ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ และ อดีต ส.ส.เขตดินแดง กทม.ว่า ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในแฟ ลตการเคหะฯชุมชนดินแดงถึงกรณีดังกล่าว ซึ่งเรื่องนี้เกิดขึ้นมาเป็นประเด็นอีกครั้ง และได้สร้างความสับสน ไม่ชัดเจนในเรื่องนี้ เพราะรายงานของสถาบันเอไอทีไม่มีข้อเสนอให้ทุบแฟลตดังกล่าว แต่กลับมีรายงานข่าวจากผู้ที่เกี่ยวข้องจาก เอไอที ระบุว่าต้องมีการทุบแฟลตจึงต้องมีการตรวจสอบต่อไปเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ทั้งนี้ ในความเป็นจริงและหลักวิชาการ ยืนยันว่าแฟลตดังกล่าวอยู่ในสภาพที่ซ่อมแซมได้ ไม่ต้องทุบ แต่เหตุที่เรื่องนี้ยังคงมีต่อเนื่องมานั้นเพราะมีเรื่องของผลประโยชน์อยู่เบื้องหลังซึ่งจากการตรวจสอบเบื้องต้นของตนพบว่าผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการขณะนี้ก็มีผลประโยชน์ด้วย ซึ่งมีทั้งภาครัฐที่เป็นเจ้าหน้าที่ของ กคช.หลายระดับและภาคเอกชนที่อยากจะนำพื้นที่นี้ไปทำธุรกิจ พยายามออกมาหาเหตุว่าอาคารนี้ทรุดโทรมจนต้องมีการทุบแฟลตดังกล่าว
"น่าประหลาดใจว่าโครงการนี้เป็นโครงการฟื้นฟูเมืองดินแดงที่ส่วนที่ 1 จะต้องมีการทุบแฟลตการเคหะฯดินแดงจำนวนมาก โดยเฟสที่ 1 คือ แฟลตที่ 1-8 ที่อยู่ริมถนนดินแดงที่มีการสร้างคอนโดมิเนียมหรืออาคารสูงเพื่อใช้เป็นที่พักอาศัย และแฟลตที่ 21-32 ที่อยู่ริมถนนวิภาวดีรังสิตซึ่งจะใช้ก่อสร้างศูนย์การค้าและอาคารสำนักงาน ซึ่งน่าสังเกตว่าเหตุใดรายงานที่แจ้งให้ทุบแฟลตเหล่านี้ก่อนจึงเป็นพื้นที่เดียวกันกับพื้นที่ที่โครงการนี้จะก่อสร้างศูนย์การค้า และอาคารสำนักงาน รวมถึงคอนโดมิเนียม เพราะฉะนั้น ผมเชื่อว่าเรื่องมีลับลมคมในแน่นอน จึงขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบอย่างเปิดเผยต่อสาธาณะ เพราะขณะนี้ไม่สามารถเชื่อถือองค์กรที่เกี่ยวข้อง ผมขอเรียกร้องว่าท่านที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย อย่าขายวิญญาณของความเป็นนักวิชาการเลย"นายพีระพันธุ์ กล่าว
นายพีระพันธุ์ กล่าวอีกว่าส่วนการระบุว่าพื้นที่ใน กทม. มีแนวโน้มเกิดแผ่นดินไหวในระดับ 5 ริคเตอร์ ซึ่งจะทำให้อาคารแฟลตดินแดงถล่มลงได้ทันทีนั้น ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงอาคารต่างๆใน กทม.คงพังไปหมด ไม่เฉพาะแฟลตดินแดงเท่านั้น คงต้องไปสำรวจอาคารอื่นๆทั่ว กทม.เพื่อทุบแล้วสร้างใหม่ นี่จึงถือเป็นข้อพิรุธของรายงานนี้ อย่างไรก็ตามนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จะลงมาดูแลเรื่องนี้ด้วยตัวเอง และพรรคจะยื่นเรื่องต่อกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)โดยเร็วที่สุดเพื่อขอให้จัดการเรื่องดังกล่าวต่อไป
"เราไม่ได้คัดค้านห้ามการปรับปรุงหรือทุบเพื่อสร้างใหม่ แต่ กคช.ต้องคิดว่าจะดำเนินการอย่างไรเพื่อให้ประชาชนผู้อยู่อาศัยเดิมได้อาศัยอยู่ในที่เดิมในราคาที่เขาจ่ายได้และเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบจากการที่โครงการนี้จะสร้างมลภาวะและปัญหาสิ่งแวดล้อมสูงโดยเฉพาะเรื่องของระบบสาธารณูปโภคต่างๆ การระบายน้ำ ขยะมูลฝอย อีกทั้งยังมีอีกหลายวิธีที่จะทำให้โครงสร้างอาคารมีความแข็งแรง แต่กลับไม่มีการพูดถึงสิ่งเหล่านี้ กลับพูดว่าจะทุบเท่านั้น ส่วนที่ระบุว่าค่าก่อสร้างอาคารใหม่ถูกกว่าค่าซ่อมแซม ก็ไม่เป็นความจริง เพราะเรื่องนี้อยู่ที่ว่าจะสร้างแบบใดหรือซ่อมแซมอย่างไร"นายพีระพันธุ์ กล่าว
ขณะที่นายธนา ชีรวินิจ อดีตประธานสภากรุงเทพมหานคร(ส.ก.) และอดีต ส.ก.ดินแดง กล่าวว่า โครงการนี้เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่อยู่ในใจกลางกรุงเทพฯ และมีผลประโยชน์ในการดำเนินการสูงมาก อีกทั้งแทบจะทุกรัฐบาลได้หยิบยกมาดำเนินการ และมักถูกโยงเข้าเป็นผลประโยชน์ทางการเมืองเกือบทุกครั้งที่จะมีการเลือกตั้ง
อย่างไรก็ตามจากการที่ประชาชนผู้อาศัยไม่มีความเชื่อมั่นในข้อมูลจาก กคช. เมื่อปีที่แล้ว จึงประสานงานให้กองควบคุมอาคารและวิศวกรรมสถาน สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร เข้าไปตรวจสอบแฟลตเหล่านี้ และมีมติว่าไม่ได้ชำรุดเสียหายรุนแรงจนต้องถึงกับทุบ แต่สามารถซ่อมแซมได้
ส่วนที่มีภาพถ่ายออกมาว่าอาคารมีปูนกระเทาะหรือมีน้ำรั่วซึมเป็นสนิมนั้น ก็เป็นเรื่องปกติที่เกิดจาก กคช.ไม่ยอมซ่อมแซมอาคาร ปล่อยให้น้ำที่ขังอยู่ด้านบนไหลซึมออกมาจนเกิดสนิม ซึ่งเจ้าหน้าที่ของสำนักการโยธา ยืนยันว่าเมื่อมีการกระเทาะปูนออกแล้วใช้วิธีทางวิศวกรรม ก็สามารถเปลี่ยนเหล็กที่เป็นสนิมได้ และส่วนที่มีความเสียหายก็ไม่ใช่โครงสร้างหลักที่ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักโครงสร้างของอาคาร จึงไม่เกิดความเสียหายตามที่เป็นข่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 16 พ.ค. 2550--จบ--
"น่าประหลาดใจว่าโครงการนี้เป็นโครงการฟื้นฟูเมืองดินแดงที่ส่วนที่ 1 จะต้องมีการทุบแฟลตการเคหะฯดินแดงจำนวนมาก โดยเฟสที่ 1 คือ แฟลตที่ 1-8 ที่อยู่ริมถนนดินแดงที่มีการสร้างคอนโดมิเนียมหรืออาคารสูงเพื่อใช้เป็นที่พักอาศัย และแฟลตที่ 21-32 ที่อยู่ริมถนนวิภาวดีรังสิตซึ่งจะใช้ก่อสร้างศูนย์การค้าและอาคารสำนักงาน ซึ่งน่าสังเกตว่าเหตุใดรายงานที่แจ้งให้ทุบแฟลตเหล่านี้ก่อนจึงเป็นพื้นที่เดียวกันกับพื้นที่ที่โครงการนี้จะก่อสร้างศูนย์การค้า และอาคารสำนักงาน รวมถึงคอนโดมิเนียม เพราะฉะนั้น ผมเชื่อว่าเรื่องมีลับลมคมในแน่นอน จึงขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบอย่างเปิดเผยต่อสาธาณะ เพราะขณะนี้ไม่สามารถเชื่อถือองค์กรที่เกี่ยวข้อง ผมขอเรียกร้องว่าท่านที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย อย่าขายวิญญาณของความเป็นนักวิชาการเลย"นายพีระพันธุ์ กล่าว
นายพีระพันธุ์ กล่าวอีกว่าส่วนการระบุว่าพื้นที่ใน กทม. มีแนวโน้มเกิดแผ่นดินไหวในระดับ 5 ริคเตอร์ ซึ่งจะทำให้อาคารแฟลตดินแดงถล่มลงได้ทันทีนั้น ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงอาคารต่างๆใน กทม.คงพังไปหมด ไม่เฉพาะแฟลตดินแดงเท่านั้น คงต้องไปสำรวจอาคารอื่นๆทั่ว กทม.เพื่อทุบแล้วสร้างใหม่ นี่จึงถือเป็นข้อพิรุธของรายงานนี้ อย่างไรก็ตามนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จะลงมาดูแลเรื่องนี้ด้วยตัวเอง และพรรคจะยื่นเรื่องต่อกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)โดยเร็วที่สุดเพื่อขอให้จัดการเรื่องดังกล่าวต่อไป
"เราไม่ได้คัดค้านห้ามการปรับปรุงหรือทุบเพื่อสร้างใหม่ แต่ กคช.ต้องคิดว่าจะดำเนินการอย่างไรเพื่อให้ประชาชนผู้อยู่อาศัยเดิมได้อาศัยอยู่ในที่เดิมในราคาที่เขาจ่ายได้และเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบจากการที่โครงการนี้จะสร้างมลภาวะและปัญหาสิ่งแวดล้อมสูงโดยเฉพาะเรื่องของระบบสาธารณูปโภคต่างๆ การระบายน้ำ ขยะมูลฝอย อีกทั้งยังมีอีกหลายวิธีที่จะทำให้โครงสร้างอาคารมีความแข็งแรง แต่กลับไม่มีการพูดถึงสิ่งเหล่านี้ กลับพูดว่าจะทุบเท่านั้น ส่วนที่ระบุว่าค่าก่อสร้างอาคารใหม่ถูกกว่าค่าซ่อมแซม ก็ไม่เป็นความจริง เพราะเรื่องนี้อยู่ที่ว่าจะสร้างแบบใดหรือซ่อมแซมอย่างไร"นายพีระพันธุ์ กล่าว
ขณะที่นายธนา ชีรวินิจ อดีตประธานสภากรุงเทพมหานคร(ส.ก.) และอดีต ส.ก.ดินแดง กล่าวว่า โครงการนี้เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่อยู่ในใจกลางกรุงเทพฯ และมีผลประโยชน์ในการดำเนินการสูงมาก อีกทั้งแทบจะทุกรัฐบาลได้หยิบยกมาดำเนินการ และมักถูกโยงเข้าเป็นผลประโยชน์ทางการเมืองเกือบทุกครั้งที่จะมีการเลือกตั้ง
อย่างไรก็ตามจากการที่ประชาชนผู้อาศัยไม่มีความเชื่อมั่นในข้อมูลจาก กคช. เมื่อปีที่แล้ว จึงประสานงานให้กองควบคุมอาคารและวิศวกรรมสถาน สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร เข้าไปตรวจสอบแฟลตเหล่านี้ และมีมติว่าไม่ได้ชำรุดเสียหายรุนแรงจนต้องถึงกับทุบ แต่สามารถซ่อมแซมได้
ส่วนที่มีภาพถ่ายออกมาว่าอาคารมีปูนกระเทาะหรือมีน้ำรั่วซึมเป็นสนิมนั้น ก็เป็นเรื่องปกติที่เกิดจาก กคช.ไม่ยอมซ่อมแซมอาคาร ปล่อยให้น้ำที่ขังอยู่ด้านบนไหลซึมออกมาจนเกิดสนิม ซึ่งเจ้าหน้าที่ของสำนักการโยธา ยืนยันว่าเมื่อมีการกระเทาะปูนออกแล้วใช้วิธีทางวิศวกรรม ก็สามารถเปลี่ยนเหล็กที่เป็นสนิมได้ และส่วนที่มีความเสียหายก็ไม่ใช่โครงสร้างหลักที่ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักโครงสร้างของอาคาร จึงไม่เกิดความเสียหายตามที่เป็นข่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 16 พ.ค. 2550--จบ--