ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. จำเป็นต้องแทรกแซงค่าเงินบาทเพื่อดูแลเศรษฐกิจ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวชี้แจงการดำเนินนโยบาย
ดูแลค่าเงินบาทภายหลังจากมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่ควรเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทเพื่อช่วยผู้ส่งออกมาเกินไปว่า ธปท. มีการชี้แจงเรื่องนี้หลายครั้ง
แล้วว่าไม่ได้มีความตั้งใจที่จะให้ค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับใดระดับหนึ่ง เพียงแต่อยากให้ค่าเงินบาทเป็นไปในทิศทางเดียวกับภูมิภาค ไม่ใช่แข็งค่าขึ้นถึง
ร้อยละ 17 ซึ่งจะกระทบต่อเศรษฐกิจและการส่งออก ในขณะที่ประเทศอื่นในภูมิภาคแข็งค่าขึ้นโดยเฉลี่ยเพียงร้อยละ 7 — 8 แต่ขณะนี้หลังจากออกมา
ตรการกันสำรองเงินทุนไหลเข้าร้อยละ 30 ค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาคเดียวกันแข็งค่าขึ้นประมาณร้อยละ 1-2 ถือว่าแข็งมากกว่าค่าเงินบาทของไทย
ซึ่งถ้าค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นระดับเดียวกันคงอยู่ที่ระดับ 34 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ การเข้าแทรกแซงค่าเงินในต่างประเทศมีการเข้าแทรกแซง
ทั้งนั้น บางประเทศเข้าแทรกแซง 1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ต่อวัน แต่สำหรับไทยถ้ามีการเข้ามาเราก็ต้องเข้าแทรกแซงบ้าง ที่สำคัญการดำเนิน
นโยบาย ธปท. รู้ว่าควรทำอะไร ซึ่งในการวิจารณ์ถ้าไม่เข้าใจว่าทำไมต้องรักษาค่าเงินบาทก็คงต้องมีการท้วงติง อย่างไรก็ตาม วงเงินที่ ธปท.
เข้าแทรกแซงจากต้นปีนี้มาจนถึงปัจจุบันไม่ใช่วงเงิน 2.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. อย่างที่มีคนกล่าวถึง ส่วนจะเป็นจำนวนเท่าใดคงยังไม่สามารถเปิด
เผยได้ ด้าน น.ส.นิตยา พิบูลย์รัตนกิจ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธปท. กล่าวว่า ทิศทางค่าเงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นได้ตามการไหล
เข้าของเงินทุนที่เข้ามาในตลาดหุ้น และถ้าพิจารณาดูการส่งออกก็ยังขยายตัวได้ดีเพราะราคาน้ำมันลดลง ขณะที่เศรษฐกิจไทยชะลอตัวทำให้มีการนำ
เข้าน้อยลง ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลอย่างต่อเนื่อง (ไทยรัฐ, โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, แนวหน้า)
2. ก.คลังเตรียมเสนอ ครม. แก้กฎหมายการเงิน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รอง นรม. และ รมว.คลัง กล่าวว่า ก.คลัง
เตรียมเสนอกฎหมายการเงิน 3 ฉบับ เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม ครม. ในวันที่ 27 ก.พ.นี้ ประกอบด้วย พรบ.เงินตรา พ.ศ.2501
พรบ.ธปท. พ.ศ.2485 และ พรบ.กลต. ซึ่งประเด็นสำคัญคือ การแก้ไข พรบ.เงินตรานั้นจะปรับเปลี่ยนในเรื่องวิธีการลงบันทึกบัญชี โดยจะให้
นำผลประโยชน์ที่ได้จากบัญชีผลประโยชน์มาชำระหนี้จากการออกพันธบัตรของกองทุนฟื้นฟูฯ (FIDF 2 และ 3) ประมาณ 8 แสนล้านบาท ซึ่งจะ
ส่งผลให้ ธปท. ลดการออกพันธบัตรเพื่อชดเชยกองทุนฟื้นฟูฯ ในระยะ 18 ปีข้างหน้าได้ ทั้งนี้ การแก้ไขร่าง พรบ. ดังกล่าวจะสามารถนำเฉพาะ
บัญชีผลประโยชน์อย่างเดียวมาใช้เพื่อชำระหนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯ ต่างจากช่วงที่ผ่านมาไม่สามารถนำมาใช้ได้ เพราะผลประโยชน์ที่เกิดจากการบริหาร
เงินสำรองทางการจะใช้หนุนหลังการออกธนบัตรของฝ่ายออกบัตร ธปท. เท่านั้น ด้านผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า จะแก้ไข พรบ.ธปท. โดยไม่นับ
รวมภาระจากการตีราคาเงินสำรองทางการอยู่ในผลการดำเนินงานของ ธปท. เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการนำส่งรายได้ให้ ก.คลัง ซึ่งปกติ
ธปท. จะมีกำไรจากการบริหารเงินทุนสำรอง และกำไรดังกล่าวนอกจากนำส่งรายได้ให้ ก.คลังแล้วก็จะนำไปชำระคืนเงินต้นให้กับพันธบัตรกองทุน
ฟื้นฟูฯ ที่ออกไปก่อนหน้านี้ (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, มติชน)
3. คาดว่า ธปท. จะลดดอกเบี้ยนโยบายอย่างน้อยร้อยละ 0.25 รายงานข่าวจาก บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า
ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธปท. วันที่ 28 ก.พ.นี้ คาดว่า กนง. จะลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีกอย่างน้อยร้อยละ 0.25
มาอยู่ที่ร้อยละ 4.50 และอาจลดลงถึงร้อยละ 0.50 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.25 ถ้า กนง. ให้น้ำหนักในการกระตุ้นเศรษฐกิจมาก เนื่องจากสัญญาณทาง
เศรษฐกิจมีแนวโน้มให้ภาพเชิงลบมากขึ้น ขณะที่ไม่ต้องวิตกเรื่องเงินเฟ้อมากเท่าที่ผ่านมา และแม้ กนง. จะลดดอกเบี้ยลงอีกร้อยละ
0.25 — 0.50 แต่ดอกเบี้ยที่แท้จริงหลังหักผลของการเพิ่มขึ้นของราคาก็ยังมีแนวโน้มเป็นบวก ซึ่งการลดดอกเบี้ยนโยบายนอกจากเป็นผลดีต่อภาวะ
เศรษฐกิจโดยรวมแล้ว ค่าผลต่างอัตราดอกเบี้ยของไทยและ สรอ. จะมีค่าเป็นลบมากขึ้น ก็น่าจะช่วยเกื้อหนุนความเคลื่อนไหวของเงินบาทและทำให้
ทางการไทยมีความยืดหยุ่นมากขึ้นหากจะลดความเข้มงวดหรือยกเลิกมาตรการกันสำรองเงินนำเข้าระยะสั้นในอนาคต อีกทั้งกรณีที่ กนง.
ลดดอกเบี้ยมากกว่าร้อยละ 0.25 น่าจะเป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้นให้ ธ.พาณิชย์ในการลดดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
(เดลินิวส์, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่ายอดขายบ้านใหม่ของ สรอ. ในเดือน ม.ค. จะลดลง รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 26 ก.พ. 50 ผลการสำรวจ
นักเศรษฐศาสตร์ 68 คนโดยรอยเตอร์คาดว่ายอดขายบ้านใหม่ของสรอ. ในเดือนม.ค.จะลดลงอยู่ที่ 1.080 ล้านหลังจาก 1.120 ล้านหลังเมื่อ
เดือนก่อนหน้า (เทียบต่อปี) โดยคาดการณ์อยู่ระหว่าง 1.000 - 1.160 ล้านหลัง เนื่องจากภาวะอากาศ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองที่สูงขึ้น
ขณะที่ตัวเลขของ ก.พาณิชย์สรอ. ชี้ว่ายอดขายบ้านใหม่ในเดือน ธ.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้ายอดขายบ้านใหม่
ลดลงถึงร้อยละ 17.3 ลดลงมากที่สุดในรอบ 16 ปี และลดลงเป็นครั้งแรกหลังจากเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในรอบ 5 ปี ทั้งนี้ในเดือนม.ค.
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปี ระยะ 15 ปีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อยู่ที่ร้อยละ 6.23 และ 5.98 ตามลำดับ ทำสถิติสูงสุดในรอบ 2 เดือน
โดย ก.พาณิชย์สรอ.มีกำหนดที่จะประกาศตัวเลขยอดขายบ้านใหม่ของเดือน ม.ค. ในวันพุธนี้เวลา 10 นาฬิกาตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
2. คาดว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ.ในเดือน ก.พ.50 จะลดลงอยู่ที่ระดับ 108.9 รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ
26 ก.พ.50 ผลสำรวจของนักเศรษฐศาสตร์ของรอยเตอร์คาดการณ์ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ.ในเดือน ก.พ.50 จะลดลงอยู่ที่ระดับ
108.9 จากระดับ 110.3 ในเดือน ม.ค.50 โดยนักเศรษฐศาสตร์ 74 คนคาดว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะอยู่ในช่วงระดับ 105.0-111.0
ทั้งนี้ ตลาดเงินเฝ้าติดตามตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นตัวเลขที่ชี้บ่งถึงความเต็มใจในการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค
ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญประมาณร้อยละ 70 ของการเติบโตทางเศรษฐกิจ สรอ. อนึ่ง The Conference Board จะรายงานตัวเลขดัชนี
ความเชื่อมั่นผู้บริโภคอย่างเป็นทางการในวันอังคารที่ 27 ก.พ.50 เวลา 10.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
3. ธ.กลางมาเลเซียคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิมร้อยละ 3.50 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์เมื่อ 26 ก.พ.50
ธ.กลางมาเลเซียเปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิมร้อยละ 3.50 เป็นไปตามการคาดการณ์ของ
นักเศรษฐศาสตร์ และเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 7 นับตั้งแต่การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยครั้งล่าสุดเมื่อเดือน เม.ย.49 ทั้งนี้
การประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายดังกล่าวได้รับแรงสนับสนุนหลักจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและการใช้จ่ายภายในประเทศ โดยจากแผนการ
ใช้จ่ายระยะเวลา 5 ปีของรัฐบาล ซึ่งมีวงเงิน งปม.ถึง 54 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. นับเป็นปัจจัยกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจมาเลเซีย
ประกอบกับการเลือกตั้งทั่วไปที่คาดว่าจะมีขึ้นรวมถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น นับเป็นปัจจัยเสริมให้มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น นอกจากนี้
ธ.กลางมาเลเซียคาดการณ์ว่า อาจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมต่อไปตลอดปี 50 นี้ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มทรงตัว อันเป็นผล
จากราคาพลังงานลดลงและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญของมาเลเซีย โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปี 50 จะต่ำกว่าปี 49
ซึ่งอยู่ที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ 3.6 อนึ่ง ทางการมาเลเซียได้คาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 50 ที่ระดับร้อยละ 6.0 สูงกว่าเล็กน้อย
จากการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวที่ระดับร้อยละ 5.5 (รอยเตอร์)
4. รอยเตอร์คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ในเดือน ม.ค.50 เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.49
รายงานจากโซล เมื่อ 26 ก.พ.50 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมซึ่งประกอบด้วยผลผลิต
โรงงาน เหมืองแร่ และการผลิตกระแสไฟฟ้าของเกาหลีใต้จะเพิ่มขึ้นหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วร้อยละ 1.9 ในเดือน ม.ค.50 เมื่อเทียบกับ
เดือน ธ.ค.49 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกหลังจากลดลง 2 เดือนติดต่อกันโดยลดลงร้อยละ 3.9 ในเดือน ธ.ค.49 และลดลงร้อยละ 1.4 ในเดือน
พ.ย.49 และคาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 49 สูงกว่าร้อยละ 2.3 ต่อปีในเดือน ธ.ค.49
โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากจำนวนวันทำงานในเดือน ม.ค.ปีนี้มีมากกว่าในปี 49 ซึ่งวันตรุษจีนอยู่ในเดือน ม.ค.ในขณะที่ในปี 50 วันตรุษจีนอยู่ใน
เดือน ก.พ. นอกจากนี้ยังเป็นผลจากยอดส่งออกเหล็กกล้า ชิปคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น โดยกรมศุลกากรรายงานยอดส่งออกในเดือน
ม.ค.50 ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 49 โดยมีมูลค่ารวม 28.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยยอดส่งออกชิป
คอมพิวเตอร์และเหล็กกล้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 และร้อยละ 42.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 49 ตามลำดับ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27 ก.พ. 50 26 ก.พ. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.631 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.4413/35.7703 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.83906 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 688.70/7.62 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,400/11,500 11,400/11,500 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 58.51 57.95 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 25.99*/22.94** 25.99*/22.94** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 24ก.พ. 50
** ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 21 ก.พ. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. จำเป็นต้องแทรกแซงค่าเงินบาทเพื่อดูแลเศรษฐกิจ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวชี้แจงการดำเนินนโยบาย
ดูแลค่าเงินบาทภายหลังจากมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่ควรเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทเพื่อช่วยผู้ส่งออกมาเกินไปว่า ธปท. มีการชี้แจงเรื่องนี้หลายครั้ง
แล้วว่าไม่ได้มีความตั้งใจที่จะให้ค่าเงินบาทอยู่ที่ระดับใดระดับหนึ่ง เพียงแต่อยากให้ค่าเงินบาทเป็นไปในทิศทางเดียวกับภูมิภาค ไม่ใช่แข็งค่าขึ้นถึง
ร้อยละ 17 ซึ่งจะกระทบต่อเศรษฐกิจและการส่งออก ในขณะที่ประเทศอื่นในภูมิภาคแข็งค่าขึ้นโดยเฉลี่ยเพียงร้อยละ 7 — 8 แต่ขณะนี้หลังจากออกมา
ตรการกันสำรองเงินทุนไหลเข้าร้อยละ 30 ค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาคเดียวกันแข็งค่าขึ้นประมาณร้อยละ 1-2 ถือว่าแข็งมากกว่าค่าเงินบาทของไทย
ซึ่งถ้าค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นระดับเดียวกันคงอยู่ที่ระดับ 34 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ การเข้าแทรกแซงค่าเงินในต่างประเทศมีการเข้าแทรกแซง
ทั้งนั้น บางประเทศเข้าแทรกแซง 1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ต่อวัน แต่สำหรับไทยถ้ามีการเข้ามาเราก็ต้องเข้าแทรกแซงบ้าง ที่สำคัญการดำเนิน
นโยบาย ธปท. รู้ว่าควรทำอะไร ซึ่งในการวิจารณ์ถ้าไม่เข้าใจว่าทำไมต้องรักษาค่าเงินบาทก็คงต้องมีการท้วงติง อย่างไรก็ตาม วงเงินที่ ธปท.
เข้าแทรกแซงจากต้นปีนี้มาจนถึงปัจจุบันไม่ใช่วงเงิน 2.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. อย่างที่มีคนกล่าวถึง ส่วนจะเป็นจำนวนเท่าใดคงยังไม่สามารถเปิด
เผยได้ ด้าน น.ส.นิตยา พิบูลย์รัตนกิจ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธปท. กล่าวว่า ทิศทางค่าเงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นได้ตามการไหล
เข้าของเงินทุนที่เข้ามาในตลาดหุ้น และถ้าพิจารณาดูการส่งออกก็ยังขยายตัวได้ดีเพราะราคาน้ำมันลดลง ขณะที่เศรษฐกิจไทยชะลอตัวทำให้มีการนำ
เข้าน้อยลง ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลอย่างต่อเนื่อง (ไทยรัฐ, โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, แนวหน้า)
2. ก.คลังเตรียมเสนอ ครม. แก้กฎหมายการเงิน ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รอง นรม. และ รมว.คลัง กล่าวว่า ก.คลัง
เตรียมเสนอกฎหมายการเงิน 3 ฉบับ เข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม ครม. ในวันที่ 27 ก.พ.นี้ ประกอบด้วย พรบ.เงินตรา พ.ศ.2501
พรบ.ธปท. พ.ศ.2485 และ พรบ.กลต. ซึ่งประเด็นสำคัญคือ การแก้ไข พรบ.เงินตรานั้นจะปรับเปลี่ยนในเรื่องวิธีการลงบันทึกบัญชี โดยจะให้
นำผลประโยชน์ที่ได้จากบัญชีผลประโยชน์มาชำระหนี้จากการออกพันธบัตรของกองทุนฟื้นฟูฯ (FIDF 2 และ 3) ประมาณ 8 แสนล้านบาท ซึ่งจะ
ส่งผลให้ ธปท. ลดการออกพันธบัตรเพื่อชดเชยกองทุนฟื้นฟูฯ ในระยะ 18 ปีข้างหน้าได้ ทั้งนี้ การแก้ไขร่าง พรบ. ดังกล่าวจะสามารถนำเฉพาะ
บัญชีผลประโยชน์อย่างเดียวมาใช้เพื่อชำระหนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯ ต่างจากช่วงที่ผ่านมาไม่สามารถนำมาใช้ได้ เพราะผลประโยชน์ที่เกิดจากการบริหาร
เงินสำรองทางการจะใช้หนุนหลังการออกธนบัตรของฝ่ายออกบัตร ธปท. เท่านั้น ด้านผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า จะแก้ไข พรบ.ธปท. โดยไม่นับ
รวมภาระจากการตีราคาเงินสำรองทางการอยู่ในผลการดำเนินงานของ ธปท. เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการนำส่งรายได้ให้ ก.คลัง ซึ่งปกติ
ธปท. จะมีกำไรจากการบริหารเงินทุนสำรอง และกำไรดังกล่าวนอกจากนำส่งรายได้ให้ ก.คลังแล้วก็จะนำไปชำระคืนเงินต้นให้กับพันธบัตรกองทุน
ฟื้นฟูฯ ที่ออกไปก่อนหน้านี้ (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, มติชน)
3. คาดว่า ธปท. จะลดดอกเบี้ยนโยบายอย่างน้อยร้อยละ 0.25 รายงานข่าวจาก บ.ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า
ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธปท. วันที่ 28 ก.พ.นี้ คาดว่า กนง. จะลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีกอย่างน้อยร้อยละ 0.25
มาอยู่ที่ร้อยละ 4.50 และอาจลดลงถึงร้อยละ 0.50 มาอยู่ที่ร้อยละ 4.25 ถ้า กนง. ให้น้ำหนักในการกระตุ้นเศรษฐกิจมาก เนื่องจากสัญญาณทาง
เศรษฐกิจมีแนวโน้มให้ภาพเชิงลบมากขึ้น ขณะที่ไม่ต้องวิตกเรื่องเงินเฟ้อมากเท่าที่ผ่านมา และแม้ กนง. จะลดดอกเบี้ยลงอีกร้อยละ
0.25 — 0.50 แต่ดอกเบี้ยที่แท้จริงหลังหักผลของการเพิ่มขึ้นของราคาก็ยังมีแนวโน้มเป็นบวก ซึ่งการลดดอกเบี้ยนโยบายนอกจากเป็นผลดีต่อภาวะ
เศรษฐกิจโดยรวมแล้ว ค่าผลต่างอัตราดอกเบี้ยของไทยและ สรอ. จะมีค่าเป็นลบมากขึ้น ก็น่าจะช่วยเกื้อหนุนความเคลื่อนไหวของเงินบาทและทำให้
ทางการไทยมีความยืดหยุ่นมากขึ้นหากจะลดความเข้มงวดหรือยกเลิกมาตรการกันสำรองเงินนำเข้าระยะสั้นในอนาคต อีกทั้งกรณีที่ กนง.
ลดดอกเบี้ยมากกว่าร้อยละ 0.25 น่าจะเป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้นให้ ธ.พาณิชย์ในการลดดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
(เดลินิวส์, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่ายอดขายบ้านใหม่ของ สรอ. ในเดือน ม.ค. จะลดลง รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 26 ก.พ. 50 ผลการสำรวจ
นักเศรษฐศาสตร์ 68 คนโดยรอยเตอร์คาดว่ายอดขายบ้านใหม่ของสรอ. ในเดือนม.ค.จะลดลงอยู่ที่ 1.080 ล้านหลังจาก 1.120 ล้านหลังเมื่อ
เดือนก่อนหน้า (เทียบต่อปี) โดยคาดการณ์อยู่ระหว่าง 1.000 - 1.160 ล้านหลัง เนื่องจากภาวะอากาศ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองที่สูงขึ้น
ขณะที่ตัวเลขของ ก.พาณิชย์สรอ. ชี้ว่ายอดขายบ้านใหม่ในเดือน ธ.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้ายอดขายบ้านใหม่
ลดลงถึงร้อยละ 17.3 ลดลงมากที่สุดในรอบ 16 ปี และลดลงเป็นครั้งแรกหลังจากเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในรอบ 5 ปี ทั้งนี้ในเดือนม.ค.
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปี ระยะ 15 ปีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อยู่ที่ร้อยละ 6.23 และ 5.98 ตามลำดับ ทำสถิติสูงสุดในรอบ 2 เดือน
โดย ก.พาณิชย์สรอ.มีกำหนดที่จะประกาศตัวเลขยอดขายบ้านใหม่ของเดือน ม.ค. ในวันพุธนี้เวลา 10 นาฬิกาตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
2. คาดว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ.ในเดือน ก.พ.50 จะลดลงอยู่ที่ระดับ 108.9 รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ
26 ก.พ.50 ผลสำรวจของนักเศรษฐศาสตร์ของรอยเตอร์คาดการณ์ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ สรอ.ในเดือน ก.พ.50 จะลดลงอยู่ที่ระดับ
108.9 จากระดับ 110.3 ในเดือน ม.ค.50 โดยนักเศรษฐศาสตร์ 74 คนคาดว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะอยู่ในช่วงระดับ 105.0-111.0
ทั้งนี้ ตลาดเงินเฝ้าติดตามตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นตัวเลขที่ชี้บ่งถึงความเต็มใจในการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค
ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญประมาณร้อยละ 70 ของการเติบโตทางเศรษฐกิจ สรอ. อนึ่ง The Conference Board จะรายงานตัวเลขดัชนี
ความเชื่อมั่นผู้บริโภคอย่างเป็นทางการในวันอังคารที่ 27 ก.พ.50 เวลา 10.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น (รอยเตอร์)
3. ธ.กลางมาเลเซียคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิมร้อยละ 3.50 รายงานจากกัวลาลัมเปอร์เมื่อ 26 ก.พ.50
ธ.กลางมาเลเซียเปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับเดิมร้อยละ 3.50 เป็นไปตามการคาดการณ์ของ
นักเศรษฐศาสตร์ และเป็นการคงอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 7 นับตั้งแต่การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยครั้งล่าสุดเมื่อเดือน เม.ย.49 ทั้งนี้
การประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายดังกล่าวได้รับแรงสนับสนุนหลักจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและการใช้จ่ายภายในประเทศ โดยจากแผนการ
ใช้จ่ายระยะเวลา 5 ปีของรัฐบาล ซึ่งมีวงเงิน งปม.ถึง 54 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. นับเป็นปัจจัยกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจมาเลเซีย
ประกอบกับการเลือกตั้งทั่วไปที่คาดว่าจะมีขึ้นรวมถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น นับเป็นปัจจัยเสริมให้มีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น นอกจากนี้
ธ.กลางมาเลเซียคาดการณ์ว่า อาจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมต่อไปตลอดปี 50 นี้ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มทรงตัว อันเป็นผล
จากราคาพลังงานลดลงและการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญของมาเลเซีย โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปี 50 จะต่ำกว่าปี 49
ซึ่งอยู่ที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ 3.6 อนึ่ง ทางการมาเลเซียได้คาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 50 ที่ระดับร้อยละ 6.0 สูงกว่าเล็กน้อย
จากการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวที่ระดับร้อยละ 5.5 (รอยเตอร์)
4. รอยเตอร์คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ในเดือน ม.ค.50 เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค.49
รายงานจากโซล เมื่อ 26 ก.พ.50 ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมซึ่งประกอบด้วยผลผลิต
โรงงาน เหมืองแร่ และการผลิตกระแสไฟฟ้าของเกาหลีใต้จะเพิ่มขึ้นหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วร้อยละ 1.9 ในเดือน ม.ค.50 เมื่อเทียบกับ
เดือน ธ.ค.49 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกหลังจากลดลง 2 เดือนติดต่อกันโดยลดลงร้อยละ 3.9 ในเดือน ธ.ค.49 และลดลงร้อยละ 1.4 ในเดือน
พ.ย.49 และคาดว่าผลผลิตอุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 49 สูงกว่าร้อยละ 2.3 ต่อปีในเดือน ธ.ค.49
โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากจำนวนวันทำงานในเดือน ม.ค.ปีนี้มีมากกว่าในปี 49 ซึ่งวันตรุษจีนอยู่ในเดือน ม.ค.ในขณะที่ในปี 50 วันตรุษจีนอยู่ใน
เดือน ก.พ. นอกจากนี้ยังเป็นผลจากยอดส่งออกเหล็กกล้า ชิปคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น โดยกรมศุลกากรรายงานยอดส่งออกในเดือน
ม.ค.50 ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 49 โดยมีมูลค่ารวม 28.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยยอดส่งออกชิป
คอมพิวเตอร์และเหล็กกล้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 และร้อยละ 42.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 49 ตามลำดับ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 27 ก.พ. 50 26 ก.พ. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.631 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.4413/35.7703 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.83906 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 688.70/7.62 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,400/11,500 11,400/11,500 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 58.51 57.95 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 25.99*/22.94** 25.99*/22.94** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 24ก.พ. 50
** ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 21 ก.พ. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--