สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 เตือนเกษตรกรระวังพืชผลทางการเกษตรบางส่วนอาจได้รับความเสียหาย เหตุเพราะปริมาณน้ำไม่เพียงพอ คาดปีนี้มีแนวโน้มเกิดภัยแล้งเร็วกว่าทุกปี ย้ำเกษตรกรให้ใช้น้ำเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น วอนเกษตรกรพิจารณาเพาะปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยในท้องที่ที่คาดว่ามีน้ำพอเพียงตลอดช่วงฤดูปลูก เพื่อป้องกันปัญหาการขาดแคลนน้ำ
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข.5) จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ จะเป็นเดือนที่เปลี่ยนจากฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูร้อน แต่ในตอนเช้ายังคงมีอากาศเย็นสบาย โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกฉียงเหนือ เนื่องจากจะมีความกดอากาศต่ำจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนเป็นระยะ ๆ ทำให้อุณหภูมิโดยทั่วไปลดต่ำลงในเวลากลางคืน ส่วนในตอนกลางวันอากาศจะร้อนอบอ้าวทั่วไป
ทางด้านการเพาะปลูกการเกษตรในช่วงเวลานี้ อาจจะได้รับความเสียหายเป็นบางส่วน เนื่องจากปริมาณน้ำ มีไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยจะมีผลกระทบกับข้าวนาปรังและพืชไร่บางชนิดที่ต้องการปริมาณน้ำในช่วงของการออกดอกและแตกกอ เพราะพืชมีความต้องการใช้น้ำในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น แต่ในภาวะปัจจุบันปริมาณน้ำมีจำนวนลดน้อยลง และมีแนวโน้มว่าปีนี้จะเกิดภัยแล้งเร็วขึ้นกว่าทุกปี
นายอุดม กล่าวเพิ่มเติมว่า ลักษณะการเกิดภัยแล้งโดยทั่ว ๆ ไปมักจะเกิดขึ้น 2 ช่วง ช่วงแรกคือ ฤดูหนาวระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ต่อเนื่องไปจนถึงฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม อีกช่วงหนึ่งคือ ฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ในช่วงของกลางฤดูฝนตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม จะเกิดความแห้งแล้ง เนื่องจากมีฝนตกทิ้งช่วงเกิดขึ้นประมาณ 1 — 2 สัปดาห์ หรืออาจถึง 1 เดือน ปริมาณฝนในช่วงนี้จะลดลง ซึ่งมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการเพาะปลูกพืช ทำให้พืชขาดน้ำ เหี่ยวเฉาและตายไปในที่สุด
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 จึงขอแจ้งเตือนเกษตรกรให้เตรียมรับมือกับภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ ทั้งทางด้านการอุปโภคบริโภค รวมทั้งด้านการเกษตรด้วย โดยขอให้เกษตรกรพิจารณาเพาะปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย ในท้องที่ที่คาดว่ามีน้ำพอเพียงตลอดช่วงฤดูปลูก เพื่อให้ปริมาณน้ำมีเพียงพอต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข.5) จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ จะเป็นเดือนที่เปลี่ยนจากฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูร้อน แต่ในตอนเช้ายังคงมีอากาศเย็นสบาย โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกฉียงเหนือ เนื่องจากจะมีความกดอากาศต่ำจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนเป็นระยะ ๆ ทำให้อุณหภูมิโดยทั่วไปลดต่ำลงในเวลากลางคืน ส่วนในตอนกลางวันอากาศจะร้อนอบอ้าวทั่วไป
ทางด้านการเพาะปลูกการเกษตรในช่วงเวลานี้ อาจจะได้รับความเสียหายเป็นบางส่วน เนื่องจากปริมาณน้ำ มีไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยจะมีผลกระทบกับข้าวนาปรังและพืชไร่บางชนิดที่ต้องการปริมาณน้ำในช่วงของการออกดอกและแตกกอ เพราะพืชมีความต้องการใช้น้ำในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น แต่ในภาวะปัจจุบันปริมาณน้ำมีจำนวนลดน้อยลง และมีแนวโน้มว่าปีนี้จะเกิดภัยแล้งเร็วขึ้นกว่าทุกปี
นายอุดม กล่าวเพิ่มเติมว่า ลักษณะการเกิดภัยแล้งโดยทั่ว ๆ ไปมักจะเกิดขึ้น 2 ช่วง ช่วงแรกคือ ฤดูหนาวระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ต่อเนื่องไปจนถึงฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม อีกช่วงหนึ่งคือ ฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ในช่วงของกลางฤดูฝนตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม จะเกิดความแห้งแล้ง เนื่องจากมีฝนตกทิ้งช่วงเกิดขึ้นประมาณ 1 — 2 สัปดาห์ หรืออาจถึง 1 เดือน ปริมาณฝนในช่วงนี้จะลดลง ซึ่งมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการเพาะปลูกพืช ทำให้พืชขาดน้ำ เหี่ยวเฉาและตายไปในที่สุด
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 จึงขอแจ้งเตือนเกษตรกรให้เตรียมรับมือกับภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ ทั้งทางด้านการอุปโภคบริโภค รวมทั้งด้านการเกษตรด้วย โดยขอให้เกษตรกรพิจารณาเพาะปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย ในท้องที่ที่คาดว่ามีน้ำพอเพียงตลอดช่วงฤดูปลูก เพื่อให้ปริมาณน้ำมีเพียงพอต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-