โอมานเป็นตลาดสินค้าอาหารฮาลาลที่น่าสนใจแห่งหนึ่งที่มีแนวโน้มจะขยายตัวได้อีกมาก เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม อีกทั้งยังมีกำลังซื้อสูงมาก โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีสูงถึง 15,526 ดอลลาร์สหรัฐแต่เนื่องจากโอมานยังไม่สามารถผลิตอาหารได้เพียงพอกับความต้องการในประเทศ ด้วยข้อจำกัดด้านภูมิประเทศและภูมิอากาศโดยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายและมีอุณหภูมิสูง จึงไม่เหมาะแก่การเพาะปลูกและทำปศุสัตว์ ทำให้โอมานจำเป็นต้องนำเข้าสินค้าอาหาร โดยเฉพาะไก่สดแช่เย็นและแช่แข็ง และผลิตภัณฑ์ไก่แปรรูปอื่น ๆ ปีละเป็นจำนวนมาก ซึ่งเกือบ 100%ของอาหารที่โอมานนำเข้าเป็นอาหารฮาลาล สำหรับข้อควรทราบเบื้องต้นก่อนส่งออกอาหารฮาลาลไปโอมาน มีดังนี้
1. รสนิยม ชาวโอมานส่วนใหญ่นิยมซื้อวัตถุดิบ เพื่อนำไปปรุงอาหารรับประทานเอง โดยอาหารที่ชาวโอมานนิยมรับประทานมีลักษณะคล้ายกับอาหารของหลายประเทศในแถบเอเชียใต้ โดยเฉพาะอินเดีย ซึ่งนิยมใช้เครื่องเทศในการปรุงอาหารเป็นหลัก เนื่องจากชาวโอมานมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชาวอินเดีย และปัจจุบันมีชาวเอเชียใต้อาศัยอยู่ในโอมานจำนวนมาก นอกจากนี้ ชาวโอมานยังนิยมรับประทานปลาทูน่ากระป๋องกับ "Pita Bread" ซึ่งเป็นขนมปังอบที่ทำจากแป้งสาลีลักษณะคล้ายโรตี โดยนำมาทำเป็นแซนวิชทูน่า ทั้งนี้อาหารจากไทยที่ส่งออกไปโอมานมาก ได้แก่ ปลาสดแช่เย็นและแช่แข็ง อาหารทะเลกระป๋องหรือแปรรูป โดยเฉพาะปลาทูน่า ผักและผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง ผักและผลไม้กระป๋อง น้ำตาลและข้าว ปัจจุบันอาหารทะเลกระป๋องหรือแปรรูปของไทยเริ่มเป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมจากชาวโอมานมากขึ้น เนื่องจากมีคุณภาพดีและมีความหลากหลาย
2. ภาษี/กฎระเบียบนำเข้า โอมานเก็บภาษีนำเข้าสินค้าอาหารค่อนข้างต่ำ คือ ไม่เกิน 5% ซึ่งหากเป็นสินค้าอาหารที่ไม่บรรจุในบรรจุภัณฑ์ อาทิ ผักและผลไม้สด ปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ จะได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าด้วยนอกจากนี้ โอมานยังมีการใช้กฎระเบียบนำเข้าสินค้าอาหารที่สอดคล้องกับมาตรฐานของกลุ่มประเทศสมาชิกคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอาหรับ*(Gulf Corporation Council หรือ GCC) อาทิ
* มาตรฐานการฆ่าสัตว์ตามหลักกฎหมายอิสลาม (Animal Slaughter Requirement According to Islamic Law) กำหนดให้การฆ่าสัตว์ที่จะนำมาประกอบอาหารต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของศาสนาอิสลามและ ต้องได้รับ Certificate of Islamic Halal Slaughter ที่ออกโดยองค์กรอิสลามกลางในโอมานหรือประเทศอื่น ๆ ในกลุ่ม GCCหรือออกโดยองค์กรอิสลามกลางของประเทศผู้ส่งออก ซึ่งเป็นที่ยอมรับของโอมานหรือกลุ่ม GCC โดยใบรับรองดังกล่าวต้องได้รับการรับรองจากสถานทูตหรือสถานกงสุลของโอมานหรือกลุ่มประเทศ GCC ด้วย
* กลุ่ม GCC ประกอบด้วยสมาชิก 6 ประเทศ คือ บาห์เรน คูเวต โอมาน กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
* ฉลากสินค้า (Labeling of Prepackaged Foodstuffs) สินค้าอาหารที่บรรจุภาชนะทุกประเภทต้องปิดฉลากเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาอาระเบียอย่างชัดเจน โดยระบุรายละเอียดต่าง ๆ ที่สำคัญ อาทิ ชื่อสินค้า ส่วนผสมของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ประเทศผู้ผลิต วันที่ผลิตและวันหมดอายุ ทั้งนี้ สินค้าอาหารที่มีอายุไม่ถึงครึ่งหนึ่ง นับตั้งแต่วันที่ผลิต จนถึงวันที่ส่งเข้ามาจำหน่ายในโอมาน จะไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้า นอกจากนี้ การติดตราสัญลักษณ์ฮาลาลบนสินค้าจะทำให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในการเลือกซื้อยิ่งขึ้น
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เมษายน 2550--
-พห-
1. รสนิยม ชาวโอมานส่วนใหญ่นิยมซื้อวัตถุดิบ เพื่อนำไปปรุงอาหารรับประทานเอง โดยอาหารที่ชาวโอมานนิยมรับประทานมีลักษณะคล้ายกับอาหารของหลายประเทศในแถบเอเชียใต้ โดยเฉพาะอินเดีย ซึ่งนิยมใช้เครื่องเทศในการปรุงอาหารเป็นหลัก เนื่องจากชาวโอมานมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชาวอินเดีย และปัจจุบันมีชาวเอเชียใต้อาศัยอยู่ในโอมานจำนวนมาก นอกจากนี้ ชาวโอมานยังนิยมรับประทานปลาทูน่ากระป๋องกับ "Pita Bread" ซึ่งเป็นขนมปังอบที่ทำจากแป้งสาลีลักษณะคล้ายโรตี โดยนำมาทำเป็นแซนวิชทูน่า ทั้งนี้อาหารจากไทยที่ส่งออกไปโอมานมาก ได้แก่ ปลาสดแช่เย็นและแช่แข็ง อาหารทะเลกระป๋องหรือแปรรูป โดยเฉพาะปลาทูน่า ผักและผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง ผักและผลไม้กระป๋อง น้ำตาลและข้าว ปัจจุบันอาหารทะเลกระป๋องหรือแปรรูปของไทยเริ่มเป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมจากชาวโอมานมากขึ้น เนื่องจากมีคุณภาพดีและมีความหลากหลาย
2. ภาษี/กฎระเบียบนำเข้า โอมานเก็บภาษีนำเข้าสินค้าอาหารค่อนข้างต่ำ คือ ไม่เกิน 5% ซึ่งหากเป็นสินค้าอาหารที่ไม่บรรจุในบรรจุภัณฑ์ อาทิ ผักและผลไม้สด ปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ จะได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าด้วยนอกจากนี้ โอมานยังมีการใช้กฎระเบียบนำเข้าสินค้าอาหารที่สอดคล้องกับมาตรฐานของกลุ่มประเทศสมาชิกคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอาหรับ*(Gulf Corporation Council หรือ GCC) อาทิ
* มาตรฐานการฆ่าสัตว์ตามหลักกฎหมายอิสลาม (Animal Slaughter Requirement According to Islamic Law) กำหนดให้การฆ่าสัตว์ที่จะนำมาประกอบอาหารต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของศาสนาอิสลามและ ต้องได้รับ Certificate of Islamic Halal Slaughter ที่ออกโดยองค์กรอิสลามกลางในโอมานหรือประเทศอื่น ๆ ในกลุ่ม GCCหรือออกโดยองค์กรอิสลามกลางของประเทศผู้ส่งออก ซึ่งเป็นที่ยอมรับของโอมานหรือกลุ่ม GCC โดยใบรับรองดังกล่าวต้องได้รับการรับรองจากสถานทูตหรือสถานกงสุลของโอมานหรือกลุ่มประเทศ GCC ด้วย
* กลุ่ม GCC ประกอบด้วยสมาชิก 6 ประเทศ คือ บาห์เรน คูเวต โอมาน กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
* ฉลากสินค้า (Labeling of Prepackaged Foodstuffs) สินค้าอาหารที่บรรจุภาชนะทุกประเภทต้องปิดฉลากเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาอาระเบียอย่างชัดเจน โดยระบุรายละเอียดต่าง ๆ ที่สำคัญ อาทิ ชื่อสินค้า ส่วนผสมของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ประเทศผู้ผลิต วันที่ผลิตและวันหมดอายุ ทั้งนี้ สินค้าอาหารที่มีอายุไม่ถึงครึ่งหนึ่ง นับตั้งแต่วันที่ผลิต จนถึงวันที่ส่งเข้ามาจำหน่ายในโอมาน จะไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้า นอกจากนี้ การติดตราสัญลักษณ์ฮาลาลบนสินค้าจะทำให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในการเลือกซื้อยิ่งขึ้น
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เมษายน 2550--
-พห-