พัฒนาการทางเทคโนโลยีที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ประกอบกับเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา หลายประเทศเติบโตขึ้นมาก ทำให้ทั่วทั้งโลกมีความต้องการเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์จำนวนมหาศาล ส่งผลให้ปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มสูงขึ้นตาม จนกลายเป็นปัญหาที่หลายฝ่ายเริ่มวิตกกังวล ทั้งนี้ องค์การสหประชาชาติ (United Nations : UN) คาดการณ์ว่า ในอนาคตอันใกล้ปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ของทั้งโลกจะเพิ่มขึ้นราว 40 ล้านตันต่อปี หรือเทียบได้กับปริมาณขยะในรถบรรทุกที่นำมาเรียงต่อกันเป็นความยาวถึงครึ่งรอบโลก นอกจากนี้ บริษัทการ์ทเนอร์ ผู้วิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญของโลก ประเมินว่า ในแต่ละวันมีเครื่องคอมพิวเตอร์ราว 1.33 แสนเครื่องถูกทิ้งทั้งจากภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ ในจำนวนนี้มีเพียงร้อยละ 10-15 ที่นำไปผ่านกระบวนการ แปรสภาพเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ขณะที่สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของโลกมีปริมาณขยะโทรศัพท์มือถือราว 130 ล้านเครื่องต่อปี
ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะส่งผลให้ UN ร่วมกับองค์กรภาครัฐจากประเทศต่าง ๆ และผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของโลก อาทิ ไมโครซอฟต์ อีริคสัน และฮิวเลตต์-แพคการ์ด ริเริ่มโครงการบรรเทาปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ (Solving the E-Waste Problem : StEP) ขึ้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2550 เพื่อแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากพบว่ากว่าร้อยละ 80 ของขยะอิเล็กทรอนิกส์ของทั้งโลกรวมกันอยู่ที่ประเทศกำลังพัฒนาซึ่งยังขาดความรู้และเทคโนโลยีในการแยกชิ้นส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงขาดความรู้ในการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านั้นอย่างถูกวิธี ทั้งนี้ โครงการ StEP มีแนวทางการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้
* ความร่วมมือระดับภาครัฐ จะมีการส่งทีมผู้เชี่ยวชาญจากโครงการ StEP ไปยังประเทศกำลังพัฒนา ทั้งในเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ ที่มีการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์มา Recycle ในปัจจุบัน เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในการดำเนินกระบวนการดังกล่าวอย่างถูกต้องและปลอดภัย ทั้งในส่วนของการฝึกอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องรวมถึงการถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการ Recycle ขยะอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้ว ผู้เชี่ยวชาญจากโครงการ StEP จะรณรงค์ให้ผู้บริโภคตระหนักถึงผลกระทบจากการทิ้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ยังสามารถใช้งานได้ รวมทั้งจัดตั้งทีมงานทำงานร่วมกับรัฐบาลในการวางกรอบนโยบาย ตลอดจนกฎหมาย/กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยจะยึดระเบียบว่าด้วยเศษเหลือทิ้งของเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (Waste Electrical and Electronic Equipment : WEEE) ของสหภาพยุโรปเป็นพื้นฐานในการวางนโยบายดังกล่าว
* ความร่วมมือกับภาคเอกชน เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนที่เป็นผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์เข้าร่วมโครงการ StEP ทั้งนี้ ภาคเอกชนที่ต้องการเข้าร่วมโครงการต้องผลิตสินค้าตามมาตรฐานของ StEPคือ สินค้าต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสามารถนำกลับมา Recycle จึงจะสามารถนำเครื่องหมายของ StEP ติดลงบนสินค้าเพื่อแสดงถึงความใส่ใจในปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ อันจะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสินค้า ขณะเดียวกันยังช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้นในการเลือกซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
นอกจากช่วยแก้ปัญหามลภาวะที่อาจเกิดขึ้นจากขยะอิเล็กทรอนิกส์แล้ว โครงการ StEP ยังส่งผลดี ต่อผู้ผลิตในการลดต้นทุนวัตถุดิบอีกด้วย เนื่องจากปัจจุบันวัตถุดิบหลายชนิดที่ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ อาทิ ทองคำ เงิน ทองแดง และตะกั่ว เริ่มขาดแคลนและมีราคาสูงขึ้น ทำให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้รับความสนใจในฐานะแหล่งวัตถุดิบสำคัญ ดังเห็นได้จากกรณีของญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันกว่าร้อยละ 50 ของปริมาณโลหะ Indium ที่ใช้ในประเทศ (เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตโทรทัศน์สีจอแบน และโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีราคาสูงขึ้นถึง 6 เท่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา) ได้จากการ Recycle ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งช่วยลดต้นทุนในการนำเข้าวัตถุดิบดังกล่าวเป็นจำนวนมากในแต่ละปี ทั้งนี้ เป็นที่คาดว่าโครงการ StEP จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาเทคโนโลยี เกี่ยวกับการ Recycle ขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ลงได้ระดับหนึ่ง
ปัจจุบัน แม้ว่าโครงการ StEP ยังมีบทบาทไม่มากนัก ขณะที่ยังไม่มีผู้ผลิตรายใดของไทยเข้าร่วม โครงการดังกล่าว แต่จากกระแสความห่วงใยสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ทำให้คาดว่า ในอนาคตโครงการ StEP จะมีบทบาทมากขึ้นต่ออุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ของโลก ประเทศไทยในฐานะฐานการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญของภูมิภาคคงไม่สามารถปฏิเสธที่จะเข้าร่วม
โครงการดังกล่าวได้ ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับกระแสดังกล่าว เพราะนอกจากเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่สินค้าไทยแล้ว ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับ ผู้ประกอบการไทยได้อีกทางหนึ่งด้วย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เมษายน 2550--
-พห-
ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะส่งผลให้ UN ร่วมกับองค์กรภาครัฐจากประเทศต่าง ๆ และผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของโลก อาทิ ไมโครซอฟต์ อีริคสัน และฮิวเลตต์-แพคการ์ด ริเริ่มโครงการบรรเทาปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ (Solving the E-Waste Problem : StEP) ขึ้นเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2550 เพื่อแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากพบว่ากว่าร้อยละ 80 ของขยะอิเล็กทรอนิกส์ของทั้งโลกรวมกันอยู่ที่ประเทศกำลังพัฒนาซึ่งยังขาดความรู้และเทคโนโลยีในการแยกชิ้นส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงขาดความรู้ในการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านั้นอย่างถูกวิธี ทั้งนี้ โครงการ StEP มีแนวทางการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้
* ความร่วมมือระดับภาครัฐ จะมีการส่งทีมผู้เชี่ยวชาญจากโครงการ StEP ไปยังประเทศกำลังพัฒนา ทั้งในเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ ที่มีการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์มา Recycle ในปัจจุบัน เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในการดำเนินกระบวนการดังกล่าวอย่างถูกต้องและปลอดภัย ทั้งในส่วนของการฝึกอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องรวมถึงการถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการ Recycle ขยะอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้ว ผู้เชี่ยวชาญจากโครงการ StEP จะรณรงค์ให้ผู้บริโภคตระหนักถึงผลกระทบจากการทิ้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ยังสามารถใช้งานได้ รวมทั้งจัดตั้งทีมงานทำงานร่วมกับรัฐบาลในการวางกรอบนโยบาย ตลอดจนกฎหมาย/กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยจะยึดระเบียบว่าด้วยเศษเหลือทิ้งของเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (Waste Electrical and Electronic Equipment : WEEE) ของสหภาพยุโรปเป็นพื้นฐานในการวางนโยบายดังกล่าว
* ความร่วมมือกับภาคเอกชน เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนที่เป็นผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์เข้าร่วมโครงการ StEP ทั้งนี้ ภาคเอกชนที่ต้องการเข้าร่วมโครงการต้องผลิตสินค้าตามมาตรฐานของ StEPคือ สินค้าต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสามารถนำกลับมา Recycle จึงจะสามารถนำเครื่องหมายของ StEP ติดลงบนสินค้าเพื่อแสดงถึงความใส่ใจในปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ อันจะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสินค้า ขณะเดียวกันยังช่วยให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้นในการเลือกซื้อสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
นอกจากช่วยแก้ปัญหามลภาวะที่อาจเกิดขึ้นจากขยะอิเล็กทรอนิกส์แล้ว โครงการ StEP ยังส่งผลดี ต่อผู้ผลิตในการลดต้นทุนวัตถุดิบอีกด้วย เนื่องจากปัจจุบันวัตถุดิบหลายชนิดที่ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ อาทิ ทองคำ เงิน ทองแดง และตะกั่ว เริ่มขาดแคลนและมีราคาสูงขึ้น ทำให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้รับความสนใจในฐานะแหล่งวัตถุดิบสำคัญ ดังเห็นได้จากกรณีของญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันกว่าร้อยละ 50 ของปริมาณโลหะ Indium ที่ใช้ในประเทศ (เป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตโทรทัศน์สีจอแบน และโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีราคาสูงขึ้นถึง 6 เท่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา) ได้จากการ Recycle ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งช่วยลดต้นทุนในการนำเข้าวัตถุดิบดังกล่าวเป็นจำนวนมากในแต่ละปี ทั้งนี้ เป็นที่คาดว่าโครงการ StEP จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาเทคโนโลยี เกี่ยวกับการ Recycle ขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ลงได้ระดับหนึ่ง
ปัจจุบัน แม้ว่าโครงการ StEP ยังมีบทบาทไม่มากนัก ขณะที่ยังไม่มีผู้ผลิตรายใดของไทยเข้าร่วม โครงการดังกล่าว แต่จากกระแสความห่วงใยสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ทำให้คาดว่า ในอนาคตโครงการ StEP จะมีบทบาทมากขึ้นต่ออุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ของโลก ประเทศไทยในฐานะฐานการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญของภูมิภาคคงไม่สามารถปฏิเสธที่จะเข้าร่วม
โครงการดังกล่าวได้ ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับกระแสดังกล่าว เพราะนอกจากเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่สินค้าไทยแล้ว ยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับ ผู้ประกอบการไทยได้อีกทางหนึ่งด้วย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เมษายน 2550--
-พห-