ต้องช่วยกันยับยั้งการชุมนุมที่รุนแรง
โดย บัญญัติ บรรทัดฐาน
26 กรกฎาคม 2550
สถานการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปก. เมื่อค่ำวันที่ 22 กรกฎาคมที่ผ่านมา กล่าวได้ว่าเป็นการชุมนุมที่ได้ก่อให้เกิดความรุนแรงมากที่สุดครั้งหนึ่งในรอบหลายปีที่ผ่านมา เพราะแม้กระทั่งการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาธิปไตยขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อปี 2548 — 49 ซึ่งครั้งหนึ่งได้มีการเคลื่อนพลเข้าไปถึงในทำเนียบรัฐบาล ก็ไม่ได้มีความรุนแรงอย่างนี้
รุนแรงทั้งรูปแบบและเนื้อหาซึ่งความรุนแรงในรูปแบบนั้นเห็นได้อย่างชัดเจน จากความพยายามของฝ่าย นปก. ที่จะบุกเข้าไปให้ถึงบ้านสี่เสาเทเวศร์อันเป็นที่พำนักของพลเอก เปรมฯ ประธานองคมนตรีให้ได้โดยบุกฝ่า และทำลายสิ่งกีดขวางที่เจ้าหน้าที่ตำรวจนำมาวางกั้นไว้ จนกระทั่งมีการปะทะกับฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจที่พยายามจะยันฝ่ายผู้ชุมนุมมิให้บุกเข้าไป แต่ก็ต้องถอยร่นอยู่หลายครั้ง เพราะมีการขว้างปาสิ่งของเข้าใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจและใช้กำลังเข้าทำร้าย (จากภาพที่มองเห็นได้ทางจอโทรทัศน์ ที่นำเสนอข่าว) และก็จึงมีการปะทะกันในที่สุดจนมีผู้ได้รับบาดเจ็บ และที่บาดเจ็บมากที่สุดก็คือทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทั้งบาดเจ็บมากและน้อย มากกว่าสองร้อยคน นี่คือความรุนแรงในรูปแบบที่มองเห็นได้
ส่วนความรุนแรงในเนื้อหาก็คือข้อความที่ใช้ปราศรัยโจมตีพลเอก เปรมฯ ด้วยถ้อยคำที่หยาบคาย รุนแรง จนไม่น่าเชื่อว่าจะออกจากปากคำของผู้ปราศรัยบางคนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคำนึงถึงสถานะภาพของพลเอก เปรมฯ ด้วยแล้วจะยิ่งมีความรู้สึกว่า นอกเหนือจากจะรุนแรงและหยาบคายแล้ว ยังเป็นเรื่องที่ไม่บังควรเลยทีเดียวกล่าวคือ
1. พลเอก เปรม เป็นประธานองคมนตรี ซึ่งโดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรี หรือการให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย (ของพระมหากษัตริย์) การปราศรัยโจมตีพลเอก เปรม ถึงความไม่เหมาะไม่ควรในการดำรงตำแหน่งองคมนตรีก็ดี หรือเรียกร้องให้ลาออกจากตำแหน่งก็ดี อาจแปรความได้ว่าเป็นการล่วงล้ำก้ำเกินพระราชอำนาจก็เป็นได้ จึงเป็นเรื่องไม่บังควรแน่นอน
2. พลเอก เปรมฯ เป็นบุคคลที่ได้บำเพ็ญตนเพื่อประโยชน์ชาติ และราชบัลลังก์มาโดยตลอดเป็นผู้ริเริ่มกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนไว้มากมาย ทั้งในขณะที่ดำรงตำแหน่งผู้นำของกองทัพ และในขณะดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นนายกรัฐมนตรี และทั้งยังได้รับการยอมรับจากสังคมโดยทั่วไป ในฐานะของบุคคลตัวอย่างทางด้านคุณธรรมจริยธรรม และความซื่อสัตย์สุจริตอีกด้วย ความพยายามที่จะดึงเอาพลเอก เปรมฯ มาเป็นเป้าหมายแห่งการโจมตีทางการเมืองเพื่อสนองความต้องการของใครผู้ใดก็แล้วแต่ ก็เป็นเรื่องไม่บังควรเช่นเดียวกัน และคงยากที่จะทำให้ผู้คนในสังคมโดยทั่วไปคล้อยตามได้
ขณะเขียนบทความนี้ ก็เป็นวันเวลาเดียวกันกับที่พนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อขอให้ออกหมายจับบรรดาแกนนำคนสำคัญ ๆ ไปแล้ว ด้วยข้อหาที่หนักหนาสาหัสพอสมควร และก็ยังอยู่ระหว่างการไต่สวนของศาล ซึ่งดูจะมีแนวโน้มที่ศาลจะไกล่เกลี่ยให้พนักงานสอบสวนขอถอนคำร้องขอออกหมายจับ โดยกำหนดให้บรรดาแกนนำเหล่านั้น มาลงชื่อรับทราบข้อกล่าวหาของพนักงานสอบสวน เพื่อให้พนักงานสอบสวนสามารถดำเนินคดีต่อไปโดยที่ไม่ต้องมีการออกหมายจับ
ผลของการไกล่เกลี่ยจะลุล่วงไปด้วยดีหรือไม่ประการใด ก็สุดแท้แต่ แต่เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเมื่อค่ำวันที่ 22 กรกฎาคม ที่ผ่านมานั้นต้องถือว่ามีความรุนแรงมากที่สุดครั้งหนึ่ง ซึ่งก็ต้องชื่นชมทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีความอดทนพยายามหลีกเลี่ยงการปะทะโดยยอมเป็นฝ่ายถอนร่นเสียเอง แม้จะเป็นฝ่ายถูกทำร้ายก็ตาม มิฉะนั้นแล้วเหตุการณ์จะร้ายแรงยิ่งกว่า ที่สำคัญก็คือว่า หากเหตุการณ์ความรุนแรงในครั้งนี้เกิดขึ้น เพราะฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นฝ่ายลงมือก่อนหรือแม้แต่จะตอบโต้อย่างเต็มที่ป่านนี้ก็คงจะกลายเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลกแล้ว ทั้งที่เป็นไปโดยธรรมชาติของข่าวและโดยการจัดการของบางฝ่ายซึ่งมีการตระเตรียมการเอาไว้แล้วเป็นอย่างดี ก็ถึงขนาดมีการปราศรัยบนเวทีเป็นภาษาฝรั่งด้วยแล้วก็ควรต้องเข้าใจว่า นี่คือการเตรียมการที่จะเผยแพร่ข่าวร้ายให้แพร่หลายออกไปให้เป็นข่าวในต่างประเทศเท่านั้นเอง จะให้เข้าใจเป็นอย่างอื่นได้อย่างไร
ความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกัน เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุกาณ์รุนแรง ในทำนองเดียวกันอีกต่อไปในวันข้างหน้า จึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงระยะเวลาที่อยู่ระหว่างการจัดทำประชามติ รับหรือไม่รับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งคงจะต้องใช้ทั้งมาตรการทางกฎหมาย มาตรการทางการบริหารและมาตรการสังคมควบคู่กันไป กล่าวคือว่า
1. เมื่อเสรีภาพในการชุมนุมตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ คือการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ เมื่อเกิดมีกรณีที่ไม่ได้เป็นไปตามบทบัญญัตินี้ เพราะมีการกระทำอันเป็นการล่วงละเมิดกฎหมายที่มีอยู่ รัฐโดยหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ก็จะต้องดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด การดำเนินคดีต่อบรรดาแกนนำ และผู้เกี่ยวข้องในเหตุการณ์รุนแรงในครั้งนี้ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ดำเนินการอยู่จึงเป็นเรื่องถูกต้องที่ควรได้รับการสนับสนุน
2. การป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงในการชุมนุมทางหนึ่งก็คือการลดจำนวนผู้คนที่อาจจะมาร่วมชุมนุมด้วยความสำคัญผิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่บรรดาแกนนำในการชุมนุม จงใจกระทำให้เกิดความสำคัญผิด กรณีเช่นนี้รัฐโดยหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ก็ควรที่จะได้สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้เป็นที่รับทราบกันโดยทั่วไป เพื่อแยกผู้ที่มาร่วมชุมนุมโดยสุจริตและไม่สุจริตออกจากกันให้ได้ และเพื่อป้องกันมิให้ผู้สุจริตมาร่วมชุมนุมด้วย การเปิดเผยข้อเท็จจริงที่เป็นเบื้องหน้าเบื้องหลังของการชุมนุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวาระซ่อนเร้นในการชุมนุม จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องกระทำกันอย่างจริงจังให้เป็นที่รับทราบกัน
3. โดยที่การชุมนุมโดยสงบ และโดยปราศจากอาวุธก็คงจะต้องเกิดขึ้นจะมีอยู่ต่อไป ทั้งเป็นเรื่องที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก็สนับสนุนส่งเสริม เพราะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตย การจัดดำเนินการให้มีการชุมนุมกันได้ในสถานที่อันเหมาะสม ไม่ก่อปัญหาให้เกิดความไม่สงบ ไม่เคลื่อนไหวไปมาให้มีการกระทำอันเป็นผิดกฎหมาย จึงเป็นเรื่องที่รัฐโดยหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องต้องส่งเสริมและต้องจัดอำนวยความสดวกให้
ผมคิดว่า ถ้าทุกฝ่ายจะได้ร่วมมือกันทำเช่นนี้ ก็เท่ากับได้ช่วยกันยับยั้งการชุมนุมที่รุนแรงให้ลดน้อยลงได้ อันมีผลเท่ากับช่วยกันป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อชาติบ้านเมืองได้ด้วยในเวลาเดียวกัน.
****************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 26 ก.ค. 2550--จบ--
โดย บัญญัติ บรรทัดฐาน
26 กรกฎาคม 2550
สถานการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปก. เมื่อค่ำวันที่ 22 กรกฎาคมที่ผ่านมา กล่าวได้ว่าเป็นการชุมนุมที่ได้ก่อให้เกิดความรุนแรงมากที่สุดครั้งหนึ่งในรอบหลายปีที่ผ่านมา เพราะแม้กระทั่งการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาธิปไตยขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อปี 2548 — 49 ซึ่งครั้งหนึ่งได้มีการเคลื่อนพลเข้าไปถึงในทำเนียบรัฐบาล ก็ไม่ได้มีความรุนแรงอย่างนี้
รุนแรงทั้งรูปแบบและเนื้อหาซึ่งความรุนแรงในรูปแบบนั้นเห็นได้อย่างชัดเจน จากความพยายามของฝ่าย นปก. ที่จะบุกเข้าไปให้ถึงบ้านสี่เสาเทเวศร์อันเป็นที่พำนักของพลเอก เปรมฯ ประธานองคมนตรีให้ได้โดยบุกฝ่า และทำลายสิ่งกีดขวางที่เจ้าหน้าที่ตำรวจนำมาวางกั้นไว้ จนกระทั่งมีการปะทะกับฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจที่พยายามจะยันฝ่ายผู้ชุมนุมมิให้บุกเข้าไป แต่ก็ต้องถอยร่นอยู่หลายครั้ง เพราะมีการขว้างปาสิ่งของเข้าใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจและใช้กำลังเข้าทำร้าย (จากภาพที่มองเห็นได้ทางจอโทรทัศน์ ที่นำเสนอข่าว) และก็จึงมีการปะทะกันในที่สุดจนมีผู้ได้รับบาดเจ็บ และที่บาดเจ็บมากที่สุดก็คือทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทั้งบาดเจ็บมากและน้อย มากกว่าสองร้อยคน นี่คือความรุนแรงในรูปแบบที่มองเห็นได้
ส่วนความรุนแรงในเนื้อหาก็คือข้อความที่ใช้ปราศรัยโจมตีพลเอก เปรมฯ ด้วยถ้อยคำที่หยาบคาย รุนแรง จนไม่น่าเชื่อว่าจะออกจากปากคำของผู้ปราศรัยบางคนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคำนึงถึงสถานะภาพของพลเอก เปรมฯ ด้วยแล้วจะยิ่งมีความรู้สึกว่า นอกเหนือจากจะรุนแรงและหยาบคายแล้ว ยังเป็นเรื่องที่ไม่บังควรเลยทีเดียวกล่าวคือ
1. พลเอก เปรม เป็นประธานองคมนตรี ซึ่งโดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรี หรือการให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่งให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย (ของพระมหากษัตริย์) การปราศรัยโจมตีพลเอก เปรม ถึงความไม่เหมาะไม่ควรในการดำรงตำแหน่งองคมนตรีก็ดี หรือเรียกร้องให้ลาออกจากตำแหน่งก็ดี อาจแปรความได้ว่าเป็นการล่วงล้ำก้ำเกินพระราชอำนาจก็เป็นได้ จึงเป็นเรื่องไม่บังควรแน่นอน
2. พลเอก เปรมฯ เป็นบุคคลที่ได้บำเพ็ญตนเพื่อประโยชน์ชาติ และราชบัลลังก์มาโดยตลอดเป็นผู้ริเริ่มกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนไว้มากมาย ทั้งในขณะที่ดำรงตำแหน่งผู้นำของกองทัพ และในขณะดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นนายกรัฐมนตรี และทั้งยังได้รับการยอมรับจากสังคมโดยทั่วไป ในฐานะของบุคคลตัวอย่างทางด้านคุณธรรมจริยธรรม และความซื่อสัตย์สุจริตอีกด้วย ความพยายามที่จะดึงเอาพลเอก เปรมฯ มาเป็นเป้าหมายแห่งการโจมตีทางการเมืองเพื่อสนองความต้องการของใครผู้ใดก็แล้วแต่ ก็เป็นเรื่องไม่บังควรเช่นเดียวกัน และคงยากที่จะทำให้ผู้คนในสังคมโดยทั่วไปคล้อยตามได้
ขณะเขียนบทความนี้ ก็เป็นวันเวลาเดียวกันกับที่พนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อขอให้ออกหมายจับบรรดาแกนนำคนสำคัญ ๆ ไปแล้ว ด้วยข้อหาที่หนักหนาสาหัสพอสมควร และก็ยังอยู่ระหว่างการไต่สวนของศาล ซึ่งดูจะมีแนวโน้มที่ศาลจะไกล่เกลี่ยให้พนักงานสอบสวนขอถอนคำร้องขอออกหมายจับ โดยกำหนดให้บรรดาแกนนำเหล่านั้น มาลงชื่อรับทราบข้อกล่าวหาของพนักงานสอบสวน เพื่อให้พนักงานสอบสวนสามารถดำเนินคดีต่อไปโดยที่ไม่ต้องมีการออกหมายจับ
ผลของการไกล่เกลี่ยจะลุล่วงไปด้วยดีหรือไม่ประการใด ก็สุดแท้แต่ แต่เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเมื่อค่ำวันที่ 22 กรกฎาคม ที่ผ่านมานั้นต้องถือว่ามีความรุนแรงมากที่สุดครั้งหนึ่ง ซึ่งก็ต้องชื่นชมทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีความอดทนพยายามหลีกเลี่ยงการปะทะโดยยอมเป็นฝ่ายถอนร่นเสียเอง แม้จะเป็นฝ่ายถูกทำร้ายก็ตาม มิฉะนั้นแล้วเหตุการณ์จะร้ายแรงยิ่งกว่า ที่สำคัญก็คือว่า หากเหตุการณ์ความรุนแรงในครั้งนี้เกิดขึ้น เพราะฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นฝ่ายลงมือก่อนหรือแม้แต่จะตอบโต้อย่างเต็มที่ป่านนี้ก็คงจะกลายเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลกแล้ว ทั้งที่เป็นไปโดยธรรมชาติของข่าวและโดยการจัดการของบางฝ่ายซึ่งมีการตระเตรียมการเอาไว้แล้วเป็นอย่างดี ก็ถึงขนาดมีการปราศรัยบนเวทีเป็นภาษาฝรั่งด้วยแล้วก็ควรต้องเข้าใจว่า นี่คือการเตรียมการที่จะเผยแพร่ข่าวร้ายให้แพร่หลายออกไปให้เป็นข่าวในต่างประเทศเท่านั้นเอง จะให้เข้าใจเป็นอย่างอื่นได้อย่างไร
ความจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกัน เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุกาณ์รุนแรง ในทำนองเดียวกันอีกต่อไปในวันข้างหน้า จึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงระยะเวลาที่อยู่ระหว่างการจัดทำประชามติ รับหรือไม่รับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งคงจะต้องใช้ทั้งมาตรการทางกฎหมาย มาตรการทางการบริหารและมาตรการสังคมควบคู่กันไป กล่าวคือว่า
1. เมื่อเสรีภาพในการชุมนุมตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ คือการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ เมื่อเกิดมีกรณีที่ไม่ได้เป็นไปตามบทบัญญัตินี้ เพราะมีการกระทำอันเป็นการล่วงละเมิดกฎหมายที่มีอยู่ รัฐโดยหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ก็จะต้องดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด การดำเนินคดีต่อบรรดาแกนนำ และผู้เกี่ยวข้องในเหตุการณ์รุนแรงในครั้งนี้ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ดำเนินการอยู่จึงเป็นเรื่องถูกต้องที่ควรได้รับการสนับสนุน
2. การป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงในการชุมนุมทางหนึ่งก็คือการลดจำนวนผู้คนที่อาจจะมาร่วมชุมนุมด้วยความสำคัญผิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่บรรดาแกนนำในการชุมนุม จงใจกระทำให้เกิดความสำคัญผิด กรณีเช่นนี้รัฐโดยหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ก็ควรที่จะได้สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้เป็นที่รับทราบกันโดยทั่วไป เพื่อแยกผู้ที่มาร่วมชุมนุมโดยสุจริตและไม่สุจริตออกจากกันให้ได้ และเพื่อป้องกันมิให้ผู้สุจริตมาร่วมชุมนุมด้วย การเปิดเผยข้อเท็จจริงที่เป็นเบื้องหน้าเบื้องหลังของการชุมนุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวาระซ่อนเร้นในการชุมนุม จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องกระทำกันอย่างจริงจังให้เป็นที่รับทราบกัน
3. โดยที่การชุมนุมโดยสงบ และโดยปราศจากอาวุธก็คงจะต้องเกิดขึ้นจะมีอยู่ต่อไป ทั้งเป็นเรื่องที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก็สนับสนุนส่งเสริม เพราะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานในระบอบประชาธิปไตย การจัดดำเนินการให้มีการชุมนุมกันได้ในสถานที่อันเหมาะสม ไม่ก่อปัญหาให้เกิดความไม่สงบ ไม่เคลื่อนไหวไปมาให้มีการกระทำอันเป็นผิดกฎหมาย จึงเป็นเรื่องที่รัฐโดยหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องต้องส่งเสริมและต้องจัดอำนวยความสดวกให้
ผมคิดว่า ถ้าทุกฝ่ายจะได้ร่วมมือกันทำเช่นนี้ ก็เท่ากับได้ช่วยกันยับยั้งการชุมนุมที่รุนแรงให้ลดน้อยลงได้ อันมีผลเท่ากับช่วยกันป้องกันมิให้เกิดความเสียหายต่อชาติบ้านเมืองได้ด้วยในเวลาเดียวกัน.
****************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 26 ก.ค. 2550--จบ--