตภัณฑ์หนังอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 และ 19.7 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือ ถุงมือหนัง, ของเล่นสำหรับเลี้ยง และ เครื่องแต่งกายและเข็มขัด ลดลงร้อยละ -24.2 -14.8 และ -6.5 ตามลำดับ
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.6 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น คือ หนังโคกระบือฟอก และ หนังและผลิตภัณฑ์หนังอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.5 และ 44.5 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือ ของเล่นสำหรับสัตว์เลี้ยง, ถุงมือหนัง และเครื่องแต่งกายเข็มขัด ลดลงร้อยละ -58.1, -8.3 และ -1.9 ตามลำดับ ตลาดส่งออกสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ฮ่องกง, จีน และเวียดนาม เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.8, 98.8 และ 44 ตามลำดับ ตลาดหลักที่สำคัญได้แก่ ฮ่องกง, จีน และเวียดนาม มีสัดส่วนตลาดร้อยละ 29.6, 13.2 และ12.8 ตามลำดับ
การนำเข้า
- หนังดิบและหนังฟอก ช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2550 เทียบกับ ไตรมาสที่ 1 ปี 2550 มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ19.0 แหล่งนำเข้าที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอิตาลี มีสัดส่วนร้อยละ 16.8, 8.7 และ 6.8 ตามลำดับ
- รองเท้า ช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2550 เทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2550 มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.7 แหล่งนำเข้า คือ จีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม มีสัดส่วนนำเข้าร้อยละ 58.0, 9.4 และ 5.5 ตามลำดับ
- กระเป๋า ช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2550 เทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2550 มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.9 แหล่งนำเข้า คือ จีน อิตาลี และฝรั่งเศส โดยมีสัดส่วนนำเข้าร้อยละ 43.1, 20.0 และ 16.0 ตามลำดับ
3. สรุปและแนวโน้ม
อุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังของไทยม ภาวะการผลิตหนังฟอกเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนโดยเป็นผลมาจากการนำเข้าหนังดิบมาผลิตเป็นหนังฟอกและผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออกเพิ่มขึ้น การผลิตกระเป๋าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน เนื่องจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่สำหรับการผลิตรองเท้าลดลงจากไตรมาสก่อนเนื่องจากการส่งออกรองเท้ากีฬาลดลง โดยแนวโน้มการส่งออกของอุตสาหกรรมรองเท้ากีฬาลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากบริษัทแม่ในต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยย้ายฐานการผลิตและคำสั่งซื้อไปยังประเทศจีนและเวียดนาม เพราะได้เปรียบในเรื่องค่าจ้างแรงงานและต้นทุนวัตถุดิบต่ำ อีกทั้งค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบในการแข่งขัน ส่วนรองเท้าประเภทอื่นๆรวมทั้งอุตสาหกรรมเครื่องหนังโดยทั่วไปยังมีแนวโน้มการส่งออกที่เพิ่มขึ้น
การนำเข้าของไทยในส่วนของสินค้าสำเร็จรูป (กระเป๋าและรองเท้า) ในกลุ่มนี้ยังมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งแหล่งนำเข้าที่สำคัญและขยายตัวอย่างต่อเนื่องได้แก่ ประเทศจีน ส่วนหนังดิบและหนังฟอกที่ใช้ในการผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ซึ่งเป็นผลมาจากการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นทำให้การนำเข้าวัตถุดิบมีราคาถูกลง และการขยายตัวของการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
การผลิตยางแปรรูปขั้นต้นในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 มีปริมาณการผลิตยางแท่ง 185,549ตัน และมีปริมาณการผลิตยางแผ่น 43,140 ตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ 0.89 และ 40.27 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.45 และลดลงร้อยละ 19.35 ตามลำดับ เนื่องจากเป็นช่วงฝนตกหนัก ส่งผลกระทบให้ปริมาณยางพาราออกสู่ตลาดลดลง ขณะที่ความต้องการในตลาดโลกยังคงเพิ่มสูงขึ้นกว่าปริมาณการผลิต โดยเฉพาะจีนและอินเดีย ซึ่งมีอุตสาหกรรมรถยนต์กำลังขยายตัวมากขึ้น
การผลิตผลิตภัณฑ์ยางในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นที่สำคัญได้แก่ ยางนอกรถกระบะ จำนวน 1,124,297 เส้น ยางนอกรถแทรกเตอร์ จำนวน 48,249 เส้น ยางในรถบรรทุกและรถโดยสาร จำนวน 521,248 เส้น และยางในรถจักรยานยนต์ จำนวน 8,799,465 เส้น ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมีการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.56, 10.18, 13.97 และ 2.85 ตามลำดับ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่ ยางนอกรถรถยนต์นั่ง จำนวน 3,375,027 เส้น ยางนอกรถบรรทุกและรถโดยสารจำนวน 1,039,533 เส้น ยางนอกรถจักรยานยนต์ จำนวน 5,489,692 เส้น ยางนอกรถจักรยาน จำนวน 4,553,875 เส้น และถุงมือยาง จำนวน 2,091 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมีการผลิตลดลงร้อยละ 6.08, 1.60, 0.75, 9.50 และ 12.06 ตามลำดับ หากพิจารณาจากดัชนีการผลิตยางล้อโดยรวมของไตรมาสนี้จะพบว่าลดลงจากไตรมาสก่อน แต่สูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเล็กน้อย ในขณะที่ดัชนีการผลิตถุงมือยางลดลงจากไตรมาสก่อนแต่สูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายในประเทศไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ปริมาณการจำหน่ายยางแท่ง 6,287 ตัน
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 12.01 และ 48.76 ตามลำดับ ในส่วนของยางแผ่นมีปริมาณการจำหน่าย 13,809 ตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 28.00 และ 37.75 ตามลำดับ เนื่องจากเป็นช่วงฝนตกหนัก ส่งผลให้ปริมาณยางพาราออกสู่ตลาดน้อย
การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยางในประเทศไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ผลิตภัณฑ์ที่มีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ ยางรถยนต์นั่ง จำนวน 2,610,412 เส้น ยางรถกระบะ จำนวน 1,087,907 เส้น ยางนอกรถจักรยาน จำนวน 1,022,807 เส้น ยางในรถบรรทุกและรถโดยสารจำนวน 402,973 เส้น และยางในรถจักรยานยนต์ จำนวน 6,372,750 เส้น ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.32, 2.69, 8.12 10.18 และ 2.63 ตามลำดับ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มีการจำหน่ายลดลง ได้แก่ ยางนอกรถบรรทุกโดยสาร จำนวน 816,712 เส้น ยางนอกรถจักรยานยนต์ จำนวน 3,721,988 เส้น ยางนอกรถแทรกเตอร์ จำนวน 24,215 เส้น และถุงมือยาง จำนวน 103.81 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนมีการจำหน่ายลดลงร้อยละ 6.08, 5.96, 3.15 และ 17.84 ตามลำดับ
2.2 ตลาดส่งออก
ยางแปรรูปขั้นต้นที่ไทยส่งออก ประกอบด้วย ยางแผ่น ยางแท่ง น้ำยางข้น และยางพาราอื่นๆ โดยมีมูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 จำนวน 1,217.92 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 7.31 หากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนขยายตัวร้อยละ 2.78 ตลาดสำคัญยังคงเป็นประเทศจีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
ผลิตภัณฑ์ยางที่ไทยส่งออก ประกอบด้วยยางยานพาหนะ ถุงมือยาง ยางรัดของ หลอดและท่อ สายพานลำเลียงและสายพานส่งกำลัง โดยมีมูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 จำนวน 879.13 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน และไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.53 และ 17.30 ตามลำดับ โดยตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน และมาเลเซีย
การแข็งค่าเงินบาทส่งผลกระทบต่อรายได้การส่งออกของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ดังจะเห็นได้จากมูลค่าการส่งออกยางพาราในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 ในรูปของเงินเหรียญสหรัฐมีจำนวน 2,531.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ขณะที่มูลค่าส่งออกในรูปเงินบาทมีจำนวน 88,909.5 ล้านบาท กลับลดลงร้อยละ 6.2 สาเหตุจากการแข็งค่าเงินบาท ส่วนมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ยางในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 ในรูปของเงินเหรียญสหรัฐ 1,736.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20.5 ขณะที่มูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์ยางในรูปเงินบาทมีจำนวน 60,927.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 9.7 เท่านั้น ปัจจุบันผู้ส่งออกยางพาราทั้งยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น ต้องปรับลดเป้าการส่งออกลง ชะลอการรับคำสั่งซื้อระยะยาว เพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน แต่จะรับคำสั่งซื้อระยะสั้นแบบเดือนต่อเดือน สำหรับผลิตภัณฑ์ยางประเทศลูกค้าจะหันไปนำเข้าจากประเทศคู่แข่งเพิ่มขึ้น เช่น จีน เวียดนาม และ อินโดนีเซีย
2.3 ตลาดนำเข้า
ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มูลค่านำเข้ายางและผลิตภัณฑ์ยาง 171.38 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 14.31 และ 23.62 ตามลำดับ ประเภทสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ยางสังเคราะห์(ร้อยละ 46.2) ยางวัลแคไนซ์(ร้อยละ29.64) ท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียง(ร้อยละ 18.6) โดยยางสังเคราะห์มีมูลค่าการนำเข้า 79.18 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 20.69 และ 23.39 ตามลำดับ ยางวัลแคไนซ์มีมูลค่าการนำเข้า 50.80 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงจากไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 17.89 และ 38.99 ตามลำดับ ส่วนท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียงมีการนำเข้า 31.87 ล้านเหรียญสหรัฐ สูงกว่าไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 14.15 และ 19.27 ตามลำดับ ส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา และเยอรมันนี
สำหรับครึ่งแรกของปี 2550 มูลค่านำเข้ายางและผลิตภัณฑ์ยางรวม 371.32 ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 12.68 โดยมีมูลค่านำเข้ายางสังเคราะห์ และ
ยางวัลแคไนซ์ 179.01 และ 112.67 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.65 และ 28.24 ตามลำดับ ส่วนท่อหรือข้อต่อและสายพานลำเลียงมีการนำเข้า 59.79 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 13.69
3. สรุปและแนวโน้ม
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ราคายางพาราค่อนข้างมีเสถียรภาพ ไม่แกว่งตัวมากนัก โดยราคาพาราเฉลี่ยต่อกิโลกรัมไม่สูงมากเหมือนในช่วงไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงที่ราคายางพาราขึ้นสูงสุด แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ราคายางพารายังคงเพิ่มสูงขึ้น สาเหตุเนื่องจากเป็นช่วงฝนตกหนัก ส่งผลให้ปริมาณการผลิตยางพาราออกสู่ตลาดน้อยลงในขณะที่ความต้องการยางพาราในตลาดโลกยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากจีน อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2550 คาดว่าแนวโน้มราคายางพาราจะปรับตัวลดลงเล็กน้อย เนื่องจากระหว่างเดือนสิงหาคม- กันยายน เป็นช่วงที่เกษตรกรชาวสวนยางเริ่มกรีดยางอีกครั้ง หลังจากหยุดกรีดช่วงกลางปี ส่งผลให้ปริมาณยางเข้าสู่ตลาดมากขึ้น และอาจจะต้องใช้มาตรการชะลอการส่งออก ขณะเดียวกันจีนมีแผนโละทิ้งรถยนต์เก่าจำนวน 1 ล้านคัน เพื่อเตรียมรองรับการจัดงานโอลิมปิกในปี 2551 จึงคาดว่าจะส่งผลให้การใช้ยางรถยนต์หายไปประมาณ 4 ล้านเส้น ซึ่งอาจส่งผลให้ความต้องการนำเข้ายางพาราของจีนจากไทยน้อยลงด้วย
ปัจจัยเสี่ยงของอุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางที่สำคัญในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2550 คือ การแข็งค่าเงินบาทอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อรายได้การส่งออกของอุตสาหกรรมยางและ
ผลิตภัณฑ์ยาง ผู้ส่งออกยางพาราต้องปรับลดเป้าหมายการส่งออกลง โดยชะลอการรับคำสั่งซื้อ เพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน แต่จะรับคำสั่งซื้อระยะสั้นแบบเดือนต่อเดือน สำหรับอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง ประเทศลูกค้าจะหันไปนำเข้าจากประเทศคู่แข่งเพิ่มขึ้น เช่น จีน เวียดนาม และ
อินโดนีเซีย ในภาพรวมคาดว่ามูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทจะลดลงจากปี 2549 อย่างไรก็ตาม การที่เงินบาทแข็งค่าอาจจะเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการนำเข้าสินค้าทุนและเครื่องจักรเพื่อขยายการลงทุนในประเทศได้มากขึ้น
แนวโน้มของอุตสาหกรรมยาง และผลิตภัณฑ์ยางในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 คาดว่าการขยายตัวจะชะลอตัวลงตามการส่งออกที่ชะลอการรับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องการแข็งค่าเงินบาทต่อเนื่อง
อุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง
อุตสาหกรรมรองเท้าไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 มีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีที่แล้ว รายได้รวมของทั้งอุตสาหกรรมตั้งแต่ต้นปี 2550 มีมูลค่ารวม 495 ล้านเหรียญ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 ส่วนอุตสาหกรรมหนัง, ผลิตภัณฑ์หนังฟอกและเครื่องใช้สำหรับเดินทางไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 ยังมีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปีที่แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.6 และ 14.0 ตามลำดับ
ตลาดส่งออกหลักของสินค้ารองเท้าในไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 คือ สหรัฐอเมริกา เบลเยียม และตลาดส่งออกสินค้าผลิตภัณฑ์หนังในไตรมาส 2 ของปี 2550 คือ ฮ่องกง จีน
1. การผลิต
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 ดัชนีอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนังจำแนกได้ดังนี้
- การฟอกและการตกแต่งหนังฟอก ดัชนีการผลิตไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 เทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ -26.7 ดัชนีการส่งสินค้าเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ -28.48 สำหรับดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ -18.7
- กระเป๋า ดัชนีการผลิตไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 เทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 66.4 ดัชนีการส่งสินค้าเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 138.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 157.9 สำหรับดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ -13.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1
- รองเท้า ดัชนีการผลิตไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 เทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 มีปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ -13.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ -10.4 ดัชนีการส่งสินค้าเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ -10.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ -12.4 สำหรับดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเทียบกับไตรมาสก่อนลดลงร้อยละ -21.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.1
2. การตลาด
การส่งออก
- รองเท้าและชิ้นส่วน ไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 เทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น คือ รองเท้ากีฬา, รองเท้าแตะ, รองเท้าอื่นๆ และส่วนประกอบของรองเท้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5, 10.0, 0.6 และ 2.3 ตามลำดับ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือ รองเท้าหนัง ลดลงร้อยละ -9.7
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น คือ รองเท้าอื่นๆ, ส่วนประกอบรองเท้า, รองเท้าแตะและรองเท้าหนัง เพิ่มขึ้นร้อยละ 81.2, 45.9, 39.8 และ 30.2 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือ รองเท้ากีฬา ลดลงร้อยละ -7.1
ตลาดสำคัญที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เบลเยียม เดนมาร์ก และสหราชอาณาจักร เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8, 74.1 และ 29.0 ตามลำดับ ตลาดหลักที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา เบลเยียม และเดนมาร์ก มีสัดส่วนร้อยละ 25.5, 10.9 และ 8.0 ตามลำดับ
- เครื่องใช้สำหรับเดินทาง ไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 เทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น คือ กระเป๋าเดินทาง และ กระเป๋าใส่เศษสตางค์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.4 และ 5.5 ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือ กระเป๋าถือ และ เครื่องเดินทางอื่นๆ ลดลงร้อยละ -16.2 และ -14.7
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น คือ กระเป๋าเดินทาง, กระเป๋าใส่เศษสตางค์ และเครื่องเดินทางอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.8, 19.0 และ 10.3 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ที่ลดลงคือ กระเป๋าถือ ลดลงร้อยละ -2.6 ตลาดหลักที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น และสวิตเซอร์แลนด์ มีสัดส่วนร้อยละ 23.7, 12.8 และ 12.8 ตามลำดับ
- หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด ไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 เทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น คือ หนังโคกระบือฟอก และหนังและผลิตภัณฑ์หนังอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 และ 19.7 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือ ถุงมือหนัง, ของเล่นสำหรับเลี้ยง และ เครื่องแต่งกายและเข็มขัด ลดลงร้อยละ -24.2 -14.8 และ -6.5 ตามลำดับ
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.6 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น คือ หนังโคกระบือฟอก และ หนังและผลิตภัณฑ์หนังอื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.5 และ 44.5 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง คือ ของเล่นสำหรับสัตว์เลี้ยง, ถุงมือหนัง และเครื่องแต่งกายเข็มขัด ลดลงร้อยละ -58.1, -8.3 และ -1.9 ตามลำดับ ตลาดส่งออกสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ฮ่องกง, จีน และเวียดนาม เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.8, 98.8 และ 44 ตามลำดับ ตลาดหลักที่สำคัญได้แก่ ฮ่องกง, จีน และเวียดนาม มีสัดส่วนตลาดร้อยละ 29.6, 13.2 และ12.8 ตามลำดับ
การนำเข้า
- หนังดิบและหนังฟอก ช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2550 เทียบกับ ไตรมาสที่ 1 ปี 2550 มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ19.0 แหล่งนำเข้าที่สำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอิตาลี มีสัดส่วนร้อยละ 16.8, 8.7 และ 6.8 ตามลำดับ
- รองเท้า ช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2550 เทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2550 มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.0 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.7 แหล่งนำเข้า คือ จีน อินโดนีเซีย และเวียดนาม มีสัดส่วนนำเข้าร้อยละ 58.0, 9.4 และ 5.5 ตามลำดับ
- กระเป๋า ช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2550 เทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2550 มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.9 แหล่งนำเข้า คือ จีน อิตาลี และฝรั่งเศส โดยมีสัดส่วนนำเข้าร้อยละ 43.1, 20.0 และ 16.0 ตามลำดับ
3. สรุปและแนวโน้ม
อุตสาหกรรมรองเท้าและผลิตภัณฑ์หนังของไทยม ภาวะการผลิตหนังฟอกเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนโดยเป็นผลมาจากการนำเข้าหนังดิบมาผลิตเป็นหนังฟอกและผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออกเพิ่มขึ้น การผลิตกระเป๋าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน เนื่องจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่สำหรับการผลิตรองเท้าลดลงจากไตรมาสก่อนเนื่องจากการส่งออกรองเท้ากีฬาลดลง โดยแนวโน้มการส่งออกของอุตสาหกรรมรองเท้ากีฬาลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากบริษัทแม่ในต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยย้ายฐานการผลิตและคำสั่งซื้อไปยังประเทศจีนและเวียดนาม เพราะได้เปรียบในเรื่องค่าจ้างแรงงานและต้นทุนวัตถุดิบต่ำ อีกทั้งค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบในการแข่งขัน ส่วนรองเท้าประเภทอื่นๆรวมทั้งอุตสาหกรรมเครื่องหนังโดยทั่วไปยังมีแนวโน้มการส่งออกที่เพิ่มขึ้น
การนำเข้าของไทยในส่วนของสินค้าสำเร็จรูป (กระเป๋าและรองเท้า) ในกลุ่มนี้ยังมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งแหล่งนำเข้าที่สำคัญและขยายตัวอย่างต่อเนื่องได้แก่ ประเทศจีน ส่วนหนังดิบและหนังฟอกที่ใช้ในการผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ซึ่งเป็นผลมาจากการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นทำให้การนำเข้าวัตถุดิบมีราคาถูกลง และการขยายตัวของการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-