ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ยอดสินเชื่อรวมของ 7 ธ.พาณิชย์ใหญ่ในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นเพียง 4.6 พันล้านบาท รายงานข่าวจากสมาคมธนาคารไทย
เปิดเผยว่า ยอดสินเชื่อรวมของ 7 ธนาคารขนาดใหญ่ที่มีส่วนแบ่งตลาดสินเชื่อประมาณร้อยละ 70 ในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้น 4,626 ล้านบาท
โดย ธ.กรุงเทพ เพิ่มขึ้น 1,518 ล้านบาท ธ.กรุงไทย เพิ่มขึ้น 16,250 ล้านบาท ธ.กสิกรไทย ลดลง 2,272 ล้านบาท ธ.กรุงศรีอยุธยา
ลดลง 7,870 ล้านบาท ธ.ทหารไทย ลดลง 3,204 ล้านบาท และ ธ.นครหลวงไทย ลดลง 128 ล้านบาท ในขณะที่เงินฝากขยายตัวสูงกว่า
เงินกู้มาก โดยเดือน พ.ค. ยอดเงินฝากรวมของ 7 ธนาคารใหญ่เพิ่มขึ้น 10,434 ล้านบาท โดย ธ.กรุงเทพ เพิ่มขึ้น 6,473 ล้านบาท
ธ.กรุงไทย เพิ่มขึ้น 21,443 ล้านบาท ธ.กสิกรไทย เพิ่มขึ้น 11,677 ล้านบาท ธ.ไทยพาณิชย์ ลดลง 8,359 ล้านบาท ธ.กรุงศรีอยุธยา
เพิ่มขึ้น 14,397 ล้านบาท ธ.ทหารไทย ลดลง 2,014 ล้านบาท และ ธ.นครหลวงไทย ลดลง 33,183 ล้านบาท ทั้งนี้ แนวโน้มสภาพคล่อง
ในตลาดเงินยังมีอยู่สูง เนื่องจากสินเชื่อยังขยายตัวต่ำกว่าเงินฝากมาก แต่การถือครองเงินสดของประชาชนจากความวิตกกังวลต่อประเด็น
ทางการเมืองจะทำให้สภาพคล่องระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อย (โพสต์ทูเดย์)
2. ธปท. รอคำสั่งศาลชี้ขาดกรณีซื้อขายที่ดินถนนรัชดาภิเษกของกองทุนฟื้นฟูฯ นายชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี ผอ.อาวุโส ฝ่ายกฎหมาย
และคดี ธปท. เปิดเผยว่า หากศาลตัดสินให้การซื้อขายที่ดินแถบถนนรัชดาภิเษก ระหว่าง คุณหญิงพจมาน ชินวัตร กับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนา
ระบบสถาบันการเงิน มีผลเป็นโมฆะหรือผิดกฎหมาย ทีมกฎหมาย ธปท. ในฐานะเป็นทนายให้แก่กองทุนฟื้นฟูฯ ก็ต้องหาข้อสรุปว่าที่ดินรวมทั้งเงิน
ที่ได้จากการซื้อขายที่ดินจะต้องทำอย่างไรต่อไป ต้องขึ้นอยู่กับคำตัดสิน ซึ่งต้องแยกเป็น 2 ประเด็น คือ หากตัดสินให้ยึดที่ดินเป็นของแผ่นดิน
กองทุนฟื้นฟูฯ ก็ไม่ต้องคืนเงินให้คุณหญิงพจมาน เพราะถือว่าการซื้อขายระหว่างคู่สัญญาได้จบสิ้นตั้งแต่มีการตกลงซื้อขายกันแล้ว หากตัดสินว่า
ต้องยกเลิกสัญญาซึ่งถือว่าสัญญาเป็นโมฆะก็เป็นเรื่องใหญ่ เพราะต้องคืนเงินให้แก่คุณหญิงพจมาน กองทุนฟื้นฟูฯ จะมีภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจาก
การซื้อขาย ทีมกฎหมาย ธปท. จะมาเป็นทีมทนายให้กองทุนฟื้นฟูฯ สำหรับการฟ้องร้องคุณหญิงพจมานเพื่อเรียกค่าเสียหาย ซึ่งประเด็นอยู่ที่ว่า
คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ต้องการตรวจสอบว่าคุณหญิงพจมาน และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทำผิดกฎหมาย
ตาม พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 100 หรือไม่เท่านั้น ส่วนกรณีที่กองทุนฟื้นฟูฯ
จะติดร่างแหทำผิดกฎหมายหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็นหลัก เพราะการซื้อขายถือว่าเสร็จสิ้นไปแล้ว (ไทยรัฐ, ผู้จัดการรายวัน)
3. กรมสรรพากรจะเสนอแก้กฎหมายให้คู่สมรสแยกเสียภาษีเงินได้เพื่อลดภาระภาษีแบบอัตราก้าวหน้า นายสาธิต รังคสิริ
รองอธิบดี ก.สรรพากร เปิดเผยว่า ก.สรรพากรจะเสนอแก้ไขกฎหมายที่สร้างภาระทางภาษีให้กับคู่สมรส และในกรณีที่คู่สมรสจดทะเบียนกัน
แล้วแต่ต้องการหย่าร้างเพื่อใช้เป็นวิธีหลีกเลี่ยงภาษีนั้น ในประมวลรัษฎากรซึ่งเป็นบทบัญญัติในการจัดเก็บภาษีของ ก.สรรพากรกำหนดว่า
“รายได้ของภรรยาให้ถือเป็นรายได้ของสามี” โดยสามีต้องนำรายได้ของภรรยามารวมคำนวณภาษี ยกเว้นรายได้ที่เกิดจากฐานเงินเดือน
สามารถขอแยกยื่นระหว่างสามีกับภรรยาได้ การกำหนดเช่นนี้ได้สร้างภาระให้กับคู่สมรส เนื่องจากระบบภาษีเงินได้ของไทยเป็นระบบภาษีก้าวหน้า
ในอัตราตั้งแต่ร้อยละ 5 — 37 เมื่อนำรายได้ของภรรยามารวมคำนวณภาษีกับสามีทำให้ฐานเงินได้ที่ใช้ในการคำนวณภาษีสูงขึ้น ทำให้มีภาระภาษี
ในอัตราก้าวหน้าสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งกฎหมายในปัจจุบันมาจากฐานความคิดในสมัยก่อนที่สามีมีหน้าที่หารายได้เลี้ยงครอบครัว เมื่อยุคสมัย
เปลี่ยนแปลงไป ทั้งสามีและภรรยาต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ทั้งคู่ต่างมีเงินได้เป็นของตนเอง วิธีคิดในเรื่องนี้ควรจะต้องเปลี่ยนแปลง
เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยควรจะต้องให้ต่างคนสามารถยื่นเสียภาษีเงินได้ของตนเองได้ ไม่ใช่ว่าพอแต่งงานกัน
แล้วภาระภาษีของการเป็นครอบครัวสูงขึ้น เพราะต้องนำรายได้มารวมกันเพื่อยื่นเสียภาษี ซึ่งการแก้ไขประมวลรัษฎากรในเรื่องนี้เพียงแค่แ
ก้ไขคำว่า “รายได้ของภรรยาไม่ถือว่าเป็นรายได้ของสามี” เท่านั้น ก็สามารถปลดล็อกเรื่องนี้ได้ โดยการแก้ไขประเด็นนี้อยู่ในกระบวน
การแก้ไขกฎหมายของ ก.สรรพากรอยู่แล้ว (ไทยรัฐ)
4. การค้าชายแดนไทย-จีนตอนใต้ในไตรมาสแรกปีนี้มีมูลค่ารวม 968.3 ล้านบาท รายงานข่าวจาก ธปท. เปิดเผยว่า
ภาวะการค้าชายแดนไทย-จีนตอนใต้ ในไตรมาสแรกปีนี้มีมูลค่ารวม 968.3 ล้านบาท ลดลง 168.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.8 เมื่อเทียบ
กับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยไทยเกินดุลการค้า 658.9 ล้านบาท ลดลง 148.6 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.4 ขณะที่การส่งออกมีมูลค่า
813.6 ล้านบาท ลดลง 158.7 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.3 เทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้งส่งผลให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำโขง
ลดระดับลงมากทำให้การขนส่งทางเรือทำได้ไม่เต็มที่ (เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สรอ.ขาดดุลการค้าลดลงร้อยละ 6.2 ในเดือน เม.ย.50 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 8 มิ.ย.50 ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า
ดุลการค้าของ สรอ.ในเดือน เม.ย.50 ขาดดุลเป็นจำนวน 58.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 6.2 จากเดือนก่อนหน้า และต่ำกว่า
การคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ซึ่งคาดว่า สรอ.จะขาดดุลการค้าจำนวนเฉลี่ยประมาณ 60-66.9 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือน เม.ย.
สาเหตุจากการที่ดอลลาร์ สรอ.อ่อนค่า ทำให้มูลค่าการนำเข้าลดลงและมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น โดยการนำเข้าลดลงถึงร้อยละ 1.9 แม้ว่า
มูลค่าการนำเข้าน้ำมันจะเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 57.28 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลก็ตาม ขณะที่การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เป็นจำนวน
129.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.จากประมาณการจำนวน 129.2 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ การที่ สรอ.ขาดดุลการค้า
ลดลงในเดือน เม.ย. เป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจ สรอ.อาจขยายตัวถึงร้อยละ 3 ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี หลังจากที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.6
ในช่วงไตรมาสแรก (รอยเตอร์)
2. เยอรมนีเกินดุลการค้าในเดือน เม.ย.50 เพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์จำนวน 15.8 พันล้านยูโร รายงานจากเบอร์ลิน
เมื่อ 8 มิ.ย.50 สำนักงานสถิติเยอรมนี เปิดเผยว่า ในเดือน เม.ย.50 เยอรมนีเกินดุลการค้ามากกว่าที่คาดการณ์ไว้ถึงจำนวน 15.8 พันล้านยูโร
เทียบกับเดือน มี.ค.ที่เกินดุลจำนวน 15.6 พัน ล.ยูโร (ตัวเลขภายหลังการทบทวนแล้ว) ขณะที่ผลสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดการณ์
ว่าจะเกินดุล 15.4 พันล้านยูโร ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่เยอรมนีเกินดุลอย่างมากในเดือน เม.ย.เนื่องจากมีการส่งออกมากกว่าการนำเข้า โดย
ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ที่จำนวน 79.8 พันล้านยูโร (107.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) ขณะที่นำเข้าเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.8 ที่จำนวน
64.0 พันล้านยูโร ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 และนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยสัญญาณ
บางอย่างที่สวนทางกัน คือ ผลสำรวจดัชนี Purchasing Managers Index (PMI) ในเดือน พ.ค.50 ของเยอรมนีที่รายงานเมื่อวันศุกร์
ที่ผ่านมาบ่งชี้ว่า ภาคอุตสาหกรรมการผลิตของเยอรมนีชะลอตัวลงและนับเป็นการชะลอตัวสูงสุดในรอบ 15 เดือน นอกจากนี้ อัตราการว่างงาน
ในเดือน พ.ค.ก็เพิ่มขึ้นอีกด้วย หลังจากที่ลดลงต่อเนื่องติดต่อกันถึง 13 เดือน ส่วนกิจกรรมภาคการก่อสร้างก็ลดลงในเดือน พ.ค.เช่นเดียวกัน
นับว่าอยู่ในระดับต่ำเป็นเดือนที่ 2 (รอยเตอร์)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือน เม.ย.50 ลดลงในอัตราสูงสุดในรอบเกือบ 7 ปี รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ
8 มิ.ย.50 ผลผลิตอุตสาหกรรมของเยอรมนีลดลงร้อยละ 2.3 ในเดือน เม.ย.50 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน
และลดลงในอัตราสูงสุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.43 ผิดจากที่ผลสำรวจรอยเตอร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ต่อเดือน และเมื่อดูในรายละเอียด
จะเห็นว่าผลผลิตโรงงานลดลงร้อยละ 2.4 ผลผลิตภาคพลังงานลดลงร้อยละ 1.3 ในขณะที่ผลผลิตภาคการก่อสร้างลดลงร้อยละ 2.9 ต่อเดือน
สอดคล้องกับรายงานก่อนหน้านี้ที่ชี้ว่าคำสั่งซื้อสินค้าโรงงานในเดือนเดียวกันลดลงมากกว่าที่คาดไว้ แต่อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่
ยังคงคาดว่าเศรษฐกิจเยอรมนีในปี 50 จะขยายตัวในอัตราที่ใกล้เคียงกับปี 49 ซึ่งขยายตัวถึงร้อยละ 2.8 ต่อปี สูงสุดในรอบ 6 ปี และ
เห็นว่าการที่ตัวเลขผลผลิตในเดือน เม.ย.50 ลดลงเป็นเรื่องปกติหลังจากผลผลิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลายเดือนติดต่อกัน สอดคล้องกับผลสำรวจ
เมื่อเร็ว ๆ นี้ที่ชี้ว่าภาคธุรกิจและนักลงทุนยังมองแนวโน้มเศรษฐกิจในทางบวก (รอยเตอร์)
4. ธ. กลางเกาหลีใต้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.50 เป็นไปตามคาด รายงานจากโซล เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 50
ในการประชุมนโยบายการเงินเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ธ.กลางเกาหลีใต้มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.50 สอดคล้องกับผลการ
สำรวจของรอยเตอร์ที่ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้น ซึ่งผวก. ธ.กลางเกาหลีใต้มีความเห็นว่าในช่วงครึ่งหลังของปีเศรษฐกิจจะขยายตัวในอัตรา
เร่งขึ้นจากการส่งออกที่แข็งแกร่งและการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ และไม่วิตกเรื่องภาวะเงินเฟ้อ แต่ยังคงต้องเฝ้าจับตามองอย่าง
ใกล้ชิดในเรื่องปริมาณเงินที่ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราสูง รวมทั้งการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงินแก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาด
ย่อมที่กำลังขยายตัว นอกจากนั้นยังได้ให้ความใส่ใจในสภาพคล่องส่วนเกินในสินทรัพย์ถาวรในระยะสั้นที่ขยายตัวสูงมาก ซึ่งนาย Oh Suk-Tae
นักเศรษฐศาสตร์จาก Citibank คาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ภายในไตรมาสหน้า เนื่องจาก
ตัวเลขเศรษฐกิจในขณะนี้บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจขยายตัวอย่างแข็งแกร่งประกอบกับผู้ดำเนินนโยบายการเงินมีความวิตกเกี่ยวกับสภาพคล่องส่วนเกิน
ในระบบการเงิน อย่างไรก็ตามนักเศรษฐศาสตร์บางคนเห็นว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะยังไม่ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปอีกระยะหนึ่งเนื่องจาก
การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังคงไม่น่าวางใจประกอบกับภาวะเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยนาย Park Sang-hyun
หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก CJ Investment & Securities เห็นว่าจะต้องใช้เวลาเพื่อให้แน่ใจว่าอุปสงค์ในประเทศฟื้นตัวแล้ว ขณะที่
การเปลี่ยนแปลงนโยบายอย่างรวดเร็วอาจส่งผลกระทบต่อการบริโภคและการลงทุนของธุรกิจได้(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 11 มิ.ย. 50 8 มิ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.606 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.3858/34.7194 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.67156 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 752.00/15.45 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,650/10,750 10,800/10,900 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 63.35 65.57 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 29.99*/25.34** 29.99*/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 2 มิ.ย. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ยอดสินเชื่อรวมของ 7 ธ.พาณิชย์ใหญ่ในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้นเพียง 4.6 พันล้านบาท รายงานข่าวจากสมาคมธนาคารไทย
เปิดเผยว่า ยอดสินเชื่อรวมของ 7 ธนาคารขนาดใหญ่ที่มีส่วนแบ่งตลาดสินเชื่อประมาณร้อยละ 70 ในเดือน พ.ค.50 เพิ่มขึ้น 4,626 ล้านบาท
โดย ธ.กรุงเทพ เพิ่มขึ้น 1,518 ล้านบาท ธ.กรุงไทย เพิ่มขึ้น 16,250 ล้านบาท ธ.กสิกรไทย ลดลง 2,272 ล้านบาท ธ.กรุงศรีอยุธยา
ลดลง 7,870 ล้านบาท ธ.ทหารไทย ลดลง 3,204 ล้านบาท และ ธ.นครหลวงไทย ลดลง 128 ล้านบาท ในขณะที่เงินฝากขยายตัวสูงกว่า
เงินกู้มาก โดยเดือน พ.ค. ยอดเงินฝากรวมของ 7 ธนาคารใหญ่เพิ่มขึ้น 10,434 ล้านบาท โดย ธ.กรุงเทพ เพิ่มขึ้น 6,473 ล้านบาท
ธ.กรุงไทย เพิ่มขึ้น 21,443 ล้านบาท ธ.กสิกรไทย เพิ่มขึ้น 11,677 ล้านบาท ธ.ไทยพาณิชย์ ลดลง 8,359 ล้านบาท ธ.กรุงศรีอยุธยา
เพิ่มขึ้น 14,397 ล้านบาท ธ.ทหารไทย ลดลง 2,014 ล้านบาท และ ธ.นครหลวงไทย ลดลง 33,183 ล้านบาท ทั้งนี้ แนวโน้มสภาพคล่อง
ในตลาดเงินยังมีอยู่สูง เนื่องจากสินเชื่อยังขยายตัวต่ำกว่าเงินฝากมาก แต่การถือครองเงินสดของประชาชนจากความวิตกกังวลต่อประเด็น
ทางการเมืองจะทำให้สภาพคล่องระยะสั้นตึงตัวขึ้นเล็กน้อย (โพสต์ทูเดย์)
2. ธปท. รอคำสั่งศาลชี้ขาดกรณีซื้อขายที่ดินถนนรัชดาภิเษกของกองทุนฟื้นฟูฯ นายชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี ผอ.อาวุโส ฝ่ายกฎหมาย
และคดี ธปท. เปิดเผยว่า หากศาลตัดสินให้การซื้อขายที่ดินแถบถนนรัชดาภิเษก ระหว่าง คุณหญิงพจมาน ชินวัตร กับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนา
ระบบสถาบันการเงิน มีผลเป็นโมฆะหรือผิดกฎหมาย ทีมกฎหมาย ธปท. ในฐานะเป็นทนายให้แก่กองทุนฟื้นฟูฯ ก็ต้องหาข้อสรุปว่าที่ดินรวมทั้งเงิน
ที่ได้จากการซื้อขายที่ดินจะต้องทำอย่างไรต่อไป ต้องขึ้นอยู่กับคำตัดสิน ซึ่งต้องแยกเป็น 2 ประเด็น คือ หากตัดสินให้ยึดที่ดินเป็นของแผ่นดิน
กองทุนฟื้นฟูฯ ก็ไม่ต้องคืนเงินให้คุณหญิงพจมาน เพราะถือว่าการซื้อขายระหว่างคู่สัญญาได้จบสิ้นตั้งแต่มีการตกลงซื้อขายกันแล้ว หากตัดสินว่า
ต้องยกเลิกสัญญาซึ่งถือว่าสัญญาเป็นโมฆะก็เป็นเรื่องใหญ่ เพราะต้องคืนเงินให้แก่คุณหญิงพจมาน กองทุนฟื้นฟูฯ จะมีภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจาก
การซื้อขาย ทีมกฎหมาย ธปท. จะมาเป็นทีมทนายให้กองทุนฟื้นฟูฯ สำหรับการฟ้องร้องคุณหญิงพจมานเพื่อเรียกค่าเสียหาย ซึ่งประเด็นอยู่ที่ว่า
คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ต้องการตรวจสอบว่าคุณหญิงพจมาน และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทำผิดกฎหมาย
ตาม พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 100 หรือไม่เท่านั้น ส่วนกรณีที่กองทุนฟื้นฟูฯ
จะติดร่างแหทำผิดกฎหมายหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็นหลัก เพราะการซื้อขายถือว่าเสร็จสิ้นไปแล้ว (ไทยรัฐ, ผู้จัดการรายวัน)
3. กรมสรรพากรจะเสนอแก้กฎหมายให้คู่สมรสแยกเสียภาษีเงินได้เพื่อลดภาระภาษีแบบอัตราก้าวหน้า นายสาธิต รังคสิริ
รองอธิบดี ก.สรรพากร เปิดเผยว่า ก.สรรพากรจะเสนอแก้ไขกฎหมายที่สร้างภาระทางภาษีให้กับคู่สมรส และในกรณีที่คู่สมรสจดทะเบียนกัน
แล้วแต่ต้องการหย่าร้างเพื่อใช้เป็นวิธีหลีกเลี่ยงภาษีนั้น ในประมวลรัษฎากรซึ่งเป็นบทบัญญัติในการจัดเก็บภาษีของ ก.สรรพากรกำหนดว่า
“รายได้ของภรรยาให้ถือเป็นรายได้ของสามี” โดยสามีต้องนำรายได้ของภรรยามารวมคำนวณภาษี ยกเว้นรายได้ที่เกิดจากฐานเงินเดือน
สามารถขอแยกยื่นระหว่างสามีกับภรรยาได้ การกำหนดเช่นนี้ได้สร้างภาระให้กับคู่สมรส เนื่องจากระบบภาษีเงินได้ของไทยเป็นระบบภาษีก้าวหน้า
ในอัตราตั้งแต่ร้อยละ 5 — 37 เมื่อนำรายได้ของภรรยามารวมคำนวณภาษีกับสามีทำให้ฐานเงินได้ที่ใช้ในการคำนวณภาษีสูงขึ้น ทำให้มีภาระภาษี
ในอัตราก้าวหน้าสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งกฎหมายในปัจจุบันมาจากฐานความคิดในสมัยก่อนที่สามีมีหน้าที่หารายได้เลี้ยงครอบครัว เมื่อยุคสมัย
เปลี่ยนแปลงไป ทั้งสามีและภรรยาต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ทั้งคู่ต่างมีเงินได้เป็นของตนเอง วิธีคิดในเรื่องนี้ควรจะต้องเปลี่ยนแปลง
เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยควรจะต้องให้ต่างคนสามารถยื่นเสียภาษีเงินได้ของตนเองได้ ไม่ใช่ว่าพอแต่งงานกัน
แล้วภาระภาษีของการเป็นครอบครัวสูงขึ้น เพราะต้องนำรายได้มารวมกันเพื่อยื่นเสียภาษี ซึ่งการแก้ไขประมวลรัษฎากรในเรื่องนี้เพียงแค่แ
ก้ไขคำว่า “รายได้ของภรรยาไม่ถือว่าเป็นรายได้ของสามี” เท่านั้น ก็สามารถปลดล็อกเรื่องนี้ได้ โดยการแก้ไขประเด็นนี้อยู่ในกระบวน
การแก้ไขกฎหมายของ ก.สรรพากรอยู่แล้ว (ไทยรัฐ)
4. การค้าชายแดนไทย-จีนตอนใต้ในไตรมาสแรกปีนี้มีมูลค่ารวม 968.3 ล้านบาท รายงานข่าวจาก ธปท. เปิดเผยว่า
ภาวะการค้าชายแดนไทย-จีนตอนใต้ ในไตรมาสแรกปีนี้มีมูลค่ารวม 968.3 ล้านบาท ลดลง 168.8 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.8 เมื่อเทียบ
กับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยไทยเกินดุลการค้า 658.9 ล้านบาท ลดลง 148.6 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.4 ขณะที่การส่งออกมีมูลค่า
813.6 ล้านบาท ลดลง 158.7 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.3 เทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้งส่งผลให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำโขง
ลดระดับลงมากทำให้การขนส่งทางเรือทำได้ไม่เต็มที่ (เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. สรอ.ขาดดุลการค้าลดลงร้อยละ 6.2 ในเดือน เม.ย.50 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 8 มิ.ย.50 ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า
ดุลการค้าของ สรอ.ในเดือน เม.ย.50 ขาดดุลเป็นจำนวน 58.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 6.2 จากเดือนก่อนหน้า และต่ำกว่า
การคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ซึ่งคาดว่า สรอ.จะขาดดุลการค้าจำนวนเฉลี่ยประมาณ 60-66.9 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือน เม.ย.
สาเหตุจากการที่ดอลลาร์ สรอ.อ่อนค่า ทำให้มูลค่าการนำเข้าลดลงและมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น โดยการนำเข้าลดลงถึงร้อยละ 1.9 แม้ว่า
มูลค่าการนำเข้าน้ำมันจะเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 57.28 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรลก็ตาม ขณะที่การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เป็นจำนวน
129.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.จากประมาณการจำนวน 129.2 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ การที่ สรอ.ขาดดุลการค้า
ลดลงในเดือน เม.ย. เป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจ สรอ.อาจขยายตัวถึงร้อยละ 3 ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี หลังจากที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.6
ในช่วงไตรมาสแรก (รอยเตอร์)
2. เยอรมนีเกินดุลการค้าในเดือน เม.ย.50 เพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์จำนวน 15.8 พันล้านยูโร รายงานจากเบอร์ลิน
เมื่อ 8 มิ.ย.50 สำนักงานสถิติเยอรมนี เปิดเผยว่า ในเดือน เม.ย.50 เยอรมนีเกินดุลการค้ามากกว่าที่คาดการณ์ไว้ถึงจำนวน 15.8 พันล้านยูโร
เทียบกับเดือน มี.ค.ที่เกินดุลจำนวน 15.6 พัน ล.ยูโร (ตัวเลขภายหลังการทบทวนแล้ว) ขณะที่ผลสำรวจนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดการณ์
ว่าจะเกินดุล 15.4 พันล้านยูโร ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่เยอรมนีเกินดุลอย่างมากในเดือน เม.ย.เนื่องจากมีการส่งออกมากกว่าการนำเข้า โดย
ส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ที่จำนวน 79.8 พันล้านยูโร (107.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) ขณะที่นำเข้าเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.8 ที่จำนวน
64.0 พันล้านยูโร ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 และนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยสัญญาณ
บางอย่างที่สวนทางกัน คือ ผลสำรวจดัชนี Purchasing Managers Index (PMI) ในเดือน พ.ค.50 ของเยอรมนีที่รายงานเมื่อวันศุกร์
ที่ผ่านมาบ่งชี้ว่า ภาคอุตสาหกรรมการผลิตของเยอรมนีชะลอตัวลงและนับเป็นการชะลอตัวสูงสุดในรอบ 15 เดือน นอกจากนี้ อัตราการว่างงาน
ในเดือน พ.ค.ก็เพิ่มขึ้นอีกด้วย หลังจากที่ลดลงต่อเนื่องติดต่อกันถึง 13 เดือน ส่วนกิจกรรมภาคการก่อสร้างก็ลดลงในเดือน พ.ค.เช่นเดียวกัน
นับว่าอยู่ในระดับต่ำเป็นเดือนที่ 2 (รอยเตอร์)
3. ผลผลิตอุตสาหกรรมของเยอรมนีในเดือน เม.ย.50 ลดลงในอัตราสูงสุดในรอบเกือบ 7 ปี รายงานจากเบอร์ลิน เมื่อ
8 มิ.ย.50 ผลผลิตอุตสาหกรรมของเยอรมนีลดลงร้อยละ 2.3 ในเดือน เม.ย.50 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน
และลดลงในอัตราสูงสุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.43 ผิดจากที่ผลสำรวจรอยเตอร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ต่อเดือน และเมื่อดูในรายละเอียด
จะเห็นว่าผลผลิตโรงงานลดลงร้อยละ 2.4 ผลผลิตภาคพลังงานลดลงร้อยละ 1.3 ในขณะที่ผลผลิตภาคการก่อสร้างลดลงร้อยละ 2.9 ต่อเดือน
สอดคล้องกับรายงานก่อนหน้านี้ที่ชี้ว่าคำสั่งซื้อสินค้าโรงงานในเดือนเดียวกันลดลงมากกว่าที่คาดไว้ แต่อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่
ยังคงคาดว่าเศรษฐกิจเยอรมนีในปี 50 จะขยายตัวในอัตราที่ใกล้เคียงกับปี 49 ซึ่งขยายตัวถึงร้อยละ 2.8 ต่อปี สูงสุดในรอบ 6 ปี และ
เห็นว่าการที่ตัวเลขผลผลิตในเดือน เม.ย.50 ลดลงเป็นเรื่องปกติหลังจากผลผลิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลายเดือนติดต่อกัน สอดคล้องกับผลสำรวจ
เมื่อเร็ว ๆ นี้ที่ชี้ว่าภาคธุรกิจและนักลงทุนยังมองแนวโน้มเศรษฐกิจในทางบวก (รอยเตอร์)
4. ธ. กลางเกาหลีใต้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.50 เป็นไปตามคาด รายงานจากโซล เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 50
ในการประชุมนโยบายการเงินเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ธ.กลางเกาหลีใต้มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.50 สอดคล้องกับผลการ
สำรวจของรอยเตอร์ที่ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้น ซึ่งผวก. ธ.กลางเกาหลีใต้มีความเห็นว่าในช่วงครึ่งหลังของปีเศรษฐกิจจะขยายตัวในอัตรา
เร่งขึ้นจากการส่งออกที่แข็งแกร่งและการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ และไม่วิตกเรื่องภาวะเงินเฟ้อ แต่ยังคงต้องเฝ้าจับตามองอย่าง
ใกล้ชิดในเรื่องปริมาณเงินที่ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราสูง รวมทั้งการอนุมัติสินเชื่อของสถาบันการเงินแก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาด
ย่อมที่กำลังขยายตัว นอกจากนั้นยังได้ให้ความใส่ใจในสภาพคล่องส่วนเกินในสินทรัพย์ถาวรในระยะสั้นที่ขยายตัวสูงมาก ซึ่งนาย Oh Suk-Tae
นักเศรษฐศาสตร์จาก Citibank คาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 ภายในไตรมาสหน้า เนื่องจาก
ตัวเลขเศรษฐกิจในขณะนี้บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจขยายตัวอย่างแข็งแกร่งประกอบกับผู้ดำเนินนโยบายการเงินมีความวิตกเกี่ยวกับสภาพคล่องส่วนเกิน
ในระบบการเงิน อย่างไรก็ตามนักเศรษฐศาสตร์บางคนเห็นว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะยังไม่ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปอีกระยะหนึ่งเนื่องจาก
การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจยังคงไม่น่าวางใจประกอบกับภาวะเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยนาย Park Sang-hyun
หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก CJ Investment & Securities เห็นว่าจะต้องใช้เวลาเพื่อให้แน่ใจว่าอุปสงค์ในประเทศฟื้นตัวแล้ว ขณะที่
การเปลี่ยนแปลงนโยบายอย่างรวดเร็วอาจส่งผลกระทบต่อการบริโภคและการลงทุนของธุรกิจได้(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 11 มิ.ย. 50 8 มิ.ย. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.606 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.3858/34.7194 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.67156 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 752.00/15.45 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,650/10,750 10,800/10,900 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 63.35 65.57 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 29.99*/25.34** 29.99*/25.34** 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดเมื่อ 2 มิ.ย. 50 , ** ปรับเพิ่มเมื่อ 26 เม.ย. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--