สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่4 (ตุลาคม—ธันวาคม) พ.ศ.2549(อุตสาหกรรมอาหาร)

ข่าวเศรษฐกิจ Friday March 16, 2007 11:57 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

          1. การผลิต
ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมน้ำตาล) ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีการผลิตลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 1.0 มา
จากการชะลอตัวลงของการผลิตอาหารทะเล เนื่องจากวัตถุดิบลดลงตาม
ฤดูกาล ประกอบกับเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น แต่เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 และภาพรวมตลอดทั้งปี
2549 ปริมาณการผลิตขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.1 แม้ว่าจะเกิดปัญหาต่างๆ ที่ส่งผลต่อการผลิต การบริโภค และการส่งออก เช่น ปัญหาการเพิ่มขึ้น
ของค่าขนส่งอันเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของระดับราคาน้ำมันในตลาดโลก เงินบาทที่แข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตามจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและ
ตลาดภายในประเทศที่ยังคงมีอัตราดอกเบี้ยทรงตัวในระดับต่ำ ส่งผลต่อการบริโภคของครัวเรือนและการลงทุนใน อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น โดยในภาพรวม
ของอุตสาหกรรมอาหารมีการใช้กำลังการผลิตไม่แตกต่างจากปี 2548 ในระดับร้อยละ 56 สำหรับในแต่ละกลุ่มสินค้ามีภาวะการผลิต และปัจจัยที่เกี่ยว
ข้อง ดังนี้
- กลุ่มปศุสัตว์ ไตรมาสที่ 4 มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนเล็กน้อย แต่ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ 3.2
เนื่องจากการแข็งค่าของเงินบาท และการระบาดของโรคไข้หวัดนกในประเทศไทย โดยตลอดทั้งปี 2549 มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 จากปีก่อน
และมีการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 61.4 ในปี 2548 เป็นร้อยละ 64.4 เนื่องจากมีการระบาดของไข้หวัดนกในทวีปยุโรปและอาฟริกา ส่ง
ผลต่ออุตสาหกรรมการผลิตไก่สดแช่เย็นแช่แข็งของไทยมีการผลิตเพิ่มขึ้น
- กลุ่มผักผลไม้แปรรูป ไตรมาสที่ 4 มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนเล็กน้อย แต่ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2548 ร้อยละ
6.2 เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกบางส่วนได้รับความเสียหายจากอุทกภัย โดยตลอดทั้งปี 2549 มีการผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 22.0 เป็นผลจาก
สินค้าสำคัญ คือ สับปะรดกระป๋องมีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 จากระดับราคาในปีก่อนจูงใจ แต่หากพิจารณาการใช้กำลังการผลิตกลับลดลงจากร้อยละ
43.8 ในปี 2548 เป็นร้อยละ 39.3 เนื่องจากผลไม้บางชนิดสามารถส่งออกในรูปผลไม้สดได้เพิ่มขึ้น เช่น ลำไย และลิ้นจี่ ทำให้ผลผลิตเข้าโรงงาน
ลดลง
- กลุ่มน้ำมันพืช ไตรมาสที่ 4 มีปริมาณการผลิตลดลงจากไตรมาสก่อนเล็กน้อย แต่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 36.7 และ
ตลอดทั้งปี 2549 มีการผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 20.7 เนื่องจากวัตถุดิบมีปริมาณเพิ่มขึ้นเป็นผลจากการขยายพื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมันตามนโยบาย
รัฐบาลในด้านพลังงานทดแทน ทำให้มีการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นด้วยจากร้อยละ 41.1 ในปี 2548 เป็นร้อยละ 43.7
- กลุ่มประมง ไตรมาสที่ 4 มีปริมาณการผลิตลดลงจากไตรมาสก่อนและช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.5 และ 4.2 เนื่องจากวัตถุดิบ
ในช่วงปลายปีมีปริมาณลดลง และแหล่งผลิตประสบปัญหาอุทกภัย โดยตลอดทั้งปี 2549 มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 เป็นผลจากการได้รับคืนสิทธิ์
GSP ในสินค้าประมงของสหภาพยุโรป และการที่อุตสาหกรรมประมงของสหรัฐฯ ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ ทำให้นำเข้าสินค้าประมงเพิ่มขึ้น แม้
ว่าจะประกาศเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้ากุ้ง แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะส่งผ่านในด้านราคาที่เพิ่มขึ้นและส่งต่อไปยังผู้บริโภคมากกว่าผู้ส่งออก
สำหรับการใช้กำลังการผลิตของกลุ่มในช่วงปี 2548 และปี 2549 ไม่แตกต่างกันมากนักอยู่ที่ระดับร้อยละ 54-55
- น้ำตาลทราย ไตรมาสที่ 4 เป็นช่วงเริ่มฤดูการผลิตโรงงานเปิดหีบในช่วงเดือนธันวาคม ทำให้การผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
และช่วงเดียวกันของปีก่อนเป็นอย่างมาก เนื่องจากปริมาณอ้อยเข้าโรงงานเพิ่มขึ้นกว่าในปี 2548 ที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ทำให้ปริมาณอ้อยเข้าโรงงาน
ลดลง ขณะที่ตลอดทั้งปี 2549 มีการผลิตเพิ่มขึ้นจากปี 2548 ร้อยละ17.9 และมีการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 12.2 ในปี 2548 เป็นร้อย
ละ 14.3
- ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ไตรมาสที่ 4 มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและปีก่อนร้อยละ 6.8 และ 21.9 เนื่องจากความต้อง
การเพื่อแปรรูปเป็นแป้งและเอทานอลเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาเพิ่มขึ้น จูงใจให้เกษตรกรเพิ่มพื้นที่ปลูก อย่างไรก็ตามช่วงไตรมาสที่ 4 เป็นฤดูเก็บเกี่ยวมัน
สำปะหลัง อาจทำให้ระดับราคาปรับตัวลงจากปริมาณวัตถุดิบที่มีจำนวนมาก โดยตลอดทั้งปี 2549 มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.2 และมีการใช้กำลังการ
ผลิตเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 47.6 ในปี 2548 เป็นร้อยละ 60.5
นอกจากนี้การผลิตในสินค้าหมวดอื่นๆ ในช่วงปี 2549 เทียบกับปี 2548 ได้แก่ หมวดผลิตภัณฑ์นม มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0 และ
หมวดอาหารสัตว์ มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จากการระบาดของไข้หวัดนกในประเทศเริ่มคลี่คลาย การเลี้ยงไก่และปศุสัตว์อื่นๆ ขยายตัวตามการ
บริโภคและการส่งออกที่เพิ่มขึ้น
2. การตลาด
- การจำหน่ายในประเทศ
ภาวะการจำหน่ายโดยรวมของอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมน้ำตาล) ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2549 ไม่แตกต่างจากไตรมาสก่อน และ
เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.5 ในขณะที่ตลอดทั้งปี 2549 ปริมาณการจำหน่ายในประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 เมื่อเทียบกับปี
ก่อน เนื่องจากเกิดปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่ ทำให้มีการสำรองอาหารและการจำหน่ายเพิ่มขึ้นทั้งในลักษณะการบริจาคและการจำหน่ายในราคาประหยัด
ตามสถานที่ต่างๆ ประกอบกับแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ย และมีเทศกาลสำคัญๆ ส่งผลทำให้ประชาชนจับจ่ายใช้สอยและบริโภคเพิ่มขึ้น แม้ว่าระดับ
ราคาน้ำมันจะเพิ่มสูงขึ้น และส่งผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนการผลิตและการขนส่ง รวมทั้งผลักดันให้ภาวะเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นก็ตาม โดยสินค้าอาหารที่มี
ปริมาณการจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 14.6 อาหารสัตว์ ร้อยละ 10.6 น้ำมันพืช ร้อยละ 9.9 ผลิตภัณฑ์ประมง ร้อย
ละ 6.1 บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ร้อยละ 5.2 และผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ ร้อยละ 4.4 สำหรับสินค้าอาหารที่มีปริมาณการจำหน่ายลดลง ได้แก่ ผักผลไม้แปร
รูป ร้อยละ 4.1 จากการเข้ามาแข่งขันของสินค้าต่างประเทศ และน้ำตาล ร้อยละ 0.8 จากระดับราคาที่ปรับเพิ่มขึ้น
- การนำเข้า
การนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและอุปโภคบริโภคอุตสาหกรรมอาหารในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนถึงร้อย
ละ 65 เป็นผลจากการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 ต่อเนื่องไตรมาสที่ 4 โดยค่าเงินบาทได้ปรับแข็งค่าขึ้นกว่าร้อยละ 10 ทำให้มี
ผลต่อการนำเข้าทั้งสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป ได้แก่ สัตว์น้ำสดแช่เย็นแช่แข็ง พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 83.5 เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อน และสินค้าอุปโภคบริโภค ได้แก่ นมและผลิตภัณฑ์ อาหารปรุงแต่ง ผลิตภัณฑ์แป้ง และเนื้อสัตว์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.3 แต่หากเปรียบเทียบช่วงเดียว
กันของปีก่อนลดลงเล็กน้อย โดยตลอดทั้งปี 2549 มีมูลค่าการนำเข้าทั้งสิ้น 191,425.5 ล้านบาท (5,173.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ลดลงจากปีก่อน
เพียงเล็กน้อย จากการชะลอตัวลงของการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลือง และเนื้อสัตว์เพื่อการบริโภค ที่ราคาปรับตัวสูงขึ้น
สินค้าวัตถุดิบสำคัญที่มีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ได้แก่ ปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็ง ร้อยละ 7.9
กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ร้อยละ 31.8 เป็นผลจากระดับราคาในตลาดโลกสูงขึ้น ในขณะที่ทั้งปี 2549 มูลค่านำเข้าปลาทูน่าสดแช่เย็นแช่แข็งเพิ่มขึ้นจากปี
ก่อนร้อยละ 5 เนื่องจากการบริโภคปลาทูน่าในรูปแบบต่างๆ เพิ่มขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ
สินค้าอุปโภคบริโภคสำคัญที่มีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ได้แก่ ผักผลไม้และของปรุงแต่ง ร้อยละ
30.8 และผลิตภัณฑ์จากแป้ง ร้อยละ 30.2 จากการนำเข้าเพิ่มขึ้นของผลไม้เมืองหนาวเพื่อใช้ในช่วงเทศกาลปลายปี และการเข้ามาเปิดแฟรนไชส์ร้าน
ขนมปังสไตล์เม็กซิกันของสิงคโปร์และมาเลเซียเพิ่มขึ้น โดยตลอดทั้งปี 2549 มูลค่านำเข้าผักผลไม้และของปรุงแต่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 14.2 หาก
พิจารณาเฉพาะผลไม้เมืองหนาว เช่น แอปเปิ้ล แพร์ และส้ม เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 30 เป็นผลจากการทำข้อตกลง FTA กับจีน ทำให้ผลไม้ราคาถูกจาก
จีนเข้ามาจำหน่ายง่ายขึ้น
- การส่งออก
ภาวะการส่งออกโดยรวมของอุตสาหกรรมอาหาร ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2549 มีปริมาณ 3,970,565 ตัน มูลค่า 102,661.5 ล้าน
บาท (2,774.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ลดลงจากไตรมาสก่อนทั้งในเชิงปริมาณและ
มูลค่าร้อยละ 3.3 และ 7.2 เนื่องจากการแข็งค่าของเงินบาททำให้ผู้ส่งออกต้องชะลอการผลิตและส่งออกตามคำสั่งซื้อลง แต่หากเปรียบ
เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2548 การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งในเชิงปริมาณและมูลค่าร้อยละ 36.7 และ 6.6 ตามลำดับ โดยตลอดทั้งปี 2549 มี
มูลค่าการส่งออกรวมทั้งสิ้น 403,564.4 ล้านบาท (10,907.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 6.2 เนื่องจากตลาดหลักๆ เช่น
สหรัฐฯ ยังต้องนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารทะเลเพิ่มขึ้น ประกอบกับเศรษฐกิจของญี่ปุ่นยังขยายตัวดี และสหภาพยุโรปประสบปัญหาการระบาดของไข้หวัดนก
ส่งผลให้ในภาพรวมปี 2549 สินค้าอาหารส่วนใหญ่สามารถส่งออกในมูลค่าที่เพิ่มขึ้น สำหรับสินค้าในแต่ละกลุ่ม มีภาวะการส่งออก ดังนี้
- กลุ่มอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป มูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 4 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนและช่วงเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 8.3 และ 3.9 จากการปรับลดลงของปริมาณวัตถุดิบ และระดับราคาที่สูงขึ้น โดยตลอดทั้งปี 2549 มีมูลค่าส่งออกทั้งสิ้น 186,742.8 ล้าน
บาท (5,047.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 4.5 สำหรับสินค้าสำคัญที่ส่งออกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน เช่น กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง
ร้อยละ 0.3 จากการคืนสิทธิ์ GSP ของสหภาพยุโรป และการถูกเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดกุ้งจากสหรัฐฯ ในอัตราที่ต่ำกว่าประเทศคู่แข่ง และ
ปลาทูน่ากระป๋อง ร้อยละ 17.2 จากการส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย และแคนาดาเพิ่มขึ้น
- กลุ่มผักผลไม้แปรรูป มูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 4 ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 11.8 จากการแข็งค่าขึ้นของเงินบาท แต่เมื่อ
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 จากปริมาณวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น โดยตลอดทั้งปี 2549 มีมูลค่าส่งออกทั้งสิ้น 68,186.5 ล้านบาท
(1,842.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 8.6 จากการส่งออกเพิ่มขึ้นเกือบทุกประเภทสินค้าประมาณร้อยละ 10.0-20.3 เนื่อง
จากระดับราคาที่ลดลง และเป็นผลจากการทำ FTA กับจีน และออสเตรเลีย ตลอดจนการผลักดันการควบคุมการผลิตที่เน้นมาตรฐานคุณภาพและการ
ตรวจสอบสารตกค้างอย่างเข้มงวด
- กลุ่มปศุสัตว์ มูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 4 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 1.3 จากการส่งออกเนื้อไก่แช่เย็นแช่แข็งที่เพิ่มขึ้น แต่
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 4.1 จากการชะลอตัวลงของการส่งออกไก่แปรรูป และค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ขณะที่ทั้งปี
2549 มีการปรับโครงสร้างการส่งออกจากไก่สดแช่เย็นแช่แข็งเป็นไก่แปรรูป เช่น ไก่ทอดเป็นชิ้น (คาราเกะ) ไก่เสียบไม้ย่าง (เทอริยากิ) และชิ้น
ส่วนไก่อื่นๆ ทอดและแปรรูป ทำให้ปริมาณและมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นจากปี 2548 ร้อยละ 10 และ 5.8 ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลจากตลาดญี่ปุ่นมีข่าวการ
พิจารณายกเลิกการห้ามนำเข้าเนื้อโคจากสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปหันมานำเข้าไก่จากไทยแทนยุโรปตะวันออกเพิ่มขึ้นจากข่าวการระบาดของไข้หวัดนก
- กลุ่มธัญพืชและแป้ง มูลค่าการส่งออกรวมในไตรมาสที่ 4 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.2 และ
24.1 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลังของตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น โดยตลอดทั้งปี 2549 มีมูลค่าส่งออกทั้งสิ้น
67,794.5 ล้านบาท (1,832.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ร้อยละ 15.7 สำหรับสินค้าสำคัญที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ มัน
สำปะหลังและผลิตภัณฑ์ มีปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.8 และ 26.3 ตามลำดับ เป็นผลจากตลาดจีนมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบอาหาร
สัตว์และผลิตเอทานอล
- น้ำตาลทรายและผลิตภัณฑ์ มูลค่าส่งออกในไตรมาสที่ 4 ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 32.4 เนื่องจากราคาน้ำตาลในตลาดโลกปรับตัว
ลดลง แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 73.8 เนื่องจากประสบปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนในช่วงปี 2548 ทำให้ปริมาณการผลิตลดลง
โดยตลอดทั้งปี 2549 มีมูลค่าการส่งออกลดลงจากปี 2548 ร้อยละ 4.4 จากระดับราคาจำหน่ายที่ปรับตัวลดลง
- กลุ่มสินค้าอาหารอื่นๆ มูลค่าส่งออกในไตรมาสที่ 4 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.7 และ 36.5 ตาม
ลำดับ โดยตลอดทั้งปี 2549 มีมูลค่าส่งออกทั้งสิ้น 21,929.3 ล้านบาท (592.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ร้อยละ 2.9 สำหรับ
สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ สิ่งปรุงรสอาหาร เนื่องจากเป็นการขยายตัวของการส่งออกตามนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก และไขมันพืชและ
สัตว์ ที่สามารถส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้เพิ่มขึ้น
3. นโยบายรัฐ
ในช่วงไตรมาสที่ 3 ต่อเนื่องไตรมาสที่ 4 ได้เกิดปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่ของประเทศ สร้างความเสียหายให้กับพืชผลทางการเกษตร ที่
เป็นแหล่งวัตถุดิบของอุตสาหกรรมอาหาร โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจสำคัญ เช่น ธัญพืช ผักและผลไม้ รวมทั้งโรงงานแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรได้รับ
ผลกระทบ ผู้ประกอบการไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ นโยบายรัฐในช่วงต้นไตรมาสที่ 4 จึงเป็นการรายงานสถานการณ์และมาตรการให้การช่วย
เหลือกับประชาชนที่ประสบภัย และการปรับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำขึ้นใหม่ในหลายจังหวัดซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในปี 2550
สำหรับมติคณะรัฐมนตรีในช่วงไตรมาสที่ 4 ที่จำเป็นต้องประกาศเป็นนโยบายและมาตรการรายปี ในส่วนของสินค้าอาหารและ
เกษตร ได้แก่ นโยบายและมาตรการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ปี 2550 การประกาศราคาอ้อยขั้นต้นประจำปีเพาะปลูก 2549/50 การประกาศ
ราคารับจำนำข้าวนาปีประจำปี 2549/50 การเปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนย ปี 2550 และการเปิดตลาดสินค้าเกษตรตามข้อผูกพันองค์การการ
ค้าโลกจำนวน 23 รายการ ทั้งนี้แนวนโยบายและมาตรการดังกล่าวมีรายละเอียดไม่แตกต่างไปจากปีก่อน แต่จะมีรายละเอียดของวิธีดำเนินการที่
ปรับเปลี่ยนบ้างให้เหมาะสมและสะดวกในทางปฏิบัติยิ่งขึ้น
4. แนวโน้ม
แนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมอาหารไตรมาสที่ 1 ปี 2550 คาดว่าทั้งภาคการผลิตและการส่งออก อุตสาหกรรมอาหารจะชะลอตัวลงจากปี
2549 ในระดับร้อยละ 3-5 โดยมีปัจจัยเสี่ยง คือ การแข็งค่าขึ้นของเงินบาท การชะลอตัวของเศรษฐกิจผู้นำเข้า เช่น สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ข่าว
การระบาดของไข้หวัดนก การกีดกันทางการค้าในรูปแบบต่างๆ เช่น การประกาศ AD การใช้มาตรการบรรจุภัณฑ์ที่สัมผัสอาหารใหม่ของญี่ปุ่นและสหภาพ
ยุโรป และมาตรการด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยอาหารใหม่ๆ อย่างไรก็ตามมีปัจจัยสนับสนุน คือ การรักษาระดับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย
และของโลกมีแนวโน้มค่อนข้างทรงตัว การปรับตัวลดลงของระดับอัตราดอกเบี้ยในประเทศ ซึ่งจะเป็นผลดีในการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนและการบริโภค
ในแต่ละกลุ่มสินค้าเพิ่มขึ้น โดยแนวโน้มของอุตสาหกรรมอาหารในไตรมาสที่ 1 ปี 2550 ในแต่ละกลุ่ม
ผลิตภัณฑ์สำคัญมีดังนี้
1) สินค้าประมง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลกระป๋อง เช่น ปลาทูน่ากระป๋อง และอาหารทะเลแปรรูปมีแนวโน้มผลิตและส่งออกชะลอ
ตัวลง จากปัจจัยสำคัญทั้งภายในและต่างประเทศ ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยน การขาดแคลนแรงงาน และการลดลงของผลผลิตกุ้งและสัตว์น้ำจากฟาร์มใน
ประเทศซึ่งจะลดลงในช่วงฤดูหนาว รวมถึงการพิจารณาห้ามนำเข้ากุ้งจากหลายประเทศตามร่างการประกาศมาตรการ Bio-Securities ของ
ออสเตรเลียที่ยังไม่ทราบผลชัดเจน
2) สินค้าพืชผักผลไม้แปรรูป ได้แก่ สับปะรดกระป๋อง และผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้แปรรูปต่างๆ มีแนวโน้มผลิตและส่งออกขยายตัวได้
เพียงเล็กน้อย ส่วนหนึ่งเป็นผลจากภัยธรรมชาติและการลดพื้นที่ปลูก เนื่องจากในปี 2549 ปริมาณสับปะรดสดล้นตลาด ส่งผลให้ระดับราคาสับปะรดตก
ต่ำ อย่างไรก็ตามยังคงได้รับผลดีบ้างในสินค้าผักและผลไม้สดแช่เย็นจากการเปิดเสรีทางการค้าอย่างต่อเนื่องกับจีน ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย และการ
ประกาศอนุญาตให้นำเข้าผลไม้จากไทยของสหรัฐอเมริกา
3) สินค้าปศุสัตว์แปรรูป ได้แก่ ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง มีแนวโน้มที่จะผลิตและส่งออกในปริมาณและมูลค่าที่ขยายตัวเล็กน้อย โดยจะทำการ
ผลิตในลักษณะไก่แปรรูปที่สร้างมูลค่าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ไก่ต้มสุก และไก่พร้อมรับประทาน เช่น ไก่คาราเกะ และไก่ปรุงสำเร็จ เพื่อส่งออกใน
ตลาดหลัก คือ สหภาพยุโรปและญี่ปุ่น เนื่องจากไทยยังคงรักษาภาพลักษณ์ของสินค้าไก่ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลในตลาดโลกได้ ทั้งนี้การคาดการณ์จะ
เพิ่มขึ้นหรือลดลงอาจต้องรอผลการพิจารณาปรับโครงสร้างโควตาภาษีสินค้าไก่ทั้งระบบของสหภาพยุโรป ที่ประเทศสมาชิกได้รับผลกระทบจากไข้หวัดนก
นอกจากนี้ยังต้องติดตามความก้าวหน้าของการทำข้อตกลง FTA กับญี่ปุ่นด้วย
4) สินค้าแปรรูปจากธัญพืชและแป้ง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง มีแนวโน้มการผลิตและส่งออกเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณวัตถุดิบเพิ่ม
ขึ้น ซึ่งคาดว่าผลผลิตหัวมันสำปะหลังในช่วงไตรมาสที่ 1 จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 จากการกระจายมันสำปะหลังพันธุ์ดีได้เพิ่มขึ้น และตลาดมีความ
ต้องการเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการแปรรูปมันสำปะหลังอาจมีความกังวลในเรื่องการขาดแคลนวัตถุดิบเพื่อรองรับทั้งโรงงานเอทานอลและแป้ง
มันสำปะหลังในช่วงเวลาที่เกษตรกรเลื่อนการเก็บเกี่ยวจากราคาที่ปรับตัวลดลง
5) สินค้าอื่นๆ เช่น น้ำตาลทราย คาดว่าจะผลิตและส่งออกได้เพิ่มขึ้น จากปริมาณผลผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น แม้ว่าการผลิตจะล่าช้าไปบ้างจาก
ภัยธรรมชาติ อย่างไรก็ตามผลผลิตของพืชอื่นที่ให้แป้งและน้ำตาลทดแทนกันมีปริมาณเพิ่มขึ้นเช่นกัน อาจส่งผลทำให้ระดับราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลก
ชะลอตัวได้ ส่วนน้ำมันพืช เช่น ปาล์มน้ำมัน คาดว่าจะมีการผลิตเพิ่มขึ้นจากวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของพื้นที่เพาะปลูกและเริ่มให้ผลผลิต ใน
ขณะที่สินค้าอื่นๆ เช่น เครื่องเทศสมุนไพร ผลิตภัณฑ์นม ซุปและอาหารปรุงแต่ง คาดว่าจะส่งออกได้ในระดับใกล้เคียงกับปีก่อน
ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตอุตสาหกรรมอาหาร
ปริมาณการผลิต(ตัน) อัตราเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) การใช้กำลังการผลิต(ร้อยละ)
ไตรมาส4 ปี2548 ไตรมาส3 ปี2549 ไตรมาส4 ปี2549 ปี 2548 ปี 2549 เทียบไตรมาสก่อน เทียบกับปีก่อน ปี49เทียบกับปี 48 ปี 2548 ปี 2549
ปศุสัตว์ 235,512.20 226,754.60 227,967.20 860,561.00 913,320.00 0.5 -3.2 6.1 61.4 64.4
ประมง 234,713.60 253,916.20 224,782.10 893,858.90 936,997.60 -11.5 -4.2 4.8 55.3 54.3
ผักผลไม้ 243,488.50 228,119.30 228,373.40 847,056.40 1,033,580.60 0.1 -6.2 22 43.8 39.3
น้ำมันพืช 283,380.40 389,308.20 387,264.90 1,250,036.70 1,508,279.10 -0.5 36.7 20.7 41.1 43.7
ผลิตภัณฑ์นม 222,439.60 282,443.60 268,802.40 921,180.60 1,059,411.50 -4.8 20.8 15 47.4 52.7
มันสำปะหลัง 478,096.60 545,623.60 582,674.00 1,781,646.10 2,158,695.20 6.8 21.9 21.2 47.6 60.5
อาหารสัตว์ 1,524,045.50 1,609,681.20 1,579,119.60 5,674,148.60 6,244,213.40 -1.9 3.6 10 57.6 63.9
น้ำตาล 412,039.60 88,630.50 1,101,137.10 6,585,363.20 7,762,585.60 1,142.40 167.2 17.9 12.2 14.3
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 44,524.50 43,289.50 43,473.20 171,970.60 166,154.40 0.4 -2.4 3.4 57.8 60.3
รวม 3,678,240.60 3,667,766.70 4,643,593.90 18,985,822.10 21,783,237.40 26.6 26.2 14.7 34.4 41.9
ไม่รวมน้ำตาล 3,266,201.00 3,579,136.20 3,542,456.80 12,400,458.90 14,020,651.80 -1 8.5 13.1 56 56
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ * ปี 49 เป็นข้อมูลเบื้องต้น
ตารางที่ 2 ปริมาณการจำหน่ายในประเทศอุตสาหกรรมอาหาร
จำหน่ายในประเทศ(ตัน) อัตราเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
ไตรมาส4 ปี2548 ไตรมาส3 ปี2549 ไตรมาส 4 ปี2549 ปี 2548 ปี 2549 เทียบไตรมาสก่อน เทียบกับปีก่อน ปี49เทียบกับปี 48
ปศุสัตว์ 186,958.00 190,886.90 195,498.90 737,396.10 769,492.00 2.4 4.6 4.4
ประมง 30,035.30 33,120.10 31,234.60 117,168.60 124,319.10 -5.7 4 6.1
ผักผลไม้ 37,537.40 39,288.20 41,921.40 156,479.10 150,047.30 6.7 11.7 -4.1
น้ำมันพืช 228,615.40 278,086.90 274,738.60 982,299.40 1,079,101.40 -1.2 20.2 9.9
ผลิตภัณฑ์นม 185,986.00 237,118.00 228,750.30 732,929.60 839,716.30 -3.5 23 14.6
มันสำปะหลัง 265,544.20 279,921.60 291,366.20 1,056,912.40 1,169,516.30 4.1 9.7 10.7
อาหารสัตว์ 1,388,277.70 1,487,231.10 1,480,819.70 5,221,022.10 5,774,026.50 -0.4 6.7 10.6
น้ำตาล 554,240.40 958,109.50 667,603.00 3,999,105.50 3,968,226.70 -30.3 20.5 -0.8
บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 35,469.00 35,593.20 37,009.30 131,505.80 138,286.90 4 4.3 5.2
รวม 2,912,663.30 3,539,355.60 3,248,941.90 13,134,818.80 14,012,732.40 -8.2 11.5 6.7
ไม่รวมน้ำตาล 2,358,422.90 2,581,246.10 2,581,338.90 9,135,713.20 10,044,505.70 0 9.5 9.9
ที่มา : ศูนย์สารสนเทศอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ * ปี 49 เป็นข้อมูลเบื้องต้น
ตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้าสินค้าอาหารที่สำคัญ (หน่วย : ล้านบาท)
รายการ มูลค่าการนำเข้า (ล้านบาท) การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
ปี 2548 ปี 2549 ปี 2548 ปี 2549 เทียบไตรมาสก่อน เทียบไตรมาส เทียบกับปี 2548
ไตรมาสที่ 4 ไตรมาสที่ 3 ไตรมาสที่ 4 เดียวกันของปีก่อน
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 56,227.90 30,588.20 56,136.20 142,954.20 141,516.00 83.5 -0.2 -1
สัตว์น้ำสดแช่เย็นแช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป 14,440.60 13,217.00 13,364.80 52,174.90 53,628.20 1.1 -7.4 2.8
พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช 41,719.70 17,217.00 42,704.30 90,368.30 87,406.00 148 2.4 -3.3
สินค้าอุปโภค บริโภค 14,539.30 12,374.70 14,764.20 48,954.90 49,909.50 19.3 1.5 1.9
นมและผลิตภัณฑ์นม 4,620.60 2,818.20 4,284.20 13,654.60 13,012.70 52 -7.3 -4.7
อาหารปรุงแต่งสำหรับใช้เลี้ยงทารก 1,008.30 973.7 987.1 4,494.50 4,300.30 1.4 -2.1 -4.3
ข้าวและผลิตภัณฑ์จากแป้ง 902.2 689.7 898.9 2,987.50 3,046.50 30.3 -0.4 2
ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ 4,133.90 3,444.30 4,505.10 12,399.60 14,163.50 30.8 9 14.2
เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค 1,326.70 1,201.70 1,378.00 5,363.00 4,907.70 14.7 3.9 -8.5
ผลิตภัณฑ์อาหารอื่น ๆ 2,434.90 3,164.50 2,630.20 9,327.00 10,023.80 -16.9 8 7.5
รวม 70,767.20 42,962.90 70,900.40 191,909.10 191,425.50 65 0.2 -0.3
ที่มา กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
หมายเหตุ : * ปี 49 เป็นข้อมูลเบื้องต้น
ตารางที่ 4 ปริมาณการส่งออกสินค้าอาหารที่สำคัญ (หน่วย : ตัน )
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ