นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง รักษาการในตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ได้เปิดเผยถึงผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลประจำเดือนมีนาคม 2550 ซึ่งจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมายจำนวน 3,636 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.4 และได้ส่งผลให้ผลการจัดเก็บรายได้ในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 (ตุลาคม 2549 — มีนาคม 2550) รัฐบาลจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าประมาณการ 2,034 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.3 แต่ยังสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.6 สรุปได้ ดังนี้
1. เดือนมีนาคม 2550 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 103,343 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 3,636 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.4 และต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 3.0 ทั้งนี้
เป็นผลจากกรมสรรพากร กรมธนารักษ์ และรัฐวิสาหกิจจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าประมาณการที่ตั้งไว้ 3,358 157 และ 2,895 ล้านบาท ตามลำดับ ในขณะที่กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร และส่วนราชการอื่นจัดเก็บรายได้สูงกว่าประมาณการ 87 48 และ 2,784 ล้านบาท ตามลำดับ
ภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญ คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ต่ำกว่าประมาณการ2,868 ล้านบาท ซึ่งสาเหตุมาจากภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าที่ต่ำกว่าที่คาดไว้ รองลงมาได้แก่ ภาษีโทรคมนาคม และภาษีสรรพสามิตรถยนต์ต่ำกว่าประมาณการจำนวน 422 และ 410 ล้านบาท ตามลำดับ โดยภาษีโทรคมนาคมที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการในอัตราสูง เนื่องจากกระทรวงการคลังได้ประกาศลดอัตราภาษีเหลือ 0% ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550 ได้ส่งผลให้รายได้จากภาษีโทรคมนาคมที่จะต้องชำระในเดือนมีนาคม 2550 หายไป 2 วัน นอกจากนี้รัฐวิสาหกิจจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 2,895 ล้านบาท เนื่องมาจากรัฐวิสาหกิจบางแห่ง (โรงงานยาสูบ และการประปานครหลวง) ได้นำส่งรายได้ในเดือนก่อนหน้าแล้ว และรัฐวิสาหกิจบางแห่งยังไม่สามารถนำส่งรายได้ได้ เนื่องจากอยู่ระหว่างการตรวจสอบงบการเงินของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
สำหรับภาษีที่เก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษียาสูบ 1,132 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังได้รับรายได้ส่วนเกินจากการจำหน่ายพันธบัตรประมาณ 3,000 ล้านบาท ทำให้ส่วนราชการอื่นจัดเก็บรายได้สูงกว่าเป้าหมาย
2. ในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 (ตุลาคม 2549 — มีนาคม 2550) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 608,396 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 2,034 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.3 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.6) เป็นผลจากการคืนภาษีของกรมสรรพากรที่สูงกว่าประมาณการ12,780 ล้านบาท (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 15,968 ล้านบาท)
ผลการจัดเก็บรายได้แยกตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 432,325 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 2,813 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.6 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.7) ภาษีที่เก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 3,713 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.8 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.3) และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 2,534 ล้านบาท หรือร้อยละ 42.0 (สูงว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 23.6) ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 8,594 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.8 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.8) เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าต่ำกว่าที่คาดไว้อย่างต่อเนื่อง
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 149,812 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 8,532 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.0 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.8) โดยภาษีที่จัดเก็บส่วนใหญ่สูงกว่าประมาณการและช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ที่สำคัญได้แก่ ภาษีเบียร์ สุรา ยาสูบ และน้ำมัน ส่วนภาษีรถยนต์จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 3,302 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.8 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 14.4 )
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 44,827 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 387 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.9 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 10.4) โดยอากรขาเข้าจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 433 ล้านบาท
2.4 รัฐวิสาหกิจ นำส่งรายได้รวม 42,334 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 2,496 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.3 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 47.8) เป็นผลจากรัฐวิสาหกิจบางแห่งนำส่งรายได้สูงกว่าที่ประมาณการไว้ ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัท การท่าอากาศยานไทย จำกัด และสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
2.5 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 38,129 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 2,457 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.9 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.6) เนื่องจากได้รับเงินส่วนเกินจากการจำหน่ายพันธบัตรประมาณ 6,000 ล้านบาท ในขณะที่รายได้จากค่าภาคหลวงปิโตรเลียมต่ำกว่าประมาณการซึ่งเป็นผลจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
3. คาดการณ์รายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2550
จากผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 ที่ต่ำกว่าเป้าหมาย 2,034 ล้านบาท และคาดการณ์แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง คาดว่าการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในปีงบประมาณ 2550 นี้ อาจจะจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในเอกสารงบประมาณ (1.42 ล้านล้านบาท) เล็กน้อย ซึ่งกระทรวงการคลังมั่นใจว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมของฐานะ การคลังรัฐบาลแต่อย่างใด
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
สำนักนโยบายการคลัง
โทร 02 273 9020 ต่อ 3545, 3546, 3569
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 28/2550 9 เมษายน 50--
1. เดือนมีนาคม 2550 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 103,343 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 3,636 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.4 และต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 3.0 ทั้งนี้
เป็นผลจากกรมสรรพากร กรมธนารักษ์ และรัฐวิสาหกิจจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าประมาณการที่ตั้งไว้ 3,358 157 และ 2,895 ล้านบาท ตามลำดับ ในขณะที่กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร และส่วนราชการอื่นจัดเก็บรายได้สูงกว่าประมาณการ 87 48 และ 2,784 ล้านบาท ตามลำดับ
ภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญ คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ต่ำกว่าประมาณการ2,868 ล้านบาท ซึ่งสาเหตุมาจากภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าที่ต่ำกว่าที่คาดไว้ รองลงมาได้แก่ ภาษีโทรคมนาคม และภาษีสรรพสามิตรถยนต์ต่ำกว่าประมาณการจำนวน 422 และ 410 ล้านบาท ตามลำดับ โดยภาษีโทรคมนาคมที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการในอัตราสูง เนื่องจากกระทรวงการคลังได้ประกาศลดอัตราภาษีเหลือ 0% ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550 ได้ส่งผลให้รายได้จากภาษีโทรคมนาคมที่จะต้องชำระในเดือนมีนาคม 2550 หายไป 2 วัน นอกจากนี้รัฐวิสาหกิจจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 2,895 ล้านบาท เนื่องมาจากรัฐวิสาหกิจบางแห่ง (โรงงานยาสูบ และการประปานครหลวง) ได้นำส่งรายได้ในเดือนก่อนหน้าแล้ว และรัฐวิสาหกิจบางแห่งยังไม่สามารถนำส่งรายได้ได้ เนื่องจากอยู่ระหว่างการตรวจสอบงบการเงินของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
สำหรับภาษีที่เก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษียาสูบ 1,132 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังได้รับรายได้ส่วนเกินจากการจำหน่ายพันธบัตรประมาณ 3,000 ล้านบาท ทำให้ส่วนราชการอื่นจัดเก็บรายได้สูงกว่าเป้าหมาย
2. ในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 (ตุลาคม 2549 — มีนาคม 2550) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 608,396 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 2,034 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.3 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.6) เป็นผลจากการคืนภาษีของกรมสรรพากรที่สูงกว่าประมาณการ12,780 ล้านบาท (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 15,968 ล้านบาท)
ผลการจัดเก็บรายได้แยกตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 432,325 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 2,813 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.6 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.7) ภาษีที่เก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 3,713 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.8 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.3) และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 2,534 ล้านบาท หรือร้อยละ 42.0 (สูงว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 23.6) ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 8,594 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.8 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.8) เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าต่ำกว่าที่คาดไว้อย่างต่อเนื่อง
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 149,812 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 8,532 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.0 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.8) โดยภาษีที่จัดเก็บส่วนใหญ่สูงกว่าประมาณการและช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ที่สำคัญได้แก่ ภาษีเบียร์ สุรา ยาสูบ และน้ำมัน ส่วนภาษีรถยนต์จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 3,302 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.8 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 14.4 )
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 44,827 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 387 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.9 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 10.4) โดยอากรขาเข้าจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 433 ล้านบาท
2.4 รัฐวิสาหกิจ นำส่งรายได้รวม 42,334 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 2,496 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.3 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 47.8) เป็นผลจากรัฐวิสาหกิจบางแห่งนำส่งรายได้สูงกว่าที่ประมาณการไว้ ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัท การท่าอากาศยานไทย จำกัด และสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
2.5 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 38,129 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 2,457 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.9 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.6) เนื่องจากได้รับเงินส่วนเกินจากการจำหน่ายพันธบัตรประมาณ 6,000 ล้านบาท ในขณะที่รายได้จากค่าภาคหลวงปิโตรเลียมต่ำกว่าประมาณการซึ่งเป็นผลจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
3. คาดการณ์รายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2550
จากผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 ที่ต่ำกว่าเป้าหมาย 2,034 ล้านบาท และคาดการณ์แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง คาดว่าการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในปีงบประมาณ 2550 นี้ อาจจะจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในเอกสารงบประมาณ (1.42 ล้านล้านบาท) เล็กน้อย ซึ่งกระทรวงการคลังมั่นใจว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมของฐานะ การคลังรัฐบาลแต่อย่างใด
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
สำนักนโยบายการคลัง
โทร 02 273 9020 ต่อ 3545, 3546, 3569
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 28/2550 9 เมษายน 50--