ถึงเวลาประกาศวันเลือกตั้งที่แน่นอนได้แล้ว
โดย บัญญัติ บรรทัดฐาน
28 มิถุนายน 2550
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมได้เขียนวิเคราะห์วิจารณ์ถึงการแถลงของนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ ที่ได้แถลงแสดงความตั้งใจจะเลื่อนการเลือกตั้งให้เร็วขึ้นกว่าเดิม ซึ่งอาจจะเป็นวันที่ 25 พฤศจิกายน แทนที่จะเป็นปลายเดือนธันวาคม 2550 ตามที่ได้เคยแถลงไว้แต่เดิม
ผมได้บอกกล่าวเอาไว้ว่า หลายฝ่ายคงไม่ค่อยจะมั่นใจว่าจะเป็นไปได้จริง เพราะไม่ใช่ครั้งแรกที่แถลง ทั้งปัญหาและสถานการณ์ก็ยังไม่มีความลงตัวอยู่หลายเรื่อง และการขานรับของสภานิติบัญญัติในส่วนของการแก้ไขประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ฉบับที่ 15 เพื่อเร่งดำเนินการให้มีการจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ให้ได้ในเร็ววัน ก็ยังไม่มีความชัดเจนมากนัก และผมก็ได้บอกกล่าวต่อไปอีกว่า หากนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ มีความตั้งใจอย่างที่แถลงจริง ๆ รัฐบาล และองค์กรที่เกี่ยวข้องก็คงจะต้องทำอะไรอีกหลายเรื่องให้มากกว่าที่พูด
ปรากฎว่ารัฐบาลก็ได้ทำมากกว่าที่พูดไปแล้ว อย่างน้อยก็เรื่องหนึ่ง คือ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบจำนวนเงินที่ กกต. จะต้องใช้จ่ายเพื่อการจัดการเลือกตั้งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ในขณะเดียวกันนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์เองก็เริ่มแสดงความไม่แน่ใจว่า อาจไม่มีความพร้อมที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งได้ทันในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2550 และก็ยังยืนยันว่า การเลือกตั้งจะต้องมีขึ้นภายในธันวาคมปีนี้แน่นอน
ความจริงจะเป็นวันที่ 25 พฤศจิกายน หรือภายในธันวาคมปีนี้อย่างมากก็ห่างกันเพียงแค่เดือนเดียวเท่านั้นเอง
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงกลับไปกลับมาเช่นนี้ก็มีผลให้เกิดความรู้สึกไม่แน่ใจเกิดขึ้นได้ง่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต่อผู้คนที่อยู่ในภาคธุรกิจเอกชน ซึ่งดูจะมีความหวั่นไหวอยู่ตลอดเวลาถึงความไม่แน่นอนของการเมืองด้วยความรู้สึกว่าเป็นปัจจัยที่ได้ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก และมีความมั่นใจกันว่า การมีการเลือกตั้งจะลดผลกระทบลงได้มากทีเดียว
ผมเข้าใจว่านายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์เองก็คงจะตระหนักต่อผลกระทบดังกล่าวเป็นอย่างดี จึงพยายามยืนยันเรื่องจะมีการเลือกตั้งเรื่อยมา แม้กระทั่งในการเยือนประเทศอินเดีย เมื่อวันสองวันที่ผ่านมา ก็ยังได้กล่าวยืนยันอีกว่า ประเทศไทยจะมีการเลือกตั้งภายในเดือนธันวาคมปีนี้แน่นอน
เมื่อนายกรัฐมนตรีก็มีความเข้าใจเช่นที่ว่านี้ และทั้งในทางการเมือง การเลือกตั้งก็ยากแก่การที่จะเลื่อนไปให้ล่าช้าเกินไปกว่าภายในปี 2550 นี้ได้แล้ว เพราะถ้าขืนเป็นเช่นนั้นผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาจะมีมากมาย ทั้งต่อประเทศโดยรวมและต่อนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์เอง ซึ่งได้ประกาศยืนยันแล้วหลายครั้งหลายหน
ผมจึงมีความเห็นว่า นายกรัฐมนตรี ควรจะได้ร่วมปรึกษาหารือ กับผู้แทนองค์กรที่เกี่ยวข้อง ทั้ง กกต. สภาร่างรัฐธรรมนูญ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่ง เพื่อกำหนดวันเลือกตั้งที่มีความเป็นไปได้แน่นอน โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวทุกเงื่อนไข เช่นระยะเวลาในการจัดทำประชามติ ระยะเวลาที่ต้องใช้ในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง ระยะเวลาที่ คมช. และครม. จะต้องใช้ในการนำเอารัฐธรรมนูญที่เคยประกาศใช้แล้วฉบับใดฉบับหนึ่งมาปรับปรุงเพื่อประกาศใช้ในกรณีที่การจัดทำประชามติมีการออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบ และระยะเวลาในการนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญ รวมทั้งความพร้อมขององค์กรที่เกี่ยวข้องและบรรยากาศแวดล้อมที่เหมาะสมแล้วประกาศกำหนดวันเลือกตั้งที่แน่นอนให้เป็นที่รับทราบกันโดยทั่วไปเสียเลย
ผมมั่นใจว่า การประกาศกำหนดวันเลือกตั้งที่แน่นอนเช่นนี้ โดยให้เป็นที่เข้าใจว่า เมื่อถึงวันเวลาที่จะมีประกาศพระราชกฤษฎีกา กำหนดวันเลือกตั้งอย่างเป็นทางการจริง ๆ ก็คือวันที่ประกาศกำหนดนี่แหละจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้นโดยทั่วไปอย่างมหาศาล และมีแต่จะก่อให้เกิดผลดีแก่ประเทศของเราในทุกด้าน กล่าวคือ
1. ประเทศไทยในสายตาต่างประเทศ โดยทั่วไปจะดีขึ้น บางประเทศที่กำลังจับตาดูประเทศไทยด้วยความไม่เข้าใจ และไม่มั่นใจก็จะได้เกิดความมั่นใจ และจะเป็นการลดภาระของกระทรวงการต่างประเทศในการชี้แจงทำความเข้าใจ
2. จะก่อให้เกิดความมั่นใจต่อผู้คนในภาคธุรกิจเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต่อนักลงทุนทั้งภายในและภายนอกประเทศซึ่งต่างก็มีความหวั่นไหวไม่มั่นใจต่อสถานการณ์ในทางการเมืองมาโดยตลอด เมื่อทิศทางทางการเมืองมีความแน่นอนขึ้นเช่นนี้ การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจก็จะมีเพิ่มขึ้นย่อมจะเป็นผลดีในทางเศรษฐกิจด้วย
3. สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศจะคลี่คลายไปในทางดีขึ้น เพราะเมื่อประชาชนโดยทั่วไปทราบวันเวลาที่จะมีการเลือกตั้งที่แน่นอน ก็ย่อมจะมีผลในการลดเงื่อนไขการชุมนุมของกลุ่มผู้ชุมนุม และในขณะเดียวกันกลุ่มการเมืองต่าง ๆ ที่ประสงค์จะรวมตัวกันเพื่อจัดตั้งพรรคการเมืองส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งก็จะเร่งรวมตัวเพื่อให้เกิดความพร้อมต่อสถานการณ์ที่ชัดเจนขึ้นแล้ว ซึ่งมีผลให้ปัญหากลุ่มการเมืองและพรรคการเมืองเข้ามาอยู่ในระบบ และเดินไปตามระบบนั่นเอง
ที่สำคัญก็คือ องค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งรัฐบาล สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และ กกต. ควรจะได้ร่วมมือกันดำเนินการให้พรรคการเมืองที่ประสงค์จะจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ สามารถดำเนินการได้โดยไม่ชักช้า
4. สถานการณ์ทางการเมืองที่คลี่คลายขึ้น และเริ่มเดินไปตามระบบโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเดินไปสู่การเลือกตั้งที่กำหนดวันเลือกตั้งไว้แล้วอย่างชัดเจนจะช่วยให้การจัดทำประชามติเพื่อการให้ความเห็นชอบรัฐธรรมนูญใหม่ เป็นได้ด้วยความราบรื่นมากยิ่งขึ้น หากเนื้อหาสาระที่จะเป็นประเด็นข้อขัดแย้ง ไม่มีมากจนเกินไป และหากจะมีการรณรงค์สร้างความเข้าใจอย่างทั่วถึง
ผมจึงมีความมั่นใจว่า ถึงเวลาที่จะต้องประกาศวันเลือกตั้งที่แน่นอนได้แล้วตั้งแต่บัดนี้ เพราะจะช่วยให้ทุกอย่างดีขึ้นจะช้าเร็วกว่ากันสักเดือนหนึ่ง หรือสองเดือนใม่ใช่ปัญหา ปัญหาก็คือความพร้อมของทุกองค์กรที่เกี่ยวข้องที่จะต้องเดินไปในทิศทางเดียวกัน และเห็นความสำคัญในเรื่องนี้อย่างแท้จริง ด้วยการเร่งตระเตรียมความพร้อมของแต่ละองค์กร เร่งสร้างบรรยากาศของการเตรียมการเลือกตั้งให้เป็นที่ปรากฎและเร่งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อประชาชน โดยอาศัยบทเรียนแห่งความล้มเหลวที่ผ่านมาอย่างคุ้มค่าแล้วทุกอย่างจะดีขึ้นอย่างแน่นอน.
*******************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 28 มิ.ย. 2550--จบ--
โดย บัญญัติ บรรทัดฐาน
28 มิถุนายน 2550
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมได้เขียนวิเคราะห์วิจารณ์ถึงการแถลงของนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ ที่ได้แถลงแสดงความตั้งใจจะเลื่อนการเลือกตั้งให้เร็วขึ้นกว่าเดิม ซึ่งอาจจะเป็นวันที่ 25 พฤศจิกายน แทนที่จะเป็นปลายเดือนธันวาคม 2550 ตามที่ได้เคยแถลงไว้แต่เดิม
ผมได้บอกกล่าวเอาไว้ว่า หลายฝ่ายคงไม่ค่อยจะมั่นใจว่าจะเป็นไปได้จริง เพราะไม่ใช่ครั้งแรกที่แถลง ทั้งปัญหาและสถานการณ์ก็ยังไม่มีความลงตัวอยู่หลายเรื่อง และการขานรับของสภานิติบัญญัติในส่วนของการแก้ไขประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ฉบับที่ 15 เพื่อเร่งดำเนินการให้มีการจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ให้ได้ในเร็ววัน ก็ยังไม่มีความชัดเจนมากนัก และผมก็ได้บอกกล่าวต่อไปอีกว่า หากนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ มีความตั้งใจอย่างที่แถลงจริง ๆ รัฐบาล และองค์กรที่เกี่ยวข้องก็คงจะต้องทำอะไรอีกหลายเรื่องให้มากกว่าที่พูด
ปรากฎว่ารัฐบาลก็ได้ทำมากกว่าที่พูดไปแล้ว อย่างน้อยก็เรื่องหนึ่ง คือ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบจำนวนเงินที่ กกต. จะต้องใช้จ่ายเพื่อการจัดการเลือกตั้งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ในขณะเดียวกันนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์เองก็เริ่มแสดงความไม่แน่ใจว่า อาจไม่มีความพร้อมที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งได้ทันในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2550 และก็ยังยืนยันว่า การเลือกตั้งจะต้องมีขึ้นภายในธันวาคมปีนี้แน่นอน
ความจริงจะเป็นวันที่ 25 พฤศจิกายน หรือภายในธันวาคมปีนี้อย่างมากก็ห่างกันเพียงแค่เดือนเดียวเท่านั้นเอง
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงกลับไปกลับมาเช่นนี้ก็มีผลให้เกิดความรู้สึกไม่แน่ใจเกิดขึ้นได้ง่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต่อผู้คนที่อยู่ในภาคธุรกิจเอกชน ซึ่งดูจะมีความหวั่นไหวอยู่ตลอดเวลาถึงความไม่แน่นอนของการเมืองด้วยความรู้สึกว่าเป็นปัจจัยที่ได้ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก และมีความมั่นใจกันว่า การมีการเลือกตั้งจะลดผลกระทบลงได้มากทีเดียว
ผมเข้าใจว่านายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์เองก็คงจะตระหนักต่อผลกระทบดังกล่าวเป็นอย่างดี จึงพยายามยืนยันเรื่องจะมีการเลือกตั้งเรื่อยมา แม้กระทั่งในการเยือนประเทศอินเดีย เมื่อวันสองวันที่ผ่านมา ก็ยังได้กล่าวยืนยันอีกว่า ประเทศไทยจะมีการเลือกตั้งภายในเดือนธันวาคมปีนี้แน่นอน
เมื่อนายกรัฐมนตรีก็มีความเข้าใจเช่นที่ว่านี้ และทั้งในทางการเมือง การเลือกตั้งก็ยากแก่การที่จะเลื่อนไปให้ล่าช้าเกินไปกว่าภายในปี 2550 นี้ได้แล้ว เพราะถ้าขืนเป็นเช่นนั้นผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาจะมีมากมาย ทั้งต่อประเทศโดยรวมและต่อนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์เอง ซึ่งได้ประกาศยืนยันแล้วหลายครั้งหลายหน
ผมจึงมีความเห็นว่า นายกรัฐมนตรี ควรจะได้ร่วมปรึกษาหารือ กับผู้แทนองค์กรที่เกี่ยวข้อง ทั้ง กกต. สภาร่างรัฐธรรมนูญ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่ง เพื่อกำหนดวันเลือกตั้งที่มีความเป็นไปได้แน่นอน โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวทุกเงื่อนไข เช่นระยะเวลาในการจัดทำประชามติ ระยะเวลาที่ต้องใช้ในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง ระยะเวลาที่ คมช. และครม. จะต้องใช้ในการนำเอารัฐธรรมนูญที่เคยประกาศใช้แล้วฉบับใดฉบับหนึ่งมาปรับปรุงเพื่อประกาศใช้ในกรณีที่การจัดทำประชามติมีการออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบ และระยะเวลาในการนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญ รวมทั้งความพร้อมขององค์กรที่เกี่ยวข้องและบรรยากาศแวดล้อมที่เหมาะสมแล้วประกาศกำหนดวันเลือกตั้งที่แน่นอนให้เป็นที่รับทราบกันโดยทั่วไปเสียเลย
ผมมั่นใจว่า การประกาศกำหนดวันเลือกตั้งที่แน่นอนเช่นนี้ โดยให้เป็นที่เข้าใจว่า เมื่อถึงวันเวลาที่จะมีประกาศพระราชกฤษฎีกา กำหนดวันเลือกตั้งอย่างเป็นทางการจริง ๆ ก็คือวันที่ประกาศกำหนดนี่แหละจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้นโดยทั่วไปอย่างมหาศาล และมีแต่จะก่อให้เกิดผลดีแก่ประเทศของเราในทุกด้าน กล่าวคือ
1. ประเทศไทยในสายตาต่างประเทศ โดยทั่วไปจะดีขึ้น บางประเทศที่กำลังจับตาดูประเทศไทยด้วยความไม่เข้าใจ และไม่มั่นใจก็จะได้เกิดความมั่นใจ และจะเป็นการลดภาระของกระทรวงการต่างประเทศในการชี้แจงทำความเข้าใจ
2. จะก่อให้เกิดความมั่นใจต่อผู้คนในภาคธุรกิจเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต่อนักลงทุนทั้งภายในและภายนอกประเทศซึ่งต่างก็มีความหวั่นไหวไม่มั่นใจต่อสถานการณ์ในทางการเมืองมาโดยตลอด เมื่อทิศทางทางการเมืองมีความแน่นอนขึ้นเช่นนี้ การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจก็จะมีเพิ่มขึ้นย่อมจะเป็นผลดีในทางเศรษฐกิจด้วย
3. สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศจะคลี่คลายไปในทางดีขึ้น เพราะเมื่อประชาชนโดยทั่วไปทราบวันเวลาที่จะมีการเลือกตั้งที่แน่นอน ก็ย่อมจะมีผลในการลดเงื่อนไขการชุมนุมของกลุ่มผู้ชุมนุม และในขณะเดียวกันกลุ่มการเมืองต่าง ๆ ที่ประสงค์จะรวมตัวกันเพื่อจัดตั้งพรรคการเมืองส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งก็จะเร่งรวมตัวเพื่อให้เกิดความพร้อมต่อสถานการณ์ที่ชัดเจนขึ้นแล้ว ซึ่งมีผลให้ปัญหากลุ่มการเมืองและพรรคการเมืองเข้ามาอยู่ในระบบ และเดินไปตามระบบนั่นเอง
ที่สำคัญก็คือ องค์กรที่เกี่ยวข้องทั้งรัฐบาล สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และ กกต. ควรจะได้ร่วมมือกันดำเนินการให้พรรคการเมืองที่ประสงค์จะจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ สามารถดำเนินการได้โดยไม่ชักช้า
4. สถานการณ์ทางการเมืองที่คลี่คลายขึ้น และเริ่มเดินไปตามระบบโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเดินไปสู่การเลือกตั้งที่กำหนดวันเลือกตั้งไว้แล้วอย่างชัดเจนจะช่วยให้การจัดทำประชามติเพื่อการให้ความเห็นชอบรัฐธรรมนูญใหม่ เป็นได้ด้วยความราบรื่นมากยิ่งขึ้น หากเนื้อหาสาระที่จะเป็นประเด็นข้อขัดแย้ง ไม่มีมากจนเกินไป และหากจะมีการรณรงค์สร้างความเข้าใจอย่างทั่วถึง
ผมจึงมีความมั่นใจว่า ถึงเวลาที่จะต้องประกาศวันเลือกตั้งที่แน่นอนได้แล้วตั้งแต่บัดนี้ เพราะจะช่วยให้ทุกอย่างดีขึ้นจะช้าเร็วกว่ากันสักเดือนหนึ่ง หรือสองเดือนใม่ใช่ปัญหา ปัญหาก็คือความพร้อมของทุกองค์กรที่เกี่ยวข้องที่จะต้องเดินไปในทิศทางเดียวกัน และเห็นความสำคัญในเรื่องนี้อย่างแท้จริง ด้วยการเร่งตระเตรียมความพร้อมของแต่ละองค์กร เร่งสร้างบรรยากาศของการเตรียมการเลือกตั้งให้เป็นที่ปรากฎและเร่งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อประชาชน โดยอาศัยบทเรียนแห่งความล้มเหลวที่ผ่านมาอย่างคุ้มค่าแล้วทุกอย่างจะดีขึ้นอย่างแน่นอน.
*******************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 28 มิ.ย. 2550--จบ--