สศอ.ชี้อุตฯสิ่งทอ ปี 2550 หืดจับ เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักชะลอตัว จีน-เวียดนามงัดไม้เด็ดด้านต้นทุนถูกกว่าลงแข่ง ผู้ประกอบการยังหวัง FTA ต่อลมหายใจ
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ. ได้สรุปภาพรวมอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทย ในปี 2549 และคาดการณ์แนวโน้มปี 2550 พบว่า ปี 2550 การแข่งขันในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจะทวีความรุนแรงมากขึ้น แม้ว่าจีนและเวียดนามจะยังสามารถผลิตสินค้าด้วยต้นทุนต่ำกว่า แต่คาดว่าปัจจัยลบจะมาจากการชะลอตัวในภาคการส่งออก เนื่องจากการชะลอตัวด้านเศรษฐกิจของตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา การแข็งค่าของค่าเงินบาทและมาตรการทางการค้า แต่ไทยยังมีความได้เปรียบด้านคุณภาพการผลิตและฝีมือที่มีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับของตลาดโลก คาดว่าปัจจัยเหล่านี้จะสนับสนุนให้อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยขยายตัวได้มากกว่าปี 2549 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยยังคงหวังให้เกิดการลงนาม FTA กับประเทศต่างๆ เพื่อขยายการส่งออก
ดร.อรรชกา กล่าวถึงภาพรวมการขยายตัวของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในปี 2549 ที่ผ่านมาว่า ภาวะอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มปี 2549 โดยรวมมีการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปี 2548 ซึ่งเป็นไปตามภาวะตลาดโลกจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจใน 3 ประเทศที่เป็นตลาดหลักทั้งสหรัฐอเมริกา กลุ่มสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ส่งผลให้ภาวะการผลิตและการจำหน่ายปี 2549 เมื่อพิจารณาจากดัชนีอุตสาหกรรม การผลิตเส้นใยสิ่งทอ ฯ และการผลิตผ้าที่ได้จากการถักนิตติ้งและโครเชท์ มีดัชนีผลผลิตชะลอตัวลงร้อยละ 5.3 และ 6.2 ตามลำดับ สอดคล้องกับการจำหน่ายที่ปรับตัวลดลงเช่นเดียวกันจากผลกระทบทั้งภายในและต่างประเทศ เนื่องจากความไม่มั่นใจของผู้บริโภค ประกอบกับการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นของราคาน้ำมันส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น สำหรับการผลิตเครื่องแต่งกายมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องถึงไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 เนื่องจากยังมีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่องตามความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5.0
นอกจากนี้ปัจจัยราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะอุตสาหกรรมเส้นใย ที่ต้องใช้วัตถุดิบปิโตรเคมีนำเข้ามาผลิตมีต้นทุนสูงขึ้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมต่อเนื่อง อาทิ เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม มีต้นทุนสูงขึ้นตามไปด้วย รวมทั้งยังมีปัญหาผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น การระงับการเจรจาเขตการค้า ไทย-สหรัฐฯ และไทย-ญี่ปุ่น การนำเข้าที่เพิ่มสูงขึ้นโดยมีการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่มีต้นทุนการผลิตต่ำจากจีน เวียดนาม และอินเดียสูงถึงร้อยละ 36.1 ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อยอดขาย ทำให้การขยายตัวไม่เป็นไปตามเป้าหมายและชะลอตัว
ดร.อรรชกา กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ความไม่ชัดเจนด้านการเมืองที่ผ่านมาส่งผลให้ภาคประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย หันไปเลือกซื้อสินค้าที่มีราคาไม่แพงมากนัก และเหมาะกับกำลังซื้อที่มี การรับออเดอร์ใหม่ลูกค้าเริ่มชะลอการสั่งซื้อ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาที่คาดว่าอาจจะลดการนำเข้า หรือแม้แต่สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ที่ได้รับจากการส่งสินค้าไปยังสหรัฐอเมริกา สินค้าที่คาดว่าจะอ่อนไหวที่สุด ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เนื่องจากไทยมีการส่งออกไปยัง 3 กลุ่มประเทศหลัก ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 80 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด ซึ่งไทยได้รับสิทธิพิเศษ (GSP) ไปยังสหรัฐอเมริกามากที่สุดจากสินค้าที่ไทยได้รับ ซึ่งขณะนี้สหรัฐอเมริกากำลังพิจารณาทบทวนการต่ออายุ GSP ที่ให้แก่ประเทศคู่ค้ารวมทั้งประเทศไทย และคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2550 ที่ผ่านมา ซึ่งในขณะนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจน ทั้งนี้ผู้ประกอบการไทยควรจะหาตลาดรองรับเพื่อขยายฐานการส่งออกไปยังประเทศใหม่ ๆ เพื่อลดความเสี่ยง แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจัยลบหลายประการเริ่มคลี่คลายในทิศทางที่ดีขึ้น เช่นราคาน้ำมันที่อ่อนตัวลง ความกังวลของภาคเอกชนต่อปัญหาทางการเมืองลดน้อยลง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ. ได้สรุปภาพรวมอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทย ในปี 2549 และคาดการณ์แนวโน้มปี 2550 พบว่า ปี 2550 การแข่งขันในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจะทวีความรุนแรงมากขึ้น แม้ว่าจีนและเวียดนามจะยังสามารถผลิตสินค้าด้วยต้นทุนต่ำกว่า แต่คาดว่าปัจจัยลบจะมาจากการชะลอตัวในภาคการส่งออก เนื่องจากการชะลอตัวด้านเศรษฐกิจของตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา การแข็งค่าของค่าเงินบาทและมาตรการทางการค้า แต่ไทยยังมีความได้เปรียบด้านคุณภาพการผลิตและฝีมือที่มีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับของตลาดโลก คาดว่าปัจจัยเหล่านี้จะสนับสนุนให้อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยขยายตัวได้มากกว่าปี 2549 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทยยังคงหวังให้เกิดการลงนาม FTA กับประเทศต่างๆ เพื่อขยายการส่งออก
ดร.อรรชกา กล่าวถึงภาพรวมการขยายตัวของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในปี 2549 ที่ผ่านมาว่า ภาวะอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มปี 2549 โดยรวมมีการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปี 2548 ซึ่งเป็นไปตามภาวะตลาดโลกจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจใน 3 ประเทศที่เป็นตลาดหลักทั้งสหรัฐอเมริกา กลุ่มสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ส่งผลให้ภาวะการผลิตและการจำหน่ายปี 2549 เมื่อพิจารณาจากดัชนีอุตสาหกรรม การผลิตเส้นใยสิ่งทอ ฯ และการผลิตผ้าที่ได้จากการถักนิตติ้งและโครเชท์ มีดัชนีผลผลิตชะลอตัวลงร้อยละ 5.3 และ 6.2 ตามลำดับ สอดคล้องกับการจำหน่ายที่ปรับตัวลดลงเช่นเดียวกันจากผลกระทบทั้งภายในและต่างประเทศ เนื่องจากความไม่มั่นใจของผู้บริโภค ประกอบกับการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นของราคาน้ำมันส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น สำหรับการผลิตเครื่องแต่งกายมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องถึงไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 เนื่องจากยังมีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่องตามความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5.0
นอกจากนี้ปัจจัยราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะอุตสาหกรรมเส้นใย ที่ต้องใช้วัตถุดิบปิโตรเคมีนำเข้ามาผลิตมีต้นทุนสูงขึ้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมต่อเนื่อง อาทิ เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม มีต้นทุนสูงขึ้นตามไปด้วย รวมทั้งยังมีปัญหาผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น การระงับการเจรจาเขตการค้า ไทย-สหรัฐฯ และไทย-ญี่ปุ่น การนำเข้าที่เพิ่มสูงขึ้นโดยมีการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่มีต้นทุนการผลิตต่ำจากจีน เวียดนาม และอินเดียสูงถึงร้อยละ 36.1 ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อยอดขาย ทำให้การขยายตัวไม่เป็นไปตามเป้าหมายและชะลอตัว
ดร.อรรชกา กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ความไม่ชัดเจนด้านการเมืองที่ผ่านมาส่งผลให้ภาคประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย หันไปเลือกซื้อสินค้าที่มีราคาไม่แพงมากนัก และเหมาะกับกำลังซื้อที่มี การรับออเดอร์ใหม่ลูกค้าเริ่มชะลอการสั่งซื้อ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาที่คาดว่าอาจจะลดการนำเข้า หรือแม้แต่สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ที่ได้รับจากการส่งสินค้าไปยังสหรัฐอเมริกา สินค้าที่คาดว่าจะอ่อนไหวที่สุด ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เนื่องจากไทยมีการส่งออกไปยัง 3 กลุ่มประเทศหลัก ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 80 ของการส่งออกสิ่งทอทั้งหมด ซึ่งไทยได้รับสิทธิพิเศษ (GSP) ไปยังสหรัฐอเมริกามากที่สุดจากสินค้าที่ไทยได้รับ ซึ่งขณะนี้สหรัฐอเมริกากำลังพิจารณาทบทวนการต่ออายุ GSP ที่ให้แก่ประเทศคู่ค้ารวมทั้งประเทศไทย และคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2550 ที่ผ่านมา ซึ่งในขณะนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจน ทั้งนี้ผู้ประกอบการไทยควรจะหาตลาดรองรับเพื่อขยายฐานการส่งออกไปยังประเทศใหม่ ๆ เพื่อลดความเสี่ยง แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจัยลบหลายประการเริ่มคลี่คลายในทิศทางที่ดีขึ้น เช่นราคาน้ำมันที่อ่อนตัวลง ความกังวลของภาคเอกชนต่อปัญหาทางการเมืองลดน้อยลง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-