ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนและดัชนีการลงทุนในไตรมาส 4 ปี 49 ชะลอลงจากไตรมาสก่อน ผอส.ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงภาวะเศรษฐกิจไตรมาสสุดท้ายของปี 49 ว่า ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี
ก่อนร้อยละ 1.2 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2 สอดคล้องกับการชะลอตัวลงของรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 24.2
ชะลอลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 27.6 โดยสาเหตุของการชะลอตัวลงส่วนหนึ่งมาจากความเชื่อมั่นของการอุปโภคบริโภคที่ลดลง โดย
ในเดือน ธ.ค.49 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ซึ่งมีสาเหตุมาจากความไม่สงบทางการเมืองในประเทศ และ
ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา นอกจากนั้น ก็เป็นการชะลอตัวลงจากฐานการคำนวณที่สูงในปีก่อน และการเกิดน้ำท่วมในหลายจังหวัด
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาดัชนีอุปโภคบริโภคของทั้งปี 49 พบว่าขยายตัวร้อยละ 1.3 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ขยายตัวได้เพียงร้อยละ 0.6 ด้านดัชนีชี้
การลงทุนภาคเอกชนในไตรมาส 4 ปี 49 ก็ชะลอตัวลงเช่นกัน โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.2 ชะลอลงจากไตรมาส 3 ที่ขยายตัวได้
ถึงร้อยละ 1.5 สอดคล้องกับการลดลงของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่ในเดือน ธ.ค.ของปีก่อนอยู่ที่ระดับ 45 โดยปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่
ดัชนีอยู่ที่ระดับ 45.7 ซึ่งเป็นการปรับลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน เช่นเดียวกันกับดัชนีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ใน 3 เดือนข้างหน้าที่
ปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 51.6 ในเดือน ธ.ค.49 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 แม้ว่าดัชนีจะมีระดับที่แสดงถึงความเชื่อมั่นดีขึ้นก็ตาม ทั้งนี้ ภาวะ
เศรษฐกิจในเดือน ธ.ค.49 ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปี 48 โดยขยายตัวในอัตราร้อยละ 5.1 จากการส่งออกที่ขยายตัวถึงร้อยละ 17.4
ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 7.0 ชะลอตัวลงตามอุปสงค์ในประเทศ ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 2.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากปีก่อนที่ขาดดุล
8.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, ไทยรัฐ, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์, แนวหน้า)
2. ธปท.ยอมรับการกำกับดูแลภาคการเงินของไทยในปัจจุบันต้องปรับปรุงและแก้ไขอย่างมาก ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยภายหลังจากการหารือร่วมกับเจ้าหน้าที่ของโครงการประเมินความพร้อมการกำกับดูแลภาคการเงิน (FSAP) ซึ่งเป็นโครงการ
ที่ประเมินหน่วยงานกำกับดูแลภาคการเงินไทยของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และธนาคารโลก ว่า ยอมรับว่า การดำเนินงาน
ของ ธปท.ในการกำกับดูแลภาคการเงินของไทยในปัจจุบันยังต้องมีการปรับปรุงและแก้ไขอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องกฎหมายการเงิน
ต่างๆ ที่ยังมีความล้าสมัยอยู่ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าผลประเมินจะออกมาดี แต่คงต้องรอรายงานผลจากทาง FSAP ก่อน (ผู้จัดการรายวัน,
สยามรัฐ, แนวหน้า)
3. ยอดตราสารหนี้ออกใหม่ปี 49 มีมูลค่า 3.1 ล้านบาท กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยว่า
ในปี 49 มีตราสารหนี้ใหม่ที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยจำนวน 2,860 รายการ มูลค่ารวม 3,153,780.34 ล้านบาท ประกอบด้วย
พันธบัตรรัฐบาล 23 รายการ มูลค่ารวม 236,723 ล้านบาท พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ 53 รายการ มูลค่ารวม 895,200 ล้านบาท พันธบัตร ธปท.
41 รายการ มูลค่ารวม 1 ล้านล้านบาท และตราสารหนี้ภาคเอกชน แบ่งเป็นหุ้นกู้ระยะยาว 84 รายการ มูลค่ารวม 213,973..92 ล้านบาท
และตราสารหนี้ระยะสั้น 2,508 รายการ มูลค่ารวม 736,556.22 ล้านบาท โดยมูลค่าคงค้างของตราสารหนี้ขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาด
ตราสารหนี้ ณ สิ้นปี 49 มีจำนวน 1,517 รายการ คิดเป็นมูลค่า 3,951,314.63 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 828,581.21 ล้านบาท จาก
3,122,733.42 ล้านบาท ในปี 48 (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
4. สศช.เตรียมเสนอแผนโลจิสติกส์และระบบโครงสร้างพื้นฐานระยะ 5-10 ปีต่อครม. รองเลขาธิการ คณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า สศช.เตรียมเสนอแผนการพัฒนาระบบการขนส่ง (โลจิสติกส์) และระบบโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ
ที่สำคัญทั่วประเทศ ระยะ 5-10 ปีต่อที่ประชุม ครม. โดยมีเป้าหมายเพื่อลดต้นทุนการขนส่งจากร้อยละ 16 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี)
ให้มาอยู่ที่ร้อยละ 13 ของจีดีพีในปี 54 นอกจากนี้ จะเสนอให้รัฐเปิดโอกาสให้เอกชนสามารถเข้าร่วมลงทุนในโครงการสำคัญ เช่น การพัฒนาทาง
ปัญญาของบุคลากร การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทั่วประเทศ โครงการก่อสร้างต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ และการพัฒนา
พลังงานทดแทน (มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ธ.กลาง สรอ.คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.25 ต่อปี รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 31 ม.ค.50 ธ.กลาง สรอ.
ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.25 ต่อปีซึ่งคงที่มาตั้งแต่เดือน มิ.ย.49 เป็นไปตามที่ตลาดการเงินคาดไว้ โดยให้เหตุผล
ประกอบการตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยว่ามาจากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ดีขึ้นจากช่วงก่อนหน้านี้โดยดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานซึ่งไม่รวมราคา
อาหารและพลังงานเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.1 ต่อปี ชะลอตัวลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 49 และสูงกว่าเป้าอัตราเงินเฟ้อที่ ธ.กลาง สรอ.ตั้งไว้ที่ร้อยละ
2.0 ต่อปี เพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจหลายตัวยังชี้ว่าเศรษฐกิจขยายตัวดีขึ้นโดยขยายตัวถึงร้อยละ 3.5 ต่อปีในไตรมาส
สุดท้ายปี 49 นอกจากนี้ราคาบ้านที่เคยลดลงมากในเดือน ธ.ค.49 ก็เริ่มมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ตลาดการเงินคาดว่า ธ.กลาง สรอ.จะคงอัตราดอกเบี้ย
ไว้ที่ร้อยละ 5.25 ต่อปีไปจนถึงเดือน พ.ค.50 เป็นอย่างน้อยและผลสำรวจความเห็นของธุรกิจที่ซื้อขายพันธบัตรโดยตรงกับ ธ.กลาง สรอ.จำนวน
22 รายโดยรอยเตอร์มีถึง 11 รายหรือร้อยละ 50 ที่คาดว่าการเคลื่อนไหวครั้งต่อไปของ ธ.กลาง สรอ.จะเป็นการลดอัตราดอกเบี้ยโดยคาดว่า
อาจมีขึ้นในเดือน ก.ย.50 เป็นอย่างเร็ว (รอยเตอร์)
2. คาดว่าการลงทุนของจีนในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 22 ชะลอลงจากร้อยละ 24 เมื่อปีที่แล้ว รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่
1 ก.พ. 50 ผลการสำรวจโดย National Development and Reform Commission (NDRC) ของจีน คาดว่าในปีนี้การลงทุนในสินทรัพย์
ถาวรโดยรวมของจีนจะเติบโตเพียงร้อยละ 22 ชะลอลงจากร้อยละ 24 เมื่อปีที่แล้ว เนื่องจากมาตรการเข้มงวดของรัฐบาลจีน ทั้งนี้จากรายงาน
ของ NDRC ที่ตีพิมพ์ในวารสารตลาดหลักทรัพย์ชี้ว่า ในปีนี้จีนจะยังคงรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินหยวนให้มีเสถียรภาพโดยในระยะเวลาอัน
สั้นค่าเงินหยวนจะไม่แข็งค่าขึ้นมากนัก และจะไม่เปิดทางให้มีการเก็งกำไรค่าเงินหยวนด้วย รวมทั้งเสนอว่าจีนควรจะควบคุมเงินทุนเงินทุนไหลเข้า
ให้เป็นไปอย่างช้าๆเพื่อที่จะไม่ซ้ำรอยวิกฤติการณ์การเงินของเอเชียเมื่อปี 40/41 ที่เงินทุนไหลเข้าทั่วโลกส่งผลให้ค่าเงินในภูมิภาคตกต่ำ
โดยในรายงานกล่าวว่าปักกิ่งต้องดำเนินนโยบายใหม่ในเรื่องพื้นที่ที่ต้องปกป้องสภาพแวดล้อม และการใช้พลังงงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อควบคุม
การลงทุน ขณะเดียวก็ต้องควบคุมการใช้สินเชื่อและอุปทานในที่ดินด้วย และหากการใช้จ่ายลงทุนยังคงเร่งตัวขึ้นในระหว่างปี รัฐบาลจีนต้องใช้
มาตรการเข้มงวดขึ้นเพื่อชะลอการลงทุนดังกล่าวซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าจะต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อชะลอการลงทุนที่เร่งตัวขึ้นดังกล่าว
(รอยเตอร์)
3. เยอรมนีปรับประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 50 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.7 รายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี
เมื่อวันที่ 31 ม.ค.50 รัฐบาลเยอรมนีได้ปรับประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.7 เทียบกับร้อยละ 1.4 ที่เคย
คาดการณ์ไว้เมื่อเดือน ต.ค.49 โดยการเติบโตของเศรษฐกิจจะได้รับแรงสนับสนุนจากทั้งการบริโภคภายในประเทศและต่างประเทศจากการ
ส่งออกสินค้า อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่ปรับขึ้นครั้งนี้ยังต่ำกว่าที่บางสถาบันเศรษฐกิจชั้นนำของเยอรมนีคาดการณ์ไว้ โดยหนึ่งในนั้นคาดว่าเศรษฐกิจ
ปีนี้จะยังคงขยายตัวประมาณร้อยละ 2.1 หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 2.5 ในปี 49 ส่วนอัตราการว่างงานในปีนี้จะลดลงประมาณ 480,000 อัตรา
และจำนวนคนที่มีงานทำจะเพิ่มขึ้นประมาณ 300,000 อัตรา ด้านการบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 0.3 และความต้องการ
บริโภคภายในประเทศจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ขณะที่การส่งออกซึ่งจะเป็นปัจจัยหลักของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจปีนี้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 และ
การนำเข้าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 ซึ่งยอดสุทธิทางการค้าจะมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 0.8 ของการขยายตัวทางเศรษฐกิจทั้งหมด ส่วนอัตราค่าจ้าง
แรงงานรวมโดยเฉลี่ยของเยอรมนีในปีนี้จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 1.2 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เมื่อปีก่อน (รอยเตอร์)
4. ยอดส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.4 เมื่อเทียบต่อปีสูงกว่าที่คาดไว้ รายงานจากโซล เมื่อ
1 ก.พ.50 ยอดส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.4 ต่อปี สูงกว่าที่รอยเตอร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.9 ต่อปี
และสูงกว่ายอดส่งออกของเดือน ธ.ค.49 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.8 ต่อปี ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากจำนวนวันทำงานในเดือน ม.ค.50 มีมากกว่า
เดือน ม.ค.49 ซึ่งวันตรุษจีนตกอยู่ในเดือน ม.ค.ในขณะที่ในปี 50 วันตรุษจีนตกอยู่ในเดือน ก.พ. โดยยอดส่งออกมีมูลค่า 28.23 พันล้านดอลลาร์
สรอ.และยอดนำเข้ามีมูลค่า 28.02 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ส่งผลให้มียอดเกินดุลการค้าจำนวน 0.21 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เทียบกับเดือน
ม.ค.ปี 49 ที่มียอดเกินดุลการค้าจำนวน 1.65 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ก.พาณิชย์ของเกาหลีใต้คาดว่าการส่งออกในปี 50 จะชะลอตัวลงโดย
ขยายตัวร้อยละ 10.4 เทียบกับร้อยละ 14.6 ในปี 49 ผลจากเศรษฐกิจ สรอ.ชะลอตัวลง ทั้งนี้ตลาดจีนและ สรอ.รวมกันมีสัดส่วนถึง 2 ใน
5 ของยอดส่งออกทั้งหมดของเกาหลีใต้ซึ่งในจำนวนนี้ประมาณร้อยละ 45 เป็นสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 1 ก.พ. 50 31 ม.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.803 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.5965/35.9232 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.875 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 654.04/8.28 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,950/11,050 10,850/10,950 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 54.59 52.97 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 25.19*/22.54** 25.19*/22.54** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 19 ม.ค. 50
** ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 13 ม.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนและดัชนีการลงทุนในไตรมาส 4 ปี 49 ชะลอลงจากไตรมาสก่อน ผอส.ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงภาวะเศรษฐกิจไตรมาสสุดท้ายของปี 49 ว่า ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี
ก่อนร้อยละ 1.2 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2 สอดคล้องกับการชะลอตัวลงของรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 24.2
ชะลอลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 27.6 โดยสาเหตุของการชะลอตัวลงส่วนหนึ่งมาจากความเชื่อมั่นของการอุปโภคบริโภคที่ลดลง โดย
ในเดือน ธ.ค.49 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ซึ่งมีสาเหตุมาจากความไม่สงบทางการเมืองในประเทศ และ
ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา นอกจากนั้น ก็เป็นการชะลอตัวลงจากฐานการคำนวณที่สูงในปีก่อน และการเกิดน้ำท่วมในหลายจังหวัด
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาดัชนีอุปโภคบริโภคของทั้งปี 49 พบว่าขยายตัวร้อยละ 1.3 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ขยายตัวได้เพียงร้อยละ 0.6 ด้านดัชนีชี้
การลงทุนภาคเอกชนในไตรมาส 4 ปี 49 ก็ชะลอตัวลงเช่นกัน โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 1.2 ชะลอลงจากไตรมาส 3 ที่ขยายตัวได้
ถึงร้อยละ 1.5 สอดคล้องกับการลดลงของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่ในเดือน ธ.ค.ของปีก่อนอยู่ที่ระดับ 45 โดยปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่
ดัชนีอยู่ที่ระดับ 45.7 ซึ่งเป็นการปรับลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน เช่นเดียวกันกับดัชนีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ใน 3 เดือนข้างหน้าที่
ปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 51.6 ในเดือน ธ.ค.49 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 แม้ว่าดัชนีจะมีระดับที่แสดงถึงความเชื่อมั่นดีขึ้นก็ตาม ทั้งนี้ ภาวะ
เศรษฐกิจในเดือน ธ.ค.49 ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปี 48 โดยขยายตัวในอัตราร้อยละ 5.1 จากการส่งออกที่ขยายตัวถึงร้อยละ 17.4
ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 7.0 ชะลอตัวลงตามอุปสงค์ในประเทศ ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 2.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. จากปีก่อนที่ขาดดุล
8.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, ไทยรัฐ, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์, แนวหน้า)
2. ธปท.ยอมรับการกำกับดูแลภาคการเงินของไทยในปัจจุบันต้องปรับปรุงและแก้ไขอย่างมาก ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยภายหลังจากการหารือร่วมกับเจ้าหน้าที่ของโครงการประเมินความพร้อมการกำกับดูแลภาคการเงิน (FSAP) ซึ่งเป็นโครงการ
ที่ประเมินหน่วยงานกำกับดูแลภาคการเงินไทยของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และธนาคารโลก ว่า ยอมรับว่า การดำเนินงาน
ของ ธปท.ในการกำกับดูแลภาคการเงินของไทยในปัจจุบันยังต้องมีการปรับปรุงและแก้ไขอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องกฎหมายการเงิน
ต่างๆ ที่ยังมีความล้าสมัยอยู่ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าผลประเมินจะออกมาดี แต่คงต้องรอรายงานผลจากทาง FSAP ก่อน (ผู้จัดการรายวัน,
สยามรัฐ, แนวหน้า)
3. ยอดตราสารหนี้ออกใหม่ปี 49 มีมูลค่า 3.1 ล้านบาท กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยว่า
ในปี 49 มีตราสารหนี้ใหม่ที่ขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยจำนวน 2,860 รายการ มูลค่ารวม 3,153,780.34 ล้านบาท ประกอบด้วย
พันธบัตรรัฐบาล 23 รายการ มูลค่ารวม 236,723 ล้านบาท พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ 53 รายการ มูลค่ารวม 895,200 ล้านบาท พันธบัตร ธปท.
41 รายการ มูลค่ารวม 1 ล้านล้านบาท และตราสารหนี้ภาคเอกชน แบ่งเป็นหุ้นกู้ระยะยาว 84 รายการ มูลค่ารวม 213,973..92 ล้านบาท
และตราสารหนี้ระยะสั้น 2,508 รายการ มูลค่ารวม 736,556.22 ล้านบาท โดยมูลค่าคงค้างของตราสารหนี้ขึ้นทะเบียนกับสมาคมตลาด
ตราสารหนี้ ณ สิ้นปี 49 มีจำนวน 1,517 รายการ คิดเป็นมูลค่า 3,951,314.63 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 828,581.21 ล้านบาท จาก
3,122,733.42 ล้านบาท ในปี 48 (ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้)
4. สศช.เตรียมเสนอแผนโลจิสติกส์และระบบโครงสร้างพื้นฐานระยะ 5-10 ปีต่อครม. รองเลขาธิการ คณะกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า สศช.เตรียมเสนอแผนการพัฒนาระบบการขนส่ง (โลจิสติกส์) และระบบโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ
ที่สำคัญทั่วประเทศ ระยะ 5-10 ปีต่อที่ประชุม ครม. โดยมีเป้าหมายเพื่อลดต้นทุนการขนส่งจากร้อยละ 16 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี)
ให้มาอยู่ที่ร้อยละ 13 ของจีดีพีในปี 54 นอกจากนี้ จะเสนอให้รัฐเปิดโอกาสให้เอกชนสามารถเข้าร่วมลงทุนในโครงการสำคัญ เช่น การพัฒนาทาง
ปัญญาของบุคลากร การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทั่วประเทศ โครงการก่อสร้างต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ และการพัฒนา
พลังงานทดแทน (มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ธ.กลาง สรอ.คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.25 ต่อปี รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 31 ม.ค.50 ธ.กลาง สรอ.
ตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.25 ต่อปีซึ่งคงที่มาตั้งแต่เดือน มิ.ย.49 เป็นไปตามที่ตลาดการเงินคาดไว้ โดยให้เหตุผล
ประกอบการตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยว่ามาจากตัวเลขอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ดีขึ้นจากช่วงก่อนหน้านี้โดยดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานซึ่งไม่รวมราคา
อาหารและพลังงานเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.1 ต่อปี ชะลอตัวลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 49 และสูงกว่าเป้าอัตราเงินเฟ้อที่ ธ.กลาง สรอ.ตั้งไว้ที่ร้อยละ
2.0 ต่อปี เพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจหลายตัวยังชี้ว่าเศรษฐกิจขยายตัวดีขึ้นโดยขยายตัวถึงร้อยละ 3.5 ต่อปีในไตรมาส
สุดท้ายปี 49 นอกจากนี้ราคาบ้านที่เคยลดลงมากในเดือน ธ.ค.49 ก็เริ่มมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ตลาดการเงินคาดว่า ธ.กลาง สรอ.จะคงอัตราดอกเบี้ย
ไว้ที่ร้อยละ 5.25 ต่อปีไปจนถึงเดือน พ.ค.50 เป็นอย่างน้อยและผลสำรวจความเห็นของธุรกิจที่ซื้อขายพันธบัตรโดยตรงกับ ธ.กลาง สรอ.จำนวน
22 รายโดยรอยเตอร์มีถึง 11 รายหรือร้อยละ 50 ที่คาดว่าการเคลื่อนไหวครั้งต่อไปของ ธ.กลาง สรอ.จะเป็นการลดอัตราดอกเบี้ยโดยคาดว่า
อาจมีขึ้นในเดือน ก.ย.50 เป็นอย่างเร็ว (รอยเตอร์)
2. คาดว่าการลงทุนของจีนในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 22 ชะลอลงจากร้อยละ 24 เมื่อปีที่แล้ว รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่
1 ก.พ. 50 ผลการสำรวจโดย National Development and Reform Commission (NDRC) ของจีน คาดว่าในปีนี้การลงทุนในสินทรัพย์
ถาวรโดยรวมของจีนจะเติบโตเพียงร้อยละ 22 ชะลอลงจากร้อยละ 24 เมื่อปีที่แล้ว เนื่องจากมาตรการเข้มงวดของรัฐบาลจีน ทั้งนี้จากรายงาน
ของ NDRC ที่ตีพิมพ์ในวารสารตลาดหลักทรัพย์ชี้ว่า ในปีนี้จีนจะยังคงรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินหยวนให้มีเสถียรภาพโดยในระยะเวลาอัน
สั้นค่าเงินหยวนจะไม่แข็งค่าขึ้นมากนัก และจะไม่เปิดทางให้มีการเก็งกำไรค่าเงินหยวนด้วย รวมทั้งเสนอว่าจีนควรจะควบคุมเงินทุนเงินทุนไหลเข้า
ให้เป็นไปอย่างช้าๆเพื่อที่จะไม่ซ้ำรอยวิกฤติการณ์การเงินของเอเชียเมื่อปี 40/41 ที่เงินทุนไหลเข้าทั่วโลกส่งผลให้ค่าเงินในภูมิภาคตกต่ำ
โดยในรายงานกล่าวว่าปักกิ่งต้องดำเนินนโยบายใหม่ในเรื่องพื้นที่ที่ต้องปกป้องสภาพแวดล้อม และการใช้พลังงงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อควบคุม
การลงทุน ขณะเดียวก็ต้องควบคุมการใช้สินเชื่อและอุปทานในที่ดินด้วย และหากการใช้จ่ายลงทุนยังคงเร่งตัวขึ้นในระหว่างปี รัฐบาลจีนต้องใช้
มาตรการเข้มงวดขึ้นเพื่อชะลอการลงทุนดังกล่าวซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าจะต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อชะลอการลงทุนที่เร่งตัวขึ้นดังกล่าว
(รอยเตอร์)
3. เยอรมนีปรับประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 50 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.7 รายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี
เมื่อวันที่ 31 ม.ค.50 รัฐบาลเยอรมนีได้ปรับประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.7 เทียบกับร้อยละ 1.4 ที่เคย
คาดการณ์ไว้เมื่อเดือน ต.ค.49 โดยการเติบโตของเศรษฐกิจจะได้รับแรงสนับสนุนจากทั้งการบริโภคภายในประเทศและต่างประเทศจากการ
ส่งออกสินค้า อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่ปรับขึ้นครั้งนี้ยังต่ำกว่าที่บางสถาบันเศรษฐกิจชั้นนำของเยอรมนีคาดการณ์ไว้ โดยหนึ่งในนั้นคาดว่าเศรษฐกิจ
ปีนี้จะยังคงขยายตัวประมาณร้อยละ 2.1 หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 2.5 ในปี 49 ส่วนอัตราการว่างงานในปีนี้จะลดลงประมาณ 480,000 อัตรา
และจำนวนคนที่มีงานทำจะเพิ่มขึ้นประมาณ 300,000 อัตรา ด้านการบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 0.3 และความต้องการ
บริโภคภายในประเทศจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ขณะที่การส่งออกซึ่งจะเป็นปัจจัยหลักของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจปีนี้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 และ
การนำเข้าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 ซึ่งยอดสุทธิทางการค้าจะมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 0.8 ของการขยายตัวทางเศรษฐกิจทั้งหมด ส่วนอัตราค่าจ้าง
แรงงานรวมโดยเฉลี่ยของเยอรมนีในปีนี้จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 1.2 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 เมื่อปีก่อน (รอยเตอร์)
4. ยอดส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.4 เมื่อเทียบต่อปีสูงกว่าที่คาดไว้ รายงานจากโซล เมื่อ
1 ก.พ.50 ยอดส่งออกของเกาหลีใต้ในเดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.4 ต่อปี สูงกว่าที่รอยเตอร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.9 ต่อปี
และสูงกว่ายอดส่งออกของเดือน ธ.ค.49 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.8 ต่อปี ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากจำนวนวันทำงานในเดือน ม.ค.50 มีมากกว่า
เดือน ม.ค.49 ซึ่งวันตรุษจีนตกอยู่ในเดือน ม.ค.ในขณะที่ในปี 50 วันตรุษจีนตกอยู่ในเดือน ก.พ. โดยยอดส่งออกมีมูลค่า 28.23 พันล้านดอลลาร์
สรอ.และยอดนำเข้ามีมูลค่า 28.02 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ส่งผลให้มียอดเกินดุลการค้าจำนวน 0.21 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เทียบกับเดือน
ม.ค.ปี 49 ที่มียอดเกินดุลการค้าจำนวน 1.65 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ก.พาณิชย์ของเกาหลีใต้คาดว่าการส่งออกในปี 50 จะชะลอตัวลงโดย
ขยายตัวร้อยละ 10.4 เทียบกับร้อยละ 14.6 ในปี 49 ผลจากเศรษฐกิจ สรอ.ชะลอตัวลง ทั้งนี้ตลาดจีนและ สรอ.รวมกันมีสัดส่วนถึง 2 ใน
5 ของยอดส่งออกทั้งหมดของเกาหลีใต้ซึ่งในจำนวนนี้ประมาณร้อยละ 45 เป็นสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 1 ก.พ. 50 31 ม.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.803 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.5965/35.9232 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.875 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 654.04/8.28 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,950/11,050 10,850/10,950 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 54.59 52.97 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 25.19*/22.54** 25.19*/22.54** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 19 ม.ค. 50
** ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 13 ม.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--