สรุปการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ
วันจันทร์ที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๐
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๒๐/๒๕๕๐ วันจันทร์ที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๐ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา โดยมีนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานการประชุม เมื่อครบองค์ประชุมประธานฯ ได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
๑. เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม
ประธานฯ ได้แจ้งว่า สภาร่างรัฐธรรมนูญจะพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญจาก การแปรญัตติ ตั้งแต่วันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๐ เป็นต้นไป และอยากให้ทุกอย่างเรียบร้อยภายในเดือนมิถุนายน เพื่อให้สภาร่างรัฐธรรมนูญมีเวลาพิจารณารับร่างทั้งฉบับ ก่อนวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ดังนั้นขอให้สมาชิกเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง
๒. รับรองรายงานการประชุม ไม่มี
๓. เรื่องที่ค้างพิจารณา ไม่มี
๔. เรื่องที่เสนอใหม่
๔.๑ พิจารณารายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญ
ประสานการมีส่วนร่วมและการประชามติ สภาร่างรัฐธรรมนูญ
นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญประสานการมีส่วนร่วมและการประชามติ ได้รายงานผลการดำเนินงาน โดยแบ่งออกเป็น ๓ ช่วง คือ
ช่วงที่ ๑ รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนก่อนยกร่างรัฐธรรมนูญ
ช่วงที่ ๒ รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนเมื่อยกร่างฯ แรก เสร็จแล้ว
ช่วงที่ ๓ เป็นช่วงในการรณรงค์เพื่อสร้างความเข้าใจในรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
ให้กับประชาชนพร้อมไปลงประชามติ
ซึ่งกรรมาธิการฯ ได้ประสานกับกรรมาธิการยกร่างฯ ว่า มีประเด็นใดที่อยากรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนเป็นพิเศษ กรรมาธิการฯ ได้จัดทำซีดีส่งให้กรรมาธิการฯ ประจำจังหวัดต่าง ๆ เพื่อเปิดให้ประชาชนรับฟังและแสดงความคิดเห็นกลับมายังกรรมาธิการฯ ขณะเดียวกันถ้ามีประเด็นคำถามก็ต่อสายตรง เรียกกว่า call center ที่รัฐสภา ซึ่งมีกรรมาธิการยกร่างฯ คอยตอบคำถาม หลังจากออกไปรับฟังความคิดเห็นของประชาชนพบว่า มีอุปสรรคและปัญหา ๒ เรื่อง คือ ๑. การขนคนเข้าไปแสดงความคิดเห็นในเวทีรับฟังความคิดเห็นในประเด็นที่ต้องการ พอผ่านขั้นตอนการโหวตก็ออกจากเวทีไป ๒. กรรมาธิการวิสามัญประจำจังหวัด ๗๖ จังหวัด บางจังหวัดนำความคิดเห็นประมวลผลไม่ทัน
จากนั้น นายวรพล โสคติยานุรักษ์ รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญประสานการมีส่วนร่วมและการประชามติ ได้นำเสนอผลการรับฟังความคิดเห็นในช่วงที่ ๒ ว่า ได้แบ่งเวทีในการรับฟังความคิดเห็นเป็น ๔ ภาค จำนวน ๓๑๖ เวที มีประชาชนเข้าร่วมกว่า ๖๐,๐๐๐ คน ปรากฏว่าในหมวดสิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมของประชาชนและสิทธิชุมชน ประชากรส่วนใหญ่ เห็นด้วย เพราะทำให้มีการกระจายสิทธิในการปกครองและการบริหารท้องถิ่นมากขึ้น และมีประเด็น ที่น่าสนใจ คือ มาตรา ๖๘ (๒) เรื่องคณะบุคคลเพื่อหาทางออกในยามวิกฤติ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยร้อยละ ๖๐.๘ โดยให้เหตุผลว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในยามวิกฤตเป็นปัญหาเฉพาะ จึงต้องมีกลุ่มบุคคลเข้ามาทำหน้าที่แก้ไขวิกฤตของประเทศ
ในประเด็นจำนวนและการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น ประชาชน ทั่วประเทศเห็นด้วยกับกรรมาธิการยกร่างฯ ๖๑.๘% เพราะการลดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จะทำให้ประหยัดงบประมาณ รวมถึงการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ๓ คน จะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการบริการมากขึ้น และทำให้ยากต่อการซื้อเสียง
ส่วนประเด็นจำนวนและการสรรหาสมาชิกวุฒิสภานั้น ประชาชนทั่วไปไม่เห็นด้วยถึง ๕๔.๗% โดยให้เหตุผลว่า สมาชิกวุฒิสภาต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรง ถึงตรงกับหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย
นอกจากนี้ประชาชนส่วนใหญ่ยังเห็นด้วยกับการกำหนดให้ประชาชน ๒๐,๐๐๐ รายชื่อ ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คณะกรรมการสรรหาองค์กรอิสระ การคานและดุลอำนาจใบแดงของคณะกรรมการการเลือกตั้ง บทบาทใหม่ของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา การเพิ่มอำนาจและการลดจำนวนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ การปรับบทบาทตุลาการ อัยการ ให้เป็นอิสระมากขึ้น การกำหนดคุณธรรม จริยธรรมทางการเมือง การที่ประชาชนมีสิทธิเข้าชื่อเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ มีแค่เพียง ๒ ประเด็นที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย คือ ๑. การให้บำเหน็จ บำนาญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา เพราะถือเป็นการสิ้นเปลืองและเป็นงบประมาณผูกพันรายจ่ายระยะยาว และในประเด็นกฎหมายนิรโทษกรรม เพราะเป็นการผิดหลักของระบอบประชาธิปไตย
ส่วนประเด็นการบัญญัติพุทธศาสนาเป็นศาสนาประชาตินั้น มีรายงานในการขนคนเข้ามาร่วมในเวทีแสดงความคิดเห็นและโหวต ดังนั้นจึงทำให้สถิติผิดเพี้ยนไป แต่ก็มีข้อเสนอว่า ถ้าบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญจะส่งผลให้เกิดความแตกแยกในสังคม
ที่ประชุมฯ ได้อภิปรายกันอย่างเคร่งเครียดและคัดค้านต่อกรณีการขนคนไปร่วมแสดงความคิดเห็น ในประเด็นการบัญญัติพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
]
ทั้งหมดเป็นการสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนจากเวทีต่าง ๆ ทั่วประเทศ ข้อมูลตามเอกสารที่แจกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญทุกคนแล้ว เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแปรญัตติต่อไป
ที่ประชุมฯ รับทราบ
๔.๒ พิจารณารายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการ
ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สภาร่างรัฐธรรมนูญ
นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี ประธานคณะกรรมาธิการการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ รายงานผลการดำเนินงานว่า ได้วางกรอบวิสัยทัศน์ของการทำงานดังนี้ คือ การร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมร่างรัฐธรรมนูญ ร่วมลงประชามติ จากทุกภาคส่วนของสังคม เพื่อให้รัฐธรรมนูญเป็นของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง โดยมีนโยบายเน้นการประชาสัมพันธ์กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ เนื้อหาสาระ รวมถึงการสร้างภาพลักษณ์ของสภาร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นที่ยอมรับ ของประชาชนโดยทั่วไป การดำเนินงานของกรรมาธิการฯ นั้นแบ่งเป็น ๓ ช่วง คือ
ช่วงที่ ๑ รณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการยกร่างรัฐธรรมนูญ
ช่วงที่ ๒ การให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก พร้อมทั้งให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ
ช่วงที่ ๓ การทำให้ประชาชนเข้าใจในร่างรัฐธรรมนูญและตระหนักถึงความ
สำคัญในการลงประชามติ ซึ่งมีการรณรงค์ทั้ง ๓ ช่วงนั้น ผ่านทางสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ แผ่นพับ โปสเตอร์ สติ๊กเกอร์ ป้ายคัทเอ้าท์ต่าง ๆ พร้อมทั้งผ่านทางสื่อสารสนเทศ อินเตอร์เน็ต เพื่อสื่อสารกับประชาชนไทยทั่วโลก
สำหรับการรณรงค์ในช่วงที่ ๓ มีการรณรงค์ว่า “เห็นชอบรัฐธรรมนูญใหม่ เพื่อมีประชาธิปไตยของปวงชน” ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับการรณรงค์การลงประชามติรัฐธรรมนูญ
กรรมาธิการฯ ได้ประเมินผลการประชาสัมพันธ์ว่า ได้เข้าถึงประชาชนกว่า ๓๐ ล้านคนแล้ว และในช่วงเวลาที่เหลืออยู่นี้ ทางกรรมาธิการฯ จะประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วประเทศได้รับทราบต่อไป
กรรมาธิการฯ ได้ฉายภาพสปอตประชาสัมพันธ์ พร้อมทั้งเปิดสปอตวิทยุให้ ที่ประชุมฯ ได้รับทราบ
ประธานฯ แจ้งต่อกรรมาธิการฯ โดยขอให้เพิ่มวันที่ในการลงประชามติลงไปในสปอตประชาสัมพันธ์ด้วย ถ้ามีการกำหนดวันลงประชามติที่แน่นอนแล้ว
กรรมาธิการฯ รับทราบ
สมาชิกฯ ส่วนใหญ่ชื่นชมกับผลการดำเนินงานของกรรมาธิการฯ แต่มีข้อห่วงใยในเรื่องต่อไปนี้ ๑. ขอให้เลือกช่วงเวลาในการออกอากาศทางโทรทัศน์ให้เป็นช่วงเวลาที่ประชาชนสนใจชม เช่น หลังข่าว เป็นต้น ๒. สีเขียวที่ใช้ในการรณรงค์การลงประชามติเป็นสีที่ตรงกับกลุ่มคัดค้านรัฐธรรมนูญใช้กันหรือไม่ ๓. ขอให้กรรมาธิการติดตามผลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับเอกสาร แผ่นพับ โปสเตอร์ คัทเอ้าท์ต่าง ๆ นั้น ในต่างจังหวัดยังไม่ค่อยมีนัก ๔. กรณีนักวิชาการ ๗๖ คน ที่ออกมาประกาศรณรงค์ไม่รับ ร่างรัฐธรรมนูญนั้น ขอฝากให้กรรมาธิการฯ ประชาสัมพันธ์ได้ไปหารือทำความเข้าใจ
ประธานฯ ชี้แจงเรื่องสีเขียวที่ใช้ในการรณรงค์ลงประชามตินั้น ทางสภาร่าง รัฐธรรมนูญใช้สีเขียวเข้ม ซึ่งเป็นสีของรัชกาลที่ ๗ ส่วนสีเขียวที่คัดค้านรัฐธรรมนูญเป็นสีเขียวตองอ่อน
ที่ประชุมฯ รับทราบ
๕. เรื่องอื่น ๆ ไม่มี
การตั้งซ่อมกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนประจำจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีกรรมาธิการฯ ลาออก ๓ คน บัดนี้ได้เสนอรายชื่อแทนตำแหน่งที่ว่างและตรวจสอบหลักฐานและเอกสารเรียบร้อยแล้ว จึงนำเสนอที่ประชุมฯ เพื่อแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง
ที่ประชุมเห็นชอบ
ปิดประชุมเวลา ๑๔.๒๕ นาฬิกา
--------------------------------------------------
วันจันทร์ที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๐
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๒๐/๒๕๕๐ วันจันทร์ที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๐ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา โดยมีนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานการประชุม เมื่อครบองค์ประชุมประธานฯ ได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
๑. เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม
ประธานฯ ได้แจ้งว่า สภาร่างรัฐธรรมนูญจะพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญจาก การแปรญัตติ ตั้งแต่วันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๐ เป็นต้นไป และอยากให้ทุกอย่างเรียบร้อยภายในเดือนมิถุนายน เพื่อให้สภาร่างรัฐธรรมนูญมีเวลาพิจารณารับร่างทั้งฉบับ ก่อนวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ดังนั้นขอให้สมาชิกเข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง
๒. รับรองรายงานการประชุม ไม่มี
๓. เรื่องที่ค้างพิจารณา ไม่มี
๔. เรื่องที่เสนอใหม่
๔.๑ พิจารณารายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญ
ประสานการมีส่วนร่วมและการประชามติ สภาร่างรัฐธรรมนูญ
นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญประสานการมีส่วนร่วมและการประชามติ ได้รายงานผลการดำเนินงาน โดยแบ่งออกเป็น ๓ ช่วง คือ
ช่วงที่ ๑ รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนก่อนยกร่างรัฐธรรมนูญ
ช่วงที่ ๒ รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนเมื่อยกร่างฯ แรก เสร็จแล้ว
ช่วงที่ ๓ เป็นช่วงในการรณรงค์เพื่อสร้างความเข้าใจในรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ
ให้กับประชาชนพร้อมไปลงประชามติ
ซึ่งกรรมาธิการฯ ได้ประสานกับกรรมาธิการยกร่างฯ ว่า มีประเด็นใดที่อยากรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนเป็นพิเศษ กรรมาธิการฯ ได้จัดทำซีดีส่งให้กรรมาธิการฯ ประจำจังหวัดต่าง ๆ เพื่อเปิดให้ประชาชนรับฟังและแสดงความคิดเห็นกลับมายังกรรมาธิการฯ ขณะเดียวกันถ้ามีประเด็นคำถามก็ต่อสายตรง เรียกกว่า call center ที่รัฐสภา ซึ่งมีกรรมาธิการยกร่างฯ คอยตอบคำถาม หลังจากออกไปรับฟังความคิดเห็นของประชาชนพบว่า มีอุปสรรคและปัญหา ๒ เรื่อง คือ ๑. การขนคนเข้าไปแสดงความคิดเห็นในเวทีรับฟังความคิดเห็นในประเด็นที่ต้องการ พอผ่านขั้นตอนการโหวตก็ออกจากเวทีไป ๒. กรรมาธิการวิสามัญประจำจังหวัด ๗๖ จังหวัด บางจังหวัดนำความคิดเห็นประมวลผลไม่ทัน
จากนั้น นายวรพล โสคติยานุรักษ์ รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญประสานการมีส่วนร่วมและการประชามติ ได้นำเสนอผลการรับฟังความคิดเห็นในช่วงที่ ๒ ว่า ได้แบ่งเวทีในการรับฟังความคิดเห็นเป็น ๔ ภาค จำนวน ๓๑๖ เวที มีประชาชนเข้าร่วมกว่า ๖๐,๐๐๐ คน ปรากฏว่าในหมวดสิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมของประชาชนและสิทธิชุมชน ประชากรส่วนใหญ่ เห็นด้วย เพราะทำให้มีการกระจายสิทธิในการปกครองและการบริหารท้องถิ่นมากขึ้น และมีประเด็น ที่น่าสนใจ คือ มาตรา ๖๘ (๒) เรื่องคณะบุคคลเพื่อหาทางออกในยามวิกฤติ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยร้อยละ ๖๐.๘ โดยให้เหตุผลว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในยามวิกฤตเป็นปัญหาเฉพาะ จึงต้องมีกลุ่มบุคคลเข้ามาทำหน้าที่แก้ไขวิกฤตของประเทศ
ในประเด็นจำนวนและการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น ประชาชน ทั่วประเทศเห็นด้วยกับกรรมาธิการยกร่างฯ ๖๑.๘% เพราะการลดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จะทำให้ประหยัดงบประมาณ รวมถึงการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ๓ คน จะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการบริการมากขึ้น และทำให้ยากต่อการซื้อเสียง
ส่วนประเด็นจำนวนและการสรรหาสมาชิกวุฒิสภานั้น ประชาชนทั่วไปไม่เห็นด้วยถึง ๕๔.๗% โดยให้เหตุผลว่า สมาชิกวุฒิสภาต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรง ถึงตรงกับหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย
นอกจากนี้ประชาชนส่วนใหญ่ยังเห็นด้วยกับการกำหนดให้ประชาชน ๒๐,๐๐๐ รายชื่อ ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คณะกรรมการสรรหาองค์กรอิสระ การคานและดุลอำนาจใบแดงของคณะกรรมการการเลือกตั้ง บทบาทใหม่ของผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา การเพิ่มอำนาจและการลดจำนวนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ การปรับบทบาทตุลาการ อัยการ ให้เป็นอิสระมากขึ้น การกำหนดคุณธรรม จริยธรรมทางการเมือง การที่ประชาชนมีสิทธิเข้าชื่อเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ มีแค่เพียง ๒ ประเด็นที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย คือ ๑. การให้บำเหน็จ บำนาญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา เพราะถือเป็นการสิ้นเปลืองและเป็นงบประมาณผูกพันรายจ่ายระยะยาว และในประเด็นกฎหมายนิรโทษกรรม เพราะเป็นการผิดหลักของระบอบประชาธิปไตย
ส่วนประเด็นการบัญญัติพุทธศาสนาเป็นศาสนาประชาตินั้น มีรายงานในการขนคนเข้ามาร่วมในเวทีแสดงความคิดเห็นและโหวต ดังนั้นจึงทำให้สถิติผิดเพี้ยนไป แต่ก็มีข้อเสนอว่า ถ้าบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญจะส่งผลให้เกิดความแตกแยกในสังคม
ที่ประชุมฯ ได้อภิปรายกันอย่างเคร่งเครียดและคัดค้านต่อกรณีการขนคนไปร่วมแสดงความคิดเห็น ในประเด็นการบัญญัติพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
]
ทั้งหมดเป็นการสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนจากเวทีต่าง ๆ ทั่วประเทศ ข้อมูลตามเอกสารที่แจกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญทุกคนแล้ว เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแปรญัตติต่อไป
ที่ประชุมฯ รับทราบ
๔.๒ พิจารณารายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการ
ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สภาร่างรัฐธรรมนูญ
นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี ประธานคณะกรรมาธิการการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ รายงานผลการดำเนินงานว่า ได้วางกรอบวิสัยทัศน์ของการทำงานดังนี้ คือ การร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมร่างรัฐธรรมนูญ ร่วมลงประชามติ จากทุกภาคส่วนของสังคม เพื่อให้รัฐธรรมนูญเป็นของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง โดยมีนโยบายเน้นการประชาสัมพันธ์กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ เนื้อหาสาระ รวมถึงการสร้างภาพลักษณ์ของสภาร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นที่ยอมรับ ของประชาชนโดยทั่วไป การดำเนินงานของกรรมาธิการฯ นั้นแบ่งเป็น ๓ ช่วง คือ
ช่วงที่ ๑ รณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการยกร่างรัฐธรรมนูญ
ช่วงที่ ๒ การให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก พร้อมทั้งให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ
ช่วงที่ ๓ การทำให้ประชาชนเข้าใจในร่างรัฐธรรมนูญและตระหนักถึงความ
สำคัญในการลงประชามติ ซึ่งมีการรณรงค์ทั้ง ๓ ช่วงนั้น ผ่านทางสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ แผ่นพับ โปสเตอร์ สติ๊กเกอร์ ป้ายคัทเอ้าท์ต่าง ๆ พร้อมทั้งผ่านทางสื่อสารสนเทศ อินเตอร์เน็ต เพื่อสื่อสารกับประชาชนไทยทั่วโลก
สำหรับการรณรงค์ในช่วงที่ ๓ มีการรณรงค์ว่า “เห็นชอบรัฐธรรมนูญใหม่ เพื่อมีประชาธิปไตยของปวงชน” ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับการรณรงค์การลงประชามติรัฐธรรมนูญ
กรรมาธิการฯ ได้ประเมินผลการประชาสัมพันธ์ว่า ได้เข้าถึงประชาชนกว่า ๓๐ ล้านคนแล้ว และในช่วงเวลาที่เหลืออยู่นี้ ทางกรรมาธิการฯ จะประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วประเทศได้รับทราบต่อไป
กรรมาธิการฯ ได้ฉายภาพสปอตประชาสัมพันธ์ พร้อมทั้งเปิดสปอตวิทยุให้ ที่ประชุมฯ ได้รับทราบ
ประธานฯ แจ้งต่อกรรมาธิการฯ โดยขอให้เพิ่มวันที่ในการลงประชามติลงไปในสปอตประชาสัมพันธ์ด้วย ถ้ามีการกำหนดวันลงประชามติที่แน่นอนแล้ว
กรรมาธิการฯ รับทราบ
สมาชิกฯ ส่วนใหญ่ชื่นชมกับผลการดำเนินงานของกรรมาธิการฯ แต่มีข้อห่วงใยในเรื่องต่อไปนี้ ๑. ขอให้เลือกช่วงเวลาในการออกอากาศทางโทรทัศน์ให้เป็นช่วงเวลาที่ประชาชนสนใจชม เช่น หลังข่าว เป็นต้น ๒. สีเขียวที่ใช้ในการรณรงค์การลงประชามติเป็นสีที่ตรงกับกลุ่มคัดค้านรัฐธรรมนูญใช้กันหรือไม่ ๓. ขอให้กรรมาธิการติดตามผลการปฏิบัติงานเกี่ยวกับเอกสาร แผ่นพับ โปสเตอร์ คัทเอ้าท์ต่าง ๆ นั้น ในต่างจังหวัดยังไม่ค่อยมีนัก ๔. กรณีนักวิชาการ ๗๖ คน ที่ออกมาประกาศรณรงค์ไม่รับ ร่างรัฐธรรมนูญนั้น ขอฝากให้กรรมาธิการฯ ประชาสัมพันธ์ได้ไปหารือทำความเข้าใจ
ประธานฯ ชี้แจงเรื่องสีเขียวที่ใช้ในการรณรงค์ลงประชามตินั้น ทางสภาร่าง รัฐธรรมนูญใช้สีเขียวเข้ม ซึ่งเป็นสีของรัชกาลที่ ๗ ส่วนสีเขียวที่คัดค้านรัฐธรรมนูญเป็นสีเขียวตองอ่อน
ที่ประชุมฯ รับทราบ
๕. เรื่องอื่น ๆ ไม่มี
การตั้งซ่อมกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนประจำจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีกรรมาธิการฯ ลาออก ๓ คน บัดนี้ได้เสนอรายชื่อแทนตำแหน่งที่ว่างและตรวจสอบหลักฐานและเอกสารเรียบร้อยแล้ว จึงนำเสนอที่ประชุมฯ เพื่อแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง
ที่ประชุมเห็นชอบ
ปิดประชุมเวลา ๑๔.๒๕ นาฬิกา
--------------------------------------------------