กรุงเทพ--26 ก.ค--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2550 นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ แถลงข่าวประจำสัปดาห์ณ ห้องแถลงข่าว กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์ เข้าร่วมรับฟังและซักถามในประเด็นต่าง ๆ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ 40
นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 40 (40th ASEAN Ministerial Meeting - AMM) และการประชุมระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา รวมทั้ง การประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม — 2 สิงหาคม 2550 ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
ในปีนี้ จะมีการผลักดัน ASEAN Charter หรือกฎบัตรอาเซียน โดยรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียนจะร่วมกันพิจารณาร่างกฏบัตรอาเซียน ซึ่งจะช่วยกำหนดกรอบกติกาในการดำเนินงานของอาเซียน เพื่อให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพและมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (people — centered ASEAN)
นอกจากนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศจะร่วมกันหารือในประเด็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อภูมิภาค เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม การจัดการภัยพิบัติ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การลดช่องว่างในการพัฒนา การเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 โดยประเทศไทยจะใช้โอกาสนี้ผลักดันความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเงินในภูมิภาคอีกด้วย
ในด้านการเมืองและความมั่นคง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการระดับรัฐมนตรีสนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEANWFZ Commission) เพื่อพิจารณาทบทวนการดำเนินงานภายหลังจากสนธิสัญญาครบ 10 ปี
นอกจากนี้ฝ่ายไทยจะเสนอชื่อของ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อย่างเป็นทางการในที่ประชุมใหญ่เพื่อให้ความเห็นชอบในการเข้าดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน ซึ่งกำหนดเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มกราคม 2551 โดยมีวาระการทำงาน 5 ปี
2. การเยือนฟิลิปปินส์อย่างเป็นทางการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดการเยือนฟิลิปปินส์อย่างเป็นทางการ (official visit) ในระหว่างวันที่ 2 — 3 สิงหาคม 2550 ตามคำเชิญของนายอัลเบอร์โต กัตไมตัน โรมูโล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ ต่อเนื่องจากการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและประเทศคู่เจรจา และการประชุม ASEAN Regional Forum (ARF) ที่กรุงมะนิลา
การเยือนฟิลิปปินส์ของรัฐมนตรีว่าการฯ ครั้งนี้ จะมีการหารือด้านความร่วมมือทางความมั่นคง รวมทั้งแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในภูมิภาคที่ทั้งสองฝ่ายมีความสนใจร่วมกัน อีกทั้งยังเป็นโอกาสดีที่จะติดตามผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย — ฟิลิปปินส์ ครั้งที่ 4 (The Fourth Meeting of the Joint Commission for Bilateral Cooperation) เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2550 ที่กรุงเทพฯ
ระหว่างการเยือน รัฐมนตรีว่าการฯ มีกำหนดการสำคัญ ๆ ได้แก่ (1) การวางพวงมาลาที่อนุสาวรีย์รีซาล (Rizal Monument) เพื่อไว้อาลัยแก่นายโฮเซ รีซาล วีรบุรุษฟิลิปปินส์ที่ต่อสู้ให้ฟิลิปปินส์ได้รับเอกราชจากอาณานิคมสเปนเมื่อปี 2441 (ค.ศ.1898) ซึ่งแสดงถึงการให้เกียรติของรัฐบาลฟิลิปปินส์ต่อผู้แทนระดับสูงของรัฐบาลต่างประเทศที่มาเยือนฟิลิปปินส์อย่างเป็นทางการ (2) การหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ (3) การเข้าเยี่ยมคารวะประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา และ (4) การรับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการแบ่งแยกดินแดนในเกาะมินดาเนา
3. ทศวรรษที่สองของความร่วมมือในกรอบอาเซียน+3: ทิศทางที่ชัดเจนขึ้น
ความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี หรือที่รู้จักในชื่อกรอบความร่วมมืออาเซียน+ 3 ที่เริ่มต้นขึ้นในปี 2540 จะครบรอบ 10 ปี ในเดือนธันวาคมปีนี้ ทั้งนี้ เพื่อเฉลิมฉลองการก้าวสู่ทศวรรษใหม่ ผู้นำอาเซียน + 3 จึงมีความคิดร่วมกันที่จะกำหนดทิศทางของความร่วมมือในกรอบนี้ให้ชัดเจนขึ้นเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนในภูมิภาคในทศวรรษหน้า โดยในเดือนพฤศจิกายน 2550 ผู้นำอาเซียน + 3 จะร่วมกันออกแถลงการณ์ว่าด้วยความร่วมมือเอเชียตะวันออกฉบับที่ 2
เพื่อพิจารณาร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ดังกล่าว จีนและฟิลิปปินส์ได้เป็นเจ้าภาพร่วมกันจัดการประชุมระดับอธิบดีอาเซียน + 3 ณ เมืองกุ้ยหยาง มณฑลกุ้ยโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 10 — 11 กรกฏาคม 2550 ในการนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในการกำหนดกรอบความร่วมมือในร่างแถลงการณ์ 4 ด้าน ได้แก่ 1. ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง 2. ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการเงิน 3. ความร่วมมือด้านพลังงาน และ 4. ความร่วมมือด้านการพัฒนาสังคมและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม
ในการประชุมครั้งนี้ ไทยได้เสนอแนวทาง 3 ประการเพื่อบรรลุเป้าหมายของแถลงการณ์ร่วมฯ คือ (1) การประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างเวทีการประชุมต่าง ๆ ในกรอบอาเซียน + 3 (2) การจัดตั้งกองทุนความร่วมมือเพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ และ (3) การยกระดับความสำคัญของการประชุมอธิบดีอาเซียน + 3 ในฐานะที่เป็นกลไกหลักในการประสานงาน
นอกจากนี้ ในที่ประชุม ประเทศไทยยังได้ผลักดันให้มีการจัดงานสัปดาห์เอเชียตะวันออกและเมืองวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ 10 ปีของความสัมพันธ์กรอบอาเซียน + 3 ในช่วงปลายปี 2550 โดยงานดังกล่าวจะจัดขึ้นที่ประเทศไทยและประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ เวทีผู้นำเยาวชนเอเชียตะวันออก เวทีสื่อมวลชนเอเชียตะวันออก การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องบทบาทของภาพยนตร์ต่อการส่งเสริมเอเชียตะวันออก และถนนวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก
4. สมาคมไทย-มาเลเซีย มอบทุนการศึกษา 112 ทุน แก่นักเรียนนักศึกษาในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
สมาคมไทย-มาเลเซีย (Thai-Malaysian Association) จะมอบทุนการศึกษาจำนวน 112 ทุน แก่นักเรียน นักศึกษาที่ขาดทุนทรัพย์ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สงขลา สตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อาชีวะศึกษา และอุดมศึกษา ทุนการศึกษาดังกล่าวจัดสรรจากกองทุนเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในภาคใต้ของไทยและภาคเหนือของมาเลเซีย (Human Resource Development Fund) ประจำปี 2550 ของสมาคมไทย-มาเลเซีย
กระทรวงการต่างประเทศ ได้ขอความอนุเคราะห์ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ. บต.) ประสานกับสถาบันการศึกษาในพื้นที่คัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อรับทุนการศึกษาดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วยค่าเล่าเรียนตลอดปีการศึกษาและค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,753,740 บาท
ทั้งนี้ อดีตเอกอัครราชทูต นิสสัย เวชชาชีวะ นายกสมาคมไทย-มาเลเซีย และนายจริย์วัฒน์ สันตะบุตร รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศจะเข้าร่วมในพิธีมอบทุนการศึกษาที่จะจัดขึ้น ณ ศาลากลางจังหวัดสงขลา
สมาคมไทย-มาเลเซียจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2541 ตามดำริของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยและมาเลเซียในขณะนั้น (ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ และดาโต๊ะ อับดุลลาห์ อาหมัด บัดดาวี) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นช่องทางในการส่งเสริมความเข้าใจ การเรียนรู้ และความสัมพันธ์อันใกล้ชิดในระดับประชาชนระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซีย
5. การจัดงานเลี้ยงรับรองเพื่อเฉลิมฉลองการครบรอบ 60 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-อินเดีย
ในวันที่ 3 สิงหาคม 2550 กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทยจะจัดงานเลี้ยงรับรอง ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมตลอดเกือบ 1 ปีที่ดำเนินการมา เพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-อินเดีย ซึ่งเวียนมาบรรจบในวันที่ 1 สิงหาคม 2550 ทั้งนี้ คาดว่าจะมีคณะทูตานุทูต นักวิชาการ นักธุรกิจ และสื่อมวลชนเข้าร่วมงานประมาณ 300-350 คน
ภายในงานดังกล่าว จะมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย ทั้งนี้ นอกจากงานเลี้ยงรับรองแล้ว จะมีการจัดแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองชุดพิเศษชื่อ Bharat Natyam ณ ห้องนราธิป การแสดงดังกล่าว เป็นนาฏศิลป์ดั้งเดิมของอินเดีย โดยผู้แสดง คือ นางสาว Srekala Bharath ศิลปินที่มีชื่อเสียงในอินเดีย นอกจากนี้ จะมีการนำอาหารอินเดียมาเผยแพร่ โดยสถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทยเป็นผู้สนับสนุน และการจัดนิทรรศการภาพถ่ายประวัติศาสตร์ไทย-อินเดีย บริเวณโถงหน้าวิเทศสโมสร เพื่อเผยแพร่เหตุการณ์สำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบอีกด้วย
6. รัฐบาลไทยบริจาคข้าวสารจำนวน 1,000 ตันให้แก่รัฐบาลจีนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2550 สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปักกิ่ง ได้แสดงความจำนงที่กระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่จะบริจาคข้าวสารจำนวน 1,000 ตันให้แก่รัฐบาลจีน เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบความเดือนร้อนในมณฑลที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติหลายครั้งติดต่อกันในปีนี้ ส่งผลกระทบต่อประชากรกว่า 1,565,000 คน โดยไทยพร้อมส่งมอบข้าวสารจำนวนดังกล่าวผ่านท่าเรือหวงผู่ ที่นครกวางโจว ในโอกาสแรก
7. รองผู้ว่ากรุงพนมเปญและคณะฯ เยือนไทย
กระทรวงการต่างประเทศได้รับแจ้งจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญว่า นาย Trac Thai Sieng รองผู้ว่ากรุงพนมเปญและคณะฯ มีกำหนดจะเดินทางเยือนประเทศไทยระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม — 3 สิงหาคม 2550 ตามโครงการเชิญผู้ว่ากรุงพนมเปญและคณะฯ เยือนไทยของสถานเอกอัครราชทูตฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความร่วมมือระหว่างกรุงพนมเปญกับกรุงเทพมหานคร ในด้านต่างๆ รวมทั้งการส่งเสริมการลงทุนจากไทยไปยังกัมพูชา
ในโอกาสนี้ รองผู้ว่ากรุงพนมเปญและคณะฯ มีกำหนดพบปะหารือกับรองผู้ว่ากรุงเทพมหานคร และศึกษาดูงานการบริหารของกรุงเทพมหานครและโครงการต่าง ๆ ที่น่าสนใจของกรุงเทพมหานคร
ภายหลังการแถลงข่าว นายธฤตฯ ได้ตอบคำถามสื่อมวลชน สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
- กรณีหนังสือพิมพ์ Strait Times ลงข่าวว่าสหรัฐฯ จะยกเลิกการทำ FTA กับไทย
นายธฤตฯ ชี้แจงว่า ตามที่หนังสือพิมพ์ Straits Times ออนไลน์ วันที่ 23 กรกฎาคม 2550 เสนอข่าวเรื่องเอกอัครราชทูต Susan Schwab ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ Straits Times ของสิงคโปร์ว่า รัฐบาลสหรัฐฯ จะยกเลิกการจัดทำความตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรี (FTA) กับประเทศไทย นั้น นายกฤษณ์ กาญจนกุญชร เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ได้โทรศัพท์หารือกับสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) และได้รับแจ้งว่า จากการตรวจสอบเทปสัมภาษณ์ของเอกอัครราชทูต Schwab ต่อหนังสือพิมพ์ Straits Times พบว่า หนังสือพิมพ์ดังกล่าวลงข่าวไม่ตรงกับการให้สัมภาษณ์กล่าวคือ เอกอัครราชทูต Schwab ให้สัมภาษณ์ว่า “การเจรจา FTA ไทย-สหรัฐฯ ได้ชะลอไปก่อนเหตุการณ์ 19 กันยายน และด้วยสถานการณ์ทางการเมืองของไทยขณะนี้ ทำให้สหรัฐฯ ยังไม่สามารถเจรจาฯ ต่อได้ แต่สหรัฐฯ จะไม่ยกเลิกการเจรจา FTA กับไทย (We have NOT given up having Free Trade Agreement with Thailand)“
- ปฏิกิริยาของประเทศต่างๆ ต่อกรณีเหตุการณ์ความวุ่นวายเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2550
นายธฤตฯ กล่าวว่ากระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งข้อเท็จจริงและแนวทางชี้แจงต่างๆ ให้สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของไทยทั่วโลกให้ทราบเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ การให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ เป็นการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องตลอดมาของกระทรวงฯ และเอกอัครราชทูตได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้ช่วยทูตทหาร และผู้ช่วยทูตพาณิชย์ ร่วมกันชี้แจงทำความเข้าใจ
สำหรับปฏิกิริยาตอบรับของสื่อต่างประเทศ นายธฤตฯ ชี้แจงว่า จากการติตตามข่าวสารของสื่อต่างประเทศตั้งแต่วันจันทร์ที่ผ่านมา ข่าวส่วนใหญ่เป็นการสะท้อนข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในส่วนของรัฐบาลต่างประเทศนั้น โดยภาพรวม ไม่มีรัฐบาลไหน “ติดใจ” เกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว แต่มีความเป็นไปได้ว่า รัฐบาลบางประเทศอาจมีประกาศเตือนประชาชนของตนให้ระมัดระวังตัวระหว่างที่พำนักอยู่ในประเทศไทย ซึ่งเป็นไปตามแนวทางปฏิบัติตามปกติของรัฐบาล
- การขอเข้ามาสังเกตการณ์การเลือกตั้งของ EU
นายธฤตฯ ชี้แจงว่าได้รับทราบว่า EU แสดงความสนใจในการเข้ามาร่วมสังเกตการณ์การเลือกตั้งของไทย อย่างไรก็ดี การเข้าร่วมการสังเกตการณ์ต้องได้รับคำเชิญจากประเทศไทย ซึ่ง ทั้ง รัฐบาลและกกต. จะเป็นผู้พิจารณา สำหรับการพิจารณาว่าจะเชิญองค์การต่างประเทศใด ๆ เข้ามาสังเกตการณ์เลือกตั้งหรือไม่ จะต้องมีการหารือกันต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2550 นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ แถลงข่าวประจำสัปดาห์ณ ห้องแถลงข่าว กระทรวงการต่างประเทศ โดยมีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว หนังสือพิมพ์ และสถานีโทรทัศน์ เข้าร่วมรับฟังและซักถามในประเด็นต่าง ๆ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ 40
นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 40 (40th ASEAN Ministerial Meeting - AMM) และการประชุมระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา รวมทั้ง การประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม — 2 สิงหาคม 2550 ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
ในปีนี้ จะมีการผลักดัน ASEAN Charter หรือกฎบัตรอาเซียน โดยรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียนจะร่วมกันพิจารณาร่างกฏบัตรอาเซียน ซึ่งจะช่วยกำหนดกรอบกติกาในการดำเนินงานของอาเซียน เพื่อให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพและมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (people — centered ASEAN)
นอกจากนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศจะร่วมกันหารือในประเด็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อภูมิภาค เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม การจัดการภัยพิบัติ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การลดช่องว่างในการพัฒนา การเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 โดยประเทศไทยจะใช้โอกาสนี้ผลักดันความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเงินในภูมิภาคอีกด้วย
ในด้านการเมืองและความมั่นคง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการระดับรัฐมนตรีสนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEANWFZ Commission) เพื่อพิจารณาทบทวนการดำเนินงานภายหลังจากสนธิสัญญาครบ 10 ปี
นอกจากนี้ฝ่ายไทยจะเสนอชื่อของ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อย่างเป็นทางการในที่ประชุมใหญ่เพื่อให้ความเห็นชอบในการเข้าดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน ซึ่งกำหนดเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มกราคม 2551 โดยมีวาระการทำงาน 5 ปี
2. การเยือนฟิลิปปินส์อย่างเป็นทางการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดการเยือนฟิลิปปินส์อย่างเป็นทางการ (official visit) ในระหว่างวันที่ 2 — 3 สิงหาคม 2550 ตามคำเชิญของนายอัลเบอร์โต กัตไมตัน โรมูโล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ ต่อเนื่องจากการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและประเทศคู่เจรจา และการประชุม ASEAN Regional Forum (ARF) ที่กรุงมะนิลา
การเยือนฟิลิปปินส์ของรัฐมนตรีว่าการฯ ครั้งนี้ จะมีการหารือด้านความร่วมมือทางความมั่นคง รวมทั้งแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในภูมิภาคที่ทั้งสองฝ่ายมีความสนใจร่วมกัน อีกทั้งยังเป็นโอกาสดีที่จะติดตามผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย — ฟิลิปปินส์ ครั้งที่ 4 (The Fourth Meeting of the Joint Commission for Bilateral Cooperation) เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2550 ที่กรุงเทพฯ
ระหว่างการเยือน รัฐมนตรีว่าการฯ มีกำหนดการสำคัญ ๆ ได้แก่ (1) การวางพวงมาลาที่อนุสาวรีย์รีซาล (Rizal Monument) เพื่อไว้อาลัยแก่นายโฮเซ รีซาล วีรบุรุษฟิลิปปินส์ที่ต่อสู้ให้ฟิลิปปินส์ได้รับเอกราชจากอาณานิคมสเปนเมื่อปี 2441 (ค.ศ.1898) ซึ่งแสดงถึงการให้เกียรติของรัฐบาลฟิลิปปินส์ต่อผู้แทนระดับสูงของรัฐบาลต่างประเทศที่มาเยือนฟิลิปปินส์อย่างเป็นทางการ (2) การหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ (3) การเข้าเยี่ยมคารวะประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา และ (4) การรับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการแบ่งแยกดินแดนในเกาะมินดาเนา
3. ทศวรรษที่สองของความร่วมมือในกรอบอาเซียน+3: ทิศทางที่ชัดเจนขึ้น
ความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี หรือที่รู้จักในชื่อกรอบความร่วมมืออาเซียน+ 3 ที่เริ่มต้นขึ้นในปี 2540 จะครบรอบ 10 ปี ในเดือนธันวาคมปีนี้ ทั้งนี้ เพื่อเฉลิมฉลองการก้าวสู่ทศวรรษใหม่ ผู้นำอาเซียน + 3 จึงมีความคิดร่วมกันที่จะกำหนดทิศทางของความร่วมมือในกรอบนี้ให้ชัดเจนขึ้นเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนในภูมิภาคในทศวรรษหน้า โดยในเดือนพฤศจิกายน 2550 ผู้นำอาเซียน + 3 จะร่วมกันออกแถลงการณ์ว่าด้วยความร่วมมือเอเชียตะวันออกฉบับที่ 2
เพื่อพิจารณาร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ดังกล่าว จีนและฟิลิปปินส์ได้เป็นเจ้าภาพร่วมกันจัดการประชุมระดับอธิบดีอาเซียน + 3 ณ เมืองกุ้ยหยาง มณฑลกุ้ยโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 10 — 11 กรกฏาคม 2550 ในการนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในการกำหนดกรอบความร่วมมือในร่างแถลงการณ์ 4 ด้าน ได้แก่ 1. ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง 2. ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการเงิน 3. ความร่วมมือด้านพลังงาน และ 4. ความร่วมมือด้านการพัฒนาสังคมและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม
ในการประชุมครั้งนี้ ไทยได้เสนอแนวทาง 3 ประการเพื่อบรรลุเป้าหมายของแถลงการณ์ร่วมฯ คือ (1) การประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างเวทีการประชุมต่าง ๆ ในกรอบอาเซียน + 3 (2) การจัดตั้งกองทุนความร่วมมือเพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ และ (3) การยกระดับความสำคัญของการประชุมอธิบดีอาเซียน + 3 ในฐานะที่เป็นกลไกหลักในการประสานงาน
นอกจากนี้ ในที่ประชุม ประเทศไทยยังได้ผลักดันให้มีการจัดงานสัปดาห์เอเชียตะวันออกและเมืองวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ 10 ปีของความสัมพันธ์กรอบอาเซียน + 3 ในช่วงปลายปี 2550 โดยงานดังกล่าวจะจัดขึ้นที่ประเทศไทยและประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ เวทีผู้นำเยาวชนเอเชียตะวันออก เวทีสื่อมวลชนเอเชียตะวันออก การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องบทบาทของภาพยนตร์ต่อการส่งเสริมเอเชียตะวันออก และถนนวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก
4. สมาคมไทย-มาเลเซีย มอบทุนการศึกษา 112 ทุน แก่นักเรียนนักศึกษาในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
สมาคมไทย-มาเลเซีย (Thai-Malaysian Association) จะมอบทุนการศึกษาจำนวน 112 ทุน แก่นักเรียน นักศึกษาที่ขาดทุนทรัพย์ในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สงขลา สตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส) ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อาชีวะศึกษา และอุดมศึกษา ทุนการศึกษาดังกล่าวจัดสรรจากกองทุนเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ในภาคใต้ของไทยและภาคเหนือของมาเลเซีย (Human Resource Development Fund) ประจำปี 2550 ของสมาคมไทย-มาเลเซีย
กระทรวงการต่างประเทศ ได้ขอความอนุเคราะห์ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ. บต.) ประสานกับสถาบันการศึกษาในพื้นที่คัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อรับทุนการศึกษาดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วยค่าเล่าเรียนตลอดปีการศึกษาและค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,753,740 บาท
ทั้งนี้ อดีตเอกอัครราชทูต นิสสัย เวชชาชีวะ นายกสมาคมไทย-มาเลเซีย และนายจริย์วัฒน์ สันตะบุตร รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศจะเข้าร่วมในพิธีมอบทุนการศึกษาที่จะจัดขึ้น ณ ศาลากลางจังหวัดสงขลา
สมาคมไทย-มาเลเซียจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2541 ตามดำริของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยและมาเลเซียในขณะนั้น (ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ และดาโต๊ะ อับดุลลาห์ อาหมัด บัดดาวี) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นช่องทางในการส่งเสริมความเข้าใจ การเรียนรู้ และความสัมพันธ์อันใกล้ชิดในระดับประชาชนระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซีย
5. การจัดงานเลี้ยงรับรองเพื่อเฉลิมฉลองการครบรอบ 60 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-อินเดีย
ในวันที่ 3 สิงหาคม 2550 กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทยจะจัดงานเลี้ยงรับรอง ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมตลอดเกือบ 1 ปีที่ดำเนินการมา เพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 60 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-อินเดีย ซึ่งเวียนมาบรรจบในวันที่ 1 สิงหาคม 2550 ทั้งนี้ คาดว่าจะมีคณะทูตานุทูต นักวิชาการ นักธุรกิจ และสื่อมวลชนเข้าร่วมงานประมาณ 300-350 คน
ภายในงานดังกล่าว จะมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย ทั้งนี้ นอกจากงานเลี้ยงรับรองแล้ว จะมีการจัดแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองชุดพิเศษชื่อ Bharat Natyam ณ ห้องนราธิป การแสดงดังกล่าว เป็นนาฏศิลป์ดั้งเดิมของอินเดีย โดยผู้แสดง คือ นางสาว Srekala Bharath ศิลปินที่มีชื่อเสียงในอินเดีย นอกจากนี้ จะมีการนำอาหารอินเดียมาเผยแพร่ โดยสถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทยเป็นผู้สนับสนุน และการจัดนิทรรศการภาพถ่ายประวัติศาสตร์ไทย-อินเดีย บริเวณโถงหน้าวิเทศสโมสร เพื่อเผยแพร่เหตุการณ์สำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบอีกด้วย
6. รัฐบาลไทยบริจาคข้าวสารจำนวน 1,000 ตันให้แก่รัฐบาลจีนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ
เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2550 สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปักกิ่ง ได้แสดงความจำนงที่กระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่จะบริจาคข้าวสารจำนวน 1,000 ตันให้แก่รัฐบาลจีน เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบความเดือนร้อนในมณฑลที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติหลายครั้งติดต่อกันในปีนี้ ส่งผลกระทบต่อประชากรกว่า 1,565,000 คน โดยไทยพร้อมส่งมอบข้าวสารจำนวนดังกล่าวผ่านท่าเรือหวงผู่ ที่นครกวางโจว ในโอกาสแรก
7. รองผู้ว่ากรุงพนมเปญและคณะฯ เยือนไทย
กระทรวงการต่างประเทศได้รับแจ้งจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญว่า นาย Trac Thai Sieng รองผู้ว่ากรุงพนมเปญและคณะฯ มีกำหนดจะเดินทางเยือนประเทศไทยระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม — 3 สิงหาคม 2550 ตามโครงการเชิญผู้ว่ากรุงพนมเปญและคณะฯ เยือนไทยของสถานเอกอัครราชทูตฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความร่วมมือระหว่างกรุงพนมเปญกับกรุงเทพมหานคร ในด้านต่างๆ รวมทั้งการส่งเสริมการลงทุนจากไทยไปยังกัมพูชา
ในโอกาสนี้ รองผู้ว่ากรุงพนมเปญและคณะฯ มีกำหนดพบปะหารือกับรองผู้ว่ากรุงเทพมหานคร และศึกษาดูงานการบริหารของกรุงเทพมหานครและโครงการต่าง ๆ ที่น่าสนใจของกรุงเทพมหานคร
ภายหลังการแถลงข่าว นายธฤตฯ ได้ตอบคำถามสื่อมวลชน สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
- กรณีหนังสือพิมพ์ Strait Times ลงข่าวว่าสหรัฐฯ จะยกเลิกการทำ FTA กับไทย
นายธฤตฯ ชี้แจงว่า ตามที่หนังสือพิมพ์ Straits Times ออนไลน์ วันที่ 23 กรกฎาคม 2550 เสนอข่าวเรื่องเอกอัครราชทูต Susan Schwab ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ Straits Times ของสิงคโปร์ว่า รัฐบาลสหรัฐฯ จะยกเลิกการจัดทำความตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรี (FTA) กับประเทศไทย นั้น นายกฤษณ์ กาญจนกุญชร เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ได้โทรศัพท์หารือกับสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) และได้รับแจ้งว่า จากการตรวจสอบเทปสัมภาษณ์ของเอกอัครราชทูต Schwab ต่อหนังสือพิมพ์ Straits Times พบว่า หนังสือพิมพ์ดังกล่าวลงข่าวไม่ตรงกับการให้สัมภาษณ์กล่าวคือ เอกอัครราชทูต Schwab ให้สัมภาษณ์ว่า “การเจรจา FTA ไทย-สหรัฐฯ ได้ชะลอไปก่อนเหตุการณ์ 19 กันยายน และด้วยสถานการณ์ทางการเมืองของไทยขณะนี้ ทำให้สหรัฐฯ ยังไม่สามารถเจรจาฯ ต่อได้ แต่สหรัฐฯ จะไม่ยกเลิกการเจรจา FTA กับไทย (We have NOT given up having Free Trade Agreement with Thailand)“
- ปฏิกิริยาของประเทศต่างๆ ต่อกรณีเหตุการณ์ความวุ่นวายเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2550
นายธฤตฯ กล่าวว่ากระทรวงการต่างประเทศได้แจ้งข้อเท็จจริงและแนวทางชี้แจงต่างๆ ให้สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของไทยทั่วโลกให้ทราบเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ การให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ เป็นการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องตลอดมาของกระทรวงฯ และเอกอัครราชทูตได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้ช่วยทูตทหาร และผู้ช่วยทูตพาณิชย์ ร่วมกันชี้แจงทำความเข้าใจ
สำหรับปฏิกิริยาตอบรับของสื่อต่างประเทศ นายธฤตฯ ชี้แจงว่า จากการติตตามข่าวสารของสื่อต่างประเทศตั้งแต่วันจันทร์ที่ผ่านมา ข่าวส่วนใหญ่เป็นการสะท้อนข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในส่วนของรัฐบาลต่างประเทศนั้น โดยภาพรวม ไม่มีรัฐบาลไหน “ติดใจ” เกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว แต่มีความเป็นไปได้ว่า รัฐบาลบางประเทศอาจมีประกาศเตือนประชาชนของตนให้ระมัดระวังตัวระหว่างที่พำนักอยู่ในประเทศไทย ซึ่งเป็นไปตามแนวทางปฏิบัติตามปกติของรัฐบาล
- การขอเข้ามาสังเกตการณ์การเลือกตั้งของ EU
นายธฤตฯ ชี้แจงว่าได้รับทราบว่า EU แสดงความสนใจในการเข้ามาร่วมสังเกตการณ์การเลือกตั้งของไทย อย่างไรก็ดี การเข้าร่วมการสังเกตการณ์ต้องได้รับคำเชิญจากประเทศไทย ซึ่ง ทั้ง รัฐบาลและกกต. จะเป็นผู้พิจารณา สำหรับการพิจารณาว่าจะเชิญองค์การต่างประเทศใด ๆ เข้ามาสังเกตการณ์เลือกตั้งหรือไม่ จะต้องมีการหารือกันต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-