ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. ขอให้ธนาคารตัวแทนเปิดรับใบจองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ ธปท. ตามกำหนดเดิม นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ์ ผอส.
ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธปท. กล่าวว่า ได้หารือกับ ธ.พาณิชย์ 8 แห่ง ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ ธปท.
วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท ที่จะขายให้รายย่อย เนื่องจากในช่วง 2 วันที่ผ่านมามีประชาชนจำนวนมากร้องเรียนว่า ธ.พาณิชย์ไม่ยอมเปิดให้รายย่อย
จองซื้อโดยอ้างว่าพันธบัตรหมดทั้งที่ยังไม่ถึงวันเปิดจองจริง ซึ่ง ธปท. ได้ขอให้ธนาคารตัวแทนต้องเปิดรับใบจองซื้อจากประชาชนรายย่อยตาม
เดิมในช่วงวันที่ 27 ส.ค. — 4 ก.ย.50 ส่วนจะได้หรือไม่ได้ขึ้นอยู่กับลำดับก่อนหลัง ส่วนการจ่ายเงินซื้อก็ไม่ควรวางเงินก่อน เพราะพันธบัตร
เริ่มคิดดอกเบี้ยในวันที่ 5 ก.ย. ทั้งนี้ หากใบจองมีมากเกินวงเงิน 4 หมื่นล้านบาท ธปท. จะพิจารณาว่าต้องออกพันธบัตรออมทรัพย์เพิ่มหรือไม่
สำหรับวงเงินซื้อสูงสุดต่อรายจะไม่จำกัด แต่จำกัดจำนวนซื้อขั้นต่ำที่ 5 หมื่นบาทเช่นเดิม เพราะการเปลี่ยนเงื่อนไขกลับไปกลับมาคงไม่เหมาะสม
อย่างไรก็ตาม ธปท. ยืนยันว่าการออกพันธบัตรออมทรัพย์จะไม่มีผลกระทบต่อผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล หรือกระทบต่อสภาพคล่องในระบบจน
ทำให้ดอกเบี้ยขึ้น เนื่องจากเป็นคนละตลาด ซึ่งพันธบัตรออมทรัพย์จะช่วยรองรับนักลงทุนรายย่อยที่จะไถ่ถอนพันธบัตรช่วยชาติ วงเงิน
1.4 หมื่นล้านบาท ที่เคยออกตั้งแต่ปี 45 และจะครบกำหนดไถ่ถอนช่วงเดือน ก.ย.ปีนี้ (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ยอดเอ็นพีแอล ณ สิ้นเดือน ก.ค.50 มีจำนวน 2.54 แสนล้านบาท รายงานข่าวจาก ธปท. แจ้งว่า ยอดเอ็นพีแอล ณ
สิ้นเดือน ก.ค.50 มีจำนวนทั้งสิ้น 254,623.85 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 114 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.04 ของสินเชื่อรวม แบ่งเป็น
เอ็นพีแอลของ ธ.พาณิชย์ 249,492.12 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.79 สาขาธนาคารต่างประเทศ 2,880.58 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.52
บง. 1,960.14 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.13 และ บค. 291 ล้านบาท หรือร้อยละ 67.31 ของสินเชื่อรวม โดยในส่วนของ บง. เพิ่มขึ้น
สูงสุด 93 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.97 รองลงมาเป็นของ ธ.พาณิชย์ไทยเพิ่มขึ้น 19 ล้านบาท และ บค. เพิ่มขึ้น 2 ล้านบาท (โลกวันนี้,
ผู้จัดการรายวัน)
3. นักวิชาการแนะ ธปท. ไม่ควรยึดถือเป้าหมายเงินเฟ้อเพียงอย่างเดียว นายศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการการประชุมสหประชาชาติ
ว่าด้วยการค้าการพัฒนา กล่าวว่า การดูแลนโยบายการเงิน อัตราแลกเปลี่ยน เงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย ของ ธปท. ต้องไม่ยึดถือเป้าหมายเงินเฟ้อ
เพียงอย่างเดียวหรือกลัวเงินเฟ้อเกินกว่าเหตุ เพราะ ธปท. ยังต้องดูแลภาพรวมเศรษฐกิจมหภาคที่เกี่ยวข้องกับนโยบายด้านการผลิต แรงงาน
รวมถึงการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ขณะเดียวกัน ธปท. ควรมีมาตรการหรือระเบียบในการควบคุมเงินทุนระยะสั้นที่เข้ามาเก็งกำไรอัตราดอกเบี้ย
และอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่เกี่ยวข้องกับเงินทุนในตลาดหลักทรัพย์ หรือควรออกมาตรการอย่างสร้างสรรค์ และควรมีเครื่องมือที่ทำให้ผู้ประกอบการ
ใช้ในการบริหารด้านความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนด้วย สำหรับการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนอย่ายึดสกุลเงินดอลลาร์ สรอ. เพียงสกุลเดียว ต้อง
เปรียบเทียบกับค่าเงินสกุลอื่นด้วย ส่วนการดูแลค่าเงินบาทและแทรกแซงไม่ให้ค่าเงินผันผวนถือว่าเหมาะสมแล้ว อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเกิด
เหตุการณ์ใด ๆ ต้องการให้ภาครัฐรักษาบุคลากรและ ธปท. เอาไว้เพื่อให้องค์กรนี้ทำหน้าที่ดูแลบริหารนโยบายการเงินการคลังของประเทศ
อย่างเป็นเอกเทศ (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
4. ก.คลังจะจัดงานสัมมนาเพื่อสร้างความเข้าใจร่าง พรบ.เงินตรา นางพรรณี สถาวโรดม ผอ.สนง.เศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
กล่าวว่า ก.คลังจะจัดงานสัมมนาเพื่อสร้างความเข้าใจในร่าง พรบ.เงินตรา ในวันที่ 28 ส.ค.50 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้
ความเข้าใจ รวมทั้งเปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับร่าง พรบ.เงินตรา ก่อนนำเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาในวาระที่ 1
ในวันที่ 12 ก.ย.50 ซึ่งการสัมมนาแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรกเป็นการบรรยายเพื่อสร้างความเข้าใจในร่าง พรบ.เงินตรา โดยวิทยากรจาก
สศค. และ ธปท. ส่วนช่วงที่ 2 จะเปิดโอกาสให้ผู้เข้าสัมมนาสอบถามข้อมูลและร่วมแสดงความคิดเห็น (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ สรอ. ณ สัปดาห์ก่อนหน้าลดลง 2,000 คน รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ
23 ส.ค.50 ก.แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 18 ส.ค.50 อยู่ที่
จำนวน 322,000 คน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่อยู่ที่จำนวน 324,000 คน หรือลดลงจำนวน 2,000 คน ขณะที่ผลสำรวจนักวิเคราะห์
จากวอลล์สตรีทคาดการณ์ว่าจะอยู่ที่จำนวน 320,000 คน สำหรับจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ ซึ่งสะท้อนสถานการณ์แรงงาน
ได้แม่นยำกว่าเนื่องจากปรับความผันผวนแล้ว เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 3 โดยเพิ่มขึ้นอยู่ที่จำนวน 317,750 คน จากจำนวน 313,000 คน
ในสัปดาห์ก่อนหน้า ทั้งนี้ จำนวนผู้ว่างงานของ สรอ.ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ภายหลังจากที่จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้นสูงสุด
ตั้งแต่กลางเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ส่วนจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่เคยขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกไปแล้ว ณ สัปดาห์สิ้นสุด
วันที่ 11 ส.ค.50 (ซึ่งเป็นสัปดาห์ล่าสุดที่มีการรายงานตัวเลข) อยู่ที่จำนวน 2.57 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นจำนวน 16,000 คน สูงกว่าที่คาดไว้ว่า
จะมีจำนวน 2.56 ล้านคน (รอยเตอร์)
2. จีดีพีของเยอรมนีในไตรมาส 2 ปี 50 ขยายตัวร้อยละ 0.3 รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 23 ส.ค.50 สำนักงานสถิติเยอรมนี
เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของเยอรมนีในไตรมาส 2 ปี 50 ขยายตัวร้อยละ 0.3 ชะลอลงจากใตรมาสแรกปี 50 ที่ขยายตัว
ร้อยละ 0.5 ทั้งนี้ เนื่องจากการค้ากับต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ขณะที่การลงทุนในโรงงานและเครื่องจักรขยายตัวร้อยละ 0.2 ส่วนการ
ลงทุนในภาคการก่อสร้างขยายตัวลดลงร้อยละ 0.5 และหากเทียบกับปีก่อนหน้า จีดีพีของเยอรมนีในไตรมาส 2 ปี 49 ก่อนปรับปัจจัยเกี่ยวกับ
วันทำงาน ขยายตัวร้อยละ 2.5 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ในไตรมาสแรก ปี 50 และหากปรับปัจจัยเกี่ยวกับวันทำงานแล้ว จีดีพีในไตรมาส 2
ยังคงขยายตัวเท่าเดิม คือ ร้อยละ 2.5 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.6 (รอยเตอร์)
3. การลงทุนของภาคธุรกิจในอังกฤษในไตรมาสที่ 2 ปีนี้เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.8 ต่อไตรมาสต่ำกว่าที่คาดไว้ รายงานจากลอนดอน
เมื่อ 23 ส.ค.50 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงานการลงทุนของภาคธุรกิจในอังกฤษเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.8 ในไตรมาสที่ 2 ปี 50
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ต่อไตรมาส และหากเทียบต่อปีแล้ว การลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 ต่อปี
หลังจากในไตรมาสสุดท้ายปี 49 เพิ่มขึ้นในอัตราสูงกว่าร้อยละ 13 ต่อปี สูงสุดในรอบ 8 ปี การลงทุนที่เพิ่มขึ้นต่ำกว่าที่คาดไว้ดังกล่าวท้าทาย
ความเชื่อของ ธ.กลางอังกฤษซึ่งคาดการณ์ไว้ในรายงานเงินเฟ้อประจำเดือนนี้ว่าการลงทุนของภาคธุรกิจยังมีแนวโน้มสดใส แต่อย่างไรก็ดี
นักวิเคราะห์เตือนว่าตัวเลขดังกล่าวยังเป็นเพียงตัวเลขเบื้องต้น จึงมีโอกาสที่จะถูกปรับเพิ่มขึ้นอีก โดย สนง.สถิติแห่งชาติมีกำหนดจะรายงาน
ตัวเลขการลงทุนของภาคธุรกิจครั้งที่ 2 ในวันที่ 24 ส.ค.50 นี้ ทั้งนี้ เมื่อดูในรายละเอียดแล้วการลงทุนในภาคการผลิตโดยเฉพาะในอุตสาหกรรม
ที่เกี่ยวกับโลหะและวิศวกรรมลดลงมากที่สุดด้วยอัตราเลขสองหลัก ในขณะที่อุตสาหกรรมน้ำมันเชื้อเพลิง อาหารและเครื่องดื่ม สิ่งทอและภาคบริการ
การจัดจำหน่ายมีตัวเลขการลงทุนสูงขึ้น (รอยเตอร์)
4. คาดว่าเศรษฐกิจอังกฤษในไตรมาสที่ 2 จะขยายตัวอย่างแข็งแกร่งจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคและการลงทุน รายงานจากลอนดอน
เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 50 ผลการสำรวจคาดว่าเศรษฐกิจ (GDP) ในไตรมาสที่ 2 ของอังกฤษจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งและต่อเนื่องจากการใช้จ่าย
บริโภคภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ และการลงทุน แม้ว่าต้นทุนการกู้ยืมจะเพิ่มขึ้นและรายได้จากค่าจ้างจะไม่
เพิ่มขึ้นก็ตาม ทั้งนี้ตัวเลข GDP เบื้องต้นที่ประกาศเมื่อเดือนที่แล้วบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 เติบโตเร่งขึ้นทำสถิติสูงสุดต่อเนื่องติดต่อกัน
โดยเมื่อเทียบต่อไตรมาสเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 และเมื่อเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ซึ่งตัวเลข GDP ได้สร้างความประหลาดใจให้แก่ ธ.กลาง
อังกฤษและตลาดเงินเป็นอันมาก และยังสนับสนุนการคาดการณ์ว่า ธ.กลางอังกฤษจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นร้อยละ 6.0 ในราว
ปลายปีนี้เพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อและป้องกันวิกฤตสินเชื่อและสภาพคล่องที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดกับนักลงทุน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 24 ส.ค. 50 23 ส.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.405 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.1805/34.5202 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.37438 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 791.50/20.21 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,650/10,750 10,700/10,800 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 66.21 65.78 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 28.39*/25.34* 28.39*/25.34* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดสิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 9 ส.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. ขอให้ธนาคารตัวแทนเปิดรับใบจองซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ ธปท. ตามกำหนดเดิม นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ์ ผอส.
ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธปท. กล่าวว่า ได้หารือกับ ธ.พาณิชย์ 8 แห่ง ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ ธปท.
วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท ที่จะขายให้รายย่อย เนื่องจากในช่วง 2 วันที่ผ่านมามีประชาชนจำนวนมากร้องเรียนว่า ธ.พาณิชย์ไม่ยอมเปิดให้รายย่อย
จองซื้อโดยอ้างว่าพันธบัตรหมดทั้งที่ยังไม่ถึงวันเปิดจองจริง ซึ่ง ธปท. ได้ขอให้ธนาคารตัวแทนต้องเปิดรับใบจองซื้อจากประชาชนรายย่อยตาม
เดิมในช่วงวันที่ 27 ส.ค. — 4 ก.ย.50 ส่วนจะได้หรือไม่ได้ขึ้นอยู่กับลำดับก่อนหลัง ส่วนการจ่ายเงินซื้อก็ไม่ควรวางเงินก่อน เพราะพันธบัตร
เริ่มคิดดอกเบี้ยในวันที่ 5 ก.ย. ทั้งนี้ หากใบจองมีมากเกินวงเงิน 4 หมื่นล้านบาท ธปท. จะพิจารณาว่าต้องออกพันธบัตรออมทรัพย์เพิ่มหรือไม่
สำหรับวงเงินซื้อสูงสุดต่อรายจะไม่จำกัด แต่จำกัดจำนวนซื้อขั้นต่ำที่ 5 หมื่นบาทเช่นเดิม เพราะการเปลี่ยนเงื่อนไขกลับไปกลับมาคงไม่เหมาะสม
อย่างไรก็ตาม ธปท. ยืนยันว่าการออกพันธบัตรออมทรัพย์จะไม่มีผลกระทบต่อผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล หรือกระทบต่อสภาพคล่องในระบบจน
ทำให้ดอกเบี้ยขึ้น เนื่องจากเป็นคนละตลาด ซึ่งพันธบัตรออมทรัพย์จะช่วยรองรับนักลงทุนรายย่อยที่จะไถ่ถอนพันธบัตรช่วยชาติ วงเงิน
1.4 หมื่นล้านบาท ที่เคยออกตั้งแต่ปี 45 และจะครบกำหนดไถ่ถอนช่วงเดือน ก.ย.ปีนี้ (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
2. ยอดเอ็นพีแอล ณ สิ้นเดือน ก.ค.50 มีจำนวน 2.54 แสนล้านบาท รายงานข่าวจาก ธปท. แจ้งว่า ยอดเอ็นพีแอล ณ
สิ้นเดือน ก.ค.50 มีจำนวนทั้งสิ้น 254,623.85 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 114 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.04 ของสินเชื่อรวม แบ่งเป็น
เอ็นพีแอลของ ธ.พาณิชย์ 249,492.12 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.79 สาขาธนาคารต่างประเทศ 2,880.58 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.52
บง. 1,960.14 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.13 และ บค. 291 ล้านบาท หรือร้อยละ 67.31 ของสินเชื่อรวม โดยในส่วนของ บง. เพิ่มขึ้น
สูงสุด 93 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.97 รองลงมาเป็นของ ธ.พาณิชย์ไทยเพิ่มขึ้น 19 ล้านบาท และ บค. เพิ่มขึ้น 2 ล้านบาท (โลกวันนี้,
ผู้จัดการรายวัน)
3. นักวิชาการแนะ ธปท. ไม่ควรยึดถือเป้าหมายเงินเฟ้อเพียงอย่างเดียว นายศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการการประชุมสหประชาชาติ
ว่าด้วยการค้าการพัฒนา กล่าวว่า การดูแลนโยบายการเงิน อัตราแลกเปลี่ยน เงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย ของ ธปท. ต้องไม่ยึดถือเป้าหมายเงินเฟ้อ
เพียงอย่างเดียวหรือกลัวเงินเฟ้อเกินกว่าเหตุ เพราะ ธปท. ยังต้องดูแลภาพรวมเศรษฐกิจมหภาคที่เกี่ยวข้องกับนโยบายด้านการผลิต แรงงาน
รวมถึงการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ขณะเดียวกัน ธปท. ควรมีมาตรการหรือระเบียบในการควบคุมเงินทุนระยะสั้นที่เข้ามาเก็งกำไรอัตราดอกเบี้ย
และอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่เกี่ยวข้องกับเงินทุนในตลาดหลักทรัพย์ หรือควรออกมาตรการอย่างสร้างสรรค์ และควรมีเครื่องมือที่ทำให้ผู้ประกอบการ
ใช้ในการบริหารด้านความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนด้วย สำหรับการบริหารอัตราแลกเปลี่ยนอย่ายึดสกุลเงินดอลลาร์ สรอ. เพียงสกุลเดียว ต้อง
เปรียบเทียบกับค่าเงินสกุลอื่นด้วย ส่วนการดูแลค่าเงินบาทและแทรกแซงไม่ให้ค่าเงินผันผวนถือว่าเหมาะสมแล้ว อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเกิด
เหตุการณ์ใด ๆ ต้องการให้ภาครัฐรักษาบุคลากรและ ธปท. เอาไว้เพื่อให้องค์กรนี้ทำหน้าที่ดูแลบริหารนโยบายการเงินการคลังของประเทศ
อย่างเป็นเอกเทศ (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
4. ก.คลังจะจัดงานสัมมนาเพื่อสร้างความเข้าใจร่าง พรบ.เงินตรา นางพรรณี สถาวโรดม ผอ.สนง.เศรษฐกิจการคลัง (สศค.)
กล่าวว่า ก.คลังจะจัดงานสัมมนาเพื่อสร้างความเข้าใจในร่าง พรบ.เงินตรา ในวันที่ 28 ส.ค.50 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้
ความเข้าใจ รวมทั้งเปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับร่าง พรบ.เงินตรา ก่อนนำเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาในวาระที่ 1
ในวันที่ 12 ก.ย.50 ซึ่งการสัมมนาแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงแรกเป็นการบรรยายเพื่อสร้างความเข้าใจในร่าง พรบ.เงินตรา โดยวิทยากรจาก
สศค. และ ธปท. ส่วนช่วงที่ 2 จะเปิดโอกาสให้ผู้เข้าสัมมนาสอบถามข้อมูลและร่วมแสดงความคิดเห็น (โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ สรอ. ณ สัปดาห์ก่อนหน้าลดลง 2,000 คน รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ
23 ส.ค.50 ก.แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกของ สรอ. ณ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 18 ส.ค.50 อยู่ที่
จำนวน 322,000 คน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่อยู่ที่จำนวน 324,000 คน หรือลดลงจำนวน 2,000 คน ขณะที่ผลสำรวจนักวิเคราะห์
จากวอลล์สตรีทคาดการณ์ว่าจะอยู่ที่จำนวน 320,000 คน สำหรับจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานเฉลี่ย 4 สัปดาห์ ซึ่งสะท้อนสถานการณ์แรงงาน
ได้แม่นยำกว่าเนื่องจากปรับความผันผวนแล้ว เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 3 โดยเพิ่มขึ้นอยู่ที่จำนวน 317,750 คน จากจำนวน 313,000 คน
ในสัปดาห์ก่อนหน้า ทั้งนี้ จำนวนผู้ว่างงานของ สรอ.ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ภายหลังจากที่จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้นสูงสุด
ตั้งแต่กลางเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ส่วนจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่เคยขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกไปแล้ว ณ สัปดาห์สิ้นสุด
วันที่ 11 ส.ค.50 (ซึ่งเป็นสัปดาห์ล่าสุดที่มีการรายงานตัวเลข) อยู่ที่จำนวน 2.57 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นจำนวน 16,000 คน สูงกว่าที่คาดไว้ว่า
จะมีจำนวน 2.56 ล้านคน (รอยเตอร์)
2. จีดีพีของเยอรมนีในไตรมาส 2 ปี 50 ขยายตัวร้อยละ 0.3 รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ 23 ส.ค.50 สำนักงานสถิติเยอรมนี
เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของเยอรมนีในไตรมาส 2 ปี 50 ขยายตัวร้อยละ 0.3 ชะลอลงจากใตรมาสแรกปี 50 ที่ขยายตัว
ร้อยละ 0.5 ทั้งนี้ เนื่องจากการค้ากับต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ขณะที่การลงทุนในโรงงานและเครื่องจักรขยายตัวร้อยละ 0.2 ส่วนการ
ลงทุนในภาคการก่อสร้างขยายตัวลดลงร้อยละ 0.5 และหากเทียบกับปีก่อนหน้า จีดีพีของเยอรมนีในไตรมาส 2 ปี 49 ก่อนปรับปัจจัยเกี่ยวกับ
วันทำงาน ขยายตัวร้อยละ 2.5 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ในไตรมาสแรก ปี 50 และหากปรับปัจจัยเกี่ยวกับวันทำงานแล้ว จีดีพีในไตรมาส 2
ยังคงขยายตัวเท่าเดิม คือ ร้อยละ 2.5 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.6 (รอยเตอร์)
3. การลงทุนของภาคธุรกิจในอังกฤษในไตรมาสที่ 2 ปีนี้เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.8 ต่อไตรมาสต่ำกว่าที่คาดไว้ รายงานจากลอนดอน
เมื่อ 23 ส.ค.50 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงานการลงทุนของภาคธุรกิจในอังกฤษเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.8 ในไตรมาสที่ 2 ปี 50
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 ต่อไตรมาส และหากเทียบต่อปีแล้ว การลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 ต่อปี
หลังจากในไตรมาสสุดท้ายปี 49 เพิ่มขึ้นในอัตราสูงกว่าร้อยละ 13 ต่อปี สูงสุดในรอบ 8 ปี การลงทุนที่เพิ่มขึ้นต่ำกว่าที่คาดไว้ดังกล่าวท้าทาย
ความเชื่อของ ธ.กลางอังกฤษซึ่งคาดการณ์ไว้ในรายงานเงินเฟ้อประจำเดือนนี้ว่าการลงทุนของภาคธุรกิจยังมีแนวโน้มสดใส แต่อย่างไรก็ดี
นักวิเคราะห์เตือนว่าตัวเลขดังกล่าวยังเป็นเพียงตัวเลขเบื้องต้น จึงมีโอกาสที่จะถูกปรับเพิ่มขึ้นอีก โดย สนง.สถิติแห่งชาติมีกำหนดจะรายงาน
ตัวเลขการลงทุนของภาคธุรกิจครั้งที่ 2 ในวันที่ 24 ส.ค.50 นี้ ทั้งนี้ เมื่อดูในรายละเอียดแล้วการลงทุนในภาคการผลิตโดยเฉพาะในอุตสาหกรรม
ที่เกี่ยวกับโลหะและวิศวกรรมลดลงมากที่สุดด้วยอัตราเลขสองหลัก ในขณะที่อุตสาหกรรมน้ำมันเชื้อเพลิง อาหารและเครื่องดื่ม สิ่งทอและภาคบริการ
การจัดจำหน่ายมีตัวเลขการลงทุนสูงขึ้น (รอยเตอร์)
4. คาดว่าเศรษฐกิจอังกฤษในไตรมาสที่ 2 จะขยายตัวอย่างแข็งแกร่งจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคและการลงทุน รายงานจากลอนดอน
เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 50 ผลการสำรวจคาดว่าเศรษฐกิจ (GDP) ในไตรมาสที่ 2 ของอังกฤษจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งและต่อเนื่องจากการใช้จ่าย
บริโภคภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้นการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ และการลงทุน แม้ว่าต้นทุนการกู้ยืมจะเพิ่มขึ้นและรายได้จากค่าจ้างจะไม่
เพิ่มขึ้นก็ตาม ทั้งนี้ตัวเลข GDP เบื้องต้นที่ประกาศเมื่อเดือนที่แล้วบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 เติบโตเร่งขึ้นทำสถิติสูงสุดต่อเนื่องติดต่อกัน
โดยเมื่อเทียบต่อไตรมาสเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 และเมื่อเทียบต่อปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ซึ่งตัวเลข GDP ได้สร้างความประหลาดใจให้แก่ ธ.กลาง
อังกฤษและตลาดเงินเป็นอันมาก และยังสนับสนุนการคาดการณ์ว่า ธ.กลางอังกฤษจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นร้อยละ 6.0 ในราว
ปลายปีนี้เพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อและป้องกันวิกฤตสินเชื่อและสภาพคล่องที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดกับนักลงทุน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 24 ส.ค. 50 23 ส.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.405 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.1805/34.5202 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.37438 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 791.50/20.21 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,650/10,750 10,700/10,800 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 66.21 65.78 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 28.39*/25.34* 28.39*/25.34* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดสิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 9 ส.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--