1. ธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ระบุว่าตัวเลขการอุปโภคบริโภคในภาคเอกชน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 55
ของเศรษฐกิจภายในประเทศ มีความแข็งแกร่ง เนื่องจากรายได้ภาคครัวเรือนยังคงขยายตัวในระดับปานกลาง
ในขณะที่การลงทุนในสินทรัพย์คงที่ของกลุ่มนิติบุคคลคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 15 ของเศรษฐกิจ ซึ่งยังคง
ขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องจากตัวเลขกำไรของกลุ่มนิติบุคคลปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้บีโอเจคาดว่าเศราฐกิจญี่ปุ่นจะ
ขยายตัวในระดับปานกลางอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าภาคการส่งออกจะขยายตัวต่อเนื่องเมื่อพิจารณาจากการ
ขยายตัวของธุรกิจในต่างประเทศ อย่างไรก็ตามคาดว่าการเติบโตของ GDP (ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ)
จะขยายตัวในช่วง 20.-2.3% ในปีงบประมาณ 2550
2. ภาวะการค้าของญี่ปุ่นกับตลาดโลก ในช่วงม.ค- มิ.ย มีมูลค่า 629,676.01 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 6.60 โดยแยกเป็นการส่งออก 336,255.39 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.76 การนำเข้า
มีมูลค่า 293,420.62 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.39
แหล่งผลิตสำคัญที่ญี่ปุ่นนำเข้า ได้แก่
1. จีน ร้อยละ 20.78 มูลค่า 60,976.71 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.01
2. สหรัฐฯ ร้อยละ 11.91 มูลค่า 34,950.01 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.53
3. ซาอุดิอาระเบีย ร้อยละ 5.35 มูลค่า 15,706.54 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 15.67
10.ไทย ร้อยละ 2.99 มูลค่า 8,775.26 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.66
ญี่ปุ่นได้เปรียบดุลการค้ากับตลาดโลกเป็นมูลค่า 42,834.76 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ
54.67 ได้เปรียบดุลการค้ากับสหรัฐฯ เป็นอันดับหนึ่งมูลค่า 34,286.13 ล้านเหรียญสหรัฐ กับประเทศไทย
ญี่ปุ่นได้เปรียบดุลการค้าเป็นมูลค่า 3,205.10 ล้านเหรียญสหรัฐ
3. ภาวะการค้าระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ในช่วงม.ค-มิ.ย 2550 มีมูลค่า 22,269.97 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 9.83 ในจำนวนนี้แยกเป็นการนำเข้ามูลค่า 13,389 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.71 สินค้า
ไทยส่งออกไปญี่ปุ่นมูลค่า 8,907.82 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.87 ไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้ากับ
ประเทศญี่ปุ่นมูลค่า 4,481.34 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 6.48
4. ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสินค้าไทยสำคัญอันดับที่ 2 ของไทยโดยในช่วงม.ค-มิ.ย 2550 มีสัดส่วนการส่งออกไป
ตลาดนี้ร้อยละ 12.44 หรือมูลค่า 8,907.82 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.87 หรือคิดเป็นร้อยละ 51.38
ของเป้าหมายการส่งออกไปตลาดญี่ปุ่นที่มูลค่า 17,334 ล้านเหรียญสหรัฐ
โครงสร้างการส่งออกสินค้าไทยไปญี่ปุ่น ประกอบด้วย สินค้าเกษตรร้อยละ 12.00 อุตสาหกรรม
การเกษตรร้อยละ 7.44 สินค้าอุตสาหกรรมร้อยละ 75.56 สินค้าแร่และเชื้อเพลิงร้อยละ 3.70 และสินค้า
อื่นๆ ร้อยละ 1.31 โดยมีสถิติการส่งออก ดังนี้
โครงสร้างสินค้าไทยส่งออกไปญี่ปุ่น
มูลค่า:ล้านเหรียญสหรัฐ %เปลี่ยนแปลง สัดส่วนร้อยละ
สินค้า 2549 2549 2550 2549 2550 2549 2550
ม.ค-มิ.ย ม.ค-มิ.ย ม.ค-มิ.ย ม.ค-มิ.ย
สินค้าออกรวมทั้งสิ้น 16,430.57 7,754.82 8,907.82 8.83 14.87 100.00 100.00
สินค้าเกษตรกรรม 2,235.67 1,066.86 1,068.52 9.29 0.16 13.61 12.00
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 1,340.44 649.13 662.42 5.54 2.05 8.16 7.44
สินค้าอุตสาหกรรม 12,179.55 5,721.49 6,730.85 17.61 17.64 74.13 75.56
สินค้าแร่เชื้อเพลิง 473.30 214.16 329.74 33.97 53.97 2.88 3.70
อื่นๆ 201.63 103.17 116.29 1.60 12.71 1.23 1.31
4.1 การส่งออกสินค้าเกษตรกรรมไปญี่ปุ่น (ม.ค-มิ.ย 2550) มีมูลค่า 1,068.52 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น
เพียงร้อยละ 0.16 สินค้าเกษตรส่งออกไปญี่ปุ่น 5 อันดับแรก ได้แก่ ยางพารา ไก่แปรรูป ปลาหมึกสดแช่เย็น
แช่แข็ง กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง และเนื้อปลาสดแช่เย็น แช่แข็ง รองลงไปคือ ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง
ข้าว ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง กล้วยไม้ ปลาสดแช่เย็น แช่แข็ง สัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซีย เป็นต้น
การส่งออกสินค้าเกษตรไปตลาดญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเนื่องจาก มีสินค้าเกษตรส่งออกไปตลาดนี้
ลดลงหลายรายการ เช่น
- ยางพารา ลดลงร้อยละ 14.31
- ไก่แปรรูป ลดลงร้อยละ 2.22
- ผักสดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ลดลงร้อยละ 7.43
- ปลาสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ลดลงร้อยละ 14.00
- สัตว์น้ำจำพวกครัสตาเซีย ลดลงร้อยละ 18.60
- ไก่สด แช่เย็นแช่แข็งและแห้ง ลดลงร้อยละ 43.62
ส่วนสินค้าเกษตรที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ปลาหมึกสดแช่เย็น แช่แข็ง กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง ผลิตภัณฑ์
มันสำปะหลัง และข้าว เป็นต้น
4.2 การส่งออกสินค้าเกษตรอุตสาหกรรมไปญี่ปุ่น ม.ค-มิ.ย 2550 มีมูลค่า 662.42 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 2.05 สินค้าเกษตรอุตสาหกรรม 5 อันดับแรกส่งออกไปญี่ปุ่น ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป
อาหารสัตว์เลี้ยง เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์ ผักกระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ ข้าวสาลีและอาหาร
สำเร็จรูปอื่นๆ รองลงไป คือ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป สิ่งปรุงรสอาหาร ผลิตภัณฑ์ข้าวและกากน้ำตาล เป็นต้น
4.3 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเป้าหมายไปญี่ปุ่น ม.ค-มิ.ย 2550 มีมูลค่า 6,730.85 ล้านเหรียญสหรัฐ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.64 สินค้าอุตสาหกรรมส่งออกไปญี่ปุ่น 5 อันดับแรก ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์
อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเลนส์ ส่วน สินค้าอื่นที่สำคัญรอง
ลงไป ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม ผลิตภัณฑ์ พลาสติก เป็นต้น
5. การแข่งขัน การส่งออกสินค้าไปญี่ปุ่นปัจจุบันประสบภาวะการแข่งขันค่อนข้างสูง จากการเปรียบเทียบกับ
ประเทศในกลุ่มอาเซียนพบว่า อินโดนีเซียมีสัดส่วนในตลาดนำเข้าของญี่ปุ่นร้อยละ 4.30 ประเทศไทยมีสัดส่วน
ร้อยละ 2.99 ตามด้วยมาเลเซีย ร้อยละ 2.73 ส่วนฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ มีสัดส่วนร้อยละ 1.44 และ 1.18
ตามลำดับ จากการเปรียบเทียบอัตราการขยายตัวพบว่า ญี่ปุ่นขยายการนำเข้าจากมาเลเซียและสิงคโปร์สูง
กว่าไทย ดังสถิติต่อไปนี้
เปรียบเทียบสถิตินำเข้าจากอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ของประเทศญีปุ่น
(ม.ค-มิ.ย) 2548-2550
ที่ ประเทศ มูลค่า:ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ %
2548 2549 2550 2549 2550 เปลี่ยนแปลง
7 อินโดนีเซีย 9,996.48 11,789.86 12,607.10 4.19 4.30 6.93
9 ไทย 7,760.91 8,150.63 8,775.26 2.90 2.99 7.66
10 มาเลเซีย 7,444.10 7,356.16 8,078.20 2.61 2.75 9.81
12 ฟิลิปปินส์ 4,031.80 3,815.57 4,277.40 1.36 1.46 12.10
16 สิงคโปร์ 3,332.49 3,744.70 3,452.42 1.33 1.18 -7.81
แหล่งข้อมูล : Japan Customs
ข้อมูลเพิ่มเติม
รัฐมนตรีการคลังญี่ปุ่น นายโคจิ โอมิ ให้ความเห็นว่า ขณะนี้เศรษฐกิจญี่ปุ่นสามารถรับมือกับปัญหา
ที่เกิดขึ้นจากวิกฤตการปล่อยกู้ เพื่อการจำนองแก่ลูกค้าที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ (ปัญหาซับไพรม) ของสหรัฐฯ ได้
โดยรัฐบาลได้ดำเนินการเพื่อหาทางคลายความกังวลของนักลงทุน หลังจากที่เกิดกระแสตื่นตระหนกในตลาดหุ้น
ทั่วโลก ทั้งนี้ที่ผ่านมาธนาคารกลางญี่ปุ่น สหรัฐฯ และยุโรป ได้ดำเนินการเพื่อตอบสนองปัญหาดังกล่าวอย่าง
รวดเร็ว ซึ่งทุกฝ่ายคาดการณ์ว่าปัญหาซับไพรมจะไม่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาคการเงินของญี่ปุ่น อย่างไร
ก็ตามธนาคารกลางต่างๆ ได้พยายามอัดฉีดเงินเข้าระบบหลายพันล้านดอลลาร์ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาเพื่อเพิ่ม
สภาพคล่องและลดความกังวลของนักลงทุน
ที่มา: http://www.depthai.go.th