เลือกตั้ง 23 ธันวา ต้องทำมากกว่าที่พูด
โดย บัญญัติ บรรทัดฐาน
30 สิงหาคม 2550
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมได้เขียนวิเคราะห์วิจารณ์ถึงผลของการออกเสียงประชามติรัฐธรรมนูญใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือการออกเสียงไม่เห็นชอบที่มีมากกว่าเห็นชอบ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกือบทั้งภาค และในภาคเหนือถึง 7 จังหวัด ซึ่งได้ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันเป็นอันมากด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน ซึ่งผมมีความเห็นว่า เมื่อผลของการออกเสียงประชามติ ออกมาแล้วอย่างนี้ เราก็ต้องถือว่าเหล่านี้คือความเห็นของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย ที่จะต้องยอมรับกัน ส่วนจะมีผู้เกี่ยวข้องสนใจที่จะติดตามศึกษา วิจัย เป็นกรณีศึกษาเพื่อประโยชน์ต่อไปภายหน้าก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ทั้งผมยังได้มีความเห็นอีกว่า เพื่อลดความสับสนต่อสถานการณ์ทางการเมืองที่เป็นอยู่ในขณะนี้ นายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ ควรจะได้เร่งหารือผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อประกาศกำหนดวันเลือกตั้งที่แน่นอนโดยเร็ว ซึ่งก็เป็นที่น่ายินดีว่า ในทันทีที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่แล้ว นายกรัฐมนตรีก็ได้ร่วมปรึกษาหารือกับประธาน กกต. และก็ได้มีการแถลงข่าวให้เป็นที่รับทราบกันโดยทั่วไปว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งขึ้นในวันที่ 23 ธันวาคมปีนี้ เพราะเห็นว่าเป็นวันที่เหมาะสม และก็ลงตัวพอดีกับระยะเวลาที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะทำกฎหมายที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จ รวมทั้งระยะเวลาที่ กกต. จะเตรียมความพร้อมได้ทัน
แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่า กกต. กลับขาดความเป็นเอกภาพเสียเอง โดยมีกกต. ท่านหนึ่งออกมาให้สัมภาษณ์แสดงความไม่แน่ใจในเรื่องนี้เพราะ กกต. ยังไม่ได้ปรึกษาหารือกัน และทั้งยังมิได้ถามความเห็นจากพรรคการเมืองต่าง ๆ อีกด้วยเลยทำให้น้ำหนักของการแถลงข่าววันเลือกตั้ง 23 ธันวาคม ลดลงไปมาก และดีที่ยังมีบรรดาพรรคการเมืองต่าง ๆ ให้สัมภาษณ์หนุนช่วยว่าไม่มีใครขัดข้องหากจะมีการเลือกตั้งในวันดังกล่าว
แต่ที่ไม่มีใครคาดคิดว่าเกิดมีขึ้น เข้าทำนองโรคซ้ำกรรมซัด ก็คือ กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป หรือ อียู (EU) ขอเข้ามาร่วมตรวจสอบการเลือกตั้งในประเทศไทย โดยจะขอทำบันทึกความเข้าใจ หรือ เอ็มโอยู (MOU) กับคณะกรรมการเลือกตั้งและรัฐบาลไทย เพราะอียูจัดประเทศไทยให้อยู่ในประเภทกลุ่มประเทศที่ล้มเหลวเช่นเดียวกับประเทศติมอร์ ที่อยู่ในประเทศอินโดนีเซียแต่เดิม ซึ่งพวกเขาเคยได้เข้าไปตรวจสอบการเลือกตั้งมาแล้ว เพราะรัฐบาลอินโดนีเซียยินยอมและก็ได้ก่อให้เกิดความยุ่งยากมากมาย เช่นเจ้าหน้าที่ของพวกเขาเข้าไปในหน่วยเลือกตั้งได้ขอข้อมูลทุกระดับได้ และที่สำคัญคือแถลงข่าวในนามพวกเขาเองก็ได้ด้วย
จึงเป็นเรื่องถูกต้องอย่างยิ่งที่ประธาน กกต. คือนายอภิชาติ สุขัคคานนท์ ได้ยืนยันขันแข็งว่า คงไม่อาจที่จะจัดให้มีบันทึกข้อตกลงอะไรในระหว่างกันได้ เพราะจะทำให้เราเป็นเสมือนเมืองขึ้นของเขา กกต. ตั้งใจจะทำการเลือกตั้งตรงไปตรงมาอยู่แล้ว ใครจะมาดูก็ได้ว่าโปร่งใสหรือไม่ แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายไทย ซึ่งก็คงจะเป็นที่เข้าใจว่า ถ้าจะเป็นเรื่องมาขอสังเกตุการณ์การเลือกตั้ง ก็คงไม่มีใครขัดข้องเพราะประเทศไทยของเราก็เป็นประเทศเปิดอยู่แล้ว แต่จะมาทำใหญ่ทำโตอยู่เหนือกฎหมายโดยมีบันทึกข้อตกลงผูกมัดกันไว้ ถึงขั้นสามารถเข้าไปตรวจสอบได้เอง แถลงข่าวได้เอง อย่างนั้นคงไม่ได้แน่นอน
ผมคิดว่า กลุ่มคนพวกนี้คงไม่ละความพยายามง่าย ๆ ไม่ช้าไม่นานก็คงจะมีการส่งตัวแทนมาเจรจาต่อรองกันอีก ท่านประธาน กกต. เอง ก็คงจะต้องมีจุดยืนที่มั่นคงเช่นเดิม อย่าไปใจอ่อนกับฝรั่งตาน้ำข้าวพวกนี้ เพราะงานนี้มีศักดิ์ศรีของประเทศเป็นเดิมพัน กกต. ทั้งคณะก็ต้องมีเอกภาพในเรื่องนี้
นายกรัฐมนตรีพลเอก สุรยุทธ์ ซึ่งมีจุดยืนเดียวกันกับประธาน กกต. ในเรื่องนี้ ก็จะต้องมีจุดยืนที่มั่นคงเช่นนี้ต่อไป และที่รัฐบาลควรจะได้สนใจเป็นอย่างยิ่งก็คือว่า เรื่องนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร อยู่ ๆ ทาง อียู (EU) เกิดฟิตขึ้นมาเอง หรือคิดขึ้นมาได้เองว่าจะต้องมาขอตรวจสอบการเลือกตั้งในประเทศไทย หรือว่ามีคนไทยขายชาติคนไหน หรือกลุ่มไหนไปยุยงส่งเสริม โดยให้ข้อมูลผิด ๆ เพื่อที่จะตีแสกหน้า คมช. โดยไม่ได้คำนึงถึงศักดิ์ศรี และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประเทศของตน ซึ่งเมื่อไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้ ก็เคยมีคนออกมาพูดเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์บางฉบับในทำนองจะให้สหประชาชาติมาสังเกตุการณ์การเลือกตั้งของเรา จึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลซึ่งมีเครื่องมือมากพอ ควรให้ความสนใจและลองติดตามที่มาที่ไปในเรื่องนี้ดูเผื่ออาจจะได้เห็นหน้าคนขายชาติหรือกลุ่มคนชายชาติได้ชัดเจนยิ่งขึ้นก็เป็นได้
เมื่อมาถึงขณะนี้ การกำหนดวันเลือกตั้งวันที่ 23 ธันวาคมปีนี้ จึงมีเรื่องที่รัฐบาล กกต. และผู้เกี่ยวข้องจะต้องทำหลายอย่างเพิ่มเติมมากขึ้นแล้ว ทั้งที่เป็นเรื่องของความมีเอกภาพ ความพร้อมภายใน และที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อมั่น ทั้งภายในและภายนอกกล่าวคือว่า
1. ความเป็นเอกภาพของ กกต. โดยรวมเป็นเรื่องสำคัญ การกำหนดวันเลือกตั้ง การจัดการการเลือกตั้งและการควบคุมกำกับดูแลการเลือกตั้ง ที่แสดงออกให้เห็นถึงความเป็นเอกภาพและมีความพร้อมจะเพิ่มน้ำหนักความเชื่อมั่นในความรู้สึกของประชาชนและส่งผลดีต่อการเลือกตั้งโดยรวม
2. ภารกิจของนายกรัฐมนตรี ไม่ควรจะจบสิ้นเพียงประกาศกำหนดวันเลือกตั้งเท่านั้น หากยังมีภารกิจที่จะต้องสนับสนุนส่งเสริมให้การเลือกตั้ง สุจริต และเที่ยงธรรม ส่งเสริมให้ประชาชนตื่นตัวและเข้าใจสาระสำคัญของการเลือกตั้ง เพื่อให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งกันอย่างทั่วถึงการประกาศให้ การเลือกตั้งที่สุจริต ไม่ผิดกฎหมาย เป็นวาระแห่งชาติ จึงเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะได้ทำหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่ ไม่มีภาวะเกียร์ว่างเหมือนเมื่อครั้งจัดทำประชามติรัฐธรรมนูญ
3. นายกรัฐมนตรีควรจะได้แสดงเจตนาในการให้การสนับสนุนทุกองค์กรที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือมูลนิธิ องค์กรกลาง ได้มีงบประมาณอย่างเพียงพอในการดำเนินงาน สนับสนุนการเลือกตั้งที่สุจริตไม่ผิดกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
4. นายกรัฐมนตรีควรจะได้มอบนโยบายให้สื่อของรัฐ อันได้แก่ สถานีวิทยุและโทรทัศน์ทุกสถานีได้ร่วมกันรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนตื่นตัวและเข้าใจในสาระของประชาธิปไตยและการเลือกตั้งที่ถูกต้องดีงาม ซึ่งควรจะได้เร่งดำเนินการเสียตั้งแต่บัดนี้
หากนายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ จะได้ทุ่มเทอย่างเต็มที่เพื่อให้การเลือกตั้งอันเป็นวาระแห่งชาติในครั้งนี้ได้บรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย ท่านไม่เพียงแต่จะได้ชื่อว่าได้ร่วมสร้างคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยเท่านั้น หากจะทำให้ท่านได้ก้าวลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอย่างสง่างาม อันหมายถึงเกียรติประวัติของตัวท่านเองอีกด้วย.
****************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 30 ส.ค. 2550--จบ--
โดย บัญญัติ บรรทัดฐาน
30 สิงหาคม 2550
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมได้เขียนวิเคราะห์วิจารณ์ถึงผลของการออกเสียงประชามติรัฐธรรมนูญใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือการออกเสียงไม่เห็นชอบที่มีมากกว่าเห็นชอบ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกือบทั้งภาค และในภาคเหนือถึง 7 จังหวัด ซึ่งได้ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันเป็นอันมากด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน ซึ่งผมมีความเห็นว่า เมื่อผลของการออกเสียงประชามติ ออกมาแล้วอย่างนี้ เราก็ต้องถือว่าเหล่านี้คือความเห็นของประชาชนในระบอบประชาธิปไตย ที่จะต้องยอมรับกัน ส่วนจะมีผู้เกี่ยวข้องสนใจที่จะติดตามศึกษา วิจัย เป็นกรณีศึกษาเพื่อประโยชน์ต่อไปภายหน้าก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
ทั้งผมยังได้มีความเห็นอีกว่า เพื่อลดความสับสนต่อสถานการณ์ทางการเมืองที่เป็นอยู่ในขณะนี้ นายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ ควรจะได้เร่งหารือผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อประกาศกำหนดวันเลือกตั้งที่แน่นอนโดยเร็ว ซึ่งก็เป็นที่น่ายินดีว่า ในทันทีที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญใหม่แล้ว นายกรัฐมนตรีก็ได้ร่วมปรึกษาหารือกับประธาน กกต. และก็ได้มีการแถลงข่าวให้เป็นที่รับทราบกันโดยทั่วไปว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งขึ้นในวันที่ 23 ธันวาคมปีนี้ เพราะเห็นว่าเป็นวันที่เหมาะสม และก็ลงตัวพอดีกับระยะเวลาที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะทำกฎหมายที่จำเป็นและเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จ รวมทั้งระยะเวลาที่ กกต. จะเตรียมความพร้อมได้ทัน
แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่า กกต. กลับขาดความเป็นเอกภาพเสียเอง โดยมีกกต. ท่านหนึ่งออกมาให้สัมภาษณ์แสดงความไม่แน่ใจในเรื่องนี้เพราะ กกต. ยังไม่ได้ปรึกษาหารือกัน และทั้งยังมิได้ถามความเห็นจากพรรคการเมืองต่าง ๆ อีกด้วยเลยทำให้น้ำหนักของการแถลงข่าววันเลือกตั้ง 23 ธันวาคม ลดลงไปมาก และดีที่ยังมีบรรดาพรรคการเมืองต่าง ๆ ให้สัมภาษณ์หนุนช่วยว่าไม่มีใครขัดข้องหากจะมีการเลือกตั้งในวันดังกล่าว
แต่ที่ไม่มีใครคาดคิดว่าเกิดมีขึ้น เข้าทำนองโรคซ้ำกรรมซัด ก็คือ กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป หรือ อียู (EU) ขอเข้ามาร่วมตรวจสอบการเลือกตั้งในประเทศไทย โดยจะขอทำบันทึกความเข้าใจ หรือ เอ็มโอยู (MOU) กับคณะกรรมการเลือกตั้งและรัฐบาลไทย เพราะอียูจัดประเทศไทยให้อยู่ในประเภทกลุ่มประเทศที่ล้มเหลวเช่นเดียวกับประเทศติมอร์ ที่อยู่ในประเทศอินโดนีเซียแต่เดิม ซึ่งพวกเขาเคยได้เข้าไปตรวจสอบการเลือกตั้งมาแล้ว เพราะรัฐบาลอินโดนีเซียยินยอมและก็ได้ก่อให้เกิดความยุ่งยากมากมาย เช่นเจ้าหน้าที่ของพวกเขาเข้าไปในหน่วยเลือกตั้งได้ขอข้อมูลทุกระดับได้ และที่สำคัญคือแถลงข่าวในนามพวกเขาเองก็ได้ด้วย
จึงเป็นเรื่องถูกต้องอย่างยิ่งที่ประธาน กกต. คือนายอภิชาติ สุขัคคานนท์ ได้ยืนยันขันแข็งว่า คงไม่อาจที่จะจัดให้มีบันทึกข้อตกลงอะไรในระหว่างกันได้ เพราะจะทำให้เราเป็นเสมือนเมืองขึ้นของเขา กกต. ตั้งใจจะทำการเลือกตั้งตรงไปตรงมาอยู่แล้ว ใครจะมาดูก็ได้ว่าโปร่งใสหรือไม่ แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายไทย ซึ่งก็คงจะเป็นที่เข้าใจว่า ถ้าจะเป็นเรื่องมาขอสังเกตุการณ์การเลือกตั้ง ก็คงไม่มีใครขัดข้องเพราะประเทศไทยของเราก็เป็นประเทศเปิดอยู่แล้ว แต่จะมาทำใหญ่ทำโตอยู่เหนือกฎหมายโดยมีบันทึกข้อตกลงผูกมัดกันไว้ ถึงขั้นสามารถเข้าไปตรวจสอบได้เอง แถลงข่าวได้เอง อย่างนั้นคงไม่ได้แน่นอน
ผมคิดว่า กลุ่มคนพวกนี้คงไม่ละความพยายามง่าย ๆ ไม่ช้าไม่นานก็คงจะมีการส่งตัวแทนมาเจรจาต่อรองกันอีก ท่านประธาน กกต. เอง ก็คงจะต้องมีจุดยืนที่มั่นคงเช่นเดิม อย่าไปใจอ่อนกับฝรั่งตาน้ำข้าวพวกนี้ เพราะงานนี้มีศักดิ์ศรีของประเทศเป็นเดิมพัน กกต. ทั้งคณะก็ต้องมีเอกภาพในเรื่องนี้
นายกรัฐมนตรีพลเอก สุรยุทธ์ ซึ่งมีจุดยืนเดียวกันกับประธาน กกต. ในเรื่องนี้ ก็จะต้องมีจุดยืนที่มั่นคงเช่นนี้ต่อไป และที่รัฐบาลควรจะได้สนใจเป็นอย่างยิ่งก็คือว่า เรื่องนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร อยู่ ๆ ทาง อียู (EU) เกิดฟิตขึ้นมาเอง หรือคิดขึ้นมาได้เองว่าจะต้องมาขอตรวจสอบการเลือกตั้งในประเทศไทย หรือว่ามีคนไทยขายชาติคนไหน หรือกลุ่มไหนไปยุยงส่งเสริม โดยให้ข้อมูลผิด ๆ เพื่อที่จะตีแสกหน้า คมช. โดยไม่ได้คำนึงถึงศักดิ์ศรี และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประเทศของตน ซึ่งเมื่อไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้ ก็เคยมีคนออกมาพูดเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์บางฉบับในทำนองจะให้สหประชาชาติมาสังเกตุการณ์การเลือกตั้งของเรา จึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลซึ่งมีเครื่องมือมากพอ ควรให้ความสนใจและลองติดตามที่มาที่ไปในเรื่องนี้ดูเผื่ออาจจะได้เห็นหน้าคนขายชาติหรือกลุ่มคนชายชาติได้ชัดเจนยิ่งขึ้นก็เป็นได้
เมื่อมาถึงขณะนี้ การกำหนดวันเลือกตั้งวันที่ 23 ธันวาคมปีนี้ จึงมีเรื่องที่รัฐบาล กกต. และผู้เกี่ยวข้องจะต้องทำหลายอย่างเพิ่มเติมมากขึ้นแล้ว ทั้งที่เป็นเรื่องของความมีเอกภาพ ความพร้อมภายใน และที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อมั่น ทั้งภายในและภายนอกกล่าวคือว่า
1. ความเป็นเอกภาพของ กกต. โดยรวมเป็นเรื่องสำคัญ การกำหนดวันเลือกตั้ง การจัดการการเลือกตั้งและการควบคุมกำกับดูแลการเลือกตั้ง ที่แสดงออกให้เห็นถึงความเป็นเอกภาพและมีความพร้อมจะเพิ่มน้ำหนักความเชื่อมั่นในความรู้สึกของประชาชนและส่งผลดีต่อการเลือกตั้งโดยรวม
2. ภารกิจของนายกรัฐมนตรี ไม่ควรจะจบสิ้นเพียงประกาศกำหนดวันเลือกตั้งเท่านั้น หากยังมีภารกิจที่จะต้องสนับสนุนส่งเสริมให้การเลือกตั้ง สุจริต และเที่ยงธรรม ส่งเสริมให้ประชาชนตื่นตัวและเข้าใจสาระสำคัญของการเลือกตั้ง เพื่อให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งกันอย่างทั่วถึงการประกาศให้ การเลือกตั้งที่สุจริต ไม่ผิดกฎหมาย เป็นวาระแห่งชาติ จึงเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะได้ทำหน้าที่ของตนอย่างเต็มที่ ไม่มีภาวะเกียร์ว่างเหมือนเมื่อครั้งจัดทำประชามติรัฐธรรมนูญ
3. นายกรัฐมนตรีควรจะได้แสดงเจตนาในการให้การสนับสนุนทุกองค์กรที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือมูลนิธิ องค์กรกลาง ได้มีงบประมาณอย่างเพียงพอในการดำเนินงาน สนับสนุนการเลือกตั้งที่สุจริตไม่ผิดกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
4. นายกรัฐมนตรีควรจะได้มอบนโยบายให้สื่อของรัฐ อันได้แก่ สถานีวิทยุและโทรทัศน์ทุกสถานีได้ร่วมกันรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนตื่นตัวและเข้าใจในสาระของประชาธิปไตยและการเลือกตั้งที่ถูกต้องดีงาม ซึ่งควรจะได้เร่งดำเนินการเสียตั้งแต่บัดนี้
หากนายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ จะได้ทุ่มเทอย่างเต็มที่เพื่อให้การเลือกตั้งอันเป็นวาระแห่งชาติในครั้งนี้ได้บรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย ท่านไม่เพียงแต่จะได้ชื่อว่าได้ร่วมสร้างคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยเท่านั้น หากจะทำให้ท่านได้ก้าวลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอย่างสง่างาม อันหมายถึงเกียรติประวัติของตัวท่านเองอีกด้วย.
****************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 30 ส.ค. 2550--จบ--