กรุงเทพ--30 มี.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
นายอัลเบอร์โต โรมูโร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์เยือนไทย ระหว่างวันที่ 24 — 27 มีนาคม 2550 เพื่อหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย และเป็นประธานร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-ฟิลิปปินส์ ครั้งที่ 4
โอกาสนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายโรมูโร และภริยาเข้าเฝ้าฯ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายสารจากประธานาธิดีกลอเรีย ออโรโย พร้อมทั้งเข้าพบ พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เพื่อมอบสารจากประธานาธิบดีฟิลิปปินส์อีกด้วย
ไทยและฟิลิปปินส์ร่วมกันจัดการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ ในครั้งนี้ขึ้นหลังจากว่างเว้นมาถึง 8 ปี โดยทั้งสองฝ่ายหวังว่า จะมีการจัดการประชุมนี้ขึ้นอย่างสม่ำเสมอเป็นปกติ เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการเร่งรัดความร่วมมือระหว่างกันในทุกๆ ด้าน
สรุปประเด็นสำคัญของการประชุมคณะกรรมาธิการฯ ได้ดังนี้
1. ความร่วมมือด้านความมั่นคง
ฟิลิปปินส์สนับสนุนแนวทางแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ซึ่งใช้แนวทางสันติ รวมทั้งเน้นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยฟิลิปปินส์พร้อมจะให้ความสนับสนุนด้านข้อมูล ข่าวสาร และประสบการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผสมผสานหลักสูตรทางศาสนากับหลักสูตรสามัญ และการผสมผสานระหว่างกฎหมายทั่วไปและกฎหมายอิสลาม(Shariah) ซึ่งฟิลิปปินส์ได้ดำเนินการไปแล้วในระดับหนึ่ง
นอกจากนั้น ทั้งสองฝ่ายต่างมีมติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่ายยกร่างแผนงานเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ และดำเนินนโยบายส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนาต่างๆ โดยการจัดสัมมนาระหว่างกัน(Interfaith Dialogue) โดยทั้งสองฝ่ายเห็นว่า ภัยจากการก่อการร้ายเป็นภัยคุกคามต่อภูมิภาคและโลก จำเป็นต้องร่วมมือกันป้องกัน ปราบปรามและจำกัดการก่อการร้ายทุกรูปแบบ ซึ่งทั้งสองฝ่ายพร้อมจะแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ข่าวกรอง และร่วมกันพัฒนาขีดความสามารถในการต่อต้านการก่อการร้าย โดยจะสนับสนุนความร่วมมือในกรอบภูมิภาคด้วย
ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์จะจัดการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมด้านความร่วมมือทางการทหาร (Joint Committee on Military Cooperation) ภายในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 นี้ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข่าวกรอง และบุคลากรทางทหารระหว่างกันด้วย นอกจากนี้ ฝ่ายไทยยังพิจารณาจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ Philippines National Police ในเรื่องความร่วมมือด้านการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ
2. ความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว
ไทยขอให้ฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวไทยมากขึ้น และขอให้ยกเลิกมาตรการจำกัดการนำเข้าสินค้ากระจกจากประเทศไทย ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นด้วยในหลักการและมีมติให้คณะกรรมาธิการร่วมด้านการค้าพิจารณาหารายละเอียดและแนวทางแก้ไข
นอกจากนั้น ทั้งสองฝ่ายต่างมีความยินดีที่มีนักท่องเที่ยวไปมาหาสู่ระหว่างกันมาขึ้น โดยในปี 2549 มีนักท่องเที่ยวฟิลิปปินส์เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย 219,783 คน และมีนักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปฟิลิปปินส์ ระหว่างเดือนมกราคม — พฤษภาคม 7,404 คน ซึ่งไทยขอให้มีการเจรจาเปิดเที่ยวบินใหม่ภายในปี 2007 เพื่อรองรับการขยายตัวดังกล่าว
3. ความร่วมมือด้านสาธารณสุข
ไทยและฟิลิปปินส์ได้หารือกันในหลายประเด็น โดยเฉพาะในประเด็นโรคไข้หวัดนก ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างแสดงความห่วงกังวลต่อการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกในภูมิภาค โดยพร้อมจะร่วมมือกันในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ เพื่อป้องกันและสกัดกั้นการขยายตัวของโรคดังกล่าว
4. ความร่วมมือด้านพลังงาน
ทั้งสองฝ่ายจะเร่งความร่วมมือด้านพลังงานทางเลือกอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พลังงานชีวภาพ และเร่งจัดการประชุมคณะทำงานร่วมด้านพลังงาน (Joint Working Group on Energy) เพื่อสร้างความร่วมมือด้านพลังงาน พลังงานทางเลือก พลังงานชีวภาพ การลงทุนด้านพลังงานไฟฟ้า และพลังงานอื่นๆ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
นายอัลเบอร์โต โรมูโร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์เยือนไทย ระหว่างวันที่ 24 — 27 มีนาคม 2550 เพื่อหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย และเป็นประธานร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-ฟิลิปปินส์ ครั้งที่ 4
โอกาสนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายโรมูโร และภริยาเข้าเฝ้าฯ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายสารจากประธานาธิดีกลอเรีย ออโรโย พร้อมทั้งเข้าพบ พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เพื่อมอบสารจากประธานาธิบดีฟิลิปปินส์อีกด้วย
ไทยและฟิลิปปินส์ร่วมกันจัดการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ ในครั้งนี้ขึ้นหลังจากว่างเว้นมาถึง 8 ปี โดยทั้งสองฝ่ายหวังว่า จะมีการจัดการประชุมนี้ขึ้นอย่างสม่ำเสมอเป็นปกติ เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการเร่งรัดความร่วมมือระหว่างกันในทุกๆ ด้าน
สรุปประเด็นสำคัญของการประชุมคณะกรรมาธิการฯ ได้ดังนี้
1. ความร่วมมือด้านความมั่นคง
ฟิลิปปินส์สนับสนุนแนวทางแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ซึ่งใช้แนวทางสันติ รวมทั้งเน้นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยฟิลิปปินส์พร้อมจะให้ความสนับสนุนด้านข้อมูล ข่าวสาร และประสบการณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผสมผสานหลักสูตรทางศาสนากับหลักสูตรสามัญ และการผสมผสานระหว่างกฎหมายทั่วไปและกฎหมายอิสลาม(Shariah) ซึ่งฟิลิปปินส์ได้ดำเนินการไปแล้วในระดับหนึ่ง
นอกจากนั้น ทั้งสองฝ่ายต่างมีมติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่ายยกร่างแผนงานเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ และดำเนินนโยบายส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนาต่างๆ โดยการจัดสัมมนาระหว่างกัน(Interfaith Dialogue) โดยทั้งสองฝ่ายเห็นว่า ภัยจากการก่อการร้ายเป็นภัยคุกคามต่อภูมิภาคและโลก จำเป็นต้องร่วมมือกันป้องกัน ปราบปรามและจำกัดการก่อการร้ายทุกรูปแบบ ซึ่งทั้งสองฝ่ายพร้อมจะแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ข่าวกรอง และร่วมกันพัฒนาขีดความสามารถในการต่อต้านการก่อการร้าย โดยจะสนับสนุนความร่วมมือในกรอบภูมิภาคด้วย
ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์จะจัดการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมด้านความร่วมมือทางการทหาร (Joint Committee on Military Cooperation) ภายในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 นี้ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข่าวกรอง และบุคลากรทางทหารระหว่างกันด้วย นอกจากนี้ ฝ่ายไทยยังพิจารณาจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ Philippines National Police ในเรื่องความร่วมมือด้านการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ
2. ความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว
ไทยขอให้ฟิลิปปินส์นำเข้าข้าวไทยมากขึ้น และขอให้ยกเลิกมาตรการจำกัดการนำเข้าสินค้ากระจกจากประเทศไทย ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นด้วยในหลักการและมีมติให้คณะกรรมาธิการร่วมด้านการค้าพิจารณาหารายละเอียดและแนวทางแก้ไข
นอกจากนั้น ทั้งสองฝ่ายต่างมีความยินดีที่มีนักท่องเที่ยวไปมาหาสู่ระหว่างกันมาขึ้น โดยในปี 2549 มีนักท่องเที่ยวฟิลิปปินส์เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย 219,783 คน และมีนักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปฟิลิปปินส์ ระหว่างเดือนมกราคม — พฤษภาคม 7,404 คน ซึ่งไทยขอให้มีการเจรจาเปิดเที่ยวบินใหม่ภายในปี 2007 เพื่อรองรับการขยายตัวดังกล่าว
3. ความร่วมมือด้านสาธารณสุข
ไทยและฟิลิปปินส์ได้หารือกันในหลายประเด็น โดยเฉพาะในประเด็นโรคไข้หวัดนก ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างแสดงความห่วงกังวลต่อการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกในภูมิภาค โดยพร้อมจะร่วมมือกันในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ เพื่อป้องกันและสกัดกั้นการขยายตัวของโรคดังกล่าว
4. ความร่วมมือด้านพลังงาน
ทั้งสองฝ่ายจะเร่งความร่วมมือด้านพลังงานทางเลือกอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พลังงานชีวภาพ และเร่งจัดการประชุมคณะทำงานร่วมด้านพลังงาน (Joint Working Group on Energy) เพื่อสร้างความร่วมมือด้านพลังงาน พลังงานทางเลือก พลังงานชีวภาพ การลงทุนด้านพลังงานไฟฟ้า และพลังงานอื่นๆ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-