นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยถึงผลการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังอาเซมในปี 2550 (ASEM Finance Deputies’ Meeting — 2007 FDM) ระหว่างวันที่ 14 - 15 มิถุนายน 2550 ณ เมือง Muju สาธารณรัฐเกาหลี โดยสรุป ดังนี้
1. การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสฯ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมการด้านสารัตถะสำหรับการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซม ครั้งที่ 8 ในปี 2551 ณ สาธารณรัฐเกาหลี และประธานในที่ประชุมได้แจ้งให้ทราบว่าในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซม ครั้งที่ 8 (Asia-Europe Foreign Ministerial Meeting — FMM 8) เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2550 ณ สหพันธรัฐเยอรมนี ที่ประชุมได้มีมติรับประเทศในภูมิภาคเอเชียและยุโรปเข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซมเพิ่มอีก 5 ประเทศ กับ 1 องค์กร ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน มองโกเลีย บัลแกเรีย โรมาเนีย และสำนักเลขาธิการอาเซียน (ประเทศสมาชิกอาเซมเดิมมี 39 สมาชิก ประกอบด้วย 38 ประเทศ และ1 องค์กร คือ คณะกรรมาธิการยุโรป) ทำให้ ณ ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซมรวมทั้งสิ้น 45 สมาชิก (43 ประเทศ กับ 2 องค์กร) โดยการประชุมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมการประชุมจากสมาชิกอาเซม 35 สมาชิกจาก 45 สมาชิก
2. ในการประชุมครั้งนี้ ที่ประชุมได้หารือในประเด็นต่างๆ ได้แก่
(1) การพัฒนาการเงินและเศรษฐกิจมหภาคระดับโลกและภูมิภาค (Global and Regional Macroeconomic and Financial Development) โดยได้มีการรายงานสภาวะเศรษฐกิจโลกจากผู้แทนกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารโลก และคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปว่า แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง แต่เศรษฐกิจโลกยังคงมีอัตราการเจริญเติบโตในระดับที่แข็งแกร่ง ซึ่งคาดว่าในปี 2550 อยู่ที่ระดับร้อยละ 5.3 ลดลงจากร้อยละ 5.8 ในปี 2549 ทั้งนี้ มีผลมาจากเศรษฐกิจของเอเชียและยุโรปที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกยังคงมีแนวโน้มที่ดี โดยในปี 2551 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.4
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รับทราบเรื่องปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อภาวะเศรษฐกิจโลกอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ผลกระทบจากการไหลเข้าของเงินทุน และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมากในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงผลกระทบความไม่สมดุลของภาวะเศรษฐกิจโลก เป็นต้น ดังนั้น ผู้ที่กำหนดนโยบายทางด้านการเงินควรที่จะเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นอย่างไม่ได้คาดคิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียนั้นควรที่จะสร้างฐานเศรษฐกิจที่มั่นคง โดยอาศัยความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดจากความผันผวนของการเคลื่อนย?ยเงินทุน
(2) การดำเนินงานของกองทุนอาเซม 2 (Review of the ASEM Trust Fund II) ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ทั้งนี้ ได้มี การประชุมพิธีปิดกองทุนอาเซม (ASEM Asian Financial Crisis Response Trust Fund) โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและประสบการณ์จากการดำเนินงานของกองทุนและในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสฯ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้กล่าวรายงานสรุปผลการดำเนินงานของโครงการต่างๆ ภายใต้กองทุนอาเซมระยะที่ 2 รวม 11 โครงการ จำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 6.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยประเทศไทยได้จัดตั้ง In-Country Steering Committee ทำหน้าที่กำกับดูแล ติดตามและแก้ไขการดำเนินการของโครงการดังกล่าว
นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปได้เสนอ Concept Paper เรื่อง A Facility to Support Dialogue within ASEM เพื่อเป็นโครงการความร่วมมือแทนโครงการ ASEM Trust Fund โดยจะสนับสนุนด้านการเงินในรูปแบบการจัดประชุมและการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเป็นหลัก โครงการที่ได้รับความสนับสนุนจะเน้นในระดับภูมิภาค 4 ด้านหลัก ประกอบด้วย ด้านเศรษฐกิจการเงิน ด้านการจ้างงานและสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และ ด้านวัฒนธรรม โดยมีวงเงินเริ่มต้นโครงการรวม 2 ล้านเหรียญยูโร
(3) งานฉลองครบรอบ 50 ปีของการลงนามในสนธิสัญญาโรม (Marking of the 50th Anniversary of Signing the Treaties of Rome) ในโอกาสครบรอบ 50 ปีของการลงนามในสนธิสัญญาโรม ทั้งสองภูมิภาคได้รายงานความคืบหน้าของการรวมตัวในภูมิภาค รวมทั้งปัจจัยท้าทายใหม่ๆ ในอนาคต เช่น การค้าเสรีในเอเชียตะวันออก (East Asia Free Trade Area: EAFTA)
นอกจากนี้ นางพรรณี สถาวโรดม กล่าวว่าในการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซม ครั้งที่ 8 ในปี 2551 จะมีการหารือใน 3 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) Lessons learned from economic integration in Europe and consequent implications for Asia 2) Market-oriented approaches to cope with natural disasters/environmental change/energy crisis และ 3) Infrastructure finance and microfinance โดยก่อนหน้าการประชุมดังกล่าว สาธารณรัฐเกาหลีจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ASEM Technical Working Group Meeting ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2551 และการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังอาเซม ครั้งที่ 2 ก่อนการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซม ครั้งที่ 8 ซึ่งคาดว่าจะจัดขึ้นในช่วงกลางปี 2551 ณ สาธารณรัฐเกาหลี
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 54/2550 26 มิถุนายน 50--
1. การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสฯ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมการด้านสารัตถะสำหรับการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซม ครั้งที่ 8 ในปี 2551 ณ สาธารณรัฐเกาหลี และประธานในที่ประชุมได้แจ้งให้ทราบว่าในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซม ครั้งที่ 8 (Asia-Europe Foreign Ministerial Meeting — FMM 8) เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2550 ณ สหพันธรัฐเยอรมนี ที่ประชุมได้มีมติรับประเทศในภูมิภาคเอเชียและยุโรปเข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซมเพิ่มอีก 5 ประเทศ กับ 1 องค์กร ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน มองโกเลีย บัลแกเรีย โรมาเนีย และสำนักเลขาธิการอาเซียน (ประเทศสมาชิกอาเซมเดิมมี 39 สมาชิก ประกอบด้วย 38 ประเทศ และ1 องค์กร คือ คณะกรรมาธิการยุโรป) ทำให้ ณ ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซมรวมทั้งสิ้น 45 สมาชิก (43 ประเทศ กับ 2 องค์กร) โดยการประชุมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมการประชุมจากสมาชิกอาเซม 35 สมาชิกจาก 45 สมาชิก
2. ในการประชุมครั้งนี้ ที่ประชุมได้หารือในประเด็นต่างๆ ได้แก่
(1) การพัฒนาการเงินและเศรษฐกิจมหภาคระดับโลกและภูมิภาค (Global and Regional Macroeconomic and Financial Development) โดยได้มีการรายงานสภาวะเศรษฐกิจโลกจากผู้แทนกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารโลก และคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปว่า แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง แต่เศรษฐกิจโลกยังคงมีอัตราการเจริญเติบโตในระดับที่แข็งแกร่ง ซึ่งคาดว่าในปี 2550 อยู่ที่ระดับร้อยละ 5.3 ลดลงจากร้อยละ 5.8 ในปี 2549 ทั้งนี้ มีผลมาจากเศรษฐกิจของเอเชียและยุโรปที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกยังคงมีแนวโน้มที่ดี โดยในปี 2551 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.4
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รับทราบเรื่องปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อภาวะเศรษฐกิจโลกอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ผลกระทบจากการไหลเข้าของเงินทุน และการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจำนวนมากในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงผลกระทบความไม่สมดุลของภาวะเศรษฐกิจโลก เป็นต้น ดังนั้น ผู้ที่กำหนดนโยบายทางด้านการเงินควรที่จะเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นอย่างไม่ได้คาดคิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียนั้นควรที่จะสร้างฐานเศรษฐกิจที่มั่นคง โดยอาศัยความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดจากความผันผวนของการเคลื่อนย?ยเงินทุน
(2) การดำเนินงานของกองทุนอาเซม 2 (Review of the ASEM Trust Fund II) ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ทั้งนี้ ได้มี การประชุมพิธีปิดกองทุนอาเซม (ASEM Asian Financial Crisis Response Trust Fund) โดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและประสบการณ์จากการดำเนินงานของกองทุนและในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสฯ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้กล่าวรายงานสรุปผลการดำเนินงานของโครงการต่างๆ ภายใต้กองทุนอาเซมระยะที่ 2 รวม 11 โครงการ จำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 6.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยประเทศไทยได้จัดตั้ง In-Country Steering Committee ทำหน้าที่กำกับดูแล ติดตามและแก้ไขการดำเนินการของโครงการดังกล่าว
นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปได้เสนอ Concept Paper เรื่อง A Facility to Support Dialogue within ASEM เพื่อเป็นโครงการความร่วมมือแทนโครงการ ASEM Trust Fund โดยจะสนับสนุนด้านการเงินในรูปแบบการจัดประชุมและการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเป็นหลัก โครงการที่ได้รับความสนับสนุนจะเน้นในระดับภูมิภาค 4 ด้านหลัก ประกอบด้วย ด้านเศรษฐกิจการเงิน ด้านการจ้างงานและสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และ ด้านวัฒนธรรม โดยมีวงเงินเริ่มต้นโครงการรวม 2 ล้านเหรียญยูโร
(3) งานฉลองครบรอบ 50 ปีของการลงนามในสนธิสัญญาโรม (Marking of the 50th Anniversary of Signing the Treaties of Rome) ในโอกาสครบรอบ 50 ปีของการลงนามในสนธิสัญญาโรม ทั้งสองภูมิภาคได้รายงานความคืบหน้าของการรวมตัวในภูมิภาค รวมทั้งปัจจัยท้าทายใหม่ๆ ในอนาคต เช่น การค้าเสรีในเอเชียตะวันออก (East Asia Free Trade Area: EAFTA)
นอกจากนี้ นางพรรณี สถาวโรดม กล่าวว่าในการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซม ครั้งที่ 8 ในปี 2551 จะมีการหารือใน 3 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) Lessons learned from economic integration in Europe and consequent implications for Asia 2) Market-oriented approaches to cope with natural disasters/environmental change/energy crisis และ 3) Infrastructure finance and microfinance โดยก่อนหน้าการประชุมดังกล่าว สาธารณรัฐเกาหลีจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ASEM Technical Working Group Meeting ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2551 และการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังอาเซม ครั้งที่ 2 ก่อนการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซม ครั้งที่ 8 ซึ่งคาดว่าจะจัดขึ้นในช่วงกลางปี 2551 ณ สาธารณรัฐเกาหลี
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 54/2550 26 มิถุนายน 50--