วันนี้ (22มี.ค.50) คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ได้ออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนครั้งที่ 10 ในพิจารณาคำร้องของอัยการสูงสุด ที่ขอให้คณะตุลาการพิจารณายุบพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า ในความผิดตามพ.ร.บ.พรรคการเมือง มาตรา 66 (2) และ (3) โดยเป็นการสืบพยานผู้ถูกร้องจำนวน 5 ปาก ประกอบด้วยนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ นายวิทยา แก้วภราดัย รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ฝ่ายกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ นางอมรรัตน์ กี่สุ้น และนายปฐม เทียนสิน ในประเด็นจ้างวานให้มีผู้สมัครลงในพื้นที่จ.ตรัง เพื่อใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย ทั้งนี้ฝ่ายอัยการสูงสุดไม่ติดใจซักค้านพยาน 3 ปาก คือ นายนิพิฎฐ์ นางอมรรัตน์ และนายปฐม จึงเหลือพยานนำสืบเพียง 2 ปาก คือนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย และนายวิทยา แก้วภราดัย
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย กล่าวให้การว่า ตนทราบเรื่องการจัดหาผู้สมัครลงสมัครในนามพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า โดยการดำเนินการของนายทักษนัย กี่สุ้น อดีตผู้ช่วยส.ส.ของตน ภายหลังจากที่บุคคลทั้ง 3 ลงสมัครเรียบร้อยแล้ว โดยนายทักษนัยเป็นโทรศัพท์มาบอก เนื่องจากผู้สมัครทั้ง 3 เกรงกลัวว่าได้กระทำผิดกฎหมาย และจะถูกดำเนินคดี จึงมาขอความช่วยเหลือ ตนจึงได้ต่อว่า และแนะนำให้โทรศัพท์ไปปรึกษานายถาวร เสนเนียม ฝ่ายกฎหมายของพรรค จากนั้นก็เป็นการติดต่อระหว่างนายถาวร และผู้สมัครทั้ง 3 คน โดยตนไม่ได้เกี่ยวข้องอีก
นายสาทิตย์ กล่าวอีกว่า สำหรับการให้การของนายทวี สุระบาล ผู้สมัครของพรรคไทยรักไทย ระบุว่าตนอยู่เบื้องหลังการจ้างพรรคเล็กลงสมัคร เพื่อใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย ก็ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เพราะแม้ว่านายทวี จะได้คะแนนสูงสุดของประเทศ ในการเลือกตั้งเมื่อปี 44 แต่คะแนนก็ยังน้อยกว่าคะแนนพรรค ที่ได้จากระบบบัญชีรายชื่อ และในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เม.ย. และ 23 เม.ย. 49 นายทวีก็ได้คะแนนเพียง 12 เปอร์เซ็นต์ ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งเท่านั้น จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปจ้างพรรคเล็กมาใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย
ด้านนายวิทยา แก้วภราดัย กล่าวให้การว่า เท่าที่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องนี้ เชื่อว่านายทักษนัย ดำเนินการไปโดยส่วนตัว และเพราะเกรงใจนายไวท์ ผู้ประสานงานหาผู้สมัครของพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า เพราะนายไวท์เคยมาช่วยเหลือนายทักษนัย ในการเลือกตั้งท้องถิ่นที่จ.ตรังมาก่อน จึงต้องช่วยเหลือกลับคืน โดยเงินที่ใช้ในการสมัคร ก็เป็นเงินของพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า จึงไม่เกี่ยวข้องกับพรรคประชาธิปัตย์แต่อย่างใด
ภายหลังการพิจารณาคดี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า อยากให้สื่อที่เขียนวิเคราะห์ต่างๆ ได้ติดตามการไต่สวนให้ทุกประเด็น ว่าแต่ละประเด็นมีการกำหนดหัวข้อไว้อย่างไร และพยานให้ว่าอย่างไร และให้เกียรติคณะตุลาการฯ ไม่ใช่ถึงเวลาก็ไปสรุป ว่าจะมีการยุบพรรคนั้นพรรคนี้
“เวลานี้มีความพยายามที่จะสร้างค่านิยมบางอย่างขึ้น เช่น บอกว่าพรรคไทยรักไทย และพรรคประชาธิปัตย์ โดนคดีเหมือนกันและเป็นคู่แข่งกัน คนหนึ่งทำผิด อีกคนก็ต้องทำผิด ซึ่งมันไม่ใช่ จึงอยากให้ว่ากันตามกฎหมาย เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การบังคับใช้กฎหมาย ถ้าใครทำผิดก็ต้องรับโทษ ถ้าใครไม่ผิดก็ไม่ต้องรับโทษ” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 22 มี.ค. 2550--จบ--
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย กล่าวให้การว่า ตนทราบเรื่องการจัดหาผู้สมัครลงสมัครในนามพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า โดยการดำเนินการของนายทักษนัย กี่สุ้น อดีตผู้ช่วยส.ส.ของตน ภายหลังจากที่บุคคลทั้ง 3 ลงสมัครเรียบร้อยแล้ว โดยนายทักษนัยเป็นโทรศัพท์มาบอก เนื่องจากผู้สมัครทั้ง 3 เกรงกลัวว่าได้กระทำผิดกฎหมาย และจะถูกดำเนินคดี จึงมาขอความช่วยเหลือ ตนจึงได้ต่อว่า และแนะนำให้โทรศัพท์ไปปรึกษานายถาวร เสนเนียม ฝ่ายกฎหมายของพรรค จากนั้นก็เป็นการติดต่อระหว่างนายถาวร และผู้สมัครทั้ง 3 คน โดยตนไม่ได้เกี่ยวข้องอีก
นายสาทิตย์ กล่าวอีกว่า สำหรับการให้การของนายทวี สุระบาล ผู้สมัครของพรรคไทยรักไทย ระบุว่าตนอยู่เบื้องหลังการจ้างพรรคเล็กลงสมัคร เพื่อใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย ก็ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เพราะแม้ว่านายทวี จะได้คะแนนสูงสุดของประเทศ ในการเลือกตั้งเมื่อปี 44 แต่คะแนนก็ยังน้อยกว่าคะแนนพรรค ที่ได้จากระบบบัญชีรายชื่อ และในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เม.ย. และ 23 เม.ย. 49 นายทวีก็ได้คะแนนเพียง 12 เปอร์เซ็นต์ ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งเท่านั้น จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปจ้างพรรคเล็กมาใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย
ด้านนายวิทยา แก้วภราดัย กล่าวให้การว่า เท่าที่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องนี้ เชื่อว่านายทักษนัย ดำเนินการไปโดยส่วนตัว และเพราะเกรงใจนายไวท์ ผู้ประสานงานหาผู้สมัครของพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า เพราะนายไวท์เคยมาช่วยเหลือนายทักษนัย ในการเลือกตั้งท้องถิ่นที่จ.ตรังมาก่อน จึงต้องช่วยเหลือกลับคืน โดยเงินที่ใช้ในการสมัคร ก็เป็นเงินของพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า จึงไม่เกี่ยวข้องกับพรรคประชาธิปัตย์แต่อย่างใด
ภายหลังการพิจารณาคดี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า อยากให้สื่อที่เขียนวิเคราะห์ต่างๆ ได้ติดตามการไต่สวนให้ทุกประเด็น ว่าแต่ละประเด็นมีการกำหนดหัวข้อไว้อย่างไร และพยานให้ว่าอย่างไร และให้เกียรติคณะตุลาการฯ ไม่ใช่ถึงเวลาก็ไปสรุป ว่าจะมีการยุบพรรคนั้นพรรคนี้
“เวลานี้มีความพยายามที่จะสร้างค่านิยมบางอย่างขึ้น เช่น บอกว่าพรรคไทยรักไทย และพรรคประชาธิปัตย์ โดนคดีเหมือนกันและเป็นคู่แข่งกัน คนหนึ่งทำผิด อีกคนก็ต้องทำผิด ซึ่งมันไม่ใช่ จึงอยากให้ว่ากันตามกฎหมาย เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การบังคับใช้กฎหมาย ถ้าใครทำผิดก็ต้องรับโทษ ถ้าใครไม่ผิดก็ไม่ต้องรับโทษ” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 22 มี.ค. 2550--จบ--