ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ยอดหนี้คงค้างต่างประเทศของเอกชน ณ สิ้นปี 49 เพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ปี 43 ที่จำนวน 29,790 ล้านดอลลาร์ สรอ.
รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ทีมหนี้ต่างประเทศ ฝ่ายบริหารข้อมูล สายระบบข้อสนเทศ ธปท. เปิดเผยรายงาน
ผลการสำรวจหนี้ต่างประเทศภาคเอกชนที่ไม่ใช่ธนาคาร ณ สิ้นเดือน ธ.ค.49 พบว่า ยอดหนี้ต่างประเทศคงค้างของธุรกิจเอกชนมีจำนวน
29,790 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากยอดคงค้างสิ้นเดือน ก.ย.49 จำนวน 1,620 ล้านดอลลาร์ สรอ. และเป็นยอดหนี้ต่างประเทศ
คงค้างสูงสุดนับตั้งแต่ปี 43 โดยสาเหตุที่หนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้นสูงสุดมาจากการไหลเข้าของเงินกู้ยืมสุทธิของหนี้สกุลต่างประเทศที่ต่อเนื่อง
มาตั้งแต่ต้นปี 19 โดยเฉพาะการกู้ยืมสกุลเงินเยนและดอลลาร์ สรอ. ส่วนหนี้สกุลเงินบาทมียอดหนี้คงค้างสูงขึ้นเมื่อเทียบเป็นดอลลาร์ สรอ.
เนื่องจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ขณะที่ตราสารหนี้สกุลเงินต่างประเทศปรับเพิ่มขึ้นจากการที่ธุรกิจรายใหญ่บางแห่งออกพันธบัตรสกุลดอลลาร์ สรอ.
(กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์, แนวหน้า)
2. ธปท.สำนักงานภาคใต้เผยค่าเงินบาทแข็งไม่มีผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจภาคใต้ ผอส.ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) สำนักงานภาคใต้ เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ต้นปี 50 ว่า สถานการณ์โดยรวมยังดีอยู่ โดยคาดว่าตัวเลขประมาณการขยายตัว
ทางเศรษฐกิจที่กำหนดไว้ คือ ประมาณร้อยละ 4-5 เป็นอัตราการขยายตัวที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาที่ขยายตัวประมาณร้อยละ 5-6 แต่
จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีสัญญาณที่จะต้องปรับตัวเลขประมาณการดังกล่าว เนื่องจากภาพรวมของเศรษฐกิจภาคใต้ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ทั้งนี้ ปัจจัยที่มีผล
ทำให้เศรษฐกิจภาคใต้ยังแข็งแกร่ง คือ การท่องเที่ยว โดยเฉพาะการท่องเที่ยวทางจังหวัดอันดามัน รองลงมา คือ ราคายาง ซึ่งยังอยู่ในราคา
ที่สูง เนื่องจากราคาน้ำมันอยู่ในระดับสูง ทำให้ความต้องการยางธรรมชาติมีจำนวนมาก ส่วนการส่งออก แม้จะพบปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่าตั้งแต่ต้นปี
แต่จากการสอบถามผู้ประกอบการรายใหญ่ พบว่า ร้อยละ 70 มีระบบป้องกันความเสี่ยงจากค่าเงินบาทแข็ง ทำให้มั่นใจว่า ผลกระทบที่มีต่อการ
ส่งออกสินค้าในภาคใต้จะไม่มากนัก (กรุงเทพธุรกิจ)
3. ก.คลังเผยการตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. ธปท.ในวันที่ 11 เม.ย.นี้จะสร้างความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ
รายงานข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า การตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) ในวันที่ 11 เม.ย.50 ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่จะสร้างความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจให้กลับมาขยายตัวดีขึ้นอีกครั้ง ซึ่งการลด
อัตราดอกเบี้ยของ กนง.ไม่ควรต่ำกว่าร้อยละ 0.50 หาก กนง.ตัดสินใจลดดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 0.25 จะทำให้เศรษฐกิจมีปัญหาอย่างมาก
เพราะการลดอัตราดอกเบี้ยน้อยจะไม่จูงใจให้มีการบริโภค เนื่องจากผู้บริโภคจะยังคาดการณ์ว่า ธปท.จะต้องลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง ทั้งนี้
ก.คลังได้ประเมินเหตุการณ์ระยะสั้นว่า การลดอัตราดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 0.50 และการเร่งยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ของ
ธปท.ให้เร็วที่สุด จะทำให้เศรษฐกิจฟื้นกลับมาได้ไม่ยากนัก เพราะที่ผ่านมามาตรการทางการคลังได้ใช้เต็มที่หมดทุกด้านแล้ว ทั้งการเร่งรัดเบิกจ่าย
การลดภาษี และการอัดฉีดเงินผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (แนวหน้า, บ้านเมือง)
4. ธปท.เผยแผนงาน ธปท.ปี 50 มีเป้าประสงค์หลัก 15 ข้อ รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ผู้บริหาร
ธปท. ได้อนุมัติแผนงานประจำปี 50 ของ ธปท. โดยมีเป้าประสงค์หลัก 15 ข้อ ภายใต้หลักการพื้นฐานที่จะเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางการเงิน
ที่มั่นคง มีเสถียรภาพ เพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน โดยแยกเป็นเป้าหมายในการดูแลเสถียรภาพการเงิน สถาบันการเงินของระบบ
เศรษฐกิจไทย และการพัฒนาองค์กรภายใน (ไทยรัฐ)
5. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดือน ก.พ.50 ขยายตัวร้อยละ 1.61 รายงานข่าวจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.)
เปิดเผยว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพในเดือน ก.พ.50 บริษัทจัดการที่บริหารกองทุนทั้งระบบจำนวน 19 ราย ยังสามารถขยายตลาดกองทุนดังกล่าว
ได้อย่างต่อเนื่อง โดยสิ้นสุดเดือน ก.พ.50 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิทั้งระบบประมาณ 6,215.11 ล้านบาท จากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ
3.85 ล้านบาทในเดือน ม.ค.50 โดยคิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 1.61 นอกจากนี้ ในช่วงระหว่างสิ้นเดือน ธ.ค.49 ถึงสิ้นเดือน มี.ค.50
บลจ.ทั้งระบบมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารทั้งสิ้น 26,445.33 ล้านบาท โดยคิดเป็นเงินทุนใหม่เพิ่มขึ้นมาอีก 970.10 ล้านบาท หรือ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.80 เมื่อเทียบกับสิ้นเดือน ธ.ค.49 ที่มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิทั้งสิ้น 25,475.23 ล้านบาท (ผู้จัดการรายวัน)
6. ก.คลังเผยผลการศึกษาปรับโครงสร้างภาษี รายงานข่าวจากคณะทำงานศึกษาการปรับโครงสร้างภาษี ก.คลัง เปิดเผยว่า
ผลการศึกษาระบุว่า โครงสร้างภาษีเงินได้ในอนาคตจะลดลง ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องปรับสูงขึ้นเพื่อทดแทนรายได้ที่หายไป โดยผลการศึกษา
โครงสร้างภาษีประกอบด้วย ภาษีที่กรมสรรพากรได้ดำเนินการจัดเก็บ ภาษีสรรพสามิต และภาษีศุลกากร เพื่อให้โครงสร้างภาษีของประเทศมี
ความเหมาะสมและดึงดูดการลงทุน ทั้งนี้ ในส่วนของภาษีที่กรมสรรพากรจัดเก็บนั้น จากการศึกษามีผลสรุปว่า โครงสร้างภาษีในด้านของ
กรมสรรพากรนั้น จะทำให้โครงสร้างภาษีที่มาจากเงินได้ คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องลดลงเพื่อลดภาษีให้
กับคนทำงานและภาคธุรกิจ ขณะที่ภาษีทางตรง คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เก็บจากการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนและภาคธุรกิจจะต้องปรับสูงขึ้นมาทดแทน
ซึ่งตามกฎหมายปัจจุบันกำหนดเพดานภาษีมูลค่าเพิ่มไม่เกินร้อยละ 10 แต่ที่ผ่านมากรมสรรพากรประกาศใช้เพียงร้อยละ 7 (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ผลผลิตอุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือน ก.พ.50 เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันผิดจากที่คาดไว้ รายงานจากเบอร์ลิน
เมื่อ 5 เม.ย.50 ตัวเลขเบื้องต้นของ ก.เศรษฐกิจแสดงให้เห็นว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือน ก.พ.50 เพิ่มขึ้นหลังปรับตัวเลข
ตามฤดูกาลแล้วร้อยละ 0.9 เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในเดือน ม.ค.50 ผิดจากที่รอยเตอร์คาดไว้ว่าจะลดลง
ร้อยละ 0.5 ต่อเดือน โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตโรงงาน พลังงานและการก่อสร้าง โดยผลผลิตโรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8
การก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 และพลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ต่อเดือน ผลผลิตอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นช่วยเพิ่มความหวังว่าเศรษฐกิจเยอรมนี
จะขยายตัวในไตรมาสแรกปี 50 แม้ว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคจะชะลอตัวลงจากผลกระทบของการขึ้นภาษี VAT อีกร้อยละ 3.0 เป็นร้อยละ 19.0
ตั้งแต่ต้นปี 50 ที่ผ่านมาก็ตาม แต่ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจและนักลงทุนยังคงแข็งแกร่ง สอดคล้องกับรายงานคำสั่งซื้อสินค้าโรงงานในเดือน
ก.พ.50 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 และผลสำรวจความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจโดย Ifo ที่สูงขึ้นในเดือน มี.ค.50 เช่นเดียวกับผลสำรวจความเชื่อมั่น
ของนักลงทุนโดย ZEW ที่สูงขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่จึงคาดว่าเศรษฐกิจในปี 50 จะขยายตัวอย่างน้อยร้อยละ 2.0
หลังจากในปี 49 ขยายตัวถึงร้อยละ 2.7 สูงสุดในรอบ 6 ปี (รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นของธุรกิจจีนในไตรมาสที่ 1 ทำสถิติสูงกว่าสถิติเดิม รายงานจากปักกิ่งเมื่อวันที่ 6 เม.ย. 50 สำนักงานสถิติ
แห่งชาติของจีนเปิดเผยว่า ในไตรมาสแรกปีนี้ความเชื่อมั่นของธุรกิจจีนเพิ่มขึ้นที่ระดับ 142.0 ซึ่งเป็นสถิติที่สูงกว่าที่เคยทำไว้ และเป็นครั้งแรก
ที่ดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจของจีนอยู่สูงกว่าระดับ 140 บ่งชี้ว่าธุรกิจมีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจว่าจะขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง
ทั้งนี้เป็นผลจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติที่สำรวจสถานประกอบการทุกประเภทจำนวน 19,500 แห่งเพื่อจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นของ
ธุรกิจซึ่งเป็นเครื่องชี้ว่าธุรกิจมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับภาวะธุรกิจและนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ซึ่งธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิต และธุรกิจการ
ก่อสร้างมีความเชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสแรกปีนี้มากที่สุด โดยดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจทั้งสองประเภทเพิ่มขึ้นอย่างมากถึงร้อยละ 8.4
จากไตรมาสก่อนหน้า ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจเกือบทุกภาคเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับภาพรวมกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ขยายตัว
อย่างแข็งแกร่ง ยกเว้นธุรกิจบริการ โรงแรม และเหมืองแร่ (รอยเตอร์)
3. Leading indicator index ของญี่ปุ่นปรับตัวลดลงในเดือน ก.พ.50 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 6 เม.ย.50 The
Cabinet Office เปิดเผยว่า ดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจ (Leading indicator index) ของญี่ปุ่นในเดือน ก.พ.50 ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง
เป็นเดือนที่ 4 โดย The leading index ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดภาวะเศรษฐกิจในช่วงเวลาหลายเดือนข้างหน้า ลดลงที่ระดับ 30.0 จากระดับ 40.9
ในเดือนก่อนหน้า ต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่งสะท้อนภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจ (The leading index คำนวณโดยรวมตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญ
อาทิเช่น ตัวเลขการจ้างงานใหม่ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และราคาหุ้นโตเกียว) ส่วน The coincident index ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดสถานการณ์
เศรษฐกิจในปัจจุบัน ลดลงที่ระดับ 16.7 จากระดับ 45.0 ต่ำกว่าระดับ 50 เช่นกัน สำหรับ The lagging index ซึ่งประกอบด้วยดัชนีที่
เคลื่อนไหวอยู่เบื้องหลังวงจรเศรษฐกิจ ลดลงที่ระดับ 0.0 จากระดับ 70.0 ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 2 ปี ที่ดัชนี
ทั้ง 3 ตัวลดลงต่ำกว่าระดับ 50 พร้อมกัน เนื่องจากความคาดหวังเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจลดลง โดยเฉพาะเกี่ยวกับตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรม
ซึ่งบรรดานักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะขยายตัวชะลอลงในช่วงไตรมาสแรกของปี จากที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในช่วงไตรมาสก่อนหน้า
นอกจากนี้ การที่ The coincident index ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันลดลงต่ำกว่าระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 เป็นผลให้
ทางการญี่ปุ่นมองว่ามีความจำเป็นที่จะต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด (รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้ผลิตของเกาหลีใต้ในเดือน มี.ค.50 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 รายงานจากโซลเมื่อ 8 เม.ย.50
ธ.กลางเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (Producer price index) ของเกาหลีใต้ในเดือน มี.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน นับเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 1.7 และ 1.5 ใน 2 เดือนก่อนหน้า ขณะที่เมื่อเทียบ
ต่อเดือน ดัชนีฯ ขยายตัวร้อยละ 0.5 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 0.2 ในเดือนก่อนหน้า โดยมีสาเหตุหลักจากการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารสดซึ่ง
เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 เช่นเดียวกับราคาพลังงานและน้ำประปาที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 เทียบต่อปี ทั้งนี้ ตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิตได้ถูกเปิดเผยก่อนหน้าที่
คณะกรรมการนโยบายการเงินของเกาหลีใต้จะมีการประชุมเพื่อพิจารณาอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันพฤหัสบดีนี้ หลังจากที่เมื่อเดือนมีนาคมได้
พิจารณาคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมร้อยละ 4.50 เป็นครั้งที่ 7 (เป็นสัญญาณว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ชะลอลง)
หลังจากที่ได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยครั้งล่าสุดเมื่อเดือน ส.ค.49 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 9 เม.ย. 50 5 เม.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.922 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.7185/35.0609 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.60906 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 692.47/10.17 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,050/11,150 10,950/11,050 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) n.a. 62.22 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 28.39*/24.54* 28.39*/24.54* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 4 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ยอดหนี้คงค้างต่างประเทศของเอกชน ณ สิ้นปี 49 เพิ่มขึ้นสูงสุดนับตั้งแต่ปี 43 ที่จำนวน 29,790 ล้านดอลลาร์ สรอ.
รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ทีมหนี้ต่างประเทศ ฝ่ายบริหารข้อมูล สายระบบข้อสนเทศ ธปท. เปิดเผยรายงาน
ผลการสำรวจหนี้ต่างประเทศภาคเอกชนที่ไม่ใช่ธนาคาร ณ สิ้นเดือน ธ.ค.49 พบว่า ยอดหนี้ต่างประเทศคงค้างของธุรกิจเอกชนมีจำนวน
29,790 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากยอดคงค้างสิ้นเดือน ก.ย.49 จำนวน 1,620 ล้านดอลลาร์ สรอ. และเป็นยอดหนี้ต่างประเทศ
คงค้างสูงสุดนับตั้งแต่ปี 43 โดยสาเหตุที่หนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้นสูงสุดมาจากการไหลเข้าของเงินกู้ยืมสุทธิของหนี้สกุลต่างประเทศที่ต่อเนื่อง
มาตั้งแต่ต้นปี 19 โดยเฉพาะการกู้ยืมสกุลเงินเยนและดอลลาร์ สรอ. ส่วนหนี้สกุลเงินบาทมียอดหนี้คงค้างสูงขึ้นเมื่อเทียบเป็นดอลลาร์ สรอ.
เนื่องจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ขณะที่ตราสารหนี้สกุลเงินต่างประเทศปรับเพิ่มขึ้นจากการที่ธุรกิจรายใหญ่บางแห่งออกพันธบัตรสกุลดอลลาร์ สรอ.
(กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์, แนวหน้า)
2. ธปท.สำนักงานภาคใต้เผยค่าเงินบาทแข็งไม่มีผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจภาคใต้ ผอส.ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) สำนักงานภาคใต้ เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ต้นปี 50 ว่า สถานการณ์โดยรวมยังดีอยู่ โดยคาดว่าตัวเลขประมาณการขยายตัว
ทางเศรษฐกิจที่กำหนดไว้ คือ ประมาณร้อยละ 4-5 เป็นอัตราการขยายตัวที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาที่ขยายตัวประมาณร้อยละ 5-6 แต่
จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีสัญญาณที่จะต้องปรับตัวเลขประมาณการดังกล่าว เนื่องจากภาพรวมของเศรษฐกิจภาคใต้ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ทั้งนี้ ปัจจัยที่มีผล
ทำให้เศรษฐกิจภาคใต้ยังแข็งแกร่ง คือ การท่องเที่ยว โดยเฉพาะการท่องเที่ยวทางจังหวัดอันดามัน รองลงมา คือ ราคายาง ซึ่งยังอยู่ในราคา
ที่สูง เนื่องจากราคาน้ำมันอยู่ในระดับสูง ทำให้ความต้องการยางธรรมชาติมีจำนวนมาก ส่วนการส่งออก แม้จะพบปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่าตั้งแต่ต้นปี
แต่จากการสอบถามผู้ประกอบการรายใหญ่ พบว่า ร้อยละ 70 มีระบบป้องกันความเสี่ยงจากค่าเงินบาทแข็ง ทำให้มั่นใจว่า ผลกระทบที่มีต่อการ
ส่งออกสินค้าในภาคใต้จะไม่มากนัก (กรุงเทพธุรกิจ)
3. ก.คลังเผยการตัดสินใจปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. ธปท.ในวันที่ 11 เม.ย.นี้จะสร้างความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ
รายงานข่าวจาก ก.คลัง เปิดเผยว่า การตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) ในวันที่ 11 เม.ย.50 ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่จะสร้างความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจให้กลับมาขยายตัวดีขึ้นอีกครั้ง ซึ่งการลด
อัตราดอกเบี้ยของ กนง.ไม่ควรต่ำกว่าร้อยละ 0.50 หาก กนง.ตัดสินใจลดดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 0.25 จะทำให้เศรษฐกิจมีปัญหาอย่างมาก
เพราะการลดอัตราดอกเบี้ยน้อยจะไม่จูงใจให้มีการบริโภค เนื่องจากผู้บริโภคจะยังคาดการณ์ว่า ธปท.จะต้องลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง ทั้งนี้
ก.คลังได้ประเมินเหตุการณ์ระยะสั้นว่า การลดอัตราดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 0.50 และการเร่งยกเลิกมาตรการกันสำรองร้อยละ 30 ของ
ธปท.ให้เร็วที่สุด จะทำให้เศรษฐกิจฟื้นกลับมาได้ไม่ยากนัก เพราะที่ผ่านมามาตรการทางการคลังได้ใช้เต็มที่หมดทุกด้านแล้ว ทั้งการเร่งรัดเบิกจ่าย
การลดภาษี และการอัดฉีดเงินผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (แนวหน้า, บ้านเมือง)
4. ธปท.เผยแผนงาน ธปท.ปี 50 มีเป้าประสงค์หลัก 15 ข้อ รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ผู้บริหาร
ธปท. ได้อนุมัติแผนงานประจำปี 50 ของ ธปท. โดยมีเป้าประสงค์หลัก 15 ข้อ ภายใต้หลักการพื้นฐานที่จะเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางการเงิน
ที่มั่นคง มีเสถียรภาพ เพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน โดยแยกเป็นเป้าหมายในการดูแลเสถียรภาพการเงิน สถาบันการเงินของระบบ
เศรษฐกิจไทย และการพัฒนาองค์กรภายใน (ไทยรัฐ)
5. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดือน ก.พ.50 ขยายตัวร้อยละ 1.61 รายงานข่าวจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.)
เปิดเผยว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพในเดือน ก.พ.50 บริษัทจัดการที่บริหารกองทุนทั้งระบบจำนวน 19 ราย ยังสามารถขยายตลาดกองทุนดังกล่าว
ได้อย่างต่อเนื่อง โดยสิ้นสุดเดือน ก.พ.50 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิทั้งระบบประมาณ 6,215.11 ล้านบาท จากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ
3.85 ล้านบาทในเดือน ม.ค.50 โดยคิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 1.61 นอกจากนี้ ในช่วงระหว่างสิ้นเดือน ธ.ค.49 ถึงสิ้นเดือน มี.ค.50
บลจ.ทั้งระบบมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารทั้งสิ้น 26,445.33 ล้านบาท โดยคิดเป็นเงินทุนใหม่เพิ่มขึ้นมาอีก 970.10 ล้านบาท หรือ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.80 เมื่อเทียบกับสิ้นเดือน ธ.ค.49 ที่มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิทั้งสิ้น 25,475.23 ล้านบาท (ผู้จัดการรายวัน)
6. ก.คลังเผยผลการศึกษาปรับโครงสร้างภาษี รายงานข่าวจากคณะทำงานศึกษาการปรับโครงสร้างภาษี ก.คลัง เปิดเผยว่า
ผลการศึกษาระบุว่า โครงสร้างภาษีเงินได้ในอนาคตจะลดลง ขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องปรับสูงขึ้นเพื่อทดแทนรายได้ที่หายไป โดยผลการศึกษา
โครงสร้างภาษีประกอบด้วย ภาษีที่กรมสรรพากรได้ดำเนินการจัดเก็บ ภาษีสรรพสามิต และภาษีศุลกากร เพื่อให้โครงสร้างภาษีของประเทศมี
ความเหมาะสมและดึงดูดการลงทุน ทั้งนี้ ในส่วนของภาษีที่กรมสรรพากรจัดเก็บนั้น จากการศึกษามีผลสรุปว่า โครงสร้างภาษีในด้านของ
กรมสรรพากรนั้น จะทำให้โครงสร้างภาษีที่มาจากเงินได้ คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องลดลงเพื่อลดภาษีให้
กับคนทำงานและภาคธุรกิจ ขณะที่ภาษีทางตรง คือ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เก็บจากการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนและภาคธุรกิจจะต้องปรับสูงขึ้นมาทดแทน
ซึ่งตามกฎหมายปัจจุบันกำหนดเพดานภาษีมูลค่าเพิ่มไม่เกินร้อยละ 10 แต่ที่ผ่านมากรมสรรพากรประกาศใช้เพียงร้อยละ 7 (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ผลผลิตอุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือน ก.พ.50 เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันผิดจากที่คาดไว้ รายงานจากเบอร์ลิน
เมื่อ 5 เม.ย.50 ตัวเลขเบื้องต้นของ ก.เศรษฐกิจแสดงให้เห็นว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือน ก.พ.50 เพิ่มขึ้นหลังปรับตัวเลข
ตามฤดูกาลแล้วร้อยละ 0.9 เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในเดือน ม.ค.50 ผิดจากที่รอยเตอร์คาดไว้ว่าจะลดลง
ร้อยละ 0.5 ต่อเดือน โดยส่วนใหญ่เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตโรงงาน พลังงานและการก่อสร้าง โดยผลผลิตโรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8
การก่อสร้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 และพลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ต่อเดือน ผลผลิตอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นช่วยเพิ่มความหวังว่าเศรษฐกิจเยอรมนี
จะขยายตัวในไตรมาสแรกปี 50 แม้ว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคจะชะลอตัวลงจากผลกระทบของการขึ้นภาษี VAT อีกร้อยละ 3.0 เป็นร้อยละ 19.0
ตั้งแต่ต้นปี 50 ที่ผ่านมาก็ตาม แต่ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจและนักลงทุนยังคงแข็งแกร่ง สอดคล้องกับรายงานคำสั่งซื้อสินค้าโรงงานในเดือน
ก.พ.50 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 และผลสำรวจความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจโดย Ifo ที่สูงขึ้นในเดือน มี.ค.50 เช่นเดียวกับผลสำรวจความเชื่อมั่น
ของนักลงทุนโดย ZEW ที่สูงขึ้นเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่จึงคาดว่าเศรษฐกิจในปี 50 จะขยายตัวอย่างน้อยร้อยละ 2.0
หลังจากในปี 49 ขยายตัวถึงร้อยละ 2.7 สูงสุดในรอบ 6 ปี (รอยเตอร์)
2. ความเชื่อมั่นของธุรกิจจีนในไตรมาสที่ 1 ทำสถิติสูงกว่าสถิติเดิม รายงานจากปักกิ่งเมื่อวันที่ 6 เม.ย. 50 สำนักงานสถิติ
แห่งชาติของจีนเปิดเผยว่า ในไตรมาสแรกปีนี้ความเชื่อมั่นของธุรกิจจีนเพิ่มขึ้นที่ระดับ 142.0 ซึ่งเป็นสถิติที่สูงกว่าที่เคยทำไว้ และเป็นครั้งแรก
ที่ดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจของจีนอยู่สูงกว่าระดับ 140 บ่งชี้ว่าธุรกิจมีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจว่าจะขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง
ทั้งนี้เป็นผลจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติที่สำรวจสถานประกอบการทุกประเภทจำนวน 19,500 แห่งเพื่อจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นของ
ธุรกิจซึ่งเป็นเครื่องชี้ว่าธุรกิจมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับภาวะธุรกิจและนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ซึ่งธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิต และธุรกิจการ
ก่อสร้างมีความเชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสแรกปีนี้มากที่สุด โดยดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจทั้งสองประเภทเพิ่มขึ้นอย่างมากถึงร้อยละ 8.4
จากไตรมาสก่อนหน้า ขณะเดียวกันดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจเกือบทุกภาคเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับภาพรวมกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ขยายตัว
อย่างแข็งแกร่ง ยกเว้นธุรกิจบริการ โรงแรม และเหมืองแร่ (รอยเตอร์)
3. Leading indicator index ของญี่ปุ่นปรับตัวลดลงในเดือน ก.พ.50 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 6 เม.ย.50 The
Cabinet Office เปิดเผยว่า ดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจ (Leading indicator index) ของญี่ปุ่นในเดือน ก.พ.50 ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง
เป็นเดือนที่ 4 โดย The leading index ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดภาวะเศรษฐกิจในช่วงเวลาหลายเดือนข้างหน้า ลดลงที่ระดับ 30.0 จากระดับ 40.9
ในเดือนก่อนหน้า ต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่งสะท้อนภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจ (The leading index คำนวณโดยรวมตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญ
อาทิเช่น ตัวเลขการจ้างงานใหม่ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และราคาหุ้นโตเกียว) ส่วน The coincident index ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดสถานการณ์
เศรษฐกิจในปัจจุบัน ลดลงที่ระดับ 16.7 จากระดับ 45.0 ต่ำกว่าระดับ 50 เช่นกัน สำหรับ The lagging index ซึ่งประกอบด้วยดัชนีที่
เคลื่อนไหวอยู่เบื้องหลังวงจรเศรษฐกิจ ลดลงที่ระดับ 0.0 จากระดับ 70.0 ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 2 ปี ที่ดัชนี
ทั้ง 3 ตัวลดลงต่ำกว่าระดับ 50 พร้อมกัน เนื่องจากความคาดหวังเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจลดลง โดยเฉพาะเกี่ยวกับตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรม
ซึ่งบรรดานักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะขยายตัวชะลอลงในช่วงไตรมาสแรกของปี จากที่ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในช่วงไตรมาสก่อนหน้า
นอกจากนี้ การที่ The coincident index ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันลดลงต่ำกว่าระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 เป็นผลให้
ทางการญี่ปุ่นมองว่ามีความจำเป็นที่จะต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด (รอยเตอร์)
4. ดัชนีราคาผู้ผลิตของเกาหลีใต้ในเดือน มี.ค.50 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 รายงานจากโซลเมื่อ 8 เม.ย.50
ธ.กลางเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (Producer price index) ของเกาหลีใต้ในเดือน มี.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน นับเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 1.7 และ 1.5 ใน 2 เดือนก่อนหน้า ขณะที่เมื่อเทียบ
ต่อเดือน ดัชนีฯ ขยายตัวร้อยละ 0.5 เทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 0.2 ในเดือนก่อนหน้า โดยมีสาเหตุหลักจากการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารสดซึ่ง
เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 เช่นเดียวกับราคาพลังงานและน้ำประปาที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 เทียบต่อปี ทั้งนี้ ตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิตได้ถูกเปิดเผยก่อนหน้าที่
คณะกรรมการนโยบายการเงินของเกาหลีใต้จะมีการประชุมเพื่อพิจารณาอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันพฤหัสบดีนี้ หลังจากที่เมื่อเดือนมีนาคมได้
พิจารณาคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมร้อยละ 4.50 เป็นครั้งที่ 7 (เป็นสัญญาณว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ชะลอลง)
หลังจากที่ได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยครั้งล่าสุดเมื่อเดือน ส.ค.49 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 9 เม.ย. 50 5 เม.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.922 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.7185/35.0609 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.60906 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 692.47/10.17 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,050/11,150 10,950/11,050 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) n.a. 62.22 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 28.39*/24.54* 28.39*/24.54* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 4 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--