สศก. แถลงผลงาน กระทรวงเกษตรฯ เร่งแก้ไขปัญหาราคายางพาราได้ผล ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางพารา มีรายได้เพิ่มขึ้นถึงกว่า 7 พันล้านบาท
นายมณฑล เจียมเจริญ ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศการเกษตรและรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ราคายางพาราแผ่นดิบที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เนื่องจากตลาดต่างประเทศมีความต้องการสูงขึ้น จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจด้านอุตสาหกรรมยางรถยนต์และยางธรรมชาติและการผันผวนของราคาน้ำมัน โดยเฉพาะในเดือนมิถุนายน 2549 ราคาพุ่งขึ้นถึงกิโลกรัมละ 93 บาท หลังจากนั้นราคาอ่อนตัวลงตลอดเวลา ในเดือนพฤศจิกายน 2549 ราคาต่ำสุดที่กิโลกรัมละ 45 บาท และเมื่อได้วิเคราะห์ข้อมูลในเชิงลึกแล้ว ปัญหาที่พบคือ กลไกตลาดสะดุดไม่ต่อเนื่อง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้รีบดำเนินการแก้ไขปัญหา จนกระทั่งราคาแข็งตัวขึ้น ปัจจุบันราคากิโลกรัมละ 62.16 บาท ทั้งนี้โดยเข้าไปดำเนินการในหลายช่องทาง คือ
1. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมาย องค์การสวนยาง ศึกษาแนวทางและวิธีการซื้อยางพาราจากตลาดกลางเพื่อส่งออกเอง ทำให้ราคาขยับตัวกระเตื้องขึ้นจากการเร่งเก็บ Stock จากภาคเอกชน
2. มอบหมายให้ สำนักควบคุมพืชและวัสดุเกษตร กรมวิชาการเกษตร ดำเนินการออกไปตรวจสอบ Stock ยางพารา ที่โรงงานรับซื้อ ตาม พ.ร.บ. ยางพารา ว่ามีมากน้อยเพียงใด ทำให้โรงงานเร่งแข่งขันการรับซื้อมากขึ้น มีผลให้ราคาแข็งตัวขึ้น
3. เร่งให้บริษัทร่วมทุนฯ ศึกษาแนวทางการรับซื้อยางพาราจากตลาดกลางเพื่อเพิ่มปริมาณการส่งออก
4. ตรวจสอบโดยเปรียบเทียบส่วนต่างของราคาตลาดกลางกับราคา FOB และราคาล่วงหน้าพบว่ามีส่วนต่างมากขึ้นจากการบิดเบือนกลไกตลาด จึงได้เคลื่อนไหวเป็นผลกดดันให้ผู้เกี่ยวข้องต้องรีบขยับตัวปรับราคาสูงขึ้น
นายมณฑล กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อคำนวณมูลค่า จากราคายางพาราแผ่นดิบยืนกิโลกรัมละ 45 บาท รวมผลผลิตยางพาราที่ออกสู่ตลาดแต่ละวันจนถึงปัจจุบัน มีมูลค่า 27,000 ล้านบาท แต่เมื่อผลักดันราคาแข็งตัวขึ้นถึง 62 บาท รวมผลผลิตที่ออกสู่ตลาดแต่ละวันถึงปัจจุบัน มีมูลค่า 34,600 ล้านบาท คิดส่วนต่างแล้ว มูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 7 พันล้านบาท ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 7 พันล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายมณฑล เจียมเจริญ ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศการเกษตรและรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ราคายางพาราแผ่นดิบที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เนื่องจากตลาดต่างประเทศมีความต้องการสูงขึ้น จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจด้านอุตสาหกรรมยางรถยนต์และยางธรรมชาติและการผันผวนของราคาน้ำมัน โดยเฉพาะในเดือนมิถุนายน 2549 ราคาพุ่งขึ้นถึงกิโลกรัมละ 93 บาท หลังจากนั้นราคาอ่อนตัวลงตลอดเวลา ในเดือนพฤศจิกายน 2549 ราคาต่ำสุดที่กิโลกรัมละ 45 บาท และเมื่อได้วิเคราะห์ข้อมูลในเชิงลึกแล้ว ปัญหาที่พบคือ กลไกตลาดสะดุดไม่ต่อเนื่อง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้รีบดำเนินการแก้ไขปัญหา จนกระทั่งราคาแข็งตัวขึ้น ปัจจุบันราคากิโลกรัมละ 62.16 บาท ทั้งนี้โดยเข้าไปดำเนินการในหลายช่องทาง คือ
1. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมาย องค์การสวนยาง ศึกษาแนวทางและวิธีการซื้อยางพาราจากตลาดกลางเพื่อส่งออกเอง ทำให้ราคาขยับตัวกระเตื้องขึ้นจากการเร่งเก็บ Stock จากภาคเอกชน
2. มอบหมายให้ สำนักควบคุมพืชและวัสดุเกษตร กรมวิชาการเกษตร ดำเนินการออกไปตรวจสอบ Stock ยางพารา ที่โรงงานรับซื้อ ตาม พ.ร.บ. ยางพารา ว่ามีมากน้อยเพียงใด ทำให้โรงงานเร่งแข่งขันการรับซื้อมากขึ้น มีผลให้ราคาแข็งตัวขึ้น
3. เร่งให้บริษัทร่วมทุนฯ ศึกษาแนวทางการรับซื้อยางพาราจากตลาดกลางเพื่อเพิ่มปริมาณการส่งออก
4. ตรวจสอบโดยเปรียบเทียบส่วนต่างของราคาตลาดกลางกับราคา FOB และราคาล่วงหน้าพบว่ามีส่วนต่างมากขึ้นจากการบิดเบือนกลไกตลาด จึงได้เคลื่อนไหวเป็นผลกดดันให้ผู้เกี่ยวข้องต้องรีบขยับตัวปรับราคาสูงขึ้น
นายมณฑล กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อคำนวณมูลค่า จากราคายางพาราแผ่นดิบยืนกิโลกรัมละ 45 บาท รวมผลผลิตยางพาราที่ออกสู่ตลาดแต่ละวันจนถึงปัจจุบัน มีมูลค่า 27,000 ล้านบาท แต่เมื่อผลักดันราคาแข็งตัวขึ้นถึง 62 บาท รวมผลผลิตที่ออกสู่ตลาดแต่ละวันถึงปัจจุบัน มีมูลค่า 34,600 ล้านบาท คิดส่วนต่างแล้ว มูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 7 พันล้านบาท ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 7 พันล้านบาท
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-