ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. เตือนให้ระวังการลงทุนในต่างประเทศเนื่องจากตลาดการเงินโลกยังผันผวน นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ
ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยถึงกรณีปัญหาจากการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยของลูกหนี้ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ
(ซับไพร์ม) หนุนหลังใน สรอ. ว่า ธ.พาณิชย์ควรระมัดระวังการลงทุนในต่างประเทศเนื่องจากตลาดการเงินโลกยังผันผวน อย่างไรก็ตาม
เชื่อว่าจะมีผลกระทบต่อระบบ ธ.พาณิชย์ไทยในวงจำกัดเท่านั้น เนื่องจากปริมาณการลงทุนมีน้อยมาก ด้าน นางทองอุไร ลิ้มปิติ ผอส. ฝ่าย
นโยบายความเสี่ยง ธปท. กล่าวว่า หาก ธ.พาณิชย์รายใดที่มีการลงทุนในซับไพร์มจะต้องมีการหักเงินกองทุนทันทีสำหรับผลจากการขาดทุน
ในการลงทุน แต่ในขณะนี้เชื่อว่าเงินกองทุนของระบบ ธ.พาณิชย์ยังมีความแข็งแกร่งอยู่ ขณะที่กฎเกณฑ์การลงทุนที่ ธปท. วางไว้ดีอยู่แล้ว
คงไม่จำเป็นต้องมีการออกมาตรการอะไรเพิ่มเติม ซึ่งวิธีการลงทุนที่ ธปท. เปิดช่องให้มีความหลากหลายขึ้นเป็นการฝึกให้ ธ.พาณิชย์ลงทุน
เพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการเงินในอนาคต ในขณะที่ นางนวอร เดชสุวรรณ ผู้บริหารส่วนวิเคราะห์ติดตามฐานะ สายกำกับสถาบันการเงิน
ธปท. กล่าวว่า ธปท. ได้อนุญาตให้ ธ.พาณิชย์ไทยไปลงทุนในซับไพร์มในต่างประเทศได้ตั้งแต่ช่วงปลายปี 47 โดยปัจจุบันมี ธ.พาณิชย์ไทย
4 ราย ไปลงทุนในตราสารหนี้ประเภท CDO จำนวน 715 ล้านดอลลาร์สรอ. หรือร้อยละ 0.6 ของสินทรัพย์รวมของ ธ.พาณิชย์ทั้ง 4 ราย
และที่เป็นซับไพร์มมีเพียงร้อยละ 0.1 ของสินทรัพย์รวมทั้ง 4 รายที่ไปลงทุนเท่านั้น (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ,
ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท. ระบุแก้ไข พรบ.เงินตราเพื่อบริหารสินทรัพย์ของทุนสำรองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นายอรรคบุศย์ ไกรฤกษ์ ผู้ช่วย
ผู้ว่าการสายช่วยงานบริหาร ธปท. เปิดเผยว่า การแก้ไข พรบ.เงินตราไม่มีข้อความที่กำหนดให้มีการรวมบัญชีของทุนสำรองเงินตรา(คลังหลวง)
และบัญชีของฝ่ายกิจการธนาคาร (ธปท.) เข้าด้วยกันเพื่อล้างขาดทุนสะสมของ ธปท. โดยภายหลังการแก้ไข พรบ.ดังกล่าวแล้ว ผลการขาดทุน
ยังคงอยู่ที่บัญชีของฝ่ายกิจการธนาคาร ธปท. ตามเดิม ซึ่งการแก้ไข พรบ.เงินตรามีหลักการและสาระที่สำคัญคือ เพื่อให้การบริหารจัดการ
สินทรัพย์ของทุนสำรองเงินตรามีประสิทธิภาพมากขึ้นและสอดคล้องกับพัฒนาการของตลาดการเงินโลก และเพื่อให้การบริหารบัญชีของทุนสำรอง
เงินตรามีความเหมาะสมกับภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยการปรับปรุงวิธีการบันทึกบัญชีของทุนสำรองเงินตราตาม พรบ.เงินตราฉบับใหม่
ให้บันทึกผลกำไรขาดทุนที่เกิดขึ้นจริงในบัญชีผลประโยชน์ประจำปี และให้บันทึกกำไรหรือขาดทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ในบัญชีสำรองพิเศษ
เพื่อให้การแสดงผลกำไรขาดทุนในบัญชีผลประโยชน์ประจำปีมีความถูกต้องแท้จริงในแต่ละขณะ และแสดงประสิทธิภาพการบริหารจัดการของ
ธปท. ได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ ในการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวนอกจากการบังคับให้ ธปท. ต้องแยกสินทรัพย์ของทุนสำรองเงินตราไว้ต่างหาก
จากสินทรัพย์ของ ธปท. ตามที่ปฏิบัติเช่นเดิมแล้ว ยังเพิ่มเงื่อนไขหรือกรอบไห้ ธปท. ต้องบริหารจัดการตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ธปท.
กำหนด โดยต้องคำนึงถึงความมั่นคง สภาพคล่อง และผลประโยชน์ตอบแทนของสินทรัพย์ ตลอดจนความเสี่ยงในการบริหารจัดการเป็นสำคัญ ธปท.
จึงไม่อาจใช้เงินทุนสำรองเงินตราไปบริหารจัดการ เช่น การทำธุรกรรมซื้อขายล่วงหน้าอย่างไม่มีข้อจำกัดได้ ทั้งนี้ ธปท. เป็นหน่วยงานภาครัฐ
ที่อยู่ภายใต้การตรวจสอบของ สตง. ดังนั้น การแก้ไขกฎหมายจึงเป็นการเพิ่มระบบที่จะจำกัดขอบเขตการบริหารจัดการสินทรัพย์และระบบตรวจสอบ
ให้รัดกุมยิ่งขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์)
3. เงินบาทเริ่มอ่อนค่าหลังต่างชาติเทขายหุ้น นายสุชาติ สักการโกศล ผอ.ฝ่ายกำกับการแลกเปลี่นเงินและสินเชื่อ สายตลาด
การเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมามีเงินทุนไหลออกจากไทยทั้งระบบแล้วราว 6 — 7 พันล้านบาท ขณะที่สัปดาห์นี้พบว่า
การไหลออกของเงินทุนต่างชาติเริ่มเพิ่มมากขึ้นเป็น 1.1 หมื่นล้านบาท และเท่าที่ติตตามดูการเคลื่อนย้ายเงินทุนจากการเทขายหุ้นของนักลงทุน
ต่างชาติพบว่าเริ่มมีเงินไหลออกไปบ้างแล้ว โดยออกไปประมาณครึ่งหนึ่งของเงินที่ขายหุ้นออกไป ส่วนที่เหลือคาดว่าจะนำไปฝากเข้าบัญชีเงิน
ฝากพิเศษสำหรับผู้มีถิ่นฐานนอกประเทศในรูปของเงินบาท ส่วนการที่เงินบาทช่วงนี้อ่อนค่าลงจะมีสาเหตุมาจากเงินทุนไหลออกหรือไม่นั้นยัง
ไม่สามารถตอบได้ เพราะมีหลายปัจจัย แต่ยอมรับว่าเริ่มเห็นการไหลออกของเงินทุนแล้ว (ไทยรัฐ)
4. ก.คลังและ ธปท. เตรียมระดมความเห็นปรับปรุงระบบบริหารจัดการเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์
รมว.คลัง กล่าวว่า ในวันที่ 20 ส.ค.นี้ จะประชุมกับ ธปท. และผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อระดมความเห็นในการปรับปรุงระบบบริหารจัดการเงินทุน
สำรองระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นแผนงานในระยะปานกลาง อย่างไรก็ดี แม้ปัญหาเงินทุนสำรองฯ ในขณะนี้จะไม่ได้เป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้อง
รีบแก้ไขแต่ก็ต้องติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ส่วนการที่หลายฝ่ายมองว่าไทยมีทุนสำรองสูงแต่ยังน้อยกว่าเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน
จึงต้องประชุมเพื่อดูระบบบริหารจัดการทุนสำรองในระยะปานกลาง (โพสต์ทูเดย์, มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อังกฤษขาดดุลการค้าลดลงในเดือน มิ.ย.50 เป็นจำนวน 6.3 พัน ล.ปอนด์ รายงานจากลอนดอนเมื่อ 9 ส.ค.50
The Office for National Statistics เปิดเผยว่า อังกฤษขาดดุลการค้าในเดือน มิ.ย.50 เป็นจำนวน 6.3 พัน ล.ปอนด์ ลดลง
จากจำนวน 6.4 พัน ล.ปอนด์ในเดือนก่อนหน้า นับเป็นการลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค.48 และต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์
ซึ่งคาดว่าจะขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 6.5 พัน ล.ปอนด์ ทั้งนี้ การที่อังกฤษขาดดุลการค้าลดลงในเดือน มิ.ย.ดังกล่าว เป็นผลจากการ
ส่งออกน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากผลผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นจากการเปิดบ่อน้ำมันแห่งใหม่ในทะเลเหนือ ส่งผลให้ดุลการค้าน้ำมันเกินดุลเป็น
ครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน มี.ค.48 เป็นจำนวน 257 ล้านปอนด์ ประกอบกับมูลค่าการส่งออกของอังกฤษขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวขึ้น
โดยเฉพาะการส่งออกไปยัง สรอ. ที่เพิ่มขึ้นสูงสุด แม้ว่าเงินปอนด์จะแข็งค่าสูงสุดในรอบ 26 ปีเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ.ก็ตาม อนึ่ง
มีสัญญาณที่บ่งชี้ว่าภาวะเศรษฐกิจของอังกฤษจะกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลอีกครั้ง จากการที่มูลค่าการนำเข้าในเดือน มิ.ย.ขยายตัวชะลอลง
ร้อยละ 0.4 (รอยเตอร์)
2. คาดว่าเศรษฐกิจของประเทศกลุ่ม G7 จะมีการเติบโตที่ชะลอลง รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 9 ส.ค. 50 ผลการสำรวจ
นักเศรษฐศาสตร์ 200 คนโดยรอยเตอร์ระหว่างวันที่ 3 — 9 ส.ค. คาดว่าเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ (G7)
ส่วนใหญ่จะมีอัตราการขยายตัวชะลอลง แต่สำหรับ สรอ. ญี่ปุ่น ยูโรโซน และ อังกฤษ เศรษฐกิจอาจจะขยายตัวอย่างแข็งแกร่งซึ่งขึ้นกับนโยบาย
ของ ธ.กลาง และอัตราดอกเบี้ย แม้ว่าตลาดหุ้น และตลาดการเงินทั่วโลกจะมีความผันผวนก็ตาม (รอยเตอร์)
3. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของจีนในไตรมาสที่ 3 จะชะลอลง รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 50 สถาบันวิจัยชั้นนำซึ่งอยู่
ภายใต้คณะกรรมาธิการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติของจีน คาดว่าในไตรมาสที่ 3 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของจีนจะขยายตัว
ร้อยละ 11.4 ชะลอลงจากร้อยละ 11.9 ในไตรมาสที่ 2 ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในไตรมาสที่ 3 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3
ชะลอลงเล็กน้อยจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ในไตรมาสที่ 2 และร้อยละ 3.2 ในช่วงครึ่งแรกปีนี้ อย่างไรก็ตามมีรายงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร
ตลาดหลักทรัพย์ของจีนว่า แม้ว่าดัชนีราคาผู้บริโภคของจีนจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 5.0 ก็ยังไม่น่าวิตกสำหรับจีนที่มีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 4
ของโลก ขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิตในเดือน มิ.ย. ได้ชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 2.5 จากร้อยละ 2.9 ในเดือน เม.ย. และคาดว่าในไตรมาสที่ 3
จะอยู่ที่ร้อยละ 2.9 อย่างไรก็ตามเห็นว่าภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันของจีนจะสามารถรองรับอัตราเงินเฟ้อที่ร้อยละ 3 — 5 ได้ คาดว่าอัตรา
เงินเฟ้อทั้งปี 50 จะเกินกว่าเป้าหมายที่ทางการจีนตั้งไว้ที่ร้อยละ 3.0 แต่จะต่ำกว่าที่เคยทำสถิติสูงสุดที่ร้อยละ 3.9 ในปี 47 (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางเกาหลีใต้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างไม่คาดมาก่อนอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 5.0 ต่อปีสูงสุดในรอบ 6 ปี
รายงานจากโซล เมื่อ 9 ส.ค.50 ธ.กลางเกาหลีใต้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 5.0 ต่อปี สูงสุดในรอบ 6 ปี
หลังจากเมื่อเดือนที่แล้วเพิ่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 4.75 ต่อปี นับเป็นครั้งแรกที่มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ย 2 เดือนติดต่อกัน
สร้างความประหลาดใจให้นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เท่าเดิม โดยเป็นผลจากปริมาณเงิน
หมุนเวียนที่ขยายตัวถึงร้อยละ 12.7 ต่อปีในเดือน มิ.ย.50 สูงสุดนับตั้งแต่ขยายตัวร้อยละ 12.9 ต่อปีในเดือน ก.พ.46 ซึ่งได้สร้างแรงกดดัน
ต่อภาวะเงินเฟ้อ โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.ค.50 อยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปีซึ่งแม้ว่าจะอยู่ในช่วงเป้าหมายที่ ธ.กลางเกาหลีใต้ตั้งไว้ที่ระหว่าง
ร้อยละ 2.5 ถึง 3.5 ต่อปีสำหรับช่วงปี 50 ถึงปี 52 แต่ก็สูงกว่าประมาณการที่คาดไว้สำหรับปีนี้ว่าจะมีอัตราเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.4 ต่อปี
ทั้งนี้ เศรษฐกิจเกาหลีใต้มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นจากการขยายตัวของการส่งออกและการฟื้นตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชน โดยดัชนีชี้วัดความ
คาดหวังของชาวเกาหลีใต้เกี่ยวกับเศรษฐกิจและการใช้จ่ายในอีก 6 เดือนข้างหน้าเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 103.8 ในเดือน ก.ค.50 สูงสุด
ในรอบ 19 เดือน จากระดับ 101.2 ในเดือน มิ.ย.50 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 10 ส.ค. 50 9 ส.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.988 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.7625/34.0900 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.39625 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 811.83/21.55 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,650/10,750 10,700/10,800 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 66.24 70.09 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 28.39*/25.34* 28.39*/25.34* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดสิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 9 ส.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. เตือนให้ระวังการลงทุนในต่างประเทศเนื่องจากตลาดการเงินโลกยังผันผวน นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ
ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธปท. เปิดเผยถึงกรณีปัญหาจากการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยของลูกหนี้ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ
(ซับไพร์ม) หนุนหลังใน สรอ. ว่า ธ.พาณิชย์ควรระมัดระวังการลงทุนในต่างประเทศเนื่องจากตลาดการเงินโลกยังผันผวน อย่างไรก็ตาม
เชื่อว่าจะมีผลกระทบต่อระบบ ธ.พาณิชย์ไทยในวงจำกัดเท่านั้น เนื่องจากปริมาณการลงทุนมีน้อยมาก ด้าน นางทองอุไร ลิ้มปิติ ผอส. ฝ่าย
นโยบายความเสี่ยง ธปท. กล่าวว่า หาก ธ.พาณิชย์รายใดที่มีการลงทุนในซับไพร์มจะต้องมีการหักเงินกองทุนทันทีสำหรับผลจากการขาดทุน
ในการลงทุน แต่ในขณะนี้เชื่อว่าเงินกองทุนของระบบ ธ.พาณิชย์ยังมีความแข็งแกร่งอยู่ ขณะที่กฎเกณฑ์การลงทุนที่ ธปท. วางไว้ดีอยู่แล้ว
คงไม่จำเป็นต้องมีการออกมาตรการอะไรเพิ่มเติม ซึ่งวิธีการลงทุนที่ ธปท. เปิดช่องให้มีความหลากหลายขึ้นเป็นการฝึกให้ ธ.พาณิชย์ลงทุน
เพื่อรองรับการเปิดเสรีทางการเงินในอนาคต ในขณะที่ นางนวอร เดชสุวรรณ ผู้บริหารส่วนวิเคราะห์ติดตามฐานะ สายกำกับสถาบันการเงิน
ธปท. กล่าวว่า ธปท. ได้อนุญาตให้ ธ.พาณิชย์ไทยไปลงทุนในซับไพร์มในต่างประเทศได้ตั้งแต่ช่วงปลายปี 47 โดยปัจจุบันมี ธ.พาณิชย์ไทย
4 ราย ไปลงทุนในตราสารหนี้ประเภท CDO จำนวน 715 ล้านดอลลาร์สรอ. หรือร้อยละ 0.6 ของสินทรัพย์รวมของ ธ.พาณิชย์ทั้ง 4 ราย
และที่เป็นซับไพร์มมีเพียงร้อยละ 0.1 ของสินทรัพย์รวมทั้ง 4 รายที่ไปลงทุนเท่านั้น (ผู้จัดการรายวัน, โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ,
ผู้จัดการรายวัน)
2. ธปท. ระบุแก้ไข พรบ.เงินตราเพื่อบริหารสินทรัพย์ของทุนสำรองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นายอรรคบุศย์ ไกรฤกษ์ ผู้ช่วย
ผู้ว่าการสายช่วยงานบริหาร ธปท. เปิดเผยว่า การแก้ไข พรบ.เงินตราไม่มีข้อความที่กำหนดให้มีการรวมบัญชีของทุนสำรองเงินตรา(คลังหลวง)
และบัญชีของฝ่ายกิจการธนาคาร (ธปท.) เข้าด้วยกันเพื่อล้างขาดทุนสะสมของ ธปท. โดยภายหลังการแก้ไข พรบ.ดังกล่าวแล้ว ผลการขาดทุน
ยังคงอยู่ที่บัญชีของฝ่ายกิจการธนาคาร ธปท. ตามเดิม ซึ่งการแก้ไข พรบ.เงินตรามีหลักการและสาระที่สำคัญคือ เพื่อให้การบริหารจัดการ
สินทรัพย์ของทุนสำรองเงินตรามีประสิทธิภาพมากขึ้นและสอดคล้องกับพัฒนาการของตลาดการเงินโลก และเพื่อให้การบริหารบัญชีของทุนสำรอง
เงินตรามีความเหมาะสมกับภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยการปรับปรุงวิธีการบันทึกบัญชีของทุนสำรองเงินตราตาม พรบ.เงินตราฉบับใหม่
ให้บันทึกผลกำไรขาดทุนที่เกิดขึ้นจริงในบัญชีผลประโยชน์ประจำปี และให้บันทึกกำไรหรือขาดทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ในบัญชีสำรองพิเศษ
เพื่อให้การแสดงผลกำไรขาดทุนในบัญชีผลประโยชน์ประจำปีมีความถูกต้องแท้จริงในแต่ละขณะ และแสดงประสิทธิภาพการบริหารจัดการของ
ธปท. ได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ ในการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวนอกจากการบังคับให้ ธปท. ต้องแยกสินทรัพย์ของทุนสำรองเงินตราไว้ต่างหาก
จากสินทรัพย์ของ ธปท. ตามที่ปฏิบัติเช่นเดิมแล้ว ยังเพิ่มเงื่อนไขหรือกรอบไห้ ธปท. ต้องบริหารจัดการตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ธปท.
กำหนด โดยต้องคำนึงถึงความมั่นคง สภาพคล่อง และผลประโยชน์ตอบแทนของสินทรัพย์ ตลอดจนความเสี่ยงในการบริหารจัดการเป็นสำคัญ ธปท.
จึงไม่อาจใช้เงินทุนสำรองเงินตราไปบริหารจัดการ เช่น การทำธุรกรรมซื้อขายล่วงหน้าอย่างไม่มีข้อจำกัดได้ ทั้งนี้ ธปท. เป็นหน่วยงานภาครัฐ
ที่อยู่ภายใต้การตรวจสอบของ สตง. ดังนั้น การแก้ไขกฎหมายจึงเป็นการเพิ่มระบบที่จะจำกัดขอบเขตการบริหารจัดการสินทรัพย์และระบบตรวจสอบ
ให้รัดกุมยิ่งขึ้น (กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์)
3. เงินบาทเริ่มอ่อนค่าหลังต่างชาติเทขายหุ้น นายสุชาติ สักการโกศล ผอ.ฝ่ายกำกับการแลกเปลี่นเงินและสินเชื่อ สายตลาด
การเงิน ธปท. เปิดเผยว่า ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมามีเงินทุนไหลออกจากไทยทั้งระบบแล้วราว 6 — 7 พันล้านบาท ขณะที่สัปดาห์นี้พบว่า
การไหลออกของเงินทุนต่างชาติเริ่มเพิ่มมากขึ้นเป็น 1.1 หมื่นล้านบาท และเท่าที่ติตตามดูการเคลื่อนย้ายเงินทุนจากการเทขายหุ้นของนักลงทุน
ต่างชาติพบว่าเริ่มมีเงินไหลออกไปบ้างแล้ว โดยออกไปประมาณครึ่งหนึ่งของเงินที่ขายหุ้นออกไป ส่วนที่เหลือคาดว่าจะนำไปฝากเข้าบัญชีเงิน
ฝากพิเศษสำหรับผู้มีถิ่นฐานนอกประเทศในรูปของเงินบาท ส่วนการที่เงินบาทช่วงนี้อ่อนค่าลงจะมีสาเหตุมาจากเงินทุนไหลออกหรือไม่นั้นยัง
ไม่สามารถตอบได้ เพราะมีหลายปัจจัย แต่ยอมรับว่าเริ่มเห็นการไหลออกของเงินทุนแล้ว (ไทยรัฐ)
4. ก.คลังและ ธปท. เตรียมระดมความเห็นปรับปรุงระบบบริหารจัดการเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์
รมว.คลัง กล่าวว่า ในวันที่ 20 ส.ค.นี้ จะประชุมกับ ธปท. และผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อระดมความเห็นในการปรับปรุงระบบบริหารจัดการเงินทุน
สำรองระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นแผนงานในระยะปานกลาง อย่างไรก็ดี แม้ปัญหาเงินทุนสำรองฯ ในขณะนี้จะไม่ได้เป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้อง
รีบแก้ไขแต่ก็ต้องติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ส่วนการที่หลายฝ่ายมองว่าไทยมีทุนสำรองสูงแต่ยังน้อยกว่าเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน
จึงต้องประชุมเพื่อดูระบบบริหารจัดการทุนสำรองในระยะปานกลาง (โพสต์ทูเดย์, มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. อังกฤษขาดดุลการค้าลดลงในเดือน มิ.ย.50 เป็นจำนวน 6.3 พัน ล.ปอนด์ รายงานจากลอนดอนเมื่อ 9 ส.ค.50
The Office for National Statistics เปิดเผยว่า อังกฤษขาดดุลการค้าในเดือน มิ.ย.50 เป็นจำนวน 6.3 พัน ล.ปอนด์ ลดลง
จากจำนวน 6.4 พัน ล.ปอนด์ในเดือนก่อนหน้า นับเป็นการลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค.48 และต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์
ซึ่งคาดว่าจะขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 6.5 พัน ล.ปอนด์ ทั้งนี้ การที่อังกฤษขาดดุลการค้าลดลงในเดือน มิ.ย.ดังกล่าว เป็นผลจากการ
ส่งออกน้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากผลผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นจากการเปิดบ่อน้ำมันแห่งใหม่ในทะเลเหนือ ส่งผลให้ดุลการค้าน้ำมันเกินดุลเป็น
ครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน มี.ค.48 เป็นจำนวน 257 ล้านปอนด์ ประกอบกับมูลค่าการส่งออกของอังกฤษขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวขึ้น
โดยเฉพาะการส่งออกไปยัง สรอ. ที่เพิ่มขึ้นสูงสุด แม้ว่าเงินปอนด์จะแข็งค่าสูงสุดในรอบ 26 ปีเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ.ก็ตาม อนึ่ง
มีสัญญาณที่บ่งชี้ว่าภาวะเศรษฐกิจของอังกฤษจะกลับเข้าสู่ภาวะสมดุลอีกครั้ง จากการที่มูลค่าการนำเข้าในเดือน มิ.ย.ขยายตัวชะลอลง
ร้อยละ 0.4 (รอยเตอร์)
2. คาดว่าเศรษฐกิจของประเทศกลุ่ม G7 จะมีการเติบโตที่ชะลอลง รายงานจากลอนดอน เมื่อวันที่ 9 ส.ค. 50 ผลการสำรวจ
นักเศรษฐศาสตร์ 200 คนโดยรอยเตอร์ระหว่างวันที่ 3 — 9 ส.ค. คาดว่าเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ (G7)
ส่วนใหญ่จะมีอัตราการขยายตัวชะลอลง แต่สำหรับ สรอ. ญี่ปุ่น ยูโรโซน และ อังกฤษ เศรษฐกิจอาจจะขยายตัวอย่างแข็งแกร่งซึ่งขึ้นกับนโยบาย
ของ ธ.กลาง และอัตราดอกเบี้ย แม้ว่าตลาดหุ้น และตลาดการเงินทั่วโลกจะมีความผันผวนก็ตาม (รอยเตอร์)
3. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อของจีนในไตรมาสที่ 3 จะชะลอลง รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 50 สถาบันวิจัยชั้นนำซึ่งอยู่
ภายใต้คณะกรรมาธิการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติของจีน คาดว่าในไตรมาสที่ 3 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของจีนจะขยายตัว
ร้อยละ 11.4 ชะลอลงจากร้อยละ 11.9 ในไตรมาสที่ 2 ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในไตรมาสที่ 3 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3
ชะลอลงเล็กน้อยจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ในไตรมาสที่ 2 และร้อยละ 3.2 ในช่วงครึ่งแรกปีนี้ อย่างไรก็ตามมีรายงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร
ตลาดหลักทรัพย์ของจีนว่า แม้ว่าดัชนีราคาผู้บริโภคของจีนจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 5.0 ก็ยังไม่น่าวิตกสำหรับจีนที่มีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 4
ของโลก ขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิตในเดือน มิ.ย. ได้ชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 2.5 จากร้อยละ 2.9 ในเดือน เม.ย. และคาดว่าในไตรมาสที่ 3
จะอยู่ที่ร้อยละ 2.9 อย่างไรก็ตามเห็นว่าภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันของจีนจะสามารถรองรับอัตราเงินเฟ้อที่ร้อยละ 3 — 5 ได้ คาดว่าอัตรา
เงินเฟ้อทั้งปี 50 จะเกินกว่าเป้าหมายที่ทางการจีนตั้งไว้ที่ร้อยละ 3.0 แต่จะต่ำกว่าที่เคยทำสถิติสูงสุดที่ร้อยละ 3.9 ในปี 47 (รอยเตอร์)
4. ธ.กลางเกาหลีใต้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างไม่คาดมาก่อนอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 5.0 ต่อปีสูงสุดในรอบ 6 ปี
รายงานจากโซล เมื่อ 9 ส.ค.50 ธ.กลางเกาหลีใต้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 5.0 ต่อปี สูงสุดในรอบ 6 ปี
หลังจากเมื่อเดือนที่แล้วเพิ่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 4.75 ต่อปี นับเป็นครั้งแรกที่มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ย 2 เดือนติดต่อกัน
สร้างความประหลาดใจให้นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เท่าเดิม โดยเป็นผลจากปริมาณเงิน
หมุนเวียนที่ขยายตัวถึงร้อยละ 12.7 ต่อปีในเดือน มิ.ย.50 สูงสุดนับตั้งแต่ขยายตัวร้อยละ 12.9 ต่อปีในเดือน ก.พ.46 ซึ่งได้สร้างแรงกดดัน
ต่อภาวะเงินเฟ้อ โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.ค.50 อยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปีซึ่งแม้ว่าจะอยู่ในช่วงเป้าหมายที่ ธ.กลางเกาหลีใต้ตั้งไว้ที่ระหว่าง
ร้อยละ 2.5 ถึง 3.5 ต่อปีสำหรับช่วงปี 50 ถึงปี 52 แต่ก็สูงกว่าประมาณการที่คาดไว้สำหรับปีนี้ว่าจะมีอัตราเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.4 ต่อปี
ทั้งนี้ เศรษฐกิจเกาหลีใต้มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นจากการขยายตัวของการส่งออกและการฟื้นตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชน โดยดัชนีชี้วัดความ
คาดหวังของชาวเกาหลีใต้เกี่ยวกับเศรษฐกิจและการใช้จ่ายในอีก 6 เดือนข้างหน้าเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 103.8 ในเดือน ก.ค.50 สูงสุด
ในรอบ 19 เดือน จากระดับ 101.2 ในเดือน มิ.ย.50 (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 10 ส.ค. 50 9 ส.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 33.988 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 33.7625/34.0900 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.39625 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 811.83/21.55 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,650/10,750 10,700/10,800 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 66.24 70.09 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 28.39*/25.34* 28.39*/25.34* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดสิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 9 ส.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--