1. การผลิต
1.1 ปริมาณการผลิต
การผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีปริมาณการผลิตรวม 19.07 ล้านตัน
แบ่งออกเป็นการผลิตปูนเม็ด 9.77 ล้านตัน และการผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 9.30 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปริมาณการผลิตรวม ลดลงร้อยละ 4.60 และ 9.54 ตามลำดับ และในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 มีการผลิตปูนซีเมนต์จำนวน 39.06 ล้านตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ
ปีก่อน ลดลงร้อยละ 8.14 เนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังคงชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ตามความต้องการของตลาดที่ลดลง เพราะการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐไม่มีความคืบหน้า โดยเป็นผลจากอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัวจากความไม่แน่นอนจากภาวะเศรษฐกิจ
2. การตลาด
2.1 การจำหน่ายในประเทศ
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีปริมาณการจำหน่ายรวม 6.76 ล้านตัน แบ่งออกเป็นการจำหน่ายปูนเม็ด 0.02 ล้านตัน และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 6.74 ล้านตัน โดยปริมาณการจำหน่ายรวมในประเทศเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 14.10 และ 12.89 ตามลำดับ สำหรับในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 มีปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ 14.64 ล้านตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 9.74 เนื่องจากการชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะการลงทุนในการก่อสร้างประเภทที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นผลมาจากกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงจากภาระค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่การลงทุนในสาธารณูปโภคของภาครัฐก็ชะลอตัวลงด้วย
2.2 การส่งออก
การส่งออกปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีปริมาณรวม 4.79 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 5,203.88 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณและมูลค่าการส่งออกรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.42 และ 14.22 ตามลำดับ โดยเป็นการส่งออกปูนเม็ด จำนวน 3.39 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 3,318.91 ล้านบาท และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 1.40 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 1,890.97 ล้านบาท และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการส่งออกและมูลค่าการส่งออกรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 30.52 และ 4.57 ตามลำดับ
สำหรับการส่งออกปูนซีเมนต์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 มีปริมาณการส่งออกรวม 8.64 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 9,765.98 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 18.84 เพราะถึงแม้ว่าเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าหลัก คือ สหรัฐอเมริกาจะชะลอตัวลง แต่ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ของประเทศในแถบอาเซียน ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา ลาว และพม่ายังคงขยายตัวได้ดี เนื่องจากกิจกรรมการก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้นเพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 1.69 เนื่องจากผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าปูนซีเมนต์ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีจำนวนรวม 1,369.32 ตัน คิดเป็นมูลค่า 21.06 ล้านบาท โดยเป็นการนำเข้าปูนเม็ด จำนวน 125.38 ตัน คิดเป็นมูลค่า 2.83 ล้านบาท ปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 1,243.94 ตัน คิดเป็นมูลค่า 18.23 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณและมูลค่าการนำเข้ารวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.63 และ 5.67 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณและมูลค่าการนำเข้ารวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.63 และ 18.31 ตามลำดับ
สำหรับการนำเข้าปูนซีเมนต์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 มีปริมาณการนำเข้ารวม 2,386.45 ตัน คิดเป็นมูลค่า 40.99 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปริมาณการนำเข้ารวมลดลง ร้อยละ 19.40 แต่มูลค่าการนำเข้ารวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.87 ทั้งนี้การนำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นอะลูมินัสซีเมนต์ ซึ่งไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ และบางส่วนเป็นการนำเข้าซีเมนต์ปอร์ตแลนด์คุณภาพสูง
เพื่อใช้ในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ระบุคุณสมบัติของวัสดุที่นำมาก่อสร้าง ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือไต้หวัน เกาหลีใต้ โครเอเชีย และจีน
5. สรุป
การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศลดลง เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังคงชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ตามความต้องการของตลาดที่ลดลง เพราะการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐไม่มีความคืบหน้า โดยเป็นผลจากอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัวจากความไม่แน่นอนจากภาวะเศรษฐกิจ
สำหรับแนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในไตรมาสที่ 3 ปี 2550
มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงอีก เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังไม่มีความแน่นอน รวมถึงสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่มีเสถียรภาพจะกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนขยายธุรกิจต่างๆ ของภาคเอกชน แต่คาดว่าหากรัฐธรรมนูญผ่านการโหวตและการเลือกตั้งเกิดได้เร็ว สถานการณ์น่าจะดีขึ้นในช่วงกลางปี 2551
สำหรับตลาดต่างประเทศ ปริมาณและมูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการของตลาดในแถบอาเซียนขยายตัวได้ดีตามกิจกรรมการก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้นเพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ซึ่งสามารถชดเชยความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ที่ลดลงของสหรัฐอเมริกาได้ สำหรับในครึ่งแรกของปี 2550 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นแต่มูลค่าการส่งออกลดลง เนื่องจากผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี โดยตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เวียดนาม บังคลาเทศ กัมพูชา และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
สำหรับการส่งออกในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการวางแผนขยายการส่งออกเพิ่มมากขึ้นเพื่อทดแทนตลาดภายในประเทศที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักในแถบอาเซียนและตลาดใหม่ คือ ประเทศแถบตะวันออกกลาง แอฟริกา และ ยุโรปขยายตัวดีขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
1.1 ปริมาณการผลิต
การผลิตปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีปริมาณการผลิตรวม 19.07 ล้านตัน
แบ่งออกเป็นการผลิตปูนเม็ด 9.77 ล้านตัน และการผลิตซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 9.30 ล้านตัน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปริมาณการผลิตรวม ลดลงร้อยละ 4.60 และ 9.54 ตามลำดับ และในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 มีการผลิตปูนซีเมนต์จำนวน 39.06 ล้านตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ
ปีก่อน ลดลงร้อยละ 8.14 เนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังคงชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ตามความต้องการของตลาดที่ลดลง เพราะการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐไม่มีความคืบหน้า โดยเป็นผลจากอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัวจากความไม่แน่นอนจากภาวะเศรษฐกิจ
2. การตลาด
2.1 การจำหน่ายในประเทศ
การจำหน่ายปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีปริมาณการจำหน่ายรวม 6.76 ล้านตัน แบ่งออกเป็นการจำหน่ายปูนเม็ด 0.02 ล้านตัน และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) 6.74 ล้านตัน โดยปริมาณการจำหน่ายรวมในประเทศเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 14.10 และ 12.89 ตามลำดับ สำหรับในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 มีปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ 14.64 ล้านตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 9.74 เนื่องจากการชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะการลงทุนในการก่อสร้างประเภทที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นผลมาจากกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงจากภาระค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่การลงทุนในสาธารณูปโภคของภาครัฐก็ชะลอตัวลงด้วย
2.2 การส่งออก
การส่งออกปูนซีเมนต์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีปริมาณรวม 4.79 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 5,203.88 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณและมูลค่าการส่งออกรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.42 และ 14.22 ตามลำดับ โดยเป็นการส่งออกปูนเม็ด จำนวน 3.39 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 3,318.91 ล้านบาท และปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 1.40 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 1,890.97 ล้านบาท และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการส่งออกและมูลค่าการส่งออกรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 30.52 และ 4.57 ตามลำดับ
สำหรับการส่งออกปูนซีเมนต์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 มีปริมาณการส่งออกรวม 8.64 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 9,765.98 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 18.84 เพราะถึงแม้ว่าเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าหลัก คือ สหรัฐอเมริกาจะชะลอตัวลง แต่ความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ของประเทศในแถบอาเซียน ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา ลาว และพม่ายังคงขยายตัวได้ดี เนื่องจากกิจกรรมการก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้นเพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 1.69 เนื่องจากผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าปูนซีเมนต์ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 มีจำนวนรวม 1,369.32 ตัน คิดเป็นมูลค่า 21.06 ล้านบาท โดยเป็นการนำเข้าปูนเม็ด จำนวน 125.38 ตัน คิดเป็นมูลค่า 2.83 ล้านบาท ปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) จำนวน 1,243.94 ตัน คิดเป็นมูลค่า 18.23 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ปริมาณและมูลค่าการนำเข้ารวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.63 และ 5.67 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณและมูลค่าการนำเข้ารวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.63 และ 18.31 ตามลำดับ
สำหรับการนำเข้าปูนซีเมนต์ในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 มีปริมาณการนำเข้ารวม 2,386.45 ตัน คิดเป็นมูลค่า 40.99 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปริมาณการนำเข้ารวมลดลง ร้อยละ 19.40 แต่มูลค่าการนำเข้ารวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.87 ทั้งนี้การนำเข้าส่วนใหญ่จะเป็นอะลูมินัสซีเมนต์ ซึ่งไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ และบางส่วนเป็นการนำเข้าซีเมนต์ปอร์ตแลนด์คุณภาพสูง
เพื่อใช้ในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ระบุคุณสมบัติของวัสดุที่นำมาก่อสร้าง ตลาดนำเข้าที่สำคัญ คือไต้หวัน เกาหลีใต้ โครเอเชีย และจีน
5. สรุป
การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ไตรมาสที่ 2 ปี 2550 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศลดลง เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังคงชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ตามความต้องการของตลาดที่ลดลง เพราะการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐไม่มีความคืบหน้า โดยเป็นผลจากอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัวจากความไม่แน่นอนจากภาวะเศรษฐกิจ
สำหรับแนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในไตรมาสที่ 3 ปี 2550
มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงอีก เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังไม่มีความแน่นอน รวมถึงสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่มีเสถียรภาพจะกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนขยายธุรกิจต่างๆ ของภาคเอกชน แต่คาดว่าหากรัฐธรรมนูญผ่านการโหวตและการเลือกตั้งเกิดได้เร็ว สถานการณ์น่าจะดีขึ้นในช่วงกลางปี 2551
สำหรับตลาดต่างประเทศ ปริมาณและมูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการของตลาดในแถบอาเซียนขยายตัวได้ดีตามกิจกรรมการก่อสร้างที่เพิ่มสูงขึ้นเพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ซึ่งสามารถชดเชยความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ที่ลดลงของสหรัฐอเมริกาได้ สำหรับในครึ่งแรกของปี 2550 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นแต่มูลค่าการส่งออกลดลง เนื่องจากผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี โดยตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เวียดนาม บังคลาเทศ กัมพูชา และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
สำหรับการส่งออกในไตรมาสที่ 3 ปี 2550 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการวางแผนขยายการส่งออกเพิ่มมากขึ้นเพื่อทดแทนตลาดภายในประเทศที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักในแถบอาเซียนและตลาดใหม่ คือ ประเทศแถบตะวันออกกลาง แอฟริกา และ ยุโรปขยายตัวดีขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-