ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. การคุ้มครองเงินฝากไม่เกิน 1 ล้าน จะมีผลกลางปี 55 หากร่าง พรบ.คุ้มครองเงินฝากผ่าน สนช. นายไพโรจน์ เฮงสกุล
ผู้ช่วยผู้ว่าการสายจัดการกองทุน ธปท. เปิดเผยถึงระยะเวลาในการคุ้มครองเงินฝากของผู้ฝากเงินกรณีที่ร่าง พรบ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก
ผ่านความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แล้วว่า จะเริ่มจำกัดวงเงินคุ้มครองเงินฝากไม่เกิน 1 ล้านบาท ต่อคนต่อธนาคารในปีที่ 5
ภายหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการคุ้มครองเงินฝากจะกำหนดให้จัดตั้งสถาบัน
คุ้มครองเงินฝากให้เสร็จภายใน 180 วัน ภายหลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งหลังจากจัดตั้งปีแรกสถาบันฯ จะยังคุ้มครองเงินฝากเต็ม
จำนวน ก่อนที่จะเริ่มปรับลดเหลือคุ้มครองเงินฝาก 50 ล้านบาทในปีที่สอง หากไม่มีเหตุการณ์ผิดปกติ และทยอยลดเหลือ 25 ล้านบาท
10 ล้านบาท และ 1 ล้านบาท ในที่สุด อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ต้องกำหนดวงเงินคุ้มครองเงินฝากไม่เกิน 1 ล้านบาท
แล้ว อาจทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินฝากบ้างแต่มีจำนวนไม่ถึงร้อยละ 2 ของบัญชีเงินฝากทั้งหมด เนื่องจากบัญชีของผู้ฝากเงินรายใหญ่ที่มี
เงินฝากมากกว่า 1 ล้านบาท มีไม่ถึงร้อยละ 2 ของบัญชีเงินฝากทั้งหมด (กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท. กำลังพิจารณากำหนดแนวปฏิบัติในการติดตามทวงหนี้ของสถาบันการเงิน นายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบาย
สถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า กำลังเสนอเรื่องให้ผู้ว่าการ ธปท. พิจารณาเพื่อลงนามในประกาศคำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดแนวปฏิบัติในการ
ติดตามทวงหนี้ให้สถาบันการเงิน บริษัทบัตรเครดิต บริษัทปล่อยกู้ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ยึดถือเป็นกรอบในการปฏิบัติเพื่อไม่ให้สังคมเดือดร้อน
โดยหลักการสำคัญคือการกำหนดเป็นกรอบกว้าง ๆ ไม่ควรใช้วาจาข่มขู่หรือใช้วาจาไม่สุภาพ หรือแอบอ้าง หรือประจานให้ลูกค้าได้รับความเสียหาย
รวมถึงกำหนดการโทรศัพท์ติดตามต่อวันต่อครั้ง นอกจากนี้ จะมีการกำหนดกรอบปฏิบัติว่าผู้ประกอบการจะต้องมีการเปิดทางให้ลูกค้าได้ร้องเรียน
และในระยะยาวอาจจะมีการตั้งเป็นศูนย์กลางรับเรื่องราวร้องทุกข์ของลูกค้า เพราะแม้สินเชื่อบุคคลและบัตรเครดิตจะมีเพียง 3.6 แสนล้านบาท
หรือร้อยละ 3-4 ของสินเชื่อรวม แต่กำลังจะกลายเป็นปัญหาระดับชาติที่ต้องมีการวางระบบ (โพสต์ทูเดย์, มติชน)
3. ก.คลังเตรียมจัดตั้ง สนง.คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัด ก.คลัง
เปิดเผยภายหลังการประชุมกับอธิบดีกรมการประกันภัย และคณะทำงานเตรียมการจัด สนง.คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ
ประกันภัย (คปภ.) หลังจาก พรบ.คปภ. พ.ศ.2550 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาว่า พรบ.ดังกล่าวจะมีผลให้เกิดการโอนย้ายกรมการ
ประกันภัยมาสังกัด สนง.คปภ. และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ รมว.คลัง โดยมีปลัด ก.คลัง เป็นประธาน คปภ. ซึ่งในเบื้องต้นจะมีการ
ประชุมกรรมการที่เข้ามาเป็นกรรมการโดยตำแหน่งก่อน เพื่อวางหลักเกณฑ์เบื้องต้นในการสรรหาบุคคลมาดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
6 — 8 คน ส่วนงานในแง่นโยบายในการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยนั้นจะดำเนินการเมื่อมีคณะกรรมการครบสมบูรณ์แล้ว โดยคาดว่าจะจัด
ตั้งคณะกรรมการได้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน และวางหลักเกณฑ์สรรหาและดำเนินการสรรหาบุคคลมาดำรงตำแหน่งเลขาธิภาร คปภ.
ได้ภายใน 90 วัน โดยระหว่างนี้อธิบดีกรมการประกันภัยจะรักษาการในตำแหน่งเลขาธิการ คปภ. ไปก่อน (มติชน, โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้,
ผู้จัดการรายวัน)
4. ตลท. จะจัดงานไทยแลนด์โฟกัสดึงเงินลงทุนจากต่างประเทศเข้าไทย นางภัทรียา เบญจพลชัย กก.ผจก. ตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ตลท. จะจัดงาน ไทยแลนด์ โฟกัส ประจำปี 50 ระหว่างวันที่ 12 - 14 ก.ย.50 ที่โรงแรมพลาซ่า
แอทธินี กรุงเทพฯ เพื่อนำเสนอข้อมูลทั้งด้านเศรษฐกิจ การลงทุนมหภาค และนโยบายของภาครัฐในอนาคตให้แก่บริษัทจดทะเบียนทั้งในประเทศ
และต่างประเทศกว่า 60 บริษัท และกองทุนทั่วโลกรวม 180 แห่ง เข้ารับฟังข้อมูล โดยคาดว่าจะทำให้กองทุนทั่วโลกมีความมั่นใจเข้ามาลงทุน
ในไทยมากขึ้น จากปัจจุบันที่เข้ามาลงทุนประมาณ 3 แสนล้านบาท โดย พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นรม. จะมาปาฐกถาพิเศษนโยบายด้านการเมือง
ในหัวข้อ “This Government’s legacy for Thailland” ซึ่งจะนำเสนอนโยบายของภาครัฐที่จะดำเนินการต่อไป พร้อมกับหน่วยงานภาครัฐ
และเอกชนจากตลาดเงินและตลาดทุนเข้าร่วมนำเสนอข้อมูลด้วย (เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ธ.กลางยุโรปควรมีความพร้อมที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รายงานจากบรัสเซล เมื่อ
วันที่ 30 ส.ค. 50 Trade Union Confederation ของสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า ธ.กลางยุโรปควรมีความพร้อมที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย
นโยบายหากมีความจำเป็น เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจของยุโรปเติบโตท่ามกลางตลาดที่ชะลอตัวจากผลกระทบของวิกฤติอสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพของ
สรอ. ในขณะนี้ ทั้งนี้ ธ.กลางยุโรปจำเป็นต้องคงความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจโดยการส่งสัญญานว่าพร้อมที่จะปกป้องเศรษฐกิจและตลาดแรงงาน
ให้เติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัว โดยเมื่อต้นเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา ธ.กลางยุโรป
ได้ส่งสัญญาน ว่าจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันที่ 6 ก.ย. และตลาดคาดการณ์ว่าธ.กลางจะปรับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.25 อยู่ที่
ร้อยละ 4.25 อย่างไรก็ตามเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมานาย Jean-Claude Trichet กล่าวว่าความเห็นดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดวิกฤติ
อสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพซึ่งส่งผลกระทบต่อ ธพ.บางแห่งของเยอรมนีในขณะนี้ ทำให้คาดว่าในการประชุมนโยบายการเงินในสัปดาห์หน้า
ธ.กลางยุโรปจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับเดิม แต่จะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในช่วงปลายปีนี้ (รอยเตอร์)
2. ดัชนี PMI ของญี่ปุ่นในเดือน ส.ค.50 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนแต่ชี้ว่าภาคการผลิตของญี่ปุ่นหดตัวเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน
รายงานจากโตเกียว เมื่อ 31 ส.ค.50 ดัชนีชี้วัดภาคการผลิตของญี่ปุ่นจากผลสำรวจความเห็นของผู้บริหารฝ่ายจัดซื้อของผู้ผลิตมากกว่า 350 ราย
โดย NTC Research/Nomura/JMMA หรือที่เรียกว่า PMI เพิ่มขึ้นเล็กน้อยหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วมาอยู่ที่ระดับ 49.6 ในเดือน ส.ค.50
จากระดับ 49.0 ในเดือน ก.ค.50 แต่อย่างไรก็ดี ตัวเลขดังกล่าวยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 ซึ่งแสดงถึงการหดตัวเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน
เช่นเดียวกัน PMI ในส่วนที่ชี้วัดคำสั่งซื้อใหม่ทั้งจากในและต่างประเทศที่ยังอยู่ในเกณฑ์หดตัวโดยอยู่ที่ระดับ 47.3 ในเดือน ส.ค.50 เพิ่มขึ้น
เล็กน้อยจากระดับ 46.8 ในเดือนก่อน แต่ PMI ในส่วนของคำสั่งซื้อจากต่างประเทศชี้ว่าความต้องการจากต่างประเทศยังขยายตัว โดยดัชนี
เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 53.2 จากระดับ 52.0 ในเดือนก่อน จากการขยายตัวของคำสั่งซื้อรถยนต์ เสื้อผ้าและสินค้าสิ่งทออื่น ๆ ทั้งจากยุโรป
และอเมริกาเหนือ แม้ว่าวิกฤติสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ใน สรอ.จะไม่ส่งผลกระทบต่อตัวเลข PMI ครั้งนี้ แต่หากความวุ่นวายในตลาดการเงิน
ยังคงยื้อเยื้อต่อไปก็อาจส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงโดยส่งผลให้ความต้องการจากต่างประเทศทั้งจาก สรอ.เอเชียและยุโรปลดลง
ทั้งนี้ ตัวเลข PMI ข้างต้นชี้ว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ปีนี้มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 2 ซึ่งขยายตัวเพียงร้อยละ 0.5 หลังจาก
ขยายตัวถึงร้อยละ 3.2 ในไตรมาสแรก (รอยเตอร์)
3. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้ในเดือน ส.ค.50 จะชะลอตัวลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.4 ต่อปี รายงานจากโซล เมื่อ 30 ส.ค.50
ผลสำรวจรอยเตอร์คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้ในเดือน ส.ค.50 จะอยู่ที่ร้อยละ 2.4 ต่อปี ชะลอตัวจากร้อยละ 2.5 ต่อปีในเดือนก่อน
แต่หากเทียบต่อเดือนคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับเดือน ก.ค.50 โดยอัตราเงินเฟ้อต่อปีข้างต้นอยู่ในช่วงล่างของร้อยละ
2.5—3.5 ต่อปีที่ ธ.กลางเกาหลีใต้ตั้งเป้าไว้ไม่ให้อัตราเงินเฟ้อสูงเกินกว่านี้ หลังจากอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในปี 49 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 ต่อปี
แต่อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าอัตราเงินเฟ้ออาจสูงขึ้นอีกก่อนสิ้นปีนี้จากค่าเงินวอนที่ลดลงร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.จะส่งผล
ให้ราคาสินค้านำเข้าเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ ธ.กลางเกาหลีใต้ได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งติดต่อกันในเดือน ก.ค.และ ส.ค.50 ที่ผ่านมา
ทำให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5.0 ต่อปีสูงสุดในรอบ 6 ปีเพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อจากการขยายตัวของสินเชื่อและปริมาณเงินหมุนเวียน
ทั้งนี้ ธ.กลางเกาหลีใต้มีกำหนดจะประชุมเพื่อพิจารณาอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปในวันที่ 7 ก.ย.50 นี้ซึ่งคาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะคงอัตรา
ดอกเบี้ยในช่วงนี้ต่อไปอีกช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อประเมินสถานการณ์เงินเฟ้อ (รอยเตอร์)
4. เกาหลีใต้เกินดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นอย่างมากเป็นจำนวน 1.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ในเดือน ก.ค.50 รายงานจาก
โซลเมื่อ 31 ส.ค.50 ธ.กลางเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ดุลบัญชีเดินสะพัดของเกาหลีใต้ในเดือน ก.ค.50 เพิ่มขึ้นอย่างมากเป็นจำนวน
1.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. จากจำนวน 593 ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อนหน้า โดยได้รับแรงสนับสนุนหลักจากการส่งออกที่แข็งแกร่ง
ซึ่งส่งผลให้ดุลบัญชีสินค้าเกินดุล 2.93 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจาก 2.42 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ยังมี
สาเหตุจากดุลรายได้ที่เกินดุลเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 349 ล.ดอลลาร์ สรอ. จากจำนวน 119 ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อนหน้า สำหรับ
ดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วง 7 เดือนแรกของปี (ม.ค.-ก.ค.50) เกินดุลเป็นจำนวน 1.95 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อ
เทียบกับจำนวน 886 ล.ดอลลาร์ สรอ. ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การกู้ยืมจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 6 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.
ในเดือน ก.ค.50 จากจำนวน 3.49 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อนหน้า นับเป็นการเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า ซึ่งสร้างความกังวลอย่างมาก
ให้กับ ธ.กลาง ว่า อาจเป็นปัจจัยผลักดันให้ค่าเงินวอนสูงขึ้นและส่งผลให้ปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะเงินเฟ้อ
ได้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 31 ส.ค. 50 30 ส.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.316 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.0976/34.4308 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.37688 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 791.58/13.60 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,750/10,850 10,750/10,850 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 68.83 67.33 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 28.39*/25.34* 28.39*/25.34* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดสิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 9 ส.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. การคุ้มครองเงินฝากไม่เกิน 1 ล้าน จะมีผลกลางปี 55 หากร่าง พรบ.คุ้มครองเงินฝากผ่าน สนช. นายไพโรจน์ เฮงสกุล
ผู้ช่วยผู้ว่าการสายจัดการกองทุน ธปท. เปิดเผยถึงระยะเวลาในการคุ้มครองเงินฝากของผู้ฝากเงินกรณีที่ร่าง พรบ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก
ผ่านความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แล้วว่า จะเริ่มจำกัดวงเงินคุ้มครองเงินฝากไม่เกิน 1 ล้านบาท ต่อคนต่อธนาคารในปีที่ 5
ภายหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการคุ้มครองเงินฝากจะกำหนดให้จัดตั้งสถาบัน
คุ้มครองเงินฝากให้เสร็จภายใน 180 วัน ภายหลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งหลังจากจัดตั้งปีแรกสถาบันฯ จะยังคุ้มครองเงินฝากเต็ม
จำนวน ก่อนที่จะเริ่มปรับลดเหลือคุ้มครองเงินฝาก 50 ล้านบาทในปีที่สอง หากไม่มีเหตุการณ์ผิดปกติ และทยอยลดเหลือ 25 ล้านบาท
10 ล้านบาท และ 1 ล้านบาท ในที่สุด อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงเวลาที่กฎหมายกำหนดให้ต้องกำหนดวงเงินคุ้มครองเงินฝากไม่เกิน 1 ล้านบาท
แล้ว อาจทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินฝากบ้างแต่มีจำนวนไม่ถึงร้อยละ 2 ของบัญชีเงินฝากทั้งหมด เนื่องจากบัญชีของผู้ฝากเงินรายใหญ่ที่มี
เงินฝากมากกว่า 1 ล้านบาท มีไม่ถึงร้อยละ 2 ของบัญชีเงินฝากทั้งหมด (กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท. กำลังพิจารณากำหนดแนวปฏิบัติในการติดตามทวงหนี้ของสถาบันการเงิน นายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบาย
สถาบันการเงิน ธปท. กล่าวว่า กำลังเสนอเรื่องให้ผู้ว่าการ ธปท. พิจารณาเพื่อลงนามในประกาศคำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดแนวปฏิบัติในการ
ติดตามทวงหนี้ให้สถาบันการเงิน บริษัทบัตรเครดิต บริษัทปล่อยกู้ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ยึดถือเป็นกรอบในการปฏิบัติเพื่อไม่ให้สังคมเดือดร้อน
โดยหลักการสำคัญคือการกำหนดเป็นกรอบกว้าง ๆ ไม่ควรใช้วาจาข่มขู่หรือใช้วาจาไม่สุภาพ หรือแอบอ้าง หรือประจานให้ลูกค้าได้รับความเสียหาย
รวมถึงกำหนดการโทรศัพท์ติดตามต่อวันต่อครั้ง นอกจากนี้ จะมีการกำหนดกรอบปฏิบัติว่าผู้ประกอบการจะต้องมีการเปิดทางให้ลูกค้าได้ร้องเรียน
และในระยะยาวอาจจะมีการตั้งเป็นศูนย์กลางรับเรื่องราวร้องทุกข์ของลูกค้า เพราะแม้สินเชื่อบุคคลและบัตรเครดิตจะมีเพียง 3.6 แสนล้านบาท
หรือร้อยละ 3-4 ของสินเชื่อรวม แต่กำลังจะกลายเป็นปัญหาระดับชาติที่ต้องมีการวางระบบ (โพสต์ทูเดย์, มติชน)
3. ก.คลังเตรียมจัดตั้ง สนง.คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัด ก.คลัง
เปิดเผยภายหลังการประชุมกับอธิบดีกรมการประกันภัย และคณะทำงานเตรียมการจัด สนง.คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจ
ประกันภัย (คปภ.) หลังจาก พรบ.คปภ. พ.ศ.2550 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาว่า พรบ.ดังกล่าวจะมีผลให้เกิดการโอนย้ายกรมการ
ประกันภัยมาสังกัด สนง.คปภ. และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ รมว.คลัง โดยมีปลัด ก.คลัง เป็นประธาน คปภ. ซึ่งในเบื้องต้นจะมีการ
ประชุมกรรมการที่เข้ามาเป็นกรรมการโดยตำแหน่งก่อน เพื่อวางหลักเกณฑ์เบื้องต้นในการสรรหาบุคคลมาดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
6 — 8 คน ส่วนงานในแง่นโยบายในการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยนั้นจะดำเนินการเมื่อมีคณะกรรมการครบสมบูรณ์แล้ว โดยคาดว่าจะจัด
ตั้งคณะกรรมการได้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน และวางหลักเกณฑ์สรรหาและดำเนินการสรรหาบุคคลมาดำรงตำแหน่งเลขาธิภาร คปภ.
ได้ภายใน 90 วัน โดยระหว่างนี้อธิบดีกรมการประกันภัยจะรักษาการในตำแหน่งเลขาธิการ คปภ. ไปก่อน (มติชน, โพสต์ทูเดย์, โลกวันนี้,
ผู้จัดการรายวัน)
4. ตลท. จะจัดงานไทยแลนด์โฟกัสดึงเงินลงทุนจากต่างประเทศเข้าไทย นางภัทรียา เบญจพลชัย กก.ผจก. ตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ตลท. จะจัดงาน ไทยแลนด์ โฟกัส ประจำปี 50 ระหว่างวันที่ 12 - 14 ก.ย.50 ที่โรงแรมพลาซ่า
แอทธินี กรุงเทพฯ เพื่อนำเสนอข้อมูลทั้งด้านเศรษฐกิจ การลงทุนมหภาค และนโยบายของภาครัฐในอนาคตให้แก่บริษัทจดทะเบียนทั้งในประเทศ
และต่างประเทศกว่า 60 บริษัท และกองทุนทั่วโลกรวม 180 แห่ง เข้ารับฟังข้อมูล โดยคาดว่าจะทำให้กองทุนทั่วโลกมีความมั่นใจเข้ามาลงทุน
ในไทยมากขึ้น จากปัจจุบันที่เข้ามาลงทุนประมาณ 3 แสนล้านบาท โดย พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นรม. จะมาปาฐกถาพิเศษนโยบายด้านการเมือง
ในหัวข้อ “This Government’s legacy for Thailland” ซึ่งจะนำเสนอนโยบายของภาครัฐที่จะดำเนินการต่อไป พร้อมกับหน่วยงานภาครัฐ
และเอกชนจากตลาดเงินและตลาดทุนเข้าร่วมนำเสนอข้อมูลด้วย (เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ธ.กลางยุโรปควรมีความพร้อมที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รายงานจากบรัสเซล เมื่อ
วันที่ 30 ส.ค. 50 Trade Union Confederation ของสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า ธ.กลางยุโรปควรมีความพร้อมที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย
นโยบายหากมีความจำเป็น เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจของยุโรปเติบโตท่ามกลางตลาดที่ชะลอตัวจากผลกระทบของวิกฤติอสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพของ
สรอ. ในขณะนี้ ทั้งนี้ ธ.กลางยุโรปจำเป็นต้องคงความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจโดยการส่งสัญญานว่าพร้อมที่จะปกป้องเศรษฐกิจและตลาดแรงงาน
ให้เติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัว โดยเมื่อต้นเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา ธ.กลางยุโรป
ได้ส่งสัญญาน ว่าจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันที่ 6 ก.ย. และตลาดคาดการณ์ว่าธ.กลางจะปรับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.25 อยู่ที่
ร้อยละ 4.25 อย่างไรก็ตามเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมานาย Jean-Claude Trichet กล่าวว่าความเห็นดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดวิกฤติ
อสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพซึ่งส่งผลกระทบต่อ ธพ.บางแห่งของเยอรมนีในขณะนี้ ทำให้คาดว่าในการประชุมนโยบายการเงินในสัปดาห์หน้า
ธ.กลางยุโรปจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับเดิม แต่จะมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในช่วงปลายปีนี้ (รอยเตอร์)
2. ดัชนี PMI ของญี่ปุ่นในเดือน ส.ค.50 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนแต่ชี้ว่าภาคการผลิตของญี่ปุ่นหดตัวเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน
รายงานจากโตเกียว เมื่อ 31 ส.ค.50 ดัชนีชี้วัดภาคการผลิตของญี่ปุ่นจากผลสำรวจความเห็นของผู้บริหารฝ่ายจัดซื้อของผู้ผลิตมากกว่า 350 ราย
โดย NTC Research/Nomura/JMMA หรือที่เรียกว่า PMI เพิ่มขึ้นเล็กน้อยหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วมาอยู่ที่ระดับ 49.6 ในเดือน ส.ค.50
จากระดับ 49.0 ในเดือน ก.ค.50 แต่อย่างไรก็ดี ตัวเลขดังกล่าวยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 50 ซึ่งแสดงถึงการหดตัวเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน
เช่นเดียวกัน PMI ในส่วนที่ชี้วัดคำสั่งซื้อใหม่ทั้งจากในและต่างประเทศที่ยังอยู่ในเกณฑ์หดตัวโดยอยู่ที่ระดับ 47.3 ในเดือน ส.ค.50 เพิ่มขึ้น
เล็กน้อยจากระดับ 46.8 ในเดือนก่อน แต่ PMI ในส่วนของคำสั่งซื้อจากต่างประเทศชี้ว่าความต้องการจากต่างประเทศยังขยายตัว โดยดัชนี
เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 53.2 จากระดับ 52.0 ในเดือนก่อน จากการขยายตัวของคำสั่งซื้อรถยนต์ เสื้อผ้าและสินค้าสิ่งทออื่น ๆ ทั้งจากยุโรป
และอเมริกาเหนือ แม้ว่าวิกฤติสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ใน สรอ.จะไม่ส่งผลกระทบต่อตัวเลข PMI ครั้งนี้ แต่หากความวุ่นวายในตลาดการเงิน
ยังคงยื้อเยื้อต่อไปก็อาจส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงโดยส่งผลให้ความต้องการจากต่างประเทศทั้งจาก สรอ.เอเชียและยุโรปลดลง
ทั้งนี้ ตัวเลข PMI ข้างต้นชี้ว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ปีนี้มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 2 ซึ่งขยายตัวเพียงร้อยละ 0.5 หลังจาก
ขยายตัวถึงร้อยละ 3.2 ในไตรมาสแรก (รอยเตอร์)
3. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของเกาหลีใต้ในเดือน ส.ค.50 จะชะลอตัวลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.4 ต่อปี รายงานจากโซล เมื่อ 30 ส.ค.50
ผลสำรวจรอยเตอร์คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้ในเดือน ส.ค.50 จะอยู่ที่ร้อยละ 2.4 ต่อปี ชะลอตัวจากร้อยละ 2.5 ต่อปีในเดือนก่อน
แต่หากเทียบต่อเดือนคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับเดือน ก.ค.50 โดยอัตราเงินเฟ้อต่อปีข้างต้นอยู่ในช่วงล่างของร้อยละ
2.5—3.5 ต่อปีที่ ธ.กลางเกาหลีใต้ตั้งเป้าไว้ไม่ให้อัตราเงินเฟ้อสูงเกินกว่านี้ หลังจากอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในปี 49 อยู่ที่ร้อยละ 2.2 ต่อปี
แต่อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าอัตราเงินเฟ้ออาจสูงขึ้นอีกก่อนสิ้นปีนี้จากค่าเงินวอนที่ลดลงร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับดอลลาร์ สรอ.จะส่งผล
ให้ราคาสินค้านำเข้าเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ ธ.กลางเกาหลีใต้ได้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งติดต่อกันในเดือน ก.ค.และ ส.ค.50 ที่ผ่านมา
ทำให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5.0 ต่อปีสูงสุดในรอบ 6 ปีเพื่อลดแรงกดดันเงินเฟ้อจากการขยายตัวของสินเชื่อและปริมาณเงินหมุนเวียน
ทั้งนี้ ธ.กลางเกาหลีใต้มีกำหนดจะประชุมเพื่อพิจารณาอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปในวันที่ 7 ก.ย.50 นี้ซึ่งคาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะคงอัตรา
ดอกเบี้ยในช่วงนี้ต่อไปอีกช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อประเมินสถานการณ์เงินเฟ้อ (รอยเตอร์)
4. เกาหลีใต้เกินดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นอย่างมากเป็นจำนวน 1.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ในเดือน ก.ค.50 รายงานจาก
โซลเมื่อ 31 ส.ค.50 ธ.กลางเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ดุลบัญชีเดินสะพัดของเกาหลีใต้ในเดือน ก.ค.50 เพิ่มขึ้นอย่างมากเป็นจำนวน
1.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. จากจำนวน 593 ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อนหน้า โดยได้รับแรงสนับสนุนหลักจากการส่งออกที่แข็งแกร่ง
ซึ่งส่งผลให้ดุลบัญชีสินค้าเกินดุล 2.93 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจาก 2.42 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อนหน้า นอกจากนี้ยังมี
สาเหตุจากดุลรายได้ที่เกินดุลเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 349 ล.ดอลลาร์ สรอ. จากจำนวน 119 ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อนหน้า สำหรับ
ดุลบัญชีเดินสะพัดในช่วง 7 เดือนแรกของปี (ม.ค.-ก.ค.50) เกินดุลเป็นจำนวน 1.95 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อ
เทียบกับจำนวน 886 ล.ดอลลาร์ สรอ. ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การกู้ยืมจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 6 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.
ในเดือน ก.ค.50 จากจำนวน 3.49 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อนหน้า นับเป็นการเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า ซึ่งสร้างความกังวลอย่างมาก
ให้กับ ธ.กลาง ว่า อาจเป็นปัจจัยผลักดันให้ค่าเงินวอนสูงขึ้นและส่งผลให้ปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะเงินเฟ้อ
ได้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 31 ส.ค. 50 30 ส.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.316 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.0976/34.4308 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.37688 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 791.58/13.60 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,750/10,850 10,750/10,850 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 68.83 67.33 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 28.39*/25.34* 28.39*/25.34* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดสิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 9 ส.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--