กรุงเทพ--26 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ปาฐกถาของศาสตราจารย์ ดร. อับดุลลอ ฮ บิน มุห ชินอัตตุรกี (H.E. Dr. Abdullah bin Abdul Mohsin Al-Turki) เลขาธิการสันนิบาตมุสลิมโลก (Muslim World League — MWL) ณ ทำเนียบรัฐบาล วันที่ 25 มิถุนายน 2550 ในโอกาสเยือนไทยอย่างเป็นทางการ
คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ
ปาฐกถาของศาสตราจารย์ ดร. อับดุลลอ ฮ บิน มุห ชินอัตตุรกี (H.E. Dr. Abdullah bin Abdul Mohsin Al-Turki)
เลขาธิการสันนิบาตมุสลิมโลก (Muslim World League — MWL) ณ ทำเนียบรัฐบาล ในโอกาสเยือนไทยอย่างเป็นทางการ 25 มิถุนายน 2550
ด้วยพระนามของอัลลอฮผู้ทรงกรุณาปราณีผู้ทรงเมตตาเสมอ
ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
แขกผู้มีเกียรติทุกท่าน
ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน
ข้าพเจ้าขอขอบคุณรัฐบาลไทยเป็นอย่างสูงที่ให้การต้อนรับอย่างดียิ่งแก่คณะสันนิบาตมุสลิมโลก ทั้ง ฯพณฯ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ฯพณฯ นายอารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายพระนาย สุวรรณรัฐ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการเยือนครั้งนี้จะประสบความสำเร็จ และนำไปสู่มิติใหม่ของการปรึกษาหารือ เพิ่มพูนความเข้าใจ และการขยายความร่วมมือในด้านต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ร่วมกันของไทยและสันนิบาตมุสลิมโลก
ชาวมุสลิมในประเทศไทยเป็นส่วนสำคัญของประเทศทั้งในทางศาสนาและสังคม สันนิบาตมุสลิมโลก ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนที่ให้ความสำคัญแก่งานด้านมนุษยชาติและชนกลุ่มน้อยมุสลิม จึงประสงค์ที่จะมีความร่วมมือกับไทยในฐานะประเทศที่โดดเด่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นศูนย์รวมแห่งความเจริญรุ่งเรือง เนื่องจากมีบทบาทสูงในด้านการค้าระหว่างประเทศมาเป็นเวลาช้านาน อันเป็นบ่อเกิดของการติดต่อสัมพันธ์และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตลอดจนการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและสมานฉันท์ของมวลประชาชาติ
ข้าพเจ้าขอถือโอกาสนี้ อธิบายโดยสรุปเกี่ยวกับคำสอนและหลักการพื้นฐานของศาสนาอิสลาม เพื่อให้ผู้ที่มิใช่มุสลิมได้เรียนรู้จากต้นกำเนิด ด้วยใจที่เปิดกว้างและด้วยจิตวิญญาณที่เป็นอิสระ
พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานถือเป็นหัวใจในการเรียนรู้อิสลามและเป็นพื้นฐานของศาสนาอิสลามที่สมบูรณ์และกระจ่างชัด ซึ่งทุกคนสามารถเข้าใจแก่นสารของอิสลามที่แท้จริงได้ ทั้งนี้ ความสอดคล้องกลมกลืนระหว่างพื้นฐานทางศาสนากับธรรมชาติของมวลมนุษย์ตามหลักการศาสนาอิสลามนั้น ปรากฏชัดในพระดำรัสขององค์อัลลฮในคำภีร์อัลกุรอ่าน ความตอนหนึ่งว่า “ไม่มีความดีใด ๆ ปรากฏท่ามกลางการพูดซุบซิบนินทาอย่างมากมายของพวกเขา นอกจากผู้ที่ใช้ให้ทำทานหรือให้ทำสิ่งที่ดีงาม หรือให้ประนีประนอม (สมานฉันท์) ระหว่างผู้คนเท่านั้น และผู้ใดกระทำดังกล่าวเพื่อแสวงหาความโปรดปรานจากอัลลอฮฺแล้ว เราจะให้แก่เขาซึ่งรางวัลอันยิ่งใหญ่” (อันนีซาอฺ โองการที่ 114) โองการนี้เป็นพื้นฐานประการแรกซึ่งแสดงให้เห็นว่า การเสวนาเป็นหนทางที่สามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้ดีเสมอมา เช่น การรวมกำลังกันเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้ การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี เป็นต้น
อีกพระดำรัสหนึ่งขององค์อัลลอฮฺ ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺทรงให้พวกเจ้ามอบคืนบรรดาของฝากแก่เจ้าของของมัน และเมื่อพวกเจ้าตัดสินระหว่างผู้คน พวกเจ้าก็จะต้องตัดสินด้วยความยุติธรรม” (อันนีซาอฺ โองการที่ 58) ซึ่งเป็นเสมือนพื้นฐานประการที่สองซึ่งย้ำการปกป้องสิทธิและคืนสิทธิแก่เจ้าของตามหลักความยุติธรรมและความเสมอภาค นอกจากนั้น พระดำรัสขององค์อัลลอฮฺ ความว่า “แท้จริง อัลลอฮ์ทรงให้รักษาความยุติธรรมและทำดี และการบริจาคแก่ญาติใกล้ชิด และให้ละเว้นจากการกระทำชั่วช้าลามก และบาปทั้งปวง” (อันนะห์ล โองการที่ 90) เป็นหลักการประการที่สามซึ่งแสดงถึงจุดมุ่งหมายของบทบัญญัติของศาสนาอิสลามที่มุ่งยกระดับจิตวิญญาณของสังคม และต่อสู้กับความชั่วร้ายและความเป็นศัตรูต่อกัน
ศาสนาอิสลามประกาศให้เกียรติและเชิดชูมนุษยชาติไว้อย่างแจ้งชัด อันเป็นการเชิดชูที่สมควรที่มนุษย์ได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองแก่โลก และสร้างอารยธรรมบนพื้นฐานของจริยธรรม องค์อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ในคัมภีร์อัลกุรอ่าน ความว่า “เราได้ให้เกียรติแก่บรรดาลูกหลานของอาดัม และเราได้ให้พวกเขาดีเด่นอย่างมีเกียรติเหนือกว่าผู้ที่เราได้ให้บังเกิดมาเป็นส่วนใหญ่” (อัลอิซรออฺ โองการที่ 70)
นอกจากนี้ อิสลามยังกล่าวถึงต้นกำเนิดของมนุษยชาติ และการมีความสัมพันธ์อยู่ร่วมกันของมวลมนุษย์ที่มาจากหลากหลายเผ่าพันธุ์ องค์อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ในคัมภีร์อัลกุรอ่าน ความว่า “โอ้มนุษยชาติทั้งหลาย แท้จริงเราได้สร้างพวกเจ้าจากเพศชาย และเพศหญิง และเราได้ให้พวกเจ้าแยกเป็นเผ่าและตระกูล เพื่อจะได้รู้จักกัน แท้จริงผู้ที่มีเกียรติยิ่งในหมู่พวกเจ้าในสายตา อัลลอฮ นั้น คือผู้ที่ได้รับความยำเกรงยิ่งในหมู่พวกเจ้า” (อัลฮูจุรอต โองการที่ 13)
ที่กล่าวมาแล้วนั้น คือ ส่วนหนึ่งของพื้นฐานภายใต้สารแห่งอิสลามที่องค์อัลลอฮฺได้ให้ความกระจ่างไว้ในพระดำรัสของพระองค์ ความว่า “เรามิได้ส่งเจ้ามาเพื่ออื่นใดนอกจากเพื่อเป็นความเมตตาแก่ประชาชาติทั้งหลาย” (อัลอันบียาอฺ โองการที่ 107) เช่นเดียวกับพระวจนะของท่านศาสดามูฮำหมัด ความว่า “แท้ที่จริงฉันถูกส่งมาเพื่อจริยธรรมอันสัมบูรณ์”
ข้าพเจ้าขอขอบคุณรัฐบาลไทยที่ให้โอกาสอันวิเศษนี้แก่ข้าพเจ้า และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะสามารถช่วยเพิ่มพูนความร่วมมือและความเข้าใจระหว่างอิสลามกับไทย เพื่อสัมพันธไมตรีที่แน่นแฟ้นยิ่งๆ ขึ้นไป
สันนิบาตมุสลิมโลกมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในนครมักกะห์ และได้รับการสนับสนุนจากประเทศมุสลิมต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศเจ้าภาพ ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ภายใต้การนำของผู้พิทักษ์สองมหาสุเหร่าอันศักดิ์สิทธิ์ กษัตริย์อับดุลเลาะห์ บิน อัลดุลอาซิซ และมกุฎราชกุมาร เจ้าชายสุลต่าน บิน อับดุลอาซิซ ซึ่งทำให้ความร่วมมือระหว่างอิสลามกับนานาชาติได้รับความเอาใจใส่มากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน สันนิบาตมุสลิมโลกได้รับความร่วมมือจากนานาประเทศในทุกทวีป เป็นผลให้สันนิบาตมุสลิมโลกมีศูนย์และสำนักงานประจำในประเทศต่างๆ ทั่วโลก
สันนิบาตมุสลิมโลกมุ่งมั่นที่จะปกป้องและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อศาสนาอิสลามที่มุ่งในทางสายกลาง ทั้งในด้านความคิดและการปฏิบัติ กอปรด้วยความยุติธรรม และเหตุผลบนพื้นฐานของความจริง ณะเดียวกัน ศาสนาอิสลามปฏิเสธความสุดโต่งซึ่งจะนำไปสู่ทางผิด การเบี่ยงเบน ความรุนแรงและการก่อการร้าย และสันนิบาตมุสลิมโลกมีความยินดีอย่างยิ่งที่จะให้ความร่วมมือกับรัฐบาลและประชาชนชาวไทย
ขอขอบพระคุณ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ปาฐกถาของศาสตราจารย์ ดร. อับดุลลอ ฮ บิน มุห ชินอัตตุรกี (H.E. Dr. Abdullah bin Abdul Mohsin Al-Turki) เลขาธิการสันนิบาตมุสลิมโลก (Muslim World League — MWL) ณ ทำเนียบรัฐบาล วันที่ 25 มิถุนายน 2550 ในโอกาสเยือนไทยอย่างเป็นทางการ
คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ
ปาฐกถาของศาสตราจารย์ ดร. อับดุลลอ ฮ บิน มุห ชินอัตตุรกี (H.E. Dr. Abdullah bin Abdul Mohsin Al-Turki)
เลขาธิการสันนิบาตมุสลิมโลก (Muslim World League — MWL) ณ ทำเนียบรัฐบาล ในโอกาสเยือนไทยอย่างเป็นทางการ 25 มิถุนายน 2550
ด้วยพระนามของอัลลอฮผู้ทรงกรุณาปราณีผู้ทรงเมตตาเสมอ
ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
แขกผู้มีเกียรติทุกท่าน
ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน
ข้าพเจ้าขอขอบคุณรัฐบาลไทยเป็นอย่างสูงที่ให้การต้อนรับอย่างดียิ่งแก่คณะสันนิบาตมุสลิมโลก ทั้ง ฯพณฯ พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ฯพณฯ นายอารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายพระนาย สุวรรณรัฐ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการเยือนครั้งนี้จะประสบความสำเร็จ และนำไปสู่มิติใหม่ของการปรึกษาหารือ เพิ่มพูนความเข้าใจ และการขยายความร่วมมือในด้านต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ร่วมกันของไทยและสันนิบาตมุสลิมโลก
ชาวมุสลิมในประเทศไทยเป็นส่วนสำคัญของประเทศทั้งในทางศาสนาและสังคม สันนิบาตมุสลิมโลก ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนที่ให้ความสำคัญแก่งานด้านมนุษยชาติและชนกลุ่มน้อยมุสลิม จึงประสงค์ที่จะมีความร่วมมือกับไทยในฐานะประเทศที่โดดเด่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นศูนย์รวมแห่งความเจริญรุ่งเรือง เนื่องจากมีบทบาทสูงในด้านการค้าระหว่างประเทศมาเป็นเวลาช้านาน อันเป็นบ่อเกิดของการติดต่อสัมพันธ์และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตลอดจนการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและสมานฉันท์ของมวลประชาชาติ
ข้าพเจ้าขอถือโอกาสนี้ อธิบายโดยสรุปเกี่ยวกับคำสอนและหลักการพื้นฐานของศาสนาอิสลาม เพื่อให้ผู้ที่มิใช่มุสลิมได้เรียนรู้จากต้นกำเนิด ด้วยใจที่เปิดกว้างและด้วยจิตวิญญาณที่เป็นอิสระ
พระมหาคัมภีร์อัลกุรอานถือเป็นหัวใจในการเรียนรู้อิสลามและเป็นพื้นฐานของศาสนาอิสลามที่สมบูรณ์และกระจ่างชัด ซึ่งทุกคนสามารถเข้าใจแก่นสารของอิสลามที่แท้จริงได้ ทั้งนี้ ความสอดคล้องกลมกลืนระหว่างพื้นฐานทางศาสนากับธรรมชาติของมวลมนุษย์ตามหลักการศาสนาอิสลามนั้น ปรากฏชัดในพระดำรัสขององค์อัลลฮในคำภีร์อัลกุรอ่าน ความตอนหนึ่งว่า “ไม่มีความดีใด ๆ ปรากฏท่ามกลางการพูดซุบซิบนินทาอย่างมากมายของพวกเขา นอกจากผู้ที่ใช้ให้ทำทานหรือให้ทำสิ่งที่ดีงาม หรือให้ประนีประนอม (สมานฉันท์) ระหว่างผู้คนเท่านั้น และผู้ใดกระทำดังกล่าวเพื่อแสวงหาความโปรดปรานจากอัลลอฮฺแล้ว เราจะให้แก่เขาซึ่งรางวัลอันยิ่งใหญ่” (อันนีซาอฺ โองการที่ 114) โองการนี้เป็นพื้นฐานประการแรกซึ่งแสดงให้เห็นว่า การเสวนาเป็นหนทางที่สามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้ดีเสมอมา เช่น การรวมกำลังกันเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้ การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี เป็นต้น
อีกพระดำรัสหนึ่งขององค์อัลลอฮฺ ความว่า “แท้จริงอัลลอฮฺทรงให้พวกเจ้ามอบคืนบรรดาของฝากแก่เจ้าของของมัน และเมื่อพวกเจ้าตัดสินระหว่างผู้คน พวกเจ้าก็จะต้องตัดสินด้วยความยุติธรรม” (อันนีซาอฺ โองการที่ 58) ซึ่งเป็นเสมือนพื้นฐานประการที่สองซึ่งย้ำการปกป้องสิทธิและคืนสิทธิแก่เจ้าของตามหลักความยุติธรรมและความเสมอภาค นอกจากนั้น พระดำรัสขององค์อัลลอฮฺ ความว่า “แท้จริง อัลลอฮ์ทรงให้รักษาความยุติธรรมและทำดี และการบริจาคแก่ญาติใกล้ชิด และให้ละเว้นจากการกระทำชั่วช้าลามก และบาปทั้งปวง” (อันนะห์ล โองการที่ 90) เป็นหลักการประการที่สามซึ่งแสดงถึงจุดมุ่งหมายของบทบัญญัติของศาสนาอิสลามที่มุ่งยกระดับจิตวิญญาณของสังคม และต่อสู้กับความชั่วร้ายและความเป็นศัตรูต่อกัน
ศาสนาอิสลามประกาศให้เกียรติและเชิดชูมนุษยชาติไว้อย่างแจ้งชัด อันเป็นการเชิดชูที่สมควรที่มนุษย์ได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองแก่โลก และสร้างอารยธรรมบนพื้นฐานของจริยธรรม องค์อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ในคัมภีร์อัลกุรอ่าน ความว่า “เราได้ให้เกียรติแก่บรรดาลูกหลานของอาดัม และเราได้ให้พวกเขาดีเด่นอย่างมีเกียรติเหนือกว่าผู้ที่เราได้ให้บังเกิดมาเป็นส่วนใหญ่” (อัลอิซรออฺ โองการที่ 70)
นอกจากนี้ อิสลามยังกล่าวถึงต้นกำเนิดของมนุษยชาติ และการมีความสัมพันธ์อยู่ร่วมกันของมวลมนุษย์ที่มาจากหลากหลายเผ่าพันธุ์ องค์อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ในคัมภีร์อัลกุรอ่าน ความว่า “โอ้มนุษยชาติทั้งหลาย แท้จริงเราได้สร้างพวกเจ้าจากเพศชาย และเพศหญิง และเราได้ให้พวกเจ้าแยกเป็นเผ่าและตระกูล เพื่อจะได้รู้จักกัน แท้จริงผู้ที่มีเกียรติยิ่งในหมู่พวกเจ้าในสายตา อัลลอฮ นั้น คือผู้ที่ได้รับความยำเกรงยิ่งในหมู่พวกเจ้า” (อัลฮูจุรอต โองการที่ 13)
ที่กล่าวมาแล้วนั้น คือ ส่วนหนึ่งของพื้นฐานภายใต้สารแห่งอิสลามที่องค์อัลลอฮฺได้ให้ความกระจ่างไว้ในพระดำรัสของพระองค์ ความว่า “เรามิได้ส่งเจ้ามาเพื่ออื่นใดนอกจากเพื่อเป็นความเมตตาแก่ประชาชาติทั้งหลาย” (อัลอันบียาอฺ โองการที่ 107) เช่นเดียวกับพระวจนะของท่านศาสดามูฮำหมัด ความว่า “แท้ที่จริงฉันถูกส่งมาเพื่อจริยธรรมอันสัมบูรณ์”
ข้าพเจ้าขอขอบคุณรัฐบาลไทยที่ให้โอกาสอันวิเศษนี้แก่ข้าพเจ้า และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะสามารถช่วยเพิ่มพูนความร่วมมือและความเข้าใจระหว่างอิสลามกับไทย เพื่อสัมพันธไมตรีที่แน่นแฟ้นยิ่งๆ ขึ้นไป
สันนิบาตมุสลิมโลกมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในนครมักกะห์ และได้รับการสนับสนุนจากประเทศมุสลิมต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศเจ้าภาพ ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ภายใต้การนำของผู้พิทักษ์สองมหาสุเหร่าอันศักดิ์สิทธิ์ กษัตริย์อับดุลเลาะห์ บิน อัลดุลอาซิซ และมกุฎราชกุมาร เจ้าชายสุลต่าน บิน อับดุลอาซิซ ซึ่งทำให้ความร่วมมือระหว่างอิสลามกับนานาชาติได้รับความเอาใจใส่มากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน สันนิบาตมุสลิมโลกได้รับความร่วมมือจากนานาประเทศในทุกทวีป เป็นผลให้สันนิบาตมุสลิมโลกมีศูนย์และสำนักงานประจำในประเทศต่างๆ ทั่วโลก
สันนิบาตมุสลิมโลกมุ่งมั่นที่จะปกป้องและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อศาสนาอิสลามที่มุ่งในทางสายกลาง ทั้งในด้านความคิดและการปฏิบัติ กอปรด้วยความยุติธรรม และเหตุผลบนพื้นฐานของความจริง ณะเดียวกัน ศาสนาอิสลามปฏิเสธความสุดโต่งซึ่งจะนำไปสู่ทางผิด การเบี่ยงเบน ความรุนแรงและการก่อการร้าย และสันนิบาตมุสลิมโลกมีความยินดีอย่างยิ่งที่จะให้ความร่วมมือกับรัฐบาลและประชาชนชาวไทย
ขอขอบพระคุณ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-