รายงานพิเศษ : 'ฟันยกพวงงาบ รถดับเพลิงฉาว'
สรุปผลการสอบสวนของ คตส. / 26 กุมภาพันธ์ 2550
การจัดทำโครงการจัดซื้อรถดับเพลิงเรือดับเพลิงพร้อมอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัยเริ่มต้นจากกระทรวงมหาดไทย กล่าวคือ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2546 เอกอัครราชทูตออสเตรียประจำประเทศไทย ได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายวัน มูหะมัดนอร์ มะทา) เสนอโครงการขายยานยนต์ดับเพลิงและอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย โดยยื่นข้อเสนอให้ดำเนินการในลักษณะรัฐต่อรัฐ พร้อมกับจัดหาแหล่งเงินทุนให้ และรับพันธะการค้าต่างตอบแทน ร้อยละ 100 ในการนี้ได้เสนอใบเสนอราคา ฉบับที่ OFFER NO. 870/04/03/58 Vienna. ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2546 ของบริษัท STEYR - DAIMLER - PUCH Spezialfahzeug AG&CO KG ออสเตรีย ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณา ในใบเสนอราคามีรายการที่เสนอจำนวน 15 รายการ (แยกรายละเอียดได้ 18 รายการ) เป็นเงิน 156,953,203 ญยูโร ระบุคุณลักษณะเฉพาะของแต่ละรายการจำนวนหน่วยที่เสนอขาย ราคาต่อหน่วย ค่าภาษีอากรต่างๆ การยืนราคา การส่งมอบ การจ่ายเงิน การค้าต่างตอบแทน และการรับประกันไว้ด้วย และเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2546 นายประชา มาลีนนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้เอกอัครราชทูตออสเตรียเข้าหารือข้อราชการในวันที่ 22 กรกฎาคม 2546 ซึ่งความเป็นจริงก็ปรากฏชัดแล้วว่า ข้อหารือก็คือ การเสนอขายยานยนต์ดับเพลิงฯ โดยเอกอัครราชทูตออสเตรียได้เสนอความร่วมมือด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้พิจารณาเชื่อว่าได้มีการพิจารณาใบเสนอราคาหมายเลข 870/04/03/58 ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2546 ดังกล่าวข้างต้นรวมทั้งผนวกต่างๆตามที่ได้เคยเสนอไว้แล้วด้วย เพราะว่าเป็นส่วนสำคัญของโครงการขายสินค้ารายนี้ ในใบเสนอราคาได้ระบุถึงคุณลักษณะเฉพาะตามภาคผนวกไว้ชัดเจน (จึงต้องมีผนวกต่างๆ ประกอบด้วย) เห็นได้ว่านายประชา มาลีนนท์ และผู้เข้าร่วมประชุมน่าจะได้เห็นเอกสารแสดงคุณลักษณะเฉพาะและภาคผนวกต่างๆ (ANNEX)ด้วย
ต่อมาวันที่ 6 สิงหาคม 2546 นายสมศักดิ์ คุณเงิน เลขานุการนายประชา มาลีนนท์ ทำบันทึกเสนอต่อนายสมัคร สุนทรเวช สรุปการหารือข้อราชการระหว่างนายประชา มาลีนนท์ กับ เอกอัครราชทูตออสเตรีย เสนอเพื่อทราบและเพื่อพิจารณา โดยมีสาระสำคัญเรื่องความร่วมมือด้านการป้องกันและบรรเทาอัคคีภัยทั้งได้เสนออุปกรณ์ต่างๆ น่าเชื่อว่าได้เสนอรายการสินค้าต่างๆ ตลอดจนคุณลักษณะเฉพาะและราคารวม 156,953,203 ยูโร (รายการสินค้าราคา-ANNEX) ให้ทราบด้วย เพราะเป็นรายการสินค้าตามโครงการที่ควรทราบวันที่ 7 สิงหาคม 2547 นายสมัคร สุนทรเวช ก็ตอบรับข้อเสนอของนายประชา มาลีนนท์ ว่ากรุงเทพมหานครยินดีรับการสนับสนุนให้ดำเนินการแบบ G TO G นายประชา มาลีนนท์ ลงนามรับทราบคำตอบนายสมัคร สุนทรเวช ในวันเดียวกัน
ต่อมาวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2547 พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ ผู้อำนวยการสำนักป้องกันฯ ทำโครงการเสนอขึ้นไปตามลำดับเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี นายสมัคร สุนทรเวช ได้อนุมัติโครงการนี้เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2547 และเสนอบันทึกต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2547 และนายประชา มาลีนนท์ ได้มอบหมายให้ รศ.อัจฉราพรรณ จรัสวัฒน์ ที่ปรึกษาส่วนตัว ยกร่างบันทึกโครงการนี้ขึ้นใหม่ และได้ยกร่างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2547 พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ ได้นำบันทึกร่างโครงการฯ ของ รศ.อัจฉราพรรณ จรัสวัฒน์ ทั้งฉบับไปพิมพ์ขึ้นใหม่แทนฉบับเดิม และได้ลงวันที่ย้อนหลังไปเป็นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2547 และอีกฉบับหนึ่งลงวันที่ย้อนหลังเป็นวันที่ 4 มีนาคม 0ช2547 เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
จากที่มีการปรึกษาหารือข้อราชการโดยมีใบเสนอราคา รายการและราคา (รวม ANNEX) ดังกล่าว น่าเชื่อว่าได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงมหาดไทยตั้งแต่ต้นตลอดมา โดยกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าของโครงการไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิ่งใดๆ ได้เลย ตราบจนการเตรียมการเสนอ A.O.U. เพื่อลงนาม ทำให้เห็นได้ชัดว่า รายการสินค้า ราคา และตัวบริษัทผู้ขาย ตลอดจนรายละเอียดต่างๆ ได้มีการกำหนดไว้แล้ว ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2547 ก็ไม่มีรายการใดรวมถึงจำนวนเงิน ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ หลังจากคณะรัฐมนตรีมติเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2547 ในการประชุมหน่วยราชการต่างๆ เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2547 โดยมีนายประชา มาลีนนท์ เป็นประธานก็เป็นการประชุมที่ยืนยันการจัดหาครุภัณฑ์ยานพาหนะรวม 15 รายการ ในวงเงิน 133,749,780 ยูโร เป็นเงินไทย 6,687,489,000 บาท อันเป็นการยืนราคาตามที่บริษัทผู้ขายตั้งไว้แต่เดิม (รายการสินค้าและราคาเดิม) ประหนึ่งว่าเป็น สิ่งที่กำหนดให้ จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหาได้ไม่
ประการสุดท้ายและเป็นเหตุที่สำคัญยิ่ง ก็คือ A.O.U. ที่ได้ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและเอกอัครราชทูตออสเตรียประจำประเทศไทย มีผลเป็นคำสั่งลงมาจากผู้มีอำนาจเหนือ ให้ผู้ปฏิบัติที่อยู่ในอาณัติเบื้องล่างต้องปฏิบัติตาม แต่การปฏิบัตินั้นเป็นการร่วมมือกันปฏิบัติ ทั้งนี้เพราะผลบังคับแห่ง A.O.U. มีผลบังคับไว้ชัดเจนในสัญญาซื้อขายตอนต้นระบุไว้ว่าข้อตกลงซื้อขายนี้ทำขึ้นที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ฯลฯ ระหว่างกรุงเทพมหานครโดยนายสมัคร สุนทรเวช ทำการโดยคำสั่ง กระทรวงมหาดไทย (in accordance with the order of the Ministry of Interior) รายละเอียดในข้อตกลงซื้อขายก็ต้องสอดคล้องกับที่มีอยู่ใน A.O.U. ระยะเวลาและเงื่อนไขของการซื้อ การขาย และการเงิน ในความตกลงนี้ เป็นความเห็นชอบของรัฐบาลไทยดำเนินการโดยกรุงเทพมหานคร กระทรวงมหาดไทย กับ STEYR-DAIMLER-PUCH Spezialfahrzeug AG & CO KG, ออสเตรีย รายการสินค้าซึ่งมีผนวกประกอบ ชื่อบริษัทผู้ขาย การจ่ายเงินตามเงื่อนไข จำนวนค่าสินค้า จำนวน 133,789,780 ยูโร การเปิด LETTER OF CREDIT (L/C) ชนิดเพิกถอนไม่ได้ ในนามผู้ขายผ่านธนาคารที่ระบุชื่อภายใน 30 วัน นับแต่วันลงนามข้อตกลงซื้อขาย ล้วนเป็นหัวข้อสำคัญของการตกลง ก็มีระบุไว้ใน A.O.U. แล้วทั้งสิ้น ซึ่ง A.O.U. ก็บังคับไว้ด้วยว่า การทำข้อตกลงซื้อขายต่อจาก A.O.U. ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงใน A.O.U. คณะกรรมการต่างๆ ที่ตั้งขึ้นภายหลัง รวมทั้งคณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษที่แต่งตั้งขึ้น ก็เพื่อให้เห็นว่าปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว แต่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการใดๆใน A.O.U.ดังกล่าวข้างต้นได้ คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุมีมติอนุมัติยกเว้นการไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการพัสดุ พ.ศ.2538 เฉพาะกรณีที่ต้องดำเนินการตามข้อตกลงของความเข้าใจข้อ 1 ถึงข้อ 5 นี่คือ A.O.U.เป็น "คำสั่งเบ็ดเสร็จ"ที่มีมาจากเบื้องบนลงสู่เบื้องล่าง เมื่อปรากฏต่อมาว่าได้มีการทำสัญญาซื้อขายตามที่กำหนดผูกพันไว้ใน A.O.U. และการลงนามในสัญญาซื้อขาย เป็นการร่วมกันกระทำโดยมีเป้าหมายร่วมกัน ระหว่างผู้กำกับดูแลกับเจ้าของโครงการผู้ปฏิบัติ
จากพฤติกรรมการกระทำดังกล่าวข้างต้นการดำเนินการจัดซื้อยานพาหนะดับเพลิงและอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย ซึ่งดำเนินการโดยบุคคลหลายฝ่าย ทั้งจากกระทรวงมหาดไทยและกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงการลงนามใน A.O.U. และจ้อตกลงซื้อขาย มีมูลน่าเชื่อว่า เป็นการกระทำร่วมกัน มีเป้าหมายอันเดียวกัน ขัดต่อมติคณะรัฐมนตรี ระเบียบ และกฎหมาย โดยมีการกำหนดชื่อบริษัท สไตเออร์ เดมเลอร์ พุค จำกัด คุณสมบัติของรายการหรือคุณลักษณะเฉพาะสินค้า วิธีการ และราคาไว้ล่วงหน้า ส่อไปในทางมีเจตนาทุจริต เป็นเหตุให้มีการจัดซื้อในราคาที่สูงเกินความเป็นจริง ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐเป็นจำนวนเงินถึง 1,900 ล้านบาทเศษ อันเป็นมูลความผิดทางอาญาเกี่ยวกับการเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
บุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด
(1) นายโภคิน พลกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
(2) นายประชา มาลีนนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
(3) นายสมศักดิ์ คุณเงิน ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ทำหน้าที่แทนเลขานุการนายประชา มาลีนนท์
บุคคลทั้งสามอยู่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีอำนาจกำกับดูแลกรุงเทพมหานครเจ้าของโครงการ เริ่มตั้งแต่พบปะปรึกษาหารือโครงการนี้กับเอกอัครราชทูตออสเตรียประจำประเทศไทย ร่วมกันกำหนดข้อตกลงการจัดซื้อที่ระบุบริษัทผู้ขายสินค้าและราคาไว้ล่วงหน้า แล้วส่งมอบเรื่องทั้งหมดต่อให้แก่กรุงเทพมหานคร โดยฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรี ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องการพัสดุ พ.ศ.2537 กำหนดราคาที่สูงเกินจริง เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานครประมาณ 1,900 ล้านบาทเศษ อันส่งไปในทางมีเจตนาทุจริต บัดนี้ถึงกำหนดชำระเงินตามสัญญา และมีการส่งมอบสินค้าแล้ว จึงมีมูลเป็นความผิดทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบด้วยมาตรา 83
(4) นายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(5) พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนาระบบบริหารและพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานฯเจ้าของโครงการ ประธานคณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ ร่วมกับนายสมัคร สุนทรเวช ร่วมกันดำเนินเรื่องการจัดซื้อจนถึงการลงนามใน A.O.U. และการลงนามในสัญญาซื้อขายโดยฝ่าฝืนกฎหมาย ประกาศข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและมติคณะรัฐมนตรี อันเป็นการกำหนดวิธีการ กำหนดบริษัทผู้ขาย ราคา และสิ่งของหรือสินค้าไว้ล่วงหน้า จนมีการซื้อสินค้ามีราคาสูงเกินจริง บัดนี้ก็ถึงเวลาส่งมอบสินค้าและชำระเงินแล้วเกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานคร เป็นเงินประมาณ 1,900 ล้านบาทเศษ อันถือได้ว่าเป็นเจ้าของโครงการผู้ปฏิบัติร่วมกันกระทำการโดยมีเป้าหมายร่วมกันกับผู้กำกับดูแล คือ ฝ่ายกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้างต้น มีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบด้วยมาตรา 83
สำหรับ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนปัจจุบัน เป็นผู้ที่เข้ามาเกี่ยวข้องในภายหลัง คือ หลังจากกระบวนการต่างๆ ได้เริ่มและดำเนินมาจนถึงการลงนามใน A.O.U. และการลงนามในสัญญาซื้อขายแล้ว นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เข้าไปเกี่ยวข้องโครงการนี้ด้วยการเปิด Letter of Credit อันเป็นเงื่อนไขที่ทำให้สัญญาซื้อขายดำเนินการต่อไป ถือได้ว่าเป็นเงื่อนไขของการชำระหนี้ของคู่สัญญา
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายประชา) ในฐานะผู้กำกับดูแลกรุงเทพมหานครมีหนังสือสั่งการถึงนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ให้ต้องดำเนินการตามเงื่อนไข A.O.U. คือ การเปิด L/C ให้แก่บริษัท STEYR-DAIMLER-PUCH Spezialfahrzeug AG & CO KG, ออสเตรียโดยทันที นายประชาอ้างเหตุผลสำคัญ 3 ประการ ในการสั่งดังกล่าว คือ กระทรวงมหาดไทยต้องรับผิดชอบการดำเนินการเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่ง การฝ่าฝืนไม่เปิด L/C อาจเป็นมูลเหตุทำให้ความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศทั้งสองต้องกระทบกระเทือน ข้ออ้างทั้งสามกรณีดังกล่าวมีน้ำหนักถึงขนาดที่ผู้ฝ่าฝืนอาจถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งได้ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. และประการสุดท้าย คณะอนุกรรมการตรวจสอบ (คณะที่
) เห็นว่าการเปิด L/C โดยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นการปฏิบัติตามสัญญาที่มีผลบังคับแล้ว ในชั้นนี้จึงยังไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาชี้มูลความผิดได้
หมายเหตุ.: จากหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ หน้า4 ฉบับวันอังคาร ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 27 ก.พ. 2550--จบ--
สรุปผลการสอบสวนของ คตส. / 26 กุมภาพันธ์ 2550
การจัดทำโครงการจัดซื้อรถดับเพลิงเรือดับเพลิงพร้อมอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัยเริ่มต้นจากกระทรวงมหาดไทย กล่าวคือ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2546 เอกอัครราชทูตออสเตรียประจำประเทศไทย ได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายวัน มูหะมัดนอร์ มะทา) เสนอโครงการขายยานยนต์ดับเพลิงและอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย โดยยื่นข้อเสนอให้ดำเนินการในลักษณะรัฐต่อรัฐ พร้อมกับจัดหาแหล่งเงินทุนให้ และรับพันธะการค้าต่างตอบแทน ร้อยละ 100 ในการนี้ได้เสนอใบเสนอราคา ฉบับที่ OFFER NO. 870/04/03/58 Vienna. ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2546 ของบริษัท STEYR - DAIMLER - PUCH Spezialfahzeug AG&CO KG ออสเตรีย ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณา ในใบเสนอราคามีรายการที่เสนอจำนวน 15 รายการ (แยกรายละเอียดได้ 18 รายการ) เป็นเงิน 156,953,203 ญยูโร ระบุคุณลักษณะเฉพาะของแต่ละรายการจำนวนหน่วยที่เสนอขาย ราคาต่อหน่วย ค่าภาษีอากรต่างๆ การยืนราคา การส่งมอบ การจ่ายเงิน การค้าต่างตอบแทน และการรับประกันไว้ด้วย และเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2546 นายประชา มาลีนนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้เอกอัครราชทูตออสเตรียเข้าหารือข้อราชการในวันที่ 22 กรกฎาคม 2546 ซึ่งความเป็นจริงก็ปรากฏชัดแล้วว่า ข้อหารือก็คือ การเสนอขายยานยนต์ดับเพลิงฯ โดยเอกอัครราชทูตออสเตรียได้เสนอความร่วมมือด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้พิจารณาเชื่อว่าได้มีการพิจารณาใบเสนอราคาหมายเลข 870/04/03/58 ลงวันที่ 28 พฤษภาคม 2546 ดังกล่าวข้างต้นรวมทั้งผนวกต่างๆตามที่ได้เคยเสนอไว้แล้วด้วย เพราะว่าเป็นส่วนสำคัญของโครงการขายสินค้ารายนี้ ในใบเสนอราคาได้ระบุถึงคุณลักษณะเฉพาะตามภาคผนวกไว้ชัดเจน (จึงต้องมีผนวกต่างๆ ประกอบด้วย) เห็นได้ว่านายประชา มาลีนนท์ และผู้เข้าร่วมประชุมน่าจะได้เห็นเอกสารแสดงคุณลักษณะเฉพาะและภาคผนวกต่างๆ (ANNEX)ด้วย
ต่อมาวันที่ 6 สิงหาคม 2546 นายสมศักดิ์ คุณเงิน เลขานุการนายประชา มาลีนนท์ ทำบันทึกเสนอต่อนายสมัคร สุนทรเวช สรุปการหารือข้อราชการระหว่างนายประชา มาลีนนท์ กับ เอกอัครราชทูตออสเตรีย เสนอเพื่อทราบและเพื่อพิจารณา โดยมีสาระสำคัญเรื่องความร่วมมือด้านการป้องกันและบรรเทาอัคคีภัยทั้งได้เสนออุปกรณ์ต่างๆ น่าเชื่อว่าได้เสนอรายการสินค้าต่างๆ ตลอดจนคุณลักษณะเฉพาะและราคารวม 156,953,203 ยูโร (รายการสินค้าราคา-ANNEX) ให้ทราบด้วย เพราะเป็นรายการสินค้าตามโครงการที่ควรทราบวันที่ 7 สิงหาคม 2547 นายสมัคร สุนทรเวช ก็ตอบรับข้อเสนอของนายประชา มาลีนนท์ ว่ากรุงเทพมหานครยินดีรับการสนับสนุนให้ดำเนินการแบบ G TO G นายประชา มาลีนนท์ ลงนามรับทราบคำตอบนายสมัคร สุนทรเวช ในวันเดียวกัน
ต่อมาวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2547 พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ ผู้อำนวยการสำนักป้องกันฯ ทำโครงการเสนอขึ้นไปตามลำดับเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี นายสมัคร สุนทรเวช ได้อนุมัติโครงการนี้เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2547 และเสนอบันทึกต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2547 และนายประชา มาลีนนท์ ได้มอบหมายให้ รศ.อัจฉราพรรณ จรัสวัฒน์ ที่ปรึกษาส่วนตัว ยกร่างบันทึกโครงการนี้ขึ้นใหม่ และได้ยกร่างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2547 พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ ได้นำบันทึกร่างโครงการฯ ของ รศ.อัจฉราพรรณ จรัสวัฒน์ ทั้งฉบับไปพิมพ์ขึ้นใหม่แทนฉบับเดิม และได้ลงวันที่ย้อนหลังไปเป็นวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2547 และอีกฉบับหนึ่งลงวันที่ย้อนหลังเป็นวันที่ 4 มีนาคม 0ช2547 เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
จากที่มีการปรึกษาหารือข้อราชการโดยมีใบเสนอราคา รายการและราคา (รวม ANNEX) ดังกล่าว น่าเชื่อว่าได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงมหาดไทยตั้งแต่ต้นตลอดมา โดยกรุงเทพมหานครในฐานะเจ้าของโครงการไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิ่งใดๆ ได้เลย ตราบจนการเตรียมการเสนอ A.O.U. เพื่อลงนาม ทำให้เห็นได้ชัดว่า รายการสินค้า ราคา และตัวบริษัทผู้ขาย ตลอดจนรายละเอียดต่างๆ ได้มีการกำหนดไว้แล้ว ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2547 ก็ไม่มีรายการใดรวมถึงจำนวนเงิน ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ หลังจากคณะรัฐมนตรีมติเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2547 ในการประชุมหน่วยราชการต่างๆ เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2547 โดยมีนายประชา มาลีนนท์ เป็นประธานก็เป็นการประชุมที่ยืนยันการจัดหาครุภัณฑ์ยานพาหนะรวม 15 รายการ ในวงเงิน 133,749,780 ยูโร เป็นเงินไทย 6,687,489,000 บาท อันเป็นการยืนราคาตามที่บริษัทผู้ขายตั้งไว้แต่เดิม (รายการสินค้าและราคาเดิม) ประหนึ่งว่าเป็น สิ่งที่กำหนดให้ จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหาได้ไม่
ประการสุดท้ายและเป็นเหตุที่สำคัญยิ่ง ก็คือ A.O.U. ที่ได้ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและเอกอัครราชทูตออสเตรียประจำประเทศไทย มีผลเป็นคำสั่งลงมาจากผู้มีอำนาจเหนือ ให้ผู้ปฏิบัติที่อยู่ในอาณัติเบื้องล่างต้องปฏิบัติตาม แต่การปฏิบัตินั้นเป็นการร่วมมือกันปฏิบัติ ทั้งนี้เพราะผลบังคับแห่ง A.O.U. มีผลบังคับไว้ชัดเจนในสัญญาซื้อขายตอนต้นระบุไว้ว่าข้อตกลงซื้อขายนี้ทำขึ้นที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ฯลฯ ระหว่างกรุงเทพมหานครโดยนายสมัคร สุนทรเวช ทำการโดยคำสั่ง กระทรวงมหาดไทย (in accordance with the order of the Ministry of Interior) รายละเอียดในข้อตกลงซื้อขายก็ต้องสอดคล้องกับที่มีอยู่ใน A.O.U. ระยะเวลาและเงื่อนไขของการซื้อ การขาย และการเงิน ในความตกลงนี้ เป็นความเห็นชอบของรัฐบาลไทยดำเนินการโดยกรุงเทพมหานคร กระทรวงมหาดไทย กับ STEYR-DAIMLER-PUCH Spezialfahrzeug AG & CO KG, ออสเตรีย รายการสินค้าซึ่งมีผนวกประกอบ ชื่อบริษัทผู้ขาย การจ่ายเงินตามเงื่อนไข จำนวนค่าสินค้า จำนวน 133,789,780 ยูโร การเปิด LETTER OF CREDIT (L/C) ชนิดเพิกถอนไม่ได้ ในนามผู้ขายผ่านธนาคารที่ระบุชื่อภายใน 30 วัน นับแต่วันลงนามข้อตกลงซื้อขาย ล้วนเป็นหัวข้อสำคัญของการตกลง ก็มีระบุไว้ใน A.O.U. แล้วทั้งสิ้น ซึ่ง A.O.U. ก็บังคับไว้ด้วยว่า การทำข้อตกลงซื้อขายต่อจาก A.O.U. ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงใน A.O.U. คณะกรรมการต่างๆ ที่ตั้งขึ้นภายหลัง รวมทั้งคณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษที่แต่งตั้งขึ้น ก็เพื่อให้เห็นว่าปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว แต่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขรายการใดๆใน A.O.U.ดังกล่าวข้างต้นได้ คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุมีมติอนุมัติยกเว้นการไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการพัสดุ พ.ศ.2538 เฉพาะกรณีที่ต้องดำเนินการตามข้อตกลงของความเข้าใจข้อ 1 ถึงข้อ 5 นี่คือ A.O.U.เป็น "คำสั่งเบ็ดเสร็จ"ที่มีมาจากเบื้องบนลงสู่เบื้องล่าง เมื่อปรากฏต่อมาว่าได้มีการทำสัญญาซื้อขายตามที่กำหนดผูกพันไว้ใน A.O.U. และการลงนามในสัญญาซื้อขาย เป็นการร่วมกันกระทำโดยมีเป้าหมายร่วมกัน ระหว่างผู้กำกับดูแลกับเจ้าของโครงการผู้ปฏิบัติ
จากพฤติกรรมการกระทำดังกล่าวข้างต้นการดำเนินการจัดซื้อยานพาหนะดับเพลิงและอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย ซึ่งดำเนินการโดยบุคคลหลายฝ่าย ทั้งจากกระทรวงมหาดไทยและกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงการลงนามใน A.O.U. และจ้อตกลงซื้อขาย มีมูลน่าเชื่อว่า เป็นการกระทำร่วมกัน มีเป้าหมายอันเดียวกัน ขัดต่อมติคณะรัฐมนตรี ระเบียบ และกฎหมาย โดยมีการกำหนดชื่อบริษัท สไตเออร์ เดมเลอร์ พุค จำกัด คุณสมบัติของรายการหรือคุณลักษณะเฉพาะสินค้า วิธีการ และราคาไว้ล่วงหน้า ส่อไปในทางมีเจตนาทุจริต เป็นเหตุให้มีการจัดซื้อในราคาที่สูงเกินความเป็นจริง ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐเป็นจำนวนเงินถึง 1,900 ล้านบาทเศษ อันเป็นมูลความผิดทางอาญาเกี่ยวกับการเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
บุคคลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด
(1) นายโภคิน พลกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
(2) นายประชา มาลีนนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
(3) นายสมศักดิ์ คุณเงิน ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ทำหน้าที่แทนเลขานุการนายประชา มาลีนนท์
บุคคลทั้งสามอยู่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีอำนาจกำกับดูแลกรุงเทพมหานครเจ้าของโครงการ เริ่มตั้งแต่พบปะปรึกษาหารือโครงการนี้กับเอกอัครราชทูตออสเตรียประจำประเทศไทย ร่วมกันกำหนดข้อตกลงการจัดซื้อที่ระบุบริษัทผู้ขายสินค้าและราคาไว้ล่วงหน้า แล้วส่งมอบเรื่องทั้งหมดต่อให้แก่กรุงเทพมหานคร โดยฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรี ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องการพัสดุ พ.ศ.2537 กำหนดราคาที่สูงเกินจริง เกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานครประมาณ 1,900 ล้านบาทเศษ อันส่งไปในทางมีเจตนาทุจริต บัดนี้ถึงกำหนดชำระเงินตามสัญญา และมีการส่งมอบสินค้าแล้ว จึงมีมูลเป็นความผิดทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบด้วยมาตรา 83
(4) นายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(5) พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
พล.ต.ต.อธิลักษณ์ ตันชูเกียรติ เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนาระบบบริหารและพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานฯเจ้าของโครงการ ประธานคณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ ร่วมกับนายสมัคร สุนทรเวช ร่วมกันดำเนินเรื่องการจัดซื้อจนถึงการลงนามใน A.O.U. และการลงนามในสัญญาซื้อขายโดยฝ่าฝืนกฎหมาย ประกาศข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและมติคณะรัฐมนตรี อันเป็นการกำหนดวิธีการ กำหนดบริษัทผู้ขาย ราคา และสิ่งของหรือสินค้าไว้ล่วงหน้า จนมีการซื้อสินค้ามีราคาสูงเกินจริง บัดนี้ก็ถึงเวลาส่งมอบสินค้าและชำระเงินแล้วเกิดความเสียหายแก่กรุงเทพมหานคร เป็นเงินประมาณ 1,900 ล้านบาทเศษ อันถือได้ว่าเป็นเจ้าของโครงการผู้ปฏิบัติร่วมกันกระทำการโดยมีเป้าหมายร่วมกันกับผู้กำกับดูแล คือ ฝ่ายกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้างต้น มีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประกอบด้วยมาตรา 83
สำหรับ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนปัจจุบัน เป็นผู้ที่เข้ามาเกี่ยวข้องในภายหลัง คือ หลังจากกระบวนการต่างๆ ได้เริ่มและดำเนินมาจนถึงการลงนามใน A.O.U. และการลงนามในสัญญาซื้อขายแล้ว นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เข้าไปเกี่ยวข้องโครงการนี้ด้วยการเปิด Letter of Credit อันเป็นเงื่อนไขที่ทำให้สัญญาซื้อขายดำเนินการต่อไป ถือได้ว่าเป็นเงื่อนไขของการชำระหนี้ของคู่สัญญา
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายประชา) ในฐานะผู้กำกับดูแลกรุงเทพมหานครมีหนังสือสั่งการถึงนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ให้ต้องดำเนินการตามเงื่อนไข A.O.U. คือ การเปิด L/C ให้แก่บริษัท STEYR-DAIMLER-PUCH Spezialfahrzeug AG & CO KG, ออสเตรียโดยทันที นายประชาอ้างเหตุผลสำคัญ 3 ประการ ในการสั่งดังกล่าว คือ กระทรวงมหาดไทยต้องรับผิดชอบการดำเนินการเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่ง การฝ่าฝืนไม่เปิด L/C อาจเป็นมูลเหตุทำให้ความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศทั้งสองต้องกระทบกระเทือน ข้ออ้างทั้งสามกรณีดังกล่าวมีน้ำหนักถึงขนาดที่ผู้ฝ่าฝืนอาจถูกสั่งให้พ้นจากตำแหน่งได้ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. และประการสุดท้าย คณะอนุกรรมการตรวจสอบ (คณะที่
) เห็นว่าการเปิด L/C โดยนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นการปฏิบัติตามสัญญาที่มีผลบังคับแล้ว ในชั้นนี้จึงยังไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาชี้มูลความผิดได้
หมายเหตุ.: จากหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ หน้า4 ฉบับวันอังคาร ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 27 ก.พ. 2550--จบ--