ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.หารือ ธพ.ถึงแนวทางการยกเว้นกันสำรองเงินทุนไหลเข้า 30% แหล่งข่าวจาก ธพ.แห่งหนึ่ง เปิดเผยหลังการหารือ
ระหว่างผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทยและ ธพ. เมื่อวันที่ 12 ก.พ.50 เกี่ยวกับการผ่อนปรนมาตรการกันสำรองเงินทุน 30% ว่า ธปท.อาจ
จะมีการยกเว้นมาตรการดังกล่าวสำหรับนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาซื้อตราสารหนี้ผ่านศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (คัสโตเดียน) ในประเทศ สำหรับตราสาร
หนี้ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 3 เดือน และมีการป้องกันความเสี่ยง (สว็อป) 100% โดยเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วย อย่างไรก็ตาม ธปท.อยู่ระหว่างพิจารณาว่า
มีแนวทางใดบ้างที่จะผ่อนปรนมาตรการหักสำรอง 30% ภายใต้เงื่อนไขที่จะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์การลดแรงกดดันต่อการแข็งค่าเงินบาทได้
(ไทยโพสต์, กรุงเทพธุรกิจ)
2. รมว.คลังยืนยันไม่มีการปรับภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 8% ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รอง นรม.และ รมว.คลัง เปิดเผยถึงกรณีที่
นายสมหมาย ภาษี รมช.คลัง จะเสนอให้มีการปรับเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อีก 1% หรือทำให้ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 8% ว่า นายสมหมายเสนอแนะ
ในฐานะนักวิชาการว่าในอนาคตฐานภาษีควรจะเปลี่ยนไปอย่างไร ซึ่งเป็นการพูดในหลักการ โดยยืนยันว่ารัฐบาลจะไม่มีการปรับเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม
เนื่องจากเหตุผลคือ 1)ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมารัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีได้ตามเป้าหมาย 2)รัฐบาลนี้มีเวลาสั้น และ 3)เศรษฐกิจได้ขยับตัวดีขึ้น
ภายหลังจากที่รัฐบาลประกาศโครงการลงทุนระบบขนส่งมวลชน (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
3. ตลาดหลักทรัพย์ฯ ทบทวนการปรับเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนผู้ลงทุนสถาบันเป็น 40% ในปี 50 กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 9 ก.พ.2550 มีมติอนุมัติทบทวนการปรับเป้าหมายการเพิ่มสัดส่วนผู้
ลงทุนสถาบันในปี 50 เป็น 40% โดยเน้นการเพิ่มผู้ลงทุนสถาบันในประเทศ พร้อมกับการเพิ่มผู้ลงทุนต่างประเทศในปี 52 เป็น 50% เพื่อเพิ่ม
เสถียรภาพของตลาดทุน และดึงดูดผู้ลงทุนสถาบันจากต่างประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากเห็นว่าที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนอย่าง
ต่อเนื่อง ฉะนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องในตลาดทุนจึงต้องเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะการปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายหรือประกาศ
ตลอดจนนโยบายการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ในปี 55 รวมทั้งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเศรษฐกิจทั้ง
ในและต่างประเทศ (ข่าวสด, กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
4. ธ.เอไอจีเพื่อรายย่อย เปิดตัวอย่างเป็นทางการวันที่ 6 มี.ค. 2550 กรรมการผู้จัดการ บริษัทเงินทุน เอไอจี ไฟแนนซ์
(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า วันที่ 6 มี.ค.2550 บริษัทจะทำการเปิดตัว ธนาคารเอไอจีเพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) อย่าง
เป็นทางการ โดยมุ่งเน้นการให้บริการกับลูกค้าของเครือ เอไอจี ที่มีฐานลูกค้าถือกรมธรรม์อยู่กว่า 3 ล้านรายทั่วประเทศ ก่อนที่จะขยายฐานไปยัง
ลูกค้านอกเครือ (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนี CGPI ของญี่ปุ่นในเดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เทียบต่อปี ขณะที่เทียบต่อเดือนลดลงร้อยละ 0.2 รายงานจากโตเกียว
เมื่อ 13 ก.พ.50 ธ.กลางญี่ปุ่น เปิดเผยว่า Corporate Goods Price Index (CGPI) ของญี่ปุ่นในเดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เทียบ
ต่อปี ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 แต่หากเทียบต่อเดือนแล้วกลับลดลงร้อยละ 0.2 ทั้งนี้ ดัชนี CGPI เมื่อเทียบต่อปี
เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 35 แต่ตัวเลขในเดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นในอัตราต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน พ.ย.48 ที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.0 อนึ่ง ตัวเลข
ดัชนี CGPI ทั้งเทียบต่อปีและต่อเดือนที่ชะลอลง มีสาเหตุสำคัญจากราคาน้ำมันที่ลดลง ขณะที่ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในประเทศลดลงร้อยละ 0.4
เทียบต่อปี และราคาสินค้าคงทนลดลงร้อยละ 1.8 (รอยเตอร์)
2. คาดว่าจีดีพีของจีนในช่วง 2 ไตรมาสแรกปีนี้จะขยายตัวลดลงจากปีก่อน รายงานจากเมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน เมื่อวันที่
13 ก.พ.50 State Information Centre (SIC) ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยชั้นนำของรัฐบาลจีน คาดการณ์ว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน
ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้จะขยายตัวลดลงจากปีก่อน โดยในไตรมาสแรกจะขยายตัวร้อยละ 10.2 และร้อยละ 10.0 ในไตรมาสสอง เทียบกับที่ขยายตัว
ร้อยละ 10.7 ในปี 49 ส่วนอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะเร่งตัวขึ้นถึงระดับร้อยละ 3.0 ในช่วงไตรมาสแรก และร้อยละ 3.5 ในไตรมาสสอง จาก
ร้อยละ 1.5 ในปีก่อน ทั้งนี้ SIC ให้ความเห็นว่าควรจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อป้องกันอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงลดลง และควรปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยเงินกู้ระยะกลางและระยะยาว เพื่อสกัดกั้นการขยายตัวมากเกินไปของปริมาณเงินหมุนเวียน M1 สำหรับราคาหุ้นที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
ในประเทศของจีนที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น SIC แนะนำให้เจ้าหน้าที่เร่งเพิ่มบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ที่มีการเติบโตรวดเร็วในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่ง
จะช่วยบรรเทาปัญหาและสร้างสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานในตลาดทุน รวมทั้งจะทำให้มีเงินทุนไหลเข้าไปสู่กิจการขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
3. รอยเตอร์คาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์จะขยายตัวร้อยละ 7.6 ต่อปีในไตรมาสสุดท้ายปี 49 รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 12 ก.พ.50
ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์จะขยายตัวหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วร้อยละ 7.6 ต่อปีใน
ไตรมาสสุดท้ายปี 49 หลังจากขยายตัวร้อยละ 5.6 ต่อปีในไตรมาสที่ 3 โดยเป็นผลจากผลผลิตโรงงานในเดือน ธ.ค.49 ที่ขยายตัวถึงร้อยละ
5.1 ต่อปีดีกว่าที่คาดไว้ว่าจะขยายตัวเพียงร้อยละ 2.6 ต่อปี ส่งผลให้ผลผลิตโรงงานในไตรมาสสุดท้ายปี 49 ขยายตัวถึงร้อยละ 7.7 ต่อปี ดีกว่า
ประมาณการล่วงหน้าที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.3 ต่อปี และภาคบริการโดยเฉพาะอุตสาหกรรมการเงินซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 11 ของ
ผลผลิตรวมในประเทศก็มีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายปี 49 ขยายตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ภาคการก่อสร้างซึ่งอยู่ในภาวะซบเซามานานก็เริ่ม
ขยายตัวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 43 รัฐบาลสิงคโปร์กำลังก่อสร้างสถานคาสิโนขนาดใหญ่ 2 แห่งเพื่อหวังดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วภูมิภาค โดยใน
ปี 49 ที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวเดินทางมาสิงคโปร์สูงสุดเป็นประวัติการณ์ 9.7 ล้านคนและมีรายได้จากการท่องเที่ยวจำนวน 12.4 พันล้านเหรียญ
สิงคโปร์ ทั้งนี้ตามประมาณการเบื้องต้นคาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์จะขยายตัวร้อยละ 7.7 ต่อปีในปี 49 ที่ผ่านมาซึ่งนักเศรษฐศาสตร์หลายคนคาดว่า
อาจมีการปรับตัวเลขเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7.8 ต่อปีในภายหลัง (รอยเตอร์)
4. สิงคโปร์จะกำหนดราคาขายทรายเพื่อการก่อสร้างหลังจากที่อินโดนีเซียห้ามการส่งออกทรายเมื่อเดือนที่แล้ว รายงานจากสิงคโปร์
เมื่อวันที่ 12 ก.พ. 50 ทางการสิงคโปร์จะกำหนดราคาทรายในสต็อกเพื่อให้มีเสถียรภาพภายหลังจากอินโดนีเซียซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออกทราย
รายใหญ่ห้ามการส่งออกทรายเมื่อเดือนที่แล้ว ทั้งนี้นาย Mah Bow Tan รมว.การพัฒนาแห่งชาติกล่าวว่า สิงคโปร์ยังสามารถเลือกซื้อจากผู้ผลิต
ทรายรายอื่นได้แม้ว่าจะมีต้นทุนการขนส่งเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 1 — 3 ทั้งนี้อินโดนีเซียห้ามการส่งออกทรายไปยังหลายโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่
ในสิงคโปร์รวมทั้งการก่อสร้างคาสิโน 2 แห่งที่มีมูลค่าหลายพัน ล. ดอลลาร์ ทั้งนี้แหล่งข่าวจากบริษัทก่อสร้างกล่าวว่า การห้ามส่งออกทรายดังกล่าว
ทำให้ราคาทรายในสิงคโปร์เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าอยู่ที่ระดับ 60 ดอลลาร์ สิงคโปร์ (39.14 ดอลลาร์ สรอ.) ต่อเมตริกตัน นอกจากนั้นการห้ามการส่ง
ออกทรายของอินโดนีเซียไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ยังมีสาเหตุมาจากความวิตกเรื่องสภาพแวดล้อม และต้องการปกป้องชายแดนของตน
โดยในปี 46 อินโดนีเซียห้ามการส่งออกทรายไปยังสิงคโปร์เพราะกังวลกับการนำทรายไปถมทะเลเพื่อเป็นพื้นดินที่สามารถมีประโยชน์ใช้สอยได้
อย่างไรก็ตามคาดว่าการห้ามการส่งออกทรายของอินโดนีเซียดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการก่อสร้างไม่มากนัก ในขณะที่ทางการสิงคโปร์
ก็ยังมิได้เปิดเผยว่าจะกำหนดราคาทรายเป็นเท่าไร และมีระยะเวลานานเพียงใด ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่ามาตรการของทางการสิงคโปร์จะสามารถ
ป้องกันการเก็งกำไร และช่วยให้ธุรกิจก่อสร้างและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์สามารถวางแผนต้นทุนของโครงการได้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 13 ก.พ. 50 2 ก.พ. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.771 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.5661/35.8930 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.86609 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 697.46/12.77 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,050/11,150 11,150/11,250 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 54.1 55.65 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 25.59*/23.34** 25.59*/23.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 3 ก.พ. 50
** ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 8 ก.พ. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.หารือ ธพ.ถึงแนวทางการยกเว้นกันสำรองเงินทุนไหลเข้า 30% แหล่งข่าวจาก ธพ.แห่งหนึ่ง เปิดเผยหลังการหารือ
ระหว่างผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทยและ ธพ. เมื่อวันที่ 12 ก.พ.50 เกี่ยวกับการผ่อนปรนมาตรการกันสำรองเงินทุน 30% ว่า ธปท.อาจ
จะมีการยกเว้นมาตรการดังกล่าวสำหรับนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาซื้อตราสารหนี้ผ่านศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (คัสโตเดียน) ในประเทศ สำหรับตราสาร
หนี้ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 3 เดือน และมีการป้องกันความเสี่ยง (สว็อป) 100% โดยเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วย อย่างไรก็ตาม ธปท.อยู่ระหว่างพิจารณาว่า
มีแนวทางใดบ้างที่จะผ่อนปรนมาตรการหักสำรอง 30% ภายใต้เงื่อนไขที่จะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์การลดแรงกดดันต่อการแข็งค่าเงินบาทได้
(ไทยโพสต์, กรุงเทพธุรกิจ)
2. รมว.คลังยืนยันไม่มีการปรับภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 8% ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รอง นรม.และ รมว.คลัง เปิดเผยถึงกรณีที่
นายสมหมาย ภาษี รมช.คลัง จะเสนอให้มีการปรับเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อีก 1% หรือทำให้ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น 8% ว่า นายสมหมายเสนอแนะ
ในฐานะนักวิชาการว่าในอนาคตฐานภาษีควรจะเปลี่ยนไปอย่างไร ซึ่งเป็นการพูดในหลักการ โดยยืนยันว่ารัฐบาลจะไม่มีการปรับเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม
เนื่องจากเหตุผลคือ 1)ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมารัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีได้ตามเป้าหมาย 2)รัฐบาลนี้มีเวลาสั้น และ 3)เศรษฐกิจได้ขยับตัวดีขึ้น
ภายหลังจากที่รัฐบาลประกาศโครงการลงทุนระบบขนส่งมวลชน (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
3. ตลาดหลักทรัพย์ฯ ทบทวนการปรับเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนผู้ลงทุนสถาบันเป็น 40% ในปี 50 กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 9 ก.พ.2550 มีมติอนุมัติทบทวนการปรับเป้าหมายการเพิ่มสัดส่วนผู้
ลงทุนสถาบันในปี 50 เป็น 40% โดยเน้นการเพิ่มผู้ลงทุนสถาบันในประเทศ พร้อมกับการเพิ่มผู้ลงทุนต่างประเทศในปี 52 เป็น 50% เพื่อเพิ่ม
เสถียรภาพของตลาดทุน และดึงดูดผู้ลงทุนสถาบันจากต่างประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากเห็นว่าที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนอย่าง
ต่อเนื่อง ฉะนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องในตลาดทุนจึงต้องเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะการปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายหรือประกาศ
ตลอดจนนโยบายการเปิดเสรีค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ในปี 55 รวมทั้งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเศรษฐกิจทั้ง
ในและต่างประเทศ (ข่าวสด, กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
4. ธ.เอไอจีเพื่อรายย่อย เปิดตัวอย่างเป็นทางการวันที่ 6 มี.ค. 2550 กรรมการผู้จัดการ บริษัทเงินทุน เอไอจี ไฟแนนซ์
(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า วันที่ 6 มี.ค.2550 บริษัทจะทำการเปิดตัว ธนาคารเอไอจีเพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) อย่าง
เป็นทางการ โดยมุ่งเน้นการให้บริการกับลูกค้าของเครือ เอไอจี ที่มีฐานลูกค้าถือกรมธรรม์อยู่กว่า 3 ล้านรายทั่วประเทศ ก่อนที่จะขยายฐานไปยัง
ลูกค้านอกเครือ (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนี CGPI ของญี่ปุ่นในเดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เทียบต่อปี ขณะที่เทียบต่อเดือนลดลงร้อยละ 0.2 รายงานจากโตเกียว
เมื่อ 13 ก.พ.50 ธ.กลางญี่ปุ่น เปิดเผยว่า Corporate Goods Price Index (CGPI) ของญี่ปุ่นในเดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เทียบ
ต่อปี ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 แต่หากเทียบต่อเดือนแล้วกลับลดลงร้อยละ 0.2 ทั้งนี้ ดัชนี CGPI เมื่อเทียบต่อปี
เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 35 แต่ตัวเลขในเดือน ม.ค.50 เพิ่มขึ้นในอัตราต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน พ.ย.48 ที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2.0 อนึ่ง ตัวเลข
ดัชนี CGPI ทั้งเทียบต่อปีและต่อเดือนที่ชะลอลง มีสาเหตุสำคัญจากราคาน้ำมันที่ลดลง ขณะที่ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในประเทศลดลงร้อยละ 0.4
เทียบต่อปี และราคาสินค้าคงทนลดลงร้อยละ 1.8 (รอยเตอร์)
2. คาดว่าจีดีพีของจีนในช่วง 2 ไตรมาสแรกปีนี้จะขยายตัวลดลงจากปีก่อน รายงานจากเมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน เมื่อวันที่
13 ก.พ.50 State Information Centre (SIC) ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยชั้นนำของรัฐบาลจีน คาดการณ์ว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน
ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้จะขยายตัวลดลงจากปีก่อน โดยในไตรมาสแรกจะขยายตัวร้อยละ 10.2 และร้อยละ 10.0 ในไตรมาสสอง เทียบกับที่ขยายตัว
ร้อยละ 10.7 ในปี 49 ส่วนอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะเร่งตัวขึ้นถึงระดับร้อยละ 3.0 ในช่วงไตรมาสแรก และร้อยละ 3.5 ในไตรมาสสอง จาก
ร้อยละ 1.5 ในปีก่อน ทั้งนี้ SIC ให้ความเห็นว่าควรจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อป้องกันอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงลดลง และควรปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยเงินกู้ระยะกลางและระยะยาว เพื่อสกัดกั้นการขยายตัวมากเกินไปของปริมาณเงินหมุนเวียน M1 สำหรับราคาหุ้นที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
ในประเทศของจีนที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น SIC แนะนำให้เจ้าหน้าที่เร่งเพิ่มบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ที่มีการเติบโตรวดเร็วในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่ง
จะช่วยบรรเทาปัญหาและสร้างสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานในตลาดทุน รวมทั้งจะทำให้มีเงินทุนไหลเข้าไปสู่กิจการขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น (รอยเตอร์)
3. รอยเตอร์คาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์จะขยายตัวร้อยละ 7.6 ต่อปีในไตรมาสสุดท้ายปี 49 รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 12 ก.พ.50
ผลสำรวจความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์โดยรอยเตอร์คาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์จะขยายตัวหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วร้อยละ 7.6 ต่อปีใน
ไตรมาสสุดท้ายปี 49 หลังจากขยายตัวร้อยละ 5.6 ต่อปีในไตรมาสที่ 3 โดยเป็นผลจากผลผลิตโรงงานในเดือน ธ.ค.49 ที่ขยายตัวถึงร้อยละ
5.1 ต่อปีดีกว่าที่คาดไว้ว่าจะขยายตัวเพียงร้อยละ 2.6 ต่อปี ส่งผลให้ผลผลิตโรงงานในไตรมาสสุดท้ายปี 49 ขยายตัวถึงร้อยละ 7.7 ต่อปี ดีกว่า
ประมาณการล่วงหน้าที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.3 ต่อปี และภาคบริการโดยเฉพาะอุตสาหกรรมการเงินซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 11 ของ
ผลผลิตรวมในประเทศก็มีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายปี 49 ขยายตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ภาคการก่อสร้างซึ่งอยู่ในภาวะซบเซามานานก็เริ่ม
ขยายตัวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 43 รัฐบาลสิงคโปร์กำลังก่อสร้างสถานคาสิโนขนาดใหญ่ 2 แห่งเพื่อหวังดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วภูมิภาค โดยใน
ปี 49 ที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวเดินทางมาสิงคโปร์สูงสุดเป็นประวัติการณ์ 9.7 ล้านคนและมีรายได้จากการท่องเที่ยวจำนวน 12.4 พันล้านเหรียญ
สิงคโปร์ ทั้งนี้ตามประมาณการเบื้องต้นคาดว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์จะขยายตัวร้อยละ 7.7 ต่อปีในปี 49 ที่ผ่านมาซึ่งนักเศรษฐศาสตร์หลายคนคาดว่า
อาจมีการปรับตัวเลขเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7.8 ต่อปีในภายหลัง (รอยเตอร์)
4. สิงคโปร์จะกำหนดราคาขายทรายเพื่อการก่อสร้างหลังจากที่อินโดนีเซียห้ามการส่งออกทรายเมื่อเดือนที่แล้ว รายงานจากสิงคโปร์
เมื่อวันที่ 12 ก.พ. 50 ทางการสิงคโปร์จะกำหนดราคาทรายในสต็อกเพื่อให้มีเสถียรภาพภายหลังจากอินโดนีเซียซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออกทราย
รายใหญ่ห้ามการส่งออกทรายเมื่อเดือนที่แล้ว ทั้งนี้นาย Mah Bow Tan รมว.การพัฒนาแห่งชาติกล่าวว่า สิงคโปร์ยังสามารถเลือกซื้อจากผู้ผลิต
ทรายรายอื่นได้แม้ว่าจะมีต้นทุนการขนส่งเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 1 — 3 ทั้งนี้อินโดนีเซียห้ามการส่งออกทรายไปยังหลายโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่
ในสิงคโปร์รวมทั้งการก่อสร้างคาสิโน 2 แห่งที่มีมูลค่าหลายพัน ล. ดอลลาร์ ทั้งนี้แหล่งข่าวจากบริษัทก่อสร้างกล่าวว่า การห้ามส่งออกทรายดังกล่าว
ทำให้ราคาทรายในสิงคโปร์เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าอยู่ที่ระดับ 60 ดอลลาร์ สิงคโปร์ (39.14 ดอลลาร์ สรอ.) ต่อเมตริกตัน นอกจากนั้นการห้ามการส่ง
ออกทรายของอินโดนีเซียไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ยังมีสาเหตุมาจากความวิตกเรื่องสภาพแวดล้อม และต้องการปกป้องชายแดนของตน
โดยในปี 46 อินโดนีเซียห้ามการส่งออกทรายไปยังสิงคโปร์เพราะกังวลกับการนำทรายไปถมทะเลเพื่อเป็นพื้นดินที่สามารถมีประโยชน์ใช้สอยได้
อย่างไรก็ตามคาดว่าการห้ามการส่งออกทรายของอินโดนีเซียดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการก่อสร้างไม่มากนัก ในขณะที่ทางการสิงคโปร์
ก็ยังมิได้เปิดเผยว่าจะกำหนดราคาทรายเป็นเท่าไร และมีระยะเวลานานเพียงใด ซึ่งนักวิเคราะห์คาดว่ามาตรการของทางการสิงคโปร์จะสามารถ
ป้องกันการเก็งกำไร และช่วยให้ธุรกิจก่อสร้างและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์สามารถวางแผนต้นทุนของโครงการได้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 13 ก.พ. 50 2 ก.พ. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 35.771 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 35.5661/35.8930 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.86609 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 697.46/12.77 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,050/11,150 11,150/11,250 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 54.1 55.65 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 25.59*/23.34** 25.59*/23.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 3 ก.พ. 50
** ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์เมื่อ 8 ก.พ. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--