แม้ว่าเวียดนามสมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) ตั้งแต่ปี 2538 แต่จนถึงปัจจุบันกระบวนการพิจารณารับเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกของ WTO ยังไม่สิ้นสุด เนื่องจากความไม่พร้อมของเวียดนามในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะในส่วนของการเจรจาทวิภาคี (Bilateral Negotiations for the Accession) ที่เวียดนามต้องปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของประเทศสมาชิก WTO เพื่อขอเสียงสนับสนุนให้รับเวียดนามเข้าเป็นสมาชิก (ประเทศสมาชิก WTO แต่ละประเทศมีสิทธิขอเปิดการเจรจาทวิภาคีกับประเทศผู้สมัครเพื่อทำความตกลงเกี่ยวกับสิทธิ และข้อผูกพันเรื่องการเปิดตลาด รวมถึงการลดอัตราภาษีศุลกากรที่ประเทศนั้นจะให้แก่ประเทศสมาชิก WTO ทั้งนี้ ประเทศสมาชิก WTO ที่เหลือจะได้รับประโยชน์ด้วย จากสิทธิและข้อผูกพันที่เกิดจากการเจรจาสองฝ่ายตามหลักการ non-discrimination)
ปัจจุบันเวียดนามอยู่ระหว่างการเตรียมเข้าเป็นสมาชิก WTO โดยการปรับปรุงกฎระเบียบต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับของ WTO รวมทั้งเร่งเจรจาทวิภาคีกับประเทศสมาชิก WTO ที่แสดงความจำนงขอเปิดการเจรจาทวิภาคีด้วยรวม 28 ประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เป็นต้น ส่วนประเทศสมาชิก WTO ที่เหลืออีก 120 ประเทศ ยอมรับการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของเวียดนามแล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้กระบวนการเข้าเป็นสมาชิก WTO เป็นรูปธรรมเร็วขึ้น เวียดนามจำเป็นต้องบรรลุข้อเรียกร้องของประเทศสมาชิก WTO ให้เร็วที่สุดอย่างไรก็ตาม อุปสรรคสำคัญประการหนึ่งต่อการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของเวียดนาม คือ การเจรจาทวิภาคีระหว่างเวียดนามและสหรัฐฯ ซึ่งยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ และอาจส่งผลให้การเข้าเป็นสมาชิก WTO ของเวียดนามที่ตั้งเป้าหมายไว้ในช่วงปลายปี 2548 ต้องเลื่อนออกไป
แม้ว่าการเข้าเป็นสมาชิก WTO มีต้นทุนและอุปสรรคต่าง ๆ มากมาย แต่เวียดนามมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุข้อกำหนดในการเข้าเป็นสมาชิก WTO เนื่องจากเวียดนามตระหนักถึงประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการเข้าเป็นสมาชิก WTO ดังนี้
* ประโยชน์จากหลักการทั่วไปของ WTO เช่น การประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง (Most-Favoured Nation Treatment : MFN) ซึ่งกำหนดให้ประเทศสมาชิก WTO ต้องให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่ ประเทศสมาชิกอื่นอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ หลักการประติบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment) ซึ่งหมายถึงการที่ประเทศสมาชิก WTO ต้องปฏิบัติต่อสินค้านำเข้าเช่นเดียวกับสินค้าที่ผลิตในประเทศ และหลักการเรื่องความโปร่งใส รวมทั้งประโยชน์จากพันธกรณีที่ประเทศสมาชิกผูกพันไว้ในความตกลงย่อยต่าง ๆ อาทิ การลดภาษีศุลกากร การลดการอุดหนุน การลดอุปสรรคทางการค้า การเปิดเสรีสินค้าเกษตรและสิ่งทอ และการใช้มาตรการสุขอนามัย เป็นต้น
* ดึงดูดการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment) การที่เวียดนามต้องปรับปรุงและแก้ไขกฎหมาย รวมทั้งกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการค้าและการลงทุน ให้มีความโปร่งใสและชัดเจนยิ่งขึ้นตามกติกาของ WTO จะช่วยดึงดูดการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศให้เข้ามาในเวียดนามมากขึ้น อันจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจเวียดนามจากการถ่ายโอนเทคโนโลยีที่ช่วยพัฒนาภาคการผลิตของเวียดนามให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งเพิ่มการจ้างงานในเวียดนาม
* ขยายตลาดส่งออก การลดอัตราภาษีนำเข้า และยกเลิกโควตานำเข้าสินค้าของประเทศสมาชิก WTO โดยเฉพาะประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญ อาทิ สหรัฐฯ และ สหภาพยุโรป ส่งผลให้เวียดนามสามารถขยายการส่งออกไปยังประเทศเหล่านั้นได้เพิ่มขึ้น
* อาศัย WTO เป็นเวทีในการแก้ไขปัญหาและลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ การเป็น สมาชิก WTO จะช่วยให้เวียดนามสามารถใช้กลไกของ WTO ในการดำเนินกระบวนการฟ้องร้องและการระงับ ข้อพิพาทระหว่างประเทศอย่างมีความเท่าเทียมและเป็นธรรม เนื่องจากการระงับข้อพิพาทของ WTO มิได้คำนึงถึงขนาดของประเทศ หรืออำนาจทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ
อย่างไรก็ตาม แม้การเข้าเป็นสมาชิก WTO จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของเวียดนามดังที่กล่าวมาแต่ขณะเดียวกันก็อาจส่งผลกระทบต่อเวียดนามด้วยเช่นกัน อาทิ
* ผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรม การเปิดเสรีภายใต้เงื่อนไขของ WTO จะทำให้นักลงทุนต่างชาติที่มีความพร้อมของเงินทุน และเทคโนโลยี เข้ามาแข่งขันกับเกษตรกรในประเทศซึ่งส่วนใหญ่มีฐานะยากจน และขาดแคลนเทคโนโลยีการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของเวียดนามได้รับผลกระทบโดยตรง
* ผลกระทบต่อภาคบริการ เงื่อนไขสำคัญที่ประเทศสมาชิก WTO เรียกร้องจากการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของเวียดนาม คือ การเปิดเสรีภาคบริการ ซึ่งรัฐบาลเวียดนามจะต้องเปิดเสรีภาคบริการในสาขาต่าง ๆ ทั้งสิ้น 92 สาขา อาทิ สาขาการเงิน โทรคมนาคม และบริการด้านกฎหมาย ซึ่งทั้งหมดนี้การเปิดเสรีสาขาการเงินเป็นประเด็นที่มี ความอ่อนไหวมากที่สุดสำหรับเวียดนาม เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับระบบการเงินของประเทศเป็นสำคัญ
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธันวาคม 2548--
-พห-
ปัจจุบันเวียดนามอยู่ระหว่างการเตรียมเข้าเป็นสมาชิก WTO โดยการปรับปรุงกฎระเบียบต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับของ WTO รวมทั้งเร่งเจรจาทวิภาคีกับประเทศสมาชิก WTO ที่แสดงความจำนงขอเปิดการเจรจาทวิภาคีด้วยรวม 28 ประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เป็นต้น ส่วนประเทศสมาชิก WTO ที่เหลืออีก 120 ประเทศ ยอมรับการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของเวียดนามแล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้กระบวนการเข้าเป็นสมาชิก WTO เป็นรูปธรรมเร็วขึ้น เวียดนามจำเป็นต้องบรรลุข้อเรียกร้องของประเทศสมาชิก WTO ให้เร็วที่สุดอย่างไรก็ตาม อุปสรรคสำคัญประการหนึ่งต่อการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของเวียดนาม คือ การเจรจาทวิภาคีระหว่างเวียดนามและสหรัฐฯ ซึ่งยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ และอาจส่งผลให้การเข้าเป็นสมาชิก WTO ของเวียดนามที่ตั้งเป้าหมายไว้ในช่วงปลายปี 2548 ต้องเลื่อนออกไป
แม้ว่าการเข้าเป็นสมาชิก WTO มีต้นทุนและอุปสรรคต่าง ๆ มากมาย แต่เวียดนามมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุข้อกำหนดในการเข้าเป็นสมาชิก WTO เนื่องจากเวียดนามตระหนักถึงประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการเข้าเป็นสมาชิก WTO ดังนี้
* ประโยชน์จากหลักการทั่วไปของ WTO เช่น การประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง (Most-Favoured Nation Treatment : MFN) ซึ่งกำหนดให้ประเทศสมาชิก WTO ต้องให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่ ประเทศสมาชิกอื่นอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ หลักการประติบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment) ซึ่งหมายถึงการที่ประเทศสมาชิก WTO ต้องปฏิบัติต่อสินค้านำเข้าเช่นเดียวกับสินค้าที่ผลิตในประเทศ และหลักการเรื่องความโปร่งใส รวมทั้งประโยชน์จากพันธกรณีที่ประเทศสมาชิกผูกพันไว้ในความตกลงย่อยต่าง ๆ อาทิ การลดภาษีศุลกากร การลดการอุดหนุน การลดอุปสรรคทางการค้า การเปิดเสรีสินค้าเกษตรและสิ่งทอ และการใช้มาตรการสุขอนามัย เป็นต้น
* ดึงดูดการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment) การที่เวียดนามต้องปรับปรุงและแก้ไขกฎหมาย รวมทั้งกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการค้าและการลงทุน ให้มีความโปร่งใสและชัดเจนยิ่งขึ้นตามกติกาของ WTO จะช่วยดึงดูดการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศให้เข้ามาในเวียดนามมากขึ้น อันจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจเวียดนามจากการถ่ายโอนเทคโนโลยีที่ช่วยพัฒนาภาคการผลิตของเวียดนามให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งเพิ่มการจ้างงานในเวียดนาม
* ขยายตลาดส่งออก การลดอัตราภาษีนำเข้า และยกเลิกโควตานำเข้าสินค้าของประเทศสมาชิก WTO โดยเฉพาะประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญ อาทิ สหรัฐฯ และ สหภาพยุโรป ส่งผลให้เวียดนามสามารถขยายการส่งออกไปยังประเทศเหล่านั้นได้เพิ่มขึ้น
* อาศัย WTO เป็นเวทีในการแก้ไขปัญหาและลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ การเป็น สมาชิก WTO จะช่วยให้เวียดนามสามารถใช้กลไกของ WTO ในการดำเนินกระบวนการฟ้องร้องและการระงับ ข้อพิพาทระหว่างประเทศอย่างมีความเท่าเทียมและเป็นธรรม เนื่องจากการระงับข้อพิพาทของ WTO มิได้คำนึงถึงขนาดของประเทศ หรืออำนาจทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ
อย่างไรก็ตาม แม้การเข้าเป็นสมาชิก WTO จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของเวียดนามดังที่กล่าวมาแต่ขณะเดียวกันก็อาจส่งผลกระทบต่อเวียดนามด้วยเช่นกัน อาทิ
* ผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรม การเปิดเสรีภายใต้เงื่อนไขของ WTO จะทำให้นักลงทุนต่างชาติที่มีความพร้อมของเงินทุน และเทคโนโลยี เข้ามาแข่งขันกับเกษตรกรในประเทศซึ่งส่วนใหญ่มีฐานะยากจน และขาดแคลนเทคโนโลยีการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของเวียดนามได้รับผลกระทบโดยตรง
* ผลกระทบต่อภาคบริการ เงื่อนไขสำคัญที่ประเทศสมาชิก WTO เรียกร้องจากการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของเวียดนาม คือ การเปิดเสรีภาคบริการ ซึ่งรัฐบาลเวียดนามจะต้องเปิดเสรีภาคบริการในสาขาต่าง ๆ ทั้งสิ้น 92 สาขา อาทิ สาขาการเงิน โทรคมนาคม และบริการด้านกฎหมาย ซึ่งทั้งหมดนี้การเปิดเสรีสาขาการเงินเป็นประเด็นที่มี ความอ่อนไหวมากที่สุดสำหรับเวียดนาม เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับระบบการเงินของประเทศเป็นสำคัญ
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธันวาคม 2548--
-พห-