เมื่อเวลา 10.00 น. คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มีนายปัญญา ถนอมรอด เป็นประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้ออกนั่งบังลังก์พิจารณาคดียุบพรรคที่อัยการสูงสุดยื่นคำร้องขอให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์และพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า ในความผิดตามมาตรา 66 (2) และ (3) ของพ.ร.บ.พรรคการเมือง ในสองประเด็นคือ การว่าจ้างพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าส่งผู้ที่ไม่มีสิทธิลงสมัครลงรับสมัครเลือกตั้ง และว่าจ้างให้พรรคชีวิตที่ดีกว่าใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย ซึ่งการไต่สวนในวันนี้ยังคงมีแกนนำของพรรคประชาธิปัตย์และพรรคไทยรักไทยมาร่วมรับฟังการพิจารณาคดีอยู่เหมือนเดิม
สำหรับการไต่สวนเป็นการสืบพยานฝ่ายผู้ร้องคืออัยการสูงสุด รวม 4 ปาก จากทั้งหมด 6 ปาก เนื่องจากน.ส.อิสรา ยวงประเสริฐ และพล.ต.ต.ประสิทธิ์ ทำดี คณะตุลาการเห็นว่าคำให้การและคำคัดค้านเป็นเอกสารสมบูรณ์แล้ว จึงให้ตัดพยานดังกล่าวออก จากนั้นนายวิชัย ชื่นชมพูนุท ตุลาการรัฐธรรมนูญ ซึ่งทำหน้าที่ผู้ดำเนินกระบวนการไต่สวนได้เปิดโอกาสให้คู่กรณีได้ซักค้านพยาน โดยคณะตุลาการไม่ได้มีคำถามจะซักค้านเพิ่มเติมแต่อย่างใด นอกเหนือจากที่พยานได้ยื่นคำชี้แจงเป็นเอกสารมาก่อนหน้านี้แล้ว
การไต่สวนครั้งนี้พยานปากแรก คือ นางบุษยมาศ กลิ่นเพชร เจ้าของและบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ตรังแนวหน้า ซึ่งนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ผู้ได้รับมอบอำนาจจากพรรคประชาธิปัตย์ ได้สอบถามถึงการเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย รวมถึงการได้พบเห็นเหตุการณ์และได้ยินการว่าจ้างผู้สมัครประชาธิปไตยก้าวหน้าให้ใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย ที่เกิดขึ้นในสถานที่รับสมัครของจังหวัดตรัง จนเป็นที่มาของการนำเสนอบทความและข่าวในหนังสือพิมพ์ตรังแนวหน้าว่า “วิชามารโผล่ โยนบาปไทยรักไทย” เพื่อต้องการชี้ให้คณะตุลาการเห็นว่าการทำหน้าที่ของนางบุษยมาศไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น ถามว่าโต๊ะรับสมัคร กับโต๊ะที่สื่อมวลชนนั่งในสถานที่รับสมัครอยู่ห่างกัน 5 -7 เมตร ทำไมจึงมีเพียงนางบุษยมาศได้ยิน แต่สื่อมวลชนคนอื่นไม่ได้ยิน และเคยได้รับการว่าจ้างจากนายทวี สุระบาล สมาชิกพรรคไทยรักไทยให้ลงข่าวดังกล่าวใช่หรือไม่ รวมทั้งรายได้หลักของหนังสือพิมพ์ตรังแนวหน้าได้รับการสนับสนุนจากผู้สมัครพรรคไทยรักไทยกี่ครั้ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คำถามของนายนิพิฏฐ์ สร้างความไม่พอใจให้กับนางบุษยมาศอย่างมาก และแสดงอาการหงุดหงิด โดยจ้องหน้านายนิพิฏฐ์ ตลอดเวลาที่ตั้งคำถาม รวมทั้งร้องเรียนต่อคณะตุลาการว่าต้องการที่จะฟ้องกลับ “ หนูเคยสมัครเป็นสมาชิกพรรคความหวังใหม่ แต่มาทราบทีหลังว่ามีชื่อเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย แต่ไม่เคยสมัครด้วยตนเอง แต่เข้าใจว่าเมื่อพรรคความหวังใหม่ยุบรวมกับพรรคไทยรักไทย จึงมีการโอนชื่อไปเป็นพรรคไทยรักไทย และที่ไปสำนักงานของนายไกรสิน โตทับเที่ยง สมาชิกพรรคไทยรักไทยจังหวัดตรังก็ไปเก็บเงินค่าโฆษณาไม่ได้เป็นสมาชิกพรรค ส่วนที่ได้ยินการจ้างลงสมัคร และให้ใส่ร้ายพรรคไทยรักไทยนั้น เพราะบรรยากาศวันนั้นเงียบมาก และโต๊ะรับสมัครกับโต๊ะสื่อมวลชนก็อยู่ใกล้กัน รวมถึงไม่ได้มีหนูคนเดียวที่ได้ยิน แต่มีสื่อทีวีที่มาทราบภายหลังว่าได้ยินเช่นกัน และที่ถามเรื่องคุณทวีว่าจ้างให้ลงข่าวนั้น ดิฉันก็มีศักดิ์ศรีและหนังสือพิมพ์ของดิฉันก็ไม่เคยรับการเงินสนับสนุนจากนายไกรสิน เลย” นางบุษยมาศ กล่าว
อย่างไรก็ตามเมื่อนายนิพิฏฐ์ ถามว่าที่พาดหัวข่าวว่าโยนบาปนั้นหมายถึงว่าใครเป็นผู้โยนบาป นางบุษยมาส กล่าวอย่างมีอารมณ์ว่า “จริง ๆ การพาดหัวข่าวไม่จำเป็นต้องมีเนื้อข่าว หนูเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์จะเขียนอย่างไรก็ได้ และเนื้อความของพาดหัวข่าวเรื่องนี้ก็อยู่ในหน้าวาไรตี้ ” ซึ่งทำให้นายนิพิฏฐ์ ก็แย้งว่าถ้าอย่างนั้นก็ไม่ใช่ความจริง นางบุษยมาศ ก็แย้งว่า จะขอฟ้องกลับ ทำให้นายวิชัยแจ้งว่า ที่นี่ไม่ได้รับฟัองกลับและเตือนนายนิพิฏฐ์ว่าอย่าไปยึดติดกับระบบกล่าวหาให้มาก เพราะคดีนี้ไม่ใช่คดีอาญา จะถามก็ถาม อย่าขี่ม้าเลียบค่าย จากนั้นนายนิพิฏฐ์ ก็สรุปว่าทั้งหมดเป็นการใช้บก.หนังสือพิมพ์ตรังแนวหน้าเป็นเครื่องมือในการฟ้องร้องพรรคประชาธิปัตย์
ส่วนพยานปากที่สอง คือนายทวี สุระบาล อดีตส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ พรรคไทยรักไทย โดยนายนิพิฏฐ์ได้แจ้งต่อคณะตุลาการว่าขอใช้เวลาในการสอบพยานปากนี้เพื่อชี้เห็นถึงการเป็นปฏิปักษ์ต่อพรรคประชาธิปัตย์ เพราะการร้องยุบพรรคประชาธิปัตย์ก็เริ่มมาจากพยานปากนี้ ซึ่งนายนิพิฏฐ์ได้สอบถามถึงการมาสมัครเป็นสมาชิกพรรคในนามพรรคไทยรักไทย เพื่อแสดงให้เห็นว่านายทวีต้องการอาศัยชื่อเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ให้ตนได้รับเลือกตั้ง แต่นายทวีก็พยายามยืนยันว่ามาเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยเพราะได้รับการทาบทาม และการได้รับเลือกตั้งมานั้นเป็นเพราะผลงานของตนในพื้นที่ “ยอมรับว่าตอนที่ลงสมัครในนามพรรคชาติไทยในปี 29 สอบตก และเมื่อย้ายมาอยู่พรรคประชาธิปัตย์ในปี 31 ก็ไม่เคยสอบตกเลย จนในปี 44 ก็สร้างชื่อเสียงให้กับพรรค โดยเป็นคนที่ได้คะแนนเลือกตั้งมากที่สุดในภาคใต้ และมากที่สุดในประเทศ เป็นเพราะผลงานที่ผมทำกับชาวบ้าน”นายทวี กล่าว และทันที่ที่ชี้แจงนายนิพิฏฐ์ ก็พูดสวนว่า ถ้าเป็นเพราะผลงานทำไมเมื่อการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เม.ย. 49 ที่ลงในนามพรรคไทยรักไทยจึงได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 20 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
จากนั้นนายนิพิฏฐ์ ถามว่า การย้ายไปสังกัดพรรคไทยรักไทยนั้นมีสาเหตุโกรธเคืองกับใครในพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่ ซึ่งนายทวีก็ชี้แจงว่าไม่มี แต่ที่มาสังกัดพรรคไทยรักไทยเพราะมีเงื่อนไขสั้น ๆ คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย จะให้ตนอยู่ในบัญชีรายชื่อไม่เกินอันดับ 50 ซึ่งก็จัดให้อยู่ในลำดับที่ 46 ในขณะนั้น แต่ต่อมาในการเลือกตั้งปี 49 พ.ต.ท.ทักษิณก็บอกว่า “ คุณทวีคุณทำได้หรือไม่ที่จังหวัดตรัง ให้ได้ส.ส.สักหนึ่งคน คุณจะได้รางวัลที่ถูกใจที่สุดในชีวิตของคุณจากผม ซึ่งขณะนั้นกระแสพรรคไทยรักไทยและกระแสพ.ต.ท.ทักษิณในภาคใต้ไม่ใช่ศูนย์ แต่ติดลบ และมีกระบวนการจากพรรคประชาธิปัตย์ไปบอกกับชาวบ้านว่าผมรับมาแล้ว 32.5 ล้าน ทำให้ภายใน 6 สัปดาห์ทำให้ผมไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้ชาวบ้านได้”
โดยนายนิพิฏฐ์ ได้ถามต่อว่า รางวัลที่ว่าจะได้รับคือเงินจำนวนนี้ใช่หรือไม่ และยอมรับหรือไม่ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ยังพูดด้วยว่า ถ้าชนะที่จังหวัดตรังจะภูมิใจมากที่สุดในชีวิต นายทวีก็กล่าวว่า เรื่องเงินไม่ใช่รางวัล อาจเป็นตำแหน่งบริหาร และถ้าพรรคไทยรักไทยมีสมาชิกสักคนในภาคใต้ก็แน่นอนว่าต้องภูมิใจ
ผู้สื่อข่าวรายงาน นายนิพิฏฐ์ยังได้ถามว่า โดยชี้ให้เห็นว่ามีการยื่นข้อเสนอเกี่ยวกับการวิ่งเต้นคดีที่นายสมชาย โล่สถาพรพิพิธ อดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ถูกดำเนินคดีการพนันเพื่อแลกกับการที่นายสมชายต้องมาสังกัดพรรคไทยรักไทย โดยนายทวียอมรับว่าได้เป็นผู้พานายสมชายไปพบกับนายพิเชษฐ สถิรสวาล แกนนำพรรคไทยรักไทย ที่ขณะนั้นเป็นผู้ดูแลการเลือกตั้งในภาคใต้จริง เพื่อขอให้ช่วยเรื่องคดี แต่ไม่ยอมรับว่าที่นายนิพิฏฐ์อ้างว่า นายพิเชษฐ ระบุว่าจะวิ่งเต้นให้พ้นคดีผ่านทางนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ น้องเขยพ.ต.ท.ทักษิณ ที่เป็นปลัดกระทรวงยุติธรรมในขณะนั้น เพราะนายพิเชษฐ ไม่ได้ระบุว่าจะไปวิ่งเต้นกับใคร แต่ที่สุดนายสมชายก็ไม่ได้ถูกถึงตัวมาเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย
จากนั้นนายนิพิฏฐ์ยังได้สอบถามในประเด็นที่เกี่ยวกับพรรคประชาธิปัตย์ว่าจ้างผู้สมัครพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย ว่านายทักษนัย กี่สุ้น ซึ่งเป็นผู้พาผู้ไม่มีสิทธิสมัคร 3 คน ไปลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า แต่เคยเป็นผู้ช่วยของนายทวี แต่มีการปลดออกในภายหลัง และนายทวีได้รับทราบเกี่ยวกับเรื่องของการว่าจ้างลงสมัครมาจากที่ใด รวมถึงเทปการพูดคุยระหว่างประธานกกต.จังหวัดตรังกับโกกิ้ม หรือ(นายกิ้ม พิบูลย์ธรรมศักดิ์) ซึ่งเป็นผู้สื่อข่าวช่อง 7 ประจำจังหวัดตรังที่นายทวีนำมามอบให้คณะอนุฯของกกต.นั้นใครเป็นผู้บันทึกเทป นายทวีชี้แจงว่า ขณะที่ตนยังสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ นายทักษนัยได้ลงสมัครส.จ.แล้วไม่ได้รับเลือกตั้ง ตนก็เห็นใจจึงให้ผู้ช่วยคนหนึ่งลาออก แล้วให้นายทักษนัยเข้ามาเป็นผู้ช่วยแทน เพื่อเป็นสินน้ำใจ แต่เขาก็มีพฤติกรรมนอกลู่นอกรอย ทำงานได้ไม่กี่เดือนตนก็ปลดออก
ส่วนเรื่องของการว่าจ้างลงสมัคร ที่พรรคนำมาร้องต่อกกต.นั้น แต่เป็นเพราะสื่อมวลชนในท้องถิ่นลงข่าว โดยตนก็ทราบจากสื่อเช่นกัน ส่วนเรื่องเทปนั้นเป็นการบันทึกของเจ้าหน้าที่ของกกต.เอง ซึ่งก็ทราบว่าในขณะที่บันทึกนั้นไม่ได้มีการบอกให้นายโกกิ้มรู้ตัว
จากนั้นได้มีการไต่สวนพยานปากที่สามคือนายวรรธวริทธิ์ ตันติภิรมย์ หัวหน้าพรรคชีวิตที่ดีกว่า ซึ่งเป็นพยานในประเด็นที่นายไทกร พลสุวรรณ ไปเจรจาให้นายวรรธวริทธิ์ ใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย โดยอัยการสูงสุดได้ซักค้านว่าพ.ต.ท.รุทธพล เนาวรัตน์ ที่ปลอมตัวเข้าไปอัดเทปนั้น เข้าไปในฐานะอะไร
ซึ่งนายวรรธวริทธิ์ ได้ชี้แจงว่าเข้าไปฟังในฐานะคนรู้จักกัน ซึ่งตนไปแจ้งความเรื่องนี้ที่ชัยภูมิและขอให้พ.ต.ท.รุทธพลช่วย โดยถามว่าจะทำอย่างไรจะอัดเทปการพบปะพูดคุยที่ตนจะไปคุยกับนายไทกร เพราะตอนนั้นทราบมาจากนายบุญทวีศักดิ์ อมรสินธุ์ หัวหน้าพรรคพัฒนาชาติไทย ว่าแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ไปที่บ้านนายบุญทวีศักดิ์ ก็เกรงว่าถ้าตนไปพูดคุยกับนายไทกรแล้วไม่มีหลักฐานก็จะเป็นปัญหาได้จึงได้มีการบันทึกทั้งเทปเสียงและวีดิโอเทป
ขณะที่นายทวีศักดิ์ ณ ตะกั่วทุ่ง ผู้ได้รับมอบอำนาจจากพรรคประชาธิปัตย์ ได้ถามว่า ที่ให้การไว้กับอนุฯกรรมการของกกต.ว่านายไทกรไปที่บ้านมีการข่มขู่ และการแจ้งความดำเนินคดีทำไมไม่กระทำใกล้บ้านที่กรุงเทพ ต้องไปแจ้งความถึงชัยภูมิและตอนแรกที่นัดหมายกับนายไทกรที่โรงแรมเซ็นทรัล แล้วจึงเปลี่ยนเป็นโรงแรมแกรนด์รัชดา เพราะสะดวกต่อการบันทึกเสียงใช่หรือไม่ และที่ว่าพูดคุยกันราว 2 ชั่วโมงเหตุใดเทปเสียงและเทปบันทึกภาพจึงมีเวลาอยู่ราว 40 กว่านาที ใครเป็นผู้ตัดต่อ
นายวรรธวริทธิ์ ชี้แจงว่า วันที่นายไทกรไปพบที่บ้านนั้นตนอยู่ที่จังหวัดชัยภูมิ ภรรยาโทรศัพท์มาเล่าให้ฟังว่านายไทกรมาพร้อมกับบุคคลที่อ้างว่าเป็นตำรวจ บอกว่าพรรคประชาธิปัตย์จะฟ้องและดำเนินคดีตน ฐานส่งผู้ไม่มีสิทธิสมัครลงสมัครรับเลือกตั้ง พร้อมกับทิ้งจดหมายให้ภรรยามอบให้ตนมีข้อความในทำนองว่าถ้าไม่ติดต่อในวันเวลาที่กำหนด จะฟ้องร้องดำเนินคดีกับตน แต่ถ้ายอมรับใส่ร้ายอีกพรรคหนึ่งจะหาทนายดัง ๆ มาช่วย ซึ่งตนถือว่าเป็นการข่มขู่ จึงไปแจ้งความไว้ที่จังหวัดชัยภูมิ เพราะรู้จักพล.ต.ต.ประสิทธิ์ ทำดี และยอมรับว่าที่เปลี่ยนสถานที่นัดหมายนั้นส่วนหนึ่งเพราะสะดวกต่อการบันทึกเสียง แต่ที่เนื้อเทปมีเพียง 40 กว่านาทีนั้นตนไม่ทราบใครเป็นผู้ตัดต่อ เพราะเมื่อพูดคุยเสร็จสิ้นก็ให้พ.ต.ท.รุทธพล ไปถอดเทป และนำมาให้ ตนจึงนำไปร้องเรียนกับกกต. โดยนายบุญทวีศักดิ์ทราบในเวลาต่อมาจึงมาขอสำเนาและนำไปเผยแพร่ ซึ่งตนก็นำไปให้นายวิชิต ปลั่งศรีสกุลด้วย อย่างไรก็ตาม นายวรรธวริทธิ์ แสดงความไม่พอใจ เมื่อนายทวีศักดิ์พยายามที่จะสอบถามว่า นายวรรธวิทธิ์ เกี่ยวข้องและรับเงินจากนายบุญทวีศักดิ์ รวมทั้งพยายามที่จะถามว่ามีถ้อยคำของนายไทกรถ้อยทำใดที่ระบุว่าจะให้เงิน หากใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย โดยนายวรรธวริทธิ์ กล่าวว่า คุณจะมาเมคได้อย่างไร ผมกับนายบุญทวีศักดิ์ไม่มีอะไรกัน ที่ไปคุยกับนายไทกร เขาก็บอกเพียงว่าให้ผมตกลง โดยพูดทำนองว่าจะเรียกเงินเท่าไหร่ แต่ในชีวิตผมไม่เคยรับจ้าง ชื่อเดิมผมคือวัฒนา เป็นอดีตผู้นำแรงงาน คุณชวนก็รู้จักผมดี
ต่อมาในช่วงบ่าย คณะตุลาการได้ไต่สวนพ.ต.ท.รุทธพล เนาวรัตน์ รองผกก.ตำรวจภูธร จว.ชัยภูมิ ผู้ทำหน้าที่หัวหน้าสภ.ต.บ้านค่าย จ.ชัยภูมิ โดยนายวิชัย ได้สอบถามถึงการเข้ามาทำหน้าที่สืบสวนสอบสวนกรณีที่นายวรรธวริทธิ์ ตันติภิรมย์ หัวหน้าพรรคชีวิตที่ดีกว่า ว่าเป็นการดำเนินการตามหน้าที่ หรืออนุเคราะห์ให้เท่านั้น รวมทั้งทราบหรือไม่ว่าอำนาจหน้าที่ในตำแหน่งที่ดำรงอยู่นั้นมีเท่าใด
พ.ต.ท.รุทธพล กล่าวว่า ตนได้ทำหน้าที่ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย จึงถือว่าเป็นการทำหน้าที่ตามป.วิอาญา มาตรา 17 อย่างไรก็ตามตนทราบดีว่าอำนาจหน้าที่ของตนนั้น สามารถสืบสวนสอบสวนคดีความในท้องที่ที่รับผิดชอบได้เท่านั้น แต่หากมีคดีที่เกี่ยวเนื่อง และมีคำสั่งของผู้บังคับบัญชาก็สามารถสืบสวนสอบสวนได้ทั่วราชอาณาจักร
โดยนายอรรถพล สอบถามว่า เหตุใดพล.ต.ต.ประสิทธิ์ ทำดี ผกก.ภ.จว.ชัยภูมิ จึงสั่งให้พ.ต.ท.รุทธพล เข้ามาทำคดีดังกล่าว รวมทั้งขั้นตอนการดำเนินการสอบสวนสอบสวน โดยพ.ต.ท.รุทธพล กล่าวว่า สาหตุที่พล.ต.ต.ประสิทธิ์ สั่งการให้ตนมาดูแลคดีนี้และหาข้อเท็จจริง เนื่องจากเห็นว่าตนเคยรับราชการในพื้นที่จ.นครราชสีมา รวมทั้งมีบ้านพักอาศัยใกล้กับบ้านของนายวรรธวริทธิ์ รวมทั้งมีการอ้างว่ามีตำรวจจากนครราชสีมาและชัยภูมิ เข้าไปข่มขู่เอาชีวิต จึงมอบหมายให้ตนสืบหาข้อเท็จจริง
โดยการสอบสวนนั้นตนได้โทรศัพท์ไปหาชายที่อ้างเป็นตำรวจตามนามบัตรที่ทิ้งไว้ให้ และนัดพบที่โรงแรมเดอะ แกรนด์ รัชดา ซึ่งตนได้เดินทางมากับผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยรถตู้ของภ.จว.ชัยภูมิ จากนั้นจึงได้บันทึกภาพและเสียงของการสนทนา ซึ่งในโต๊ะอาหารที่มีการบันทึกเสียงเอาไว้ มีบุคคลอยู่ 4 คน คือนายไทกร นายวรรธวริทธิ์ ตน และชายไม่ทราบชื่ออีกคนหนึ่ง ซึ่งเมื่อตนบันทึกเทปเรียบร้อยแล้วได้นำมาถอดเทปและมอบเทปดังกล่าวให้นายวรรธวริทธิ์ และทำหนังสือชี้แจงไปยังผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น จากนั้นจึงเดินทางกลับ
ด้านนายทวีศักดิ์ ณ ตะกั่วทุ่ง ทนายความผู้รับมอบอำนาจจากพรรคประชาธิปัตย์ ได้ซักค้านว่า พยานเคยเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของพล.ต.ต.ประสิทธิ์ สมัยรับราชการอยู่ที่จ.บุรีรัมย์ใช่หรือไม่ และเป็นเรื่องปกติวิสัยหรือไม่ที่คนระดับพล.ต.ต.มารับแจ้งความด้วยตนเอง และสั่งให้หัวหน้าสภ.ต.บ้านค่ายมาดำเนินคดีนี้ ทั้งที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจอีกมากที่กองบังคับการภ.จว.ชัยภูมิ ที่สามารถทำหน้าที่ได้ รวมทั้งได้แนะนำนายวรรธวริทธิ์หรือไม่ว่าการแจ้งความนั้นควรจะแจ้งความที่พื้นที่เกิดเหตุ
พ.ต.ท.รุทธพล กล่าวว่า ตนเคยเป็นผู้ได้บังคับบัญชาของพล.ต.ต.ประสิทธิ์ ในสมัยที่รับราชการอยู่ที่บุรีรัมย์ แต่ไม่ถือเป็นเรื่องผิดปกติที่เรียกตนมาสืบสวนสอบสวนกรณีดังกล่าว เพราะตนก็ช่วยราชการอยู่ที่ศูนย์ปฏิบัติการจ.ชัยภูมิ อย่างไรก็ตามตนไม่ทราบว่าพล.ต.ต.ประสิทธิ์ได้ชี้แจงถึงขอบเขตพื้นที่การแจ้งความดำเนินคดีหรือไม่ แต่ตนไม่ได้แจ้ง เพียงแต่ทำตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาเท่านั้น
นายทวีศักดิ์ ยังถามถึงการดำเนินการสืบสวนว่าอุปกรณ์ที่ใช้ดักฟังและบันทึกเทปเป็นเครื่องมองของราชการหรือไม่ และทราบหรือไม่ว่าการใช้อุปกรณ์ดักฟังนี้มีความผิดทางกฎหมายอย่างไร แล้วเหตุใดเมื่อได้หลักฐานแล้วจึงนำไปมอบให้นายวรรธวริทธิ์ เนื่องจากหากเป็นหลักฐานจากการสืบสวนก็ต้องถือว่าเป็นพยานหลักฐานแห่งคดี รวมทั้งได้มอบเทปบันทึกเสียงพร้อมคำถอดเทปให้กับนายวิชิต ปลั่งศรีสกุล อดีตส.ส.พรรคไทยรักไทยหรือไม่ และเหตุใดคำถอดเทปในเครื่องบันทึกเดียวกันถึงมี 2 ฉบับ ซึ่งเนื้อหาไม่เหมือนกัน
พ.ต.ท.รุทธพล กล่าวว่า เครื่องมือในการบันทึกเสียงนั้นเป็นของตนเอง ซึ่งไม่คิดว่าผิดกฎหมายเพราะเป็นการหาข้อเท็จจริงของคดี ซึ่งภายหลังที่ตนบันทึกเสียงเสร็จ ก็ร่วมกับผู้บังคับบัญชาถอดเทป จากนั้นจึงมอบให้นายวรรธวริทธิ์ไป เพราะเห็นว่าการสนทนาไม่เกี่ยวกับการข่มขู่คุกคามตามที่ได้แจ้งความไว้ แต่เป็นการสนทนาเกี่ยวกับเรื่องการเมือง
ดังนั้นตนจึงบอกกับนายวรรธวริทธิ์ว่าหากได้รับความเสียหายจากเทปดังกล่าวก็ให้แจ้งความดำเนินคดีเอง ส่วนการมอบเทปบันทึกเสียงให้ส.ส.ไทยรักไทยนั้นตนไม่ได้เป็นผู้มอบให้ แต่ก่อนที่ตนจะเดินทางกลับได้บอกกับนายวรรธวริทธิ์ว่าก่อนจะเดินทางกลับชัยภูมิจะแวะซื้อของที่ห้างมาบุญครอง ดังนั้นนายวรรธวริทธิ์ จึงได้ฝากซองเอกสารสีน้ำตาลให้ตนไปมอบให้ที่พรรคไทยรักไทย แต่ตนได้ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาลงไปมอบให้กับเจ้าหน้าที่พรรค โดยไม่ได้ดูด้วยว่าจ่าหน้าซองถึงใคร และไม่ทราบว่าของในซองนั้นเป็นอะไร ส่วนเนื้อหาถอดเทปนั้นมี 2 ฉบับได้อย่างไรตนไม่ทราบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะตุลาการได้ปิดการไต่สวนในเวลา 14.00 น. พร้อมนัดไต่สวนพยานอีก 5 ปากในวันที่ 1 ก.พ.นี้ โดยนายวิชัย ได้แจ้งให้คู่กรณีทราบว่าได้ขยายเวลาการส่งคำให้การพยานก่อนการไต่สวน 10 วัน จากแต่เดิม 7 วัน และยื่นคำคัดค้านเป็นการเอกสารก่อนการไต่สวน 5 วัน จากแต่เดิม 3 วัน
นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ทีมทนายความพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวภายหลังการไต่สวนกรณียุบพรรคประชาธิปัตย์นัดที่ 2 ว่า การไต่สวนในวันนี้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้ไต่สวนใน 2 ประเด็น ในคดีที่เกี่ยวกับพรรคประชาธิปัตย์ คือ จ้างพรรคเล็กลงสมัครเพื่อใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย ประเด็นที่ 2 คือ จ้างพรรคชีวิตที่ดีกว่าให้ใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย ซึ่งในประเด็นนี้ได้มีการร้องเรียนว่า ได้ถูกข่มขู่ จึงได้มีการแจ้งความดำเนินคดีในกรณีนี้ที่จังหวัดชัยภูมิ ทั้งที่ นายวรรธวริทธิ์ ตันติภิรมย์ หัวหน้าพรรคชีวิตที่ดีกว่า อาศัยอยู่ที่ จ.นครราชสีมา จึงตั้งข้อสังเกตว่าทำไมจึงต้องไปแจ้งความดำเนินคดีที่จ.ชัยภูมิทั้งที่ระยะทางก็ไกลกว่า 100 กิโลเมตร
นอกจากนี้สิ่งที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ยังได้สอบถามพ.ต.ท. รุทธพล เนาวรัตน์ ถึงเขตอำนาจหน้าที่ในการสืบสวนสอบสวนในคดีนี้ว่าอยู่ในขอบเขตอำนาจของตัวเองที่มีหรือไม่ ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว ขอบเขตอำนาจของพ.ต.ท.รุทธพลน่าจะมีเพียงในพื้นที่ตนเองรับผิดชอบเท่านั้น ไม่น่าเข้ามาสืบสวนสอบสวนนอกเขตพื้นที่ได้
อีกทั้งการพูดคุยกับนายไทกร พลสุวรรณ ที่ได้บันทึกไว้ไม่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการข่มขู่ ตามที่นายวรรธวริทธิ์ ได้แจ้งความเอาไว้ ซึ่งตรงนี้ทำให้เห็นว่าประเด็นข้อกล่าวหาดังกล่าวเป็นการพยายามหลอกล่อ รวมถึงมีการวางแผนเอาไว้ เพื่อจะโยนความผิดให้กับพรรคประชาธิปัตย์
นายวิรัตน์ กล่าวอีกว่า ส่วนประเด็นที่ระบุว่า จ้างพรรคเล็กลงสมัครเพื่อใส่ร้ายพรรคไทยรักไทยที่จ.ตรัง ซึ่งก็ได้มีการสืบพยาน คือนางบุษยมาศ กลิ่นเพชร เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ตรังแนวหน้า ซึ่งก็ได้ยอมรับว่าการพาดหัวข่าวที่เกี่ยวข้องกับพรรคประชาธิปัตย์ ไม่จำเป็นจะต้องมีเนื้อหา สามารถพาดหัวข่าวตามความรู้สึกได้ รวมทั้งกรณีของนายทวี สุระบาล ที่ถูกดึงตัวจากพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อไปลงสมัครให้กับพรรคไทยรักไทย โดยบอกว่าหากชนะการเลือกตั้งเข้ามาได้ ก็จะมอบตำแหน่งให้เป็นข้อแลกเปลี่ยน ทำให้เราเห็นว่าระบอบทักษิณเป็นระบอบที่มีการต่อรอง และมีการหลอกล่อโดยเอาตำแหน่งทางการเมืองมาให้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 25 ม.ค. 2550--จบ--
สำหรับการไต่สวนเป็นการสืบพยานฝ่ายผู้ร้องคืออัยการสูงสุด รวม 4 ปาก จากทั้งหมด 6 ปาก เนื่องจากน.ส.อิสรา ยวงประเสริฐ และพล.ต.ต.ประสิทธิ์ ทำดี คณะตุลาการเห็นว่าคำให้การและคำคัดค้านเป็นเอกสารสมบูรณ์แล้ว จึงให้ตัดพยานดังกล่าวออก จากนั้นนายวิชัย ชื่นชมพูนุท ตุลาการรัฐธรรมนูญ ซึ่งทำหน้าที่ผู้ดำเนินกระบวนการไต่สวนได้เปิดโอกาสให้คู่กรณีได้ซักค้านพยาน โดยคณะตุลาการไม่ได้มีคำถามจะซักค้านเพิ่มเติมแต่อย่างใด นอกเหนือจากที่พยานได้ยื่นคำชี้แจงเป็นเอกสารมาก่อนหน้านี้แล้ว
การไต่สวนครั้งนี้พยานปากแรก คือ นางบุษยมาศ กลิ่นเพชร เจ้าของและบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ตรังแนวหน้า ซึ่งนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ผู้ได้รับมอบอำนาจจากพรรคประชาธิปัตย์ ได้สอบถามถึงการเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย รวมถึงการได้พบเห็นเหตุการณ์และได้ยินการว่าจ้างผู้สมัครประชาธิปไตยก้าวหน้าให้ใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย ที่เกิดขึ้นในสถานที่รับสมัครของจังหวัดตรัง จนเป็นที่มาของการนำเสนอบทความและข่าวในหนังสือพิมพ์ตรังแนวหน้าว่า “วิชามารโผล่ โยนบาปไทยรักไทย” เพื่อต้องการชี้ให้คณะตุลาการเห็นว่าการทำหน้าที่ของนางบุษยมาศไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น ถามว่าโต๊ะรับสมัคร กับโต๊ะที่สื่อมวลชนนั่งในสถานที่รับสมัครอยู่ห่างกัน 5 -7 เมตร ทำไมจึงมีเพียงนางบุษยมาศได้ยิน แต่สื่อมวลชนคนอื่นไม่ได้ยิน และเคยได้รับการว่าจ้างจากนายทวี สุระบาล สมาชิกพรรคไทยรักไทยให้ลงข่าวดังกล่าวใช่หรือไม่ รวมทั้งรายได้หลักของหนังสือพิมพ์ตรังแนวหน้าได้รับการสนับสนุนจากผู้สมัครพรรคไทยรักไทยกี่ครั้ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คำถามของนายนิพิฏฐ์ สร้างความไม่พอใจให้กับนางบุษยมาศอย่างมาก และแสดงอาการหงุดหงิด โดยจ้องหน้านายนิพิฏฐ์ ตลอดเวลาที่ตั้งคำถาม รวมทั้งร้องเรียนต่อคณะตุลาการว่าต้องการที่จะฟ้องกลับ “ หนูเคยสมัครเป็นสมาชิกพรรคความหวังใหม่ แต่มาทราบทีหลังว่ามีชื่อเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย แต่ไม่เคยสมัครด้วยตนเอง แต่เข้าใจว่าเมื่อพรรคความหวังใหม่ยุบรวมกับพรรคไทยรักไทย จึงมีการโอนชื่อไปเป็นพรรคไทยรักไทย และที่ไปสำนักงานของนายไกรสิน โตทับเที่ยง สมาชิกพรรคไทยรักไทยจังหวัดตรังก็ไปเก็บเงินค่าโฆษณาไม่ได้เป็นสมาชิกพรรค ส่วนที่ได้ยินการจ้างลงสมัคร และให้ใส่ร้ายพรรคไทยรักไทยนั้น เพราะบรรยากาศวันนั้นเงียบมาก และโต๊ะรับสมัครกับโต๊ะสื่อมวลชนก็อยู่ใกล้กัน รวมถึงไม่ได้มีหนูคนเดียวที่ได้ยิน แต่มีสื่อทีวีที่มาทราบภายหลังว่าได้ยินเช่นกัน และที่ถามเรื่องคุณทวีว่าจ้างให้ลงข่าวนั้น ดิฉันก็มีศักดิ์ศรีและหนังสือพิมพ์ของดิฉันก็ไม่เคยรับการเงินสนับสนุนจากนายไกรสิน เลย” นางบุษยมาศ กล่าว
อย่างไรก็ตามเมื่อนายนิพิฏฐ์ ถามว่าที่พาดหัวข่าวว่าโยนบาปนั้นหมายถึงว่าใครเป็นผู้โยนบาป นางบุษยมาส กล่าวอย่างมีอารมณ์ว่า “จริง ๆ การพาดหัวข่าวไม่จำเป็นต้องมีเนื้อข่าว หนูเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์จะเขียนอย่างไรก็ได้ และเนื้อความของพาดหัวข่าวเรื่องนี้ก็อยู่ในหน้าวาไรตี้ ” ซึ่งทำให้นายนิพิฏฐ์ ก็แย้งว่าถ้าอย่างนั้นก็ไม่ใช่ความจริง นางบุษยมาศ ก็แย้งว่า จะขอฟ้องกลับ ทำให้นายวิชัยแจ้งว่า ที่นี่ไม่ได้รับฟัองกลับและเตือนนายนิพิฏฐ์ว่าอย่าไปยึดติดกับระบบกล่าวหาให้มาก เพราะคดีนี้ไม่ใช่คดีอาญา จะถามก็ถาม อย่าขี่ม้าเลียบค่าย จากนั้นนายนิพิฏฐ์ ก็สรุปว่าทั้งหมดเป็นการใช้บก.หนังสือพิมพ์ตรังแนวหน้าเป็นเครื่องมือในการฟ้องร้องพรรคประชาธิปัตย์
ส่วนพยานปากที่สอง คือนายทวี สุระบาล อดีตส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ พรรคไทยรักไทย โดยนายนิพิฏฐ์ได้แจ้งต่อคณะตุลาการว่าขอใช้เวลาในการสอบพยานปากนี้เพื่อชี้เห็นถึงการเป็นปฏิปักษ์ต่อพรรคประชาธิปัตย์ เพราะการร้องยุบพรรคประชาธิปัตย์ก็เริ่มมาจากพยานปากนี้ ซึ่งนายนิพิฏฐ์ได้สอบถามถึงการมาสมัครเป็นสมาชิกพรรคในนามพรรคไทยรักไทย เพื่อแสดงให้เห็นว่านายทวีต้องการอาศัยชื่อเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ให้ตนได้รับเลือกตั้ง แต่นายทวีก็พยายามยืนยันว่ามาเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยเพราะได้รับการทาบทาม และการได้รับเลือกตั้งมานั้นเป็นเพราะผลงานของตนในพื้นที่ “ยอมรับว่าตอนที่ลงสมัครในนามพรรคชาติไทยในปี 29 สอบตก และเมื่อย้ายมาอยู่พรรคประชาธิปัตย์ในปี 31 ก็ไม่เคยสอบตกเลย จนในปี 44 ก็สร้างชื่อเสียงให้กับพรรค โดยเป็นคนที่ได้คะแนนเลือกตั้งมากที่สุดในภาคใต้ และมากที่สุดในประเทศ เป็นเพราะผลงานที่ผมทำกับชาวบ้าน”นายทวี กล่าว และทันที่ที่ชี้แจงนายนิพิฏฐ์ ก็พูดสวนว่า ถ้าเป็นเพราะผลงานทำไมเมื่อการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เม.ย. 49 ที่ลงในนามพรรคไทยรักไทยจึงได้คะแนนไม่ถึงร้อยละ 20 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
จากนั้นนายนิพิฏฐ์ ถามว่า การย้ายไปสังกัดพรรคไทยรักไทยนั้นมีสาเหตุโกรธเคืองกับใครในพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่ ซึ่งนายทวีก็ชี้แจงว่าไม่มี แต่ที่มาสังกัดพรรคไทยรักไทยเพราะมีเงื่อนไขสั้น ๆ คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย จะให้ตนอยู่ในบัญชีรายชื่อไม่เกินอันดับ 50 ซึ่งก็จัดให้อยู่ในลำดับที่ 46 ในขณะนั้น แต่ต่อมาในการเลือกตั้งปี 49 พ.ต.ท.ทักษิณก็บอกว่า “ คุณทวีคุณทำได้หรือไม่ที่จังหวัดตรัง ให้ได้ส.ส.สักหนึ่งคน คุณจะได้รางวัลที่ถูกใจที่สุดในชีวิตของคุณจากผม ซึ่งขณะนั้นกระแสพรรคไทยรักไทยและกระแสพ.ต.ท.ทักษิณในภาคใต้ไม่ใช่ศูนย์ แต่ติดลบ และมีกระบวนการจากพรรคประชาธิปัตย์ไปบอกกับชาวบ้านว่าผมรับมาแล้ว 32.5 ล้าน ทำให้ภายใน 6 สัปดาห์ทำให้ผมไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้ชาวบ้านได้”
โดยนายนิพิฏฐ์ ได้ถามต่อว่า รางวัลที่ว่าจะได้รับคือเงินจำนวนนี้ใช่หรือไม่ และยอมรับหรือไม่ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ยังพูดด้วยว่า ถ้าชนะที่จังหวัดตรังจะภูมิใจมากที่สุดในชีวิต นายทวีก็กล่าวว่า เรื่องเงินไม่ใช่รางวัล อาจเป็นตำแหน่งบริหาร และถ้าพรรคไทยรักไทยมีสมาชิกสักคนในภาคใต้ก็แน่นอนว่าต้องภูมิใจ
ผู้สื่อข่าวรายงาน นายนิพิฏฐ์ยังได้ถามว่า โดยชี้ให้เห็นว่ามีการยื่นข้อเสนอเกี่ยวกับการวิ่งเต้นคดีที่นายสมชาย โล่สถาพรพิพิธ อดีตส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ถูกดำเนินคดีการพนันเพื่อแลกกับการที่นายสมชายต้องมาสังกัดพรรคไทยรักไทย โดยนายทวียอมรับว่าได้เป็นผู้พานายสมชายไปพบกับนายพิเชษฐ สถิรสวาล แกนนำพรรคไทยรักไทย ที่ขณะนั้นเป็นผู้ดูแลการเลือกตั้งในภาคใต้จริง เพื่อขอให้ช่วยเรื่องคดี แต่ไม่ยอมรับว่าที่นายนิพิฏฐ์อ้างว่า นายพิเชษฐ ระบุว่าจะวิ่งเต้นให้พ้นคดีผ่านทางนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ น้องเขยพ.ต.ท.ทักษิณ ที่เป็นปลัดกระทรวงยุติธรรมในขณะนั้น เพราะนายพิเชษฐ ไม่ได้ระบุว่าจะไปวิ่งเต้นกับใคร แต่ที่สุดนายสมชายก็ไม่ได้ถูกถึงตัวมาเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย
จากนั้นนายนิพิฏฐ์ยังได้สอบถามในประเด็นที่เกี่ยวกับพรรคประชาธิปัตย์ว่าจ้างผู้สมัครพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้าใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย ว่านายทักษนัย กี่สุ้น ซึ่งเป็นผู้พาผู้ไม่มีสิทธิสมัคร 3 คน ไปลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า แต่เคยเป็นผู้ช่วยของนายทวี แต่มีการปลดออกในภายหลัง และนายทวีได้รับทราบเกี่ยวกับเรื่องของการว่าจ้างลงสมัครมาจากที่ใด รวมถึงเทปการพูดคุยระหว่างประธานกกต.จังหวัดตรังกับโกกิ้ม หรือ(นายกิ้ม พิบูลย์ธรรมศักดิ์) ซึ่งเป็นผู้สื่อข่าวช่อง 7 ประจำจังหวัดตรังที่นายทวีนำมามอบให้คณะอนุฯของกกต.นั้นใครเป็นผู้บันทึกเทป นายทวีชี้แจงว่า ขณะที่ตนยังสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ นายทักษนัยได้ลงสมัครส.จ.แล้วไม่ได้รับเลือกตั้ง ตนก็เห็นใจจึงให้ผู้ช่วยคนหนึ่งลาออก แล้วให้นายทักษนัยเข้ามาเป็นผู้ช่วยแทน เพื่อเป็นสินน้ำใจ แต่เขาก็มีพฤติกรรมนอกลู่นอกรอย ทำงานได้ไม่กี่เดือนตนก็ปลดออก
ส่วนเรื่องของการว่าจ้างลงสมัคร ที่พรรคนำมาร้องต่อกกต.นั้น แต่เป็นเพราะสื่อมวลชนในท้องถิ่นลงข่าว โดยตนก็ทราบจากสื่อเช่นกัน ส่วนเรื่องเทปนั้นเป็นการบันทึกของเจ้าหน้าที่ของกกต.เอง ซึ่งก็ทราบว่าในขณะที่บันทึกนั้นไม่ได้มีการบอกให้นายโกกิ้มรู้ตัว
จากนั้นได้มีการไต่สวนพยานปากที่สามคือนายวรรธวริทธิ์ ตันติภิรมย์ หัวหน้าพรรคชีวิตที่ดีกว่า ซึ่งเป็นพยานในประเด็นที่นายไทกร พลสุวรรณ ไปเจรจาให้นายวรรธวริทธิ์ ใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย โดยอัยการสูงสุดได้ซักค้านว่าพ.ต.ท.รุทธพล เนาวรัตน์ ที่ปลอมตัวเข้าไปอัดเทปนั้น เข้าไปในฐานะอะไร
ซึ่งนายวรรธวริทธิ์ ได้ชี้แจงว่าเข้าไปฟังในฐานะคนรู้จักกัน ซึ่งตนไปแจ้งความเรื่องนี้ที่ชัยภูมิและขอให้พ.ต.ท.รุทธพลช่วย โดยถามว่าจะทำอย่างไรจะอัดเทปการพบปะพูดคุยที่ตนจะไปคุยกับนายไทกร เพราะตอนนั้นทราบมาจากนายบุญทวีศักดิ์ อมรสินธุ์ หัวหน้าพรรคพัฒนาชาติไทย ว่าแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ไปที่บ้านนายบุญทวีศักดิ์ ก็เกรงว่าถ้าตนไปพูดคุยกับนายไทกรแล้วไม่มีหลักฐานก็จะเป็นปัญหาได้จึงได้มีการบันทึกทั้งเทปเสียงและวีดิโอเทป
ขณะที่นายทวีศักดิ์ ณ ตะกั่วทุ่ง ผู้ได้รับมอบอำนาจจากพรรคประชาธิปัตย์ ได้ถามว่า ที่ให้การไว้กับอนุฯกรรมการของกกต.ว่านายไทกรไปที่บ้านมีการข่มขู่ และการแจ้งความดำเนินคดีทำไมไม่กระทำใกล้บ้านที่กรุงเทพ ต้องไปแจ้งความถึงชัยภูมิและตอนแรกที่นัดหมายกับนายไทกรที่โรงแรมเซ็นทรัล แล้วจึงเปลี่ยนเป็นโรงแรมแกรนด์รัชดา เพราะสะดวกต่อการบันทึกเสียงใช่หรือไม่ และที่ว่าพูดคุยกันราว 2 ชั่วโมงเหตุใดเทปเสียงและเทปบันทึกภาพจึงมีเวลาอยู่ราว 40 กว่านาที ใครเป็นผู้ตัดต่อ
นายวรรธวริทธิ์ ชี้แจงว่า วันที่นายไทกรไปพบที่บ้านนั้นตนอยู่ที่จังหวัดชัยภูมิ ภรรยาโทรศัพท์มาเล่าให้ฟังว่านายไทกรมาพร้อมกับบุคคลที่อ้างว่าเป็นตำรวจ บอกว่าพรรคประชาธิปัตย์จะฟ้องและดำเนินคดีตน ฐานส่งผู้ไม่มีสิทธิสมัครลงสมัครรับเลือกตั้ง พร้อมกับทิ้งจดหมายให้ภรรยามอบให้ตนมีข้อความในทำนองว่าถ้าไม่ติดต่อในวันเวลาที่กำหนด จะฟ้องร้องดำเนินคดีกับตน แต่ถ้ายอมรับใส่ร้ายอีกพรรคหนึ่งจะหาทนายดัง ๆ มาช่วย ซึ่งตนถือว่าเป็นการข่มขู่ จึงไปแจ้งความไว้ที่จังหวัดชัยภูมิ เพราะรู้จักพล.ต.ต.ประสิทธิ์ ทำดี และยอมรับว่าที่เปลี่ยนสถานที่นัดหมายนั้นส่วนหนึ่งเพราะสะดวกต่อการบันทึกเสียง แต่ที่เนื้อเทปมีเพียง 40 กว่านาทีนั้นตนไม่ทราบใครเป็นผู้ตัดต่อ เพราะเมื่อพูดคุยเสร็จสิ้นก็ให้พ.ต.ท.รุทธพล ไปถอดเทป และนำมาให้ ตนจึงนำไปร้องเรียนกับกกต. โดยนายบุญทวีศักดิ์ทราบในเวลาต่อมาจึงมาขอสำเนาและนำไปเผยแพร่ ซึ่งตนก็นำไปให้นายวิชิต ปลั่งศรีสกุลด้วย อย่างไรก็ตาม นายวรรธวริทธิ์ แสดงความไม่พอใจ เมื่อนายทวีศักดิ์พยายามที่จะสอบถามว่า นายวรรธวิทธิ์ เกี่ยวข้องและรับเงินจากนายบุญทวีศักดิ์ รวมทั้งพยายามที่จะถามว่ามีถ้อยคำของนายไทกรถ้อยทำใดที่ระบุว่าจะให้เงิน หากใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย โดยนายวรรธวริทธิ์ กล่าวว่า คุณจะมาเมคได้อย่างไร ผมกับนายบุญทวีศักดิ์ไม่มีอะไรกัน ที่ไปคุยกับนายไทกร เขาก็บอกเพียงว่าให้ผมตกลง โดยพูดทำนองว่าจะเรียกเงินเท่าไหร่ แต่ในชีวิตผมไม่เคยรับจ้าง ชื่อเดิมผมคือวัฒนา เป็นอดีตผู้นำแรงงาน คุณชวนก็รู้จักผมดี
ต่อมาในช่วงบ่าย คณะตุลาการได้ไต่สวนพ.ต.ท.รุทธพล เนาวรัตน์ รองผกก.ตำรวจภูธร จว.ชัยภูมิ ผู้ทำหน้าที่หัวหน้าสภ.ต.บ้านค่าย จ.ชัยภูมิ โดยนายวิชัย ได้สอบถามถึงการเข้ามาทำหน้าที่สืบสวนสอบสวนกรณีที่นายวรรธวริทธิ์ ตันติภิรมย์ หัวหน้าพรรคชีวิตที่ดีกว่า ว่าเป็นการดำเนินการตามหน้าที่ หรืออนุเคราะห์ให้เท่านั้น รวมทั้งทราบหรือไม่ว่าอำนาจหน้าที่ในตำแหน่งที่ดำรงอยู่นั้นมีเท่าใด
พ.ต.ท.รุทธพล กล่าวว่า ตนได้ทำหน้าที่ตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย จึงถือว่าเป็นการทำหน้าที่ตามป.วิอาญา มาตรา 17 อย่างไรก็ตามตนทราบดีว่าอำนาจหน้าที่ของตนนั้น สามารถสืบสวนสอบสวนคดีความในท้องที่ที่รับผิดชอบได้เท่านั้น แต่หากมีคดีที่เกี่ยวเนื่อง และมีคำสั่งของผู้บังคับบัญชาก็สามารถสืบสวนสอบสวนได้ทั่วราชอาณาจักร
โดยนายอรรถพล สอบถามว่า เหตุใดพล.ต.ต.ประสิทธิ์ ทำดี ผกก.ภ.จว.ชัยภูมิ จึงสั่งให้พ.ต.ท.รุทธพล เข้ามาทำคดีดังกล่าว รวมทั้งขั้นตอนการดำเนินการสอบสวนสอบสวน โดยพ.ต.ท.รุทธพล กล่าวว่า สาหตุที่พล.ต.ต.ประสิทธิ์ สั่งการให้ตนมาดูแลคดีนี้และหาข้อเท็จจริง เนื่องจากเห็นว่าตนเคยรับราชการในพื้นที่จ.นครราชสีมา รวมทั้งมีบ้านพักอาศัยใกล้กับบ้านของนายวรรธวริทธิ์ รวมทั้งมีการอ้างว่ามีตำรวจจากนครราชสีมาและชัยภูมิ เข้าไปข่มขู่เอาชีวิต จึงมอบหมายให้ตนสืบหาข้อเท็จจริง
โดยการสอบสวนนั้นตนได้โทรศัพท์ไปหาชายที่อ้างเป็นตำรวจตามนามบัตรที่ทิ้งไว้ให้ และนัดพบที่โรงแรมเดอะ แกรนด์ รัชดา ซึ่งตนได้เดินทางมากับผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยรถตู้ของภ.จว.ชัยภูมิ จากนั้นจึงได้บันทึกภาพและเสียงของการสนทนา ซึ่งในโต๊ะอาหารที่มีการบันทึกเสียงเอาไว้ มีบุคคลอยู่ 4 คน คือนายไทกร นายวรรธวริทธิ์ ตน และชายไม่ทราบชื่ออีกคนหนึ่ง ซึ่งเมื่อตนบันทึกเทปเรียบร้อยแล้วได้นำมาถอดเทปและมอบเทปดังกล่าวให้นายวรรธวริทธิ์ และทำหนังสือชี้แจงไปยังผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น จากนั้นจึงเดินทางกลับ
ด้านนายทวีศักดิ์ ณ ตะกั่วทุ่ง ทนายความผู้รับมอบอำนาจจากพรรคประชาธิปัตย์ ได้ซักค้านว่า พยานเคยเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของพล.ต.ต.ประสิทธิ์ สมัยรับราชการอยู่ที่จ.บุรีรัมย์ใช่หรือไม่ และเป็นเรื่องปกติวิสัยหรือไม่ที่คนระดับพล.ต.ต.มารับแจ้งความด้วยตนเอง และสั่งให้หัวหน้าสภ.ต.บ้านค่ายมาดำเนินคดีนี้ ทั้งที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจอีกมากที่กองบังคับการภ.จว.ชัยภูมิ ที่สามารถทำหน้าที่ได้ รวมทั้งได้แนะนำนายวรรธวริทธิ์หรือไม่ว่าการแจ้งความนั้นควรจะแจ้งความที่พื้นที่เกิดเหตุ
พ.ต.ท.รุทธพล กล่าวว่า ตนเคยเป็นผู้ได้บังคับบัญชาของพล.ต.ต.ประสิทธิ์ ในสมัยที่รับราชการอยู่ที่บุรีรัมย์ แต่ไม่ถือเป็นเรื่องผิดปกติที่เรียกตนมาสืบสวนสอบสวนกรณีดังกล่าว เพราะตนก็ช่วยราชการอยู่ที่ศูนย์ปฏิบัติการจ.ชัยภูมิ อย่างไรก็ตามตนไม่ทราบว่าพล.ต.ต.ประสิทธิ์ได้ชี้แจงถึงขอบเขตพื้นที่การแจ้งความดำเนินคดีหรือไม่ แต่ตนไม่ได้แจ้ง เพียงแต่ทำตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาเท่านั้น
นายทวีศักดิ์ ยังถามถึงการดำเนินการสืบสวนว่าอุปกรณ์ที่ใช้ดักฟังและบันทึกเทปเป็นเครื่องมองของราชการหรือไม่ และทราบหรือไม่ว่าการใช้อุปกรณ์ดักฟังนี้มีความผิดทางกฎหมายอย่างไร แล้วเหตุใดเมื่อได้หลักฐานแล้วจึงนำไปมอบให้นายวรรธวริทธิ์ เนื่องจากหากเป็นหลักฐานจากการสืบสวนก็ต้องถือว่าเป็นพยานหลักฐานแห่งคดี รวมทั้งได้มอบเทปบันทึกเสียงพร้อมคำถอดเทปให้กับนายวิชิต ปลั่งศรีสกุล อดีตส.ส.พรรคไทยรักไทยหรือไม่ และเหตุใดคำถอดเทปในเครื่องบันทึกเดียวกันถึงมี 2 ฉบับ ซึ่งเนื้อหาไม่เหมือนกัน
พ.ต.ท.รุทธพล กล่าวว่า เครื่องมือในการบันทึกเสียงนั้นเป็นของตนเอง ซึ่งไม่คิดว่าผิดกฎหมายเพราะเป็นการหาข้อเท็จจริงของคดี ซึ่งภายหลังที่ตนบันทึกเสียงเสร็จ ก็ร่วมกับผู้บังคับบัญชาถอดเทป จากนั้นจึงมอบให้นายวรรธวริทธิ์ไป เพราะเห็นว่าการสนทนาไม่เกี่ยวกับการข่มขู่คุกคามตามที่ได้แจ้งความไว้ แต่เป็นการสนทนาเกี่ยวกับเรื่องการเมือง
ดังนั้นตนจึงบอกกับนายวรรธวริทธิ์ว่าหากได้รับความเสียหายจากเทปดังกล่าวก็ให้แจ้งความดำเนินคดีเอง ส่วนการมอบเทปบันทึกเสียงให้ส.ส.ไทยรักไทยนั้นตนไม่ได้เป็นผู้มอบให้ แต่ก่อนที่ตนจะเดินทางกลับได้บอกกับนายวรรธวริทธิ์ว่าก่อนจะเดินทางกลับชัยภูมิจะแวะซื้อของที่ห้างมาบุญครอง ดังนั้นนายวรรธวริทธิ์ จึงได้ฝากซองเอกสารสีน้ำตาลให้ตนไปมอบให้ที่พรรคไทยรักไทย แต่ตนได้ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาลงไปมอบให้กับเจ้าหน้าที่พรรค โดยไม่ได้ดูด้วยว่าจ่าหน้าซองถึงใคร และไม่ทราบว่าของในซองนั้นเป็นอะไร ส่วนเนื้อหาถอดเทปนั้นมี 2 ฉบับได้อย่างไรตนไม่ทราบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะตุลาการได้ปิดการไต่สวนในเวลา 14.00 น. พร้อมนัดไต่สวนพยานอีก 5 ปากในวันที่ 1 ก.พ.นี้ โดยนายวิชัย ได้แจ้งให้คู่กรณีทราบว่าได้ขยายเวลาการส่งคำให้การพยานก่อนการไต่สวน 10 วัน จากแต่เดิม 7 วัน และยื่นคำคัดค้านเป็นการเอกสารก่อนการไต่สวน 5 วัน จากแต่เดิม 3 วัน
นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ทีมทนายความพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวภายหลังการไต่สวนกรณียุบพรรคประชาธิปัตย์นัดที่ 2 ว่า การไต่สวนในวันนี้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้ไต่สวนใน 2 ประเด็น ในคดีที่เกี่ยวกับพรรคประชาธิปัตย์ คือ จ้างพรรคเล็กลงสมัครเพื่อใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย ประเด็นที่ 2 คือ จ้างพรรคชีวิตที่ดีกว่าให้ใส่ร้ายพรรคไทยรักไทย ซึ่งในประเด็นนี้ได้มีการร้องเรียนว่า ได้ถูกข่มขู่ จึงได้มีการแจ้งความดำเนินคดีในกรณีนี้ที่จังหวัดชัยภูมิ ทั้งที่ นายวรรธวริทธิ์ ตันติภิรมย์ หัวหน้าพรรคชีวิตที่ดีกว่า อาศัยอยู่ที่ จ.นครราชสีมา จึงตั้งข้อสังเกตว่าทำไมจึงต้องไปแจ้งความดำเนินคดีที่จ.ชัยภูมิทั้งที่ระยะทางก็ไกลกว่า 100 กิโลเมตร
นอกจากนี้สิ่งที่คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ยังได้สอบถามพ.ต.ท. รุทธพล เนาวรัตน์ ถึงเขตอำนาจหน้าที่ในการสืบสวนสอบสวนในคดีนี้ว่าอยู่ในขอบเขตอำนาจของตัวเองที่มีหรือไม่ ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว ขอบเขตอำนาจของพ.ต.ท.รุทธพลน่าจะมีเพียงในพื้นที่ตนเองรับผิดชอบเท่านั้น ไม่น่าเข้ามาสืบสวนสอบสวนนอกเขตพื้นที่ได้
อีกทั้งการพูดคุยกับนายไทกร พลสุวรรณ ที่ได้บันทึกไว้ไม่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการข่มขู่ ตามที่นายวรรธวริทธิ์ ได้แจ้งความเอาไว้ ซึ่งตรงนี้ทำให้เห็นว่าประเด็นข้อกล่าวหาดังกล่าวเป็นการพยายามหลอกล่อ รวมถึงมีการวางแผนเอาไว้ เพื่อจะโยนความผิดให้กับพรรคประชาธิปัตย์
นายวิรัตน์ กล่าวอีกว่า ส่วนประเด็นที่ระบุว่า จ้างพรรคเล็กลงสมัครเพื่อใส่ร้ายพรรคไทยรักไทยที่จ.ตรัง ซึ่งก็ได้มีการสืบพยาน คือนางบุษยมาศ กลิ่นเพชร เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ตรังแนวหน้า ซึ่งก็ได้ยอมรับว่าการพาดหัวข่าวที่เกี่ยวข้องกับพรรคประชาธิปัตย์ ไม่จำเป็นจะต้องมีเนื้อหา สามารถพาดหัวข่าวตามความรู้สึกได้ รวมทั้งกรณีของนายทวี สุระบาล ที่ถูกดึงตัวจากพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อไปลงสมัครให้กับพรรคไทยรักไทย โดยบอกว่าหากชนะการเลือกตั้งเข้ามาได้ ก็จะมอบตำแหน่งให้เป็นข้อแลกเปลี่ยน ทำให้เราเห็นว่าระบอบทักษิณเป็นระบอบที่มีการต่อรอง และมีการหลอกล่อโดยเอาตำแหน่งทางการเมืองมาให้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 25 ม.ค. 2550--จบ--