ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. ยืนยันไทยจะไม่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจรอบใหม่จากความผันผวนของค่าเงิน นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. ยืนยัน
ว่าไทยจะไม่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจรอบใหม่จากความผันผวนของค่าเงินที่ได้รับผลกระทบมาจากความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลกตามที่นักวิชาการกังวล
เนื่องจากขณะนี้สภาพเศรษฐกิจไทยมีความแตกต่างจาก 10 ปีก่อน จากที่เคยขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงถึงร้อยละ 8 ของจีดีพี หรือ 1.2 แสนล้านบาท
ซึ่งในจำนวนดังกล่าวร้อยละ 80 เป็นหนี้ระยะสั้น เมื่อเกิดวิกฤติต้องเร่งคืนหนี้ทำให้ทุนสำรองของประเทศลดลงอย่างมากจนเกิดวิกฤติ ปัจจุบันไทย
มีทุนสำรองระหว่างประเทศกว่า 7 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. หนี้ต่างประเทศลดลงเหลือ 5.8 หมื่นล้านบาท โครงสร้างหนี้เปลี่ยนจากเดิมที่ส่วนใหญ่
เป็นหนี้ระยะสั้นมาเป็นหนี้ระยะยาว ทำให้สภาพความแข็งแกร่งมีมากขึ้นกว่าเมื่อ 10 ปีก่อนมาก และนโยบายการเงินในปัจจุบันเดินมาถูกทางแล้ว
ส่วนหนึ่งของการไม่มีวิกฤติซ้ำยังมาจากการปรับเปลี่ยนนโยบายจากเดิมที่เน้นการเติบโตร้อยละ 8 — 10 ต่อปี ซึ่งเป็นการเติบโตอย่างไม่ยั่งยืน
มาเป็นไม่เร่งการเติบโต แต่เน้นการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ โดยให้อัตราการเติบโตและเงินเฟ้อมีความสอดคล้องกัน ขณะที่ภาคธุรกิจก็ได้
เร่งปรับตัวขึ้นมาก มีโครงสร้างและฐานะแข็งแกร่ง มีระบบรองรับความเสี่ยงซึ่งอยู่ในวิสัยที่สามารถรองรับได้ อย่างไรก็ตาม ความผันผวนที่
เกิดจากเศรษฐกิจภายนอกประเทศมีอยู่มาก จึงต้องมีความระมัดระวัง แต่ขณะนี้เศรษฐกิจไทยมีกลไกและเครื่องมือตั้งรับที่ดีและมีมาก ส่วนหนึ่ง
เป็นการปรับตัวมาจากวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในอดีตเมื่อ 10 ปีก่อน ที่มีจุดสำคัญคือการลดค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 2 ก.ค.40 (ผู้จัดการรายวัน,
ไทยรัฐ, โลกวันนี้)
2. ธปท. เห็นว่ายังไม่มีความจำเป็นต้องแยกอำนาจการกำกับสถาบันการเงินออกจาก ธปท. นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ
ด้านเสถียรภาพการเงิน ธปท. กล่าวในการเสวนาเรื่อง การปฏิรูปบทบาทและหน้าที่ของ ธปท. ถึงข้อเสนอของ สนง.เศรษฐกิจการคลัง ที่
ต้องการให้แยกหน้าที่กำกับสถาบันการเงินออกจาก ธปท. ว่า ธปท. ยังไม่เห็นความจำเป็นและประโยชน์ที่จะต้องแยกอำนาจการกำกับสถาบัน
การเงินออกจาก ธปท. เนื่องจากระบบการเงินของไทยแตกต่างกับต่างประเทศ ไม่ได้มีความซับซ้อนและหลากหลาย เพราะ ธ.พาณิชย์เป็น
บริษัทแม่ของธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ประกันภัย หรือหลักทรัพย์ จึงไม่จำเป็นต้องแยกอำนาจการกำกับดูแลออกมาเป็นหน่วยงานเฉพาะเพื่อดูแล
แต่ละธุรกิจ ซึ่ง ธปท. ยืนยันว่าไม่ได้ต้องการเก็บอำนาจไว้ เพราะหากพิจารณาแล้วไม่เกิดประโยชน์ก็ไม่ควรทำ โดยควรรอระยะเวลาอีก
5 — 10 ปี ซึ่งระบบการเงินไทยอาจจะมีความซับซ้อนมากขึ้นจึงค่อยพิจารณากันใหม่ (บ้านเมือง, โพสต์ทูเดย์)
3. ธปท. ยืนยัน พ.ต.ท.ทักษิณยังไม่ได้ยื่นเรื่องขอนำเงินออกนอกประเทศไปซื้อสโมสรฟุตบอลในอังกฤษ นางธาริษา วัฒนเกส
ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า หากสงสัยว่าเงินของบริษัท ประไหมสุหรี ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีต นรม. นำไปซื้อหุ้นสโมสรฟุตบอลใน
ประเทศอังกฤษเป็นบัญชีที่ถูกอายัดหรือไม่ ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) จะตรวจสอบ
ติดตามเอง โดย คตส. ต้องตรวจสอบว่าเงินซื้อหุ้นดังกล่าวมาจากบัญชีที่ คตส. อายัดไว้ จำนวน 21 บัญชีหรือไม่ ซึ่ง ธปท. มีเจ้าหน้าที่
เข้าร่วมเป็นคณะอนุกรรมการของ คตส. ในการตรวจสอบบัญชีของ พ.ต.ท.ทักษิณอยู่แล้ว สามารถตรวจสอบรายละเอียดทางการเงินได้
หากพบว่าเงินดังกล่าวมาจากบัญชีที่ถูกอายัดจริงก็ต้องติดตามไป แต่หากไม่ใช่ก็สามารถเบิกถอนได้ อย่างไรก็ตาม ธปท. ยืนยันได้ว่าจนถึง
ขณะนี้ พ.ต.ท.ทักษิณยังไม่ได้ยื่นเรื่องเพื่อขออนุญาตนำเงินออกนอกประเทศเพื่อไปซื้อหุ้นสโมสรฟุตบอลในอังกฤษแต่อย่างใด (โพสต์ทูเดย์)
4. เงินเฟ้อเฉลี่ย 6 เดือนแรกปีนี้สูงขึ้นร้อยละ 2.2 นางนทีทิพย์ ทองเขาอ่อน ผอ.สำนักเศรษฐกิจการค้า ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) เดือน มิ.ย.50 เท่ากับ 117.3 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน พ.ค.50 เป็นการชะลอตัวเดือนแรกหลังจาก
สูงขึ้นในอัตราสูงติดต่อกันในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา แต่เมื่อเทียบกับเดือน มิ.ย.49 สูงขึ้นร้อยละ 1.9 ทำให้เงินเฟ้อเฉลี่ย 6 เดือนแรกของ
ปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนสูงขึ้นร้อยละ 2.2 ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (หักกลุ่มอาหารและพลังงาน) เดือน มิ.ย.50
เท่ากับ 105.5 สูงขึ้นร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อนหน้า และสูงขึ้นร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้ช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 49 สูงขึ้นร้อยละ 1.2 ทั้งนี้ เงินเฟ้อเดือน มิ.ย. ไม่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากราคาสินค้าหมวดอาหารและ
เครื่องดื่มสูงขึ้นในลักษณะชะลอตัวโดยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 ขณะที่หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนแนวโน้ม
ในครึ่งหลังปีนี้เงินเฟ้อมีโอกาสขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2 แต่ไม่เกินร้อยละ 2.5 (มติชน, บ้านเมือง)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. การเจรจาการค้าโลกรอบโดฮาอาจไม่มีความคืบหน้า รายงานจากเจนีวา เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 50 นาย Pascal Lamy Chief
ขององค์การการค้าโลก (World Trade Organisation - WTO) กล่าวในการประชุมคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ
ในนครเจนีวาว่า การเจรจาการค้าโลกรอบโดฮาเกี่ยวกับการลดอากร และการให้การอุดหนุนสินค้าทางการเกษตรอาจมีความเสี่ยงที่จะหยุดชะงัก
เนื่องจากไม่มีความคืบหน้าจากบรรดาประเทศสำคัญ อาทิ ยุโรป สรอ. และญี่ปุ่น ทั้งนี้ความพยายามที่ผ่านมาเกือบ 6 ปี ในการเจรจาเรื่อง
ผลประโยชน์จำนวนมหาศาลของเศรษฐกิจโลกจะประสบความสำเร็จหากแต่ละประเทศยอมอ่อนข้อให้แก่กัน และปัจจุบันการเจรจาการค้าโลก
รอบโดฮากำลังจะผ่านขั้นตอนที่สำคัญระหว่างการประสบผลสำเร็จหรือการก้าวเข้าสู่ภาวะชะงักงัน ทั้งนี้ภายหลังจากการจัดตั้ง Qatari capital
ในปลายปี 44 การเจรจาการค้ารอบโดฮามีเป้าหมายเพื่อที่จะกระตุ้นปริมาณการค้า และช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาที่ผู้ผลิตประสบปัญหาการ
กีดกันทางการค้า และปัญหาราคาสินค้าที่บิดเบือนจากราคาจริงที่เกิดจากรัฐบาลของแต่ละประเทศให้การอุดหนุนผู้ผลิตของประเทศตน โดยการ
เจรจายังคงเป็นประเด็นที่สหภาพยุโรป และ สรอ. ให้การอุดหนุนสินค้าทางการเกษตร และภาษีศุลกากร รวมถึงความวิตกเกี่ยวกับการที่
ประเทศกำลังพัฒนาเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรมและบริการในประเทศร่ำรวย (รอยเตอร์)
2. ยอดเกินดุลการค้าของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือน มิ.ย.50 ที่ 3.95 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
รายงานจากโซล เมื่อ 2 ก.ค.50 ก.พาณิชย์เกาหลีใต้รายงานตัวเลขเบื้องต้นยอดเกินดุลการค้าของเกาหลีใต้ในเดือน มิ.ย.50 มีจำนวน
3.95 พันล้านดอลลาร์ สรอ.สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยเป็นผลจากยอดส่งออกเรือ โทรทัศน์จอแบนและเครื่องจักรเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ยอด
ส่งออกในเดือน มิ.ย.50 พุ่งสูงขึ้นร้อยละ 15.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน สูงกว่าที่รอยเตอร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 ต่อปี ในขณะที่
ราคาวัตถุดิบในตลาดโลกชะลอตัวลง ส่งผลให้ยอดนำเข้าขยายตัวเพียงร้อยละ 9.3 เมื่อเทียบกับปีก่อน ต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 12.6 ต่อปี เมื่อประกอบกับตัวเลขอัตราเงินเฟ้อในเดือน มิ.ย.50 ที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี จากร้อยละ 2.3 ต่อปีในเดือน
พ.ค.50 นักวิเคราะห์จึงคาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้อาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมในวันที่ 12 ก.ค.50 นี้อีกร้อยละ 0.25 เป็น
ร้อยละ 4.75 ต่อปี สูงสุดในรอบ 6 ปีนับตั้งแต่เดือน ส.ค.44 เป็นต้นมา และจะนับเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ 11 เดือน
(รอยเตอร์)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้ในเดือน มิ.ย.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เทียบต่อปี ขณะที่เทียบต่อเดือนไม่เปลี่ยนแปลงจาก
เดือนก่อนหน้า รายงานจากโซล เมื่อ 2 ก.ค.50 สำนักงานสถิติเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้ในเดือน มิ.ย.50
เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เทียบต่อปี และเมื่อเทียบต่อเดือนไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ผลสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดการณ์
ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบต่อปี และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบต่อเดือน (ตัวเลขก่อนปรับปัจจัยทางฤดูกาล) ทั้งนี้ ดัชนีราคา
ผู้บริโภคของเกาหลีใต้เคยชะลอตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.3 ในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เมื่อเดือน เม.ย. 50 โดย
อัตราการเติบโตของดัชนีดังกล่าวอยู่ระหว่างร้อยละ 1.7 ถึง 2.2 ในช่วงระหว่างเดือน ต.ค.49 - มี.ค.50 สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภค
พื้นฐาน ในเดือน มิ.ย.50 (ซึ่งไม่นับรวมราคาอาหารและพลังงานที่มีความผันผวน) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 จากร้อยละ 2.2 ในเดือน พ.ค.50
อนึ่ง คณะกรรมการนโยบายการเงินของ ธ.กลางเกาหลีใต้จะมีการประชุมเพื่อทบทวนอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งต่อไปในวันที่ 12 ก.ค.
ที่จะถึงนี้ ทั้งนี้ การประชุมครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 8 มิ.ย.ที่ผ่านมา ธ.กลางเกาหลีใต้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยข้ามคืน (ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ย
นโยบายของเกาหลีใต้) อยู่ที่ร้อยละ 4.50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 (รอยเตอร์)
4. ราคาบ้านของสิงคโปร์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 2 ก.ค.50 The Urban
Redevelopment Authority (URA) ซึ่งเป็นสถาบันด้านอสังหาริมทรัพย์ของทางการ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาบ้านพักอาศัยของสิงคโปร์ใน
ช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 50 อยู่ที่ระดับ 147.3 จุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 จากระดับ 136.5 จุดในช่วงไตรมาสก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6
จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 122.1 จุด ทั้งนี้ URA กล่าวว่า การที่ทางการสิงคโปร์จะเปิดโครงการลดราคาบ้านในช่วงครึ่งหลังของ
ปี 50 โดยจะเปิดขายบ้านและคอนโดมิเนียมประมาณ 8,000 หน่วย จะช่วยกระตุ้นการซื้อขายบ้านของสิงคโปร์ได้ และหากจำเป็นทางการ
อาจเปิดโปรแกรมลดราคาบ้านไปจนถึงปีหน้า ซึ่งจะมีบ้านจำนวนประมาณ 42,200 หน่วยที่จะสร้างเสร็จในช่วงปี 50-53 และในจำนวนนี้
มีประมาณ 22,700 หน่วย ที่ขายให้กับเอกชนแล้ว อนึ่ง ภาคอสังหาริมทรัพย์ของสิงคโปร์ได้ฟื้นตัวขึ้นโดยได้รับแรงผลักดันจากการดำเนิน
นโยบายกระตุ้นของทางการตั้งแต่ช่วงเดือน ก.ค.48 ด้วยการผ่อนคลายกฎเกณฑ์ทางการเงินและการลงทุนของต่างประเทศ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 3 ก.ค. 50 2 ก.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.488 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.2909/34.6273 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.68968 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 792.71/ 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,650/10,750 10,600/10,700 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 68.13 67.49 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 29.99*/25.34** 29.99*/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 2 มิ.ย. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. ยืนยันไทยจะไม่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจรอบใหม่จากความผันผวนของค่าเงิน นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. ยืนยัน
ว่าไทยจะไม่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจรอบใหม่จากความผันผวนของค่าเงินที่ได้รับผลกระทบมาจากความไม่สมดุลของเศรษฐกิจโลกตามที่นักวิชาการกังวล
เนื่องจากขณะนี้สภาพเศรษฐกิจไทยมีความแตกต่างจาก 10 ปีก่อน จากที่เคยขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงถึงร้อยละ 8 ของจีดีพี หรือ 1.2 แสนล้านบาท
ซึ่งในจำนวนดังกล่าวร้อยละ 80 เป็นหนี้ระยะสั้น เมื่อเกิดวิกฤติต้องเร่งคืนหนี้ทำให้ทุนสำรองของประเทศลดลงอย่างมากจนเกิดวิกฤติ ปัจจุบันไทย
มีทุนสำรองระหว่างประเทศกว่า 7 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. หนี้ต่างประเทศลดลงเหลือ 5.8 หมื่นล้านบาท โครงสร้างหนี้เปลี่ยนจากเดิมที่ส่วนใหญ่
เป็นหนี้ระยะสั้นมาเป็นหนี้ระยะยาว ทำให้สภาพความแข็งแกร่งมีมากขึ้นกว่าเมื่อ 10 ปีก่อนมาก และนโยบายการเงินในปัจจุบันเดินมาถูกทางแล้ว
ส่วนหนึ่งของการไม่มีวิกฤติซ้ำยังมาจากการปรับเปลี่ยนนโยบายจากเดิมที่เน้นการเติบโตร้อยละ 8 — 10 ต่อปี ซึ่งเป็นการเติบโตอย่างไม่ยั่งยืน
มาเป็นไม่เร่งการเติบโต แต่เน้นการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ โดยให้อัตราการเติบโตและเงินเฟ้อมีความสอดคล้องกัน ขณะที่ภาคธุรกิจก็ได้
เร่งปรับตัวขึ้นมาก มีโครงสร้างและฐานะแข็งแกร่ง มีระบบรองรับความเสี่ยงซึ่งอยู่ในวิสัยที่สามารถรองรับได้ อย่างไรก็ตาม ความผันผวนที่
เกิดจากเศรษฐกิจภายนอกประเทศมีอยู่มาก จึงต้องมีความระมัดระวัง แต่ขณะนี้เศรษฐกิจไทยมีกลไกและเครื่องมือตั้งรับที่ดีและมีมาก ส่วนหนึ่ง
เป็นการปรับตัวมาจากวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในอดีตเมื่อ 10 ปีก่อน ที่มีจุดสำคัญคือการลดค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 2 ก.ค.40 (ผู้จัดการรายวัน,
ไทยรัฐ, โลกวันนี้)
2. ธปท. เห็นว่ายังไม่มีความจำเป็นต้องแยกอำนาจการกำกับสถาบันการเงินออกจาก ธปท. นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการ
ด้านเสถียรภาพการเงิน ธปท. กล่าวในการเสวนาเรื่อง การปฏิรูปบทบาทและหน้าที่ของ ธปท. ถึงข้อเสนอของ สนง.เศรษฐกิจการคลัง ที่
ต้องการให้แยกหน้าที่กำกับสถาบันการเงินออกจาก ธปท. ว่า ธปท. ยังไม่เห็นความจำเป็นและประโยชน์ที่จะต้องแยกอำนาจการกำกับสถาบัน
การเงินออกจาก ธปท. เนื่องจากระบบการเงินของไทยแตกต่างกับต่างประเทศ ไม่ได้มีความซับซ้อนและหลากหลาย เพราะ ธ.พาณิชย์เป็น
บริษัทแม่ของธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ประกันภัย หรือหลักทรัพย์ จึงไม่จำเป็นต้องแยกอำนาจการกำกับดูแลออกมาเป็นหน่วยงานเฉพาะเพื่อดูแล
แต่ละธุรกิจ ซึ่ง ธปท. ยืนยันว่าไม่ได้ต้องการเก็บอำนาจไว้ เพราะหากพิจารณาแล้วไม่เกิดประโยชน์ก็ไม่ควรทำ โดยควรรอระยะเวลาอีก
5 — 10 ปี ซึ่งระบบการเงินไทยอาจจะมีความซับซ้อนมากขึ้นจึงค่อยพิจารณากันใหม่ (บ้านเมือง, โพสต์ทูเดย์)
3. ธปท. ยืนยัน พ.ต.ท.ทักษิณยังไม่ได้ยื่นเรื่องขอนำเงินออกนอกประเทศไปซื้อสโมสรฟุตบอลในอังกฤษ นางธาริษา วัฒนเกส
ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า หากสงสัยว่าเงินของบริษัท ประไหมสุหรี ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีต นรม. นำไปซื้อหุ้นสโมสรฟุตบอลใน
ประเทศอังกฤษเป็นบัญชีที่ถูกอายัดหรือไม่ ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) จะตรวจสอบ
ติดตามเอง โดย คตส. ต้องตรวจสอบว่าเงินซื้อหุ้นดังกล่าวมาจากบัญชีที่ คตส. อายัดไว้ จำนวน 21 บัญชีหรือไม่ ซึ่ง ธปท. มีเจ้าหน้าที่
เข้าร่วมเป็นคณะอนุกรรมการของ คตส. ในการตรวจสอบบัญชีของ พ.ต.ท.ทักษิณอยู่แล้ว สามารถตรวจสอบรายละเอียดทางการเงินได้
หากพบว่าเงินดังกล่าวมาจากบัญชีที่ถูกอายัดจริงก็ต้องติดตามไป แต่หากไม่ใช่ก็สามารถเบิกถอนได้ อย่างไรก็ตาม ธปท. ยืนยันได้ว่าจนถึง
ขณะนี้ พ.ต.ท.ทักษิณยังไม่ได้ยื่นเรื่องเพื่อขออนุญาตนำเงินออกนอกประเทศเพื่อไปซื้อหุ้นสโมสรฟุตบอลในอังกฤษแต่อย่างใด (โพสต์ทูเดย์)
4. เงินเฟ้อเฉลี่ย 6 เดือนแรกปีนี้สูงขึ้นร้อยละ 2.2 นางนทีทิพย์ ทองเขาอ่อน ผอ.สำนักเศรษฐกิจการค้า ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) เดือน มิ.ย.50 เท่ากับ 117.3 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน พ.ค.50 เป็นการชะลอตัวเดือนแรกหลังจาก
สูงขึ้นในอัตราสูงติดต่อกันในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา แต่เมื่อเทียบกับเดือน มิ.ย.49 สูงขึ้นร้อยละ 1.9 ทำให้เงินเฟ้อเฉลี่ย 6 เดือนแรกของ
ปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนสูงขึ้นร้อยละ 2.2 ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (หักกลุ่มอาหารและพลังงาน) เดือน มิ.ย.50
เท่ากับ 105.5 สูงขึ้นร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อนหน้า และสูงขึ้นร้อยละ 0.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้ช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 49 สูงขึ้นร้อยละ 1.2 ทั้งนี้ เงินเฟ้อเดือน มิ.ย. ไม่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากราคาสินค้าหมวดอาหารและ
เครื่องดื่มสูงขึ้นในลักษณะชะลอตัวโดยเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 ขณะที่หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนแนวโน้ม
ในครึ่งหลังปีนี้เงินเฟ้อมีโอกาสขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2 แต่ไม่เกินร้อยละ 2.5 (มติชน, บ้านเมือง)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. การเจรจาการค้าโลกรอบโดฮาอาจไม่มีความคืบหน้า รายงานจากเจนีวา เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 50 นาย Pascal Lamy Chief
ขององค์การการค้าโลก (World Trade Organisation - WTO) กล่าวในการประชุมคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ
ในนครเจนีวาว่า การเจรจาการค้าโลกรอบโดฮาเกี่ยวกับการลดอากร และการให้การอุดหนุนสินค้าทางการเกษตรอาจมีความเสี่ยงที่จะหยุดชะงัก
เนื่องจากไม่มีความคืบหน้าจากบรรดาประเทศสำคัญ อาทิ ยุโรป สรอ. และญี่ปุ่น ทั้งนี้ความพยายามที่ผ่านมาเกือบ 6 ปี ในการเจรจาเรื่อง
ผลประโยชน์จำนวนมหาศาลของเศรษฐกิจโลกจะประสบความสำเร็จหากแต่ละประเทศยอมอ่อนข้อให้แก่กัน และปัจจุบันการเจรจาการค้าโลก
รอบโดฮากำลังจะผ่านขั้นตอนที่สำคัญระหว่างการประสบผลสำเร็จหรือการก้าวเข้าสู่ภาวะชะงักงัน ทั้งนี้ภายหลังจากการจัดตั้ง Qatari capital
ในปลายปี 44 การเจรจาการค้ารอบโดฮามีเป้าหมายเพื่อที่จะกระตุ้นปริมาณการค้า และช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาที่ผู้ผลิตประสบปัญหาการ
กีดกันทางการค้า และปัญหาราคาสินค้าที่บิดเบือนจากราคาจริงที่เกิดจากรัฐบาลของแต่ละประเทศให้การอุดหนุนผู้ผลิตของประเทศตน โดยการ
เจรจายังคงเป็นประเด็นที่สหภาพยุโรป และ สรอ. ให้การอุดหนุนสินค้าทางการเกษตร และภาษีศุลกากร รวมถึงความวิตกเกี่ยวกับการที่
ประเทศกำลังพัฒนาเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรมและบริการในประเทศร่ำรวย (รอยเตอร์)
2. ยอดเกินดุลการค้าของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือน มิ.ย.50 ที่ 3.95 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
รายงานจากโซล เมื่อ 2 ก.ค.50 ก.พาณิชย์เกาหลีใต้รายงานตัวเลขเบื้องต้นยอดเกินดุลการค้าของเกาหลีใต้ในเดือน มิ.ย.50 มีจำนวน
3.95 พันล้านดอลลาร์ สรอ.สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยเป็นผลจากยอดส่งออกเรือ โทรทัศน์จอแบนและเครื่องจักรเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ยอด
ส่งออกในเดือน มิ.ย.50 พุ่งสูงขึ้นร้อยละ 15.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน สูงกว่าที่รอยเตอร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 ต่อปี ในขณะที่
ราคาวัตถุดิบในตลาดโลกชะลอตัวลง ส่งผลให้ยอดนำเข้าขยายตัวเพียงร้อยละ 9.3 เมื่อเทียบกับปีก่อน ต่ำกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 12.6 ต่อปี เมื่อประกอบกับตัวเลขอัตราเงินเฟ้อในเดือน มิ.ย.50 ที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี จากร้อยละ 2.3 ต่อปีในเดือน
พ.ค.50 นักวิเคราะห์จึงคาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้อาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมในวันที่ 12 ก.ค.50 นี้อีกร้อยละ 0.25 เป็น
ร้อยละ 4.75 ต่อปี สูงสุดในรอบ 6 ปีนับตั้งแต่เดือน ส.ค.44 เป็นต้นมา และจะนับเป็นการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบ 11 เดือน
(รอยเตอร์)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้ในเดือน มิ.ย.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เทียบต่อปี ขณะที่เทียบต่อเดือนไม่เปลี่ยนแปลงจาก
เดือนก่อนหน้า รายงานจากโซล เมื่อ 2 ก.ค.50 สำนักงานสถิติเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้ในเดือน มิ.ย.50
เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เทียบต่อปี และเมื่อเทียบต่อเดือนไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ผลสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดการณ์
ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบต่อปี และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบต่อเดือน (ตัวเลขก่อนปรับปัจจัยทางฤดูกาล) ทั้งนี้ ดัชนีราคา
ผู้บริโภคของเกาหลีใต้เคยชะลอตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.3 ในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เมื่อเดือน เม.ย. 50 โดย
อัตราการเติบโตของดัชนีดังกล่าวอยู่ระหว่างร้อยละ 1.7 ถึง 2.2 ในช่วงระหว่างเดือน ต.ค.49 - มี.ค.50 สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภค
พื้นฐาน ในเดือน มิ.ย.50 (ซึ่งไม่นับรวมราคาอาหารและพลังงานที่มีความผันผวน) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 จากร้อยละ 2.2 ในเดือน พ.ค.50
อนึ่ง คณะกรรมการนโยบายการเงินของ ธ.กลางเกาหลีใต้จะมีการประชุมเพื่อทบทวนอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งต่อไปในวันที่ 12 ก.ค.
ที่จะถึงนี้ ทั้งนี้ การประชุมครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 8 มิ.ย.ที่ผ่านมา ธ.กลางเกาหลีใต้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยข้ามคืน (ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ย
นโยบายของเกาหลีใต้) อยู่ที่ร้อยละ 4.50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 (รอยเตอร์)
4. ราคาบ้านของสิงคโปร์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 2 ก.ค.50 The Urban
Redevelopment Authority (URA) ซึ่งเป็นสถาบันด้านอสังหาริมทรัพย์ของทางการ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาบ้านพักอาศัยของสิงคโปร์ใน
ช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 50 อยู่ที่ระดับ 147.3 จุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 จากระดับ 136.5 จุดในช่วงไตรมาสก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6
จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 122.1 จุด ทั้งนี้ URA กล่าวว่า การที่ทางการสิงคโปร์จะเปิดโครงการลดราคาบ้านในช่วงครึ่งหลังของ
ปี 50 โดยจะเปิดขายบ้านและคอนโดมิเนียมประมาณ 8,000 หน่วย จะช่วยกระตุ้นการซื้อขายบ้านของสิงคโปร์ได้ และหากจำเป็นทางการ
อาจเปิดโปรแกรมลดราคาบ้านไปจนถึงปีหน้า ซึ่งจะมีบ้านจำนวนประมาณ 42,200 หน่วยที่จะสร้างเสร็จในช่วงปี 50-53 และในจำนวนนี้
มีประมาณ 22,700 หน่วย ที่ขายให้กับเอกชนแล้ว อนึ่ง ภาคอสังหาริมทรัพย์ของสิงคโปร์ได้ฟื้นตัวขึ้นโดยได้รับแรงผลักดันจากการดำเนิน
นโยบายกระตุ้นของทางการตั้งแต่ช่วงเดือน ก.ค.48 ด้วยการผ่อนคลายกฎเกณฑ์ทางการเงินและการลงทุนของต่างประเทศ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 3 ก.ค. 50 2 ก.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.488 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.2909/34.6273 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.68968 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 792.71/ 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,650/10,750 10,600/10,700 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 68.13 67.49 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 29.99*/25.34** 29.99*/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 2 มิ.ย. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--