นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากสหรัฐอเมริกามีผู้ป่วยด้วยโรค Celiac disease อยู่ประมาณ 2 ล้านคน ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับภูมิแพ้ชนิด Inherited autoimmune disease โดยอาการของโรคนี้จะถูกกระตุ้นโดยการบริโภคอาหารที่มีโปรตีนกลูเตนที่ได้จากเมล็ดพืช ดังนั้น เพื่อคุ้มครองสุขภาพของผู้บริโภคจากสาเหตุดังกล่าว สหรัฐฯ จึงประกาศใช้กฎหมาย Food Allergen Labeling and Consumer Protection Act 2004 โดยให้เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 เป็นต้นไป
กฎหมายนี้ครอบคลุมสินค้าสำคัญ 8 ชนิด ที่เป็นสาเหตุก่อโรคภูมิแพ้ (food allergen) ได้แก่ นม (milk) ไข่ (egg) สัตว์น้ำ (fish) สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีเปลือก (crustacean shellfish) เช่น กุ้ง ปู กั้ง เมล็ดถั่ว (tree nuts) เช่น almond pea can หรือ walnut ถั่วลิสง (peanuts) แป้งสาลี (wheat) ถั่วเหลือง (soybean)
นอกจากนี้ อาหารที่ผ่านการแปรรูปและมีส่วนผสมของ food allergen ดังกล่าว จะต้องติดฉลากว่า “ contains ” อยู่ที่หน้าชนิดของ food allergen และให้ใช้ชื่อสามัญ (common or usual name) ของสินค้านั้นๆ ที่เป็นที่รู้จักทั่วไปของผู้บริโภค โดยให้พิมพ์ต่อเนื่องกัน และชื่อ food allergen จะต้องพิมพ์ในขนาดตัวอักษรที่ไม่เล็กกว่าชื่อของสินค้านั้น ๆ สำหรับการติดฉลากอาหารที่มีชื่อตรงกับชนิดของ food allergen ให้ระบุชนิดของอาหารโดยละเอียด ในกรณีของถั่วประเภท tree nut ให้ระบุ specific types กรณีสัตว์น้ำและสัตว์น้ำชนิดมีเปลือก ให้ระบุ species และกรณีอาหารที่ใส่สารปรุงแต่งที่มีส่วนประกอบทำมาจาก food allergen ก็ต้องระบุเช่นกัน ทั้งนี้ ยกเว้น น้ำมันแปรรูปขั้นสูง (highly refined oil) ที่ทำมาจากอาหารทั้ง 8 ชนิด ไม่ต้องติดฉลาก
อธิบดียังกล่าวเพิ่มเติมว่าสำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับระเบียบและวิธีปฏิบัติการติดฉลากของอาหารก่อภูมิแพ้อื่นๆ นอกเหนือจากสินค้า 8 ชนิดดังกล่าว สหรัฐฯ กำหนดให้หน่วยงาน Health and Human Service ของ USFDA ดำเนินการจัดเตรียมเพื่อประกาศร่างระเบียบการติดฉลากอาหาร “ Gluten Free ” ก่อนปี 2551 (ภายใน 2 ปี) และต้องประกาศระเบียบสุดท้ายก่อนปี 2553 (ภายใน 4 ปี)
อนึ่ง ในปี 2547 ไทยส่งออกสินค้าอาหารไปทั่วโลกมูลค่า 507,013 ล้านบาท และสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกอันดับสองของไทย โดยในปี 2547 ส่งออกสินค้าอาหารไปสหรัฐฯ มูลค่า 83,191.6 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกไปตลาดนี้ประมาณร้อยละ 16 ของมูลค่าการส่งออกอาหารไปทั่วโลก มูลค่าการ ส่งออกเพิ่มขึ้นจากปี 2546 ร้อยละ 1.5
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-
กฎหมายนี้ครอบคลุมสินค้าสำคัญ 8 ชนิด ที่เป็นสาเหตุก่อโรคภูมิแพ้ (food allergen) ได้แก่ นม (milk) ไข่ (egg) สัตว์น้ำ (fish) สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีเปลือก (crustacean shellfish) เช่น กุ้ง ปู กั้ง เมล็ดถั่ว (tree nuts) เช่น almond pea can หรือ walnut ถั่วลิสง (peanuts) แป้งสาลี (wheat) ถั่วเหลือง (soybean)
นอกจากนี้ อาหารที่ผ่านการแปรรูปและมีส่วนผสมของ food allergen ดังกล่าว จะต้องติดฉลากว่า “ contains ” อยู่ที่หน้าชนิดของ food allergen และให้ใช้ชื่อสามัญ (common or usual name) ของสินค้านั้นๆ ที่เป็นที่รู้จักทั่วไปของผู้บริโภค โดยให้พิมพ์ต่อเนื่องกัน และชื่อ food allergen จะต้องพิมพ์ในขนาดตัวอักษรที่ไม่เล็กกว่าชื่อของสินค้านั้น ๆ สำหรับการติดฉลากอาหารที่มีชื่อตรงกับชนิดของ food allergen ให้ระบุชนิดของอาหารโดยละเอียด ในกรณีของถั่วประเภท tree nut ให้ระบุ specific types กรณีสัตว์น้ำและสัตว์น้ำชนิดมีเปลือก ให้ระบุ species และกรณีอาหารที่ใส่สารปรุงแต่งที่มีส่วนประกอบทำมาจาก food allergen ก็ต้องระบุเช่นกัน ทั้งนี้ ยกเว้น น้ำมันแปรรูปขั้นสูง (highly refined oil) ที่ทำมาจากอาหารทั้ง 8 ชนิด ไม่ต้องติดฉลาก
อธิบดียังกล่าวเพิ่มเติมว่าสำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับระเบียบและวิธีปฏิบัติการติดฉลากของอาหารก่อภูมิแพ้อื่นๆ นอกเหนือจากสินค้า 8 ชนิดดังกล่าว สหรัฐฯ กำหนดให้หน่วยงาน Health and Human Service ของ USFDA ดำเนินการจัดเตรียมเพื่อประกาศร่างระเบียบการติดฉลากอาหาร “ Gluten Free ” ก่อนปี 2551 (ภายใน 2 ปี) และต้องประกาศระเบียบสุดท้ายก่อนปี 2553 (ภายใน 4 ปี)
อนึ่ง ในปี 2547 ไทยส่งออกสินค้าอาหารไปทั่วโลกมูลค่า 507,013 ล้านบาท และสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกอันดับสองของไทย โดยในปี 2547 ส่งออกสินค้าอาหารไปสหรัฐฯ มูลค่า 83,191.6 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกไปตลาดนี้ประมาณร้อยละ 16 ของมูลค่าการส่งออกอาหารไปทั่วโลก มูลค่าการ ส่งออกเพิ่มขึ้นจากปี 2546 ร้อยละ 1.5
--กรมการค้าระหว่างประเทศ--
-สส-