อุตสาหกรรมยา
1. การผลิตในประเทศ
ยาแผนปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นยาที่ได้รับการวิจัยและพัฒนาจากผู้ผลิตยาชั้นนำในต่างประเทศและนำเข้ามาจำหน่าย ทำให้ยามีราคาแพง ส่วน
ยาที่ผลิตในประเทศ ต้องรอจนกว่ายาตัวนั้นหมดสิทธิบัตรแล้ว จึงจะสามารถผลิตออกมาจำหน่ายได้ โดยปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในปี
2549 คาดว่าจะมีประมาณ 26,572.3 ตัน ขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 4.0 ซึ่งประเภทยาที่มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยาเม็ด ยาผง และยาครีม
โดยขยายตัวร้อยละ 15.6 8.2 และ 2.2 ตามลำดับ ทั้งนี้การผลิตที่เพิ่มขึ้น เป็นผลจากปริมาณคำสั่งซื้อจากโรงพยาบาล ร้านขายยา รวมทั้งการรับ
จ้างผลิตเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถหาลูกค้ารายใหม่ ๆ ได้เพิ่มขึ้นด้วย สำหรับยาผงมีคำสั่งซื้อทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ เพื่อนำไปเป็น
วัตถุดิบตัวยา ทำให้การผลิตเพิ่มขึ้น
2. การจำหน่ายในประเทศ
ช่องทางการจำหน่ายหลักของผู้ประกอบการ คือ สถานพยาบาล โดยเฉพาะโรงพยาบาลของรัฐ โดยปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์
เภสัชกรรมในปี 2549 คาดว่าจะมีประมาณ 24,761.7 ตัน ขยายตัวจากปีก่อนเล็กน้อยร้อยละ 0.5 ซึ่งประเภทยาที่มีการจำหน่ายเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยา
เม็ด ยาผง ยาครีม และยาฉีด โดยขยายตัวร้อยละ 5 3 1 และ 1 ตามลำดับ ปริมาณการจำหน่ายที่เพิ่มขึ้น เนื่องมาจากผู้ประกอบการสามารถ
ประมูลงานจากโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนได้มากขึ้น รวมทั้งการจัดรายการส่งเสริมการขาย ทำให้จำหน่ายสินค้าได้เพิ่มขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามมี
ข้อสังเกตว่าปริมาณการจำหน่ายมีการขยายตัวจากปีก่อนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เป็นผลมาจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ที่ระดับราคาน้ำมัน อัตราเงิน
เฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น
3. การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ในปี 2549 คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 31,534.2 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 15.1 โดย
ตลาดนำเข้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร ซึ่งการนำเข้าจากประเทศดังกล่าวมีมูลค่ากว่าร้อย
ละ 40 ของมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ทั้งหมด
การนำเข้ายารักษาโรคที่เป็นยาสำเร็จรูป ทั้งยาต้นตำรับ และยาที่มีสิทธิบัตรซึ่งไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ ยังคงเป็นสินค้าที่มีมูลค่าการ
นำเข้าสูงสุด ยาเหล่านี้มักเป็นยาสำหรับโรคที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง เช่น โรคความดัน เบาหวาน หัวใจ ไขมันในเส้นเลือด ข้อและกระดูก โดยนำ
เข้าจากประเทศที่เป็นผู้ผลิตเวชภัณฑ์ชั้นนำของโลก เช่น สหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศในยุโรป ทั้งนี้การนำเข้ายารักษาโรคมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อ
เนื่อง สาเหตุส่วนหนึ่งเนื่องมาจากธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนยังคงมีแนวโน้มการขยายตัวที่ดี ส่งผลให้ความต้องการยาที่เป็นที่ยอมรับจากต่างประเทศของ
ผู้ป่วยที่มีรายได้สูงมีเพิ่มขึ้น นอกจากนี้บริษัทผู้นำเข้าได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมส่งเสริมการตลาด เช่น การประชาสัมพันธ์ให้ตระหนักถึงการรักษา
สุขภาพ การเป็นพันธมิตรที่ดีกับแพทย์และโรงพยาบาล การพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ การขยายช่องทางการตลาด ตลอดจนการสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยว
กับสุขภาพ เพื่อสนองความต้องการของลูกค้าและรองรับการแข่งขันที่มีเพิ่มขึ้น
4. การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ในปี 2549 คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 6,830.6 ล้านบาท ขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 10.2 โดยตลาดส่ง
ออกที่สำคัญ ได้แก่ เวียดนาม เมียนมาร์ กัมพูชา เบลเยียม และมาเลเซีย ซึ่งการส่งออกไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่าประมาณร้อยละ 50 ของมูลค่าการ
ส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ทั้งหมด
ผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด คือ ยารักษาโรคที่เป็นยาสำเร็จรูป ประเภทยาสามัญ ซึ่งเป็นยาในกลุ่มที่หมดสิทธิบัตรแล้ว
เช่น ยาสามัญประจำบ้าน อย่างไรก็ตามเป็นที่สังเกตว่ายาสำเร็จรูป ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดในหมวดผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม กลับมีมูลค่าการส่งออกหดตัว
ลง เป็นผลจากการที่ประเทศมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เข้ามาเป็นคู่แข่งในตลาดส่งออกหลักของไทยมากขึ้น ประกอบกับการส่งออกยาของ
ไทยยังมีข้อจำกัดด้านมาตรฐานการผลิต ทำให้ตลาดส่งออกส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มประเทศอาเซียน สำหรับตลาดอื่น ๆ เช่น ตะวันออกกลาง และสหภาพ
ยุโรป ผู้สั่งซื้อต้องการมาตรฐานการผลิตที่สูงมาก หากตรวจพบว่าโรงงานของผู้ผลิตไม่ผ่านมาตรฐานก็จะหยุดสั่งซื้อ
5. นโยบายรัฐ
กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายจะใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิ ตามมาตรา 51 แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม พ.
ศ. 2542 เพื่อใช้สิทธิตามสิทธิบัตรยาที่มีชื่อการค้าว่า สต็อคคริน (Stocrin) หรือมีชื่อสามัญคือ เอฟาไวเรนซ์ (Efavirenz) ซึ่งเป็นยาต้านไวรัส
HIV ที่ได้รับการพิสูจน์ว่ามีศักยภาพสูงในการรักษา ก่อนจะพิจารณาขยายสู่ยาราคาแพงชนิดอื่น เช่น ยาสำหรับโรคไต และโรคหัวใจต่อไป ทั้งนี้ให้กรม
ควบคุมโรคออกประกาศเรื่องการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรด้านยาและเวชภัณฑ์ ผลิตยาต้านไวรัสเอชไอวี "เอฟาไวเรนซ์" และแจ้งให้เจ้าของสิทธิบัตร
ทราบ พร้อมทั้งจ่ายค่าตอบแทนให้เจ้าของสิทธิบัตรร้อยละ 0.5 ของยอดจำหน่ายออกจากคลังขององค์การเภสัชกรรม ทั้งนี้มีอายุของการบังคับใช้สิทธิ
5 ปี และเริ่มมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2549 โดยองค์การเภสัชกรรมจะเป็นผู้ผลิตหรือนำเข้ายาชื่อสามัญตามสิทธิบัตรยาดังกล่าว เพื่อ
จำหน่ายแก่หน่วยบริการในระบบของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบบประกันสังคม และระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ซึ่งคาดว่า
องค์การเภสัชกรรมจะสามารถผลิตยา เอฟาไวเรนซ์ ได้เองประมาณเดือนมิถุนายน 2550
6. สรุป
ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมปี 2549 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน เนื่องจากมีคำสั่งซื้อจากโรงพยาบาล ร้านขายยา รวมทั้งลูกค้าที่จ้าง
ผลิตมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถหาลูกค้ารายใหม่ ๆ ได้เพิ่มขึ้นด้วย สำหรับปริมาณการจำหน่ายขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องมาจากผู้ประกอบการสามารถ
ประมูลงานจากโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนได้มากขึ้น รวมทั้งการจัดรายการส่งเสริมการขาย ทำให้จำหน่ายสินค้าได้เพิ่มขึ้นด้วย ด้านมูลค่าการนำ
เข้ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ายาสำเร็จรูปทั้งยาต้นตำรับและยาที่มีสิทธิบัตร โดยนำเข้าจากสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศใน
ยุโรป สำหรับการส่งออก มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเป็นการส่งออกยาสำเร็จรูป ประเภทยาสามัญ ไปยังตลาดส่งออกหลัก คือ อาเซียน
การที่กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายจะใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิ ตามมาตรา 51 แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม
พ.ศ. 2542 เพื่อใช้สิทธิตามสิทธิบัตรยาที่มีชื่อการค้าว่า สต็อคคริน (Stocrin) หรือมีชื่อสามัญคือ เอฟาไวเรนซ์ (Efavirenz) นั้น จะช่วยทำ
ให้ราคายาถูกลง ซึ่งจะช่วยให้รัฐประหยัดงบประมาณ และทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อ HIV ในประเทศสามารถเข้าถึงยาได้มากขึ้น
สำหรับแนวโน้มในปี 2550 คาดว่าปริมาณการผลิตและการจำหน่ายยาในประเทศจะยังขยายตัวจากปีก่อน เนื่องจากประชาชนมีความรู้
ความเข้าใจในการดูแลรักษาตัวเอง มีการปรึกษาแพทย์ และเข้าโรงพยาบาลเพื่อรักษาสุขภาพมากกว่าในอดีต ทำให้ตลาดยาในประเทศยังเติบโต
ประกอบกับโครงการประกันสุขภาพซึ่งยังคงดำเนินอย่างต่อเนื่อง และรัฐบาลได้เพิ่มค่าเหมาจ่ายรายหัวมากขึ้นจาก 1,659.30 บาทต่อคน ในปีงบ
ประมาณ 2549 เป็น 1,899.69 บาทต่อคน ในปีงบประมาณ 2550 จะส่งผลให้ประชาชนเข้าถึงยาได้มากขึ้น และทำให้มีความต้องการบริโภคยาที่ผลิต
จากในประเทศเพิ่มขึ้น สำหรับมูลค่าการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นเช่นกัน เนื่องจากผู้ผลิตและภาครัฐพยายามขยายตลาดใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพ แต่ทั้งนี้
แนวโน้มการส่งออกของไทยขึ้นอยู่กับมาตรฐานของยาที่ผลิตได้ ดังนั้นผู้ผลิตในประเทศจำเป็นต้องผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ใน
ส่วนมูลค่าการนำเข้า คาดว่าการนำเข้ายาที่มีสิทธิบัตรสำหรับโรคที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง และยาต้นตำรับ ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเติบโต
ของธุรกิจสุขภาพ ประกอบกับจำนวนผู้สูงอายุซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความต้องการบริโภคยาประเภทดังกล่าวเพิ่มขึ้น
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์
หน่วย : ตัน
ประเภท 2547 2548 2549e
ยาเม็ด 4,802.40 4,788.60 5,535.10
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -0.3 15.6
ยาน้ำ 13,049.60 13,412.40 13,408.00
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.8 0
ยาแคปซูล 566.5 677.8 598.9
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 19.6 -11.6
ยาฉีด 439.5 456 436.8
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.8 -4.2
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 135.4 122.6 119.5
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -9.5 -2.5
ยาครีม 1,727.10 2,107.10 2,153.50
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 22 2.2
ยาผง 3,883.30 3,991.80 4,320.50
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.8 8.2
รวม 24,603.80 25,556.30 26,572.30
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.9 4
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 34 โรงงาน (ยาเม็ด 30 โรงงาน, ยาน้ำ 29 โรงงาน, ยาแคปซูล 26 โรงงาน,
ยาฉีด 9 โรงงาน, ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 4 โรงงาน, ยาครีม 17 โรงงาน และยาผง 17 โรงงาน)
หมายเหตุ : ปี 2549 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 2 ปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์
หน่วย : ตัน
ประเภท 2547 2548 2549e
ยาเม็ด 4,554.70 5,104.30 5,357.10
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 12.1 5
ยาน้ำ 14,332.10 15,607.50 15,497.10
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 8.9 -0.7
ยาแคปซูล 645.6 761.6 689.4
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 18 -9.5
ยาฉีด 337.1 338.2 341.7
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.3 1
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 140.2 122.5 122.2
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -12.6 -0.2
ยาครีม 1,817.90 2,025.20 2,045.10
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 11.4 1
ยาผง 723.1 688.6 709.1
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -4.8 3
รวม 22,550.70 24,647.90 24,761.70
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 9.3 0.5
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 34 โรงงาน (ยาเม็ด 30 โรงงาน, ยาน้ำ 29 โรงงาน, ยาแคปซูล 26 โรงงาน,
ยาฉีด 9 โรงงาน, ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 4 โรงงาน, ยาครีม 17 โรงงาน และยาผง 17 โรงงาน)
: ปริมาณการจำหน่ายยาผงในประเทศน้อยกว่าปริมาณการผลิตมาก เนื่องจากมีผู้ประกอบการที่ทำการสำรวจ
ผลิตเพื่อการส่งออกมากกว่าการจำหน่ายในประเทศ
: ปี 2549 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้า — ส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์
มูลค่า (ล้านบาท) 2547 2548 2549e
มูลค่าการนำเข้า 21,952.10 27,386.90 31,534.20
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 24.8 15.1
มูลค่าการส่งออก 5,034.00 6,198.90 6,830.60
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 23.1 10.2
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : ปี 2549 เป็นตัวเลขประมาณการ โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
1. การผลิตในประเทศ
ยาแผนปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นยาที่ได้รับการวิจัยและพัฒนาจากผู้ผลิตยาชั้นนำในต่างประเทศและนำเข้ามาจำหน่าย ทำให้ยามีราคาแพง ส่วน
ยาที่ผลิตในประเทศ ต้องรอจนกว่ายาตัวนั้นหมดสิทธิบัตรแล้ว จึงจะสามารถผลิตออกมาจำหน่ายได้ โดยปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในปี
2549 คาดว่าจะมีประมาณ 26,572.3 ตัน ขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 4.0 ซึ่งประเภทยาที่มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยาเม็ด ยาผง และยาครีม
โดยขยายตัวร้อยละ 15.6 8.2 และ 2.2 ตามลำดับ ทั้งนี้การผลิตที่เพิ่มขึ้น เป็นผลจากปริมาณคำสั่งซื้อจากโรงพยาบาล ร้านขายยา รวมทั้งการรับ
จ้างผลิตเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถหาลูกค้ารายใหม่ ๆ ได้เพิ่มขึ้นด้วย สำหรับยาผงมีคำสั่งซื้อทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ เพื่อนำไปเป็น
วัตถุดิบตัวยา ทำให้การผลิตเพิ่มขึ้น
2. การจำหน่ายในประเทศ
ช่องทางการจำหน่ายหลักของผู้ประกอบการ คือ สถานพยาบาล โดยเฉพาะโรงพยาบาลของรัฐ โดยปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์
เภสัชกรรมในปี 2549 คาดว่าจะมีประมาณ 24,761.7 ตัน ขยายตัวจากปีก่อนเล็กน้อยร้อยละ 0.5 ซึ่งประเภทยาที่มีการจำหน่ายเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยา
เม็ด ยาผง ยาครีม และยาฉีด โดยขยายตัวร้อยละ 5 3 1 และ 1 ตามลำดับ ปริมาณการจำหน่ายที่เพิ่มขึ้น เนื่องมาจากผู้ประกอบการสามารถ
ประมูลงานจากโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนได้มากขึ้น รวมทั้งการจัดรายการส่งเสริมการขาย ทำให้จำหน่ายสินค้าได้เพิ่มขึ้นด้วย อย่างไรก็ตามมี
ข้อสังเกตว่าปริมาณการจำหน่ายมีการขยายตัวจากปีก่อนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เป็นผลมาจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ที่ระดับราคาน้ำมัน อัตราเงิน
เฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับสูง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น
3. การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ในปี 2549 คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 31,534.2 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 15.1 โดย
ตลาดนำเข้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร ซึ่งการนำเข้าจากประเทศดังกล่าวมีมูลค่ากว่าร้อย
ละ 40 ของมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ทั้งหมด
การนำเข้ายารักษาโรคที่เป็นยาสำเร็จรูป ทั้งยาต้นตำรับ และยาที่มีสิทธิบัตรซึ่งไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ ยังคงเป็นสินค้าที่มีมูลค่าการ
นำเข้าสูงสุด ยาเหล่านี้มักเป็นยาสำหรับโรคที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง เช่น โรคความดัน เบาหวาน หัวใจ ไขมันในเส้นเลือด ข้อและกระดูก โดยนำ
เข้าจากประเทศที่เป็นผู้ผลิตเวชภัณฑ์ชั้นนำของโลก เช่น สหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศในยุโรป ทั้งนี้การนำเข้ายารักษาโรคมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อ
เนื่อง สาเหตุส่วนหนึ่งเนื่องมาจากธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนยังคงมีแนวโน้มการขยายตัวที่ดี ส่งผลให้ความต้องการยาที่เป็นที่ยอมรับจากต่างประเทศของ
ผู้ป่วยที่มีรายได้สูงมีเพิ่มขึ้น นอกจากนี้บริษัทผู้นำเข้าได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมส่งเสริมการตลาด เช่น การประชาสัมพันธ์ให้ตระหนักถึงการรักษา
สุขภาพ การเป็นพันธมิตรที่ดีกับแพทย์และโรงพยาบาล การพัฒนาสินค้าใหม่ ๆ การขยายช่องทางการตลาด ตลอดจนการสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยว
กับสุขภาพ เพื่อสนองความต้องการของลูกค้าและรองรับการแข่งขันที่มีเพิ่มขึ้น
4. การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ในปี 2549 คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 6,830.6 ล้านบาท ขยายตัวจากปีก่อนร้อยละ 10.2 โดยตลาดส่ง
ออกที่สำคัญ ได้แก่ เวียดนาม เมียนมาร์ กัมพูชา เบลเยียม และมาเลเซีย ซึ่งการส่งออกไปประเทศดังกล่าวมีมูลค่าประมาณร้อยละ 50 ของมูลค่าการ
ส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ทั้งหมด
ผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุด คือ ยารักษาโรคที่เป็นยาสำเร็จรูป ประเภทยาสามัญ ซึ่งเป็นยาในกลุ่มที่หมดสิทธิบัตรแล้ว
เช่น ยาสามัญประจำบ้าน อย่างไรก็ตามเป็นที่สังเกตว่ายาสำเร็จรูป ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดในหมวดผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม กลับมีมูลค่าการส่งออกหดตัว
ลง เป็นผลจากการที่ประเทศมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย เข้ามาเป็นคู่แข่งในตลาดส่งออกหลักของไทยมากขึ้น ประกอบกับการส่งออกยาของ
ไทยยังมีข้อจำกัดด้านมาตรฐานการผลิต ทำให้ตลาดส่งออกส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มประเทศอาเซียน สำหรับตลาดอื่น ๆ เช่น ตะวันออกกลาง และสหภาพ
ยุโรป ผู้สั่งซื้อต้องการมาตรฐานการผลิตที่สูงมาก หากตรวจพบว่าโรงงานของผู้ผลิตไม่ผ่านมาตรฐานก็จะหยุดสั่งซื้อ
5. นโยบายรัฐ
กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายจะใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิ ตามมาตรา 51 แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม พ.
ศ. 2542 เพื่อใช้สิทธิตามสิทธิบัตรยาที่มีชื่อการค้าว่า สต็อคคริน (Stocrin) หรือมีชื่อสามัญคือ เอฟาไวเรนซ์ (Efavirenz) ซึ่งเป็นยาต้านไวรัส
HIV ที่ได้รับการพิสูจน์ว่ามีศักยภาพสูงในการรักษา ก่อนจะพิจารณาขยายสู่ยาราคาแพงชนิดอื่น เช่น ยาสำหรับโรคไต และโรคหัวใจต่อไป ทั้งนี้ให้กรม
ควบคุมโรคออกประกาศเรื่องการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรด้านยาและเวชภัณฑ์ ผลิตยาต้านไวรัสเอชไอวี "เอฟาไวเรนซ์" และแจ้งให้เจ้าของสิทธิบัตร
ทราบ พร้อมทั้งจ่ายค่าตอบแทนให้เจ้าของสิทธิบัตรร้อยละ 0.5 ของยอดจำหน่ายออกจากคลังขององค์การเภสัชกรรม ทั้งนี้มีอายุของการบังคับใช้สิทธิ
5 ปี และเริ่มมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2549 โดยองค์การเภสัชกรรมจะเป็นผู้ผลิตหรือนำเข้ายาชื่อสามัญตามสิทธิบัตรยาดังกล่าว เพื่อ
จำหน่ายแก่หน่วยบริการในระบบของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบบประกันสังคม และระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ซึ่งคาดว่า
องค์การเภสัชกรรมจะสามารถผลิตยา เอฟาไวเรนซ์ ได้เองประมาณเดือนมิถุนายน 2550
6. สรุป
ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมปี 2549 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน เนื่องจากมีคำสั่งซื้อจากโรงพยาบาล ร้านขายยา รวมทั้งลูกค้าที่จ้าง
ผลิตมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถหาลูกค้ารายใหม่ ๆ ได้เพิ่มขึ้นด้วย สำหรับปริมาณการจำหน่ายขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องมาจากผู้ประกอบการสามารถ
ประมูลงานจากโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนได้มากขึ้น รวมทั้งการจัดรายการส่งเสริมการขาย ทำให้จำหน่ายสินค้าได้เพิ่มขึ้นด้วย ด้านมูลค่าการนำ
เข้ามีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ายาสำเร็จรูปทั้งยาต้นตำรับและยาที่มีสิทธิบัตร โดยนำเข้าจากสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศใน
ยุโรป สำหรับการส่งออก มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเป็นการส่งออกยาสำเร็จรูป ประเภทยาสามัญ ไปยังตลาดส่งออกหลัก คือ อาเซียน
การที่กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายจะใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิ ตามมาตรา 51 แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม
พ.ศ. 2542 เพื่อใช้สิทธิตามสิทธิบัตรยาที่มีชื่อการค้าว่า สต็อคคริน (Stocrin) หรือมีชื่อสามัญคือ เอฟาไวเรนซ์ (Efavirenz) นั้น จะช่วยทำ
ให้ราคายาถูกลง ซึ่งจะช่วยให้รัฐประหยัดงบประมาณ และทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อ HIV ในประเทศสามารถเข้าถึงยาได้มากขึ้น
สำหรับแนวโน้มในปี 2550 คาดว่าปริมาณการผลิตและการจำหน่ายยาในประเทศจะยังขยายตัวจากปีก่อน เนื่องจากประชาชนมีความรู้
ความเข้าใจในการดูแลรักษาตัวเอง มีการปรึกษาแพทย์ และเข้าโรงพยาบาลเพื่อรักษาสุขภาพมากกว่าในอดีต ทำให้ตลาดยาในประเทศยังเติบโต
ประกอบกับโครงการประกันสุขภาพซึ่งยังคงดำเนินอย่างต่อเนื่อง และรัฐบาลได้เพิ่มค่าเหมาจ่ายรายหัวมากขึ้นจาก 1,659.30 บาทต่อคน ในปีงบ
ประมาณ 2549 เป็น 1,899.69 บาทต่อคน ในปีงบประมาณ 2550 จะส่งผลให้ประชาชนเข้าถึงยาได้มากขึ้น และทำให้มีความต้องการบริโภคยาที่ผลิต
จากในประเทศเพิ่มขึ้น สำหรับมูลค่าการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นเช่นกัน เนื่องจากผู้ผลิตและภาครัฐพยายามขยายตลาดใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพ แต่ทั้งนี้
แนวโน้มการส่งออกของไทยขึ้นอยู่กับมาตรฐานของยาที่ผลิตได้ ดังนั้นผู้ผลิตในประเทศจำเป็นต้องผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ใน
ส่วนมูลค่าการนำเข้า คาดว่าการนำเข้ายาที่มีสิทธิบัตรสำหรับโรคที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง และยาต้นตำรับ ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากการเติบโต
ของธุรกิจสุขภาพ ประกอบกับจำนวนผู้สูงอายุซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความต้องการบริโภคยาประเภทดังกล่าวเพิ่มขึ้น
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์
หน่วย : ตัน
ประเภท 2547 2548 2549e
ยาเม็ด 4,802.40 4,788.60 5,535.10
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -0.3 15.6
ยาน้ำ 13,049.60 13,412.40 13,408.00
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.8 0
ยาแคปซูล 566.5 677.8 598.9
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 19.6 -11.6
ยาฉีด 439.5 456 436.8
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.8 -4.2
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 135.4 122.6 119.5
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -9.5 -2.5
ยาครีม 1,727.10 2,107.10 2,153.50
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 22 2.2
ยาผง 3,883.30 3,991.80 4,320.50
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.8 8.2
รวม 24,603.80 25,556.30 26,572.30
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.9 4
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 34 โรงงาน (ยาเม็ด 30 โรงงาน, ยาน้ำ 29 โรงงาน, ยาแคปซูล 26 โรงงาน,
ยาฉีด 9 โรงงาน, ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 4 โรงงาน, ยาครีม 17 โรงงาน และยาผง 17 โรงงาน)
หมายเหตุ : ปี 2549 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 2 ปริมาณการจำหน่ายยาและผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมในประเทศแยกตามรายผลิตภัณฑ์
หน่วย : ตัน
ประเภท 2547 2548 2549e
ยาเม็ด 4,554.70 5,104.30 5,357.10
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 12.1 5
ยาน้ำ 14,332.10 15,607.50 15,497.10
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 8.9 -0.7
ยาแคปซูล 645.6 761.6 689.4
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 18 -9.5
ยาฉีด 337.1 338.2 341.7
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.3 1
ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 140.2 122.5 122.2
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -12.6 -0.2
ยาครีม 1,817.90 2,025.20 2,045.10
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 11.4 1
ยาผง 723.1 688.6 709.1
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน -4.8 3
รวม 22,550.70 24,647.90 24,761.70
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 9.3 0.5
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : จำนวนโรงงานที่สำรวจรวมทั้งสิ้น 34 โรงงาน (ยาเม็ด 30 โรงงาน, ยาน้ำ 29 โรงงาน, ยาแคปซูล 26 โรงงาน,
ยาฉีด 9 โรงงาน, ยาแดงทิงเจอร์ไอโอดีน 4 โรงงาน, ยาครีม 17 โรงงาน และยาผง 17 โรงงาน)
: ปริมาณการจำหน่ายยาผงในประเทศน้อยกว่าปริมาณการผลิตมาก เนื่องจากมีผู้ประกอบการที่ทำการสำรวจ
ผลิตเพื่อการส่งออกมากกว่าการจำหน่ายในประเทศ
: ปี 2549 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้า — ส่งออกผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์
มูลค่า (ล้านบาท) 2547 2548 2549e
มูลค่าการนำเข้า 21,952.10 27,386.90 31,534.20
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 24.8 15.1
มูลค่าการส่งออก 5,034.00 6,198.90 6,830.60
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 23.1 10.2
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : ปี 2549 เป็นตัวเลขประมาณการ โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-