มาสที่ 4 ปี 2549 เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์เหล็กที่สำคัญทุกตัวมีทิศทางในการปรับตัวของราคาที่เพิ่มขึ้นโดยราคาเหล็กแท่งแบน เพิ่ม
ขึ้นจาก 301 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 427 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 41.85 เหล็กแผ่นรีดร้อนเพิ่มขึ้นจาก 391 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น
503 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.90 เหล็กเส้นเพิ่มขึ้นจาก 366 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 467 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ
27.72 เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ตเพิ่มขึ้นจาก 330 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 413 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.19 และเหล็กแผ่นรีดเย็น
เพิ่มขึ้นจาก 488 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 578 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 18.61 โดยเป็นผลมาจากความต้องการใช้ของประเทศ
ต่างๆ ของโลก เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา กลุ่มตะวันออกกลาง ประกอบราคาวัตถุดิบ เช่น แร่เหล็กที่เพิ่มสูงขึ้น จึงเป็นผลทำให้ราคาเหล็กใน
ตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น
จากรายงานของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้านานาชาติ (IISI) พบว่าผลผลิตเหล็กดิบโลกในปี 2549 มีจำนวน 1,239 ล้านตัน ขยายตัว
ขึ้นร้อยละ 9 นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าการเติบโตของผลผลิตส่วนใหญ่เป็นผลมาจากประเทศผู้ผลิตในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งในปี 2549 มีปริมาณการผลิต
665 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 54 ของปริมาณการผลิตโลก สำหรับ ประเทศจีนมีปริมาณการผลิตเหล็กดิบถึง 412.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ
18.5 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ขณะที่ผลผลิตเหล็กดิบของประเทศบราซิลกลับลดลงเนื่องจากการหยุดพักเตา Blast Furnace
3.แนวโน้ม
แนวโน้มสถานการณ์เหล็กโดยรวมในประเทศใน ปี 2550 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดการณ์ว่าขยายตัวขึ้นเล็กน้อย ทั้งนี้เป็น
ผลมาจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มลดลงและทิศทางของอัตราเงินเฟ้อและราคาน้ำมันซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตอย่างหนึ่ง โดยในส่วนของการผลิต
และการใช้ในประเทศของเหล็กทรงยาวมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของภาคเอกชนเนื่องจากผู้ประกอบการได้เริ่มหันมาพัฒนา
โครงการอาคารชุดซึ่งตั้งอยู่ตามเส้นทางรถไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก ประกอบกับมีโครงการลงทุนขนาดโหญ่ของภาครัฐหลายโครงการ ได้แก่ โครงการ
รถไฟฟ้า 5 สาย ซึ่งมีการคาดว่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน จะเริ่มดำเนินการได้เป็นโครงการแรก ซึ่งทำให้ความต้องการใช้
เหล็กทรงยาวเพิ่มมากขึ้นสำหรับโครงการสำหรับในส่วนของเหล็ก สำหรับสถานการณ์เหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าการผลิตจะขยายตัวขึ้นตามอุตสาหกรรม
ต่อเนื่องในประเทศ เช่น ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า นอกจากนี้ผู้ผลิตได้ขยายฐานการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น จึงมีผลทำให้การผลิต
เพิ่มมากขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ขึ้นจาก 301 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 427 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 41.85 เหล็กแผ่นรีดร้อนเพิ่มขึ้นจาก 391 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น
503 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.90 เหล็กเส้นเพิ่มขึ้นจาก 366 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 467 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ
27.72 เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ตเพิ่มขึ้นจาก 330 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 413 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.19 และเหล็กแผ่นรีดเย็น
เพิ่มขึ้นจาก 488 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 578 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 18.61 โดยเป็นผลมาจากความต้องการใช้ของประเทศ
ต่างๆ ของโลก เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา กลุ่มตะวันออกกลาง ประกอบราคาวัตถุดิบ เช่น แร่เหล็กที่เพิ่มสูงขึ้น จึงเป็นผลทำให้ราคาเหล็กใน
ตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น
จากรายงานของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้านานาชาติ (IISI) พบว่าผลผลิตเหล็กดิบโลกในปี 2549 มีจำนวน 1,239 ล้านตัน ขยายตัว
ขึ้นร้อยละ 9 นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าการเติบโตของผลผลิตส่วนใหญ่เป็นผลมาจากประเทศผู้ผลิตในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งในปี 2549 มีปริมาณการผลิต
665 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 54 ของปริมาณการผลิตโลก สำหรับ ประเทศจีนมีปริมาณการผลิตเหล็กดิบถึง 412.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้น ร้อยละ
18.5 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ขณะที่ผลผลิตเหล็กดิบของประเทศบราซิลกลับลดลงเนื่องจากการหยุดพักเตา Blast Furnace
3.แนวโน้ม
แนวโน้มสถานการณ์เหล็กโดยรวมในประเทศใน ปี 2550 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คาดการณ์ว่าขยายตัวขึ้นเล็กน้อย ทั้งนี้เป็น
ผลมาจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มลดลงและทิศทางของอัตราเงินเฟ้อและราคาน้ำมันซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตอย่างหนึ่ง โดยในส่วนของการผลิต
และการใช้ในประเทศของเหล็กทรงยาวมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของภาคเอกชนเนื่องจากผู้ประกอบการได้เริ่มหันมาพัฒนา
โครงการอาคารชุดซึ่งตั้งอยู่ตามเส้นทางรถไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก ประกอบกับมีโครงการลงทุนขนาดโหญ่ของภาครัฐหลายโครงการ ได้แก่ โครงการ
รถไฟฟ้า 5 สาย ซึ่งมีการคาดว่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน จะเริ่มดำเนินการได้เป็นโครงการแรก ซึ่งทำให้ความต้องการใช้
เหล็กทรงยาวเพิ่มมากขึ้นสำหรับโครงการสำหรับในส่วนของเหล็ก สำหรับสถานการณ์เหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าการผลิตจะขยายตัวขึ้นตามอุตสาหกรรม
ต่อเนื่องในประเทศ เช่น ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า นอกจากนี้ผู้ผลิตได้ขยายฐานการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น จึงมีผลทำให้การผลิต
เพิ่มมากขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-